Tuesday, May 26, 2009

เผยคะแนนสูงสุด-ต่ำสุดแอดมิชชั่นปี 52

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะทันตแพทยศาสตร์ สูงสุด 8,307.0500 ต่ำสุด 7,513.5500 คณะเภสัชศาสตร์ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ 7,938.7000-7,041.4500 สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม 7,796.0000-6,996.7500 คณะสัตวแพทยศาสตร์ 7,955.0500-6,636.4500 คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ 7,171.7500-6,453.0500 สาขาวิชากายภาพบำบัด 6,994.7000-6,231.7000 สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร 7,211.4500-6,388.7000 คณะวิทยาศาสตร์ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ 6,888.3500-6,053.6500 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ 8,284.2500-6,209.5000 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 7,049.3500-6,311.6000 สาขาวิชาเคมี 8,707.4000-6,399.6000 สาขาวิชาฟิสิกส์ 8,326.6500-5,986.8500 สาขาวิชาเคมีวิศว กรรม 8,270.1000-6,416.1500 สาขาวิชาธรณีวิทยา 7,726.9000-6,273.9000 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป/สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม 6,552.7500-5,986.3500 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล 6,403.1000-5,900.6500 สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ 7,154.2500-5,998.7500 สาขาวิชาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์ 6,412.1500-5,879.3500 สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร 7,121.2500-6,487.8500

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ 8,770.8000-6,765.3000 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 8,480.7000-7,349.0000 สาขาวิชาวิศวกรรมทรัพยากรธรณี 7,004.5000-6,467.2000 สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจ 6,886.2000-6,452.7000 สาขาวิชาวิศว กรรมโลหการและวัสดุ 6,870.0000-6,646.7000 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสถาปัตย กรรม 7,995.0000-6,927.5000 สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม 8,009.2500-6,633.7500 สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม 7,388.6250-6,603.7500 สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน 7,526.0000-6,817.7500 สาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง 6,835.0000-6,144.2500 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบัญชีบัณฑิต 8,221.0000-6,884.2500 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต 7,802.2500-6,519.7500 หลักสูตรสถิติศาสตรบัณฑิต 7,987.4000-6,313.0000 คณะเศรษฐศาสตร์ 8,196.5000-6,559.5000 คณะจิตวิทยา (รูปแบบที่ 1) 6,916.7500-6,154.4500 (รูปแบบที่ 2) 6,684.5000-6,251.0000 (รูปแบบที่ 3) 8,155.0000-7,161.5000

คณะครุศาสตร์ (รูปแบบที่ 1) 7,483.5000-6,272.5000 เลือกสอบวิชาภาษาไทย 2 (รูปแบบที่ 2) 7,730.5000-6,532.0000 เลือกสอบวิชาสังคมศึกษา 2 (รูปแบบที่ 2) 7,800.5000-6,543.5000 เลือกสอบวิชาคณิตศาสตร์ 2 (รูปแบบที่ 2) 6,931.0000-6,585.0000 เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส (รูปแบบที่ 2) 7,274.0000-6,586.0000 เลือกสอบวิชาภาษาเยอรมัน (รูปแบบที่ 2) 7,120.5000-6,853.5000 เลือกสอบวิชาภาษาจีน (รูปแบบที่ 2) 6,626.0000-6,541.0000 เลือกสอบวิชาภาษาญี่ปุ่น (รูปแบบที่ 2) 0.0000-0.0000 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (รูปแบบที่ 1) 6,270.2000-6,149.7000 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (รูปแบบที่ 2) 6,458.0000-6,078.5000 สาขาวิชาศิลปศึกษา เลือกสอบวิชาคณิตศาสตร์ 2 (รูปแบบที่ 1) 0.0000-0.0000 เลือกสอบวิชาวิทยาศาสตร์ 2 (รูปแบบที่ 1) 0.0000-0.0000 เลือกสอบวิชาภาษาไทย 2 (รูปแบบที่ 2) 7,039.0000-6,143.5000 เลือกสอบวิชาภาษาอังกฤษ 2 (รูปแบบที่ 2) 6,726.0000-6,263.0000 เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส (รูปแบบที่ 2) 0.0000-0.0000 เลือกสอบวิชาภาษาเยอรมัน (รูปแบบที่ 2) 0.0000-0.0000 เลือกสอบวิชาภาษาจีน (รูปแบบที่ 2) 0.0000-0.0000 เลือกสอบวิชาภาษาญี่ปุ่น (รูปแบบที่ 2) 0.0000-0.0000 สาขาวิชาธุรกิจศึกษา (รูปแบบที่ 1) 7,183.3000-6,458.8000 (รูปแบบที่ 2) 6,712.5000-6,257.5000

คณะอักษรศาสตร์ สาขาวิชาภูมิศาสตร์ เลือกสอบวิชาคณิตศาสตร์ 2 (รูปแบบที่ 1) 7,557.5000-6,653.7500 เลือกสอบวิชาวิทยาศาสตร์ 2 (รูปแบบที่ 1) 7,147.4500-6,518.8000 สาขาวิชาอักษรศาสตร์ เลือกสอบวิชาคณิตศาสตร์ 2 (รูปแบบที่ 1) 8,160.0000-7,198.7500 เลือกสอบวิชาวิทยาศาสตร์ 2 (รูปแบบที่ 1) 7,667.5000-7,234.9500 เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส (รูปแบบที่ 2) 8,563.7500-7,348.7500 เลือกสอบวิชาภาษาเยอรมัน (รูปแบบที่ 2) 8,582.5000-7,368.7500 เลือกสอบวิชาภาษาบาลี (รูปแบบที่ 2) 0.0000-0.0000 เลือกสอบวิชาภาษาอาหรับ (รูปแบบที่ 2) 0.0000-0.0000 เลือกสอบวิชาภาษาจีน (รูปแบบที่ 2) 8,841.2500-7,347.5000 เลือกสอบวิชาภาษาญี่ปุ่น (รูปแบบที่ 2) 8,381.2500-7,378.7500 สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น 8,585.0000-7,660.0000

คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการปกครอง เลือกสอบวิชาสังคมศึกษา 2 (รูปแบบที่ 1) 7,434.2500-6,983.5000 เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส (รูปแบบที่ 1)7,489.2500-7,016.0000 เลือกสอบวิชาภาษาเยอรมัน (รูปแบบที่ 1) 0.0000-0.0000 เลือกสอบวิชาภาษาจีน (รูปแบบที่ 1) 7,665.0000-7,113.2500 เลือกสอบวิชาภาษาญี่ปุ่น (รูปแบบที่ 1) 7,557.0000-6,994.5000 เลือกสอบวิชาสังคมศึกษา 2 (รูปแบบที่ 2) 7,573.5000-7,050.2500 เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส (รูปแบบที่ 2) 7,027.2500-7,027.2500 เลือกสอบวิชาภาษาเยอรมัน (รูปแบบที่ 2) 0.0000-0.0000 เลือกสอบวิชาภาษาจีน (รูปแบบที่ 2) 7,498.5000-7,364.0000 เลือกสอบวิชาภาษาญี่ปุ่น (รูปแบบที่ 2) 7,123.5000-7,123.5000 สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เลือกสอบวิชาสังคมศึกษา 2 (รูปแบบที่ 1) 7,196.0000-6,735.0000 เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส (รูปแบบที่ 1) 7,704.7500-6,886.0000 เลือกสอบวิชาภาษาเยอรมัน (รูปแบบที่ 1) 0.0000-0.0000 เลือกสอบวิชาภาษาจีน (รูปแบบที่ 1) 7,339.0000-6,769.5000 เลือกสอบวิชาภาษาญี่ปุ่น (รูปแบบที่ 1) 7,505.2500-6,828.2500 เลือกสอบวิชาสังคมศึกษา 2 (รูปแบบที่ 2) 6,985.0000-6,732.7500 เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส (รูปแบบที่ 2) 0.0000-0.0000 เลือกสอบวิชาภาษาเยอรมัน (รูปแบบที่ 2) 0.0000-0.0000 เลือกสอบวิชาภาษาจีน (รูปแบบที่ 2) 6,845.7500-6,845.7500 เลือกสอบวิชาภาษาญี่ปุ่น (รูปแบบที่ 2) 6,983.0000-6,983.0000 สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เลือกสอบวิชาภาษาอังกฤษ 2 (รูปแบบที่ 1) 7,815.3750-7,225.7500 เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส (รูปแบบที่ 1) 8,211.7500-7,340.5000 เลือกสอบวิชาภาษาเยอรมัน (รูปแบบที่ 1) 7,811.7500-7,735.6250 เลือกสอบวิชาภาษาจีน (รูปแบบที่ 1) 7,882.8750-7,531.0000 เลือกสอบวิชาภาษาญี่ปุ่น (รูปแบบที่ 1) 7,835.8750-7,294.0000 เลือกสอบวิชาภาษาอังกฤษ 2 (รูปแบบที่ 2) 7,635.7500-7,299.7500 เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส (รูปแบบที่ 2) 7,617.2500-7,617.2500 เลือกสอบวิชาภาษาเยอรมัน (รูปแบบที่ 2) 0.0000 0.0000 เลือกสอบวิชาภาษาจีน (รูปแบบที่ 2) 7,510.3750-7,510.3750 เลือกสอบวิชาภาษาญี่ปุ่น (รูปแบบที่ 2) 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ 6,612.2500-6,205.5000

คณะนิติศาสตร์ สอบวิชาคณิตศาสตร์ 2 8,273.0000-6,907.0000 สอบวิชาวิทยาศาสตร์ 2 8,354.5000-6,941.7500 สอบวิชาภาษาฝรั่งเศส 8,924.0000-6,879.5000 สอบวิชาภาษาเยอรมัน 7,983.0000-7,070.0000 สอบวิชาภาษาจีน 8,576.0000-7,274.0000 สอบวิชาภาษาญี่ปุ่น 8,603.2500-7,445.5000 คณะนิเทศศาสตร์ (รูปแบบที่ 1) 8,435.7500-7,471.5000 (รูปแบบที่ 2) 8,754.5000-7,438.2500 (รูปแบบที่ 3) 7,987.5000-7,506.2500 คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาทัศนศิลป์ 7,036.5000-6,011.5000 สาขาวิชานฤมิตศิลป์ 7,968.7500-6,777.5000 สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา (รูปแบบที่ 1) 6,755.7500-5,617.8000 (รูปแบบที่ 2) 7,007.5000-5,960.5000

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คณะเกษตร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เกษตร วิทยาเขตบางเขน 5,991.6500-5,051.8500 สาขาวิชาการจัดการศัตรูพืช วิทยาเขตบางเขน 6,041.2500-4,797.2500 สาขาวิชาเคมีการเกษตร วิทยาเขตบางเขน 6,059.1500-5,010.3500 สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน 5,878.3500-5,123.3500 สาขาวิชาเกษตรเขตร้อน นานาชาติ ภาคพิเศษ วิทยาเขตบางเขน 4,438.4000-4,438.4000 คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเงิน 6,501.2500-6,027.5000 สาขาวิชาการจัดการ 6,341.2500-5,767.0000 สาขาวิชาการจัดการการผลิต 6,484.0000-5,811.5000 สาขาวิชาการตลาด 6,512.0000-5,898.2500 สาขาวิชาบัญชี 6,828.2500-6,312.2500 สาขาวิชาบัญชี ภาคพิเศษ 6,284.2500-5,740.0000 คณะประมง สาขาวิชาประมง 6,754.0000-4,963.0000

คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา 6,551.2500-6,130.5000 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ 8,043.7500-7,035.0000 สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส 7,081.2500-6,141.2500 สาขาวิชาภาษาเยอรมัน 6,646.2500-5,470.0000 สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น 7,888.7500-7,120.0000 สาขาวิชาภาษาจีน เลือกสอบวิชาภาษาอังกฤษ 2 7,777.5000-7,043.7500 สาขาวิชาภาษาจีน เลือกสอบวิชาภาษาจีน 7,813.7500-7,001.2500 สาขาวิชาภาษาไทย 7,512.0000-5,910.5000 สาขาวิชาวรรณคดี กลุ่มวรรณคดีไทย 6,944.5000-6,436.7500 สาขาวิชาวรรณคดีกลุ่มวรรณคดีอังกฤษ 7,506.0000-6,896.5000 สาขาวิชาการเดินทางและท่องเที่ยว เลือกสอบวิชาคณิตศาสตร์ 2 6,596.2500-6,328.7500 สาขาวิชาการเดินทางและท่องเที่ยว เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส 6,547.5000-6,358.7500 สาขาวิชาการเดินทางและท่องเที่ยว เลือกสอบวิชาภาษาเยอรมัน 6,912.5000-6,912.5000 สาขาวิชาการเดินทางและท่องเที่ยว เลือกสอบวิชาภาษาอาหรับ 0.0000-0.0000 สาขาวิชาการเดินทางและท่องเที่ยว เลือกสอบวิชาภาษาจีน 6,676.2500-6,328.7500 สาขาวิชาการเดินทางและท่องเที่ยว เลือกสอบวิชาภาษาญี่ปุ่น 6,915.0000-6,345.0000 สาขาวิชาการโรงแรม เลือกสอบคณิตศาสตร์ 2 6,392.5000-6,195.0000 สาขาวิชาการโรงแรม เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส 6,728.7500-6,266.2500 สาขาวิชาการโรงแรม เลือกสอบวิชาภาษาเยอรมัน 6,478.7500-6,248.7500 สาขาวิชาการโรงแรม เลือกสอบวิชาภาษาอาหรับ 0.0000-0.0000 สาขาวิชาการโรงแรม เลือกสอบวิชาภาษาจีน 6,432.5000-6,197.5000 สาขาวิชาการโรงแรม เลือกสอบวิชาภาษาญี่ปุ่น 7,321.2500-6,226.2500 สาขาวิชาสื่อสารมวลชน (รูปแบบที่ 1) 7,340.0000-6,930.2500 สาขาวิชาสื่อสารมวลชน (รูปแบบที่ 2) 7,109.0000-6,918.7500 สาขาวิชาสื่อสารมวลชน (รูปแบบที่ 3) 7,084.7500-6,930.0000 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (ภาคพิเศษ) 7,025.0000-6,183.7500

คณะวนศาสตร์ สาขาวิชาวนศาสตร์ 6,435.3500-5,236.5000 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางไม้ 5,483.6500-4,929.4000 สาขาวิชาเทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ-6,119.1000-5,401.8500 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ 6,151.5000-5,600.7500 สาขาวิชาเคมี 6,648.7500-5,887.6500 สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม 6,614.3500-5,815.5000 สาขาวิชาชีววิทยา 6,395.6500-5,747.3500 สาขาวิชาสัตววิทยา 5,975.4000-5,365.1000 สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ 5,938.9000-5,123.6000 สาขาวิชาพันธุศาสตร์ 6,329.3500-5,419.0000 สาขาวิชาจุลชีววิทยา 6,364.0000-5,591.4000 สาขาวิชาชีวเคมี 6,404.6000-5,854.4000 สาขาวิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป 5,867.6500-5,342.5000 สาขาวิชาฟิสิกส์ 5,946.3500-5,249.3500 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 6,726.8500-5,950.6500 สาขาวิชาสถิติ 5,979.7500-5,337.5000 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม 6,037.1500-5,234.4000 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ 6,470.8500-5,350.1000 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ภาคพิเศษ 5,937.3500-5,204.1500 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาเขตบางเขน 7,639.2000-6,740.5000 สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา วิทยาเขตบางเขน 6,737.3000-5,907.0000 สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิทยาเขตบางเขน 6,576.2000-5,831.0000 สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ทรัพยากรน้ำ วิทยาเขตบางเขน 5,884.8000-5,312.3000 กลุ่มวิทยาเขตบางเขน (สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ) 7,744.3000-6,216.5000 สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ 6,503.7000-5,723.5000 กลุ่มวิทยาเขตบางเขน (โครงการฯ ภาคพิเศษ) สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ วิศวกรรมไฟฟ้า ฯลฯ 6,212.7000-4,997.8000 สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (โครงการฯ ภาคพิเศษ) 6,801.3000-5,539.3000 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (โครงการภาคพิเศษ) 5,879.7000-4,984.0000 กลุ่มวิทยาเขตบางเขน (หลักสูตรนานาชาติ) สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล 6,178.0000-4,420.5000 สาขาวิชาวิศว กรรมซอฟต์แวร์และความรู้ วิทยาเขตบางเขน (หลักสูตรนานาชาติ) 6,576.5000-5,024.2000 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต วิทยาเขตบางเขน (หลักสูตรนานาชาติ) 5,558.8000-4,436.3000 สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมการบินและอวกาศ) และสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ฯลฯ 6,322.2000-5,269.2000 สาขาวิชาการจัดการการบิน ภาคพิเศษ วิทยาเขตบางเขน 6,166.6500-5,589.1000 สาขาวิชาเทคโนโลยีการบิน ภาคพิเศษ วิทยาเขตบางเขน 6,511.1000-5,457.5000 สถาบันสมทบวิทยาลัยการชลประทาน สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาชลประทาน 5,752.3000-4,816.5000

คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ (หลักสูตร 5 ปี) 6,728.0000-6,055.5000 สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ (หลักสูตร 5 ปี) 6,455.9000-5,992.0000 สาขา วิชาคหกรรมศาสตร์ศึกษา (หลักสูตร 5 ปี) 5,655.2000-5,210.8000 สาขาวิชาธุรกิจและคอมพิวเตอร์ศึกษา (หลักสูตร 5 ปี) 6,153.5000-5,268.0000 สาขาวิชาสุขศึกษา (หลักสูตร 5 ปี) 5,571.3000-4,946.0000 สาขาวิชาพลศึกษา (หลักสูตร 5 ปี) 5,623.6000-5,016.1000 คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ 6,507.5000-6,100.2500 สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร 6,036.0000-5,388.5000 สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ 5,957.7500-5,386.7500 สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร 6,089.2500-5,317.0000 คณะสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (ภาคพิเศษ) 6,065.2500-5,410.0000 สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร (ภาคพิเศษ) 5,702.0000-5,101.2500 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ 6,795.3750-6,031.7500 สาขาวิชา ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ 6,503.8750-5,915.7500 คณะสัตวแพทยศาสตร์ 7,252.2000-6,563.7000 คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ 6,445.2000-5,643.3000

คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา (สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม) 5,815.4500-5,381.4500 สาขาวิชาจิตวิทยา (สาขาจิตวิทยาคลีนิค) 6,979.5000-5,664.5500 สาขาวิชาจิตวิทยา (สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ) 5,707.5500-4,947.5500สาขาวิชาจิตวิทยา (สาขาจิตวิทยาชุมชน) 5,657.4500-5,180.4500 สาขาวิชาภูมิศาสตร์ 5,560.0500-5,007.9500 สาขาวิชาประวัติศาสตร์ เลือกสอบวิชาคณิตศาสตร์ 2 6,167.5000-5,431.2500 สาขาวิชาประวัติศาสตร์ เลือกสอบวิชาวิทยาศาสตร์ 2 6,377.4500-5,436.3000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (การปกครอง) เลือกสอบวิชาสังคมศึกษา 2 6,858.0000-6,593.7500 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (การปกครอง) เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (การปกครอง) เลือกสอบวิชาภาษาเยอรมัน 6,781.2500-6,781.2500 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (การปกครอง) เลือกสอบวิชาภาษาบาลี 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (การปกครอง) เลือกสอบวิชาภาษาอาหรับ 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (การปกครอง) เลือกสอบวิชาภาษาจีน 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (การปกครอง) เลือกสอบวิชาภาษาญี่ปุ่น 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (บริหารรัฐกิจ) เลือกสอบวิชาสังคมศึกษา 2 6,929.5000-6,436.2500 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (บริหารรัฐกิจ) เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (บริหารรัฐกิจ) เลือกสอบวิชาภาษาเยอรมัน 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (บริหารรัฐกิจ) เลือกสอบวิชาภาษาบาลี 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (บริหารรัฐกิจ) เลือกสอบวิชาภาษาอาหรับ 6,808.7500-6,808.7500 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (บริหารรัฐกิจ) เลือกสอบวิชาภาษาจีน 6,820.5000-6,536.2500 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสน ศาสตร์ (บริหารรัฐกิจ) เลือกสอบวิชาภาษาญี่ปุ่น 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ เลือกสอบวิชาสังคมศึกษา 2 6,733.0000-6,418.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ เลือกสอบวิชาภาษาเยอรมัน 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ เลือกสอบวิชาภาษาบาลี 6,584.2500-6,584.2500 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ เลือกสอบวิชาภาษาอาหรับ 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ เลือกสอบวิชาภาษาจีน 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ เลือกสอบวิชาภาษาญี่ปุ่น 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ เลือกสอบวิชาภาษาอังกฤษ 2 6,995.0000-6,498.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส 6,501.1250-6,501.1250 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ เลือกสอบวิชาภาษาเยอรมัน 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ เลือกสอบวิชาภาษาบาลี 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ เลือกสอบวิชาภาษาอาหรับ 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ เลือกสอบวิชาภาษาจีน 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ เลือกสอบวิชาภาษาญี่ปุ่น 0.0000-0.0000 สาขาวิชานิติศาสตร์ เลือกสอบวิชาคณิตศาสตร์ 2 6,848.7500-6,602.2500 สาขาวิชานิติศาสตร์ เลือกสอบวิชาวิทยาศาสตร์ 2 6,851.7000-6,588.0000 สาขาวิชานิติศาสตร์ เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส 0.0000-0.0000 สาขาวิชานิติศาสตร์ เลือกสอบวิชาภาษาเยอรมัน 0.0000-0.0000 สาขาวิชานิติศาสตร์ เลือกสอบวิชาภาษาบาลี 6,732.2500-6,732.2500 สาขาวิชานิติศาสตร์ เลือกสอบวิชาภาษาอาหรับ 0.0000-0.0000 สาขาวิชานิติศาสตร์ เลือกสอบวิชาภาษาจีน 6,948.0000-6,615.5000 สาขาวิชานิติศาสตร์ เลือกสอบวิชาภาษาญี่ปุ่น 7,017.7500-6,596.5000 สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา 6,892.0000-6,358.5000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (การปกครอง) ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาสังคมศึกษา 2 6,399.7500-6,115.2500 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (การปกครอง) ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (การปกครอง) ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาเยอรมัน 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (การปกครอง) ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาบาลี 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (การปกครอง) ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาอาหรับ 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (การปกครอง) ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาจีน 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (การปกครอง) ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาญี่ปุ่น 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาสังคมศึกษา 2 6,403.0000-6,071.7500สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาเยอรมัน 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (บริหารรัฐกิจ) ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาบาลี 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (บริหารรัฐกิจ) ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาอาหรับ 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และ รัฐประศาสนศาสตร์ (บริหารรัฐกิจ) ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาจีน 6,424.0000-6,286.5000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาญี่ปุ่น 6,341.0000-6,341.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ ภาคพิเศษเลือกสอบวิชาสังคมศึกษา 2 6,599.0000-6,100.5000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ ภาคพิเศษเลือกสอบวิชาภาษาเยอรมัน 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาบาลี 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาอาหรับ 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาจีน 6,142.0000-6,142.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาญี่ปุ่น 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาอังกฤษ 2 6,634.3750-6,058.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส 6,113.0000-6,113.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาเยอรมัน 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาบาลี 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาอาหรับ 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาจีน 0.0000-0.0000 สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ฯลฯ ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาญี่ปุ่น 0.0000-0.0000 สาขาวิชานิติศาสตร์ ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาคณิตศาสตร์ 2 6,573.7500-6,231.0000 สาขาวิชานิติศาสตร์ ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาวิทยาศาสตร์ 26,540.5500-6,229.3000 สาขาวิชานิติศาสตร์ ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส 6,576.7500-6,227.7500 สาขาวิชานิติศาสตร์ ภาคพิเศษเลือกสอบวิชาภาษาเยอรมัน 0.0000-0.0000 สาขาวิชานิติศาสตร์ ภาคพิเศษเลือกสอบวิชาภาษาบาลี 0.0000-0.0000 สาขาวิชานิติศาสตร์ ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาอาหรับ 0.0000-0.0000 สาขาวิชานิติศาสตร์ ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาจีน 6,485.5000-6,253.2500 สาขาวิชานิติศาสตร์ ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาญี่ปุ่น 6,630.7500-6,444.2500 สาขาวิชาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาอังกฤษ 26,549.7500-5,573.6250 สาขาวิชาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส 5,797.8750-5,797.8750 สาขาวิชาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาเยอรมัน 0.0000-0.0000 สาขาวิชา เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาบาลี 0.0000-0.0000 สาขาวิชาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาอาหรับ 0.0000-0.0000 สาขาวิชาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาจีน 6,034.0000-5,588.5000 สาขาวิชาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ภาคพิเศษ เลือกสอบวิชาภาษาญี่ปุ่น 0.0000-0.0000

