Thursday, May 21, 2009

แจงสิทธิข้าราชการเบิกค่าเล่าเรียนลูกได้

นางผานิตย์ มีสุนทร ผอ.สำนักการคลังและทรัพย์สิน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังได้มีหนังสือที่ กค. 0422.3/ว 161 เรื่องประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการและค่าเล่า เรียนในสถานศึกษาของเอกชน ลงวันที่ 13 พ.ค. 2552 ไปยังส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อแจ้งเกี่ยวกับสิทธิในการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของ บุตรข้าราชการ ปีการศึกษา 2552 ตามประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียนที่กำหนดขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ดังนี้ สถานศึกษาของทางราชการ ระดับอนุบาลหรือเทียบเท่า เบิกได้ปีละไม่เกิน 4,650 บาท ระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 3,200 บาท ระดับม.ต้น, ม.ปลาย, หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือ เทียบเท่า ปีละไม่เกิน 3,900 บาท และระดับอนุปริญญา หรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 11,000 บาท

ทั้งนี้เงินบำรุงการศึกษาระดับอนุบาลถึง ม.ปลายที่ให้เบิกจ่ายได้ตามอัตราดังกล่าว จะประกอบด้วย 1.ค่าสอนคอม พิวเตอร์ กรณีโรงเรียนจัดสอนให้นักเรียนเกินกว่ามาตรฐานที่รัฐจัดให้ 2.ห้องเรียนพิเศษ EP (English Program) 3.ห้องเรียนพิเศษ MEP (Mini English Program) 4.ห้องเรียนพิเศษด้านภาษาต่างประเทศ ด้านวิชาการและด้านอื่น ๆ 5.ค่าจ้างครูชาวต่างประเทศ และ 6.ค่าจ้างครูที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะ ส่วนระดับอนุปริญญา เงินบำรุงการศึกษาที่ให้เบิกจ่ายได้ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยตรงที่สถานศึกษาได้รับอนุญาตจาก หน่วยงานเจ้าสังกัดให้เรียกเก็บ โดยไม่รวมค่าปรับพื้นฐาน ค่าปฐมนิเทศ เงินบริจาค และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริหารและดำเนินงานของสถานศึกษา

สำหรับสถานศึกษาของเอกชน จำแนกเป็น สถานศึกษาเอกชนประเภทสามัญศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน ระดับอนุบาลหรือเทียบเท่า เบิกได้ปีละไม่เกิน 10,856 บาท ระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 10,556 บาท ระดับ ม.ต้นหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 12,647 บาท ระดับ ม.ปลายหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 12,947 บาท สถานศึกษาเอกชนประเภทสามัญศึกษาที่รับเงินอุดหนุน ระดับอนุบาลหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 3,874 บาท ระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 3,404 บาท ระดับ ม.ต้นหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 2,635 บาท ระดับ ม.ปลายหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 2,605 บาท

สถานศึกษาเอกชนประเภทอาชีวศึกษา หลักสูตร ปวช. หรือ เทียบเท่า ในสถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน สาขาคหกรรม หรือคหกรรมศาสตร์ เบิกได้ปีละไม่เกิน 13,217 บาท พาณิชยกรรม หรือบริหารธุรกิจ ปีละไม่เกิน 15,877 บาท ศิลปหัตถกรรม หรือศิลปกรรม ปีละไม่เกิน 15,967 บาท เกษตรกรรมหรือเกษตรศาสตร์ ปีละไม่เกิน 16,887 บาท ช่างอุตสาหกรรม หรืออุตสาหกรรม ปีละไม่เกิน 19,487 บาท ประมง ปีละไม่เกิน 16,887 บาท อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ปีละไม่เกิน 15,877 บาท อุตสาหกรรมสิ่งทอ ปีละไม่เกิน 19,487 บาท สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน สาขาคหกรรมหรือคหกรรมศาสตร์ ปีละไม่เกิน 1,148 บาท พาณิชยกรรม หรือบริหารธุรกิจ ปีละไม่เกิน 4,142 บาท ศิลปหัตถกรรม หรือศิลปกรรม ปีละไม่เกิน 2,923 บาท เกษตรกรรม หรือเกษตรศาสตร์ ปีละไม่เกิน 4,051 บาท ช่างอุตสาหกรรม หรืออุตสาหกรรม ปีละไม่เกิน 5,791 บาท ประมง ปีละไม่เกิน 4,051 บาท อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ปีละไม่เกิน 4,142 บาท อุตสาหกรรมสิ่งทอ ปีละไม่เกิน 5,791 บาท

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือ เทียบเท่า และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรือ เทียบเท่า ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินค่าธรรมเนียมการศึกษาในประเภท หรือสายวิชา ดังนี้ ช่างอุตสาหกรรม หรือ อุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทัศนศาสตร์ ปีละไม่เกิน 30,000 บาท พาณิชยกรรม หรือ บริหารธุรกิจ ศิลปหัตถกรรม หรือ ศิลปกรรม เกษตรกรรม หรือ เกษตรศาสตร์ คหกรรม หรือ คหกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ปีละไม่เกิน 25,000 บาท

หลักสูตรระดับปริญญาตรี ให้เบิกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่สถานศึกษาเรียกเก็บ โดยค่าใช้จ่ายที่จะเรียกเก็บต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่สถานศึกษาได้รับอนุมัติ ให้เรียกเก็บตามระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศของสถานศึกษานั้น ๆ ทั้งนี้ไม่รวมค่าปฐมนิเทศ ค่าลงทะเบียนล่าช้า ค่าประกันอุบัติเหตุ ค่าประกันของเสียหาย ค่าหอพัก ค่าอาหาร ค่าซักรีด ค่าเทียบโอน ค่ารักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษาและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริหารและดำเนิน งานของสถานศึกษา.

No comments: