“สุเมธ” แนะทปอ.แก้ปัญหานร.ถูกตัดสิทธิ์แอดมิชชั่นส์ ฝากมหาวิทยาลัยเปิดเผยรายชื่อนักเรียนที่ถูกตัดสิทธิ์โควต้าต่อสาธารณเพื่อ ให้นักเรียนสามารถเข้าไปตรวจสอบรายชื่อตัวเองได้ก่อนสมัครแอดมิชชั่นส์ ชี้เรื่องดังกล่าวแก้ไขได้ยาก เหตุมหาวิทยาลัยดำเนินการล่าช้า หรือละเลยการคืนสิทธิ์ให้เด็ก
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า จากการที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ประกาศผลการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษาหรือแอดมิชชั่นส์ ในปีการศึกษา 2552 พบว่ามีนักเรียนที่มีปัญหาเรื่องแอดมิชชั่นส์ร้องเรียนต่อสกอ.ระหว่างวันที่ 8-11 พ.ค.จำนวน 118 ราย ส่วนใหญ่ขอคืนสิทธิแอดมิชชั่นส์ เนื่องจากสอบได้โควต้าหรือรับตรงและได้สละสิทธิ์แล้ว แต่ทางมหาวิทยาลัย ส่งรายชื่อมาให้ตัดสิทธิการประมวลจากแอดมิชชั่นส์ จำนวน 47 ราย ในจำนวนดังกล่าว มี 36 รายที่มหาวิทยาลัยคืนสิทธิแอดมิชชั่นส์ให้ แก่เด็กแล้ว สกอ.จึงได้ประมวลผลและแจ้งผลสอบแก่เด็กเป็นรายบุคคลเรียบร้อย เด็กสามารถไปตรวจร่างกายและสอบสัมภาษณ์วันที่ 13-15 พ.ค. ส่วนอีก 11 ราย อยู่ระหว่างรอมหาวิทยาลัยตรวจสอบหลักฐานเพื่อคืนสิทธิ์แก่เด็ก ซึ่งหวังว่ามหาวิทยาลัยจะแจ้งเรื่องกลับมาที่สกอ.ภายใน 25 พ.ค.
สำหรับกรณีนักเรียนขอความช่วยเหลือจากศูนย์เฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือ นักศึกษาใหม่ที่ยากจน ปีการศึกษา 2552 จนถึงตอนนี้มีโทรศัพท์มาขอความช่วยเหลือจำนวนทั้งสิ้น 125 ราย ส่วนใหญ่เป็นเรื่องขอคำแนะนำการกู้เงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ยังไม่พบกรณีเด็กยากจนที่ต้องการผู้อุปการะ
ดร.สุเมธ กล่าวต่อว่าสำหรับปัญหามหาวิทยาลัยส่งรายชื่อเด็กโควตาเพื่อตัดสิทธิ์แอด มิชชั่นช้าจนทำให้มีนักเรียนร้องเรียนว่าถูกตัดสิทธิ์แอดมิชชั่นส์จำนวน มาก จะเสนอที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ซึ่งในปีการศึกษา 2553 ทปอ.จะต้องเป็นผู้รับช่วงต่อดูแล การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา หรือแอดมิชชั่นส์กลางต่อจากสกอ. โดยจะเสนอแนวทางการแก้ปัญหาเรื่องการคืนสิทธิ์แอดมิชชั่นส์ให้ กับนักเรียนว่าต่อไปหากมหาวิทยาลัยส่งรายชื่อตัดสิทธิ์ให้กับทปอ.แล้ว อยากให้มหาวิทยาลัยเปิดเผยรายชื่อนักเรียนที่ได้รับโควต้าต่อสาธารณเพื่อให้ นักเรียนสามารถเข้าไปตรวจสอบรายชื่อตัวเองได้ก่อนสมัครแอดมิชชั่นส์ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นปัญหาที่สำคัญที่ต้องประกาศให้มีความชัดเจนแต่ก็อยากท ปอ.ทำแบบยืดหยุ่นเหมือนที่สกอ.ทำ แต่แม้จะมีการยืดหยุ่นก็อยากให้มีกำหนดเวลาที่ตายตัวชัดเจน
ทั้งนี้ โดยส่วนตัวปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องที่แก้ไขได้ยากเพราะปัญหาส่วนหนึ่งเกิด จากมหาวิทยาลัยดำเนินการตัดสิทธิ์ล่าช้า หรือมหาวิทยาลัยไม่สนใจเรื่องการคืนสิทธิ์ให้เด็กเมื่อเด็กไม่ทำตามกรอบเวลา เช่นไม่ไปรายงานตัวก็ไม่ส่งชื่อตัดสิทธิ์ ส่วนตัวเด็กเองก็คิดว่าการไม่ได้ไปรายงานตัวเท่ากับสละสิทธิ์โควต้าแล้ว ทั้งนี้ข้อกำหนดในเรื่องกรอบเวลาการตัดสิทธิ์แต่ละมหาวิทยาลัยจะไม่เหมือน กัน ทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับเด็ก
“สำหรับความผิดพลาดในปีนี้เท่าที่ตรวจสอบทั้งหมดเป็นความเข้าใจที่ไม่ ตรงกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับเด็ก โดยมหาวิทยาลัยยืนยันว่าเด็กมีชื่อติดโควตาในมหาวิทยาลัยของตนเอง ส่วนนักศึกษาก็เข้าใจว่าการที่ตนเองไม่ไปสัมภาษณ์ตามเวลาที่มหาวิทยาลัย กำหนดถือว่าสละสิทธิ์แล้ว ต่อไปนี้มหาวิทยาลัยจะต้องประกาศรายชื่อรับตรงต่อสาธารณเพื่อให้นักเรียน ตรวจสอบได้” ดร.สุเมธกล่าว
ด้านนายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) กล่าวว่าปัญหาเรื่องการตัดสิทธิ์ยังถือเป็นข้อบกพร่องในทางปฏบัติอยู่ ซึ่งเรื่องนี้คงต้องเสนอแนวทางแก้ให้ไปยังทปอ.ต่อไป
Tuesday, May 12, 2009
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment