Wednesday, November 12, 2008

หน้าต่างกศน-วิจัยคนแก่ติดจอตู้94%กศน.ชูพัฒนาเรียนรู้-อยู่อย่างมีค่า

ผู้สูงวัย7.6 ล้านคน หรือ 10.6% ของประชากรในประเทศตามมาตรฐานสากลประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยแล้ว เพื่อเป็นการรองรับผู้สูงวัยที่จะเพิ่มทวีคูณในอนาคต สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ได้ศึกษาวิจัยพบข้อมูลน่าตกใจ ผู้สูงวัยจบแค่ชั้นประถมแถมวันว่างติดหนึบดูทีวี

นางวัทนีจันทร์โอกุล ผอ.กลุ่มแผนงานรักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาสื่อการเรียนการสอน กศน. เสนอแนวทางแก้ปัญหาผู้สูงวัยว่ากศน.ทำวิจัย "ความต้องการการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง ในสังคมยุคแห่งการเรียนรู้" ขึ้น ในปี2550-2551 โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ผู้สูงอายุ60 ปีขึ้นไป ที่อยู่ในชุมชน เขตเทศบาลเมือง เทศบาลนคร จาก 5 ภูมิภาค 11 จังหวัด จังหวัด ละ 50 คน รวม 700 คน ได้แก่ ภาคเหนือ จ.ลำปาง จ.กำแพงเพชร ภาคตะวันออกเฉียง เหนือ จ.อุบลราชธานี จ.ขอนแก่น ภาคตะวันออก จ.สระแก้ว จ.ฉะเชิงเทรา จ. สมุทรปราการ ภาคกลาง จ.พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพฯ และภาคใต้ จ.ภูเก็ต จ. ยะลา

ผลวิจัยคุณลักษณะทางสังคม-ประชากรของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง พบ ว่า ร้อยละ 86.8 จบประถมศึกษา ร้อยละ 67.3 ใช้แรงงานสร้างรายได้ ร้อย ละ 46.1 มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 57.3 มีรายได้จาก บุตร ร้อยละ 68.5 ช่วยเหลือตนเองได้ ร้อยละ 60.1 มีภาระในการใช้ชีวิตประจำ วัน ร้อยละ 87.6 ใช้เวลาว่างฟังวิทยุ โทรทัศน์ สืบค้นข้อมูลความรู้ข่าวสาร ทางอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 43.6 มีจำนวนชั่วโมงที่ว่างจากภารกิจประจำวันใน รอบ24 ชั่วโมง และร้อยละ 94 ใช้โทรทัศน์เป็นสื่อ อุปกรณ์รับข่าวสารข้อมูลใน ชีวิตประจำวัน

สภาพคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองพบว่าส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิต ระดับปานกลาง ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ มีความพึงพอใจในชีวิตความ เป็นอยู่ในปัจจุบัน รู้สึกว่าชีวิตนี้ยังมีความหวัง ทำประโยชน์ให้ครอบครัว ได้ต้องการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์มากกว่าปัจจุบัน และตื่น ตัว กระฉับกระเฉงอยู่เสมอ ส่วนคุณภาพชีวิตที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ มีเวลา ว่างมากในแต่ละวัน ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่รู้ว่าจะใช้เวลาว่างให้เป็น ประโยชน์ได้อย่างไร และรู้สึกเป็นภาระของครอบครัว

ด้านความต้องการได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน เมืองพบว่าต้องการเรียนรู้การดูแลสุขภาพ เรียนรู้ธรรมะ และเรียนรู้เรื่อง ราวต่างๆ ผ่านสื่อในระดับสูง เพื่อให้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสมาชิกในครอบครัว ได้อย่างมีความสุข

"ผลวิจัยเสนอแนะการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง ควร กำหนดให้ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของงาน กศน. โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง อาจจัดเป็นหลักสูตรหรือไม่มีหลักสูตร และวิถี ดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้สูงอายุ วัย 60-69 ปี เป็นอันดับแรก รองลงมาวัย 70-79 ปี และวัย 80 ปีขึ้นไป รวม ทั้งส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพ ชีวิตตนเองให้ดีขึ้น และสร้างความภาคภูมิใจในการมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า ต่อครอบครัว" นางวัทนีกล่าวทิ้งท้าย

ข้อมูลจาก คมชัดลึก

No comments: