ศ. ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผอ.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่ผ่านการประเมินจาก สมศ. ว่า สมศ.ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดโครงการนำร่องพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่ผ่านการประเมินจาก สมศ. โดยเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 จำนวน 220 แห่ง และได้หารือกับ สพฐ.จะขยายผลโครงการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กกลุ่มนี้ให้ได้ประมาณ 4,000 แห่ง ภายในปี 2553 โดยใช้งบประมาณพัฒนาโรงเรียนแห่งละ 1 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ สพฐ.ได้เสนอโครงการนี้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในโครงการเมกะโปรเจกต์ของ ศธ. และงบฯที่จะใช้ในโครงการดังกล่าวประมาณ 4,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ทราบว่า ศธ.ได้ของบฯโครงการเมกะโปรเจกต์จากรัฐบาลไปแล้ว
ผอ. สมศ. กล่าวต่อว่า จากการประเมินของ สมศ. พบว่า โรงเรียนขนาดเล็กมีปัญหาขาดแคลนครู และมีปัญหาเรื่องคุณภาพครู อีกทั้งครูต้องทำงานธุรการมากกว่าสอน และยังขาดแคลนสื่อการเรียนการสอน การพัฒนาโรงเรียนจะพิจารณาถึงปัญหาของโรงเรียนเป็นตัวตั้ง ทั้งนี้ สพฐ.จะเปิดตัวโรงเรียนขนาดเล็กในโครงการที่อยู่ใน 5 จังหวัด เช่น โรงเรียนใน จ.เชียงใหม่ นครสวรรค์ ในช่วงกลางเดือน ธ.ค.นี้ ส่วนที่ สพฐ.มีนโยบายจะยุบโรงเรียนขนาดเล็กที่มีปัญหาขาดแคลนครูอย่างมากและมีจำนวน นักเรียนไม่ถึงเกณฑ์ของ สพฐ.นั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ หากพูดคุยกับชาวบ้านแล้วไม่มีปัญหา โดยใช้วิธีจัดการเรียนการสอนให้แก่โรงเรียนที่ถูกยุบรวมในลักษณะของกลุ่ม โรงเรียน.
ข้อมูลจาก ไทยรัฐ
Friday, November 28, 2008
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment