Friday, November 28, 2008

ของบฯ 4 พันล้านบาท พัฒนาโรงเรียนเล็ก

ศ. ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผอ.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่ผ่านการประเมินจาก สมศ. ว่า สมศ.ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดโครงการนำร่องพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่ผ่านการประเมินจาก สมศ. โดยเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 จำนวน 220 แห่ง และได้หารือกับ สพฐ.จะขยายผลโครงการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กกลุ่มนี้ให้ได้ประมาณ 4,000 แห่ง ภายในปี 2553 โดยใช้งบประมาณพัฒนาโรงเรียนแห่งละ 1 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ สพฐ.ได้เสนอโครงการนี้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในโครงการเมกะโปรเจกต์ของ ศธ. และงบฯที่จะใช้ในโครงการดังกล่าวประมาณ 4,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ทราบว่า ศธ.ได้ของบฯโครงการเมกะโปรเจกต์จากรัฐบาลไปแล้ว


ผอ. สมศ. กล่าวต่อว่า จากการประเมินของ สมศ. พบว่า โรงเรียนขนาดเล็กมีปัญหาขาดแคลนครู และมีปัญหาเรื่องคุณภาพครู อีกทั้งครูต้องทำงานธุรการมากกว่าสอน และยังขาดแคลนสื่อการเรียนการสอน การพัฒนาโรงเรียนจะพิจารณาถึงปัญหาของโรงเรียนเป็นตัวตั้ง ทั้งนี้ สพฐ.จะเปิดตัวโรงเรียนขนาดเล็กในโครงการที่อยู่ใน 5 จังหวัด เช่น โรงเรียนใน จ.เชียงใหม่ นครสวรรค์ ในช่วงกลางเดือน ธ.ค.นี้ ส่วนที่ สพฐ.มีนโยบายจะยุบโรงเรียนขนาดเล็กที่มีปัญหาขาดแคลนครูอย่างมากและมีจำนวน นักเรียนไม่ถึงเกณฑ์ของ สพฐ.นั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ หากพูดคุยกับชาวบ้านแล้วไม่มีปัญหา โดยใช้วิธีจัดการเรียนการสอนให้แก่โรงเรียนที่ถูกยุบรวมในลักษณะของกลุ่ม โรงเรียน.

ข้อมูลจาก ไทยรัฐ

ชงรื้อโครงสร้าง สพฐ.ยกฐานะ 4 กรมใหญ่

ตามที่บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 303 กำหนดให้มีการแก้ไขกฎหมายการศึกษาภายใน 1 ปี นับจากรัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับ โดยอาจต้องมีการปรับปรุงกฎหมาย เพื่อกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบการจัดการศึกษาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับระบบการ ศึกษาทุกระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน นั้น คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้มีการเสนอแก้ไข พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 เพื่อขอจัดตั้งสำนักหรือกรมประถมศึกษา กรมมัธยมศึกษา กรมการศึกษาพิเศษ และ กรมวิชาการ ให้มีฐานะเป็นกรมภายใต้ สพฐ. ไปแล้ว โดยขณะนี้เข้าใจว่าเรื่องกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการที่ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ตั้งขึ้น แต่คิดว่ากระทรวงคงจะรอดูแนวโน้มการปฏิรูปการศึกษารอบสอง เพื่อให้สอดคล้องกับองค์กรหลักอื่น ๆ ด้วย

“เหตุผลที่ สพฐ.เสนอขอจัดตั้ง 4 หน่วยงานดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าแต่ละหน่วยงานมีขอบเขตเนื้อหาและภาระงานมาก เช่นงานการศึกษาพิเศษก็มีโรงเรียนในสังกัดค่อนข้างมาก และวันนี้การบริหารจัดการก็ขึ้นตรง กับสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษจึงควรมี กรมของตัวเอง ส่วนการประถมศึกษา และการมัธยมศึกษา ก็มีเจตนาเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารและสามารถตัดสินได้ด้วยตัวเอง และเมื่อมีกรมที่ดูแลเฉพาะด้านแล้ว งานวิชาการก็ควรมีกรมที่ดูแลเป็นการเฉพาะเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อให้แต่ละหน่วยงานมีพลังในการทำงานมากขึ้น ขณะเดียวกันความก้าวหน้าในหน้าที่การงานก็จะมีสูงขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ ก็คงต้องผ่านอีกหลายด่าน แต่ถ้าสามารถตั้งเป็นกรมที่อยู่ภายใต้ สพฐ.ได้ตามที่เสนอไป ทุกอย่างก็น่าจะดีขึ้น” เลขาธิการ กพฐ.กล่าว

ด้าน ดร.สุวัฒน์ เงินฉ่ำ กรรมการสภาการศึกษา อดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับข้อเสนอของ สพฐ. ซึ่งถ้าสามารถทำได้เชื่อว่าจะทำให้งานของ สพฐ. มีความชัดเจนมากขึ้น เพราะผลจากการ ปฏิรูป การศึกษาที่ผ่านมาจะเห็นว่า เรายังมีปัญหา อยู่มาก อย่างไรก็ตาม หากสามารถจัดตั้งกรมตามที่สพฐ.เสนอได้ขอเพียงต้องเป็นกรมที่เล็ก แต่ทำงานด้านวิชาการ ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย ติดตามประเมินผล และพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ให้แก่สถานศึกษา ไม่ใช่ไปดึงงานที่กระจายอำนาจไปแล้วกลับมาทำเองทั้งหมด.

ข้อมูลจาก www.dailynews.co.th

Wednesday, November 26, 2008

ก.ค.ศ.อนุมัติวิทยฐานะเชี่ยวชาญเปิดทางบรรจุครูผู้ช่วย1.6พันคน

นายประเสริฐ งามพันธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญเกี่ยวกับตำแหน่งและวิทยฐานะ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้มีมติ ให้เลื่อนวิทยฐานะเป็นผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ จำนวน 3 ราย ได้แก่ นายพิศิษฐ์ วรรณศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบรบือวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) มหาสารคาม เขต 1 นายทรงวุฒิ ผสมทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเกาะโพธิ์(วันครู 2500) สพท.ชลบุรี เขต 2 และนายธวัช บุทธรักษา ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลชลบุรี สพท.ชลบุรี เขต 1

เลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังมีมติให้เลื่อนวิทยฐานะเป็นศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ 1 รายคือ นายสมมาต สังขพันธ์ สพท.ปทุมธานี เขต 2 และอนุมัติให้เลื่อนวิทยฐานะเป็นครูเชี่ยวชาญ 1 ราย คือ นางดวงรัตน์ ปัญญาโกษา ครูโรงเรียนบ้านแป้นพิทยาคม สพท.ลำพูน เขต 1 นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติให้ใช้อัตราข้าราชการครูที่ได้รับการจัดสรรคืน จากอัตราข้าราชการที่ยุบเลิกจากการเกษียณอายุราชการปีงบประมาณ 2550 มาบรรจุเป็นตำแหน่งครูผู้ช่วยในโรงเรียนต่าง ๆ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และศูนย์การศึกษาพิเศษ ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) กำหนดรวมทั้งสิ้น 1,658 อัตราด้วย.

ข้อมูลจาก www.dailynews.co.th

สพฐ.จูงดีเอสไอถกรับเด็กรร.ดังชี้ข้อต่างแป๊ะเจี๊ยะกับเงินบริจาค

นายเสน่ห์ ขาวโต รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ตรวจสอบโรงเรียนดังที่เข้าข่ายเรียกรับเงินแป๊ะเจี๊ยะ หรือเงินกินเปล่า ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไปแล้ว และขณะนี้ยังไม่มีผู้ปกครองร้องเรียนเรื่องโรงเรียนเรียกรับเงินแป๊ะเจี๊ยะ เข้ามายัง สพฐ. เพราะไม่ได้อยู่ในช่วงของการรับนักเรียน คาดว่าหลังจากการรับนักเรียนปีการศึกษา 2552 เสร็จสิ้นลง อาจจะมีการร้องเรียนเข้ามาก็ได้ อย่างไรก็ตามถือเป็นเรื่องดี ที่ดีเอสไอเข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้ ซึ่ง สพฐ.ก็จะตรวจสอบเรื่องดังกล่าวให้เข้มข้นเช่นกัน ทั้งนี้ในการประชุมผู้บริหารโรงเรียนดังทั่วประเทศ ในวันที่3-4 ธ.ค.นี้ ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ สพฐ.จะเชิญดีเอสไอเข้าร่วมชี้แจงและรับฟังข้อมูลการรับนักเรียนด้วย

“การขอรับเงินบริจาคจากผู้ปกครอง ต่างจากการเรียกรับแป๊ะเจี๊ยะ เพราะเงินแป๊ะเจี๊ยะเป็นการเรียกรับเงินเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว ขณะที่การขอรับเงินบริจาคจากผู้ปกครองทำเพื่อนำเงินมาพัฒนาโรงเรียน และมีกฎเกณฑ์รองรับอยู่แล้ว ดังนั้นจึงขอให้โรงเรียนดำเนินการอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา มีการออกใบเสร็จให้แก่ผู้ปกครองอย่างถูกต้อง ที่สำคัญการรับเงินบริจาคจากผู้ปกครอง ต้องเป็นไปตามความสมัครใจของผู้ปกครองเอง และหากโรงเรียนขอรับเงินบริจาคจากผู้ปกครองไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ก็จะมีการ ลงโทษทางวินัย อย่างไรก็ตามผมขอให้ผู้บริหารโรงเรียนช่วยทำความเข้าใจในเรื่องการรับบริจาค จากผู้ปกครองด้วย เพราะผู้ปกครองบางคนอาจไม่เข้าใจ และคิดว่าโรงเรียนขอรับเงินบริจาค เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่า” รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าว.

ข้อมูลจาก www.dailynews.co.th

ไฟเขียวอัตราบรรจุครูผู้ช่วยกว่า 1.6 พัน

ก.ค.ศ.อนุมัติวิทยฐานะเชี่ยวชาญให้ผอ.โรงเรียน ศึกษานิเทศก์ และครู รวม 5 รายพร้อมให้ใช้อัตราครูที่ได้รับคืนจากอัตราเกษียณบรรจุครูผู้ช่วยใน โรงเรียน-ศูนย์การศึกษาพิเศษกว่า 1.6 พันอัตรา

เมื่อวันที่ 25 พ.ย. นายประเสริฐ งามพันธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.)เปิดเผยผล ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(อ.ก.ค.ศ.)วิสามัญ เกี่ยวกับตำแหน่งและวิทยฐานะซึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนก.ค.ศ.เมื่อเร็วๆนี้ว่า ที่ประชุมมีมติให้เลื่อนวิทยฐานะเป็นผู้อำนวยเชี่ยวชาญ จำนวน 3 รายได้แก่ นายพิศิษฐ์ วรรณศรี ผอ.โรงเรียนบรบือวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.)มหาสารคามเขต 1 นายทรงวุฒิ ผสมทรัพย์ ผอ.โรงเรียนบ้านเกาะโพธิ์(วันครู 2500) สพท.ชลบุรี เขต2 และนายธวัช บุทธรักษา ผอ.โรงเรียนอนุบาลชลบุรี สพท.ชลบุรี เขต 1 และมีมติให้เลื่อนวิทยฐานะเป็นศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ 1 รายคือ นายสมมาต สังขพันธ์ สพท.ปทุมธานีเขต 2 และอนุมัติให้เลื่อนวิทยฐานะเป็นครูเชี่ยวชาญ 1 รายคื นางดวงรัตน์ ปัญญาโกษา ครูโรงเรียนบ้านแป้นพิทยาคม สพท.ลำพูน เขต 1

เลขาธิการก.ค.ศ. กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังมีมติให้ใช้อัตราข้าราชการครูที่ได้รับจัดสรรคืนจากอัตรา ข้าราชการที่ยุบเลิกจากผลการเกษียณอายุราชการ ปีงบประมาณ 2550 เป็นตำแหน่งครูผู้ช่วยในโรงเรียนต่างๆในสพท.และศูนย์การศึกษาพิเศษตาม เงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ(คปร.)กำหนดรวม 1,658 อัตราอีกด้วย

ข้อมูลจาก คมชัดลึก

Friday, November 21, 2008

พระเทพฯเปิด “ไอซีทีพระราชดำริ”

เมื่อวันที่ 20 พ.ย. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นองค์ประธานเปิดงานสัมมนาและนิทรรศการ “12 ปี รัตนราชสุดา สารสนเทศ : ประสบการณ์จากโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ” ที่โรงแรมมิราเคิล และทรงมีพระราชดำรัสว่า เทคโนโลยีสารสนเทศหากนำมาใช้ให้ ถูกวิธี จะสามารถช่วยพัฒนาภูมิปัญญา สร้างพลังและความเข้มแข็งให้แก่บุคคล ชุมชน และสังคมได้ เนื่องจากเป็นเครื่องมือช่วยให้คนเข้าถึงแหล่งความรู้ การส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างแพร่หลาย ควรจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะในเรื่องคน เพื่อจะสร้างความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ขีดความสามารถ รวมถึงด้านเทคนิค วิธีการ การคิด การวิเคราะห์ การกลั่นกรองข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนสร้างจิตสำนึกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม อันจะส่งผลให้คนและสังคมได้รับประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยี การจัดงานนี้เป็นโอกาสที่จะได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด และประสบการณ์ และร่วมกันหาแนวทางประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสาสนเทศอย่างเหมาะสม เพื่อความเจริญมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ

ต่อมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาส ในสังคม” ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอซีที เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นฐานรวบรวมข้อมูลความรู้ต่างๆ ที่มีความสามารถในการติดต่อระหว่างคนกับคน หรือคนกับเครื่อง ซึ่งการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์หรือโทษขึ้นอยู่กับคน ที่ผ่านมาเคยมีคนตีความว่า รัฐที่ควบคุมเบ็ดเสร็จต้องใช้ข้อมูลไอซีที แต่บางคนก็ระบุว่าไม่ใช่ เพราะผู้ที่ควบคุมจริงๆ อาจเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในการควบคุมประชาชน อย่างไร-ก็ตาม ความมั่นคงของประเทศและบุคคลต้องอาศัย 3 สิ่ง ประกอบด้วย สิทธิที่จะมีสถานะทางสังคมที่ใครละเมิดไม่ได้ สิทธิในการแสดงอิสรภาพทางความเห็น และสิทธิในการได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย ซึ่งเทคโนโลยี�สารสนเทศสามารถช่วยให้ผู้ด้อยโอกาสได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน เหล่านี้ได้ นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนช่วยให้ผู้ด้อยโอกาสดีขึ้นหลายอย่าง เช่น เรื่องการผลิตอาหาร และการแพทย์ เป็นต้น.

ข้อมูลจาก www.thairath.co.th

'ดีเอสไอ'เผย4รร.ในกทม.รับแป๊ะเจี๊ยะ

"ดีเอสไอ"วิ่งโร่พบ"สพฐ."หลังพบแป๊ะเจี๊ยะในโรงเรียนเมืองกรุง 4 โรง ชี้เข้าข่ายมีการเรียกรับเงิน มาตั้งแต่ปี 47-49 พบทำเป็นขบวนการ ยันไม่พบผู้บริหาร และข้าราชการ มีเอี่ยว ปรามมีความผิดอาญา โทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ไปจนถึงจำคุกตลอดชีวิต รวมถึงความผิดกฎหมายฟอกเงิน อธิบดีฯ เตรียมตั้งทีม ตรวจสอบเส้นทางการเงิน

เมื่อวันที่ 20 พ.ย.ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พ.ต.อ. สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย รองอธิบดีดีเอสไอ ได้เข้าหารือร่วมกับนายเสน่ห์ ขาวโต รองเลขาธิการ กพฐ. และผู้บริหาร สพฐ. เกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขและป้องปรามปัญหาการเรียกรับเงินแป๊ะเจี๊ยะ เพื่อแลกกับการเข้าเรียน โดย พ.ต.อ.สุชาติ กล่าวว่า จากการสืบสวนข้อเท็จจริงพบว่าโรงเรียนชื่อดังสังกัด สพฐ. ในกรุงเทพมหานคร 4 โรง เข้าข่ายมีการเรียกรับเงินแป๊ะเจี๊ยะ โดยเป็นการดำเนินการในปี 47-49 ซึ่งพบทั้งเจ้าหน้าที่โรงเรียนเรียกรับเงินเอง และโรงเรียนเรียกรับผ่านนายหน้า ซึ่งขณะนี้ได้พยานหลักฐานเพื่อสอบสวนในทางลึกแล้ว พบว่าการเรียกรับเงินดังกล่าวไม่ใช่เงินบริจาคเนื่องจาก มีพันธะผูกพันว่าต้องรับเด็กเข้าเรียน โดยทำกันเป็นขบวนการ แต่จากการตรวจสอบไม่พบว่ามี ผู้บริหารและข้าราชการในส่วนกลางเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย

พ.ต.อ.สุชาติ กล่าวต่อว่า ความผิดของกรณีนี้ เข้าข่ายความผิดอาญา ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีไปจนถึงจำคุกตลอดชีวิต และยังเข้าข่ายความผิดกฎหมายฟอกเงินด้วย โดยผู้เป็นนายหน้าวิ่งเต้นจะต้องได้รับโทษเท่ากับตัวการ ผมจึงอยากฝากถึงผู้ที่เกี่ยวข้องว่าขอให้หยุดเรื่องนี้ เพื่อเห็นแก่ประเทศชาติ และอย่าสร้างมลทินให้แก่เด็ก ซึ่งดีเอสไอจะสืบสวนสอบสวนถึงที่สุด ยืนยันว่าไม่ใช่ไฟไหม้ฟาง และปลัดกระทรวงยุติ ธรรมก็มอบนโยบายมาแล้วว่าให้ยกปัญหานี้เป็นเรื่องระดับกระทรวงฯ ส่วนคดีที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นพนักงานของรัฐจะต้องถูกดำเนินคดีโดยพนักงาน ป.ป.ช. แต่เป็นที่น่ายินดีว่า ป.ป.ช.ยินดีที่จะโอนสำนวน หรือตั้งดีเอสไอ เป็นอนุกรรมการไต่สวนในเรื่องนี้ ซึ่งดีเอสไอจะเร่งตรวจสอบเร่งนี้โดยเร็วที่สุด นอกจากนี้ อธิบดีดีเอสไอได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่มาเป็นหน่วยตรวจสอบร่องรอยทางการเงิน และบัญชี ซึ่งประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี ปปง.สรรพากร เป็นต้น.

ข้อมูลจาก www.dailynews.co.th

สพท.กทม.3 แต่งตั้งโยกย้าย 9 ผู้บริหารโรงเรียนในสังกัด

จากการประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 ซึ่งมีนายสมบัติ ขวัญดี ประธาน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ เป็นประธานการประชุม เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายนที่ผ่านมานั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาโยกย้ายข้าราชการในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา โดยได้มีมติอนุมัติการย้ายข้าราชการ จำนวน 9 ราย ได้แก่ น.ส.จรีย์พร โน้ตชัยยา ผู้อำนวยการโรงเรียน (ผอ.รร.) วัดสังข์กระจาย (แจ่มวิชาสอน) เป็น ผอ.รร.โฆสิตสโมสร, น.ส.อมราพร โพธิ์แดง ผอ.รร.บ้านปากคลองบางกระดาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ปราจีนบุรี เขต 1 เป็น ผอ.รร.วัดสังข์กระจาย (แจ่มวิชาสอน), นางเมตตา ศิริรัตน์ ผอ.รร.วัดช่างเหล็ก เป็น ผอ.รร.ประถมทวีธาภิเศก, นายเฉลิมพงษ์ ถนอมรัตน์ ผอ.รร.บ้านหนองบอน (นัยนานนท์อนุสรณ์) สังกัดสพท.กทม. 2 เป็น ผอ.รร.วัดช่างเหล็ก, นางสุมนมาศ วุฒิสง่าธรรม ผอ.รร.สตรีวัดระฆัง เป็น ผอ.รร.ทวีธาภิเศก, นางสุรณี ทศิธร ผอ.รร.มหรรณพาราม เป็น ผอ.รร.สตรีวัดระฆัง, นายประเสริฐ ผุดผ่อง ผอ.รร.ไชยฉิมพลีวิทยาคม เป็น ผอ.รร.ธนบุรีวรเทพีพลารักษ์, นางฉัฐชุลี เรืองศิริ ผอ.รร.พันท้ายนรสิงห์ สพท.สมุทรสาคร เป็น ผอ.รร.ไชยฉิมพลีวิทยาคม และ น.ส.ณิชาภา ประกายเกียรติ ผอ.รร.สตรีนนทบุรี บางใหญ่ สพท.นนทบุรี เขต 2 เป็น ผอ.รร.สวนอนันต์

นายสุรศักดิ์ ศรีสว่างรัตน์ ผอ.สพท.กทม.3 ในฐานะเลขานุการ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 เปิดเผยว่า ในการดำเนินการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในสังกัด สพท.กทม.3 ดังกล่าว ทางสพท.กทม.3 ได้พิจารณาคำร้องขอย้ายของผู้ที่ได้ยื่นคำร้องขอย้าย ก่อนจะนำเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองการย้ายได้พิจารณา หลังจากนั้นจึงได้นำเข้าสู่การประชุมของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา กทม.เขต 3 เพื่อพิจารณาอนุมัติย้ายและแต่งตั้ง ซึ่งเป็นการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด สพฐ. ทั้งนี้ปัจจุบัน สพท.กทม.3 ได้ออกคำสั่งย้าย และแต่งตั้งข้าราชการดังกล่าวแล้ว ซึ่งผู้ได้รับคำสั่งจะต้องมอบหมายงานในหน้าที่ และเดินทางไปรับตำแหน่งใหม่ภายในวันที่ 1 ธันวาคม 2551.

ข้อมูลจาก www.dailynews.co.th

'ศรีเมือง'จี้ กศน.สอนชาวบ้านใช้ไอที

นายศรีเมือง เจริญศิริ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวตอนหนึ่งในการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการ ศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จังหวัด และ ศูนย์ กศน. อำเภอ ในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก วันที่ 20 พ.ย. ที่โรงแรมอู่ทองอินน์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ว่า การศึกษาที่สมบูรณ์คือการทำให้คนได้เรียนรู้ในสิ่งที่ต้องเรียนรู้อย่างทั่ว ถึง ซึ่ง กศน.คือ กลไกที่จะเติมเต็มการจัดการศึกษาของประเทศให้สมบูรณ์ได้ วันนี้ประเทศไทยยังมีคนระดับรากหญ้าในชนบทที่ยังไม่รู้หนังสืออีกมาก ดังนั้น กศน.จึงต้องเป็นแกนหลักในการนำความรู้ลงไปสู่คนกลุ่มนี้ โดยขอให้ผู้บริหาร กศน.นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ สอนให้คนรู้จักใช้เทคโนโลยีในการหาความรู้ และสอนให้รู้จักรับและกลั่นกรองข้อมูลด้วย

'รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ตนได้มอบหมายให้ ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ทำแผนจัดระบบเครือข่ายวิทยุและเครือข่ายโทรทัศน์เพื่อการศึกษา เสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใน 1 เดือน โดยมีเป้าหมายว่าในช่วงที่ตนเป็น รมว.ศึกษาธิการ จะต้องมีการจัดวางระบบการสอนผ่านเทคโนโลยีที่สามารถสื่อสารสองทางได้ โดยมีเครือข่ายโยงใยในทุกหมู่บ้าน และให้ทุกคนสามารถเรียนรู้อยู่ที่บ้านได้

ด้าน นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการ กศน. กล่าวว่า กศน.ได้กำหนดนโยบายและจุดเน้นในการดำเนินงานการศึกษานอกโรงเรียนประจำปี 2552 เพื่อให้หน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดนำไปใช้เป็นกรอบและแนวทางในการดำเนิน งาน 10 ด้าน ดังนี้ ด้านการศึกษานอกระบบ ด้านการศึกษาตามอัธยาศัย ด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน ด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการสนับสนุนภาคีเครือข่าย ด้านการบริหาร ด้านการสนับสนุนโครงการพิเศษ และด้านการขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551.

ข้อมูลจาก www.dailynews.co.th

Thursday, November 20, 2008

สพฐ.สอบเอ็นทีป.3 ก.พ.ปีหน้า 8.6 แสนคน

สพฐ.เตรียมจัดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหรือเอ็นที ประจำปีการ ศึกษา 2551 สำหรับนักเรียนชั้น ป.3 ทั้งหมด8.6 แสนคนจาก 3.2 หมื่นโรงเรียน ทั่วประเทศ ระบุสอบวันที่ 19 กุมภาพันธ์2552 เผยข้อสอบปรนัยสุด หิน ! ทั้ง 3 วิชา "คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์-ภาษาไทย" เฉพาะวิชาภาษาไทยและ คณิตศาสตร์กำหนดให้นักเรียนต้องสอบอ่านออกเสียง เขียนเรียงความ และคิดเลข จริงด้วย

นางจิตตรียากล่าวต่อว่าการจัดสอบในปีนี้จะแตกต่างจากทุกๆ ปีที่ผ่านมา ซึ่ง ใช้เฉพาะข้อสอบปรนัยเท่านั้น นักเรียนจึงมีโอกาสเดาคำตอบได้ถูกต้อง ทั้งที่ จริงแล้วเด็กทำข้อสอบไม่ได้ ส่งผลให้การทดสอบดังกล่าวไม่สามารถสะท้อนได้ ความสามารถจริงของนักเรียน ประกอบกับในปีนี้ สพฐ.ต้องการข้อมูลการอ่านออก เขียนได้ของนักเรียนเพราะฉะนั้นจึงได้เพิ่มการทดสอบภาคปฏิบัติให้นักเรียน อ่านออกเสียงต่อหน้ากรรมการ ให้เขียนเรียงความและคิดเลขด้วย ซึ่งการเพิ่ม การทดสอบทั้ง 3 ส่วนเข้าไปจะช่วยให้วัดความสามารถในการอ่านออก เขียนได้ และ คิดเลขจริงของนักเรียนแต่ละคน

นางจิตตรียากล่าวต่อว่านอกจากการจัดสอบเอ็นทีระดับชั้น ป.3 แล้วสพฐ.มี โครงการวิจัยในยุทธศาสตร์ปรับปรุงการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษด้วยเพราะ ฉะนั้น สพฐ.จะจัดสุ่มสอบระดับชั้นป.6 จำนวน25% รวมทั้งหมด2.5 แสนคน ในวิชา ภาษาอังกฤษ และวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ อย่างไรก็ตาม สพฐ.ได้มอบให้สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาทุกแห่งจัดสอบนักเรียนชั้นป.2, ป.5 และม.2 ทุกคนใน พื้นที่อย่างน้อย 2 วิชาคือ ภาษาไทยและคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อมูล นักเรียนรายบุคคลทุกคน แล้วนำมาวางแผนพัฒนานักเรียนให้มีผลการเรียนดีขึ้นใน ปีต่อไปซึ่งจะเป็นปีสุดท้ายของแต่ละช่วงชั้น อนึ่ง นักเรียนแต่ละระดับชั้น มีประมาณ 8 แสนคน

"การจัดสอบเอ็นทีระดับ ป.3 และสุ่มสอบนักเรียนป.6 ในโครงการวิจัย ยุทธศาสตร์ปรับปรุงการเรียนการสอนภาษาอังกฤษนั้นจะจัดสอบพร้อมกันทั่วประเทศ ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์2552 และใช้ข้อสอบจากส่วนกลางส่วนการจัดสอบ ระดับ ป.2, ป.5 และม.2 โดยาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) นั้น จะมีการ ประชุมกันอีกครั้งเพื่อวางปฏิบัติการดำเนินงานต่อไป นางจิตตรียากล่าว

อนึ่งการจัดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ในอดีตที่ผ่าน มา พบว่าน่าเป็นห่วง เนื่องจากคะแนนเฉลี่ยสอบตกทุกวิชา ยกเว้นวิชาภาษาไทย ที่ค่าเฉลี่ยสอบผ่านแต่ร่อแร่

ข้อมูลจาก คมชัดลึก

ครม.ไฟเขียวแก้พ.ร.บ.การศึกษา7มาตรา

ครม.เห็นชอบร่างแก้ไขพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติทั้งหมด7 มาตราให้ สอดคล้องตามมาตรา49 และ80 ของรัฐธรรมนูญหวังให้คนไทยได้รับโอกาสการศึกษามาก ขึ้น รู้รักสามัคคี มีจิตสำนึกความเป็นไทย

นายศรีเมืองเจริญศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภาย หลังร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่าครม.ให้ความเห็นชอบร่างแก้ไขพ.ร.บ.การ ศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 ของกระทรวงศึกษาธิการซึ่งได้แก้ไขทั้งหมด 7 มาตรา เพื่อให้บทบัญญัติต่างๆ ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติสอดคล้องต่อ รัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญมาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการ ศึกษาไม่น้อยกว่า12 ปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่ เก็บค่าใช้จ่ายผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ฯลฯ

รมว.ศึกษาธิการกล่าวอีกว่านอกจากนั้นยังได้แก้ไขมาตรา 12 ซึ่งกำหนดให้บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน ฯลฯ มีสิทธิ์จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ ให้เป็น ไปตามที่กำหนดในกระทรวงนั้น ให้แก้ไขโดยตัดคำว่า ขั้นพื้นฐานออกเช่นกัน และ เติมข้อความว่า โดยได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐตามที่ กฎหมายกำหนด เข้าไปรวมทั้งตัดคำว่า องค์กรวิชาชีพ"ออกไปด้วย เพราะได้เพิ่ม เติมมาตรา 12/1 กำหนดให้การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชนการ ศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอด ชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ ทั้งนี้ เพื่อให้ มาตรา 12/1 นี้ล้อตามวรรคสาม ของรัฐธรรมนูญมาตรา49

นายศรีเมืองกล่าวด้วยว่าการจัดการศึกษาโดยครอบครัว ชุมชนมาตรา 13 และ มาตรา 14 ก็ให้แก้ไขโดยตัดคำว่าขั้นพื้นฐานออก รวมทั้งมาตรา 23 การจัดการ ศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องให้ความรู้เรื่องเกี่ยว กับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคมนั้น ให้เติมคำเป็น ความรู้เกี่ยว กับตนเอง ความสัมพันธ์และหน้าที่ของตนเองกับสังคม เพื่อให้สอดคล้องตาม มาตรา 80 ของรัฐธรรมนูญสุดท้ายให้แก้ไขมาตรา 7 เดิมกำหนดไว้ว่าในกระบวนการ เรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองใน ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฯลฯ ให้เติมข้อความ " รู้รักสามัคคี ปลูกจิตสำนึกความเป็นไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจน ค่านิยมอันดีงาม" เข้าไปด้วย

ข้อมูลจาก คมชัดลึก

ก.ค.ศ.ปรับเกณฑ์ย้ายผู้บริหาร-ครู

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบหลักเกณฑ์ และ วิธีการในการบริหารงานบุคคลกรณีการย้ายผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครูสายงานการสอนและการสรรหาผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) เพื่อเตรียมแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารและครูในช่วงสิ้นปีงบประมาณ 2551 ให้เกิดความเป็นธรรมและสามารถย้ายข้าม สพท.ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้ ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายผู้บริหารสถานศึกษา การพิจารณาย้ายผู้บริหารสถานศึกษาที่มีขนาดเดียวกันและสถานศึกษาที่มีขนาด เล็กกว่าหรือใหญ่กว่าไม่เกินหนึ่งขนาดพร้อมในคราวเดียวกัน และเปิดโอกาสให้ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลงานดีเด่นสามารถย้ายข้ามขนาดสถาน ศึกษาได้เป็นพิเศษ ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูสายงานการสอนในโรงเรียน มัธยมศึกษาให้พิจารณาผู้ขอย้ายที่มีวุฒิและวิชาเอกตรงตามความต้องการของสถาน ศึกษาเท่านั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า นอกจากนี้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การสรรหาผู้บริหารสถานศึกษาที่สังกัด สพท. ควรแยกเป็น 2 บัญชี คือ บัญชีผู้บริหารโรงเรียนประถมและมัธยม เพื่อให้สถานศึกษาได้ผู้บริหารที่มีความรู้ความสารมารถและประสบการณ์ตรงตาม ประเภทของการจัดการศึกษา โดยได้กำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเพิ่มเติม อาทิ ในบัญชีผู้บริหารโรงเรียนมัธยม ตำแหน่งรอง ผอ.สถานศึกษา ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติว่าต้องดำรงตำแหน่งครูหรือเคยดำรงตำแหน่ง ครูซึ่งปฏิบัติหน้าที่สายงานการสอนในโรงเรียนมัธยมมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปีและต้องมีประสบการณ์ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียน มัธยมมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี.

ข้อมูลจาก www.thairath.co.th

ไม่เชื่อน้ำยาดีเอสไอแก้แป๊ะเจี๊ยะ

นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ออกมาแฉข้อมูลช่องทางผู้บริหารโรงเรียนดังเรียกเก็บเงินค่าแป๊ะเจี๊ยะ และเตรียมรวบรวมพยานหลักฐานดำเนินคดีว่า เห็นด้วยกับความตั้งใจที่ดีเอสไอจะเข้ามาตรวจสอบการเรียกรับเงินแป๊ะเจี๊ยะ แต่ไม่แน่ใจว่าจะดำเนินการอย่างจริงจังหรือไม่ รวมทั้งหากมีหลักฐานแล้ว จะใช้กฎหมายฉบับใดเอาผิดกับผู้ปกครอง เพราะเป็นความยินยอมของผู้ปกครองที่ต้องการหาสิ่งดีๆให้กับลูก ดังนั้น ดีเอสไอจึงต้องถามตัวเองว่าการกระทำลักษณะนี้เป็นความผิดทางกฎหมาย หรือความผิดทางสังคม ซึ่งไม่ได้เข้าข้างใคร แต่อยากให้ดูเจตนารมณ์ของผู้ปกครอง เพราะเรื่องแบบนี้เป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันมาจนรับรู้กันทั่วอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม การเรียกรับแป๊ะเจี๊ยะทำกันทุกที่โดยเฉพาะโรงเรียนดีเด่นดัง ซึ่งในส่วนของโรงเรียนสาธิตทั้งหลาย ส่วนใหญ่จะเรียกรับบริจาคกันล่วงหน้าก่อนที่จะรับสมัคร ซึ่งต้องเสียเงินขั้นต่ำ 3 ล้านบาทต่อคน

คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงกรณีที่ปรึกษาสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนดัง 2 คน เข้าให้ รายละเอียดขั้นตอนการเรียกเงินแป๊ะเจี๊ยะต่อดีเอสไอว่า ทั้ง 2 คนเคยร้องเรียนมายังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แล้วเมื่อปี 2550 และมีการตรวจสอบพบว่าโรงเรียนได้ออกใบเสร็จถูกต้อง อีกทั้งผู้ปกครองเต็มใจ ที่สำคัญเงินบริจาคดังกล่าวนำไปใช้ในการพัฒนาโรงเรียน ไม่ได้ เข้ากระเป๋าใคร ซึ่ง 1 ใน 2 คนนี้ก็ได้ทำหนังสือขอถอนเรื่องนี้ออกไปแล้วด้วย อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า การที่ดีเอสไอจะเข้ามาตรวจสอบการเรียกรับเงินแป๊ะเจี๊ยะในโรงเรียนนั้นเป็น เรื่องดี และ สพฐ.พร้อมที่จะให้ ความร่วมมือ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส.

ข้อมูลจาก www.thairath.co.th

ชะลอแยกบัญชีย้ายผู้บริหารรร.

นายประเสริฐ งามพันธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ก.ค.ศ.มีมติเห็นชอบแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการย้ายผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) คือ ให้ย้ายผู้บริหารสถานศึกษาในระดับช่วงชั้นเดียวกันไปแต่งตั้งในสถานศึกษาที่ มีขนาดเดียวกัน หรือสถานศึกษาที่มีขนาดเล็กกว่า หรือใหญ่กว่าไม่เกิน 1 ขนาดพร้อมในคราวเดียวกัน และเปิดโอกาสให้ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลงานดีเด่นสามารถย้ายข้ามสถานศึกษา ได้ ส่วนการย้ายข้าราชการครูสายงานสอนไปแต่งตั้งในโรงเรียนมัธยมศึกษาให้พิจารณา ผู้ขอย้ายที่มีวุฒิและวิชาเอกตรงตามความต้องการของสถานศึกษาเท่านั้น และต้องไม่เกินจำนวนครูในวิชาเอกนั้น ๆ ทั้งนี้สำนักงาน ก.ค.ศ. จะจัดทำคำอธิบายรายละเอียดในหลักเกณฑ์เพื่อให้เขตพื้นที่การศึกษาต่าง ๆ ปฏิบัติตรงกันต่อไป

เลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าวต่อไปว่า สำหรับการสรรหาผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. ควรดำเนินการเมื่อสิ้นอายุบัญชีผู้ผ่านการคัดเลือกตามประกาศ สพฐ. ที่ประกาศ ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2550 ซึ่งบัญชีนี้จะหมดอายุในวันที่ 24 มิถุนายน 2554 ส่วนกรณีการขอแยกบัญชีผู้บริหารสถานศึกษาเป็น 2 บัญชี คือ บัญชีผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา และบัญชีผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษานั้น ให้ชะลอไว้ก่อน.

ข้อมูลจาก www.dailynews.co.th

ผอ.รร.โอดประเมินวิทยฐานะเกณฑ์ไม่สอดคล้องกับงาน

นายจีระศักดิ์ จันทุดม ผอ.โรงเรียนราชดำริ เปิดเผยว่า ขณะนี้กลุ่มผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษที่เสนอผลงานทางวิชาการเพื่อขอมีและ เลื่อนวิทยฐานะเป็นผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ กำลังหารือเพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะของกลุ่ม ผู้อำนวยการสถานศึกษาต่อนายศรีเมือง เจริญศิริ รมว.ศึกษาธิการ เพื่อให้พิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์การประเมิน เนื่องจากหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษเป็นผู้อำนวย การเชี่ยวชาญที่ใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่เหมาะสม ผู้อำนวยการสถานศึกษามีความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารสถานศึกษา และบุคลากร ไม่เชี่ยวชาญการเขียนผลงานวิจัย ทำให้เขียนผลงานวิจัยตรงตามหลักเกณฑ์เป็นไปได้ยาก ซึ่งตนคิดว่าหลักเกณฑ์การประเมินที่ดีควรจะสอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริง

“ผอ.สถานศึกษาบางคนส่งผลงานเข้ารับการประเมินหลายครั้งก็ไม่ผ่าน ทำให้เสียกำลังใจและส่งผลกระทบต่อการบริหารสถานศึกษา โดยในส่วนของเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร 1-3 ในรอบ 4 ปีนี้ มีผอ.สถานศึกษาเสนอผลงานเข้ารับการประเมินกว่า 100 คน แต่ผ่านเพียง 3-4 คนเท่านั้น จึงอยากให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์การประเมินใหม่ให้เป็นหลักเกณฑ์ที่สม ประโยชน์ทั้งกับราชการและบุคลากรด้วย” นายจีระศักดิ์ กล่าว.

ข้อมูลจาก www.dailynews.co.th

อ.จุฬาฯเอาด้วยกำจัดแป๊ะเจี๊ยะแต่หวั่นทำไม่ได้

อาจารย์จุฬาฯ ออกโรงเห็นด้วยกับแนวคิดล้างบางระบบ “แป๊ะเจี๊ยะ” ฝากเด็กเข้าเรียนโรงเรียนมัธยมดัง แต่ไม่เชื่อว่าจะทำได้จริง แล้วจะใช้กฎหมายฉบับไหนเอาผิด เพราะทำกันมานานจนเป็นเรื่องปกติ แนะ "ดีเอสไอ" ศึกษาให้ดีว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย หรือผิดทางสังคม ย้อนถาม “รมต.ศรีเมือง” เอางบฯ ไปพัฒนาคุณภาพการศึกษา หรือทุ่ม “เมกะโปรเจคท์” ด้านกมธ.การศึกษา วุฒิสภา ชี้ ต้องแก้ปัญหาด้วยการเกลี่ยโรงเรียนดังออกนอกเมือง

กรณีกรมสอบสวนคดีพิเศษเปิดประเด็นใหม่ของสังคม เตรียมกวาดล้างขบวนการผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาชื่อดังหลายแห่ง เรียกเงินกินเปล่าจากผู้ปกครองแลกกับการให้บุตรหลานได้เข้าเรียน ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 19 พ.ย. รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าตนเห็นด้วยในหลักการกับความตั้งใจที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) จะเข้ามาตรวจสอบ แต่ไม่แน่ใจว่าจะดำเนินการอย่างจริงจัง และยั่งยืนหรือไม่ รวมทั้งหากมีหลักฐานแล้ว จะใช้กฎหมายฉบับใดเอาผิดกับผู้ปกครอง เพราะเป็นความยินยอมของผู้ปกครองที่ต้องการหา สิ่งดี ๆ ให้กับลูก ดังนั้นทางดีเอสไอจึงต้องถามตัวเองว่าการกระทำลักษณะนี้เป็นความผิดทาง กฎหมาย หรือเป็นความผิดทางสังคม ซึ่งตนไม่ได้เข้าข้างใคร แต่อยากให้ดูเจตนารมณ์ของผู้ปกครอง เพราะเรื่องแบบนี้เป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันมาจนรับรู้กันทั่วอยู่แล้ว

“ทุกวันนี้คุณภาพและมาตรฐานของแต่ละโรงเรียนยังไม่เท่ากัน งบประมาณที่กระทรวงศึกษาธิการได้รับก็กลับเอาไปทุ่มเรื่อง เมกะโปรเจคท์ จึงอยากถามนายศรีเมือง เจริญศิริ รมว.ศึกษาธิการ ว่าได้นำงบประมาณเข้าสู่ระบบพัฒนาคุณภาพการศึกษามากน้อยแค่ไหน ผมเชื่อว่าถ้าทำให้ทุกโรงเรียนมีมาตรฐานเดียวกันได้ ปัญหาแป๊ะเจี๊ยะก็คงไม่มี และอยากถามทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่าจะปกป้องสถานะทางสังคมให้แก่เด็กที่คน อื่นรู้ว่าเด็กคนนั้นจ่ายแป๊ะเจี๊ยะเข้ามาได้อย่างไร เราจึงควรคิดกันใหม่ว่าจะจัดการกับปัญหานี้อย่างไร” รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวและว่า การเรียกรับแป๊ะเจี๊ยะทำกันทุกที่โดยเฉพาะโรงเรียนดีเด่นดัง ซึ่งในส่วนของโรงเรียนสาธิตทั้งหลาย ส่วนใหญ่จะเรียกรับบริจาคกันล่วงหน้าก่อนที่จะรับสมัคร ซึ่งต้องเสียเงินขั้นต่ำถึง 3 ล้านบาท ต่อคน

คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวถึงกรณีที่ปรึกษาสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนดัง 2 คน เข้าให้รายละเอียดขั้นตอนการเรียกเงินแป๊ะเจี๊ยะต่อดีเอสไอว่า ทั้ง 2 คนเคยร้องเรียนมาที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แล้วเมื่อปี 2550 และ สพฐ. ก็ได้ส่งเรื่อง ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดำเนินการตรวจสอบ แต่ก็พบว่ามีหลักฐานยืนยันการรับเงินชัดเจน โดยพบว่าทางโรงเรียนได้ออกใบเสร็จถูกต้อง และเป็นช่วงเวลาหลังการรับนักเรียนไปแล้ว อีกทั้งผู้ปกครองก็เต็มใจ ที่สำคัญเงินบริจาคดังกล่าวนำไปใช้ในการพัฒนาโรงเรียน ไม่ได้เข้ากระเป๋าใคร ซึ่ง 1 ใน 2 คนดังกล่าวก็ได้ทำหนังสือขอถอนเรื่องออกไปแล้วด้วย แต่อย่างไรก็ตามตนยืนยันว่าการที่ดีเอสไอจะเข้ามาตรวจสอบเป็นเรื่องดี และ สพฐ.ก็พร้อมให้ความร่วมมือ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส

“การตรวจสอบการทุจริตคงต้องดูเหตุผล ในการรับเงินด้วย หากรับเงินเพื่อเข้ากระเป๋าผู้บริหารก็เป็นการทุจริตแน่นอน แต่หากรับเงินเพื่อนำไปพัฒนาโรงเรียน ผู้มีหน้าที่ดูแลสนับสนุนงบประมาณแก่สถานศึกษา ก็คงต้องทบทวนด้วยว่างบประมาณที่สนับสนุนโรงเรียนเพียงพอหรือไม่ เพราะขณะนี้ทุกฝ่ายต่างเรียกร้องคุณภาพการศึกษา แต่รัฐบาลมีงบประมาณจำกัด และแม้ว่ารัฐบาลนี้จะเพิ่มงบประมาณอุดหนุนรายหัวให้แล้ว แต่ก็ยังเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับโรงเรียนขนาดกลาง ดังนั้นหากจะให้โรงเรียนมีการพัฒนาคุณภาพจะต้องเพิ่มงบประมาณอีกเท่าตัว” คุณหญิงกษมา กล่าว

ด้านนายสิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษา วุฒิสภา กล่าวว่า แป๊ะเจี๊ยะเป็นระบบที่เกิดขึ้นนานแล้ว เกิดขึ้นบนความสมประโยชน์ทั้งผู้ให้และผู้รับ และระบบการศึกษาที่ไม่เป็นธรรม ดังนั้นหากจะแก้ปัญหานี้ควรต้องแก้ที่ระบบการศึกษา ซึ่งจะต้องไม่ให้มีโรงเรียนดัง หรือมีคุณภาพสูงกระจุกตัวอยู่ในเมืองหลวงเพียงอย่างเดียว จะต้องกระจายออกไปยังต่างจังหวัดด้วย เพราะไม่เช่นนั้น ผู้ปกครองจะยังคงมุ่งส่งลูกเรียนโรงเรียนดังเหมือนเดิม การที่ดีเอสไอเข้ามาตรวจสอบก็เป็นเรื่องดี แต่ไม่เชื่อว่าจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้จริง อย่างไรก็ตามขณะนี้ กมธ.การศึกษา วุฒิสภา กำลังทำวิจัยเรื่องโอกาสและความเป็นธรรมทางการศึกษาอยู่ หลังจากนี้จะจัดเสวนาระดมความคิดเห็นเพื่อรวบรวมแนวทางแก้ปัญหาและเสนอ รัฐบาลต่อไป ซึ่งจะไม่ใช่แนวทางการแก้ปัญหาระยะสั้นเพียงอย่างเดียว แต่จะใช้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษา เพื่อแก้ปัญหาระยะยาวด้วย.

ข้อมูลจาก www.dailynews.co.th

Tuesday, November 18, 2008

สกู๊ปพิเศษ..."โพธิสาร"ขับขายเพลง น้อมรำลึกสมเด็จพระพี่นาง

"หนูและพ่อ แม่ดีใจ ภูมิใจมากที่ได้มีโอกาสร้องเพลงถวายอาลัยแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯเพราะน้อยคนที่จะมีโอกาสเช่นนี้ ....

น้องอัญ-ด.ญ.อัญชิสา แซ่เต๋ง นักเรียนชั้นม.2 และสมาชิกคณะนักร้องประสานเสียงโรงเรียนโพธิสารพิทยากรบอกด้วยความปลื้มปิติ

ภายหลังเข้าร่วมขับร้องบทเพลง"พระกรุณาธิคุณ" และ"แก้วกัลยา" ซึ่งคณะนักร้องประสานเสียงจากโรงเรียนโพธิสารพิทยากร โรงเรียนราชีนี โรงเรียนเซนต์ฟรังส์ ซิสซาเวียร์ คอนแวนต์ วิทยาลัยนาฎศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และนักเรียนผู้พิการทางร่างกาย สายตาร่วมกับวงดุริยางค์สากล สำนักการสังคีต กรมศิลปากรขับร้องในช่วงค่ำห้าทุ่มถึงตีหนึ่งของวันที่ 15-16 พ.ย.ที่ผ่านมา ณ เวที 2 หน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในงานแสดงมหรสพสมโภชงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นาง เธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อถวายอาลัยส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย

เช่นเดียวกับ น้องสร้อย-ด.ญ.นฤมล วรรณรังศรี นักเรียนชั้นม.3 และสมาชิกคณะนักร้องประสานเสียงร.ร.โพธิสารพิทยากร ที่เธอและครอบครัวภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งเพราะไม่เคยมีโอกาสเช่นนี้มาก่อน

"เพลงพระกรุณาธิคุณพวกหนูช่วยร้องประสานเสียง เพลงแก้วกัลยาทุกคนร้องร่วมกันโดยใช้เสียงสูง ใช้ลมหายใจเยอะ เวลาร้องก็ใช้วิธีจำโน้ตแล้วเทียบเสียงจากโน้ต อาศัยหูฟังโน้ตด้วย เพื่อไม่ให้ร้องเพี้ยนจากเสียงคนอื่น" น้องสร้อย บอกถึงเทคนิคการร้อง

"คณะนักร้องประสานเสียงโพธิสารคอรัส" ของร.ร.โพธิสารพิทยากรก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพ.ย.2549 โดยครูทวีศักดิ์ สังขเวช ได้ คัดเลือกนักเรียนม.ต้นตั้งคณะนักร้องประสานเสียง 20 คนเพื่อไปแข่งขันขับร้องประสานเสียงระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร(สพท.กทม.)เขต 3 และคว้ารางวัลชนะเลิศได้เป็นตัวแทนเขตพื้นที่ระดับม.ต้นไปแข่งขันระดับภาค กลางและตะวันออก

จากนั้นครูทวีศักดิ์ ได้เชิญอาจารย์ปิยะ เลิศไกร นัก ดนตรีสากลมืออาชีพ มาเสริมทัพเป็นอาจารย์พิเศษสอนดนตรีสากลและขับร้องประสานเสียง และพัฒนาทักษะการร้องเพลงจนได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองอันดับ 1 ประเภทขับร้องประสานเสียงเพลงพระราชนิพนธ์ระดับม.ต้นของภาคกลางและตะวันออก ในปีการศึกษา 2550 อีกทั้งไปร่วมแสดงในงานระดับประเทศ เช่น งานมหัศจรรย์เด็กไทยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) โครงการทูบีนัมเบอร์วันทางช่อง 9 งานร่วมด้วยช่วยร้องเพลงพ่อแห่งแผ่นดิน

ครูฉวีวรรณ เทพย์ทอง หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ ร.ร.โพธิสารพิทยากรในฐานะผู้ดูแลคณะนักร้องประสานเสียงโพธิสารคอรัส เล่าเบื้องหลังความสำเร็จว่า นอกจากความร่วมแรงร่วมใจของครูทวีศักดิ์ อาจารย์ปิยะ นักเรียนและผู้ปกครองแล้ว ยังได้รับกำลังใจ การสนับสนุนงบประมาณในการทำกิจกรรมและจัดซื้อเครื่องดนตรีสากลเป็นอย่างดี จากนายสมเกียรติ เจริญฉิม ผอ.ร.ร.คนก่อน และนายธวัช หมื่นศรีชัย ผอ.ร.ร.คนปัจจุบัน อีกทั้งคณะนักร้องประสานเสียงได้รับความชื่นชมจากคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.)ด้วย

ปัจจุบันคณะนักร้องประสานเสียงโพธิสารคอรัสมีนักเรียนชั้น ม.1-3 เป็นสมาชิกของคณะทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ทั้งสิ้น 50 คน หลายคนนอกจากร้องเพลงได้แล้ว ยังเล่นดนตรีเช่น ไวโอลิน เชลโล วิโอล่าได้ด้วย โรงเรียนจึงตั้งวงเครื่องสายออเคสตร้าขึ้น อีกทั้งมีการนำสมาชิกวงโยธวาทิตที่เล่นเครื่องเป่าได้มารวมกับวงเครื่องสาย ออเคสตร้าแล้วตั้งเป็นวงซิมโฟนีออเคสตร้ามีสมาชิกทั้งหมด 35 คน

"โรงเรียนได้รับการติดต่อจากอาจารย์สถาพร นิยมทอง ผู้อำนวยเพลงของสำนักการสังคีต กรมศิลปากรให้ไปร่วมร้องเพลงถวายอาลัยแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯเพราะเคยไป ร่วมร้องเพลงกับท่าน คิดว่าท่านคงประทับใจความสามารถของนักเรียน นับเป็นความภาคภูมิใจของโรงเรียนเพราะไม่ได้มีโอกาสง่ายๆ" ครูฉวีวรรณบอกอย่างปลื้มใจ

อาจารย์ปิยะเล่าถึงการสอนและฝึกซ้อมว่า การสอนนักเรียนร้องเพลงเน้นอ่านโน้ตเพลงได้ ออกเสียงอักขระชัดเจน ใช้เสียง ลมหายใจร้องเพลงให้ถูกต้องและร้องให้เข้าถึงอารมณ์เพลง ส่วนใหญ่ให้ฝึกร้องเพลงพระราชนิพนธ์ เช่น แผ่นดินของเรา OH I SAY เนื่องจากเหมาะแก่การร้องประสานเสียง และอยากให้เด็กๆ รู้ว่าพระมหากษัตริย์ของเราทรงมีความรู้ความสามารถด้านดนตรีอย่างยิ่ง อีกทั้งยังฝึกให้เด็กเล่นดนตรีเช่น ไวโอลิน เชลโลด้วยเพราะคนเล่นดนตรีได้จะเข้าใจโน้ตเพลงอย่างดี โอกาสร้องเพลงเพี้ยนน้อยมาก

"ครั้งแรกที่รู้ว่าเด็กๆจะไปร้องเพลงถวายอาลัยแด่สมเด็จ พระเจ้าพี่นางเธอฯ รู้สึกว่าตัวเองมีค่ามากขึ้น ดีใจที่ได้ตอบแทนพระองค์ บอกกับเด็กว่าตั้งใจร้องทั้ง 2 เพลงให้เต็มที่และให้ได้อารมณ์มากที่สุด เพราะเป็นงานระดับชาติและเป็นมงคลแก่ตัวเด็กเอง เราฝึกซ้อมกันเยอะตั้งแต่ปิดเทอมเดือนต.ค. การร้องเพลงแก้วกัลยาเน้นอารมณ์เพลงและความไพเราะ เพลงพระกรุณาธิคุณมีการประสานเสียงเยอะเน้นประสานเสียงให้ชัดเจน" อาจารย์ปิยะแจกแจง

ผอ.ธวัช บอกว่า โรงเรียนมีนโยบายส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมด้านดนตรีและศิลปะเพราะช่วย ขัดเกลาให้เด็กมีจิตใจอ่อนโยน อ่อนน้อม ที่สำคัญได้ปลูกฝังให้นักเรียนรักชาติ ศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่มีคุณูปการต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างใหญ่หลวง และทรงอยู่ในดวงใจของคนไทยทุกคน

"สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯทรงปฏิบัติพระกรณียกิจเพื่อ ประโยชน์ของชาวไทยมากมาย ชาวโรงเรียนโพธิสารพิทยากรกว่า 2 พันคนรู้สึกเป็นเกียรติอย่างสูงยิ่งที่นักเรียนได้ไปร่วมร้องเพลงถวายความ จงรักภักดีแด่พระองค์เป็นครั้งสุดท้าย" ผอ.ธวัชกล่าวทิ้งท้ายอย่างภาคภูมิใจ

ข้อมูลจาก คมชัดลึก

นร.เทียบม.6 สมัครโอเน็ต 6 พัน สทศ.เผยออกข้อสอบเสร็จแล้ว

ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยว่า ตามที่สทศ.ได้เปิดรับสมัครทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ตปีการศึกษา 2551 ที่จะจัดให้สอบปี 2552 สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 หรือชั้นม.6

ที่เป็นนักเรียนเทียบเท่า ได้แก่ นักเรียน กศน. ช่างฝีมือทหาร นาฏศิลป์ และโรงเรียนอาชีวะ ทั้งรัฐและเอกชน ตั้งแต่วันที่ 1-15 พฤศจิกายน ผ่านเว็บไซต์สทศ. www.niets.or.th นั้นมีผู้มาสมัครประมาณ 6,000 คน

ผอ. สทศ. กล่าวอีกว่า นักเรียนเทียบเท่าม.6 คนใดไม่ได้สมัครตามที่กำหนดถือว่าไม่มีสิทธิ์เข้าสอบโอเน็ตปีการศึกษา 2551 และผู้สมัครตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ เลขที่นั่งสอบ ผ่านเว็บไซต์สทศ.ได้ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2552 ส่วนข้อสอบโอเน็ตนั้น สทศ.ออกข้อสอบที่จะใช้สอบนักเรียนชั้นป.6 ม.3 และ ม.6 ที่จะสอบปี 2552 เสร็จแล้ว จะเริ่มพิมพ์ข้อสอบ และเตรียมความพร้อมให้แก่ศูนย์สอบต่างๆ

"ข้อสอบ จีเอทีและพีเอทีออกไปได้พอสมควรแล้ว โดยเฉพาะข้อสอบ พีเอที 7 เกี่ยวกับด้านภาษาต่างๆออกได้มากแล้ว ระหว่างนี้สทศ.ได้ส่งผลวิเคราะห์ข้อสอบบี จีเอที และบี พีเอที ที่ใช้รับตรงสำหรับผู้ที่จะเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้แก่ผู้ออกข้อสอบจีเอทีและพีเอที เพื่อนำไปดูเป็นแนวข้อสอบด้วย เท่าที่ดูผลวิเคราะห์ข้อสอบบี จีเอที และบี พีเอที ข้อสอบไม่ยากมากนัก แต่มีเด็กบางคนที่ทำไม่ได้ คะแนนสอบเป็นศูนย์จะมาดูอีกครั้งว่าเพราะอะไร อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมถือเป็นข้อสอบที่ใช้ได้" ผอ.สทศ.กล่าว

ข้อมูลจาก คมชัดลึก

ปรับประกาศรับ ผอ.สพท.ขึ้นบัญชี 1 ปี

ก.ค.ศ.ไฟเขียวปรับปรุงประกาศรับสมัคร ผอ.สพท. แทนอัตราเกษียณประจำปี 2550 โดยเพิ่มเนื้อหาขึ้นบัญชีไว้ 1 ปี หรือจนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะตัดสินคดี พร้อมอนุมัติวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษให้แก่ครูเคมี 2 รายแรก

ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เสนอขอให้ปรับปรุงประกาศรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.สพท.) จำนวน 18 ตำแหน่ง แทนผู้ที่เกษียณอายุราชการก่อนกำหนดประจำปี 2550

ปลัด ศธ.กล่าวอีกว่า สาเหตุที่ สพฐ.ขอปรับปรุงประกาศดังกล่าว เพราะเร็วๆ นี้จะมีการแต่งตั้งโยกย้าย ผอ.สพท.เพื่อมาดำรงหน้าที่ประจำกระทรวงศึกษาธิการ ส่งผลให้มีตำแหน่งว่างเพิ่มอีก 4 ตำแหน่ง รวม 22 ตำแหน่ง ดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณในการเปิดสอบคัดเลือก ผอ.สพท. ทาง สพฐ.จึงขอปรับปรุงประกาศดังกล่าว โดยประกาศฉบับปรับปรุงจะเพิ่มเติมเนื้อหาไว้ในประกาศว่าขอให้ขึ้นบัญชีผู้ ที่ผ่านการสอบคัดเลือกไว้เป็นเวลา 1 ปี หรือจนกว่าจะถึงวันที่ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาตัดสินคดีให้มีการคัดเลือก ผอ.สพท.อีก 22 ตำแหน่ง

ปลัด ศธ.กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมยังได้อนุมัติวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ 2 คน ได้แก่ นางนงลักษณ์ ผลวัฒนะ โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สพท. กรุงเทพมหานคร เขต 1 และ น.ส.พรพิมล ชาญชัยเชาว์วิวัฒน์ โรงเรียนบางมด “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” สพท.กรุงเทพมหานคร เขต 3 ทั้งนี้ครูทั้งสองคนเป็นครูสอนวิชาเคมี และเป็นครู 2 รายแรกที่ได้รับวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ถือว่าเป็นเกียรติประวัติแก่ครูอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ทั้งสองคนจะได้รับเงินวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ 1.3 หมื่นบาทต่อเดือน

ข้อมูลจาก คมชัดลึก

สาธิตจุฬาฯชงFUN FIND FOCUSเสนอศธ.ใช้ในโรงเรียนทั่วประเทศ

สาธิตจุฬาฯเตรียมชงหลักสูตรFUN FIND FOCUSให้ผู้บริหารศธ.นำไปใช้กับโรงเรียนทั่วประเทศหลังทดลองให้เด็กเลือก วิชาเรียนเองแล้วได้ผลดี เชื่อเป็นหลักสูตรทำให้เด็กรู้จักตนเองและค้นพบสิ่งที่ตัวเองชอบ ช่วยตัดสินใจเลือกเรียนคณะที่อยากเรียนในมหาวิทยาลัย

รศ.ลัด ดา ภู่เกียรติ ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่าย ประถม กล่าวว่า สาธิตจุฬาฯได้วิจัยหลักสูตรตาม แนวคิด FUN FIND FOCUS โดย FUN คือสนุกสนานสำหรับป.1-2 ให้รู้จักตัวเองว่า ชอบและสนใจอะไรโตขึ้นอยากเรียนอะไร ,FIND คือการค้นหาตนเองใช้กับนักเรียน ป.3-4 ให้เลือกในสิ่งที่ชอบ ผ่านวิชาเลือกเสรี จะทำให้นักเรียนค้นพบตัวเอง ว่าชอบสิ่งไหน และ FOCUSจะใช้ในช่วงป.5-6 จะรู้ว่าถนัดอะไรเช่น บางคนถนัด ดนตรี ก็เสริมดนตรีเข้าไป บางคนถนัดภาษา ก็เน้นด้านภาษา

รศ.ลัดดา กล่าวว่าหลักสูตรนี้เสริมจากหลักสูตรปกติช่วยเสริมทักษะ ความรู้ทางวิชาการ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2548 ได้นำไป

ทดลอง 10 โรงเรียน5 ประถม5 มัธยม5 ภูมิภาคปรากฏว่าโรงเรียนขนาดเล็กจัด หลักสูตรนี้ได้ผลดี ขณะที่โรงเรียนขนาดใหญ่จะมีข้อจำกัดมาก โดยเฉพาะการ เปลี่ยนแปลงคน หากสามารถจัดการศึกษาได้แบบนี้ เด็กจะได้เรียนอย่าง สนุกสนาน ได้รู้ว่าตัวเองชอบอะไร และต่อยอดเรียนไปถึงระดับมัธยมได้อย่างถูก ต้อง เช่นชอบ แพทย์ วิศวะ หรือ นิติศาสตร์ เป็นต้น สาธิตจุฬาจะเสนอ หลักสูตรนี้ให้ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)นำไปใช้ในโรงเรียนต่างๆ โด ยศธ.เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณและสาธิตจุฬาเป็นศูนย์กลางกระจายนวัตกรรมซึ่งจะ เปิดบ้านสาธิตจุฬาฯวันที่ 28-29 พ.ย. เวลา09.00-15.00 น.ผู้ที่สนใจสอบถาม ได้ที่โทร.0-2218-2741-6

ข้อมูล คมชัดลึก

ข้อสอบO-NETออกเสร็จแล้ว

ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยว่า ตามที่ สทศ.ได้เปิดรับสมัครทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET ปีการศึกษา 2551 ที่จะสอบในปี 2552 สำหรับนักเรียนช่วงชั้น ที่ 4 หรือ ม.6 ที่เป็นนักเรียนเทียบเท่า ระหว่างวันที่ 1-15 พ.ย.2551 ผ่านทางเว็บไซต์ สทศ. www.niets.or.th นั้น ปรากฏว่า มีผู้มาสมัครประมาณ 6,000 คน สำหรับคนที่ไม่ได้สมัครตามระยะเวลาที่กำหนดก็จะไม่มีสิทธิเข้าสอบ O-NET ปีการศึกษา 2551 แน่นอน ทั้งนี้ผู้สมัครสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ที่นั่งสอบ ได้ทางเว็บไซต์ สทศ. ตั้งแต่วันที่ 5 ม.ค. 2552 เป็นต้นไป

ผอ.สทศ.กล่าวต่อไปว่า ส่วนข้อสอบ O-NET นั้น ขณะนี้ สทศ.ได้ออกข้อสอบที่จะใช้สอบสำหรับนักเรียน ป.6 ม.3 และ ม.6 ที่จะสอบในปี 2552 เสร็จเรียบร้อยแล้ว และกำลังจะเริ่มพิมพ์ข้อสอบ และเตรียมความพร้อมให้แก่ศูนย์สอบต่าง ๆ ต่อไป เพราะก่อนหน้านี้ สทศ.ได้ทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมให้แก่เขตพื้นที่การศึกษาต่าง ๆไปแล้ว

“สำหรับเรื่องการตรวจสอบสถานะการสมัครสอบความถนัดทั่วไป หรือ GAT (General Aptitude Test) และการทดสอบวิชาชีพหรือวิชาการ PAT (Professional Aptitude Test) ที่ใช้เป็นองค์ประกอบในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาด้วย ระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือ แอดมิชชั่น ประจำปีการศึกษา 2553 นั้น ขณะนี้ผู้สมัครสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ทาง www.niets.or.th หรือ สอบถามที่ สทศ. หรือ Call Center 0-2975-5599 ระหว่างเวลา 07.00- 19.00 น. ทุกวัน ส่วนเลขที่นั่งสอบ สนามสอบและห้องสอบ จะประกาศประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2552” ศ.ดร.อุทุมพรกล่าว

ข้อมูลจาก www.dailynews.co.th

Monday, November 17, 2008

"ครูพี่เลี้ยง" เมินหน้าที่ นศ.ฝึกสอนหมดศรัทธา"อาชีพครู"

นิสิตฝึกสอนร้องเรียนผ่านคอลัมน์"ครูแจ่ม" แห่งเปิดม่านการศึกษา "คม ชัด ลึก" ถึงพฤติกรรมครูพี่เลี้ยง ที่มิได้ทำตามหน้าที่คอยให้คำแนะนำ แนวทางการสอน และบทบาทครูที่ดี

แต่กลับให้นิสิตฝึกสอนไปช่วยพิมพ์งานถ่ายเอกสารงานวิจัยของผู้ อื่นมาทำ ผลงานครู คศ.3 เพื่อเลื่อนวิทยฐานะรวมทั้งให้ทำหน้าที่แทนครูพี่ เลี้ยง พวกเขาต้องลองผิดลองถูกด้วยตนเอง เมื่อฝึกสอนเสร็จกลับได้เกรดเอ

สั่นสะเทือนไปทั้งวงการผลิตครูเมื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลิต ครู ต่างฟันธงเห็นตรงกันว่า ครูพี่เลี้ยงละเลยหน้าที่ฝึกสอนสนใจทำแต่ วิทยฐานะ คือตัวบั่นถอนความเลื่อมใสในวิชาชีพครู คุรุสภาและมหาวิทยาลัยต้อง คุมเข้มครูพี่เลี้ยงให้ชัดเจนขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องลดความ สำคัญในการทำวิทยฐานะมาวัดการสอนแทนทำผลงานบนกองกระดาษ

รศ.ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์แห่ง ประเทศไทย (สคสท.) ยอมรับว่า กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นบ่อยมากนิสิต นักศึกษาจึงควรร้องเรียนไปที่คณะ มหาวิทยาลัยตนเอง เพื่อไม่ให้คณะส่งนิสิต รุ่นต่อไปไปฝึกสอนที่โรงเรียนนั้นอีก เพราะตามแนวทางปฏิบัติในการเลือก โรงเรียน ครูพี่เลี้ยง คุรุสภากำหนดไว้ชัดเจน อาทิ ครูพี่เลี้ยงต้องเป็นผู้ ที่มีประสบการณ์ในการสอนดี มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรี คอยแนะนำนิสิตนักศึกษา ในการสอน และช่วยเตรียมการสอน

"เมื่อก่อนนิสิต จุฬาฯ เคยมาร้องเรียนเรื่องครูพี่เลี้ยง หรือ ครูนิเทศก์ ไม่ทำหน้าที่ของครูพี่เลี้ยงเหมือนกัน คณะจึงวางแนวทางในการ ประเมินครูพี่เลี้ยง โดยให้นิสิตที่ไปฝึกสอนที่โรงเรียนนั้นๆ เป็นผู้ ประเมิน ถ้าครูพี่เลี้ยงโรงเรียนไหน ทำหน้าที่ไม่ดี ในปีถัดไปก็ไม่ส่งนิสิต ไปฝึกสอนอีก ทำให้โรงเรียน ครูพี่เลี้ยง และนิสิตใส่ใจในการฝึกสอนมากขึ้น" รศ.ดร.พฤทธิ์แนะทางออก

รศ.ดร.พฤทธิ์ ย้ำด้วยว่า พฤติกรรมครูพี่เลี้ยงที่ใช้นิสิต ฝึกงาน ถ่ายเอกสาร พิมพ์งาน ทำผลงานครู คศ.3 เพื่อเลื่อนวิทยฐานะนั้นเรื่อง นี้ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่นิสิตฝึกสอนอย่างมาก เพราะทำให้นิสิตขาด ความเลื่อมใสศรัทธาในความเป็นครู จึงอยากให้ครูพี่เลี้ยงตระหนัก และให้ความ สำคัญในการสร้าง บทบาทครูที่ดีส่วนศธ.หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรลดความสำคัญในการทำวิทยฐานะให้ดูการสอนของครูเป็นสำคัญแทนการทำผลงานทางวิชาการ

ขณะที่ รศ.ดร.ช่วงโชติพันธุเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (มรภ.สส.) ชี้ว่าครู พี่เลี้ยงโรงเรียน ที่นิสิตนักศึกษาไปฝึกสอน ต้องเอื้ออำนวยช่วยเหลือ นิสิต เรื่องการทำงานสอน ดังนั้นการที่ครูพี่เลี้ยงสั่งให้นิสิตฝึกสอนช่วย ทำผลงานในการเลื่อนวิทยฐานะ ส่วนหนึ่งถือเป็นการฝึกงานให้ได้รู้จักการทำ วิทยฐานะ เพราะในอนาคตเมื่อพวกเขาเป็นครูก็ต้องทำ แต่ถ้าไม่ให้ทำงานหลักใน การสอนอย่างถูกต้องสมบูรณ์แล้วนั้น ถือว่าครูพี่เลี้ยงทำงานไม่ตรงหน้าที่

"นิสิต นักศึกษา สามารถร้องเรียนคณะของตนเองได้ และมหาวิทยาลัยควร มีการตรวจสอบ หรืออาจไม่ส่งนิสิตนักศึกษาไปฝึกสอนที่โรงเรียนนั้นอีก ความ จริงทั้งโรงเรียน ครูพี่เลี้ยง หรือครูนิเทศก์ ต่างได้รับคู่มือในการเป็น ครูพี่เลี้ยงที่ดี เป็นแนวทางปฏิบัติและหน้าที่จากคุรุสภา เช่น ให้คำแนะนำ แผนการสอน ทำสื่อการสอนวัดและประเมินผล สื่อการเรียนการสอน คอยสังเกตการสอน ของเด็กในห้องเรียนว่าเป็นอย่างไร และให้คำแนะนำ และประเมินเด็ก จึงอยากฝาก ครูพี่เลี้ยงให้ทำความเข้าใจคู่มือให้ดี และดูแลมอบหมายงานให้แก่นิสิต ฝึกสอนด้วย" รศ.ดร.ช่วงโชติกล่าว

ข้อมูลจาก คมชัดลึก

ไฟเขียวดีเอสไอตรวจ “แป๊ะเจี๊ยะ”

นาย ศรีเมือง เจริญศิริ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ มีแผนจะเข้ามาตรวจสอบการเรียกรับเงินแป๊ะเจี๊ยะในโรงเรียนยอดนิยมว่า ยินดีหากดีเอสไอจะเข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้ เพราะดีเอสไอจะมีกระบวนการตรวจสอบในเชิงลึก และหากผลตรวจสอบออกมาว่ามีการรับเงินแป๊ะเจี๊ยะจริง จะสั่งย้ายทันที สำหรับความคืบหน้าการรับนักเรียนประจำปีการศึกษา 2552 นั้น ตนได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แล้ว ซึ่งตนได้ เน้นย้ำนโยบายไม่ให้โรงเรียนรับเงินแป๊ะเจี๊ยะในช่วงรับนักเรียนเด็ดขาด ซึ่งขณะนี้แม้ยังไม่ถึงช่วงรับนักเรียน ก็ยังมีผู้ร้องเรียนเรื่องการรับเงินฝากเด็กเข้าเรียนมาบ้างแล้ว

ด้าน คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ถือว่าเป็นเรื่องดี คิดว่าเป็นการช่วยป้องปราม ซึ่งตนยินดีให้เข้ามาตรวจสอบ โรงเรียนในสังกัด ทั้งนี้ การเข้ามาตรวจสอบของดีเอสไอ คงมาในรูปแบบที่หลากหลาย และน่าจะเป็นประโยชน์ ทำให้ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ปกครองมีความระมัดระวังมากขึ้น หากพบว่ามีการเรียกรับเงินแป๊ะเจี๊ยะในช่วงรับนักเรียน ก็ต้องมีการดำเนินการ โดยหากมีการเรียกรับเงินเพื่อเข้ากระเป๋าตัวเองจะถูกไล่ออกจากราชการ แต่ถ้านำไปพัฒนาโรงเรียน ก็คงจะมีโทษทางวินัยเพราะฝ่าฝืนนโยบาย ส่วนที่ถามว่าจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของ สพฐ.หรือไม่นั้น เรื่องนี้คงไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะโรงเรียนในสังกัด สพฐ. แต่น่าจะมีในหลายสังกัดการไปจับผิดโรงเรียนนั้นเป็นเรื่องที่จะทำให้ โรงเรียนมีความระมัดระวัง และมีความโปร่งใสมากขึ้น ขณะเดียวกัน การแก้ปัญหานี้ก็ต้องมีความเข้าใจด้วยว่า โรงเรียนรับเงิน เพราะมีการสนับสนุนงบประมาณไม่เพียงพอ ซึ่งกำลังพยายามแก้ไขอยู่ และน่าจะดีขึ้นตามลำดับ.

ข้อมูลจาก www.thairath.co.th

อุ้มครูตกประเมินวิทยฐานะกว่า 2 หมื่นราย

ดร. ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า จากการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้มีการพิจารณามติที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญเฉพาะกิจเพื่อพัฒนาหลักเกณฑ์ และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะ ที่เสนอให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการการประเมินวิทยฐานะเกณฑ์ปัจจุบัน หรือ ว 25 เพื่อพัฒนาครูที่ไม่ผ่านการประเมิน โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบและให้แบ่งกลุ่มครูที่ไม่ผ่านการประเมินวิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ 22,350 ราย เป็น 1. กลุ่มที่ผ่านการ ประเมินจากคณะกรรมการ 2 ใน 3 มี 2,418 ราย 2. กลุ่มที่ผ่านการประเมินจากคณะกรรมการ 1 ใน 3 หรือไม่ผ่าน เลย 19,932 ราย ทั้งนี้ ในกลุ่มแรกจะให้เป็นกลุ่มปรับปรุงมีโอกาสที่จะพัฒนาตนเองต้องเข้ารับการอบรมใน 3 ด้าน คือ อบรมพัฒนา ด้านการเรียนรู้ พัฒนาเทคนิคการสอนและพัฒนาเทคนิคด้านการวิจัย ก่อนที่จะส่งผลงานวิชาการไปประเมินอีกครั้ง ส่วนกลุ่มที่ 2 ที่ประชุมมีมติให้ครู ในกลุ่มนี้ สามารถใช้ผลงานที่ผ่านการประเมินในด้านที่ 1 และ 2 ได้เลย แต่ก็ต้องเข้ารับการอบ เช่นเดียวกับกลุ่มแรก และจะต้องเข้มข้นกว่า ซึ่ง ก.ค.ศ. จะมีการพิจารณาหลักสูตรในการจัดอบรมต่อไป

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการกล่าวต่อว่า ในส่วนคณะ กรรมการประเมินผลงานทางวิชาการ จะยังคงเกณฑ์เดิมคือต้องผ่านการประเมินของกรรมการทั้ง 3 คน แต่ในส่วนผู้ที่มาเป็นกรรมการทั้ง 3 คน นั้น จะให้เป็นคนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และ อยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) เดียวกัน 1 คน เป็นคนนอกสังกัดสพฐ. แต่อยู่ใน สพท.เดียวกัน 1 คน และเป็นคนนอกสังกัด สพฐ. อีก 1 คน พร้อมทั้งจะกระจายจุดตรวจผลงานออกเป็น 12 จุด ตามพื้นที่เขตตรวจราชการ ซึ่งหากครูกลุ่มดัง กล่าวยังคงไม่ผ่านประเมินอีก ก็จะต้องยื่นประเมินตั้งแต่แรกใหม่อีกครั้ง นอกจากนี้ ก.ค.ศ.ยังเห็นชอบให้นางศรีลักษณ์ ผลวัฒนะ ครูโรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และน.ส.พรพิมล ชาญชัยเชาว์วิวัฒน์ ครูโรงเรียนบางมดวิทยา สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์มีวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษด้านเคมี ซึ่งถือเป็นครู 2 คนแรก ที่ได้รับวิทยฐานะนี้.

ข้อมูลจาก www.thairath.co.th

สพฐ.จัดพิมพ์นิทาน 13 เรื่องถวายสมเด็จพระพี่ นางฯ

ดร. ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและ บุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ว่า ได้มีการเสนอแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานของ สกสค. ในปี 2552-2554 และเพื่อ ให้การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีประสิทธิภาพ ที่ประชุมจึงมีมติให้ตั้งคณะทำงานขึ้น 4 ชุด ประกอบด้วย คณะทำงานติดตามเรื่องหนี้สินครู โดยจะเน้นแนวทางให้ครูหันไปใช้ระบบสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ สินมากขึ้น, คณะ ทำงานเรื่องสวัสดิการครูในเรื่องที่พักและที่อยู่อาศัย โดยเห็นว่าหอพักคุรุสภาควรมีการปรับปรุง เพราะได้รับร้อง เรียนจากครูถึงปัญหาการติดต่อห้องพักที่มีไม่เพียงพอ พร้อมทั้งจะมีการสร้างหอพักคุรุสภาในพื้นที่ 4 ภูมิภาคด้วย, และคณะทำงานดูแลเรื่องสุขภาพอนามัยครู

ด้าน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดพิมพ์หนังสือซึ่งเป็นพระนิพนธ์ ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 3 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 สำหรับนักเรียนชั้น ป.1 ประกอบด้วยนิทานจำนวน 4 เรื่องได้แก่ หมูสามตัว ไก่แดง ผู้ชายที่ไม่ชอบงาน ทำไมช้างถึงมีงวง เล่มที่ 2 สำหรับนักเรียนชั้น ป.2 จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ พระเจ้าแผ่นดินไม่ เสวยพระกระยาหาร ตาเดียวสองตาและสามตา เจ้า หญิง 12 องค์ หม้อแป้งโอต และเล่มที่ 3 สำหรับนักเรียนชั้น ป.3 จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่ทำไมสุนัข จิ้งจอกจึงมีหางขาว เจ้าหญิงนอนหลับ 100 ปี พระอุทุมชุมสาย นางงามและหมี และดิ๊ก วิททิงตั้นและแมว.

ช้อมูลจาก www.thairath.co.th

สพฐ.ประกาศบัญชีที่รองผอ.สพท.

นายพิษณุ ตุลสุข ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ (สพร.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษา (รองผอ.สพท.) ได้ประกาศรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองผอ.สพท.ในเขตพื้นที่ฯทั่วไป และ รอง ผอ.สพท. เขตพื้นที่ฯ ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เฉพาะจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส โดยในส่วนของรอง ผอ.สพท.เขตพื้นที่ฯทั่วไป มีอัตราว่างบรรจุได้ทันที 58 ตำแหน่ง และเขตพื้นที่ฯพิเศษ มีตำแหน่งว่าง 27 ตำแหน่ง ซึ่งผลการสอบคัดเลือกปรากฏว่ามีผู้ผ่านการคัดเลือกและได้ขึ้นบัญชีเขตพื้น ที่ฯทั่วไป 94 ราย และได้ขึ้นบัญชีเขตพื้นที่ฯพิเศษเพียง 18 ราย โดยในจำนวนนี้มี 4 ราย ที่มีรายชื่อซ้ำอยู่ในบัญชีเขตพื้นที่ฯทั่วไปด้วย ดังนั้นในเขตพื้นที่ฯพิเศษหลังเรียกบรรจุและแต่งตั้งแล้วจะมีตำแหน่งว่าง อยู่อีก ซึ่งในส่วนนี้ตนจะหารือกับ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เพื่อเสนอให้คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษาในเขตพื้นที่พิเศษ ประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกเพิ่มเติม เพื่อให้ได้คนในพื้นที่มาบรรจุแต่งตั้งเอง ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาขอย้ายในภายหลังได้ด้วย

นายพิษณุ กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้เมื่อวันที่ 14 พ.ย.ที่ผ่านมา คุณหญิงกษมา ได้ลงนามประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในบัญชีเขตพื้นที่ฯทั่วไป จำนวน 94 ราย เรียงตามลำดับคะแนนและจะขึ้นบัญชีไว้เป็นเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันประกาศ ดังนี้ นายชูชาติ แก้วนอก สมุทรปราการ เขต 1 นายปรีชา นาคจำรูญ ลพบุรี เขต 2 นายวิวัฒน์ วงศ์ตระกูล ระนอง นายอธิภัทร พรชัย เพชรบูรณ์ เขต 3 นายวิบูลย์ ทานุชิต นครปฐม นายอำนาจ บุญทรง เพชรบูรณ์ เขต 1 นายพรชัย โพคันโย หนองบัวลำภู เขต 1 นายสนอง สุดสะอาด นครราชสีมา เขต 7 นายเอกวัฒน์ ล้อสุนิรันดร์ สระบุรี เขต 2 นายพัฒนพงศ์ พวงทอง เชียงใหม่ เขต 5 นายสุริยะ ชมศรีเมฆ ราชบุรี เขต 1 นายวิทยา ยางสุด ลพบุรี เขต 2 นายอนุกูล ทองนุ้ย สกลนคร เขต 3 นายต่อศักดิ์ บุญเสือ ลพบุรี เขต 2 นายลือชัย ชูนาคา พิษณุโลก เขต 2 นายเชาวฤทธิ์ ใจมัน มหาสารคาม เขต 1 นางปติมา นพธราวุฒิ บุรีรัมย์ เขต 4 นายธนภณ พันธ์ศรี มหาสารคาม เขต 2 นายวิญญู สันติภาพ วิวัฒนา พะเยา เขต 2 นายสุเทพ ปาลสาร ขอนแก่น เขต 4 นางสาวมณีวรรณ สุทธิกาปลูก ลำปาง เขต 1 นายกิตติพงศ์ โด่งพิมาย นครราชสีมา เขต 2 นายสุพล จันต๊ะคาด พิษณุโลก เขต 2 นายอดุลย์ศักดิ์ บุญอเนก ร้อยเอ็ด เขต 1

นางวรางคณา ไชยเรือน ลำปาง เขต 2 นายภูวนาท มูลเขียน เพชรบูรณ์ เขต 2 นายปัญญา จันทร์กอง หนองบัวลำภู เขต 1 นายพิศิทธิ์ แพงศรีภิรมย์ ขอนแก่น เขต 3 นายสุชน วิเชียรสรรค์ พิจิตร เขต 1 นายวิเชียร เคนชมภู ชัยภูมิ เขต 1 นายฉลาด สาโยธา บุรีรัมย์ เขต 2 นายจรณเดช บุปผาชาติ อำนาจเจริญ นายวันชัย เกิดมีโภชน์ กำแพงเพชร เขต 1 นายสุดใจ มอญรัต ลพบุรี เขต 2 นายวิเชียร อินทรศักดิ์ สุพรรณบุรี เขต 3 นายชนาธิป โพไทร ยโสธร เขต 2 นายวิเศษ พลอาจทัน กาฬสินธุ์ เขต 2 นายประกิจ พุ่มพฤกษ์ นครราชสีมา เขต 7 นายวีรพงษ์ อุ่นมานนท์ เลย เขต 1 นายตั้ง อสิพงษ์ ชุมพร เขต 2 นายพลชัย ชุมปัญญา สกลนคร เขต 3 นาง สุนาถ โกไศยกานนท์ สมุทรสาคร นายสุดเขต สวยสม พิจิตร เขต 1 นายธนู อักษร พิจิตร เขต 1 นายสุวัช พานิชวงษ์ สุพรรณบุรี เขต 1 นายยงยุทธ พรหมแก้ว ชัยภูมิ เขต 2 นายประมวล นามบุตร อุดรธานี เขต 2 นายวิชิต จิตรจักร หนองคาย เขต 3 นายบุญหมั่น ค้าทอง นครราชสีมา เขต 7 นายโกวิท หล้าปาวงศ์ ลำปาง เขต 3 นายสมมาต คำวัจนัง กรุงเทพมหานคร เขต 3 นางสาวธนรัตน์ มังคะโชติ พิษณุโลก เขต 2 นายสุภาพ วงษามาตย์ ร้อยเอ็ด เขต 2 ว่าที่ร.ต.สำรวย นกงาม ศรีสะเกษ เขต 3 นายอัศรายุทธ ศรีใจอินทร์ น่าน เขต 1 นายวิทยา ปาอินทร์ ลำพูน เขต 1 ว่าที่ร.ต.สุภาพ ถิตย์สมบูรณ์ กาฬสินธุ์ เขต 2 นายอุทัย กาญจนะ สตูล

นายนิตย์ พรหมประสิทธิ์ นราธิวาส เขต 1 นายอำนวย ทิพย์กำจร หนองคาย เขต 3 นายพิภพ ทองแดง ปัตตานี เขต 1 นายดำเนิน เพียรค้า นครราชสีมา เขต 7 นายสมบูรณ์ สันชุมภู ลำปาง เขต 2 นายบำรอง มีสุวรรณ์ นครศรีธรรมราช เขต 1 นายบุญณรงค์ เรืองธนู ปัตตานี เขต 1 นายวิเชียร พิมพรัตน์ กาฬสินธุ์ เขต 1 นายอำนาจ คุ้มสุภา ลพบุรี เขต 2 นายปฐมพงษ์ ดอกแก้ว แพร่ เขต 2 นายสมหวง ขุนพรหม สมุทรสงคราม นายอัศวิน พรหมคช พระนครศรีอยุธยา เขต 2 นายพัชวิชญ์ โฮงยากุล เลย เขต 1 นายศวิษฐ์ ศรีสง สงขลา เขต 2 นายชาญณรงค์ ฐานะวิจิตร เพชรบูรณ์ เขต 1 นายสวัสดิ์ แสงขัน หนองคาย เขต 2 นายเผชิญศักดิ์ แก้วเขียว สุพรรณบุรี เขต 3 นายเฉลียว อ่อนนุ้ย พิษณุโลก เขต 2 นายชาญ สุคนธ์สราญ ลพบุรี เขต 2 นายสุวรรณ ขวัญแก้วนครศรีธรรมราช เขต 3 นายมงคล รุ่งสว่าง นครพนม เขต 1 นางเกล็ดดาว สุวรรณบาตร์ อุทัยธานี เขต 1 นายไพฑูรย์ อรุณศรีประดิษฐ์ นครปฐม เขต 1 นายบุญสม โพธิ์เงิน พิษณุโลก เขต 3 นายสำราญ บุตรอามาตย์ เพชรบูรณ์ เขต 2 นายสุรพงค์ มงคลสุคนธรัก กาฬสินธุ์ เขต 2 นายธรรมนูญ ขวัญรัมย์ สุรินทร์ เขต 3 นายอภิรักษ์ เอื้อธรรม ลำปาง เขต 3 นายณัฐวัตร รัตกี สงขลา เขต 1 นายยงศักดิ์ เชาวน์วุฒิกุล สงขลา เขต 2 นางสาวอุมา ศรีชัย ระยอง เขต 2 นายกฤต สุวรรณพรหม พิจิตร เขต 1 นายพีระพงษ์ ไชยทองศรี ขอนแก่น เขต 4 นายประภาส ไชยมี ยโสธร เขต 2 นายสนิท นิลบุตร นครศรีธรรมราช เขต 4 นายประทาน หาดยาว เพชรบูรณ์ เขต 1

สำหรับผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในบัญชีเขตพื้นที่ฯพิเศษ มี 18 รายดังนี้ นายมนูญ จันทร์สุข ยะลา เขต 3 นายจำเริญ พรหมมาศ นครศรีธรรมราช เขต 1 นายนิตย์ พรหมประสิทธิ์ นราธิวาส เขต 1 นายสุทรรศน์ ซุ้นจ้าย ยะลา เขต 2 นายไสว ชินพงษ์ นราธิวาส เขต 3 นายสุริยัณ จันทร์ทบ ยะลา เขต 3 นายบุญณรงค์ เรืองธนู ปัตตานี เขต 1 นายพิทยา เพชรรักษ์ ยะลา เขต 2 นายโกมุท รุยอ่อน ยะลา เขต 2 นายสมพงษ์ ปานเกล้า ยะลา เขต 2 นายซอมะ ดาแม ปัตตานี เขต 3 นายพิภพ ทองแดง ปัตตานี เขต 1 นายเอกรัฐ สมจิตร สตูล นายชาติชาย ขันทำ อุบลราชธานี เขต 4 นายสุพจน์ มณีรัตนโชติ นราธิวาส เขต 2 นายสมหวง ขุนพรหม สมุทรสงคราม นายอับดุลลายิด เบ็ญฮาวัน ปัตตานี เขต 1 และนายอุทัย เกื้อเพชร นครศรีธรรมราช เขต 1 ทั้งนี้ผู้ผ่านการคัดเลือกต้องมารายงานตัว เพื่อเข้ารับการพัฒนาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรอง ผอ.สพท. อย่างไรก็ตามตนจะหารือกับ เลขาธิการ กพฐ.ว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะให้ปฏิบัติหน้าที่ก่อน และเมื่ออบรมเสร็จสิ้นแล้วจึงแต่งตั้งในภายหลัง.

ข้อมูลจาก www.dailynews.co.th

ศธ.มั่นใจทุนอำเภอรุ่น3ได้เกิดแน่

ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่น 3 ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างถามความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่จากการหารือในเบื้องต้นยืนยันว่า ศธ.จะยังคงเดินหน้าตามกำหนดการเดิม โดยเป็นการจัดสรรทุนให้แก่นักเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน (สพฐ.) และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) รวม 921 ทุน ซึ่งได้เตรียมการคัดเลือกทั้งหมดไว้แล้ว โดยในรุ่นที่ 3 ใช้งบประมาณ 5 พันล้านบาท เป็นงบต่อเนื่อง 7 ปี

นายยุรนันท์ ภมรมนตรี ที่ปรึกษารมว. ศึกษาธิการ กล่าวว่า จากการหารือร่วมกันระหว่างศธ. และกระทรวงการคลัง นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.คลัง เห็นว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งจำเป็น จึงประสานขอข้อมูลจาก ศธ.ว่า ทุนในรุ่นที่ 1 และ 2 ประสบความสำเร็จอย่างไร มีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้าง เพื่อใช้พิจารณาว่าทุนในรุ่น 3 ควรจะเท่าเดิมหรือลดขนาดลง รวมทั้งให้ ศธ. ประมาณการงบประมาณทั้งหมด โดย รมว.คลังรับปากว่าจะดูแลและไปหาเงินจากแหล่งอื่นมาใช้ในโครงการนี้ ทั้งนี้ นายศรีเมือง เจริญศิริ รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้ปลัดศธ.เป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลดังกล่าว เพราะขณะนี้ยังไม่มีแหล่งเงินทุน ซึ่งหากจะเดินหน้าต่อก็อาจจะต้องมีการปรับเงื่อนไข บางประการบ้าง อย่างไรก็ตามโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่น 3 ยังคงต้อรอความชัดเจนอีกครั้ง.

ข้อมูลจาก www.dailynews.co.th

อ่าวลึกย้ำวุฒิกศน.ซื้อขายไม่ได้

นายชรินทร์ แกล้วทนงค์ ผอ.ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) อำเภออ่าวลึก จ.กระบี่ เปิดเผยว่า ขณะนี้ กศน.อ่าวลึกพยายามเน้นการทำงานเชิงรุก เพื่อให้เข้าถึงชาวบ้านในแต่ละชุมชนที่ยังไม่ได้รับการศึกษาหรือต้องลาออก กลางคัน เพื่อให้มาเสริมความรู้การศึกษาขั้นพื้นฐานให้มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่ยังไม่รู้หนังสือ กลุ่มเป้าหมายพิเศษที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และกลุ่มนักเรียนปอเนาะ รวมถึงการเข้าไปจัดอบรมเสริมทักษะวิชาชีพให้แก่ชาวบ้านในชุมชมต่าง ๆ เพื่อให้มีอาชีพพอที่จะเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ ซึ่งในภาคเรียนที่ 2/2551 คาดว่าจะมีนักเรียนมาเรียนเพิ่มขึ้น 10%

นายชรินทร์ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ กศน.อ.อ่าวลึก ยังได้เปิดให้มีการเทียบโอนประสบการณ์ สำหรับผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ แต่ไม่มีวุฒิการศึกษา โดยเฉพาะที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีเจ้าของธุรกิจจำนวนมาก ทั้งธุรกิจโรงแรม ร้านเสริมสวย หรือร้านถ่ายภาพที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และสร้างรายได้มากมาย แต่คนเหล่านี้จำนวนไม่น้อยไม่ได้จบการศึกษา ดังนั้นทางกศน.อ่าวลึกจึงได้พยายามประชาสัมพันธ์ให้คนเหล่านี้มาสอบเทียบ วุฒิการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้ว 3 รุ่น ๆ ละประมาณ 20 คน ขณะนี้บางคนที่เทียบการศึกษาขั้นพื้นฐานของ กศน.อ่าวลึกไปแล้วได้ไปเรียนต่อปริญญาตรีจนถึงปริญญาโทก็มี

“ปัญหาที่พบจากการเทียบโอนประสบการณ์ คือผู้มาเทียบโอนประสบการณ์จะเขียนหนังสือไม่เป็น ขณะที่ในการเทียบโอนจะต้องมีหลักฐาน หรือรายงานที่ผู้เทียบโอนจะต้องทำ ดังนั้นเราจะต้องพยายามให้ผู้เทียบโอนเขียนหนังสือให้ได้ แม้จะเขียนไม่ถูกตามหลักไวยากรณ์ก็ตาม เพื่อเป็นหลักฐานว่าคน ๆ นั้นเรียนจบจริง จะได้ไม่ต้องมาฟ้องร้องกันในภายหลัง ซึ่งผู้เทียบโอนประสบการณ์ก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และผมสามารถพูดได้เต็มปากว่าคนที่เรียน กศน.อ.อ่าวลึกไม่ใช่จะเรียนจบกันง่าย ๆ หรือสามารถซื้อวุฒิการศึกษาได้ แต่ทุกคนจะได้วุฒิมาด้วยความสามารถของตนเอง” นายชรินทร์ กล่าว

ข้อมูลจาก www.dailynews.co.th

ไทยทึ่งมาเลย์พัฒนาการศึกษาก้าวกระโดด

รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 17-20 พ.ย. 2551 ประเทศมาเลเซียและประเทศไทย โดย สกศ.จะร่วมกันจัดประชุมทางวิชาการด้านการศึกษา ที่เมืองสุบังจายา รัฐเซลังงอร์ ประเทศมาเลเซีย เพื่อให้นักวิจัย ครู และผู้บริหารทางการศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน ซึ่งตนเห็นว่าการประชุมดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาของไทย เป็นอย่างยิ่ง เพราะมาเลเซียมีการพัฒนาทางการศึกษาที่รวดเร็วมากในรอบทศวรรษที่ผ่านมา และจากการประเมินความสามารถของผู้เรียนด้านวิทยาศาสตร์ และคณิต ศาสตร์ (TIMSS) ปี 2542 พบว่า มาเลเซียมีผลประเมินสูงกว่าไทยทั้ง 2 วิชา และจากรายงานสมรรถนะการศึกษานานาชาติ ปี 2550 ความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติของมาเลเซียก็เหนือกว่าไทยทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการศึกษา โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

เลขาธิการ สกศ.กล่าวต่อไปว่า การประชุมดังกล่าวจะเป็นโอกาสดีที่ไทยจะได้ศึกษาเรียนรู้วิธีการจัดการเรียน การสอนวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ของมาเลเซียที่จัดสอนด้วยภาษาอังกฤษ ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของทั้งผู้เรียนและครู ทำให้มีการพัฒนาทักษะการสอนและทักษะทางด้านภาษาต่างประเทศอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ทำให้ไทยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการ สอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนไทยสามารถแข่งกับประเทศ อื่นได้

“ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มาเลเซียประสบความสำเร็จในการพัฒนาการเรียนการสอน คือ การพัฒนาครูอย่างจริงจัง โดยการเพิ่มค่าตอบแทนให้สูงขึ้น เพื่อจูงใจให้คนเก่งเข้าสู่วิชาชีพครู ทั้ง ๆ ที่สถานภาพครูของมาเลเซียในปัจจุบันเทียบได้กับไทยเมื่อประมาณ 10-15 ปีก่อน โดยครูส่วนใหญ่ยังมีวุฒิไม่ถึงปริญญาตรี แต่เขาก็สามารถสร้างแรงจูงใจให้คนเก่งเข้ามาเป็นครูรุ่นใหม่ พร้อมพัฒนาศักยภาพครูเก่าให้มีคุณภาพมากขึ้น ทำให้คุณภาพการเรียนการสอนดีขึ้นได้ และที่สำคัญเมื่อรัฐบาลมาเลเซียประกาศนโยบายเรื่องใดก็ตาม จะมีแผนดำเนินงานและเป้าหมายระยะยาว 5-10 ปีที่ชัดเจน และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง อีกทั้งมีการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุน นโยบายด้านนั้น ๆ รวมทั้งระดมทรัพยากรจากภาครัฐและภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ ศึกษาอย่างเต็มที่” รศ.ธงทอง กล่าว.

ข้อมูลจาก www.dailynews.co.th

Thursday, November 13, 2008

สพท.โคราชคุมเข้ม ร.ร.ดัง-เรียกรับเงินแป๊ะเจี้ย

นครราชสีมา (12 พ.ย.) สพท.โคราชเขต 1 คุมเข้มสถานศึกษาเรียกรับเงินแป๊ะเจี้ยจากผู้ปกครอง ที่ต้องการฝากบุตรหลานเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนดัง หากเปิดรับบริจาคต้องหลังเสร็จสิ้นฤดูกาลรับนักเรียนป้องกันข้อครหา ด้าน ร.ร.อนุบาลโคราชหนุนแนวคิด ดีเอสไอ.เข้าตรวจสอบระบบรับนักเรียน เพื่อให้เกิดความโปร่งใส

จากกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ มีแผนจะดำเนินการกวาดล้างการเรียกรับเงินค่าแป๊ะเจี๊ย เพื่อเข้าเรียนในสถานศึกษาชื่อดัง ในระดับชั้น ป.1 เนื่องจากเป็นปัญหาสะสมมานานหลายปี และมีแนวโน้มที่รุนแรงขึ้น

เกี่ยว กับเรื่องนี้ นายกมล ศิริบรรณ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1 (สพท.นม.1 ) เปิดเผยว่า นโยบายการรับนักเรียน โดยห้ามเรียกเก็บเงินแป๊ะเจี้ย ตนได้เน้นย้ำและกำชับเป็นประจำทุกครั้งที่เข้าประชุมร่วมกับ ผอ.สถานศึกษา โดยแนวทางการรับนักเรียนจะต้องเป็นไปตามกฎกติกา เริ่มตั้งแต่การจับสลาก ไปจนถึงการสอบคัดเลือก ส่วนกิจกรรมของแต่ละสถานศึกษาที่อ้างหาทุนสนับสนุนการเรียนการสอน ก็จะต้องดำเนินการหลังจากเสร็จสิ้นฤดูกาลการรับนักเรียนแล้ว มิเช่นนั้น จะเกิดข้อครหาตามมาภายหลัง ที่สำคัญจะต้องเป็นความเต็มใจของผู้ปกครองที่ต้องการจะบริจาค ห้ามมีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น

ด้านนายทอง วิริยะจารุ ผอ.โรงเรียนอนุบาล นครราชสีมา ซึ่งเป็นสถานศึกษา ระดับประถมศึกษา ที่ได้รับความนิยมของบรรดาบุตรหลานผู้มีชื่อเสียงในตัวเมืองนครราชสีมา เปิดเผยว่า โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา เป็นโรงเรียนประถมขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนนักเรียนถึง 4,900 คน เป็นโรงเรียนที่ได้รับความนิยม และถือว่าเป็นโรงเรียนที่มีระดับมาตรฐานสูง จึงทำให้ผู้ปกครองต่างมีความต้องการที่จะให้บุตรหลานของตนเองเข้าศึกษาใน สถาบันแห่งนี้

จากกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ มีแผนที่จะดำเนินการกวาดล้าง การเรียกรับเงินค่าแป๊ะเจี๊ย เพื่อเข้าเรียนในสถานศึกษาต่างๆ นั้น ไม่ได้มีผลกระทบต่อระบบการรับนักเรียนเข้าศึกษาแต่อย่างใด เนื่องจากทางโรงเรียนได้กำหนดการรับนักเรียนเข้าเรียนตั้งแต่ช่วงชั้นอนุบาล 1 โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนที่อยู่ในพื้นที่เขตบริการ ซึ่งหมายถึงนักเรียนทั้ง จ.นครราชสีมา แต่ความเป็นจริงจะเปิดโอกาสให้นักเรียนที่อยู่ในเขต อ.เมืองนครราชสีมา เสียก่อน และเมื่อรับสมัครเกินจำนวนที่กำหนดไว้ต้องทำการจับสลากเข้าศึกษา โดยกำหนดจำนวนห้องเรียนไว้ 12 ห้อง จำนวนนักเรียน 40 คนต่อ 1 ห้อง หากมีความจำเป็นต้องขยายจำนวนนักเรียนเพิ่มเติมได้ไม่เกินห้องละ 50 คน

" สำหรับขั้นตอนการเปิดรับสมัครของทางโรงเรียนฯ นักเรียนที่เข้ามาตั้งแต่ขั้นตอนแรก กล่าวคือ เมื่อสำเร็จช่วงชั้นอนุบาล 2 จะถูกรับขึ้นชั้น ป.1 ทุกคนทันที แต่หากมีการเปิดรับนักเรียนจากภายนอกโดยไม่ได้ผ่านเข้ามาตั้งแต่ขั้นตอนแรก จะต้องเสนอต่อคณะกรรมการสถานศึกษาพิจารณาตามความเหมาะสม โดยกำหนดรับนักเรียนภายนอกเข้าเรียนไม่เกิน 4-5 คน" นายทอง กล่าว

อย่างไร ก็ตาม แผนการดำเนินงานของกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นสิ่งที่ดีในการตรวจสอบระบบการรับนักเรียนศึกษาต่ออย่างสุจริต โปร่งใส ไม่มีผลประโยชน์อยู่เบื้องหลัง ซึ่งที่ผ่านมาทางโรงเรียนได้พยายามทำความเข้าใจกับผู้ปกครองทุกคน เข้าใจ และยอมรับปฏิบัติตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด และได้ขอร้องว่าอย่าใช้ตำแหน่งข้าราชการ ตำแหน่งทางการเมือง ระบบธุรกิจ และอิทธิพลต่างๆ เข้ามาแทรกแซงระบบการศึกษา ในรูปแบบอุปถัมภ์ หรือแป๊ะเจี๊ยะ เพื่อต้องการให้บุตรหลานเข้าศึกษา

ข้อมูลจาก คมชัดลึก

สธ.ทำหนังสือดั่งดวงแก้วฯ" เทิดพระเกียรติพระเจ้าพี่นาง

สธ.จัดทำหนังสือดั่งดวงแก้วส่องฟ้าสาธารณสุข เผยแพร่พระกรณียกิจสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวง 7 หมื่นเล่มแจกในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ

ร.ต.อ.ดร.เฉลิมอยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ สัมภาษณ์ว่า ในโอกาสพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นาง เธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ จัดกิจกรรมเพื่อร่วมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย ประกอบด้วย การจัดบำเพ็ญกุศลอุทิศ ถวายแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราช นครินทร์ ในวันที่ 13 พฤศจิกายนนี้ และในระหว่างวันที่ 13-16 พฤศจิกายน จะ จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคารสำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข "พระองค์ทรงมีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อวงการ แพทย์ พยาบาล และการสาธารณสุขของประเทศไทย ทรงประกอบพระกรณียกิจอันเป็น ประโยชน์สูงส่งนานัปการหาที่สุดมิได้ เพื่อให้คนไทยโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ห่าง ไกลในถิ่นทุรกันดารและผู้ด้อยโอกาส พ้นทุกข์จากโรคภัยไข้เจ็บ อีกทั้ง พระองค์ยังทรงส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น" รมว. สาธารณสุขกล่าว

รมว.สาธารณสุขกล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระ ศพ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง ในวันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน กระทรวงสาธารณสุขได้ จัดทำหนังสือ ดั่งดวงแก้วส่องฟ้าสาธารณสุข จำนวน7 หมื่นเล่ม เพื่อเป็น อนุสรณ์แด่พระองค์ท่าน และเผยแพร่พระกรณียกิจด้านการแพทย์ การพยาบาลและการ สาธารณสุข ให้ประชาชนรับทราบ เพื่อร่วมกันสืบสานพระปณิธานและพระกรณียกิจของ พระองค์ท่านสืบไป โดยได้จัดส่งให้สำนักพระราชวัง สำหรับแจกจ่ายประชาชนที่ไป ร่วมในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพด้วย

ข้อมูลจาก คมชัดลึก

เปิดโลกการศึกษามุสลิม-"โอบามา" ในสายตาผู้นำนักศึกษา"มุสลิม"

เมื่อเสียงคนมะกันชี้ขาดอย่างเป็นเอกฉันท์ให้ "นายบารัก โอบามา" คือผู้นำคนใหม่ของประเทศมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา ประเทศซึ่งถูกจับตามองของคนทั่วโลก ในทุกๆ ด้าน ไม่ว่า ด้านสงคราม อำนาจ เศรษฐกิจ หรือการเข้ามาเป็น "ตัวกลาง"

ในการแก้ปัญหาต่างๆ ของ นานาประเทศทั่วโลก แต่ผู้นำคนนี้มาแปลกและอาจแหวกแนวกฎหมายต่างๆ จากผู้นำคน เก่าหรือไม่นั้น นี่คือสิ่งที่สังคมโลกกำลังจับตา !

ในฐานะที่ "นายบารัก โอบามา" ว่าที่ผู้นำสหรัฐอเมริกา มีเชื้อสาย มุสลิม และเป็นชนชาติผิวดำ กำเนิดในแอฟริกา แต่ได้ไปศึกษาอยู่แถบเอเชีย ใน ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งนับได้ว่าน่าจะมีความคิดและความรู้สึกถึงความเป็น คน เพื่อจะนำมาซึ่งการแก้ไขปัญหาสังคมได้เป็นอย่างดี ดังนั้นวันนี้ "เปิด โลกการศึกษามุสลิม" ขอถ่ายทอดมุมมองผู้นำนักศึกษามุสลิมที่มีต่อผู้นำคนนี้

"หากมองถึงประวัติความเป็นมาของโอบามาแล้ว คิดว่าอย่างน้อยคงไม่ คลั่งอำนาจ และไม่ใช้อำนาจตัดสิน โดยใช้ความรุนแรงเป็นการแก้ไขปัญหา อย่าง น้อยอดีตของเด็กผิวดำคนหนึ่งคงเข้าใจในความรู้สึกของการเป็นมนุษย์ธรรมดาของ สังคมโลก และอาจจะมีผลในการแก้ไขปัญาหาที่ดีขึ้น แต่ในรูปการปฏิบัติจริง นั้นผมยังไม่แน่ใจนัก

ผมยังสงสัยอยู่ว่าความคิดที่ซ้อนเร้นของยิวที่ส่งโอบามาใน ครั้งนี้ว่ามีจุดประสงค์อะไรแอบแฝงอยู่หรือเปล่าแต่ผมคิดว่าการมีเชื้อสาย อิสลามอยู่ คงมีความคิดและการแก้ไขปัญหาในโลกอิสลามได้ง่ายกว่าที่ไม่มี เชื่อสายอิสลามเข้ามาแก้ไขในประเทศอิสลาม" นายอัซฮาแวนาแว นายกสมาคม นักเรียนไทยในประเทศซูดาน ฉายภาพว่าที่ผู้นำสหรัฐสายเลือดมุสลิม

ขณะที่"โอบามา" ในสายตาของ นายอับดุลเราะฮ์มานมามะ นักศึกษาจากประเทศซีเรีย บอกว่า" ในฐานะโอบามาเป็นคนผิวดำ คือชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ ที่โลกต้องจารึกสำหรับในดิน แดนมหาอำนาจแห่งนี้ น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่เกิดขึ้นในสหรัฐ เพราะ การมาของโอบามามีจุดแข็งอยู่ที่เป็นเชื้อสายมุสลิม สิ่งนี้คือตัวขับ เคลื่อนที่ยิ่งใหญ่ ในการแก้ปัญหาอย่างสันติ เพราะโอบามาจะยืนอยู่บนความถูก ต้อง ดูจากอดีตที่ผ่านมาตั้งแต่เล็กจนโตของเด็กผิวดำที่โดนกดขี่ทางสีผิวและ การเห็นสภาพที่โหดร้ายทารุณ ผมคิดว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่จะทำให้โอบามามากับ ความถูกต้องที่สุดในความคิดของผม"

ปิดท้ายด้วยมุมมองของนายไอยุบบินมะหมูด นายกสมาคมนักเรียนไทยไคโรในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่เห็นว่า" บารัก โอบามา ขึ้นเป็นผู้นำสหรัฐในครั้งนี้ น่าจะสร้างภาพรวมให้อเมริกาและ โลกดูดีขึ้น เพราะเท่าที่ผมสังเกตดูการให้สัมภาษณ์ รวมทั้งบุคลิกท่าทางที่ เป็นแบบฉบับของเขาเอง แบบคนธรรมดาติดดินคนหนึ่ง ในช่วงหาเสียงหรือหลังจาก ที่เขาได้รับคัดเลือก เขาไม่เห็นด้วยต่อการทำสงครามกับประเทศอิรัก และนี่ คิดกุญแจลูกแรก ที่น่าจะเป็นที่มาของการได้รับชัยชนะของหนุ่มผิวดำคนนี้ อีก ทั้งยังเป็นผลดีกับโลกมุสลิม รวมถึงภาพลักษณ์การเป็นผู้นำที่ดีของอเมริกา อีกด้วย อดีตของเขาคงเป็นแรงผลักดันให้เขาเป็นผู้นำที่เข้าใจความรู้สึกคน มากกว่าการคลั่งในอำนาจอย่างแน่นอน

ไม่ว่าจะอะไรเกิดขึ้นกับสังคมโลกหรือแม้แต่การเปลี่ยน ผู้นำ พึงคิดอยู่เสมอว่าจะหาคนดีที่สุดในโลกไม่ได้อย่างแน่นอน สิ่งเดียวที่ เราทำได้คือการให้โอกาสในการปฏิบัติงาน และการเฝ้าดูอย่างมีสติ และมีเหตุผล

ข้อมูลจาก คมชัดลึก

เปิดม่านการศึกษา...ยินดีต้อนรับ"วิศรุต"ผอ.ร.ร.เตรียมอุดมฯคนใหม่

0 หากไม่นับ "พี่ใหญ่" ของชาวมัธยมศึกษา "อมรรัตน์ ปิ่นเงิน" ผอ.ร.ร.บดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) แล้ว "วิศรุต สนธิชัย" เขาคือ"ผู้บริหารมือทอง" หนุ่มวัยฉกรรจ์ที่เนื้อหอมมากที่สุดในยุคนี้ ด้วยบุคลิกนุ่มนวล ทว่าเฉียบขาด มองการณ์ไกล สะท้อนความเป็น "ผู้นำ" ได้ทะลุปรุโปรง!

0 "โยธินบูรณะ-สามเสนวิทยาลัย" สองสถาบันการศึกษาระดับ "ท็อปไฟว์" ของประเทศไทยการรันตีความเป็น "คนคุณภาพ" ของ"วิศรุต สนธิชัย" ได้เป็นอย่างดี ณ วันนี้ "วิศรุต" ก้าวขึ้นสู่เก้าอี้ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีเด็กระดับหัวกะทิจากทั่วประเทศมาเรียนมากที่สุด เพราะเข้ารับไม้ผลัดต่อจาก "พิศวาส ยุติธรรมดำรง" ผอ.ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา ที่เกษียณอายุราชการเมื่อสิ้นเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา

0 09.00 น.วันจันทร์ที่ 17 พ.ย. 2551 บริเวณตึก 1 ชั้นล่าง คือห้องบัญชาการศึกษาของ "ผอ.เตรียมอุดมศึกษา" คนใหม่ นัยว่า "ผอ.วิศรุต สนธิชัย" เกี่ยวก้อยทีมผู้บริหาร ที่ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กันมาตั้งแต่เมื่อครั้งรั้งเก้าอี้ "ผอ.ร.ร.โยธินบูรณะ"มาด้วยเกือบครบทีมหนึ่งในนั้นมี "เผดียง เสียงสกุล" อดีตรองผอ.ฝ่ายวิชาการ ร.ร.สามเสนวิทยาลัย กระบี่มือหนึ่งที่ "ผอ.วิศรุต" ไว้วางใจให้ร่วมบุกเบิกหลักสูตรอิงลิช โปรแกรม หรือ อีพีโปรแกรม หรือหลักสูตรสองภาษา จนประสบความสำเร็จ รวมถึงเลขาฯ คู่ใจ "พี่วรพล" ขวัญใจสื่อมวลชน

0 น่าเสียดาย! หาก "เผดียง เสียงสกุล" ไม่ได้คุมงาน "วิชาการ" ซึ่งถือเป็น "หัวใจ" ของเตรียมอุดมศึกษา เพียงเพราะตำแหน่งที่ว่างไม่ตรงตามศักยภาพของคนทำงาน "ครูแจ่ม" ได้แต่หวังว่าอะไรที่มันผิดฝาผิดตัวในรอบรั้ว"เตรียมอุดมฯ"คงไม่เกินความรู้ความสามารถของ "ผอ.วิศรุต" คนนี้ไปได้

0 การขึ้นสู่ตำแหน่ง "ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา" ยึดมั่นระบบอาวุโส ตามบริบทสังคมไทย แปลกแต่จริง! ตำแหน่ง "หัวหน้าฝ่าย" ยึดระบบเส้นสาย ทำให้ "เด็กในคาถา" กลุ่มนี้กร่าง ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง สร้างความเอือมระอาให้แก่บรรดาครู อาจารย์ที่มุ่งมั่นพัฒนางานสอนเป็นอย่างยิ่ง ด้วย "อภิสิทธิชน" เหล่านี้ เข้าทำงาน 09.30 น. ขณะที่ครู อาจารย์คนอื่นๆ ทำงานกันตั้งแต่ไก่โห่! รู้มาบอกต่อๆ

ข้อมูลจาก คมชัดลึก

“ดีเอสไอ” ลุยสอบ ร.ร.รับเงินแป๊ะเจี๊ยะ

เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 12 พ.ย. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย รองอธิบดีดีเอสไอ เปิดเผยว่า พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อธิบดีดีเอสไอ ได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่คดีพิเศษเข้าสืบสวนในทางลับ กรณีได้ รับการร้องเรียนกรณีสถานศึกษามีการเรียกรับเงินค่าแป๊ะเจี๊ยะ หรือค่าเงินกินเปล่าจากผู้ปกครองในการนำเด็กเข้าศึกษา เนื่องจากเป็นการทำให้ระบบการศึกษาเปลี่ยนเป็นระบบธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นเหตุไม่สมควร โดยเฉพาะโรงเรียนภาครัฐและเอกชนซึ่งได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอยู่แล้ว

เรื่อง การเรียกรับเงินในการเข้าเรียนของทุกสถานศึกษา ที่ผ่านมาเราไม่มีการพูดถึงเท่าที่ควร ทั้งที่บุคคลทั่วไปก็ทราบดีว่าโรงเรียนไหนมีการเรียกรับเงินจำนวนเท่าไหร่ และเรื่องดังกล่าวเหมือนเป็นการขูดรีดเงินจากผู้ปกครอง และยังเป็นการแย่งชั้นระหว่างคนจนและคนรวยรอง อธิบดีดีเอสไอกล่าวและว่า แต่ละปีการศึกษาใหม่ ผู้ปกครองที่จะนำบุตรหลายเข้าศึกษาต้องใช้เงินเป็นแสนถึงหลักล้านบาท เป็นเงินหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านบาท การกระทำดังกล่าวถือว่าไม่เหมาะสม เพราะจะทำให้เด็กที่เรียนจบมาไม่มีสำนึกรักชาติ คิดแต่จะกอบโกยหากำไรในอนาคต โดยขณะนี้มีโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายที่เรียกรับค่าแป๊ะเจี๊ยะอยู่ในพื้นที่ กทม. กว่า 1,000 แห่ง และหากตรวจสอบพบว่ามีการกระทำผิด ก็จะนำเสนอเรื่องเพื่อเป็นคดีพิเศษต่อไป

ด้าน ดร.สมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไม่ขัดข้องที่ดีเอสไอจะเข้ามาช่วยตรวจสอบ จะได้ช่วยกันดูอีกทางหนึ่ง และจะทำให้โรงเรียนระมัดระวัง ส่วนการรับเงินบริจาคของโรงเรียนนั้น คงไม่กระทบอะไรกับการตรวจสอบ เพราะการรับบริจาคโรงเรียนทำได้ หลังจากการรับสมัครคัดเลือกนักเรียนเสร็จแล้ว เนื่องจากการบริจาคเป็นความสมัครใจของผู้ปกครอง และการบริจาคจะไม่มีผลต่อการเข้าเรียน

นาย ประกาศิต ยังคง ผอ.โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ กล่าวว่า ส่วนตัวเชื่อว่าการที่ดีเอสไอจะเข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้จะมีปัญหาอะไร ถ้าใครทำทุกอย่างด้วยความถูกต้องและโปร่งใส ก็ไม่น่าที่จะต้องกังวล.

ข้อมูลจาก www.thairath.co.th

นักศึกษา กศน.ร้องข้อสอบยาก

เมื่อวันที่ 12 พ.ย. ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้มีนักศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จำนวน 10 คน เข้ายื่นหนังสือต่อนายอภิชาต จีระวุฒิ เลขาธิการกศน.เพื่อขอให้มีการทบทวนหลักเกณฑ์การประเมินผลสอบปลายภาคใหม่หลัง จากที่มีนักศึกษาสอบตกจำนวนมาก โดย นายชูชาติ ทรัพย์มา ตัวแทนนักศึกษา กล่าวว่า ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 1/51 มีนักศึกษาสอบตกประมาณ 93% เพราะเป็นข้อสอบที่ค่อนข้างยาก เกินความรู้ของนักศึกษากศน. ไม่ตรงกับที่ครูสอนในห้องเรียน รวมทั้งหนังสือเรียนด้วย โดยเฉพาะข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์ม.ปลาย มีลักษณะการคำนวณทางฟิสิกส์มากเกินไป

นายชูชาติ กล่าวต่อไปว่า ในการประเมินผลที่ผ่านมาจะแบ่งเป็นคะแนนเก็บ 60 คะแนน และสอบปลายภาค 40 คะแนน แต่นักศึกษาจะต้องได้คะแนนสอบปลายภาค 50% ถึงจะสอบผ่านเพราะจะไม่นำคะแนนเก็บมาคิดรวมด้วย จึงทำให้นักศึกษาสอบตกจำนวนมาก ตนจึงเห็นว่ากศน.ไม่ควรยึดการวัดผลว่าตกหรือผ่านที่ข้อสอบปลายภาคเท่านั้น แต่ควรมองด้านอื่น ๆ ที่เป็นจุดแข็งของ กศน.ด้วย เพื่อให้กศน. เป็นที่พึ่งของผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาต่อไป พวกตนจึงอยากให้ทบทวนการประเมินผลและจัดสอบใหม่ โดยให้ครูผู้สอนเป็นผู้ออกข้อสอบ หรือปรับเกณฑ์การประเมินจาก 50% เป็น 35% และที่สำคัญในการออกข้อสอบควรคำนึงถึงความรู้ความสามารถของนักศึกษา กศน.ด้วย

ด้าน นางพรทิพย์ กล้ารบ ผอ.กลุ่มงานพัฒนาการศึกษานอกระบบ สำนักงานกศน. ซึ่งเป็นผู้รับหนังสือแทน กล่าวว่า เลขาธิการ กศน.ต้องการยกระดับคุณภาพการศึกษา ไม่ให้ใครมาดูถูกนักศึกษากศน.ว่าเรียนง่าย จบสบาย อย่างไรก็ตามตนยืนยันว่าข้อสอบไม่ได้เกินหลักสูตร โดยนำข้อสอบเก่าของสถาบันการศึกษาทางไกลมาใช้ แต่ทั้งนี้การจะพิจารณาว่าข้อสอบยากหรือง่าย คงต้องมีการวิเคราะห์ค่าสถิติ ซึ่งจะดำเนินการต่อไป.

ข้อมูลจาก www.dailynews.co.th

สทศ.ย้ำกวดวิชาสอบ GAT-PAT ไม่มีประโยชน์

ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยว่า ตามที่สทศ.ได้เปิดรับสมัครทดสอบความถนัดทั่วไปหรือ GAT (General Aptitude Test) และการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ หรือ PAT (Professional and Academic Aptitude Test) ที่จะใช้เป็นองค์ประกอบในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ด้วยระบบกลางหรือแอดมิชชั่น ประจำปีการศึกษา 2553 ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน-10 พฤศจิกายน 2551 ปรากฏว่ามีผู้สมัครสอบ ในเดือนมีนาคม 2552 จำนวน 227,187 คน แยกเป็นผู้สมัคร ม.5 จำนวน 220,192 คน และม.6ขึ้นไป จำนวน 6,995 คน สอบเดือนกรกฎาคม 2552 จำนวน 231,148 คน ผู้สมัคร ม.5 จำนวน 228,778 คน และ ม.6 ขึ้นไปจำนวน 2,370 คน ส่วนสอบเดือนตุลาคม 2552 มี 231,261 คน ผู้สมัคร ม.5 จำนวน 229,059 คน และม.6ขึ้นไป จำนวน 2,202 คน โดยในการสอบแต่ละครั้งจะมีผู้ที่เลือกสอบ GAT มากที่สุด รองลงมาสอบ PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ และ PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งหลังจากนี้ สทศ. จะเตรียมการจัดที่นั่งสอบ สนามสอบและห้องสอบต่อไป

ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวต่อไปว่า สทศ. จะเปิดให้ผู้สมัครได้ตรวจสอบสถานะการสมัคร รวมถึงแก้ไขข้อมูลส่วนตัว ได้ตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2551 ทางเว็บไซต์ http://www.niets.or.th โดยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center หมายเลข 0-2975-5599 ระหว่างเวลา 07.00-19.00 น. ทุกวัน และจะประกาศเลขที่นั่งสอบ สนามสอบและห้องสอบ GAT และ PAT ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ส่วนการออกข้อสอบนั้น ขณะนี้ได้เริ่มทยอยออกข้อสอบแล้ว และระหว่างนี้ สทศ.จะวิเคราะห์ข้อสอบการทดสอบความถนัดทั่วไปหรือ B GAT และการทดสอบวัดศักยภาพหรือ B PAT ที่สทศ.เป็นผู้ออกข้อสอบ และนำไปใช้ในการคัดเลือกด้วยวิธีรับตรงของม.นเรศวร (มน.) และจุฬาฯ ประจำปี 2551 เมื่อวันที่ 25-26 ตุลาคมที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการออกข้อสอบ GAT และ PAT ต่อไป

ต่อข้อถามกรณีมีคู่มือการสอบ GAT และPAT ออกวางจำหน่าย ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวว่า ตนได้เห็นคู่มือดังกล่าวแล้ว และต้องขอบคุณที่ช่วยกระจายปฏิทินการสอบให้ แต่พบว่าเป็นข้อสอบที่ต่างประเทศใช้วัดความถนัดของนักเรียน ซึ่งไม่เหมือนข้อสอบ GAT และ PAT ของสทศ. ดังนั้นตนแนะนำนักเรียนว่าไม่ควรจำข้อสอบ เพราะข้อสอบของสทศ.จะเน้นการคิดวิเคราะห์เป็นหลัก เช่นอาจมีบทความ ให้อ่าน และวิเคราะห์ ซึ่งผู้ที่จะวิเคราะห์ได้ต้องเรียนรู้ และได้ฝึกมาเป็นอย่างดี ซึ่งไม่สามารถกวดวิชากันได้.

ข้อมูลจาก www.dailynews.co.th

Wednesday, November 12, 2008

ครม.แต่งตั้งคณะกก.กพฐ.17ราย

นายศรีเมือง เจริญศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติ แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 17 ราย แทนประธานและกรรมการชุดเดิมครบวาระการดำรงตำแหน่งโดยรายชื่อประธานและคณะ กรรมการชุดใหม่ได้แก่

1. นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ประธานกรรมการ 2. นายสุกิจ เดชโภชน์ ผู้แทนองค์กรเอกชน 3. นายบรรจง โฆษิตจิรนันท์ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4. นายสมศักดิ์ โล่เลขา ผู้แทนองค์กรวิชาชีพ 5. นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 6. นายมังกร กุลวานิช กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 7. ศ.พันตำรวจตรี ยงยุทธ สารสมบัติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 8 ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

9. นายสำรวม พฤกษ์เสถียร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ10. นายประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

11. นายดิเรก พรสีมา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 12. นายสิทธิรักษ์ จันทร์สว่าง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 13 ผศ.เรืองเดช วงศ์หล้า กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 14 นายเรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 15 นายมานิจ สุขสมจิตร 16 นายสุชาติ เมืองแก้ว กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 17. พระธรรมโกศาจารย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

ข้อมูลจาก คมชัดลึก

ชงปรับเกณฑ์วิทยฐานะ 14 พ.ย.

ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวหลังเป็นประธานประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.)

วิสามัญเฉพาะกิจเพื่อพัฒนาหลักเกณฑ์และวิธีการให้ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะ ครั้งที่ 2 ว่า ที่ประชุมมีมติให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีประเมินวิทยฐานะเกณฑ์ปัจจุบัน หรือ ว25 โดย 1.เสนอทบทวนองค์ประกอบคณะกรรมการประเมินผลงานวิชาการให้มีสัดส่วนและมีคนที่ เข้าใจการปฏิบัติงานของครูเพิ่มขึ้น

2.ทบทวนเกณฑ์ประเมินของคณะ กรรมการซึ่งเดิมกำหนดไว้ว่า ประเมินด้านที่ 3 มีสองส่วนคือ ผลปฏิบัติงาน และผลงานวิชาการ ซึ่งจะต้องผ่านประเมินทั้งสองด้านโดยแต่ละด้านต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 ของกรรมการทั้ง 3 คนและผลคะแนนเฉลี่ยรวมของกรรมการ 3 คน ต้องได้ร้อยละ 70 ขึ้นไป ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่เข้มเกินไป จะเสนอทบทวนใหม่ว่าหากกรรมการประเมิน 2 ใน 3 คนให้ผ่านถือว่าผ่านประเมิน

ปลัด ศธ.กล่าวอีกว่า จะนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) ในวันที่ 14 พฤศจิกายนนี้ โดยจะใช้เกณฑ์นี้ไปจนกว่าจะประกาศใช้เกณฑ์ประเมินวิทยฐานะใหม่หรือ ว2 ซึ่งจะเสนอเกณฑ์ ว2 ภายในเดือนตุลาคม 2552 ส่วนการพัฒนาผู้ไม่ผ่านประเมินเกณฑ์ปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่ไม่ผ่านประเมินด้าน ที่ 3 จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มปรับปรุงผลงานและกลุ่มที่ไม่ผ่านประเมิน จะต้องพัฒนา 3 ด้าน คือ เนื้อหาสาระที่รับผิดชอบ เทคนิคสอนและวิจัย ซึ่งกลุ่มที่ไม่ผ่านประเมินจะพัฒนาทั้ง 3 ด้าน ส่วนกลุ่มปรับปรุงจะเน้นพัฒนาเทคนิควิจัยเป็นหลัก จะเสนอ ก.ค.ศ.เช่นกัน

ข้อมูลจาก คมชัดลึก

ข่าวย่อย - เพิ่มค่าตอบแทนพิเศษขรก.ใต้

นายศรีเมือง เจริญศิริ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.อนุมัติงบกว่า 3,589 ล้านบาท เพื่อปรับเพิ่มค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

และ 4 อำเภอใน จ.สงขลา รวมทั้งหมด 119,655 ราย ซึ่งในส่วนศธ.เคยเสนอขอปรับค่าตอบแทนพิเศษให้แก่ข้าราชการครู ครูอัตราจ้าง เจ้าหน้าที่โรงเรียนสังกัดสพฐ.กว่า 2.6 หมื่นคน รวมทั้งครูโรงเรียนเอกชน พนักงานสถาบันอุดมศึกษา วิทยากรอิสลามศึกษา โดยปรับเพิ่มเป็นคนละ 2,500 บาทต่อเดือน มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้

- ตั้งคณะกรรมการ กพฐ.17ราย

นาย ศรีเมือง เจริญศิริ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ครม.มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) 17 ราย มี นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นประธานกรรมการ ส่วนกรรมการได้แก่ นายสุกิจ เดชโภชน์ นายบรรจง โฆษิตจิรนันท์ นายสมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ นายมังกร กุลวานิช ศ.พันตำรวจตรี ยงยุทธ สารสมบัติ ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ นายสำรวม พฤกษ์เสถียร นายประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์ นายดิเรก พรสีมา นายสิทธิรักษ์ จันทร์สว่าง ผศ.เรืองเดช วงศ์หล้า นายเรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ นายมานิจ สุขสมจิตร นายสุชาติ เมืองแก้ว และพระธรรมโกศาจารย์

- คลังรับหางบ1อำเภอ1ทุน

นายศรีเมือง เจริญศิริ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ได้หารือร่วมกับนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.คลัง เรื่องหางบประมาณเพื่อดำเนินการโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่น 3 หลังศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าการจำหน่ายสลากออนไลน์ขัดรัฐธรรมนูญ ทำให้โครงการนี้ชะลอออกไปว่า รมว.คลังรับทราบโดยบอกว่าการหาเงินทุนต้องใช้เวลาสักระยะ ยังบอกไม่ได้ว่าจะใช้แหล่งเงินส่วนไหน ทั้งนี้ จะหารือผู้บริหาร 5 องค์กรหลักของ ศธ. อาจจะทบทวนรูปแบบให้ทุน หรือปรับลดจำนวนทุนลงให้ในสาขาที่ขาดแคลนจริงๆ เมื่อได้หลักการร่วมกันแล้วจะปรึกษา รมว.คลัง

ข้อมูลจาก คมชัดลึก

สพฐ.ถกร.ร.ชื่อดัง ลดจำนวนรับม.ต้น ดันร.ร.กทม.รับเพิ่ม

คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า วันที่ 3-4 ธันวาคมนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

ได้เชิญผู้บริหาร โรงเรียนชื่อดัง 370 แห่ง และ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาใน กทม.ทั้ง 3 เขต มาประชุมหารือนโยบายรับนักเรียนมัธยม โดย สพฐ.มีนโยบายให้โรงเรียนมัธยมใน กทม.ลดจำนวนรับนักเรียน ม.ต้นลง เปลี่ยนไปเน้นรับระดับ ม.ปลายแทน แต่ปัจจุบันโรงเรียนส่วนใหญ่เปิดห้องเรียน ม.ต้นมากกว่าเด็กที่จบ ม.ต้นจำนวนหนึ่ง จึงต้องหลุดจากโรงเรียนเดิมไปเรียนที่อื่นแทน อีกทั้ง สพฐ.ได้ขอให้ กทม.ขยายรับเด็ก ม.ต้น เพื่อแก้ปัญหาเด็กล้นในพื้นที่ สพฐ.จึงจำเป็นต้องขยายรับระดับ ม.ปลาย เพื่อรองรับเด็กที่จบ ม.ต้นทั้งหมดใน กทม.

"สพฐ.จะไม่ใช้วิธีสั่งการ บังคับให้โรงเรียนดังลดจำนวนรับ ม.ต้น แต่ให้โรงเรียนหารือร่วมกับเขตพื้นที่แล้ววางแผนระยะยาว ค่อยๆ ลดจำนวนรับ ม.ต้นลง จนสุดท้ายโรงเรียนดังเปิดห้องเรียนระดับ ม.ต้นน้อยกว่า ม.ปลาย หรืออย่างน้อยต้องเปิดเท่ากัน เชื่อว่าเรื่องนี้จะไม่กระทบต่อผู้ปกครองที่ต้องการส่งลูกเข้าโรงเรียนดัง แต่ละแห่ง เพราะ สพฐ.มีโครงการโรงเรียนคู่ขนานและเรื่องนี้เป็นแผนระยะยาวที่ค่อยๆ ดำเนินการ“ คุณหญิงกษมากล่าว

เลขาธิการ กพฐ.กล่าวอีกว่า สพฐ.จะหารือโรงเรียนดังเกี่ยวกับการเรียกเก็บเงินเพิ่มเติมจากผู้ปกครอง สพฐ.จะพยายามแบ่งเบาภาระให้โรงเรียนดังมากที่สุด เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าจ้างครูเพิ่มเติม ที่เหลือจะมาดูกันว่า รายการใดที่โรงเรียนเรียกเก็บเงินจากผู้ปกครองได้ อีกทั้ง สพฐ.จะนำคะแนนเอ็นทีของโรงเรียนดังมาดูว่ามีจุดอ่อนในวิชาใดบ้าง เพื่อหาทางปรับปรุงให้โรงเรียนดังมีคุณภาพมากขึ้น โดยเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งโรงเรียนส่วนใหญ่จะอ่อนวิชานี้ และวันที่ 14 พฤศจิกายนนี้ จะหารือปรับปรุงเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะ หากเกณฑ์ประเมินเน้นประเมินผลปฏิบัติงานจริงมากขึ้นจะช่วยแก้ปัญหาได้

ข้อมูลจาก คมชัดลึก

ศธ.ขอ 3 หมื่นล. ผุดเมกะโปรเจกท์

ศธ.ของบกลาง 3 หมื่นล้านบาท อัดฉีดเมกะโปรเจกท์ หวังทุ่มพัฒนาครูทั้งระบบ-ไอที-ซ่อมแซมโรงเรียนใช้งานเกิน 30 ปี ผุด "วิทยุชุมชน" เพื่อการศึกษาทุกตำบล แปลงโฉม "อาชีวศึกษา" ให้ทันสมัย ชู "อุดมศึกษาไทย" ก้าวสู่ความเป็น "ฮับ" ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ดร. ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยว่า ศธ.ได้ข้อสรุปจะของบกลางจากรัฐบาลไม่เกิน 3 หมื่นล้านบาท หรือหากไม่ได้ก็จะเปลี่ยนแปลงรายจ่ายงบปี 2552 เพื่อมาทำเมกะโปรเจกท์ พัฒนาการจัดการศึกษาเป็นพิเศษ ซึ่งจากการหารือผู้บริหารศธ.ทั้งผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนได้แนวทางเบื้องต้นว่า เมกะโปรเจกท์ของศธ.จะเน้นลงทุนพัฒนาครูอย่างเป็นระบบ เน้นครูสาขาขาดแคลน เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ซึ่งสพฐ.จะร่วมมือพัฒนากับสถาบันส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี (สสวท.) และ ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์

นอกจากนี้จะมีโครงการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสถานศึกษา เน้นซ่อมแซมปรับปรุงอาคารเรียนที่ทรุดโทรมไม่ปลอดภัย อายุการใช้งานเกินกว่า 30 ปี และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีให้กับสถานศึกษา จัดระบบ อี-เลิร์นนิ่ง (E-Learning) ให้สถานศึกษาทั่วประเทศใช้ไอซีที ส่งเสริมการเรียนการสอนทุกระดับชั้น จัดให้มีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตถึงในโรงเรียนต่างๆ

"จะประสาน กรมประชาสัมพันธ์ ขอเพิ่มคลื่นความถี่วิทยุเพื่อการศึกษา 10-11 คลื่นความถี่ เพื่อจัดทำวิทยุชุมชนเพื่อการศึกษาให้เข้าถึง มีโรงเรียนเป็นสถานที่จัดรายการ ให้ครูและนักเรียนสร้างสรรค์ผลงานผ่านรายการวิทยุชุมชนฯ ส่วนโทรทัศน์เพื่อการศึกษามีช่อง สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (ETV) อยู่แล้วก็จะพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น" ปลัดศธ. กล่าว

ปลัดศธ. กล่าวอีกว่า การอาชีวศึกษามุ่งแปลงโฉมให้เป็นอาชีวะที่ทันสมัย ปรับปรุงสถานศึกษาอาชีวะของรัฐที่ทรุดโทรมให้ดูดี มีอุปกรณ์ทันสมัยในการเรียนการสอนมากขึ้น และร่วมมือกับสถานประกอบการพัฒนาการเรียนการสอนตลอดเวลา จะทำโครงการพัฒนาอุดมศึกษาของไทยให้เป็น เอ็ดดูเคชั่น ฮับ (Education Hub) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลงทุนพัฒนาคณาจารย์ระดับมหาวิทยาลัยให้มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอกตาม เกณฑ์มาตรฐานที่ควรเป็น ปัจจุบันอาจารย์มหาวิทยาลัยมีวุฒิปริญญาเอกต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน นั่นคือมีวุฒิปริญญาเอกเพียงร้อยละ 26 เท่านั้น อีกทั้งพัฒนาศักยภาพมหาวิทยาลัยไทยให้ทำวิจัยมากขึ้น

ข้อมูลจาก คมชัดลึก

หน้าต่างกศน-วิจัยคนแก่ติดจอตู้94%กศน.ชูพัฒนาเรียนรู้-อยู่อย่างมีค่า

ผู้สูงวัย7.6 ล้านคน หรือ 10.6% ของประชากรในประเทศตามมาตรฐานสากลประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยแล้ว เพื่อเป็นการรองรับผู้สูงวัยที่จะเพิ่มทวีคูณในอนาคต สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ได้ศึกษาวิจัยพบข้อมูลน่าตกใจ ผู้สูงวัยจบแค่ชั้นประถมแถมวันว่างติดหนึบดูทีวี

นางวัทนีจันทร์โอกุล ผอ.กลุ่มแผนงานรักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาสื่อการเรียนการสอน กศน. เสนอแนวทางแก้ปัญหาผู้สูงวัยว่ากศน.ทำวิจัย "ความต้องการการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง ในสังคมยุคแห่งการเรียนรู้" ขึ้น ในปี2550-2551 โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ผู้สูงอายุ60 ปีขึ้นไป ที่อยู่ในชุมชน เขตเทศบาลเมือง เทศบาลนคร จาก 5 ภูมิภาค 11 จังหวัด จังหวัด ละ 50 คน รวม 700 คน ได้แก่ ภาคเหนือ จ.ลำปาง จ.กำแพงเพชร ภาคตะวันออกเฉียง เหนือ จ.อุบลราชธานี จ.ขอนแก่น ภาคตะวันออก จ.สระแก้ว จ.ฉะเชิงเทรา จ. สมุทรปราการ ภาคกลาง จ.พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพฯ และภาคใต้ จ.ภูเก็ต จ. ยะลา

ผลวิจัยคุณลักษณะทางสังคม-ประชากรของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง พบ ว่า ร้อยละ 86.8 จบประถมศึกษา ร้อยละ 67.3 ใช้แรงงานสร้างรายได้ ร้อย ละ 46.1 มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 57.3 มีรายได้จาก บุตร ร้อยละ 68.5 ช่วยเหลือตนเองได้ ร้อยละ 60.1 มีภาระในการใช้ชีวิตประจำ วัน ร้อยละ 87.6 ใช้เวลาว่างฟังวิทยุ โทรทัศน์ สืบค้นข้อมูลความรู้ข่าวสาร ทางอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 43.6 มีจำนวนชั่วโมงที่ว่างจากภารกิจประจำวันใน รอบ24 ชั่วโมง และร้อยละ 94 ใช้โทรทัศน์เป็นสื่อ อุปกรณ์รับข่าวสารข้อมูลใน ชีวิตประจำวัน

สภาพคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองพบว่าส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิต ระดับปานกลาง ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ มีความพึงพอใจในชีวิตความ เป็นอยู่ในปัจจุบัน รู้สึกว่าชีวิตนี้ยังมีความหวัง ทำประโยชน์ให้ครอบครัว ได้ต้องการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์มากกว่าปัจจุบัน และตื่น ตัว กระฉับกระเฉงอยู่เสมอ ส่วนคุณภาพชีวิตที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ มีเวลา ว่างมากในแต่ละวัน ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่รู้ว่าจะใช้เวลาว่างให้เป็น ประโยชน์ได้อย่างไร และรู้สึกเป็นภาระของครอบครัว

ด้านความต้องการได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน เมืองพบว่าต้องการเรียนรู้การดูแลสุขภาพ เรียนรู้ธรรมะ และเรียนรู้เรื่อง ราวต่างๆ ผ่านสื่อในระดับสูง เพื่อให้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสมาชิกในครอบครัว ได้อย่างมีความสุข

"ผลวิจัยเสนอแนะการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง ควร กำหนดให้ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของงาน กศน. โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง อาจจัดเป็นหลักสูตรหรือไม่มีหลักสูตร และวิถี ดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้สูงอายุ วัย 60-69 ปี เป็นอันดับแรก รองลงมาวัย 70-79 ปี และวัย 80 ปีขึ้นไป รวม ทั้งส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพ ชีวิตตนเองให้ดีขึ้น และสร้างความภาคภูมิใจในการมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า ต่อครอบครัว" นางวัทนีกล่าวทิ้งท้าย

ข้อมูลจาก คมชัดลึก

Tuesday, November 11, 2008

"ศรีเมือง" ถกครม.หางบ อัดฉีด 1 อำเภอ 1 ทุนรุ่น 3

"ศรีเมือง" ถกครม.หางบ อัดฉีด 1 อำเภอ 1 ทุนรุ่น 3

"ศรีเมือง" ดิ้นหาแหล่งงบอัดฉีดโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 3 ชงถก ครม.วันนี้ พร้อมนัดหารือ "รมว.การคลัง" เร็วๆ นี้ เพื่อทดแทนเงินหวย

นาย ศรีเมือง เจริญศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวถึงโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่น 3 ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญ (รธน.) มีมติเอกฉันท์ว่าการออกเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัว หรือหวยบนดิน ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลขัดรัฐธรรมนูญ ทำให้ไม่สามารถจำหน่ายหวยบนดินได้ว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 11 พฤศจิกายนนี้ น่าจะหารือกันถึงโครงการทุนการศึกษาต่างๆ ที่เคยดำเนินการโดยใช้เงินจากรายได้การจำหน่ายหวยบนดิน

"ผมจะนัดหารือกับนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.การคลัง และสำนักงบประมาณ ถึงเรื่องการหาเงินมาใช้สำหรับโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่น 3 ด้วยว่า พอจะหาเงินจากช่องทางอื่นมาแทนได้หรือไม่ ผมไม่ต้องการยกเลิกโครงการนี้เพราะเป็นนโยบายที่ให้โอกาสทางการศึกษาแก่เด็ก ไทยใช้เงินลงทุนด้านอื่นได้จำนวนมากก็ไม่ควรเสียดายที่จะลงทุนด้านการศึกษา เพราะการให้การศึกษานั้นไม่ใช่แค่ทำให้คนอ่านออกเขียนได้ แต่ทำให้รู้จักคิดวิเคราะห์ด้วย ถือว่าโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน เป็นโครงการที่ดี แต่ติดเรื่องเงินก็ต้องมาหารือแก้ไขปัญหากัน ส่วนที่เสนอให้ใช้งบกลางแทนนั้นเป็นทางแก้ปัญหาวิธีหนึ่งซึ่งทำได้เมื่อมี ความจำเป็นจริงๆ" รมว.ศธ.กล่าว

ทั้งนี้ โครงการทุน 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 3 มีกว่า 1,000 ทุน ทั้งทุนสายสามัญและสายอาชีวศึกษา ซึ่งคุณสมบัติผู้สมัครสายสามัญเป็นนักเรียนจบ ม.ปลาย หรือเทียบเท่า รวมทั้งผู้จบ กศน.ด้วย ในปีการศึกษา 2551 เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 และสายอาชีวศึกษาซึ่งเพิ่มให้รุ่นนี้เป็นรุ่นแรก จะได้รับทุนประมาณ 1 ใน 3 ของจำนวนทุนทั้งหมด โดยเป็นผู้จบ ปวช.ทุกสังกัด เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.75 และต้องเลือกศึกษาในสาขาที่กำหนด จะรับสมัครและตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551-มกราคม 2552 สอบข้อเขียนปลายเดือนมกราคม 2552 สอบสัมภาษณ์เดือนมีนาคม 2552 และคาดว่าจะประกาศรายชื่อได้ในเดือนมีนาคม 2552 หลังจากนั้นจะเตรียมความพร้อมด้านภาษา วัฒนธรรม คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ 8 เดือน ก่อนไปศึกษาต่อในต่างประเทศ

ข้อมูลจาก คมชัดลึก

คุรุสภาตามจิกพวกปลอมวุฒิขอใบครูส่งศาล

นายธนารัชต์ สมคเณ ประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (กมว.) คุรุสภา เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ศาลอาญาได้มีคำพิพากษากรณีครูอัตราจ้าง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คนหนึ่งที่อยู่ในโรงเรียน อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี นำวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีปลอมมาขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ซึ่งคุรุสภาได้ตรวจสอบพบภายหลัง จึงดำเนินการเพิกถอนใบอนุญาตและมีมติให้ส่งฟ้องอาญาจนถึงที่สุด ซึ่งศาลตัดสินว่าบุคคลดังกล่าวมีความผิดจริงในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265 และ 268 ในฐานปลอมเอกสารราชการใช้เอง มีความผิดให้ลงโทษจำคุก 2 ปี และปรับ 10,000 บาท แต่ศาลได้พิจารณาแล้วเห็นว่าจำเลยไม่เคยทำผิดมาก่อน จึงลดโทษให้เหลือแค่รอลงอาญา และคุมประพฤติ 2 ปี และทำงานบริการสังคม หรือสาธารณประโยชน์ 50 ชั่วโมง ซึ่งกรณีนี้ถือเป็นรายแรกที่คุรุสภาได้สั่งเพิกถอนใบอนุญาตและส่งฟ้องศาล ดังนั้นตนอยากฝากไปยังผู้ที่จะยื่นขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพว่าไม่ควรใช้ เอกสารปลอมมายื่น เพราะหากตรวจพบจะถูกดำเนินการเช่นเดียวกับกรณีนี้ ซึ่งหมดอนาคตและไม่สามารถมาเป็นครูได้อีก

“คุรุสภาจะเร่งสุ่มตรวจเอกสารทางการศึกษาของข้าราชการครูทั่วประเทศ ประมาณ 6- 7 แสนคนที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้ทันก่อนการต่อใบอนุญาตฯในช่วง กลางปี 2552 ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเจอกรณีการปลอมแปลงเอกสารทางการศึกษาเพิ่มอีก นอกจากนี้จะประสานไปยังสถานศึกษาที่มีผู้นำวุฒิการศึกษามายื่นอีกครั้งว่า บุคคลดังกล่าวจบจากสถาบันการศึกษานั้น ๆ จริงหรือไม่ เพื่อจะได้ตรวจสอบ ก่อนการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้” ประธาน กมว.กล่าว ประธาน กมว.กล่าวด้วยว่า สำหรับการพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูในกรณีอื่นนั้น ก่อนหน้านี้มีคดีที่เสนอให้ กมว. พิจารณาเพิกถอนจำนวน 11 คดี และล่าสุดมีการเสนอพิจารณาเพิ่มอีก 4 คดี รวมแล้วมี 15 คดีที่ต้องเร่งพิจารณา ทั้งนี้คดีที่เสนอเพิ่มเข้ามานั้น เป็นคดีชู้สาวระหว่างครูด้วยกัน และคดีการล่วงละเมิดนักเรียน อย่างไรก็ตามขณะนี้มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการประพฤติผิดจรรยาบรรณของ วิชาชีพ ที่อยู่ระหว่างการสอบสวนกว่า 100 คดี ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองเรื่องร้องเรียน การประพฤติผิดจรรยาบรรณวิชาชีพว่ามีข้อเท็จจริงหรือไม่ ก่อนเสนอให้คุรุสภาพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตต่อไป.

ข้อมูลจาก www.dailynews.co.th

สพฐ.ชงประกาศ รร.นิติบุคคลเพิ่มอำนาจผู้อำนวยการใช้เงิน

ดร.สมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เมื่อวันที่ 10 พ.ย.ว่า สพฐ. กำลังจัดทำร่างประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์ อัตรา และวิธีการนำเงินรายได้สถานศึกษา ไปจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลในสังกัด เขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2551 โดยจะปรับปรุงหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินรายได้สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลใหม่ โดยจะกำหนดให้สถานศึกษาสามารถนำรายได้ไปจ้างพนักงานธุรการในโรงเรียนที่ขาด ตำแหน่งดังกล่าว จากเดิมที่สามารถนำเงินไปจ้างได้เฉพาะกรณีที่โรงเรียนขาดแคลนครูผู้สอน เท่านั้น นอกจากนี้ยังเพิ่มวงเงินให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาสามารถจัดซื้อคุรุภัณฑ์ได้ ในวงเงินสูงสุด 2 ล้านบาท จากวงเงินเดิม 1 ล้านบาท และหากเกินจากนี้ต้องเสนอเลขาธิการ กพฐ.เห็นชอบก่อน ซึ่งการปรับรายละเอียดในร่างประกาศ สพฐ.ฉบับนี้ จะทำให้โรงเรียนมีความสะดวกในการทำงานมากยิ่งขึ้น

รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบ การปรับปรุงคำสั่ง สพฐ.เรื่องมอบอำนาจจัดซื้อจัดจ้างด้วยเงินรายได้ของโรงเรียนที่ เลขาธิการ กพฐ.จะเป็นผู้มอบอำนาจ ดังนี้ ผู้อำนวยการสถานศึกษา เดิมสามารถอนุมัติจัดซื้อจัดจ้างได้สูงสุด 10 ล้านบาท ปรับใหม่เป็น 15 ล้านบาท แต่จะต้องให้คณะกรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วมพิจารณาด้วย นอกจากนี้ยังได้ปรับวงเงินการอนุมัติจ่ายเงินในส่วนของ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาใหม่ จากเดิม 12 ล้านบาท ปรับใหม่เป็น 20 ล้านบาท รองเลขาธิการ กพฐ.เดิม 25 ล้านบาท ปรับใหม่เป็น 40 ล้านบาท ส่วนเลขาธิการ กพฐ.ยังใช้วงเงินเดิม คือ 50 ล้านบาท อย่างไรก็ตามประกาศที่ปรับใหม่นี้จะต้องเสนอให้คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการ กพฐ.พิจารณาเห็นชอบลงนามก่อนประกาศใช้ต่อไป

ข้อมูลจาก www.dailynews.co.th

Monday, November 10, 2008

สอศ.โละ“อยากเรียนอะไรต้องได้เรียน

นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยถึงการรับนักศึกษาในสถาบันสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ปีการศึกษา 2552 ว่า จะเน้นรับในรูปแบบของกลุ่มสถาบันการอาชีวศึกษาไม่ใช่ ต่างคนต่างรับ และจะคัดเลือกผู้เรียนโดยมีการประเมินความพร้อม หรือวัดแวววิชาชีพ ไม่ใช่ใครอยากเรียนอะไรก็ได้เรียน ต่อไปสถาบันการอาชีวศึกษาจะเปิดสอนปริญญาตรีสายปฏิบัติ ดังนั้น นักศึกษาต้องตัดสินใจเลือกเรียนตั้งแต่ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ สถาบันการอาชีวศึกษาจะไม่ใช่ทางเลือกสุดท้ายอีกต่อไป โดยจะเน้นคุณภาพ เพราะเชื่อว่าถ้าคุณภาพดี ปริมาณจะตามมาเอง

เลขาธิการ สอศ.กล่าวอีกว่า จากการรับนักเรียน นักศึกษาที่ผ่านมา พบว่าในแต่ละปีมีการออกกลางคันเกือบหมื่นคน โดยมีสาเหตุ 3 ประการ คือ เด็กได้ที่เรียนใหม่ เด็กเรียนไม่ไหว พอเรียนได้ 1 เทอม รู้ว่า ไม่ชอบก็ลาออก และออกไปทำงาน การวัดแววทางวิชาชีพก่อนเข้าเรียนจะช่วยลดปัญหาการออกกลางคันได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆนี้ ตนได้หารือร่วมกับนายวีรวัฒน์ วรรณศิริ นายกสมาคมโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ถึงการรับนักศึกษาในปีการ ศึกษาหน้า ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่าจะมีการรับนักศึกษาร่วมกัน ไม่กำหนดสัดส่วนว่าเป็นสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน แต่จะดูว่าใครมีความเชี่ยวชาญ หรือชำนาญในด้านใด และควรผลิตบุคลากรจำนวนเท่าไหร่ เพื่อสนองต่อความต้องการของประเทศ โดยจะหารือรายละเอียดอีกครั้งในวันที่ 14 พ.ย.นี้ เพื่อประกาศนโยบายการรับนักศึกษาที่ชัดเจน

ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผอ.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) กล่าวว่า จากการประเมินสถานศึกษารอบ 2 (พ.ศ.2549-2553) เบื้องต้นพบว่าแม้มีสถานศึกษาที่ผ่านเกณฑ์ มาตรฐานขั้นต่ำเพิ่มขึ้นกว่ารอบแรก (พ.ศ.2543-2548) แต่บางมาตรฐานก็ยังน่าเป็นห่วงเช่นเดิม ส่วนระดับอาชีวะ แม้ว่าผลประเมินดีในทุกมาตรฐาน แต่ก็น่ากังวลว่าดีจริงหรือไม่ เพราะความสามารถของคนที่จบการศึกษาออกไปยังไม่สอดคล้องความต้องการของตลาด แรงงาน ดังนั้น การประเมินรอบที่ 3 อาจต้องเปลี่ยนระบบการประเมิน.

ข้อมูลจาก www.thairath.co.th

ถกออกแบบสอนประวัติศาสตร์ นำร่องคู่-หลักสูตรใหม่ในปีการศึกษา52

สพฐ.เตรียมถกออกแบบการเรียนวิชาประวัติศาสตร์สัปดาห์นี้ หลังสพฐ.กำหนดเพิ่มชั่วโมงเรียนสัปดาห์ละ 1 คาบ นำร่องควบคู่หลักสูตรใหม่ในปีการศึกษา 2552

ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ว่า สัปดาห์หน้าทีมหลักสูตรจะประชุมหารือร่วมกันว่าจะขับเคลื่อนการเรียนการสอน วิชาประวัติศาสตร์ ขณะนี้ สพฐ.ได้ประกาศเพิ่มวิชานี้เข้าไปในชั่วโมงเรียนแล้ว กำหนดให้โรงเรียนต้องจัดการสอนวิชาประวัติศาสตร์สัปดาห์ละ 1 คาบเรียน จากปกติที่รวมอยู่ในกลุ่มสาระวิชาสังคมศึกษา และจะต้องใช้นำร่องพร้อมกับหลักสูตรใหม่ที่เพิ่งปรับในปีการศึกษา 2552 นี้

“อยากให้เริ่มเรียนประวัติศาสตร์แบบนักประวัติศาสตร์จริงๆ มีการสืบค้นข้อมูลจากข้อมูลที่เรามีอยู่แล้ว นักเรียนยังสามารถเรียนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นได้จากแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรม ท้องถิ่น อาจจะต้องทำคู่มือเกี่ยวกับกระบวนการสอนสำหรับครูที่ใหม่ด้วย” ดร.เบญจลักษณ์กล่าว

ดร.เบญจลักษณ์กล่าวต่อว่า การสอนวิชาประวัติศาสตร์จะนำร่องควบคู่ไปพร้อมกับการนำร่องหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ในสถานศึกษา 500 แห่ง เริ่มทยอยใช้หลักสูตรใหม่ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 และจะครบทุกช่วงชั้นในปีการศึกษา 2554 รวมระยะเวลา 3 ปี ขณะนี้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) กำลังคัดเลือกโรงเรียนที่จะใช้เป็นต้นแบบทั้งระดับมัธยม โรงเรียนขยายโอกาส และโรงเรียนประถม

"หลักสูตรที่ปรับใหม่ค่อนข้างเป็นที่พอใจของครู ผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหาร ส่วนการประเมินผลของหลักสูตรใหม่นั้นจะดูจากผลสอบปลายปีว่านักเรียนมี พัฒนาการทางการเรียนดีขึ้นหรือไม่" ดร.เบญจลักษณ์กล่าว

อนึ่ง หลักสูตรใหม่ปี 2551 ยังคง 8 กลุ่มสาระวิชาคือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ โดยเปลี่ยนตัวชี้วัดเป็นรายปี จากเดิมตัวชี้วัดช่วงชั้นมีการกำหนดกรอบเวลาเรียนแต่ละระดับชั้น รวมถึงกำหนดกรอบเวลาเรียนแต่ละกลุ่มวิชาด้วย

ข้อมูลจาก คมชัดลึก

สมศ.ชี้ ร.ร.ปั้นเด็กดีลดลง 30%

สมศ.ประเมิน ร.ร.รอบ 2 ครึ่งทางห่วงจำนวน ร.ร.ปั้นเด็กดี-มีสุขลดลงถึง 30% เหตุ ร.ร.มุ่งปั้นเด็กเก่ง จี้รัฐทุ่มงบเมกะโปรเจกท์พัฒนาคุณภาพ ร.ร.มาตรฐานต่ำ

ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผอ.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รายงานผลดำเนินการครบรอบ 8 ปี ของ สมศ. ที่โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค เมื่อเร็วๆ นี้ว่า สมศ.มีข้อเสนอต่อรัฐบาลให้ทุ่มงบโครงการเมกะโปรเจกท์รอบใหม่ทั้งหมดของ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ลงไปฟื้นฟูคุณภาพโรงเรียนประถม มัธยมที่มาตรฐานอยู่ในระดับโคม่า เพื่อยกระดับเป็นโรงเรียนที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ สมศ.ภายใน 3 ปี ซึ่ง สมศ.ประเมินคุณภาพโรงเรียนประถม มัธยม ทั่วประเทศในรอบสอง (2549-2553 ) พบว่า ช่วง 3 ปีแรกที่ประเมิน (2549-2551) มีโรงเรียน 20% ไม่ผ่านมาตรฐาน โดยโรงเรียนกว่า 4,000 แห่ง มีมาตรฐานขั้นต่ำ คาดว่าเมื่อประเมินครบทุกโรงเรียนภายในปี 2553 จะมีมากกว่านี้ และพัฒนาโรงเรียนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกแห่ง

"สมศ.นำร่อง พัฒนาคุณภาพโรงเรียน 220 แห่ง ใน 22 เขตพื้นที่ ใช้เงินโรงเรียนละ 6.6 แสนบาทโดยระดมทุนจากเอกชน ศธ.ไม่ได้สนับสนุนงบ ศธ.ควรหันมาเน้นเรื่องนี้ให้มากขึ้น“ ศ.ดร.สมหวังกล่าว

ผอ.สมศ.กล่าว อีกว่า ผลประเมินรอบสองพบประเด็นน่าห่วงคือโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จทำให้ นักเรียนมีความสุขและความดีนั้นลดลงเมื่อเทียบกับรอบแรก โดยรอบแรกโรงเรียนที่ทำให้เด็กเป็นคนดี มีความสุขมี 80% แต่รอบสองเหลือแค่ 50% โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จทำให้เด็กเป็นคนเก่งกลับเพิ่มขึ้นในการประเมิน รอบสอง โดยเพิ่มขึ้น 15-20% เมื่อเทียบกับรอบแรก ซึ่งโรงเรียนประสบความสำเร็จสร้างคนดี มีความสุขลดลง น่าจะมาจากโรงเรียนตื่นตัวพัฒนาแต่ความเก่งเพื่อให้ผ่านประเมินจนละเลยความ ดี ความสุขของเด็กและปัญหาจริยธรรมในบ้านเมือง ความไม่สงบเรียบร้อยในสังคม

ศ. ดร.สมหวังกล่าวด้วยว่า ระดับอุดมศึกษาพบว่าการวิจัยยังคงต่ำอยู่ ควรส่งเสริมคุณภาพอุดมศึกษามากขึ้น โดยให้อาจารย์หันมาสนใจพัฒนาวิชาการมากกว่าเน้นขยายโอกาสให้คนเรียนปริญญา หรือผลิตบัณฑิตมากเกินจำเป็น ปัจจุบันการผลิตบัณฑิตสายสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์มากกว่าวิทยาศาสตร์ และไม่ตรงความต้องการตลาด มีปัญหาเชิงคุณภาพ ถ้าผลิตให้มีคุณภาพจริงจะพ้นวิกฤติว่างงานได้ การแก้ปัญหาขาดแคลนครูไม่ควรซื้อคอมพิวเตอร์มาเป็นสื่อช่วยสอนและเน้นเพิ่ม อัตรากำลัง อีกทั้งรัฐต้องลดบทบาทจัดการศึกษาจากที่รัฐจัด 80% ให้เหลือ 40% อีก 60% ควรหันมากระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน


ข้อมูลจาก คมชัดลึก

สพฐ.เล็งซื้อคอมพ์พกพาเพิ่ม

คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับ นักเรียนระดับประถมศึกษา หรือ One laptop per Child ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการกำหนดสเปกคอมพิวเตอร์พกพา ซึ่งคาดว่าจะประกาศสเปกในบนเว็บไซต์ www.obec.go.th ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ในต้นเดือนธันวาคมนี้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ก่อนจัดซื้อต่อไป ทั้งนี้นายศรีเมือง เจริญศิริ รมว.ศึกษาธิการ ได้เน้นย้ำให้โรงเรียนต่าง ๆ ดำเนินการจัดซื้ออย่างสุจริต โปร่งใส และไม่มีคำครหาเด็ดขาด ซึ่งตนก็ได้ย้ำกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ว่า ขอให้ทุกคนไปเป็นพี่เลี้ยงให้แก่โรงเรียน ซึ่งไม่ใช่ดูแต่เรื่องการจัดซื้อเท่านั้น ต้องดูแลเรื่องการวางระบบซ่อมแซม การพัฒนาครู การกำหนดคุณลักษณะของเด็ก และระบบเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย

ด้าน นายอเนก รัตน์ปิยะภาภรณ์ ผอ.สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ.กล่าวว่า สพฐ.ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการจัดสรรคอมพิวเตอร์ให้แก่โรงเรียน ในปีงบฯ 2552 จำนวน 426 ล้านบาท แบ่งเป็น ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ให้แก่โรงเรียน จำนวน 1,290 โรง แยกเป็น โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 900 โรง และโรงเรียนขนาดเล็ก 300 โรงเรียน โดยให้ไม่ซ้ำกับปีที่ผ่านมา และซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา ให้แก่เด็กในโรงเรียน 100 โรง จำนวน 5,000 เครื่อง ทั้งนี้ในปีการศึกษา 2552 หากประเมินแล้วพบว่า คอมพิวเตอร์พกพาทำให้เด็กมีคุณภาพมากขึ้น ในปีงบฯ 2553 สพฐ.ก็จะเสนอให้จัดซื้ออีก 490,000 เครื่อง และซื้อในปีงบฯ 2554 อีก 510,000 เครื่อง.

ข้อมูลจาก www.dailynews.co.th