นางจิตตรียากล่าวต่อว่าการจัดสอบในปีนี้จะแตกต่างจากทุกๆ ปีที่ผ่านมา ซึ่ง ใช้เฉพาะข้อสอบปรนัยเท่านั้น นักเรียนจึงมีโอกาสเดาคำตอบได้ถูกต้อง ทั้งที่ จริงแล้วเด็กทำข้อสอบไม่ได้ ส่งผลให้การทดสอบดังกล่าวไม่สามารถสะท้อนได้ ความสามารถจริงของนักเรียน ประกอบกับในปีนี้ สพฐ.ต้องการข้อมูลการอ่านออก เขียนได้ของนักเรียนเพราะฉะนั้นจึงได้เพิ่มการทดสอบภาคปฏิบัติให้นักเรียน อ่านออกเสียงต่อหน้ากรรมการ ให้เขียนเรียงความและคิดเลขด้วย ซึ่งการเพิ่ม การทดสอบทั้ง 3 ส่วนเข้าไปจะช่วยให้วัดความสามารถในการอ่านออก เขียนได้ และ คิดเลขจริงของนักเรียนแต่ละคน
นางจิตตรียากล่าวต่อว่านอกจากการจัดสอบเอ็นทีระดับชั้น ป.3 แล้วสพฐ.มี โครงการวิจัยในยุทธศาสตร์ปรับปรุงการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษด้วยเพราะ ฉะนั้น สพฐ.จะจัดสุ่มสอบระดับชั้นป.6 จำนวน25% รวมทั้งหมด2.5 แสนคน ในวิชา ภาษาอังกฤษ และวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ อย่างไรก็ตาม สพฐ.ได้มอบให้สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาทุกแห่งจัดสอบนักเรียนชั้นป.2, ป.5 และม.2 ทุกคนใน พื้นที่อย่างน้อย 2 วิชาคือ ภาษาไทยและคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อมูล นักเรียนรายบุคคลทุกคน แล้วนำมาวางแผนพัฒนานักเรียนให้มีผลการเรียนดีขึ้นใน ปีต่อไปซึ่งจะเป็นปีสุดท้ายของแต่ละช่วงชั้น อนึ่ง นักเรียนแต่ละระดับชั้น มีประมาณ 8 แสนคน
"การจัดสอบเอ็นทีระดับ ป.3 และสุ่มสอบนักเรียนป.6 ในโครงการวิจัย ยุทธศาสตร์ปรับปรุงการเรียนการสอนภาษาอังกฤษนั้นจะจัดสอบพร้อมกันทั่วประเทศ ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์2552 และใช้ข้อสอบจากส่วนกลางส่วนการจัดสอบ ระดับ ป.2, ป.5 และม.2 โดยาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) นั้น จะมีการ ประชุมกันอีกครั้งเพื่อวางปฏิบัติการดำเนินงานต่อไป นางจิตตรียากล่าว
อนึ่งการจัดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ในอดีตที่ผ่าน มา พบว่าน่าเป็นห่วง เนื่องจากคะแนนเฉลี่ยสอบตกทุกวิชา ยกเว้นวิชาภาษาไทย ที่ค่าเฉลี่ยสอบผ่านแต่ร่อแร่
ข้อมูลจาก คมชัดลึก
No comments:
Post a Comment