Friday, October 29, 2010

ชงตั้งกก.ศึกษาเอกชนจังหวัด

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (กช.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ประชุมเห็นชอบการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัด ยกเว้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปัตตานี ยะลา สตูล และสงขลา โดยคณะกรรมการฯชุดนี้มีองค์ประกอบ คือ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่ประถมศึกษาและผู้อำนวยการเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เป็น ที่ปรึกษา มีนายกสมาคมโรงเรียนเอกชนในจังหวัด เป็นประธาน ส่วนกรรมการ ประกอบไปด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานราชการ ศึกษานิเทศก์ ประธานกรรมการอาชีวศึกษาจังหวัด ผู้อำนวยการการศึกษา นอกโรงเรียนจังหวัด และกรรมการจากผู้แทนกลุ่มโรงเรียนเอกชน ทั้งในระบบและโรงเรียนเอกชนนอกระบบ โดยมีผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษา เขต 1 เป็นกรรมการและเลขานุการ

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า คณะกรรมการฯชุดดังกล่าว จะมีอำนาจหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนทุกระดับ ทุกประเภท ในด้านวิชาการและพัฒนาบุคลากร และประสานงานกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาสถานศึกษา เอกชน เสนอโครงการพัฒนาการศึกษาเอกชนเพื่อขอรับการสนับ สนุนจากภาครัฐและเอกชน ขณะเดียวกันคณะกรรมการฯชุดนี้จะต้อง มุ่งเน้นงานด้านวิชาการของโรงเรียนเอกชนเป็นหลักด้วย.

ลงดาบร้านเกมแกล้งมึนให้เด็กเข้าผิดเวลา

ลงดาบร้านเกมแกล้งมึนให้เด็กเข้าผิดเวลา

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) นายปรารพ เหล่าวานิช รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ในฐานะผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ซึ่งมีนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า ที่ประชุมได้มีการหารือเพื่อวางมาตรการในการแก้ไขปัญหากรณีที่ปัจจุบันมีผู้ประกอบการร้านวีดิทัศน์จำนวนมากกระทำการฝ่าฝืนคำสั่งและกระทำผิดกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 รวมถึงกรณีที่ร้านให้บริการ เกมจำนวนมากยังอนุญาตให้เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี และเด็กที่มีอายุระหว่าง 15-18 ปีเข้าไปใช้บริการใน ร้านเกมได้นอกเหนือจากเวลาที่ภาครัฐกำหนดไว้

“การเข้าไปใช้บริการในร้านเกมในปัจจุบันมีระเบียบกำหนดอายุของผู้ใช้บริการไว้อย่างชัดเจนโดยเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี สามารถเข้าไปใช้บริการเล่นเกมได้ระหว่างเวลา 10.00-20.00 น. ส่วนเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 15-18 ปี สามารถใช้บริการได้ระหว่างเวลา 10.00-22.00 น. แต่ปรากฏว่าที่ผ่านมามีร้านเกมจำนวนมากที่ฝ่าฝืนระเบียบดังกล่าว ทำให้ต้องถูกสั่งพักใบอนุญาตไปหลายแห่งแล้ว” รองปลัด วธ. กล่าว

นายปรารพ กล่าวต่อไปว่า จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นที่ประชุมเห็นว่าต้องมีการชี้แจงทำความเข้าใจและกำหนดมาตรการให้ร้านเกมตระหนักและปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัด โดยอาจมีการจัดทำสติกเกอร์เตือนเวลาการให้บริการติดไว้บริเวณร้านเกม เพื่อให้เด็กและผู้ปกครองได้รับทราบด้วย พร้อมกันนี้คณะกรรมการหลายคนได้เสนอแนวทางใหม่ เกี่ยวกับการลดจำนวนเรื่องการขออุทธรณ์ การพักใบอนุญาตร้านเกมที่กระทำผิด จากเดิมที่มีมาตรการสั่งพักใบอนุญาต 30 วัน ให้เปลี่ยนเป็นการเตือนโดยแจกใบเหลืองหรือใบแดง และหากพบว่ายังฝ่าฝืนอีกจึงค่อยสั่งพักใบอนุญาต แต่อย่างไรก็ตามมีคณะกรรมการบางส่วนไม่เห็นด้วย ที่ประชุม จึงมอบหมายให้คณะอนุกรรมการพิจารณาและให้ความเห็นด้านกฎหมายและด้านวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งพ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ ไปศึกษาเพิ่มเติมว่าจะสามารถเตือนก่อนสั่งพักใบอนุญาตได้หรือไม่.

ที่มา http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=42&contentID=100969

"ชินวรณ์"สั่งสกอ.สอบ"อาจารย์ม.อุบล" คุกคามน.ศ.หญิง-รับเงินแลกทีซิส

"ชินวรณ์"สั่งสกอ.สอบ"อาจารย์ม.อุบล" คุกคามน.ศ.หญิง-รับเงินแลกทีซิส

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยกรณีพนักงานอาจารย์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (มอบ.) ทำหนังสือเปิดผนึกถึงตน กรณี มีหัวหน้าหน่วยงานคนหนึ่งใน มอบ. พร้อมเจ้าหน้าที่ บุกเข้าทำร้ายรองคณบดีจนได้รับบาดเจ็บ เพราะขัดแย้งการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาโท และเอก โดยหัวหน้าหน่วยงานคนดังกล่าวเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้ส่งวิทยานิพนธ์ไปให้เจ้าหน้าที่แก้ไข โดยมีผู้ให้ข้อมูลว่า แลกกับการเรียกรับผลประโยชน์จากนักศึกษา ทั้งรูปแบบของเงิน และคุกคามสิทธิของความเป็นหญิงว่า ได้รับหนังสือร้องเรียนแล้ว และได้ทำหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เพื่อขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง และรายงานกลับมาภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ออกคำสั่ง หรือปลายเดือนตุลาคมนี้ ถ้าพบว่า ข้อร้องเรียนเป็นจริง ขอให้ลงโทษทางวินัยขั้นเด็ดขาด และดำเนินคดีทางกฎหมายด้วย ทั้งนี้ ศธ.อยากใช้โอกาสของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ดำเนินการให้ครูมีจิตวิญญาณแห่งความเป็นครู และให้ครูเป็นต้นแบบจริยธรรม ฉะนั้น เมื่อมีการร้องเรียน ตนจะติดตามตรวจสอบด้วยตัวเอง

"ในการผลิตครูยุคใหม่ ซึ่งจะต้องจัดทำหลักสูตร และคัดเลือกครูนั้น ผมอยากให้มุ่งเน้นการปลูกฝังครูยุคใหม่ในเรื่องคุณธรรมจริยธรรมเพิ่มมากขึ้น และอยากให้มีกระบวนการเข้าไปตรวจสอบการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะการให้เกรดของอาจารย์ ซึ่งอยากขอให้ผู้บริหาร และทุกฝ่ายระมัดระวัง และตรวจสอบอย่างเข้มข้น" นายชินวรณ์กล่าว

นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า ตนได้ประสานขอข้อมูลไปที่ มอบ.ไปแล้ว

926ร.ร.น้ำท่วมเลื่อนเปิดเทอม504แห่ง

926ร.ร.น้ำท่วมเลื่อนเปิดเทอม504แห่ง

"ชินวรณ์"เผยโรงเรียนถูกน้ำท่วมเดือดร้อน 926 แห่ง มีแนวโน้มโรงเรียน 504 แห่งมีน้ำท่วมขัง เปิดเทอมไม่ได้ในวันที่ 1 พ.ย.นี้ ไฟเขียวผอ.ร.ร.ปิดเรียนต่อได้คราวละ 7 วันจนกว่าน้ำลด คลอด 5 โครงการช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา-ครูที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมฟื้นฟูโรงเรียน-ห้องสมุด มอบสกอ.ตั้งศูนย์สำรวจนร.ที่จะแอดมิชชั่นส์แล้วได้รับผลกระทบ พร้อมประสานม.รัฐ-เอกชนยกเว้น-ผ่อนผันค่าเทอม

เมื่อวันที่ 28 ต.ค.2553 นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.) พร้อมด้วยดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(กศน.) พร้อมด้วยผู้บริหารศธ.ได้ไปตรวจเยี่ยมน้ำท่วมที่โรงเรียนวัดบ้านแพ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยาและชุมชนโดยรอบซึ่งมีระดับน้ำท่วมขังสูง ทำให้ชาวบ้านต้องใช้เรือในการสัญจร

นายชินวรณ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการตรวจเยี่ยมว่า จนถึงขณะนี้มีโรงเรียนที่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมรวมทั้งหมด 926 แห่งจาก 25 จังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมแบ่งเป็นโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) 736 แห่ง โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสพฐ. 29 แห่ง อาชีวศึกษารัฐ 23 แห่ง สถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน(สช.) 37 แห่งและกศน.101 แห่ง และมีแนวโน้มแน่นอนแล้วว่าจะมีโรงเรียน 504 แห่งที่ไม่สามารถเปิดเทอมได้ทันตามกำหนดในวันที่ 1 พ.ย. นี้ ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนสังกัดสพฐ.ที่อยู่ในจังหวัดน้ำท่วมขังโดยเฉพาะจังหวัดนครราชสีมา สิงห์บุรี ลพบุรี อยุธยา ซึ่งโรงเรียนเหล่านี้ไม่สามารถเปิดเทอมได้ตามกำหนดเพราะโรงเรียนยังมีน้ำท่วมขังอยู่หรือเส้นทางมาโรงเรียนยังมีน้ำท่วมขังอยู่ จึงจำเป็นต้องเลื่อนเปิดเทอมออกไปและให้ผอ.โรงเรียนมีอำนาจสั่งปิดโรงเรียนต่อได้คราวละ 7 วันจนกว่าระดับน้ำในโรงเรียนจะลดลง จึงให้เปิดเทอมตามปกติ

"ได้มอบนโยบายให้สพฐ.ติดตามสถานการณ์ของน้ำอย่างใกล้ชิด เพื่อเร่งเข้าไปฟื้นฟูสถานศึกษาหลังน้ำลดให้สามารถเปิดเรียนได้โดยเร็วที่สุด รวมทั้งให้ดูแลเยียวยานักเรียนโดยสอนซ่อมเสริม อีกทั้งให้เข้าไปสำรวจว่านักเรียนรายใดที่อุปกรณ์การเรียน ชุดนักเรียนตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปีเสียหายเพราะน้ำท่วมฉับพลันหรือน้ำท่วมขังยาวนาน ก็ให้จัดงบชดเชยให้แก่นักเรียน ขณะเดียวกันยังได้มอบนโยบายให้สช.ประสานไปยังโรงเรียนเพื่อสำรวจหานักเรียนที่ อุปกรณ์การเรียน ชุดนักเรียนตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปีเสียหายเพื่อของบชดเชยเช่นกัน "รมว.ศธ. กล่าว

นายชินวรณ์ กล่าวอีกว่า การแก้ปัญหาน้ำท่วมในภาพรวมคณะกรรมการอำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมของศธ.ที่มีรมว.ศธ.เป็นประธานนั้นได้จัดทำโครงการฟื้นฟูหลังน้ำท่วมพร้อมกำหนดเจ้าภาพรับผิดชอบดังนี้ 1.ให้สพฐ.สั่งการไปยังทุกโรงเรียนที่ประสบภัยน้ำท่วมทำโครงการฟื้นฟูและเยี่ยมบ้านนักเรียนที่ได้รับความเดือดร้อน 2.ให้สช.ทำโครงการโรงเรียนพี่ช่วยโรงเรียนสำรวจความเสียหายของโรงเรียนเอกชนและชักชวนให้โรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่และโรงเรียนนานาชาติเข้ามาให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูโรงเรียนเอกชนที่ประสบภัยน้ำท่วม

3.ให้กศน.ไปสร้างภาคีเครือข่ายฟื้นฟูห้องสมุดเฉลิมราชกุมารีและห้องสมุดประชาชน 4.ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.)ออกสำรวจและช่วยเหลือนักเรียนที่ได้รับผลกระทบทุกสังกัดเป็นรายบุคคลโดยเฉพาะนักศึกษาระดับอุดมศึกษาให้ประสานสถาบันอุดมศึกษาทั้งรัฐและเอกชนยกเว้นหรือผ่อนผันค่าเทอมให้นักศึกษาที่ได้รับผลกระทบโดยพิจารณาตามความจำเป็น หากเดือดร้อนมากก็ให้ยกเว้นค่าเทอม ถ้าเดือดร้อนให้ผ่อนผันจ่ายค่าเทอมช้าได้ อีกทั้งให้สกอ.จัดตั้งศูนย์สำรวจว่ามีนักเรียนที่จะแอดมิชชั่นส์ปีการศึกษา 2554 ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมหรือไม่ และเข้าไปช่วยเหลือเพื่อไม่ให้กระทบต่อการแอดมิชชั่นส์ของนักเรียน รวมทั้งให้สกอ.ประสานมหาวิทยาลัยนำนักศึกษาแพทย์ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพร้อมออกค่ายอาสาด้วย 5.ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา(สกสค.)จัดทำโครงการฟื้นฟูช่วยเหลือครอบครัวที่ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะครูที่อาศัยอยู่ในบ้านพักที่ถูกน้ำท่วมเพื่อให้ครูพร้อมที่จะสอนทันทีหลังน้ำลด

รมว.ศธ. กล่าวต่อไปว่า ยังได้มอบนโยบายให้คณะกรรมการอำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมของศธ.และองค์กรหลักของศธ.สำรวจความเสียหายทั้งสถานศึกษา นักเรียนและครูให้ชัดเจนเพื่อประสานคณะกรรมการอำนวยการแก้ปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลเข้าไปแก้ปัญหาต่อไป พร้อมให้จัดทำมาตรการภาพรวมของศธ.เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยให้นำเสนอมาตรการดังกล่าวแก่ต่อคณะกรรมการอำนวยการของรัฐบาลภายในวันที่ 1 พ.ย. นี้

ที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20101028/77717/926ร.ร.น้ำท่วมเลื่อนเปิดเทอม504แห่ง.html

มกค.จี้ศธ.ประกาศลดภาษี200%หนุนเอกชน-ศิษย์เก่าบริจาคเงิน

มกค.จี้ศธ.ประกาศลดภาษี200%หนุนเอกชน-ศิษย์เก่าบริจาคเงิน

รศ.ดร.จีรเดช อู่สวัสดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (มกค.) เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีการประกาศลดภาษี 200% แก่ภาคเอกชนที่บริจาคเงินช่วยเหลือทางการศึกษาแก่มหาวิทยาลัยเอกชน ว่าตอนนี้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)

ยังไม่มีการประกาศเรื่องนี้ ส่งผลให้ภาคเอกชน หรือศิษย์เก่าที่ต้องการสนับสนุนทางการศึกษาสำหรับมหาวิทยาลัยเอกชนหันไปบริจาคเงินแก่หน่วยงานอื่น เพราะยังคงได้ส่วนลดภาษีเพียง 100% ทั้งๆ ที่ควรได้ 200% เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยรัฐ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นปัญหาใหญ่สำหรับมหาวิทยาลัยเอกชน ที่ ศธ.ควรเร่งดำเนินการ เพราะยิ่งช้ามาก ภาคเอกชนที่ต้องการสนับสนุนทางการศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนก็จะยิ่งหายไป อีกทั้งมหาวิทยาลัยเอกชนไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากภาครัฐ และไม่ได้มีรายได้มากมาย

อธิการบดี มกค.กล่าวอีก การที่มหาวิทยาลัยเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ล้วนต้องการลดภาระ ช่วยเหลือภาครัฐ ไม่ได้หวังผลกำไร หรือเข้ามาหารายได้ ดังนั้น เรื่องการประกาศลดภาษี จึงมีความสำคัญต่อมหาวิทยาลัยเอกชน เพราะถือเป็นรายได้ที่มาช่วยบริหารจัดการ ส่งเสริมการเรียนการสอน และเพื่อความอยู่รอดของมหาวิทยาลัย เมื่อไม่มีรายได้ทางใด มหาวิทยาลัยเอกชนจึงต้องเก็บค่าหน่วยกิตสูงกว่ามหาวิทยาลัยรัฐ แต่ก็สูงกว่าเพียง 20-30% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม การประกาศเรื่องนี้ง่ายมาก แต่ไม่ทราบว่าติดขัดอยู่ตรงไหน จึงยังไม่ประกาศใช้

“ผมไม่อยากให้รัฐบาล มากังวลว่าการประกาศลดภาษีจะเป็นช่องทางให้มหาวิทยาลัยเอกชนหารายได้ เพราะมหาวิทยาลัยเอกชนดีๆ มีมาก และเรื่องการลดภาษี 200% จริงๆ แล้วควรมีประกาศมานานแล้ว โดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งต้องทำเรื่องเสนอต่อ ศธ.ต้องเร่งดำเนินการ เพื่อสร้างความเท่าเทียมระหว่างมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ไม่ควรจะมาห่วงเรื่องที่ไม่ควรจะห่วง” อธิการบดี มกค.กล่าว

งานสัปดาห์หนังสือ หากไม่ได้ไปซื้อหนังสือ แล้วไปทำอะไร?

งานสัปดาห์หนังสือ หากไม่ได้ไปซื้อหนังสือ แล้วไปทำอะไร?

ภายในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 15 ที่ถูกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-31 ตค.53 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์นี้ ยังคงเต็มไปด้วยคนทุกเพศวัยที่ชื่นชอบการอ่านหนังสืออย่างเช่นเคย โดยเฉพาะขาประจำที่เป็นกลุ่มนิสิต-นักศึกษาต่างก็ยังคงชวนกันมาจับจ่ายซื้อหนังสือที่ตนเองสนใจกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งท่ามกลางบรรยากาศที่เต็มไปด้วยนักอ่านเหล่านี้ นอกจากเราจะได้เห็น เหล่านิสิตนักศึกษาอยู่ในบทบาทของนักชอปปิ้งความรู้แล้ว คนที่เดินในงานยังได้เห็นคนรุ่นใหม่อยู่ในบทบาทของการทำงาน part time ที่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน ทั้งนี้ “ไลฟ์ ออน แคมปัส”จึงไม่พลาดที่จะเข้าไปทำความรู้จักกับหลากหลายหน้าที่ของนศ.มานำเสนอ



“อาร์ม-พชร สิริบรรักษ์” นักศึกษาหนุ่ม จาก สถาบันการบินพลเรือน อาร์มใช้เวลาว่างช่วงปิดเทอมมาทำงานเป็นพนักงานแนะนำหนังสือภายในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ อาร์มบอกว่าชอบอ่านหนังสืออยู่แล้วเป็นทุนบวกกับอยากหารายได้พิเศษให้กับตัวเองเป็นค่าขนมช่วงปิดเทอม
“ ตลอดงานจะมีอยู่ 11 วัน แต่ผมจะมาทำ 7 วันและสลับสับเปลี่ยนกับเพื่อนมาทำ โดยก่อนที่จะมาแนะนำเราก็ต้องรู้จักกับหนังสือใน บูธของเรา บางเล่มก็ได้อ่านเองส่วนตัว หรือบางเล่มเราก็อ่านจะคำนำ ดูคำนิยม ให้เราสามารถ เชียร์อัพให้กับผู้ที่หยิบจับหนังสือในบูธเราให้ความสนใจและซื้อกลับบ้านไปอ่าน นอกจากนั้นหน้าที่ของผมในงานนี้ก็ยังมีช่วยจัดเรียงหนังสือภาย บูธด้วย”



หนุ่มหนอนหนังสือเล่าต่อว่าการได้ทำงานเกี่ยวกับหนังสือทำให้ตนมีความสุข ยิ่งการได้บอกต่อถึงเนื้อหาในหนังสือจากเล่มที่ตนประทับใจด้วยแล้วเขายิ่งรู้สึกปลื้มใจ
“ เหมือนว่าเรามาทำงานตรงนี้นอกจากได้เงินก็ยังได้สนุก และมีความสุขด้วย ว่าเล่มที่เราได้อ่านมีคนสนใจเพิ่มขึ้น อย่างที่ผมมักแนะนำคนที่มาบูธผมซึ่งจะเป็นหนังสือแนว จิตวิทยา การใช้ชีวิต แนวจรรโลงใจ และผมก็ประทับใจอยู่หลายเล่ม แต่ก็มักจะแนะนำวัยรุ่นด้วยกันให้อ่านหนังสือแปล ที่ชื่อว่า 7 อุปนิสัยสำหรับวัยรุ่น เพราะเขาน่าจะอ่านแล้วใช้ประโยชน์ ซึ่งพอผมแนะนำให้เขาสนใจ ผมก็จะดีใจที่เขาเห็นประโยชน์ของเล่มโปรดของผมด้วย”อาร์มอธิบายอย่างปลาบปลื้ม



สนนราคาค่าเหนื่อย อารม์ได้รับค่าตอบแทนตกวันละ 300 บาท และลงเวลาทำงานไว้ 7 วัน ได้ค่าขนมไปให้อุ่นกระเป๋าช่วงปิดเทอมนี้ถึง 2100 บาท พร้อมอาหารขนมเครื่องดื่มประจำวันฟรี



ถัดมาอีกบูธกับสาวลูกแม่โดม “ ณิชกานต์” หรือ “ไอซ์” นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไอซ์ปฎิบัติงานพาร์ทไทม์อยู่ที่บูธหนังสือแปลซึ่งเธอประจำอยู่จุดของสำนักพิมพ์ผีเสื้อมามากว่า 8 วันแล้วและก็เหลืออีก 4 วันที่เธอจะสำเร็จภารกิจการทำงานหารายได้พิเศษ



“ บูธเราจะมีพวกหนังสือแปล และก็มีแฟนของนักแปลหลายๆคนค่ะ หนังสือแบบนี้ก็จะมีทุกเพศทุกวัยมาอ่านค่ะ โดยเวลาลูกค้านักอ่านจะมาหาหนังสือ ส่วนใหญ่แนวนี้จะไม่ต้องแนะนำมากมาย เหมือนว่าเขาจะแฟนที่ติดตามนักแปลกันอยู่แล้ว แต่ก็มีบ้างที่เราต้องแนะนำหนังสือใหม่ ว่ายังมีอีกหลายเล่มที่มีนักแปลคนเดียวกัน หรือ ยังมีอีกหลายเล่มในแนวที่ลูกค้าชอบอ่านเราก็แนะนำไปค่ะ โดยส่วนใหญ่หากเป็นวัยรุ่นเราก็จะคุยกันภาษาเดียวกันง่าย และเราก็ชอบอ่านหนังสือเหมือนกันก็จะเข้าใจผู้อ่านด้วย”

สาวไอซ์บอก ครั้งนี้เป็นครั้งที่สองที่มาทำงานพิเศษ ซึ่งประสบการณ์ปีที่แล้วก็สอนให้เธอรู้ว่าหน้าที่ของคนแนะนำหนังสือไม่ใช่แค่ยืนและรอเงินค่าหนังสืออย่างเดียว ควรที่จะยิ้มแย้มแจ่มใส มีความใจเย็น และพูดคุยทักทายอย่างเป็นมิตร



“ แม้เราไม่ได้ดึงความสนใจแบบต้องมีการร้องเรียก หรือจุดดึงดูดต่างๆ แต่เราก็เชื่อว่าการดูแล พูดคุยตามประสาคนชอบอ่านเหมือนกันก็จะทำให้สื่อสารกับลูกค้าได้ และเราก็ใจเย็น เหมือนปีที่แล้วที่เจอ ก็คือบางทีบางคนจะจุกจิก แต่เราก็ต้องใจเย็น บริการ ให้คำปรึกษา แนะนำให้ดี บอกว่าข้างในหนังสือมีอะไรให้เขาได้สนใจบ้างถ้าผู้อ่านอยากรู้ก็จะบอกต่อค่ะ ซึ่งมันก็จะสนุกดีกับการได้ทำงานนี้ได้เรียนรู้คน และได้รายได้ด้วย”

นอกจาก หนุ่มๆสาวๆพาร์ทไทม์ภายในงานส่วนใหญ่จะรับหน้าที่เป็นพนักงานแนะนำหนังสือประจำบูธแล้ว ก็ยังมีอีกหลากหลายหน้าที่ที่เห็นว่ามีนักศึกษาได้เข้าทำงาน เช่น เจ้าหน้าที่ประจำจุดประชาสัมพันธ์งาน การแจกใบปลิว การขนย้ายหนังสือ การแต่งตัวเป็นมาสคอต แต่ทั้งนี้ยังมีอีกหนึ่งหน้าที่เดินกันอย่างขวักไขว่ ซึ่งมองเผินๆอาจจะดูเหมือนการเดินถือป้ายโปรโมทหนังสือใหม่ ซึ่งจากที่ผู้สื่อข่าวได้เข้าไปสอบถามแท้จริงแล้วก็พบว่าหนทางการหารายได้ของนักศึกษาบางคนยังไม่จบอยู่ที่หน้าที่ตามที่กล่าวเท่านั้น เหล่านักศึกษาพาร์ทไทมบางคน ยังมีภารกิจลับ 4 จ. คือ จ้อง จับ โจร จิ๊ก หรือหน้าที่ที่ต้องคอยสอดส่องหาพวกกลุ่มมิจฉาชีพ หรือกลุ่มคนที่มักมั่วนิ่มหยิบหนังสือไปไม่จ่ายสตังค์นั่นเอง



“ จิณณาวัฒน์” นักศึกษา จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี “หญิง-ธนะรา” สาวคณะวิทยาศาสตร์ มศว และ “วรุธ” จาก มทร.ธัญบุรี 2 หนุ่ม 1 สาวพนักงานพาร์ทไทม์ จาก บูธมติชน เปิดเผยว่าพวกตนรับหน้าที่เป็นการ์ดคอยจับตาดูมือดีที่ชอบฉกกระเป๋า และคนที่ไม่จ่ายเงินค่าหนังสือ โดยจะออกเดินตระเวณทั่วงานตลอดวัน โดยก่อนที่มาทำงานก็จะถูกฝึกฝนให้รู้จักการสังเกต และวิธีการปฎิบัติตนเมื่อพบผู้ต้องสงสัย



“ จริงๆเราก็เหมือนมาเดินถือป้ายโปรโมทหนังสือไปด้วย และก็เหมือนมาเดินช่วยๆเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยด้วย ทั้งเรื่องกระเป๋าเงิน โทรศัพท์มือถือ หรือแม้แต่คนที่มั่วนิ่มไม่จ่ายเงิน ซึ่งก็มีทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจหลงลืมก็มี แต่เมื่อเราเห็นเราก็จะเดินเข้าไปถามว่าจ่ายเงินหรือยัง หากยังเราจะพาไปจ่าย หรือ หากจ่ายแล้วเราก็จะให้ที่คั่นหนังสือไว้เพื่อทำสัญญลักษณ์ให้จ่าย โดยเราก็จะเดินตระเวณผลัดกันออกเป็นเวลา วันละ เวลา โดยช่วงเย็นๆคนก็จะเยอะขึ้น ซึ่งในงานก็จะมีหลายคนที่ช่วยกัน เดินปะปนไปกับคนเพื่อให้มีเพื่อนๆที่มาซึื้อหนังสือ ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ และเกิดความเป็นธรรมแก่สำนักพิมพ์ ทั้งค่าความคิดและค่าพิมพ์ด้วย หากสนใจก็ควรซื้อไม่ควรโกงกันโดยถ้าหากเราเห็นจับส่งตำรวจก็จะเสียอนาคต ”

ส่วนเรื่องของรายได้ในหน้าที่นี้ ทั้งสามคนบอกว่าอัตราเดียวกันกับเพื่อนๆที่ทำหน้าที่อื่นๆคือวันละ 300 บาท พร้อมอาหาร ขนม และเครื่องดื่มบริการฟรี ซึ่งทั้งสามคนก็ได้รับปฎิบัติงานเต็มช่วงระยะเวลาของงานสัปดาห์หนังสือ 12 วัน(รวมวันเตรียมงาน) เบ็ดเสร็จรับเงินค่าขนมกันไปคนละ 3600 บาท.

ที่มา http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9530000151979

ยัน อภ.ไม่ได้ครองตลาดจำหน่ายยา

ยัน อภ.ไม่ได้ครองตลาดจำหน่ายยา

สธ.สั่ง อย.ร่วมกับตำรวจคุ้มครองผู้บริโภค ติดตามจับกุมยาผิดกฎหมาย ยันตลาดยาแข่งขันเสรี อภ.ไม่ได้ครองตลาด หนุนตั้งศูนย์ความร่วมมือ ไทย-สหรัฐฯ ด้านการควบคุมโรค ...

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังคณะนักธุรกิจจากสภาธุรกิจอาเซียน-สหรัฐอเมริกาเข้าพบที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จ.นนทบุรี ว่า ได้มีการหารือในเรื่องยาผิดกฎหมาย ซึ่งตนได้แจ้งให้ทราบว่า สธ. มีนโยบายชัดเจน โดยให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับตำรวจคุ้มครองผู้บริโภค ติดตามจับกุม ดำเนินคดี พร้อมทั้งมีรางวัลนำจับ ซึ่งได้รับการชื่นชมจากเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา และคณะนักธุรกิจจากสภาธุรกิจอาเซียนฯ นอกจากนี้ทางสภาธุรกิจอาเซียนฯ มีความเป็นห่วงเกี่ยวกับสิทธิพิเศษขององค์การเภสัชกรรม ในการจำหน่ายยาให้กับหน่วยราชการ ซึ่งปลัด สธ.ได้ชี้แจงว่า การแข่งขันในตลาดยาที่ขายให้กับโรงพยาบาลนั้น ทุกฝ่ายเข้าร่วมแข่งขันได้ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเอกชน หรือองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ไม่มีการปิดกั้นการแข่งขัน สามารถแข่งขันได้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในการจัดซื้อยา นอกจากนี้ประเด็นที่ สธ. และสภาธุรกิจอาเซียน-สหรัฐฯ มีความเห็นสอดคล้องกัน คือต้องการเห็นความร่วมมือที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้ คือการจัดตั้งศูนย์ความร่วมมือ ไทย-สหรัฐอเมริกาด้านการควบคุมโรค ซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศไทย และสหรัฐอเมริกา

นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัด สธ.กล่าวว่า ไทยมีความร่วมมือกับประเทศสหรัฐอเมริกามานานกว่า 20 ปี เป็นความร่วมมือด้านวิชาการ ฝึกอบรมนักระบาดวิทยา ซึ่งขณะนี้ไทยมีความเข้มแข็ง สามารถช่วยเหลือประเทศข้างเคียงและองค์การอนามัยโลก ในการเป็นศูนย์ฝึกอบรมนักระบาดวิทยา ช่วยในการสอบสวนโรค ควบคุมโรค โดยเฉพาะโรคที่เกิดขึ้นใหม่ ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา เช่น ซาร์ส ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ และยังมีงานวิจัยในการควบคุมโรคเอดส์ มาลาเรีย และโรคติดเชื้ออื่นๆ.

วิทยาลัยพยาบาลเปิดรับตรงผ่านเน็ต 1-15 พ.ย.

วิทยาลัยพยาบาลเปิดรับตรงผ่านเน็ต 1-15 พ.ย.

สถาบันพระบรมราชชนก เปิดรับตรงบุคคลเข้าศึกษาต่อวิทยาลัยในสังกัด ผ่านเน็ต 1-15 พ.ย. ประเภทบุคคลทั่วไป-โควต้า ...

นพ.สมควร หาญพัฒนชัยกูร ผอ.สถาบันพระบรมราชชนก กล่าวว่า สถาบันพระบรมราชชนก รับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยในสังกัด ปีการ ศึกษา 2544 (ระบบรับตรง) สมัครวันที่ 1-15 พ.ย. ผ่านทาง http://admission.pi.in.th หรือ http://admission.pi.ac.th การรับสมัครแบ่งเป็นประเภทบุคคลทั่วไป กับโครงการพิเศษ ระดับปริญญาตรี 1.พยาบาลศาสตรบัณฑิต 1,515 คน 2.สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต/วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) 100 คน 3.สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ทันตสาธารณสุข) 40 คน 4.การแพทย์แผนไทยบัณฑิต 20 คน ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี 1.ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (สาธารณสุขชุมชน) 125 คน 2.ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข) 227 คน 3.ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (เทคนิคเภสัชกรรม) 120 คน 4.ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงเวชกิจฉุกเฉิน 120 คน

นพ.สมควรกล่าวต่อไปว่า 5.ประกาศนียบัตรเวชระเบียน 48 คน 6.ประกาศนียบัตรโสตทัศนศึกษาทางการแพทย์ 3 คน 7.ประกาศนียบัตรวิทยาศาสตร์การแพทย์ (พยาธิวิทยาคลินิก) 11 คน 8.ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงแพทย์แผนไทย 60 คน ประเภทโควตากลุ่มพัฒนาบุคลากรสาธารณสุข หลักสูตรระดับปริญญาตรี 1.พยาบาลศาสตรบัณฑิต 100 คน หลักสูตรต่ำกว่าระดับปริญญาตรี 1.ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (สาธารณสุขชุมชน) 117 คน 2.ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข) 10 คน.

ที่มา http://www.thairath.co.th/content/edu/122584

มสด.หวังห้องสมุดยืมหนังสือข้ามสถาบัน

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เสนอแลกเปลี่ยนหนังสือข้ามห้องสมุด หวังแชร์ความรู้ และเป็นฐานข้อมูลระหว่างสถาบัน ...

ผศ.ดร.พรรณี สวนเพลง ผอ.สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันห้องสมุดในสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ จะพัฒนาเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ที่มีฐานข้อมูลกว้างขวางทั่วโลก แต่ยังมีปัญหาว่าห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์มีหนังสือส่วนมากเป็นภาษาอังกฤษ อาจจะไม่สะดวกสำหรับผู้ใช้บริการจำนวนหนึ่ง ดังนั้น ขณะนี้ มสด.กำลังจัดซื้อหนังสือที่เป็นภาษาไทยให้มากขึ้น แต่ก็ติดปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์และราคาค่อนข้างสูง ด้วยเหตุนี้คิดว่าหากจะทำให้ ห้องสมุดมีความสมบูรณ์มากขึ้น น่าจะมีการแลกเปลี่ยนหนังสือกันได้ระหว่างห้องสมุดด้วยกัน เพื่อให้ห้องสมุดกลายเป็นแหล่งแชร์ความรู้และเป็นฐานข้อมูลระหว่างสถาบันการศึกษาด้วยกัน โดยผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการยืมคืนหนังสือข้ามสถาบันการศึกษาได้ เป็นการประหยัดงบประมาณและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของห้องสมุด นอกจากนี้ห้องสมุดทุกแห่งควรปรับข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง บรรณรักษ์ต้องปรับบทบาทให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ไม่ใช่เป็นแค่ผู้ยืมคืนหนังสือ.

หนุนกม.คุมปลอดภัย กีฬา-ฟิตเนส แฉแหล่งคุกคามเพศ

วงเสวนาจี้จัดทำกฎหมายคุมเข้มความปลอดภัยด้านกีฬา-นันทนาการ หลังพบข้อมูลทางการแพทย์ระบุเล่นไม่เหมาะสมส่งผลระยะยาวต่อสมอง ร่างกาย แฉ "ฟิตเนส" บางแห่ง เป็นแหล่งคุกคามทางเพศ ...

เมื่อวันที่ 28 ต.ค. ที่โรงแรมทวิน ทาวเวอร์ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ร่วมกับองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) จัดเสวนาประชาพิจารณ์ ร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมความปลอดภัยในการกีฬาและนันทนาการสำหรับเด็กและเยาวชน พ.ศ. ....

โดยนายวัชรินทร์ ปัจเจกวิญญูสกุล อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาธนบุรี กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.นี้ มีทั้งหมด 42 มาตรา แบ่งเป็น 6หมวด โดยสาระกฎหมายต้องการส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยและเหมาะสมกับวัยของเด็กและเยาวชนในการเล่นกีฬาและนันทนาการ เนื่องจากข้อมูลทางวิชาการและทางการแพทย์พบว่า การเล่นกีฬานันทนาการไม่เหมาะสมส่งผลระยะยาวต่อสมอง ร่างกาย จิตใจเด็กให้ได้รับบาดเจ็บ พิการ เสียชีวิต และไม่มีผู้รับผิดชอบ เนื่องจากการเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งมีอายุความเพียง 1 ปี โดยกฎหมายจะไม่ไปจำกัดสิทธิของเด็ก เยาวชน และผู้ให้บริการกีฬา นันทนาการ แม้หน่วยกีฬานันทนาการทำผิด หากกลับมาปฏิบัติตามกฎหมาย ก็ถือเป็นการนิรโทษ ลบล้างความผิดได้

นายวัชรินทร์ กล่าวว่า กฎหมายในหมวด 3 กำหนดมาตรการส่งเสริมความปลอดภัยในการกีฬาสำหรับเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะ มาตรา 23 กำหนดว่า หน่วยการกีฬาใดจัดให้เด็กเยาวชนแข่งกีฬา ไม่ว่ากีฬาปะทะ ไม่ปะทะ หรือกีฬาต่อสู้ ต้องจัดมาตรการความปลอดภัย 1.ต้องมีการตรวจสอบนักกีฬามีสุขภาพ สมรรถภาพ ตามหลักวิชาโดยมีใบรับรองแพทย์ และ 2.จัดบุคลากรทางการแพทย์พร้อมอุปกรณ์จำเป็นเหมาะสมสนามกีฬาตลอดการแข่งขัน มาตรา 24 นักกีฬาเด็ก เยาวชน ที่ได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพเสียชีวิตจากการกีฬา ให้ได้รับการรักษาพยาบาลช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา 25 ห้ามผู้ใดจัดหรือยินยอมให้มีการเล่นพนันกีฬาที่เด็กแข่งขันไม่ว่าทางตรง ทางอ้อม หมวด 4 มาตรการส่งเสริมความปลอดภัยในนันทนาการสำหรับเด็กและเยาวชน มาตรา 27 ผู้ใดจัดให้มีหน่วยนันทนาการหรืออุปกรณ์นันทนาการที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็กเยาวชน จะต้องดำเนินการให้ปลอดภัยอย่างน้อย 1.จัดให้มีเจ้าหน้าที่ป้องกันอันตรายหรือช่วยชีวิตพร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็น 2.จัดให้มีอุปกรณ์ที่ปลอดภัยเหมาะสมพัฒนาการ วุฒิภาวะ เพศ 3.ติดตั้งอุปกรณ์ที่มั่นคง แข็งแรงปลอดภัย 4.ตรวจสภาพบำรุงรักษาอุปกรณ์สม่ำเสมอตามลักษณะการใช้งาน เพื่อสุขอนามัยและปลอดภัย มาตรา 28 หน่วยนันทนาการใดจัดให้มีสวนสนุกต้องจัดบุคลาการทางการแพทย์หรือผู้ผ่าน การอบรมปฐมพยาบาลพื้นฐานพร้อมอุปกรณ์จำเป็นในการบริการผู้ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นอุปกรณ์สวนสนุก โดยมีบทลงโทษหนักกรณีผู้ฝ่าฝืนมาตรา 23 และ 28 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่หากฝ่าฝืนมาตรา 25 โทษจะเพิ่มมากกว่ากฎหมายพนันทั่วไปกึ่งหนึ่ง

นายเชวง ไทยยิ่ง ผอ.สถาบันพัฒนากฎหมายมหาชน กล่าวว่า การนำเด็กมาต่อยมวยต้องยอมรับว่าเกิดผลกระทบกับเด็ก แม้ในแวดวงชกมวยจะบอกว่าเป็นวัฒนธรรมของไทยห้ามไม่ได้ แต่นักพลศึกษาและแพทย์ ก็ระบุชัดว่านักมวยหลายคนต้องป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน นอกจากนั้น ยังมีกีฬาเทควันโด ที่พบว่านักเทควันโดดังๆหลายคนสุดท้ายก็ต้องเดินขาบิดเบี้ยวเพราะข้อเสียหมด รวมทั้งการว่ายน้ำในสระ ก็พบเด็กจมน้ำตายจำนวนมาก เด็กติดเชื้อจากน้ำในสระ ได้รับผลกระทบจากคลอรีนในน้ำ หรือการเล่นนันทนาการในสนามกีฬา เครื่องเล่นต่างๆ ในสนามเด็กเล่น สวนสนุก เราห้ามเด็กเล่นไม่ได้ ดังนั้น ต้องมีกฎหมายที่เข้ามาดูแลความปลอดภัยให้เด็ก

“ตอนนี้มีกีฬาเอ็กซ์ตรีมที่อันตรายมากๆ ไม่ว่าจะเป็นโรลเลอร์สเก็ต ที่จัดแข่งขันกันเป็นระยะๆ หรือการเล่น BB gun หรือ Paint Ball อาจไม่ถือเป็นกีฬา แต่มีอันตรายแฝงอยู่ น่าจะมีการควบคุมมาตรฐานที่ปลอดภัย แม้แต่กีฬาพื้นฐานทั่วไป ยิมนาสติกเอาเด็ก 2-3 ขวบมาเล่น คนควบคุมมีใบอนุญาตหรือไม่ ใช้เบาะอะไรมารองรับเด็กปลอดภัยแค่ไหน เช่นเดียวกับไลฟ์การ์ดในสระว่ายน้ำ ก็ต้องมีใบอนุญาต ไม่ใช่แค่ว่ายน้ำได้ ต้องมีทักษะการช่วยชีวิตเด็กกรณีต่างๆ เมื่อได้รับอุบัติเหตุด้วย”ผอ.สถาบันพัฒนากฎหมายมหาชน กล่าว

นายชัชชัย โกมารทัต หัวหน้าแขนงวิชาโค้ชกีฬา สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การนิยามคำว่ากีฬานอกจากหมายถึงการสอน การฝึกการซ้อม การแข่งขันกีฬาชนิดต่างๆ เพื่อให้ผู้เล่นสุขภาพดี ต้องรวมไปถึงการออกกำลังกายด้วย โดยเฉพาะฟิตเนสซึ่งกำลังเป็นที่นิยมมากตอนนี้ แต่ยังไม่มีกฎหมายควบคุมดูแล ทั้งที่ฟิตเนสชื่อดังหลายแห่ง ดูภายนอกสวยงามแต่ภายในมีปัญหาอับชื้น วางเครื่องเล่นแออัดชิดกัน จัดวางผิดประเภท ปัญหามลพิษทางเสียง เปิดเพลงเสียงดังมาก ห้องอาบน้ำเป็นเมือก สกปรก นอกจากนั้นพบว่าฟิตเนสกลายเป็นแหล่งคุกคามทางเพศ ทั้งกรณีต่างเพศและเพศเดียวกัน มีปัญหาถึงขั้นต้องติดป้ายว่า “ห้องน้ำมีไว้ใช้คนเดียว ห้ามใช้สองคน” หรือแม้แต่ห้องซาวน่าก็ไปทำอนาจารกัน แม้จะแยกสัดส่วนชายกับหญิงแล้ว แต่ผู้ชายกับผู้ชายก็มีปัญหากันมาก ตนเข้าไปใช้บริการก็ยังหวาดหวั่นตลอด ทั้งนี้ควรมีการตั้งกรมหรือองค์กรอิสระขึ้นมาดูแลเรื่องความปลอดภัยด้านกีฬา นันทนาการโดยตรงเลย รวมทั้งตั้งศูนย์บริการตรวจสอบสมรรถภาพการเคลื่อนไหวร่างกายรองรับการตรวจ สุขภาพเด็ก เยาวชน ที่แข่งขันกีฬาโดยใช้นักวิทยาศาสตร์การกีฬามาแบ่งเบาภาระแพทย์ได้รวมทั้ง ดูแลกรณีเจตนาจงใจเล่นนอกกฎกติกาที่รุนแรงอันตราย.

กรมทรัพย์ฯออกเตือน หากฝนยังตก ทุกภาคเสี่ยงดินถล่ม

โฆษกกรมทรัพยากรธรณี” ประกาศทุกภาคมีความเสี่ยง ดินถล่ม ถ้าฝนยังลงต่อเนื่อง โดยภาคเหนือเป็นห่วง จ.น่าน ภาคอีสาน ห่วง อุบลธานี ศรีสะเกษ อุดรธานี และที่น่าห่วงที่สุด คือ ภาคใต้ที่ฝนตกทุกวัน...

เมื่อวันที่ 28 ต.ค.2553 นายอดิชาติ สุรินทร์คำ ผู้ตรวจราชการและโฆษกกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงกรณีดินทรุดตัวและมีรอยแยกเกิดขึ้นได้ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย จากการสำรวจพบว่ามีอยู่ 320 อำเภอ ใน 51 จังหวัด ว่า กรณีนี้เราเรียกว่าพื้นที่เสี่ยงดินถล่ม ภาพรวมถือว่ายังมีโอกาสที่เกิดขึ้นได้ โดย 2 ปัจจัย คือ 1.ฝนตกหนัก 2. ฝนตกไม่หนักแต่ต่อเนื่องกันหลายวัน จนน้ำมีปริมาณสะสม 300 มิลลิเมตร โดยพื้นที่ต้องเฝ้าระวังคงเป็นพื้นที่ภาคเหนือทั้งหมดโดยจังหวัดที่อันตราย ได้แก่ น่าน ยกเว้น จ.พิจิตร ส่วน ภาคอีสานได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ อุดรธานี และ เลย แต่พื้นที่ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ ภาคใต้ตอนล่าง เพราะยังมีฝนตกลงมาทุกวัน

โฆษกกรมทรัพยากรธรณี กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ เมื่อไหร่ที่มีพายุเข้า ทางกรมฯ จะทราบล่วงหน้าและส่งเจ้าหน้าที่ของกรมฯลงพื้นที่ และประกาศการเฝ้าระวังอีกครั้งอย่างไรก็ตาม ทางกรมทรัพยากรธรณี ได้มีการจัดอบรมให้ชาวบ้านรู้จักการเฝ้าระวังดินถล่ม โดยขณะนี้มีการอบรมไปแล้วกว่า 39 จังหวัดโดยมีประชาชนเข้าร่วมอบรบมากถึง 12,000 คน โดยการฝึกนั้นชาวบ้านที่สามารถวัดปริมาณน้ำเองได้และแม่นยำมากกว่าเครื่องมือ แต่เมื่อทางกรมฯ เห็นว่าเรด้าแจ้งฝนตก หรือมี พายุ เข้า เราจะประสานให้ชาวบ้านเฝ้าระวังตามที่ซักซ้อมไว้

รายงานข่าวแจ้งว่า วันเดียวกันกรมทรัพยากรธรณี ออกประกาศเตือนสถานการณ์ธรณีพิบัติภัย ให้เฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยดินถล่ม เฝ้าระวังภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากพื้นที่ จ.ชุมพร ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และตรัง โดยเฉพาะที่ จ.สุราษฎร์ธานี เกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลันเข้าท่วมพื้นที่ 7 หมู่บ้าน ของ ต.คลองชะอุ่น อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี ประชาชนได้รับความเดือนร้อน 35 ครัวเรือน 175 คน ส่วนแผ่นดินไหวในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา คือระหว่างวันที่ 27 ต.ค. เวลา 08.30 น. – 28 ต.ค. เวลา 08.30 น. พบระดับความรุนแรง 3.0 – 4.0 ริกเตอร์ 6 ครั้ง ระดับ 4.1 – 5.0 ริกเตอร์ 19 ครั้ง ระดับ 5.1 – 6.0 ริกเตอร์ 9 ครั้ง สำหรับระดับ 6.1 ริกเตอร์ขึ้นไปซึ่งถือว่าอันตรายยังไม่พบ ทั้งนี้ ศูนย์กลางแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวส่วนใหญ่อยู่บริเวณ ต.สมเด็จเจริญ อ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี สาเหตุเกิดจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์

จี้รัฐขยายเพดานจ้างครูต่างประเทศ

จี้รัฐขยายเพดานจ้างครูต่างประเทศ แนะอยากได้คุณภาพต้องกล้าลงทุน ยันมีทางแก้กระทบความเป็นไทย

จากการประชุมวิชาการเรื่องผลกระทบของการจัดการเรียนการสอนสองภาษา (English Program-EP) และหลักสูตรนานาชาติต่อเด็กไทย ที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ศ.(พิเศษ) ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวเปิดงานตอนหนึ่งว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เรามีการจัดการสอนภาษาอังกฤษอย่างเข้มข้นในโรงเรียนมัธยมในหลักสูตรสองภาษา และ ร.ร.นานาชาติ ซึ่ง สกศ.ถูกตั้งคำถามจากรัฐสภาว่าส่งผลกระทบต่อมิติความเป็นไทยของเด็กไทยหรือไม่ สกศ.จึงต้องระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกฝ่ายเพื่อเสนอต่อรัฐบาล ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีนโยบายที่จะให้กระทรวงศึกษาธิการเตรียมคนไทย เข้า สู่ประชาคมโลกและประชาคมอาเซียน ซึ่งจะมีการใช้ภาษาอังกฤษในการทำงาน

นางอุษา สมบูรณ์ นายกสมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ข้อห่วงใยด้านวัฒนธรรมไทยนั้นมีแนวทางแก้ไขได้ โดยหากเป็นเด็กไทยใน ร.ร.นาชาติ ต้องเรียนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย 5 คาบต่อสัปดาห์ ส่วนนักเรียนต่างชาติเรียน 1 คาบต่อสัปดาห์ ทั้งนี้ หากผู้บริหารหรือเจ้าของ ร.ร.นานาชาติเป็นคนไทย จะให้ความสำคัญกับการสร้างเด็กไทยให้มีหัวใจไทยแต่คิดแบบสากล แต่หากเปิดเสรีทางการศึกษากฎหมายเปิดช่องให้ต่างชาติเป็นเจ้าของ ตนห่วงว่าต่างชาติจะไม่ให้ความสำคัญ ซึ่ง ศธ.ควรระวัง ขณะที่นาย วรรณสาร วรกิจ ผอ.ร.ร.นานาชาติเซนต์สตีเฟ่นส์ กล่าวว่า ร.ร.นานาชาติ และหลักสูตร EP เป็นอีกทางเลือกของการศึกษาไทย ซึ่งรัฐบาลต้องยอมรับว่าการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้ต้องมีการลงทุน ส่วนการจ้างครูต่างชาติ ควรตรวจสอบคุณวุฒิ โดยเฉพาะการจ้างฝรั่งที่อาศัยอยู่ ในประเทศพบว่าจำนวนมากใช้วุฒิปลอม แต่หากจ้างโดยตรงจากต่างประเทศจะไม่ค่อยพบปัญหา

ด้านผู้แทน ร.ร.ที่เปิดสอนหลักสูตร EP สะท้อนว่า ปัญหาคือการจ้างครูต่างประเทศ กระทรวงการคลังกำหนดเพดานไว้ หาก ร.ร. ต้องการครูที่เก่งมีคุณภาพ จะต้องจ้างในอัตราที่สูงกว่าที่กระทรวงคลังกำหนด โดยต้องหารายได้มาสมทบเอง จึงอยากให้กระทรวงคลังขยายเพดาน เพื่อที่ ร.ร.จะได้จ้างครูที่เก่งและมี คุณภาพได้.

ไบโอเทคเร่งพัฒนาพันธุ์ข้าว ต้านทานโรคทนน้ำท่วมฉับพลัน

ไบโอเทคเร่งพัฒนาพันธุ์ข้าว ต้านทานโรคทนน้ำท่วมฉับพลัน

ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผยว่า กระทรวงวิทย์ได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เร่งหาวิธีแก้ไขปัญหาและความเสียหายของภาคเกษตรกรรม โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ซึ่งประสบผลสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ ข้าวให้ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยโรคและแมลงศัตรูพืชต่างๆ สำหรับพันธุ์ข้าว ได้แก่ สายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน, สายพันธุ์ กข 6 ต้านทานโรคไหม้, สายพันธุ์ข้าวแก้วเกษตรต้านทานโรคไหม้ และข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน ร่วมกับสหกรณ์การเกษตรผักไห่ จำกัด ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีในระดับชุมชน ซึ่งเขตพื้นที่ ต.ผักไห่ ประสบปัญหาน้ำท่วมขังทุกปี ดังนั้น จึงขอแนะนำพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลันเป็นพันธุ์ที่เหมาะสมและให้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดี ขยายพันธุ์และส่งไปยังตลาดต่างๆเพิ่มรายได้ ให้กับชุมชน.

Thursday, October 28, 2010

ศธ.เลือก“นครศรีธรรมราช”โมเดล

ศธ.เลือก“นครศรีธรรมราช”โมเดล

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียน นักศึกษา ครั้งที่ 2/2553 เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ประชุมได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอแผนดำเนินงาน เพื่อรองรับมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียนนักศึกษาทะเลาะวิวาท ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบให้นำ “นครศรีธรรมราชโมเดล” ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มาเป็นต้นแบบให้สถานศึกษาอื่น ๆ ได้นำไปปฏิบัติ โดยนครศรีธรรมราชโมเดล มีจุดเด่นที่ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมโดยมีกรรมการ 2 ชุด คือ 1.กรรมการอำนวยการมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีรองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด ผู้บัญชาการมณฑลทหารบก ผู้บังคับการตำรวจภูธร เป็นรองประธาน และ 2.กรรมการดำเนินงานมี ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ตรวจพื้นที่ กวดขัน ดูแล คุ้มครอง ส่งเสริม ป้องกัน ประสานงานกับทุกภาคส่วน โดยสามารถแจ้งเหตุเกี่ยวกับนักเรียน นักศึกษาได้ที่ศูนย์รับแจ้งเหตุในโรงเรียนต่าง ๆ และสายด่วน 1567 ขณะเดียวกันก็มีมาตรการเชิงรุก เช่น ระบบดูแลช่วยนักเรียนที่เข้มข้น กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน และ การจัดโครงการรณรงค์ “นักเรียนไทยมีศักดิ์ศรี คนดีไม่ตีกัน” เป็นต้น

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า นอกจาก นี้ยังมีแผนการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่น่าสนใจอีกมาก อาทิ สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน เสนอมาตรการเชิงรุกการเฝ้าระวังเหตุ 24 ชั่วโมง พัฒนาสายด่วน 1579 ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมจัดตั้งเครือข่ายศูนย์ เสมารักษ์ 4 จุด 4 มุมเมือง ได้แก่ ดอนเมือง มีนบุรี สมุทรปราการ และบางแค สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เสนอมาตรการระยะสั้นจัดอบรมนักศึกษากลุ่มเสี่ยง 400 คน ก่อนเปิดภาคเรียน จัดทำข้อมูลประวัตินักศึกษากลุ่มเสี่ยง กองบัญชาการตำรวจนครบาล เสนอแผนสำรวจข้อมูลสถานศึกษาที่มีปัญหา เช่น การมั่วสุม ตรวจค้นสถานศึกษา ป้องกัน ตรวจตราจุดเสี่ยง กวดขัน จับกุม ผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 กดดันเชิงรุกต่อบุคคลกลุ่มเสี่ยง และตรวจค้นตัวนักศึกษาป้องกันการพกพาอาวุธร้ายแรง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เสนอจัดโครงการคาราวานความดีอาชีวศึกษาพัฒนาสังคม เป็นต้น ทั้งนี้ที่ประชุมได้มอบหมายให้ ฝ่ายเลขานุการไปบูรณาการและประสานแผนของหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งติดตามแผนของบางหน่วยงานที่ยังไม่ได้นำเสนอ เพื่อรายงานต่อที่ ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ทราบในภาพรวมต่อไป.

ว.โพธิวิชาลัย ตาก เปิดรับสมัครปลายปีเน้นสอบปฏิบัติเห็นวิถีชีวิต รับ 50 คนให้ทุนเรียนฟรี

รศ.อำนาจ เย็นสบาย รองอธิการบดีฝ่ายเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยเมื่อวันที่ 27 ตุลาคมว่า ขณะนี้การดำเนินการจัดตั้งวิทยาลัยโพธิวิชาลัย จังหวัดตาก เป็นวิทยาลัยที่เน้นการเรียนการสอนด้านเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลัก ตอนนี้กำลังอยู่ในการเตรียมการรับสมัครนิสิตเข้าเรียนโดยจะเปิดรับในช่วงเดือน ธันวาคม 2553 และจัดสอบในเดือนมกราคม 2554 ในปีแรกเป็นโครงการนำร่องรับเยาวชนที่สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดตากเข้ามาเรียน รับรุ่นแรกจำนวน 50 คน เป้าหมายการรับเยาวชนเข้ามาเรียนเป็น ต้องการให้สำเร้จการศึกษาแล้วกลับไปเป็นบัณฑิตคืนถิ่น เพื่อไปดูแลและทำงานรับใช้ท้องถิ่นตัวเอง ทั้งนี้ในปีต่อๆ ไปจึงจะเปิดรับเยาวชนจากพื้นที่จังหวัดอื่นๆ นิสิตทุกคนในรุ่นแรกที่ได้รับการคัดเลือกเข้าเรียนจะได้รับทุนทุกคน โดยทุนการศึกษานั้นได้มาจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อบท.) ที่สนับสนุนเยาวชนในพื้นที่ของตัวเองเพื่อให้มีโอกาสได้เข้าเรียน ทั้งนี้ยังได้รับทุนสนับสนุนมาจากบริษัทที่ทำธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเข้ามาร่วมสนับสนุนด้วย

“แนวโน้มของเด็กที่จะมาสอบตรงเพื่อเข้าเรียนในวิทยาลัยโพธิวิชชาลัยนั้นเราจะเน้นเด็กที่อยู่ห่างไกลความเจริญ อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ขาดโอกาสและยากที่จะเข้าถึงการศึกษาซึ่งรวมไปถึงเยาวชนชาวไทยภูเขาด้วย ใช้เวลาสอบทั้งสิ้น 2 วัน วันแรกสอบวิชาสามัญ ความรู้ทั่วไป ซึ่งข้อสอบแบ่งเป็น 2 ส่วนคือความรู้วิชาการทั่วไป เป็นข้อสอบมาตรฐานของทางมหาวิทยาลัย อีกส่วนหนึ่งเป็นข้อสอบที่ต้องการวัดความรู้ในพื้นที่ เน้นการเขียนบรรยายเป็นข้อสอบอัตนัยต่อจากนั้นจะมีการสอบสัมภาษณ์ ในวันที่ 2 เป็นการสอบภาคปฏิบัติถือเป็นจุดเด่นในการคัดเลือกเยาวชนเข้าเรียนในวิทยาลัยโพธิวิชาลัย การสอบภาคปฏิบัติเน้นให้สอดคล้องกับลักษณะพื้นที่ในภาคตะวันตกทั้งหมดซึ่งรวมถึงจังหวัดตากด้วย”

รศ.อำนาจ กล่าวอีกว่า ข้อสอบภาคปฏิบัตินั้นถือเป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการคัดเลือกนิสินเข้าเรียนในวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย ทุกพื้นที่ ส่วนใหญ่ข้อสอบภาคปฏิบัติจะเน้นการสอบเพื่อให้เห็นถึงวิถีชีวิตที่เยาวชนมีชีวิตอยู่จริง สัมผัสวิถีชีวิตจริง เพราะนิสิตเมื่อสำเร็จการศึกษาก็ต้องกลับไปทำงานในท้องถิ่นตัวเอง การรู้จักและเข้าใจวิถีชีวิตในท้องถิ่นตัวเองจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นที่เยาวชนจำเป็นต้องรู้จักและเข้าใจพื้นที่ตัวเอง

การศึกษาต้องมี(เป้าหมาย)ผู้นำต้องเอาจริง

การศึกษาต้องมี(เป้าหมาย)ผู้นำต้องเอาจริง

"ชินวรณ์ บุณยเกียรติ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นคนหนึ่งในคณะรัฐมนตรี "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ที่มีนัดสำคัญกับสื่อมวลชนสายการศึกษาแทบทุกเดือน เพื่อรายงานผลการทำงานในตำแหน่ง พร้อมเปิดใจกว้างตอบทุกข้อซักถามของสื่อมวลชนอย่างใกล้ชิด ครั้งนี้ก็เช่นกันห้องทำงาน "รมว.ศึกษาธิการ" ถูกแปรสภาพเป็นห้องพบปะพูดคุยกับสื่อมวลชนนานเกือบ 2 ชั่วโมง ก่อนขอตัวไปทำภารกิจเร่งด่วน

นายชินวรณ์ เปิดฉากคุยกับสื่อว่ารัฐบาลชุดนี้ กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการคลังมีผลงานมากที่สุด เป็นความภูมิใจและมีความสุขที่สุด ไม่เครียดที่ได้มาทำงานที่กระทรวงศึกษาธิการ นโยบายหลายเรื่องถูกผลักดันให้เป็นจริงได้ในสมัยนี้ ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.วิทยฐานะ ที่ช่วยให้ครูได้เลื่อนขั้นเงินเดือน

“อาจจะเป็นเพราะเป็นครูมาก่อน เป็นส.ส.มาหลายสมัย เป็นกรรมาธิการมาก็หลายชุด งบประมาณก็อภิปรายมานักต่อนัก ทำให้ได้ข้อสรุปว่าการพัฒนาชาติ พัฒนาประเทศต้องพัฒนาคน ซึ่งก็คือการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพให้แก่ประชาชนนั่นเอง” นายชินวรณ์กล่าว

รัฐบาลชุดนี้ถึงได้ประกาศนโยบายโรงเรียนดีประจำตำบล เพื่อให้จัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพให้แก่นักเรียนในชนบท กศน.ประจำตำบล เพื่อจัดการศึกษาคนที่อยู่นอกระบบจำนวน 30 ล้านคนให้เข้าถึงการศึกษาและเกิดการเรียนรู้อย่างไม่มีวันสิ้นสุด

“นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับการศึกษามาก ทุกครั้งที่ประกาศนโยบายการศึกษา นายกฯ จะเป็นพรีเซ็นเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเรียนฟรี 15 ปี กศน.ตำบล และวันที่ 22 ตุลาคม 2553 ได้ประกาศจุดเน้นการจัดการศึกษาแต่ละระดับเพื่อให้มีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน เดือนถัดมาวันที่ 5 พฤศจิกายน ลงนามเอ็มโอยูกับกระทรวงมหาดไทยประกาศโรงเรียนดีประจำตำบล ส่วนวันที่ 15 พฤศจิกายน จะประกาศนโยบายอีเลิร์นนิ่งช่วยให้การจัดการศึกษาเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น” นายชินวรณ์กล่าว

อย่างเช่น ป.1-3 อ่านออก เขียนได้ ป.4-6 อ่านเขียนได้คล่องขึ้น ม.1-3 เรียนรู้อย่างคิดวิเคราะห์ และ ม.4-6 รู้ว่าตัวเองอยากมีอาชีพอะไร เพื่อจะได้เรียนต่อในสาขาที่ต้องการและสามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้คล่อง

“จากนี้ไปการจัดการศึกษาจะมีเป้าหมายมากขึ้นเหมือนในต่างประเทศที่กำหนดกันชัดเจน เช่นที่จีนที่กำหนดไว้ว่าคนต้องมีงานทำ เยอรมันต้องมีจิตสาธารณะ สิงคโปร์ โลกาภิวัตน์ ต่อไปคนไทยจะพูดภาษาอังกฤษได้ เป็นพลเมืองที่ดี และในเดือนมกราคม 2554 จะประกาศให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการงบประมาณด้านการศึกษา 8 หมื่นล้านบาท หลังจากที่ได้กระจายอำนาจการจัดการไปให้สถานศึกษาแล้ว” นายชินวรณ์ กล่าว

ก่อนหน้านี้กระจายอำนาจไปให้สถานศึกษาเรื่องอุปกรณ์การเรียน และเสื้อผ้า ต่อไปนี้จะกระจายอำนาจเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการจัดการศึกษา โดยสถานศึกษาจะต้องเปิดโอกาสให้กรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการ ซึ่งอาจจะต้องมีการเปิดประชาพิจารณ์ร่วมกันว่าจะมีแนวทางในการดำเนินการอย่างไร

ยกตัวอย่างการจัดซื้อจัดจ้าง หากโรงเรียนสามารถดำเนินการในรูปแบบของสหกรณ์จะทำให้มีงบประมาณมาบริหารจัดการในด้านอื่นๆ ได้ด้วย แต่ว่าทั้งนี้ทั้งนั้นการดำเนินการใดๆ ของสถานศึกษาจะต้องได้รับฉันทานุมัติร่วมกันระหว่างโรงเรียน กรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง โดยอยู่บนพื้นฐานความโปร่งใสและพึงพอใจของทุกๆ ฝ่าย เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะตามมา

ในส่วนของกศน.ตำบลปัจจุบันมี 2,200 ศูนย์ ใช้วัด อบต. โรงเรียน เป็นที่ทำการ มีครู 8,200 คน ซึ่งศูนย์แห่งนี้จะเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนทุกวัยทั้งผู้สูงอายุ พ่อแม่ และเด็ก เป็นศูนย์บริการวันสต็อปเซอร์วิส

เคล็ดการทำงานของรัฐมนตรีชินวรณ์ คือการเปิดรับฟังข้อมูลข่าวสารจากทุกภาคส่วนผ่านช่องทางหลากหลายและนำไปปฏิบัติทันทีหากเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

“ผมมีที่ปรึกษาจากภาคเอกชนเป็นประธาน ให้ข้าราชการเป็นฝ่ายเลขาฯ ทำงานร่วมกัน ทุกคนมีสิทธิเสนอความคิดเห็นให้รัฐมนตรีทำงาน ถ้าแนวคิดไหนดี เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะผมจะเอาไปใช้ทันที แต่ไม่ตั้งใครเป็นที่ปรึกษาอย่างเป็นทางการเดี๋ยวเอาไปอ้าง แต่ถ้าอยากทำงานมาช่วยกันได้เลย และเรื่องผลประโยชน์ไม่ยุ่งเลย เพราะสมัยก่อนเป็นฝ่ายค้านอภิปราย รมว.ศึกษาธิการมาแล้ว 4 คน ไม่กล้าทำกลัวโดนอภิปราย” นายชินวรณ์ กล่าว

ถึงวันนี้นโยบายหลายอย่างที่ประกาศไว้จะเดินหน้าได้ แต่ยังไม่เห็นผลในทางปฏิบัติที่สามารถวัดออกมาเป็นดัชนีชี้วัดได้ แต่ถือว่าหลายอย่างขับเคลื่อนไปได้ แต่ที่ต้องพูดเรื่องปฏิรูปการศึกษาเป็นประจำเพื่อตอกย้ำสังคมให้เข้าใจว่ารัฐบาลนี้เอาจริงเอาจังกับงานด้านการศึกษาอย่างแน่นอน ที่สำคัญก่อนจะประกาศวาระด้านต่างๆ ออกไป มีการหารือที่ปรึกษาชุดต่างๆ และนำมาผสมผสานกับความคิดเห็นส่วนตัว และกำหนดตารางการทำงานไว้อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้สาธารณะได้รับรู้ข้อมูลที่ตรงกัน

ที่สำคัญต้องการสื่อสารกับประชาชนให้ได้มากที่สุดว่า “รัฐบาลชุดนี้ โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี” ให้ความสำคัญต่องานด้านการศึกษามาก เพราะรับเป็นพรีเซ็นเตอร์เกือบทุกรายของกระทรวงศึกษาธิการ

ที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20101028/77638/การศึกษาต้องมี(เป้าหมาย)ผู้นำต้องเอาจริง.html

ศาลปค.รับฟ้องตัดสิทธิ์ม.6ขาดรูปสอบแพทย์

ศาลปค.รับฟ้องตัดสิทธิ์ม.6ขาดรูปสอบแพทย์

ศาลปกครองรับคำร้องคณะกรรมการสิทธิฯ ที่ยื่นฟ้อง กสพท.ตัดสิทธิ์ "ม.6" สอบแพทย์ เหตุขาดรูป 1 ใบ ศาลนัดไต่สวนเพื่อพิจารณาคุ้มครองฉุกเฉิน "ประธาน กสพท." ยินดีชี้แจงทุกประเด็น ขณะที่ "น้องพลอย" ยืนยันไม่ได้สู้เพื่อตัวเองเท่านั้น แต่เพื่อเพื่อนอีกหลายคนที่ถูกละเมิดสิทธิ

นายอำนวย สุนทรโชติ ประธานชมรมค่านิยมเพื่อสร้างชาติ เปิดเผยว่า ตามที่กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ได้ตัดสิทธิ "น้องพลอย" หรือ น.ส.ศรัญญา จันนามวงค์ นักเรียนชั้น ม.6 ร.ร.เบญจมราชรังสฤษฎิ์ จ.ฉะเชิงเทรา ไม่ให้เข้าสอบเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าเรียนในคณะแพทยศาสตร์ โดยอ้างเหตุผลว่า น.ส.ศรัญญาส่งรูปขาดไป 1 ใบนั้น

นายอำนวยกล่าวว่า หลังจากได้รับการปฏิเสธผ่านหน้าหนังสือพิมพ์จาก กสพท.แล้ว ได้พา น.ส.ศรัญญาไปยื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรี รมว.ศึกษาธิการ และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ปรากฏว่าวันที่ 27 ตุลาคม 2553 คณะกรรมการสิทธิฯ มีมติจะยื่นฟ้องศาลปกครองแทน น.ส.ศรัญญา โดยจะยื่นต่อศาลปกครองกลางในวันเดียวกัน ซึ่งผลปรากฏว่าศาลปกครองกลางรับคำฟ้องกสพท. พร้อมนัดไต่สวนในวันที่ 28 ตุลาคมนี้ เพื่อพิจารณาคุ้มครองฉุกเฉินให้น้องพลอยมีสิทธิ์สอบแพทย์หรือไม่ในวันที่ 30 ตุลาคมนี้

นายอำนวย กล่าวต่อว่า ขอตั้งข้อสังเกตกรณี น.ส.ศรัญญา ยืนยันว่าได้ส่งรูปไปครบ 5 ใบ แต่ไม่ทราบว่าทำไมกสพท.ได้รับแค่ 4 ใบ (การสมัคร, การจ่ายเงินและการส่งเอกสารนั้น ล้วนเป็นการสื่อสารทางเดียวทั้งหมด)

อีกทั้งการที่ กสพท.อ้างว่าได้ขยายเวลาส่งเอกสารเพิ่มเติมออกไปอีก 1 เดือนสำหรับนักเรียนที่ส่งเอกสารไม่ครบนั้น การประกาศขยายเวลาเป็นการประกาศบนเว็บไซต์ของกสพท.เท่านั้น และเป็นประกาศที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่ 3 กันยายน 2553 ที่การรับสมัครเสร็จสิ้นไปแล้ว น.ส.ศรัญญาจึงไม่รับทราบประกาศดังกล่าว

ประกอบกับตามระเบียบการรับสมัครของกสพท.ระบุให้นักเรียนที่สมัครเข้าตรวจสอบสถานภาพการสมัครและสถานที่สอบจากเว็บไซต์กสพท. โดยไม่ได้ระบุว่าจะต้องเข้าไปตรวจสอบภายในเมื่อใด น.ส.ศรัญญาจึงเข้าไปตรวจสอบในวันที่ 15 ตุลาคม 2553 ก่อนการสอบในวันที่ 30 ตุลาคม 2553 เป็นเวลา 15 วัน ซึ่งสมเหตุสมผล แต่กสพท.กลับคาดหวังว่านักเรียนควรจะเข้าดูเว็บไซต์อยู่เรื่อยๆ เพื่อจะได้พบประกาศฉบับดังกล่าวของกสพท.

ประเด็นที่ทุกคนเห็นตรงกันคือ กสพท.พบรูปน.ส.ศรัญญาจำนวน 4 ใบ ไม่ใช่ไม่พบเลย ดังนั้นถ้ากสพท.จะแก้ปัญหาโดยไม่โยนภาระไปให้เด็ก แล้วกสพท.สามารถที่จะสแกน, ถ่ายเอกสาร หรือโทรไปแจ้งน.ส.ศรัญญาหรือส่งจดหมายไปแจ้ง น.ส.ศรัญญา หรือส่งเมลไปแจ้งน.ส.ศรัญญา ซึ่งกสพท.มีเบอร์โทร มีที่อยู่ของน.ส.ศรัญญาและผู้ปกครองอยู่ในใบสมัคร แต่กสพท.ไม่ทำอะไรเลย

"ผมพบว่ามีนักเรียนอีกหนึ่งคนที่อยู่ห้องเดียวกับน.ส.ศรัญญาก็ถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้เข้าสอบเหมือนกัน โดย กสพท.อ้างว่าส่งเอกสารล่าช้า และจากการให้สัมภาษณ์ของกสพท.ก็แสดงให้เห็นว่า กสพท.ได้ตัดสิทธิ์นักเรียนจำนวนมากไม่ให้เข้าสอบ ไม่ใช่น.ส.ศรัญญาเพียงคนเดียวเท่านั้น" นายอำนวยกล่าว

นายอำนวย กล่าวต่อว่า กสพท.ยืนยันไม่คืนเงิน 1,200 บาท ให้แก่นักเรียนที่ถูกตัดสิทธิ์ ทั้งๆ ที่เงิน 1,200 บาทนี้เป็นค่าใช้จ่ายในการสอบ เมื่อนักเรียนไม่ได้เข้าสอบกสพท.ควรจะคืนเงินให้นักเรียน การไม่คืนเงินให้นักเรียนที่ไม่ได้เข้าสอบ และเป็นนักเรียนจำนวนมากนี้ ถือเป็นการค้ากำไรเกินควร

"ถ้าจะมีใครสักคน การสรุปว่ากรณีที่เกิดขึ้นเป็นความไม่รอบคอบของน.ส.ศรัญญา ซึ่งเมื่อไม่รอบคอบก็ไม่ควรไปเป็นหมอ เพราะถ้าไปเป็นหมอจะสร้างความเสียหายได้นั้น ผมคิดว่า ถ้าใช้บรรทัดฐานว่าคนที่ไม่รอบคอบไม่ควรเป็นหมอแล้วก็ต้องถือว่าคนที่ออกประกาศการรับสมัครของกสพท.นั้นไม่ควรเป็นหมอเป็นอย่างยิ่ง เพราะการออกประกาศฉบับนี้ไม่รัดกุมและไม่รอบคอบเลย จนก่อให้เกิดความเสียหายและความวุ่นวายอย่างที่เป็นอยู่ ผมขอเรียกร้องให้นักเรียนทั้งหมดที่จ่ายเงินไปแล้วแล้วถูกตัดสิทธิ์ให้ลุกขึ้นต่อสู้เพื่อขอสิทธิ์หรือขอเงินคืน ส่งข้อมูลมาให้ผมทางอีเมล buildingthailand@hotmail.com ซึ่งผมจะประสานงานเรื่องฟ้องร้องให้" นายอำนวย กล่าว

ด้าน ศ.พญ.บุญมี สถาปัตยวงศ์ ประธานคณะอนุกรรมการจัดสอบคัดเลือกระบบรับตรงของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่ได้รับเรื่องร้องจากศาลปกครอง หรือทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชาติแห่งชาติ แต่หากมีเรื่องเข้ามา ทางกสพท.ก็พร้อมและยินดีที่จะเข้าไปชี้แจง ส่วนข้อมูลที่จะเข้าไปชี้แจงนั้น ต้องดูก่อนว่าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชาติแห่งชาติ หรือศาลปกครอง ต้องการให้ไปชี้แจงกรณีใด

ขณะเดียวกันหลังจากทราบผลว่าศาลปกครองกลางรับคำฟ้อง น.ส.ศรัญญากล่าวด้วยเสียงสั่นเครือว่า ดีใจมากๆ ไม่คิดว่าศาลจะเมตตา และขอยืนยันว่า การต่อสู้ในครั้งนี้ไม่ได้ทำเพื่อตัวเองเท่านั้น แต่ทำเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้เพื่อนๆ อีกหลายคนที่ถูกละเมิดสิทธิอย่างไม่เป็นธรรม จากการถูก กสพท.ตัดสิทธิ์สอบแพทย์ที่จะมีขึ้นในวันที่ 30 ตุลาคม 2553 นี้ เพียงเพราะว่าขาดรูป โดยที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่ารูปหายในขั้นตอนไหน

ทั้งนี้เมื่อเวลา 18.00 น. ศาลปกครองมีคำสั่งนัดไต่สวน ในวันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม 2553 เวลา 14.00 น. ณ ห้องไต่สวนชั้น 2 ศาลปกครองกลาง เพื่อมีคำสั่งว่าจะคุ้มครองให้มีสิทธิเข้าสอบในวันที่ 30 ตุลาคม 2553 หรือไม่

อ่านอย่างไรให้ไว...(และได้เรื่อง)

อ่านอย่างไรให้ไว...(และได้เรื่อง)

ในชีวิตประจำวันเราต้องอ่านหนังสือทุกวัน ตามป้ายโฆษณา โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อ่านหนังสือสอบ หรือแม้ใครเจอปัญหากับการอ่านสอบไม่ทันตามกำหนด กลัวว่าจะอ่านไม่ทันก็เลยอยากแนะวิธีอ่านหนังสือให้เร็วและได้เรื่องแถมยังประหยัดเวลามาฝากกัน

รองศาสตราจารย์ ดร.พรชุลี อาชวอำรุง ผู้อำนวยการวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้คำแนะนำถึงวิธีการอ่านหนังสือรวดเร็วและได้ผลดี เพื่อเป็นการฝึกทักษะและสมรรถนะการเรียนของนิสิต นักศึกษาแต่ละคน โดยสอนให้อ่านเร็วอย่างรู้เรื่อง จับประเด็นเด่นชัดจด Lecture ได้ครบถ้วน ใช้ห้องสมุดเป็น ค้นคว้าเอกสารจัดทำรายงาน และนำเสนอต้อชั้นเรียนได้อย่างสมบูรณ์

“ก่อนเริ่มศึกษาฝึกฝนทักษะการอ่านเร็ว จำเป็นต้องกำหนดอัตราการอ่ารและความเข้าใจเสียก่อน ดังนั้นจึงขอแนะนำให้เลือกเอกสารประมาณ 2-3 หน้า จากหนังสือที่ต้องอ่านประจำ เช่น ตำราเรียนที่ใช้ในเทอมนี้ เป็นต้น ควรเลือกอย่างน้อย 3 ชุด และอ่านตามอัตราความเร็วปกติ ตั้งใจอ่านให้เกิดความเข้าใจ และจับประเด็นในรายละเอียดได้ด้วยควรใช้นาฬิกาจับเวลาและให้บันทึกเวลา

เริ่มเวลา : …................. นาที.....................วินาที
จบเวลา : …................. นาที ….................วินาที

วิธีการกำหนดอัตราความเร็วในการอ่าน มีขั้นตอนดังนี้

1.นับคำในเอกสารที่อ่านโดยนับเฉพาะคำหลัก คือ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา และคำขยาย(คุณศัพท์และคำวิเศษ) เท่านั้น ไม่นับคำเชื่อม ซึ่งได้แก่ บุรพบท และสันธาน และจดจำนวนที่นับได้เอาไว้ สมมติว่านับได้ 1,306 คำ

2.นำจำนวนวินาทีที่ใช้ในการอ่านในผลลัพธ์ จากข้อ 3 ไปหารจำนวนคำจากข้อ 4 ให้ใช้ทศนิยมจุดเดียว จะได้คำตอบ เช่น 2.7 หรือ 3.4 ซึ่งเป็นอัตราคำต่อวินาที

3.ท้ายที่สุด ให้นำอัตราความเร็วต่อวินาทีไปคูณด้วย 60 ก็ได้อัตราคำต่อวินาที และบันทึกไว้
การอ่านครั้งที่ 1 : อัตราความเร็วต่อวินาที =................WPM (WPM=Word Per Minute) อันที่จริงถ้าจะให้สมบูรณ์แบบ ควรตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและคิดคะแนน เพื่อให้ทราบว่า ความเข้าใจเกิดขึ้นในระดับกี่เปอร์เซ็นต์

รองศาสตราจารย์ ดร.พรชุลี บอกต่ออีกว่า ใครมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะพัฒนาอัตราความเร็วและความเข้าใจในการอ่าน จะประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน “เราทุกคนมีสามารถในการอ่าน ตามที่ธรรมชาติสร้างให้ไว้แล้วในระบบการทำงานของสมอง ผลการวิจัยทางจิตวิทยา พบว่า คนปกติใช้ศักยภาพของตนเพียง 10 % เท่านั้นเอง ลองคิดดูสิว่า ถ้าท่านใช้ศักยภาพการอ่านเพิ่มขึ้นสัก 40-50% และในปัจจุบันอ่านได้ 100 คำต่อวินาที จะได้ความรู้จากการอ่านหนังสือมากขึ้นเพียงใด ถ้าฝึกฝนการอ่านเร็วเป็นประจำเวลาที่ใช้จะเต็มประสิทธิภาพ มีความหมาย มีคุณค่า ได้ผลตามความประสงค์และเป็นประสบการณ์ที่สนุกสนานด้วย”

นอกจากนี้ Life on campus ยังมีเทคนิคการทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระจากหนังสือที่อ่านนั้นมาฝากด้วยเช่นกัน เริ่มต้นจากการจัดลำดับความสำคัญในเรื่องที่เราจะอ่านเสียก่อน โดยเฉพาเมื่อหนังสือเล่มโต ที่มีเนื้อหาหลายเรื่อง จะต้องแบ่งเป็นสำคัญมาก สำคัญปานกลางและสำนักน้อย จากนั้นให้อ่านอย่างมีสมาธิ ลดสิ่งรบกวนให้เหลือน้อยที่สุด แม้แต่เสียงเพลงก็ตาม ที่สำคัญต้องให้ความสำคัญกับในการอ่านรอบแรก

จากนั้นใช้วิธี สแกน หรือ Skim & Skip เพื่อหาใจความหลักของเรื่องที่จะอ่าน โดยวิธีง่ายๆ คือ ดูจากสารบรรณเนื้อหา และดูจากคำขึ้นต้นและลงท้ายประโยค ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจในภาพรวมขึ้นก่อน และที่สำคัญเราจะรู้ว่าส่วนไหนกันนะที่จำเป็นต้องอ่านรายละเอียดให้ตั้งคำถาม โดยเป็นการตั้งคำถามของเราเอง จากหัวเรื่อง หัวรองของเรื่อง หรือคำโปรย (คำขึ้นต้นประโยค) ของแต่ละเรื่อง แล้วสะแกนหาคำตอบจากคำหรือประโยคในเนื้อเรื่อง เพื่อให้ช่วยให้อ่านได้อึด และถนอมสายตา สมควรจะนั่งอ่าน และหาที่วางหนังสือเอียง 45 องศา
แสงไฟฟ้าเพียงพอและเป็นสีไฟฟ้าที่ถนอมสายตา เช่น สีเหลืองนวล ไม่ควรนอนอ่านเด็ดขาด ยกเว้นนิยาย การ์ตูน โน้ตย่อทันทีที่อ่านจบในส่วนสำคัญของเรื่อง เพราะจะช่วยให้ไม่เสียเวลามานั่งค้นหาอีกรอบหรือเวลาต้องทบทวน ยามใกล้สอบหรือจะต้องนำไปใช้ประโยชน์ ควรจัดหนังสือให้เป็นระเบียบ และเป็นแบ่งเป็นหมวดหมู่

เลิกการแต่งแต้มทาสี (Highlighting) ซะที ไม่ว่าจะเหลือง ส้ม หรือชมพู เพราะมันแสดงว่า เรากำลังฝืนทนทำภารกิจนี้ให้ผ่านไป เหมือนกับว่า รับปากไปก่อนแล้วจะมาอ่านทีหลัง ยังไงยังงั้นเลยเชียว ซึ่งในที่สุดก็จะได้หนังสือเลอะๆมาหนึ่งเล่มเพื่ออ่านใหม่รอบสอง และไม่ได้อะไรอยู่ดี

ทำ Pre-post test ด้วยตัวเองกับเนื้อหาทุกครั้ง หลังจากที่ตัดสินใจนั่งลงอ่าน เพื่อทดสอบความเข้าใจของเรา การตั้งคำถามและหาคำตอบด้วยตัวเอง เป็นอะไรที่วิเศษที่สุด ปิดท้ายด้วยการฝึกฝนวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพสมองด้วยเทคนิควิธีการตรวจวัดความเร็วในการอ่าน ถือว่าเป็นวิธีที่สำคัญ เพราะเป็นเพิ่มศักยภาพสมองที่ดีเยี่ยม แบบเดียวกับการอ่านเป็นภาพให้เป็น มิใช่อ่านทีละตัวอักษรไว้จะได้ขยายรายละเอียดในส่วนนี้ต่อไป

ที่มา http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9530000151754

จี้รัฐขยายเพดานจ้างครูต่างประเทศ

จี้รัฐขยายเพดานจ้างครูต่างประเทศ แนะอยากได้คุณภาพต้องกล้าลงทุน ยันมีทางแก้กระทบความเป็นไทย

จากการประชุมวิชาการเรื่องผลกระทบของการจัดการเรียนการสอนสองภาษา (English Program-EP) และหลักสูตรนานาชาติต่อเด็กไทย ที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ศ.(พิเศษ) ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวเปิดงานตอนหนึ่งว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เรามีการจัดการสอนภาษาอังกฤษอย่างเข้มข้นในโรงเรียนมัธยมในหลักสูตรสองภาษา และ ร.ร.นานาชาติ ซึ่ง สกศ.ถูกตั้งคำถามจากรัฐสภาว่าส่งผลกระทบต่อมิติความเป็นไทยของเด็กไทยหรือไม่ สกศ.จึงต้องระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกฝ่ายเพื่อเสนอต่อรัฐบาล ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีนโยบายที่จะให้กระทรวงศึกษาธิการเตรียมคนไทย เข้า สู่ประชาคมโลกและประชาคมอาเซียน ซึ่งจะมีการใช้ภาษาอังกฤษในการทำงาน

นางอุษา สมบูรณ์ นายกสมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ข้อห่วงใยด้านวัฒนธรรมไทยนั้นมีแนวทางแก้ไขได้ โดยหากเป็นเด็กไทยใน ร.ร.นาชาติ ต้องเรียนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย 5 คาบต่อสัปดาห์ ส่วนนักเรียนต่างชาติเรียน 1 คาบต่อสัปดาห์ ทั้งนี้ หากผู้บริหารหรือเจ้าของ ร.ร.นานาชาติเป็นคนไทย จะให้ความสำคัญกับการสร้างเด็กไทยให้มีหัวใจไทยแต่คิดแบบสากล แต่หากเปิดเสรีทางการศึกษากฎหมายเปิดช่องให้ต่างชาติเป็นเจ้าของ ตนห่วงว่าต่างชาติจะไม่ให้ความสำคัญ ซึ่ง ศธ.ควรระวัง ขณะที่นาย วรรณสาร วรกิจ ผอ.ร.ร.นานาชาติเซนต์สตีเฟ่นส์ กล่าวว่า ร.ร.นานาชาติ และหลักสูตร EP เป็นอีกทางเลือกของการศึกษาไทย ซึ่งรัฐบาลต้องยอมรับว่าการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้ต้องมีการลงทุน ส่วนการจ้างครูต่างชาติ ควรตรวจสอบคุณวุฒิ โดยเฉพาะการจ้างฝรั่งที่อาศัยอยู่ ในประเทศพบว่าจำนวนมากใช้วุฒิปลอม แต่หากจ้างโดยตรงจากต่างประเทศจะไม่ค่อยพบปัญหา

ด้านผู้แทน ร.ร.ที่เปิดสอนหลักสูตร EP สะท้อนว่า ปัญหาคือการจ้างครูต่างประเทศ กระทรวงการคลังกำหนดเพดานไว้ หาก ร.ร. ต้องการครูที่เก่งมีคุณภาพ จะต้องจ้างในอัตราที่สูงกว่าที่กระทรวงคลังกำหนด โดยต้องหารายได้มาสมทบเอง จึงอยากให้กระทรวงคลังขยายเพดาน เพื่อที่ ร.ร.จะได้จ้างครูที่เก่งและมี คุณภาพได้.

ไบโอเทคเร่งพัฒนาพันธุ์ข้าว ต้านทานโรคทนน้ำท่วมฉับพลัน

ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผยว่า กระทรวงวิทย์ได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เร่งหาวิธีแก้ไขปัญหาและความเสียหายของภาคเกษตรกรรม โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ซึ่งประสบผลสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ ข้าวให้ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยโรคและแมลงศัตรูพืชต่างๆ สำหรับพันธุ์ข้าว ได้แก่ สายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน, สายพันธุ์ กข 6 ต้านทานโรคไหม้, สายพันธุ์ข้าวแก้วเกษตรต้านทานโรคไหม้ และข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน ร่วมกับสหกรณ์การเกษตรผักไห่ จำกัด ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีในระดับชุมชน ซึ่งเขตพื้นที่ ต.ผักไห่ ประสบปัญหาน้ำท่วมขังทุกปี ดังนั้น จึงขอแนะนำพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลันเป็นพันธุ์ที่เหมาะสมและให้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดี ขยายพันธุ์และส่งไปยังตลาดต่างๆเพิ่มรายได้ ให้กับชุมชน.

โชว์แผนแก้ปัญหานักเรียน-นักเลง

ศธ.โชว์แผนแก้ปัญหานักเรียน-นักเลง จ่อใช้มาตรการเชิงรุก เฝ้าระวังเหตุ 24 ชั่วโมง

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียน นักศึกษา ครั้งที่ 2/2553 ที่ประชุมได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอแผนดำเนินงานเพื่อ รองรับมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียนนักศึกษาทะเลาะวิวาท โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เสนอนครศรีธรรมราชโมเดลที่ทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือและได้ผลดี โดยมีกรรมการ 2 ชุด คือ ชุด อำนวยการมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีรองผู้ว่าฯ ปลัดจังหวัด ผู้บัญชาการมณฑลทหารบก ผู้บังคับการตำรวจภูธร เป็นรองประธาน และกรรมการดำเนินงาน มีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นหัวหน้าศูนย์ และยังมีมาตรการเชิงรุก เช่น ระบบดูแลช่วยนักเรียนเข้มข้น มีการสร้างทัศนคติ "นักเรียนไทยมีศักดิ์ศรี คนดีไม่ตีกัน" ตนเห็นว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ดีจึงให้นำมาขยายผล

รมว.ศึกษาธิการกล่าวอีกว่า นอกจากนี้สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน เสนอมาตรการเชิงรุกการเฝ้าระวังเหตุ 24 ชั่วโมง และมีการจัดตั้งเครือข่ายศูนย์เสมารักษ์ 4 จุด 4 มุมเมือง ได้แก่ ดอนเมือง มีนบุรี สมุทรปราการ และบางแค พร้อมกันนี้ได้จัดทำคู่มือการแก้ปัญหาทะเลาะวิวาทแจกจ่ายสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เสนอมาตรการระยะสั้นจัดอบรมนักศึกษากลุ่มเสี่ยง 400 คนก่อนเปิดภาคเรียน จัดทำข้อมูลประวัตินักศึกษากลุ่มเสี่ยง กองบัญชาการตำรวจนครบาล เสนอแผนสำรวจข้อมูลสถานศึกษาที่มีปัญหา เช่น ตรวจ ค้นสถานศึกษา ตรวจตราจุดเสี่ยง กวดขัน จับกุม ผู้ กระทำผิด กดดันเชิงรุกต่อบุคคลกลุ่มเสี่ยง และตรวจค้นตัวนักศึกษาป้องกันการพกพาอาวุธร้ายแรง ทั้งนี้ ตนจะนำแผนดังกล่าวในภาพรวมรายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป.

น้ำท่วมตายแล้ว59 ยอดป่วยพุ่ง กว่า1.2แสนราย

"จุรินทร์" เผย ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุน้ำท่วมเป็น 59 ราย โดย 52 รายเสียชีวิตจากการจมน้ำ ส่วนคนป่วยพุ่งกว่า 1.2 แสนราย "จุรินทร์" สั่ง อภ.ผลิตยาชุดช่วยผู้ประสบภัยเพิ่มอีก 9 แสนชุด พบชาวบ้านป่วยโรคเครียดแล้ว 168 ราย ส่งแพทย์เยียวยา...

เมื่อวันที่ 27 ต.ค. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอุทกภัยด้าน การแพทย์และสาธารณสุข ว่า ขณะนี้มีผู้ประสบภัยเจ็บป่วยได้รับการรักษาที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่แล้ว 122,000 ราย มีผู้เสียชีวิต 59 ราย เพิ่มขึ้น 3 ราย ที่ จ.สระบุรี ชัยนาท และพิจิตร โดย 52 ราย เสียชีวิตจากการจมน้ำ เมื่อตรวจสอบสาเหตุการเสียชีวิตพบว่า หลายรายป้องกันได้ โดยให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง การออกจากบ้านขณะน้ำหลากไหลเชี่ยว การอุ้มเด็กเล็กฝ่ากระแสน้ำ การออกหาปลา ขอเตือนประชาชนให้ดูแลตัวเอง อย่าพาตัวองไปอยู่ในภาวะเสี่ยงโดยไม่จำเป็น ในส่วนสถานบริการสาธารณสุขในสังกัด ได้รับความเสียหาย 42 แห่ง โดย 3 แห่งใหญ่ ได้แก่ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โรงพยาบาลชัยภูมิ และโรงพยาบาลพิมาย ทุกแห่งเปิดบริการได้ตามปกติแล้ว

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ประเด็นสำคัญที่เร่งรัดโดยด่วนที่สุด คือ การเตรียมยาชุดน้ำท่วม ซึ่งแจกไปพื้นที่น้ำท่วมทั่วประเทศแล้ว 3 แสนชุด แต่ยังมีความต้องการอีกมาก ทั้งยาชุดน้ำท่วมและยารักษาโรคน้ำกัดเท้า ซึ่งจะให้อยู่ในชุดเดียวกัน ที่ผ่านมาองค์การเภสัชกรรมที่เป็นหน่วยผลิตหลัก ผลิตได้ 20,000 ชุดต่อวัน ได้สั่งการให้เพิ่มการผลิตให้ได้วันละ 100,000 ชุด และภายใน 5 วันจะผลิตให้ได้ 900,000 ชุด เพื่อเร่งกระจายให้ถึงพื้นที่โดยเร็วที่สุดตามคำสั่งของประธานศูนย์อำนวยการฯ โดยในยาชุดน้ำท่วม ประกอบด้วย ยาลดไข้ ยารักษาโรคน้ำกัดเท้า ยารักษาโรคผิวหนังอื่นๆ นอกจากนี้ จะเร่งกระจายถุงดำ เพื่อใช้ใส่อุจจาระไม่ให้ประชาชนถ่ายลงน้ำ โดยกรมอนามัยได้แจกถุงดำไปแล้ว 360,000 ถุง สิ่งที่อยากแนะนำประชาชนคือ การทำสุขาชั่วคราวใช้เอง โดยใช้กล่องกระดาษเจาะรูแล้วใส่ถุงดำรองรับอุจจาระแทนโถส้วม โดยถุงดำที่แจกจะมีเชือกไว้สำหรับรัดปากถุงหลังใช้งาน และเก็บรวบรวมไว้รอการกำจัดต่อไป

ส่วนประเด็นที่จะเร่งดำเนินการต่อไปคือ การเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคหลังน้ำท่วม 6 โรค ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง ไข้หวัด ไข้เลือดออก ฉี่หนู หัด และเครียด ขณะนี้พบผู้มีภาวะเครียดที่ต้องติดตามดูแลใกล้ชิด 168 ราย ได้มอบให้หน่วยแพทย์เคลื่อนที่จัดเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพจิตร่วมเยียวยาด้วย ทุกครั้ง นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้เฝ้าระวังโรงพยาบาล ที่อยู่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ป่าสัก ชี มูล ให้เตรียมป้องกันไม่ให้น้ำท่วมโรงพยาบาล ตามนโยบายที่มอบไว้ 4 แผนหลัก ซึ่งใน กทม. นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ มี 19 แห่งที่เสี่ยง และให้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกไปเยี่ยมผู้ประสบภัยถึงบ้าน ในพื้นที่ที่ประชาชนไม่สามารถเดินทางออกมารับบริการได้ พร้อมทั้งสำรวจค้นหา ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ผู้ป่วยอัมพาต อัมพฤกษ์ ผู้พิการ เด็กเล็ก นำมาไว้ในที่ปลอดภัย และส่งทีมแพทย์ดูแลต่อเนื่อง.

เผยสาวไทย70% ถูกล่วงละเมิด วงเสวนาชี้น่าห่วง

วงเสวนาวันสตรีสากลเผยผลสำรวจ พบหญิงไทยเกือบ70% ถูกล่วงละเมิดทางเพศในรูปแบบต่างๆ โดยภาคอีสานถูกละเมิดมากที่สุด แนะแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ สอนผู้หญิงต้องเข้าใจในความเป็นคนที่มีศักดิ์ศรี ซัดชายอย่าทำตัวเยี่ยงนักมวย...

เมื่อวันที่ 27 ต.ค. ในการเสวนาเรื่อง “สถานการณ์การล่วงละเมิดทางเพศในประเทศไทยและการพัฒนาระบบการป้องกันใน อนาคต” ในงานวันสตรีสากลประจำปี 2553 ดร.ศิริพร จิรวัฒน์กุล ผอ.ศูนย์ประสานงานองค์การอนามัยโลกด้านการวิจัยและการฝึกอบรม ด้านเพศภาวะและสุขภาพสตรีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า จากการวิจัยการละเมิดสิทธิสตรีในประเทศไทย ช่วงเดือน เม.ย.-ส.ค. 2553 โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้หญิงที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ 4,200 คน พบส่วนใหญ่ต้องทำงานบ้านควบคู่กับการหารายได้นอกบ้าน โดย 70% มีภาระต้องเลี้ยงดูทุกคนในครอบครัว และเกือบ 70% ถูกล่วงละเมิดทางเพศในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะการถูกละเมิดสิทธิด้านอนามัยเจริญพันธุ์มากที่สุด

จากการจำแนกเป็นพบประเด็นที่ถูกละเมิดมากที่สุดคือ ความคับข้องใจที่ไม่สามารถทำกิจกรรมที่อยากทำ เพราะเป็นผู้หญิง รองมาคือได้ค่าตอบแทนน้อยกว่าชายในงานที่ทำเช่นเดียวกัน ไม่ได้รับความเป็นธรรมในหน้าที่การงาน ถูกขัดขวางด้านการศึกษา ถูกกดกันให้ต้องทำตามความต้องการของสามี ตามลำดับ โดยกลุ่มอายุ 25-34 ปีถูกละเมิดมากที่สุด และผู้หญิงในภาคตะวันอกเฉียงเหนือถูกละเมิดสิทธิมากที่สุด ส่วนการแก้ปัญหาต้องเริ่มแก้ที่วิธีคิด โดยเฉพาะโครงสร้างเชิงอำนาจที่ยังมองผู้ชายมีอำนาจเหนือกว่า

ด้าน น.ส.สุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง หน.ศูนย์พิทักษ์สตรี มูลนิธิเพื่อนหญิง กล่าวว่า การแก้ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศไม่สามารถรอตั้งรับได้ แต่ต้องรุกเข้าถึงปัญหา เพราะหญิงที่ถูกกระทำมักถูกสอนว่าเป็นผู้หญิงหรือภรรยาต้องอดทน หากผู้หญิงยังไม่เข้าใจในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมทั้งผู้ชายยังมองตนเองเป็นช้างเท้าหน้า ปัญหาการล่วงละเมิดก็คงแก้ได้ยาก นอกจากนี้ ต้องให้ชุมชนมีส่วนร่วมแก้ปัญหา รวมถึงกลไกสหวิชาชีพที่ต้องเข้มแข็ง ทั้งนี้ ต้องทำให้ผู้หญิงเข้าใจในความเป็นคนที่มีศักดิ์ศรี ขณะที่ต้องทำให้ผู้ชายเป็นลูกผู้ชายไม่ใช่เป็นนักมวย และเข้าใจว่าผู้หญิงก็คือคนด้วย.

'นิพิฏฐ์'ปิ๊งผุดทีวีวัฒนธรรม ทดลองออกอากาศปลายปี

รมว.วัฒนธรรม ปิ๊งไอเดียตั้งโทรทัศน์วัฒนธรรม (Culture Channel) จับมือกับ อสมท. ทำรายการ เกี่ยวกับวัฒนธรรมรูปแบบต่างๆ เตรียมทดลองออกอากาศก่อน 5 ธ.ค.นี้...

เมื่อวันที่ 27 ต.ค. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ประชุมกับผู้บริหาร บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กรณีการผลักดันแนวคิดจัดตั้งโทรทัศน์วัฒนธรรม (Culture Channel) โดยใช้คลื่นความถี่ดาวเทียมของ อสมท. ที่ยังไม่ได้ใช้งาน จัดตั้งเป็นสถานีโทรทัศน์วัฒนธรรมผ่านดาวเทียม ออกอากาศ 24 ชั่วโมง เพื่อใช้เป็นช่องทางการนำเสนอเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวัฒนธรรม และเปิดพื้นที่ทางวัฒนธรรมให้ประชาชน และองค์กรทุกภาคส่วนได้มีโอกาสเรียนรู้ แลกเปลี่ยน และแสดงออกทางวัฒนธรรม ผ่านรายการประเภทต่างๆ อาทิ ข่าวเชิงวัฒนธรรม สารคดี ละครสอดแทรกวัฒนธรรม วาไรตี้ เกมโชว์ และรายการพิเศษ รวมทั้งเป็นช่องทางสื่อสารนโยบาย ผลงาน และความเคลื่อนไหวของ วธ.ด้วย

จากการหารือได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า จะให้โทรทัศน์วัฒนธรรมเป็นทีวีสำหรับคนรักวัฒนธรรมไทย โดยรูปแบบการดำเนินการนั้น วธ.จะสนับสนุนงบผลิต และประชาสัมพันธ์บางส่วน จัดหาเครื่องรับชมในการรับชมรายการในพื้นที่ของ วธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วน อสมท.จะทำหน้าที่บริหารจัดการเนื้อหา และการออกอากาศทั้งหมด รวมทั้งรับผิดชอบดูแลรักษาอุปกรณ์

ทั้งนี้ ตั้งเป้าไว้ว่าโทรทัศน์วัฒนธรรมจะเข้าถึงเยาวชน ประชาชนประมาณ 64 ล้านครัวเรือน ผ่าน 3 ช่องทาง ดังนี้ ทางทรูวิชั่นส์ เน้น กทม. และหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด จานดาวเทียมครอบคลุมทั่วประเทศ และเคเบิลท้องถิ่น เน้นพื้นที่ต่างจังหวัด

"ขณะนี้กำลังจัดทำรายละเอียดว่า ต้องใช้งบประมาณจำนวนเท่าไร จากนั้นจะจัดทำคำของบฯ กลางจากสำนักงบประมาณ ซึ่งคิดว่าไม่น่าจะใช้งบจำนวนมากเท่าไร เพราะอุปกรณ์ และสถานที่ส่งสัญญาณทาง อสมท.มีอยู่แล้ว ในเบื้องต้นคิดว่า จะใช้งบฯ 30-50 ล้านบาท ซึ่ง วธ.จะประชุม เพื่อสรุปรูปแบบ และการดำเนินการทั้งหมดอีกครั้งต้นเดือน พ.ย.นี้ และจะเร่งผลักดันให้มีการตั้งคณะกรรมการ ทำหน้าที่บริหารจัดการ จะพยายามให้เปิดทดลองออกอากาศได้ก่อนวันที่ 5 ธ.ค.นี้" รมว.วธ. กล่าวในที่สุด.

Wednesday, October 27, 2010

กศน.ขยายเวลารับนศ.เหตุน้ำท่วม

นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ เบื้องต้นได้รับรายงานว่า มี กศน. ตำบลกว่า 400 แห่งถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหาย โดยประมาณครึ่งหนึ่งหรือ 200 แห่ง ได้รับความเสียหายอย่างหนักถึงขนาดต้องปรับปรุงใหม่เกือบทั้งหมด และหนังสือ สื่อ อุปกรณ์สำหรับให้บริการประชาชนก็ได้รับความเสียหายไปกับน้ำ อย่างไรก็ตามก็ต้องขอชื่นชมเจ้าหน้าที่ กศน.ตำบลทุกแห่งที่ไหวตัวทันสามารถนำคอมพิวเตอร์หนีน้ำได้ทัน ยังไม่ได้รับรายงานว่ามีคอมพิวเตอร์ กศน. ตำบล เสียหายเลย

เลขาธิการ กศน. กล่าวต่อไปว่า สำหรับการปรับปรุงซ่อมแซมส่วนที่เสียหายคาดว่าจะใช้งบฯ เฉลี่ยแห่งละ 2.5 แสนบาท หรือกว่า 20 ล้านบาท แต่ กศน. จะของบฯ จากรัฐบาลเพียงบางส่วน เพราะจะขอความร่วมมือจากเครือข่ายในพื้นที่ในการจัดหา หนังสือ สื่อ และอุปกรณ์มาบริการประชาชน โดยเท่าที่ได้รับรายงานจังหวัดที่ได้รับความเสียหายหนักที่สุดคือ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยาและพื้นที่ในภาคกลาง รวมถึงบางจังหวัดทางภาคเหนือ และภาคอีสาน เช่น ลำปาง พิจิตร อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ เป็นต้น


“จากภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นพบว่า ในส่วนของ กศน. สิ่งที่ส่งผลกระทบกับประชาชนมากที่สุดคือ ความยากลำบากในการมาติดต่อสมัครเข้าเรียนสายสามัญกับ กศน. ดังนั้นผมจึงได้สั่ง กศน.จังหวัดทุกจังหวัดที่ประสบภาวะน้ำท่วมขยายเวลาการรับสมัครออกไปอีกอย่างน้อย 2 สัปดาห์แล้ว” นายอภิชาติ กล่าว.

อธิการฯมสด.กระตุ้นอาจารย์ สอนต้องเก่งอย่าเก่งแต่พูด

รศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิบการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) มอบนโยบายและบรรยายพิเศษ เรื่อง ความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยในมิติความเข้มแข็งทางวิชาการ ในการเป็นประธานประชุมคณาจารย์ มสด. ประจำภาคการศึกษาที่ 2/2553 ว่าการประเมินคุณภาพของอาจารย์นั้น เนื่องจาก มสด. มีการบริหารงานด้วยระบบประกันคุณภาพ ซึ่งทุกอย่างจะประเมินได้จากเนื้องานที่รับผิดชอบของอาจารย์แต่ละท่าน จึงอยากให้ตระหนักถึงกลยุทธ์ในการเรียนการสอนให้มาก ไม่ใช่เพียงแค่พูดแต่ไม่ทำ เพราะการประเมินของ มสด. เป็นการประเมินเชิงประจักษ์ ต้องทำให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน จับต้องได้ รวมถึงหลักสูตรการเรียนการสอนที่อาจารย์ทุกคนต้องมีความเข้าใจถึงหลักสูตรให้มาก รู้ปรัชญาในศาสตร์ของวิชานั้น ๆ ว่าทำอะไร เพื่ออะไร อย่าไปกังวลกับความเก่งของคนอื่น แต่ให้สร้างความเข้มแข็งให้ตัวเองให้ได้

“สำหรับการจัดการศึกษาในอนาคตอันใกล้นี้ หลักสูตรควรจะอยู่ในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) และควรมีเนื้อหาการสอนที่พัฒนาไปข้างหน้า เพื่อรองรับกับความต้องการของนักศึกษาที่เพิ่มมากขึ้น เพราะนักศึกษาและผู้ปกครองต่างคาดหวังกับทางมหาวิทยาลัยไว้สูงสุด นอกจากนี้ขอฝากให้คณาจารย์ทุกคนช่วยกันดูนักศึกษาให้มากขึ้น และต้องมีทำการประเมินวิจัยในชั้นเรียนที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของนักศึกษา และสามารถเอาผลงานทางวิชาการออกไปแข่งขัน หรือนำเสนอกับสังคมภายนอกได้ ซึ่งผมอยากฝากให้ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ เพื่อสร้างความแข็งแรงให้แก่องค์กรต่อไป” อธิบการบดี มสด. กล่าว.

บ.วินาศภัย รับทำสินเชื่อ"ช.พ.ค."ไม่ได้ แจงคุ้มครองน้อยกว่ากรมธรรม์ประกันชีวิต

ทั้งหลักเงื่อนไข"การเอาประกัน"แตกต่างกัน


ความคืบหน้ากรณีมีสมาชิกกองทุนการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ผู้เอาประกันภัยสินเชื่อเงินกู้ในโครงการสวัสดิการเงินกู้สมาชิก ช.พ.ค. โครงการ 5 และ 6 ได้ทำหนังสือร้องเรียนไปถึงเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ขอให้ตรวจสอบกรมธรรม์ประกันสินเชื่อในโครงการเงินกู้สมาชิก ช.พ.ค.ทั้ง 2 โครงการ เนื่องจากเกิดความสับสนและไม่มั่นใจในสิทธิประโยชน์ในฐานะผู้เอาประกันภัย อาทิ ในกรณีได้รับทราบข้อมูลจากตัวแทนบริษัทประกันภัยหลายๆ แห่ง ว่าในโครงการเงินกู้สมาชิก ช.พ.ค.5 ที่มีบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ธนชาตประกันชีวิต จำกัด เข้ามารับทำประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อ ค่าเบี้ยประกันรวม 37,200 บาท วงเงินประกัน 600,000 บาท โดยมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปี และในโครงการเงินกู้สมาชิก ช.พ.ค.6 ที่มีบริษัท ทิพยประกันภัย รับเบี้ยประกันสินเชื่อไป จำนวน 66,960 บาท วงเงินประกัน 1,200,000 บาท มีระยะเวลาคุ้มครอง 9 ปี แต่กลับถูกระบุว่า มีบริษัทประกันภัยในประเทศไทยอีก 3-4 แห่งได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการรับประกันใน 2 โครงการเงินกู้ดังกล่าวด้วย โดยมีการส่งต่อเป็นทอดๆ กระทั่งไปถึงสุดท้ายที่บริษัทรับประกันภัยในต่างประเทศ รับเบี้ยประกันภัยไปจริงที่ประมาณ 55% ของค่าเบี้ยประกันที่สมาชิก ช.พ.ค.จ่ายไปในแต่ละโครงการเท่านั้น โดยที่เบี้ยประกันส่วนที่หายไปประมาณ 45% กลับไปเข้ากระเป๋าของบริษัทประกันภัยในประเทศไทยที่มีการส่งต่อเป็นทอดๆ กันดังกล่าว ในรูปของเงินส่วนลด หรือค่าคอมมิสชั่น เสมือนเป็นเงินกินเปล่าจากครู ทำให้ครูต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันไปแพงเกินจริงถึงประมาณ 45% นั้น

นางจารุพร ไวยนันท์ อดีตคณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า เรื่องที่บริษัทประกันภัยจะส่งต่อความเสี่ยงไปยังบริษัทประกันอื่นๆ ก่อนจะส่งประกันความเสี่ยงไปยังบริษัทประกันในต่างประเทศต่อนั้น ถือเป็นเรื่องปกติของบริษัทประกันที่จะกระจายความเสี่ยง ส่วนที่เกรงว่าการส่งต่อเป็นทอดๆ ดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เบี้ยประกันสูงเกินจริงนั้น โดยหลักของการคำนวณเบี้ยประกันชีวิตของผู้เอาประกันจะเกี่ยวข้องกับอายุ เพศ ค่าคอมมิสชั่น และค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจ ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องอธิบายและแจกแจงให้ทางสำนักงาน คปภ.ได้ทราบในรายละเอียดด้วย สำหรับกรณีที่เกรงว่าถ้าบริษัทประกันภัยที่รับช่วงต่อเกิดมีปัญหา จะส่งผลกระทบต่อผู้เอาประกันภัยหรือไม่นั้น โดยหลักแล้วการที่บริษัทประกันภัยใดไปทำประกันความเสี่ยงยังบริษัทอื่น จะมีการเลือกบริษัทที่มีความมั่นคงอยู่แล้ว โดยเฉพาะบริษัทประกันภัยในต่างประเทศ

แหล่งข่าวจากบริษัทรับประกันวินาศภัย กล่าวถึงกรณีข้อสงสัยของสมาชิก ช.พ.ค.ที่ว่า บริษัทรับประกันวินาศภัยสามารถจะออกกรมธรรม์ประกันสินเชื่อในโครงการเงินกู้สมาชิก ช.พ.ค.ได้หรือไม่นั้นว่า เรื่องนี้ น.ส.วราวรรณ เวชชสัสถ์ ผู้ช่วยเลขาธิการสายกำกับผลิตภัณฑ์และบุคลากร สำนักงาน คปภ. เคยให้สัมภาษณ์ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2553 ไว้ชัดเจนแล้วว่า "กรณีบริษัทรับประกันวินาศภัย แต่เข้ามารับประกันสินเชื่อโครงการเงินกู้ ช.พ.ค.5 และ 6 นั้น ตามหลักกฎหมายแล้ว บริษัทรับประกันวินาศภัยจะเข้ามารับประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อไม่ได้" ทั้งนี้ เพราะแม้จะออกกรมธรรม์ขยายความคุ้มครองในลักษณะการล้อกรมธรรม์ประกันชีวิต แต่ก็ยังให้ความคุ้มครองได้ไม่ครอบคลุมเท่ากับกรมธรรม์ประกันชีวิต เพราะตามหลักเงื่อนไขของการเอาประกันชีวิตจะมีความแตกต่างกับการเอาประกันวินาศภัย เช่น กรณีการเสียชีวิตปกติ จะแตกต่างกับการเสียชีวิตจากวินาศภัย จึงออกกรมธรรม์รวมกันไม่ได้ และไม่น่าจะมีกรณีแบบนี้เกิดขึ้น

1พ.ย.นี้คุรุสภา-กรุงไทยช่วยครูเพิ่มช่องทางชำระค่าธรมเนียมใบอนุญาต

คุรุสภา-บมจ.ธนาคารกรุงไทย ลงนามความร่วมมือช่วยเหลือครู ด้วยการเพิ่มช่องทางชำระเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาต เริ่มใช้วันที่ 1 พ.ย.นี้

นายองค์กร อมรสิรินันท์ เลขาธิการคุรุสภา กล่าวภายหลังลงนามความร่วมมือการให้บริการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ระหว่างสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา โดยนายองค์กร อมรสิรินันท์ เลขาธิการคุรุสภา กับ บมจ.ธนาคารกรุงไทย โดยนางศรีประภา พริ้งพงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายงานธุรกิจภาครัฐ ที่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เมื่อเร็วๆ นี้ว่า พิธีลงนามความร่วมมือระหว่างสำนักงานเลขาธิการคุรุสภากับ บมจ.ธนาคารกรุงไทย เป็นการเพิ่มช่องทางการให้บริการรับชำระเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ค่าธรรมเนียมทดสอบ/เทียบโอนความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพ และการทำธุรกรรมด้านการเงินของคุรุสภา ผ่าน บมจ.ธนาคารกรุงไทย ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวก รวดเร็ว ลดกระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทางการเงินให้แก่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และเพิ่มช่องทางการชำระเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา จากเดิมอีก 1 ช่องทาง

เลขาธิการคุรุสภา กล่าวต่อว่า วิธีการใช้บริการ ให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาดาวน์โหลดแบบฟอร์มการใช้บริการได้ที่ เว็บไซต์คุรุสภา www.ksp.or.th กรอกรายละเอียดให้เรียบร้อย แล้วนำแบบฟอร์มไปชำระเงิน ณ จุดบริการ/สาขาของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 870 สาขา ทั่วประเทศ

นางศรีประภา กล่าวว่า รูปแบบการใช้บริการจาก บมจ.ธนาคารกรุงไทย นั้น มีทั้ง เทลเลอร์ เพย์เมนท์, เอทีเอ็ม, พีทูพี, อินเทอร์เน็ต และโมบาย1551 การชำระเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ การทดสอบ/เทียบโอนความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพ ใช้บริการได้ 2 ช่องทาง คือ ชำระผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เพย์เมนท์ เกตเวย์ และชำระผ่านบิล เพย์เมนท์ ช่องทางเทลเลอร์ เพย์เมนท์

ส่วนการทำธุรกรรมด้านการเงินของคุรุสภา ใช้บริการได้ 3 ช่องทาง คือ บริการ “ไดเร็กท์ เครดิต” ผ่านระบบ เคทีบี-บิซ เพย์เมนท์ บริการโอนเงินผ่านเคทีบี อี-เช็ค และการเรียกดูรายงานการรับชำระผ่านระบบ นิว คอร์เปอเรต แบงกิ้ง

"ระยะแรกจะเปิดให้บริการ 2 รูปแบบ คือ ชำระเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เพย์เมนท์ เกตเวย์ หรือรูปแบบเอทีเอ็ม และบิล เพย์เมนท์ เทลเลอร์ โดยคิดอัตราค่าธรรมเนียม 10 บาทต่อรายการ เริ่มให้บริการวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 เป็นต้นไป" นางศรีประภา กล่าว

ม.รามฯ ดึงหลักเศรษฐศาสตร์ แก้วิกฤตสิ่งแวดล้อม

ท่ามกลางวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่ถาโถมเป็นผลปรากฏชัดทุกวันนี้ จุดเริ่มต้นของปัญหาไม่ได้เกิดจากธรรมชาติ แต่เป็น “มนุษย์” ที่ดำเนินกิจกรรมของชีวิต จนธรรมชาติขาดความสมดุล ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน จึงไม่เพียงแต่การแก้ไขในด้านสิ่งแวดล้อม ระบบชลประทาน หรือผังเมืองเท่านั้น หากยังต้องใช้หลักเศรษฐศาสตร์ในการแก้ปัญหาควบคู่กัน

รศ.คิม ไชยแสนสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง เผยว่า ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา การพัฒนาประเทศมุ่งไปสู่มิติของการสร้างรายได้ของประชากรเป็นหลัก โดยละเลยการพิจารณาถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว แม้รายได้ต่อหัวประชากรไทยจะเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่ชีวิต ความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อมด้านสังคม และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติได้เสื่อมโทรมลง และมีแนวโน้มเลวร้ายลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะในระยะนี้ มีหลายปรากฏการณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความแปรปรวนของธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดภัยพิบัติ เช่น พายุ ภัยแล้ง แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด โรคระบาดร้ายแรงต่างๆ

ข่าวภัยพิบัติต่างๆที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมจึงเป็นเพียงปลายเหตุ เนื่องจากต้นเหตุนั้นมาจากการมุ่งพัฒนาเชิงรายได้อย่างไร้ทิศทาง จนขาดความสมดุลระหว่างมนุษย์ ธรรมชาติ และสังคม

“โดยเฉพาะล่าสุดที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ คือ สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนจำนวนมาก ซึ่งเห็นได้ว่าภัยพิบัติดังกล่าวล้วนมีที่มาจากพฤติกรรมการกินอยู่ของมนุษย์นั่นเอง ยิ่งกินมาก ยิ่งใช้มาก ก็ยิ่งมีการใช้ทรัพยากร เกิดขยะ ของเสีย และมลพิษกลับมาสู่สิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังนั้นต้องหาวิธีแก้ไขว่า เราจะช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และทางสังคมให้สมดุลกันได้อย่างไร ซึ่งการสร้างจิตสำนึกตระหนักในความสำคัญของสภาพแวดล้อม ไม่ได้หมายถึงต้นไม้ใบหญ้าอย่างเดียว แต่รวมถึงวัฒนธรรม หากเราอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและวัฒนธรรมไว้ให้ยั่งยืน ก็จะสามารถสร้างรายได้จากสิ่งแวดล้อมเหล่านั้นได้ต่อไปด้วย เช่น ชุมชนท่องเที่ยวเชิง

ด้วยเล็งเห็นปัญหาจากวิกฤตสิ่งแวดล้อมดังกล่าว คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง จึงร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์สถาบันอื่นอีก 5 แห่ง ได้แก่ ม.เกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.ธรรมศาสตร์ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ และม.เชียงใหม่ จัดประชุมวิชาการระดับชาติของนักเศรษฐศาสตร์ ในหัวข้อ เศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม ในวันที่ 29 ต.ค.นี้ ณ ม.รามคำแหง หัวหมาก

“การประชุมวิชาการ เป็นการระดมสรรพกำลังของนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ครั้งยิ่งใหญ่ ม.รามคำแหงหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะย้ำเตือน กระตุ้นให้ทุกภาคส่วนร่วมมือวิเคราะห์ วิจัย พัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาคน และสภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหา โดยหวังว่าจะบังเกิดผลให้คนไทยอยู่ดี มีสุข ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ดี เราอยากสร้างจิตสำนึกให้สังคมได้ตระหนักว่า อย่ามุ่งหวังสร้างรายได้เพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึกถึงสิ่งแวดล้อม ทั้งคน และสิ่งแวดล้อมต้องพึ่งพาอยู่ร่วมกัน”

ด้าน รศ.วิรัช ธเนศวร คณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง กล่าวเสริมว่า อย่ามองเศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องไกลตัว เพราะเศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของทุกคน เกี่ยวกับการจัดสรร และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด ให้ตอบสนองความต้องการโดยเกิดประโยชน์สูงสุด

"เป้าหมายก็เพื่อสรร้างความกินดีอยู่ดี ทั้งในบุคคล องค์กร และระดับชาติ ซึ่งทรัพยากรนั้น อาจหมายถึงเงิน วัตถุ ทรัพยากรธรรมชาติ โดยในระดับบุคล เราทำงานได้เงินเดือน จะจัดสรรการใช้จ่ายอย่างไรให้ได้รับประโยชน์สูงสุด เดือดร้อน ไม่เป็นหนี้ ส่วนระดับองค์กรธุรกิจ ก็ต้องจัดสรรการผลิต การใช้จ่าย ให้ได้กำไรพอสมควรหล่อเลี้ยงองค์กร และในระดับประเทศ ก็ต้องจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อให้คนไทยมีความเป็นอยู่ที่ดีที่สุด”

ยูเนสโก มอบทุนวิจัยญี่ปุ่น / จีน ปี 2011 เน้นด้านวัฒนธรรม เทคโนโลยี

ยูเนสโก ประกาศรับสมัครชิงทุน ญี่ปุ่น - จีน ปี 2011 ทุนแรก Japan Funds เน้นวิจัยหลังป.โท ด้าน สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม เทคโนโลยี การแก้ปัญหาอย่างสันติ พร้อมอีกทุนร่วมจีน ประเภท non-degree เน้นแลกเปลี่ยนศึกษา วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์

องค์การยูเนสโกประกาศมอบทุนวิจัย UNESCO/KEIZO OBUCHI Research Fellowships Programme ประจำปี 2554 ภายใต้กรอบการดำเนินโครงการ Japan Funds-in-Trust จำนวน 20 ทุน โดยทุนดังกล่าวเน้นงานวิจัย 4 สาขา คือ สิ่งแวดล้อม ปฏิสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ และการแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติ

คุณสมบัติผู้สมัคร
1.นักวิจัยที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป
2. อายุไม่เกิน 40 ปี
3. มีความมุ่งหวังที่จะอุทิศตนเพื่อช่วยเหลือประเทศของตนภายหลังได้รับทุนแล้ว
4. สามารถดำเนินการวิจัยภายใต้การดูแลของอาจารย์จากสถาบันที่ผู้สมัครได้รับการตอบรับแล้ว
5. และมีความรู้ในภาษาที่จะต้องใช้ในระหว่างการทำวิจัยเป็นอย่างดี

สำหรับผู้สนใจสมัครเข้ารับคัดเลือกทุนดังกล่าว ส่งใบสมัครพร้อมแนบหลักฐานจำนวน 2 ชุด
ภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2553

ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่
http://www.bic.moe.go.th/th/images/stories/scholarship/unesco/app.form.keizo-obuchi2011.pdf

ส่งมาที่ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ ถนนราชดำเนินนอก ดุสิต กรุงเทพฯ 10300

วงเล็บว่า (UNESCO/KEIZO OBUCHI Research Fellowships Programme 2011) สอบถามรายละเอียด โทร. 0 2628 5646 ต่อ 118


นอกจากทุนดังกล่าวแล้ว องค์การยูเนสโกร่วมกับรัฐบาลจีนมีความประสงค์จะมอบทุนภายใต้โครงการ UNESCO/People’s Republic of China - The Great Wall Co-Sponsored Fellowships Programme แก่ผู้สมัครจากประเทศสมาชิกในแถบเอเชีย-แปซิฟิก กลุ่มประเทศแอฟริกาและอาหรับ เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนานาชาติ ด้านการศึกษา วัฒนธรรม การสื่อสาร วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยเป็นทุนประเภท non-degree สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาโทขึ้นไป ยกเว้นในสาขาเกษตรกรรม

รับสมัครผู้จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป ผู้ที่ได้รับทุนดังกล่าวจะได้ไปศึกษาและวิจัยในสาขาที่ตนเลือกในมหาวิทยาลัย ของประเทศจีน เป็นเวลาประมาณ 1 ปี

คุณสมบัติผู้สมัคร
- วุฒิการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป ยกเว้นผู้สมัครสาขาเกษตรกรรมวุฒิการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป
- มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (ในกรณีผู้ที่เลือกสาขา/มหาวิทยาลัยที่ใช้ภาษาจีน อาจจะต้องเรียนภาษาจีนก่อนเข้ารับการศึกษาหรือปฏิบัติงานวิจัย)
- อายุไม่เกิน 45 ปี
- มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ

ใบสมัครดาวน์โหลดได้ที่
http://portal.unesco.org/en/ev.php-URL_ID=44172&URL_DO=DO_TOPIC&URL_SECTION=201.html

การรับสมัคร
ส่งใบสมัครและหลักฐานต่างๆทางไปรษณีย์มาที่ กลุ่มความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต
กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ 0 2628 5646 ต่อ 119

วันหมดเขตรับสมัคร ภายในเดือนเมษายน 2554

เครดิต http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9530000150745

มธ.แต่งตั้ง "สมคิด เลิศไพฑูรย์" รับตำแหน่ง อธ.คนใหม่

มธ.มีมิต แต่งตั้ง “ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์” รองอธิการบดีฝ่ายการคลัง ได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี คนใหม่ สืบแทน ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ด้วยคะแนนโหวต25 ต่อ 5ตั้งเป้าดึงมธ. กลับมาที่จุดเริ่มต้นในการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน ผลิตบัณฑิตมีความรู้คู่คุณธรรม ส่งเสริมให้นักศึกษาทำกิจกรรมร่วมกับคนในชุมชนให้มากขึ้น เริ่มจากโครงการ 1 มหาวิทยาลัย 1 จังหวัด และสนับสนุนให้อาจารย์ทำวิจัยเพิ่มขึ้น โดยจะเริ่มทำงานทันที ในฐานะรักษาการ ก่อนจะมีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง

ด้วย ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะครบวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 25 ตุลาคม 2553 และคณะกรรมการสรรหาอธิการบดี ได้ดำเนินการสรรหาผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี ตามแนวทางการสรรหาอธิการบดีที่กำหนดไว้ และได้เสนอชื่อต่อสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาแล้ว ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 11/2553 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2553 โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นประธาน ได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบเสนอแต่งตั้งให้ ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี สืบแทน ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ และให้ดำเนินการนำความกราบ บังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป

ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ ได้เสนอแนวทางการบริหารงานว่า จะมุ่งเน้นการดึงจิตวิญญาณ ความเป็นธรรมศาสตร์คืนกลับมา ให้ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพ สร้างบุคลากรที่มีความรู้คู่คุณธรรม ดูแลประชาคมธรรมศาสตร์ และเน้นรับผู้ด้อยโอกาสเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาพิการ นักศึกษา 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ นักศึกษาช้างเผือกเรียนดี เป็นต้น ยึดหลักตามแนวทางของ นายแพทย์ประเวศ วะสี หนึ่งมหาวิทยาลัย หนึ่งจังหวัด เนื่องจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มี 4 ศูนย์การศึกษา ทั้ง ท่าพระจันทร์ ศูนย์รังสิต ศูนย์พัทยา และศูนย์ลำปาง จึงอยากให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แต่ละศูนย์การศึกษาเป็นมหาวิทยาลัยศูนย์กลางที่ให้ความรู้แก่ประชาชนและสามารถนำความรู้ที่ได้นั้นไปพัฒนาประเทศชาติให้ก้าวหน้าต่อไป

สำหรับประวัติของ ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ เกิดเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2502 สำเร็จการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2525 เนติบัณฑิตไทย พ.ศ. 2527 D.E.A de droit public interne (Paris II,FRANCE) พ.ศ. 2530 Doctorat en droit (Paris II,FRANCE) พ.ศ. 2533 ประกาศนียบัตรว่าด้วยการปกครองท้องถิ่นจากสถาบัน IIAP. ประเทศฝรั่งเศส พ.ศ. 2537 เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2526 ทำงานในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาแล้ว 27 ปี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายการคลัง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประสบการณ์การทำงานด้านงานสอน อาทิ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มธ. (บรรยายกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายการคลังและภาษีอากร กฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายปกครอง กฎหมายภาษีทรัพย์สินและความมั่งคั่ง และกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น) อาจารย์พิเศษคณะรัฐศาสตร์ มธ. (บรรยายวิชาการปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบ สัมมนาการเมืองการปกครองของไทยและ รัฐธรรมนูญ พิสดาร) และคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มธ. (บรรยายวิชาสัมมนากฎหมายและจริยธรรมของสื่อสารมวลชน) อาจารย์พิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน สถาบันพัฒนา ข้าราชการตำรวจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ด้านการบริหารในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ผ่านมา อาทิ คณบดีคณะนิติศาสตร์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคลและกฎหมาย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC) ประธานสภาอาจารย์ กรรมการสภามหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ประธานกรรมการบริหารสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย ผู้อำนวยการโครงการประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ กรรมการประจำคณะนิติศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ กรรมการประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร สำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม วิทยาลัยนวัตกรรม และกรรมการบริการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

เครดิต http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9530000150622

รับโอนหน่วยกิตเรียนอาชีวะไทย-จีน

น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยหลังหารือกับ ดร.หลู่ ซิน รมช.ศึกษาธิการจีน ที่สาธารณรัฐประชาชนจีนว่า ได้หารือถึงความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษาระหว่างไทยกับจีน ได้ข้อสรุปว่า จะมีความร่วมมือกันใน 3 เรื่องคือ การแลกเปลี่ยนอาจารย์ระหว่างกัน และให้ทุนเพื่อศึกษาดูงานการจัดการเรียนการสอนเป็นระยะเวลา 3-4 เดือน ในส่วนที่ทั้ง 2 ฝ่ายสนใจ 7 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาภาพพิมพ์ ไฟฟ้าอิเลกทรอนิก ศิลปหัตถกรรม การต้อนรับด้วยอัธยาศัยอันดี ยานยนต์ เกษตรกรรมและอาหาร ซึ่งทั้ง 2 ประเทศจะคัดเลือกวิทยาลัยของตนเอง 10 แห่ง และอาจารย์เข้าอบรมสาขาวิชาละ 20 คน โดยเริ่มดำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 นี้

รมช.ศึกษาธิการกล่าวต่อว่า นอกจากนี้จะมีการแลกเปลี่ยนการเรียนการสอน โดยจะมีการรับรองมาตรฐานระหว่างการจัดการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาไทยกับจีน ให้สามารถเทียบโอนหน่วยกิตระหว่างกันได้ ในลักษณะเดียวกับการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาของไทยและจีน ที่นักศึกษาสามารถมาเรียนในไทยและนำหน่วยกิตกลับไปเรียนต่อที่จีนได้ โดยจะเริ่มนำร่องใน 5 วิทยาลัยในปีการศึกษา 2554 และการทำเรื่องมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพให้สอดคล้องกัน เพื่อให้คนจีนและคนไทยสามารถเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างกันได้ สะดวกขึ้น เพราะใช้มาตรฐานเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เรื่องการกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพของประเทศจีน อยู่ในความดูแลของกระทรวงทรัพยากรและความมั่นคงทางสังคม ซึ่ง รมช.ศึกษาธิการจีน เห็นดีด้วย และตกลงที่จะประสานพร้อมทั้งนัดหารือกันอีกครั้งในภายหลัง

ด้าน น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่าสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จะคัดเลือกวิทยาลัยที่สนใจเข้าร่วมโครงการดังกล่าวเพื่อดำเนินการต่อไป.

"นิพิฏฐ์" จับมือ อสมทเข็นไอเดียทีวีวัฒนธรรม

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รมว.วัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ตนได้ประชุมกับผู้บริหารบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในการผลักดันแนวคิดจัดตั้งโทรทัศน์วัฒนธรรม หรือ Culture Channel โดยใช้คลื่นความถี่ดาวเทียมของ อสมทที่ยังไม่ได้ใช้งานจัดตั้งสถานีโทรทัศน์วัฒนธรรมผ่านดาวเทียม ออกอากาศ 24 ชั่วโมง เพื่อเป็นช่องทางการนำเสนอเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวัฒนธรรม และเปิดพื้นที่ทางวัฒนธรรมให้ประชาชนและองค์กรทุกภาคส่วนได้มีโอกาสเรียนรู้ แลกเปลี่ยนและแสดงออกทางวัฒนธรรมรูปแบบต่างๆ ผ่านรายการประเภทต่างๆ อาทิ ข่าวเชิงวัฒนธรรม สารคดี ละครวัฒนธรรม วาไรตี้ เกมโชว์ และรายการพิเศษ รวมทั้งเป็นช่องทางสื่อสารนโยบาย ผลงานและความเคลื่อนไหวของ วธ.ด้วย

นายนิพิฏฐ์กล่าวอีกว่า จากการหารือได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่าจะให้โทรทัศน์วัฒนธรรม เป็นทีวีสำหรับคนรักวัฒนธรรมไทย โดยรูปแบบการดำเนินการนั้น วธ. จะสนับสนุนงบประมาณการผลิตและประชาสัมพันธ์บางส่วน จัดหาเครื่องรับชมในการรับชมรายการในพื้นที่ของ วธ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วน อสมท ลงทุนงบประมาณ ทำหน้าที่บริหารจัดการเนื้อหาและการออกอากาศทั้งหมด รวมทั้งการดูแลรักษาอุปกรณ์ ซึ่งตั้งเป้าหมายไว้ว่าโทรทัศน์วัฒนธรรมจะเข้าถึงประชาชนประมาณ 64 ล้านครัวเรือนผ่าน 3 ช่องทาง ดังนี้ ทางทรูวิชั่นส์ เน้น กทม.และหัวเมือง จานดาวเทียม ครอบคลุมทั่วประเทศ และเคเบิลท้องถิ่น เน้นต่างจังหวัด ทั้งนี้ ในเบื้องต้นคาดว่าจะใช้งบประมาณดำเนินการ 30-50 ล้านบาท โดย วธ.จะประชุมเพื่อสรุปรูปแบบและการดำเนินการทั้งหมดอีกครั้งภายในเดือนพฤศจิกายนนี้.

สทศ.ตรวจพบโจทย์ไม่ชัดให้คะแนนฟรี

ศ.ดร.อุทุทพร จามรมาน รักษาการผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบแบบวัดความถนัดทั่วไปหรือ GAT และแบบวัดความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ หรือ PAT ครั้งที่ 3/2553 เดือน ต.ค.ที่ผ่านมา สทศ.จะให้คะแนนฟรีในวิชาต่างๆดังต่อไปนี้ วิชา PAT-2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ ให้คะแนนฟรี 2 ข้อ และอีก 1 ข้อมี 2 คำตอบ ดังนี้ ข้อ 98 และข้อ 99 เพราะโจทย์ไม่ชัดเจน ข้อ 102 มีคำตอบถูก 2 คำตอบ, วิชา PAT-3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ ให้คะแนนฟรี 5 ข้อ และอีก 1 ข้อมี 2 คำตอบ ดังนี้ ให้ฟรี ในข้อ 19, 36, 22, 65, 66 และ ข้อ 13 มีคำตอบถูก 2 คำตอบ, วิชา PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน ให้คะแนนฟรี 1 ข้อ คือ ข้อ 38 ส่วนผลการสรรหา ผอ.สทศ.คนใหม่นั้น ที่ประชุมบอร์ด สทศ.มีมติเอกฉันท์เลือก รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เนื่องจากมีคุณสมบัติด้านการวัดผลและประผลตามที่กำหนด รวมถึงมีแนวทางในการดำเนินงานที่ชัดเจนเชื่อว่าจะทำให้การทำงานมีความต่อเนื่องได้.

'น้ำลด-บ้านพัง' เครียดจัด ภาวะจิตคนไทย

กรมสุขภาพจิต เผยภัยน้ำท่วมส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของคนไทยอย่างมาก ระบุพบ ปชช.มีภาวะเครียดจัด มีความโกรธสูงเมื่อเห็นบ้านเรือนพังหลังน้ำลด ขณะที่ผู้สูงอายุมีความห่วงบ้านหวั่นโจรขโมยของ...

เมื่อวันที่ 26 ต.ค. นพ.ทวี ตั้งเสรี รักษาการณ์รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงสถานการณ์ความเครียดจากสถานการณ์น้ำท่วมว่า สถานการณ์ครั้งนี้ทำให้เกิดความเครียดยาวนานทั้งระยะที่น้ำกำลังท่วม และหลัง จากน้ำท่วม ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้น และประชาชนมีความเครียดอย่างมาก เช่น เหตุการณ์สึนามิ เห็นได้ว่า สถานการณ์ความเครียดน่าเป็นห่วงใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่เป็นความเครียดสะสมเรื้อรัง

จากการออกหน่วยแพทย์สุขภาพจิต เคลื่อนที่ พบว่าประชาชนในพื้นที่หลังน้ำลดเมื่อเห็นสภาพความเสียหายของบ้านเรือนมี ความเครียดมาก และมีความโกรธสูง ซึ่งต้องค่อยๆ อธิบายให้เข้าใจว่าความช่วยเหลือจะค่อยๆ ทยอยมาถึงทุกคน แต่ต้องปล่อยให้ประชาชนได้ระบายและดูแล

ทั้งนี้ พบว่าผู้สูงอายุมักจะมีความห่วงบ้านเรือน กลัวโจรขโมย จึงไม่ยอมทิ้งบ้านออกมาขอความช่วยเหลือ แต่ก็มีการส่งทีมแพทย์เข้าไปดูแลแล้ว.

สธ.หวังชงเกณฑ์จัดสรรงบฯเองแก้หนี้เน่ารพ.รัฐ

กระทรวงสาธารณสุขเตรียมถก สปสช. เสนอดึงเงินเดือนบุคลากรออกจากงบฯ รายหัว ชงเกณฑ์จัดสรรงบฯ เอง หวังแก้ปัญหาหนี้สูญโรงพยาบาลรัฐ...

จากกรณีที่โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ที่ส่งรายงานมายังกลุ่มประกันสุขภาพ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 830 โรงพยาบาลจากทั้งหมด 840 โรงพยาบาล และพบว่าโรงพยาบาลมีหนี้สูญเรียกเก็บจากหน่วยงานใดไม่ได้กว่า 2.3 หมื่นล้านบาท โดยเป็นในส่วนของสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือรักษาฟรี ที่จะต้องเบิกจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มากที่สุดราว 2.1 หมื่นล้านบาท และเมื่อนำเงินที่โรงพยาบาลได้รับมาเทียบกับราคาต้นทุนพบว่ายังมีหนี้สูญอีก ถึงกว่า 1 หมื่นล้านบาท อีกทั้งในไตรมาส 3 ปีงบประมาณ 2553 มีโรงพยาบาลจัดอยู่ในภาวะวิกฤติถึง 289 แห่งนั้น

เมื่อวันที่ 26 ต.ค. นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า วิธีในการจ่ายเงินของ สปสช.และการเรียกเก็บเงินของโรงพยาบาลต่างกัน ทำให้เกิดความเข้าใจไม่ตรงกัน โดย สปสช.มีวิธีการจ่ายเงินแบบดีอาร์จี คำนวณราคาจากต้นทุนจริงที่เกิดขึ้น มีการวินิจฉัยโรคร่วม ซึ่งวิธีการดังกล่าวเหมือนกับระบบของสวัสดิการข้าราชการ ขณะที่โรงพยาบาลจะคิดอัตราการเก็บเงินแบบรวมราคาขาย หรือระบบการจ่ายเงินตามการบริการ ส่วนที่บอกว่าเงินของ สปสช.ที่จ่ายให้ไปนั้น เมื่อเทียบกับราคาต้นทุน โรงพยาบาลก็ยังขาดทุนจำนวนมากกว่า 1.3 หมื่นล้านบาท ก็ไม่เป็นความจริง เนื่องจาก สปสช.ได้มีการประเมินแล้วว่า นั่นคือ ราคาต้นทุนที่แท้จริงที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล ทั้งนี้ วิธีการดังกล่าวเป็นระบบเดียวกับสวัสดิการข้าราชการ เพียงแต่อัตราการจ่ายเงินไม่เท่ากัน

"สปสช.ได้มีการจ่ายเงินด้วยระบบดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งไม่มีปัญหาแต่อย่างใด หากให้มีการเปลี่ยนระบบการจ่ายเงินใหม่ คงเป็นไปได้ยาก หลังจากนี้ สปสช.จะชี้แจงไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ให้เข้าใจร่วมกัน เพื่อยุติปัญหาดังกล่าว" นพ.วินัยกล่าว

ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การที่โรงพยาบาลสังกัด สธ. เกิดปัญหาเช่นนี้รวมถึงขาดทุน เป็นเพราะโรงพยาบาลต้องให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยที่มาเข้ารับบริการตามสภาพ ความเจ็บป่วยจริงไม่สามารถปฏิเสธผู้ป่วย ในขณะที่เกณฑ์การจัดสรรงบประมาณพิจารณาจากจำนวนประชากรที่โรงพยาบาลแต่ละแห่งรับผิดชอบ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับภาระความรับผิดชอบในการรักษาผู้ป่วยตามจริง ทำให้เกณฑ์การจัดสรรเงินให้กับโรงพยาบาลและค่าใช้จ่ายจริงในการให้บริการผู้ ป่วยต่างกัน ส่งผลให้โรงพยาบาลต้องนำเงินในส่วนของเงินบำรุงโรงพยาบาลมาจ่ายสมทบทุกปี จนสภาพเงินบำรุงโรงพยาบาลลดลงเรื่อยๆ ส่วนการจ่ายค่าตอบแทนให้กับบุคลากรเป็นเพียงปัจจัยเสริมส่วนหนึ่งเท่านั้น ที่ทำให้เงินบำรุงน้อยลง บวกกับ งบเหมาจ่ายรายหัวที่จัดส่งให้กับโรงพยาบาลจะรวมเงินเดือนของบุคลากรในโรงพยาบาลด้วย ทำให้เงินที่ใช้เป็นค่ารักษาผู้ป่วยไม่เต็มที่

นพ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า ใน จ.ราชบุรีมีโรงพยาบาลทั่วไปที่เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ระดับโรงพยาบาล จังหวัด 3 แห่ง ทำให้แต่ละแห่งมีประชากรที่รับผิดชอบน้อย เงินที่ได้รับการจัดสรรจึงน้อยตามไปด้วย และเมื่อหักเงินเดือนบุคลากรของโรงพยาบาลออกก็ยิ่งน้อยลงอีก เพราะโรงพยาบาลทั่วไปมีบุคลากรมาก ขณะที่โรงพยาบาลแต่ละแห่งต้องรับภาระรักษาผู้ป่วยจำนวนมาก แบบนี้ก็เป็นการขาดทุนตั้งแต่ต้นแล้ว ซึ่งก็ไม่ใช่ความผิดของชาวบ้านที่ต้องการให้มีโรงพยาบาลใหญ่อยู่ในพื้นที่หลายๆ แห่ง

ทั้งนี้ การแก้ปัญหาระยะยาวได้มีการตกลงร่วมกันระหว่าง สปสช.และ สธ.ในการหารือร่วมกัน โดยใช้ข้อมูลสถานะทางการเงินหลังสิ้นไตรมาส 4 ปีงบประมาณ 2553 มาเป็นข้อมูลในการพิจารณา ซึ่งในส่วนของ สธ.จะเสนอให้มีการไม่รวมเงินเดือนของบุคลากรในโรงพยาบาลไว้ในงบเหมาจ่ายรายหัว แต่ให้หักรวมกับเงินเดือนทั้งประเทศแทน รวมทั้งขอให้ สธ.เป็นผู้เสนอเกณฑ์การจัดสรรงบฯ เหมาจ่ายรายหัวให้กับโรงพยาบาลในสังกัด สธ. เอง ส่วนกรณีโรงพยาบาลที่จัดอยู่ในขั้นวิกฤตินั้น จะดำเนินการของบประมาณจำนวน 2-3 พันล้านบาทมาดำเนินการแก้ปัญหาในจุดนี้.

Tuesday, October 26, 2010

ปรับโครงสร้าง “บัญชีเงินเดือนครู” ฝันที่ (ใกล้) เป็นจริงของ “แม่พิมพ์ไทย”

นับเป็นข่าวดีสำหรับแวดวง “แม่พิมพ์ไทย” เมื่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 กันยายน ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลาการทางการศึกษา (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... และการปรับระบบบริหารงานบุคคลข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้เสนอแก้ไขร่าง พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ฉบับดังกล่าว จาก พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพราะที่ผ่านมา มีการปรับโครงสร้างเงินเดือนข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ใหม่ถึง 2 ครั้งด้วยกัน ส่งผลให้เงินเดือน เงินประจำตำแหน่งของข้าราชการประเภทอื่นๆ รวมถึง บัญชีเงินเดือนขั้นสูง และขั้นต่ำของข้าราชการประเภทอื่นๆ เกิดการเปลี่ยนแปลง

ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำกับอัตราเงินเดือน และโครงสร้างเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ฉะนั้น เพื่อให้เกิดความเหมาะสม และเป็นธรรมกับขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และเพื่อให้สอดคล้องกับข้าราชการประเภทอื่นๆ ศธ.จึงเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใหม่

“นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ” รัฐมนตรีว่าการ ศธ. ระบุว่า หากร่าง พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่...) พ.ศ. ... มีผลบังคับใช้ จะส่งผลให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 432,942 คน มีโอกาสปรับโครงสร้างเงินเดือนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 8 ของโครงสร้างบัญชีเงินเดือนเดิม ซึ่งจะทำให้เงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2 (คศ.5) สูงสุดถึง 66,480 บาท จากเดิม 64,430 บาท

เทียบเท่ากับบุคลากรสายงานแพทย์ นักกฎหมาย และนักกฎหมายกฤษฎีกา!!

นับเป็นครั้งแรกในแวดวงการศึกษาไทย ที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และอาจารย์มหาวิทยาลัย มีโอกาสที่จะได้รับค่าตอบแทนสูงเทียบเท่าแพทย์ นักกฎหมาย และกฤษฎีกา
เพราะนอกจากจะเป็นการยกระดับ “วิชาชีพครู” ให้เป็น “วิชาชีพชั้นสูง” แล้ว ยังสามารถดึงดูด “คนดี” และ “คนเก่ง” ให้มาเป็นครูมากขึ้นด้วย

รัฐมนตรีว่าการ ศธ.ยังบอกด้วยว่า ถือเป็นการยกระดับอัตราเงินเดือนขั้นสูงของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตั้งแต่ครูปฏิบัติการไปจนถึงครูเชี่ยวชาญพิเศษ โดยจะได้เงินเดือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นคนละ 2,000-3,000 บาท เมื่อร่าง พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... มีผลบังคับใช้
โดยรัฐบาลจะต้องจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมในส่วนนี้เพิ่มถึง 2,000 ล้านบาท

สำหรับบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำ-ขั้นสูง ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ที่แนบท้ายร่าง พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... มีรายละเอียดดังนี้

“ครูผู้ช่วย” ขั้นต่ำชั่วคราว 7,940 บาท ขั้นต่ำ 8,700 บาท ขั้นสูง 16,840 บาท (เท่าเดิม),

“ระดับ คศ.1” ขั้นต่ำชั่วคราว 8,130 บาท ขั้นต่ำ 11,930 บาท ขั้นสูง 29,700 บาท จากบัญชีเดิมที่ใช้ในปัจจุบัน ขั้นต่ำชั่วคราว 7,940 บาท ขั้นต่ำ 11,930 บาท ขึ้นสูง 27,500 บาท,

“ระดับ คศ.2 (ชำนาญการ)” ขั้นต่ำชั่วคราว 12,530 บาท ขั้นต่ำ 15,410 บาท ขั้นสูง 36,020 บาท จากบัญชีเดิมที่ใช้ในปัจจุบัน ขั้นต่ำชั่วคราว 12,530 บาท ขั้นต่ำ 15,410 บาท ขั้นสูง 33,540 บาท,

“ระดับ คศ.3 (ชำนาญการพิเศษ)” ขั้นต่ำชั่วคราว 12,530 บาท ขั้นต่ำ 18,910 บาท ขั้นสูง 50,550 บาท จากบัญชีเดิมที่ใช้ในปัจจุบัน ขั้นต่ำชั่วคราว 12,530 บาท ขั้นต่ำ 18,910 บาท ขั้นสูง 57,450บาท,

“ระดับ คศ.4 (เชี่ยวชาญ)” ขั้นต่ำ 23,230 บาท ขั้นสูง 59,770 บาท จากบัญชีเดิมที่ใช้ในปัจจุบัน ขั้นต่ำ 23,230 บาท ขั้นสูง 50,550 บาท และ

“ระดับ คศ.5 (เชี่ยวชาญพิเศษ)” ขั้นต่ำ 28,550 บาท ขั้นสูง 66,480 บาท จากบัญชีเดิมที่ใช้ในปัจจุบัน ขั้นต่ำ 28,550 บาท ขั้นสูง 64,340 บาท

สำหรับบัญชีอัตราเงินวิทยฐานะสำหรับตำแหน่งครู ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และครูที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กำหนด ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มีดังนี้

“วิทยฐานะชำนาญการ” 3,500 บาท, “วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ” 5,600 บาท, “วิทยฐานะเชี่ยวชาญ” 9,900 บาท,

“วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ” 15,600 บาท จากอัตราที่ใช้ในปัจจุบันวิทยฐานะชำนาญการ 3,500 บาท วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ 5,600 บาท วิทยฐานะเชี่ยวชาญ 9,900 บาท และวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ 13,000 บาท

ส่วนอัตราเงินเดือนของข้าราชการ ก.พ.อ.มีดังนี้

“อาจารย์” ขั้นปฏิบัติการ วุฒิปริญญาตรี 7,940 บาท วุฒิปริญญาโท 9,700 บาท วุฒิปริญญาเอก 13,110 บาท อาจารย์ ขั้นสูง 36,020 บาท, “ผู้ช่วยศาสตราจารย์” ขั้นสูง 50,550 บาท, “รองศาสตราจารย์” ขั้นสูง 59,770 บาท และ

“ศาสตราจารย์” ระดับ 9-10 64,340 บาท และระดับ 11 66,480 บาท

ขณะที่บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำ-ขั้นสูงของข้าราชการ ก.พ.ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีดังนี้

“ระดับปฎิบัติการ” วุฒิปริญญาตรี ขั้นต่ำชั่วคราว 6,800 บาท ขั้นต่ำ 7,940 บาท ขั้นสูง 22,220 บาท,

“ระดับชำนาญการ (ระดับ 6-7)” ขั้นต่ำชั่วคราว 12,530 บาท ขั้นต่ำ 14,330 บาท ขั้นสูง 36,020 บาท,

“ระดับชำนาญการพิเศษ (ระดับ 8)” ขั้นต่ำชั่วคราว 18,910 บาท ขั้นต่ำ 21,080 บาท ขั้นสูง 50,550 บาท,

“ระดับเชี่ยวชาญ (ระดับ 9)” ขั้นต่ำชั่วคราว 23,230 บาท ขั้นต่ำ 29,900 บาท ขึ้นสูง 59,770 บาท,

“ระดับผู้ทรงคุณวุฒิ (ระดับ 10-11)” ขั้นต่ำชั่วคราว 28,550 บาท ขั้นต่ำ 41,720 บาท ขั้นสูง 64,340 บาท และ

“ระดับผู้ทรงคุณวุฒิ” สายแพทย์ นักกฎหมาย และกฤษฎี (ระดับ 11) ขั้นสูง 66,480 บาท

ทั้งนี้ หากเป็นไปตามกำหนดระยะเวลาที่รัฐบาลของ “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นายกรัฐมนตรี ตั้งเป้าเอาไว้ คือผลักดันร่าง พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... เข้าสู่ที่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ทันในสมัยประชุมนี้ จะทำให้ร่าง พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่...) พ.ศ. ... มีผลบังคับใช้ก่อนเดือนเมษายน 2554

และที่ถือเป็น “ข่าวดี” 2 เด้ง สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ภายหลังกฎหมายฉบับใหม่มีผลบังคับใช้แล้ว ในเดือนเมษายน 2554 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจะได้ปรับฐานเงินเดือนเพิ่มอีกร้อยละ 5 ตามนโยบายของรัฐบาลที่จะเพิ่มเงินเดือนให้กับข้าราชการทุกประเภท

นอกจากนี้ เพื่อให้การจัดระบบค่าตอบแทน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรการศึกษาในระยะยาวสอดคล้องกับระบบการศึกษา และยุทธศาสตร์การศึกษาของประเทศ ที่ประชุม ครม.ยังมีมติให้ ศธ.ดำเนินมาตรการระยะปานกลาง และระยะยาว โดยให้ศึกษาค่าตอบแทนของข้าราชการทุกประเภท ทั้งระบบใน ศธ.โดยภาพรวม ซึ่งขณะนี้ ศธ.ได้ตั้งคณะทำงาน ที่มีตัวแทนจากคณะกรรมการ ก.พ.อ.และคณะกรรมการ ก.ค.ศ.มาร่วมกันศึกษาเรื่องการพัฒนาค่าตอบแทนทั้งระบบแล้ว

อย่างไรก็ตาม “นายนิพนธ์ ชื่นตา” ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลวัดปรินายก และประธานที่ปรึกษาสหภาพครูแห่งชาติ ได้ให้ข้อมูลที่ “สวนทาง” กับรัฐมนตรีว่าการ ศธ.โดยนายนิพนธ์มองว่า การที่ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ไม่ได้ทำให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากว่า 4 แสนคน ดีอกดีใจมากมาย แค่โล่งใจที่จะได้รับเงินเดือนเทียบเท่าข้าราชการ ก.พ.เพราะครูรุ่นใหม่จะไม่ได้รับอานิสงส์จากร่างกฎหมายฉบับใหม่นี้

เพราะประธานที่ปรึกษาสหภาพครูแห่งชาติมองว่า คนที่จะได้ประโยชน์จากการปรับโครงสร้างบัญชีเงินเดือนครูครั้งนี้ คือ ครูอาวุโสที่มีเงินเดือนตันเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นครูอาวุโสระดับ 7-11 แต่ขณะนี้เหลืออยู่ไม่มาก เพราะส่วนใหญ่เข้าร่วมโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด หรือเออร์ลี่ รีไทร์ เกือบหมดแล้ว เนื่องจากเงินเดือนไม่ได้ขึ้นมา 4-5 ปี

ที่สำคัญคือ สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่...) พ.ศ. ... เป็นเพียงการ “ขยายเพดาน” เงินเดือนให้สูงเทียบเท่ากับข้าราชการ ก.พ.หรือประมาณร้อยละ 8 เท่านั้น และเป็นการเปลี่ยนระบบการเลื่อนเงินเดือนจาก “ขั้น” มาเป็น “ร้อยละ”

ฉะนั้น วันที่กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาแต่ละราย จะได้รับเงินเดือนเท่าเดิม

ประเด็นดังกล่าว “นายพิษณุ ตุลสุข” รองเลขาธิการ ก.ค.ศ.ยืนยันว่า เมื่อร่าง พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่...) พ.ศ. ... มีผลบังคับใช้แล้ว จะทำให้ครูอาวุโส และครูใหม่ ได้รับผลประโยชน์ทั้งสิ้น

ก็คงต้องติดตามดูกันอย่างใกล้ชิดว่า ร่าง พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่...) พ.ศ. ... จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในสมัยประชุมนี้ได้ทันหรือไม่ และจะมีผลบังคับใช้ก่อนเดือนเมษายน 2554 หรือไม่

การปรับบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เทียบเท่ากับแพทย์ นักกฎหมาย และกฤษฎีกา ในครั้งนี้ นับว่ามีส่วนสำคัญที่จะช่วยยกระดับวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงได้ ทำให้ครูมีกำลังใจที่จะให้ความรู้กับลูกศิษย์ลูกหาได้เต็มที่

ที่สำคัญ ครูจะกลายเป็นกำลังที่สำคัญอย่างยิ่ง ในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ให้ไปสู่เป้าหมายได้สำเร็จโดยเร็ว!!

สพฐ.รับช่วย"ครูค.ศ.1"ปรับเงินเดือน

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ให้สัมภาษณ์กรณีชมรมครู ค.ศ.1 แห่งประเทศไทย จำนวนกว่า 300 คน นำโดยนายศักดิ์สิทธิ์ จุลราช ประธานชมรม ได้ยื่นหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อขอความเป็นธรรมในการได้รับเงินเดือนใหม่ที่ปรับขึ้นตั้งแต่วันที่ผ่านการประเมินการเตรียมความพร้อม และพัฒนาอย่างเข้ม 2 ปี ของครู ค.ศ.1 ที่บรรจุปี พ.ศ.2548-2551 ว่า ปัญหาที่ร้องเรียนทราบว่า เป็นเพราะครูกลุ่มดังกล่าวที่บรรจุในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา มีความรู้สึกว่าเสียเปรียบข้าราชการครูที่บรรจุในช่วงหลังได้เงินเดือนสูง และทำให้เงินเดือนใกล้เคียงกับข้าราชการครูกลุ่มดังกล่าว จนทำให้เสียกำลังใจในการทำงาน เพราะทำงานมานานกว่า ซึ่งตามข้อเสนอที่จะให้มีการดูแลโดยการพอกขั้นเงินเดือนตามระยะเวลาที่เข้าบรรจุรับราชการ โดยไม่ต้องตกเบิกและไม่มีผลย้อนหลังนั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะรับข้อเสนอนี้ไปปรึกษานักกฎหมาย และนำหารือกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ว่า สามารถดำเนินการช่วยเหลืออย่างไรได้หรือไม่

เปิดตัวเลขน่าตกใจ ครูใต้ขอย้ายพ้นพื้นที่กว่า 6 พันคน สมหวังแค่ 1.8 พันคน นายกฯรับไม่มีตำแหน่งว่าง

สถานการณ์ที่ครูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตกเป็นเป้าความรุนแรง เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาเนิ่นนานนับตั้งแต่เหตุการณ์ในพื้นที่ร้อนระอุขึ้นเมื่อต้นปี 2547 กระทั่งล่าสุดมีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องสังเวยชีวิตไปแล้วถึง 135 ราย สภาพการณ์ที่เกิดขึ้นควบคู่กันก็คือมีครูแสดงความจำนงขอย้ายออกจากพื้นที่เป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่เคยมีการนำตัวเลขที่ชัดเจนเผยแพร่สู่สาธารณชน

ในราชกิจจานุเบกษา หน้า 76 เล่ม 127 ตอนพิเศษ 121 ลงวันที่ 18 ต.ค.2553 ได้มีการประกาศรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ว่าด้วยกระทู้ถามที่ 834 ร. เมื่อวันที่ 18 ก.พ.2553 เรื่อง การขอย้ายตำแหน่งของข้าราชการครูในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยผู้ถามกระทู้คือ นายวัชระ เพชรทอง ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ และมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ตอบ

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือข้อมูลที่นายกรัฐมนตรีนำมาตอบ เป็นข้อมูลสถิติเกี่ยวกับจำนวนข้าราชการครูที่ขอย้ายออกจากพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งหมดตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา มีจำนวนถึง 6,178 คน แต่ย้ายออกได้เพียง 1,843 คน คงเหลือที่ไม่สามารถย้ายออกได้ และยังต้องสอนหนังสืออยู่ในพื้นที่จำนวน 4,335 คน โดยทั้งหมดมีรายละเอียดดังนี้

- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานีเขต 1 (ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอ คือ อ.เมือง อ.ยะหริ่ง อ.หนองจิก และ อ.ปะนาเระ จำนวนสถานศึกษาของรัฐ 145 โรง) ตั้งแต่ปี 2545-2552 มีครูขอย้ายออกจากพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 2,444 คน ย้ายได้เพียง 363 คน ย้ายไม่ได้ถึง 2,081 คน โดยปีที่มีครูขอย้ายมากที่สุดเกินกว่า 300 คน คือปี 2551 จำนวน 393 คน ปี 2549 จำนวน 382 คน ปี 2550 จำนวน 368 คน ปี 2552 จำนวน 351 คน และปี 2548 จำนวน 348 คน ทว่าแต่ละปีย้ายได้เฉลี่ย 40-70 คนเท่านั้น

- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานีเขต 2 (ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอ คือ อ.แม่ลาน อ.มายอ อ.ยะรัง และ อ.โคกโพธิ์) เริ่มมีครูขอย้ายออกจากพื้นที่ตั้งแต่ปี 2548 รวมถึงปี 2552 จำนวน 228 คน แต่ย้ายได้เพียง 51 คน ย้ายไม่ได้ 177 คน

- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานีเขต 3 (ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอ คือ อ.สายบุรี อ.ไม้แก่น อ.กะพ้อ และ อ.ทุ่งยางแดง) เริ่มมีครูขอย้ายออกจากพื้นที่ตังแต่ปี 2550 รวมถึงปี 2552 จำนวน 200 คน แต่ย้ายได้เพียง 87 คน ย้ายไม่ได้ 113 คน

- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลาเขต 1 (ครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อ.เมือง อ.รามัน และ อ.กรงปินัง) ตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปี 2552 มีครูขอย้ายออกจากพื้นที่รวม 984 คน ย้ายได้ 398 คน ย้ายไม่ได้ 586 คน

- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลาเขต 2 (ครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อ.บันนังสตา อ.ยะหา และ อ.กาบัง) เริ่มมีครูขอย้ายตั้งแต่ปี 2546 รวมถึงปี 2552 จำนวน 490 คน แต่ย้ายได้เพียง 86 คน ย้ายไม่ได้ 404 คน

- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลาเขต 3 (ครอบคลุมพื้นที่ 2 อำเภอ คือ อ.เบตง กับ อ.ธารโต) เริ่มมีครูขอย้ายตั้งแต่ปี 2550 รวมถึงปี 2552 จำนวน 91 คน แต่ย้ายได้ 33 คน ย้ายไม่ได้ 58 คน

- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาสเขต 1 (ครอบคลุมพื้นที่ 5 อำเภอ คือ อ.เมือง อ.บาเจาะ อ.ยี่งอ อ.รือเสาะ และ อ.ศรีสาคร) ตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปี 2552 มีครูขอย้ายออกจากพื้นที่รวม 850 คน ย้ายออกได้จำนวน 519 คน ย้ายไม่ได้ 331 คน

- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาสเขต 2 (ครอบคลุมพื้นที่ 5 อำเภอ คือ อ.ตากใบ อ.แว้ง อ.สุคิริน อ.สุไหงโก-ลก และ อ.สุไหงปาดี) เริ่มมีครูขอย้ายตั้งแต่ปี 2547 รวมถึงปี 2552 จำนวน 726 คน ย้ายได้เพียง 215 คน ย้ายไม่ได้ 511 คน

- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาสเขต 3 (ครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อ.จะแนะ อ.ระแงะ และ อ.เจาะไอร้อง) เริ่มมีครูขอย้ายตั้งแต่ปี 2551 รวมถึงปี 2552 จำนวน 165 คน ย้ายได้ 91 คน ย้ายไม่ได้ 74 คน

นายอภิสิทธิ์ ยังชี้แจงด้วยว่า เหตุผลที่ไม่สามารถย้ายตำแหน่งได้ตามความประสงค์ทุกราย เนื่องจาก 1.ไม่มีตำแหน่งว่างรับย้าย 2.วิชาเอกไม่ตรงกับความต้องการของโรงเรียน และ 3.เลือกโรงเรียนที่มีอัตรากำลังเกินเกณฑ์

อจ.นิติฯมธ. แจงบทบาทธ.ออมสิน ไม่มีสิทธิบังคับทำประกัน"ทิพยฯ"

ครูจี้"คปภ."สอบกรมธรรม์ช.พ.ค.5-6


จากกรณีแหล่งข่าวในธนาคารออมสินชี้แจงกับ "มติชน" เกี่ยวกับสัญญากรมธรรม์ประกันสินเชื่อในโครงการสวัสดิการเงินกู้สมาชิกกองทุนการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) โครงการ 5 โดยระบุว่า ปัจจุบันหนังสือสัญญากรมธรรม์ดังกล่าว ทางธนาคารออมสินเป็นผู้เก็บไว้ เนื่องจากธนาคารเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อ หรือมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ จะทำให้ง่ายต่อกระบวนการเคลมสินไหมในกรณีที่สมาชิก ช.พ.ค.ผู้กู้เงินเสียชีวิตระหว่างอายุสัญญากรมธรรม์ โดยเป็นสัญญากรมธรรม์ของบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เท่านั้น เนื่องจากธนาคารออมสินเป็นคู่สัญญากับบริษัทดังกล่าวในการปล่อยสินเชื่อให้กับข้าราชการครูในโครงการนี้ รวมถึงโครงการเงินกู้สมาชิก ช.พ.ค. โครงการ 6 ที่กำลังปล่อยเงินกู้อยู่ในปัจจุบันนี้ด้วย โดยที่ไม่ทราบเรื่องที่มีบริษัท ธนชาตประกันชีวิต จำกัด ได้เข้ามารับทำประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อในโครงการเงินกู้ ช.พ.ค.5 ด้วยนั้น

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม นางสุดา วิศรุตพิชญ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า จริงๆ แล้ว การทำประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อในโครงการเงินกู้สมาชิก ช.พ.ค.นั้น ตามหลักการแล้วทางธนาคารออมสินไม่ควรจะระบุหรือกำหนดให้สมาชิก ช.พ.ค.ผู้กู้ต้องทำประกันสินเชื่อเงินกู้กับบริษัทใดบริษัทหนึ่ง แต่ต้องให้สมาชิก ช.พ.ค.ผู้กู้ได้เลือกเองว่า จะทำประกันกับบริษัทใด หรือในกรณีผู้กู้ที่มีกรมธรรม์ประกันชีวิตอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องทำประกันดังกล่าวเพิ่มอีก แต่สามารถไปเปลี่ยนเงื่อนไขในกรมธรรม์ที่มีอยู่แล้วได้ โดยให้ยกผลประโยชน์ให้กับธนาคารเพียงเท่าที่ธนาคารมีสิทธิ หรือมีภาระผูกพันที่ยังเหลืออยู่จากการกู้เงินในโครงการเงินกู้สมาชิก ช.พ.ค.ได้ แต่หากธนาคารออมสินมีการบังคับเช่นนี้ ถือว่าเป็นการเอาเปรียบผู้กู้ เพราะธนาคารไม่สามารถจะมาบังคับให้ทำประกันชีวิตส่วนนี้เพิ่มอีกได้ ถ้าผู้กู้มีกรมธรรม์อยู่แล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า จากกรณีที่ น.ส.วราวรรณ เวชชสัสถ์ ผู้ช่วยเลขาธิการสายกำกับผลิตภัณฑ์และบุคลากร สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้โดยระบุว่า "ในกรณีข้อสงสัยเรื่องที่บริษัท ทิพยประกันภัยฯ ซึ่งเป็นบริษัทรับประกันวินาศภัย แต่เข้ามารับประกันสินเชื่อในโครงการเงินกู้สมาชิก ช.พ.ค. โครงการ 5 และ 6 นั้น ตามหลักกฎหมายแล้วบริษัทรับประกันวินาศภัยจะเข้ามารับประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อไม่ได้ แต่ก็ต้องดูที่รายละเอียดและวัตถุประสงค์อีกที ซึ่งหากมีครูร้องเรียนมาถึงสำนักงาน คปภ. หรือนำสัญญากรมธรรม์ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องมายื่นต่อสำนักงาน คปภ. ก็พร้อมจะตรวจสอบความถูกต้องให้ทุกกรณี" ดังนั้น ในวันเดียวกันนี้ ข้าราชการครูในกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ส่วนกลาง ซึ่งเป็นสมาชิก ช.พ.ค.ผู้เอาประกันภัยในโครงการสวัสดิการเงินกู้สมาชิก ช.พ.ค. โครงการ 5 และ 6 รวมจำนวน 3 คน ได้ร่วมกันทำหนังสือและลงนามส่งผ่านไปรษณีย์ไปถึงเลขาธิการสำนักงาน คปภ. ในฐานะเป็นหน่วยงานที่มีพันธกิจสำคัญในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนในด้านการประกันภัย เพื่อขอให้ตรวจสอบกรมธรรม์ประกันสินเชื่อในโครงการสวัสดิการเงินกู้ สมาชิก ช.พ.ค. โครงการ 5 และ 6 ของบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ธนชาตประกันชีวิต จำกัด ว่ามีความถูกต้องตามหลักกฎหมายประกันภัยหรือไม่ จากกรณีมีข้อสงสัยต่างๆ และขอให้สำนักงาน คปภ.ทำการปกป้องและรักษาสิทธิประโยชน์ให้กับสมาชิก ช.พ.ค.ผู้เอาประกันภัยด้วย ไม่ปล่อยให้ข้าราชการครูถูกโกงเบียดบังเงินไปโดยมิชอบ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในหนังสือร้องเรียนขอให้เลขาธิการสำนักงาน คปภ.สั่งการให้มีการตรวจสอบดังกล่าว ได้ระบุข้อสงสัยที่สำคัญ อาทิ เรื่องที่บริษัท ทิพยประกันภัยฯ ซึ่งเป็นบริษัทรับประกันวินาศภัย แต่เข้ามารับประกันสินเชื่อโครงการเงินกู้สมาชิก ช.พ.ค.5 และ 6 ตามหลักกฎหมายทำได้หรือไม่ และในกรณีที่สมาชิก ช.พ.ค.ได้รับทราบจากตัวแทนบริษัทประกันภัยหลายๆ แห่งว่า ในโครงการเงินกู้สมาชิก ช.พ.ค. ไม่เฉพาะแต่มีบริษัท ทิพยประกันภัยฯ และบริษัท ธนชาตประกันชีวิตฯเท่านั้น ที่มีชื่อเข้ามาเกี่ยวข้องกับการรับทำประกันสินเชื่อ แต่กลับมีบริษัทประกันภัยในประเทศไทยอีก 3-4 แห่งเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ในลักษณะมีการส่งต่อเป็นทอดๆ กัน จึงเกรงว่าจะมีผลต่อการเอารัดเอาเปรียบค่าเบี้ยประกันภัยของครูหรือไม่