คณะอุตสาหกรรมเกษตร (สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ฯลฯ) 7,454.0000-5,805.5000 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ 5,999.1500-5,226.3500 สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร 6,578.7500-5,814.5000 คณะเกษตรกำแพงแสน สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (กีฏวิทยา โรคพืช ปฐพีวิทยา ฯลฯ) 5,597.0000-4,525.7500 สาขาวิชาเครื่องจักรกลและเมคคาทรอนิกส์เกษตร วิทยาเขตกำแพงแสน 4,844.4000-4,387.6500 สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร วิทยาเขตกำแพงแสน 5,781.8500-4,772.3500 สาขาวิชาสัตวศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 6,481.6500-5,035.6500 คณะวิศวกรรมศาสตร์กำแพงแสน สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร วิทยาเขตกำแพงแสน 5,397.2000-4,699.5000 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล วิทยาเขตกำแพงแสน 5,603.5000-4,918.2000 สาขาวิชาวิศวกรรมการอาหาร วิทยาเขตกำแพงแสน 5,563.7000-4,877.2000 สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาชลประทาน วิทยาเขตกำแพงแสน 5,347.0000-4,966.8000 สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา วิทยาเขตกำแพงแสน 5,294.8000-4,790.2000 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตกำแพงแสน 5,552.2000-4,699.5000 สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตกำแพงแสน 4,878.5000-4,414.0000 สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตกำแพงแสน 4,406.8000-3,162.7000 คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ สาขาวิชาเกษตรและสิ่งแวดล้อมศึกษา ฯลฯ 4,953.5000-4,478.9000 การจัดการเรียนรู้ แขนงวิชาเกษตรและสิ่งแวดล้อมศึกษา ฯลฯ 5,393.7000-5,043.2000 คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์การจัดการเรียนรู้ แขนงวิชาคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ศึกษา ฯลฯ 6,668.0000-5,610.5000 (หลักสูตร 5 ปี) แขนงวิชาพลศึกษาและสุขศึกษา ฯลฯ 5,382.5000-4,756.0000 (หลักสูตร 5 ปี) แขนงวิชาภาษาอังกฤษศึกษา ฯลฯ 6,678.0000-5,937.5000 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมี วิทยาเขตกำแพงแสน 5,707.6500-4,953.0000 สาขาวิชาฟิสิกส์ วิทยาเขตกำแพงแสน 5,050.2500-4,628.3500 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาเขตกำแพงแสน 5,900.0000-4,740.0000 สาขาวิชาจุลชีววิทยา วิทยาเขตกำแพงแสน 5,274.9000-4,712.8500 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 5,732.1500-4,818.6500 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ วิทยาเขตกำแพงแสน 6,866.2500-5,780.0000 สาขาวิชาการจัดการ วิทยาเขตกำแพงแสน 5,486.2500-4,940.5000 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตกำแพงแสน 5,301.0000-4,484.4000 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตกำแพงแสน 6,646.2500-5,392.5000 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตกำแพงแสน 4,942.0000-4,475.3500 คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา วิทยาเขตกำแพงแสน 5,119.8000-4,672.0000

คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการ วิทยาเขตศรีราชา 5,550.7500-4,873.7500 สาขาวิชาการตลาด วิทยาเขตศรีราชา 5,722.0000-4,913.5000 สาขาวิชาการเงิน วิทยาเขตศรีราชา 5,636.5000-4,986.2500 สาขาวิชาการโรงแรม เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส วิทยาเขตศรีราชา 6,531.2500-5,385.0000 สาขาวิชาการโรงแรม เลือกสอบวิชาภาษาจีน วิทยาเขตศรีราชา 7,391.2500-5,381.2500 สาขาวิชาการโรงแรม เลือกสอบวิชาภาษาญี่ปุ่น วิทยาเขตศรีราชา 5,912.5000-5,386.2500 สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ วิทยาเขตศรีราชา 5,994.0000-5,062.0000 สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและท่องเที่ยววิทยาเขตศรีราชา 6,712.0000-5,631.0000 สาขาวิชาการบัญชีบริหาร วิทยาเขตศรีราชา 6,166.0000-5,248.5000 สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ วิทยาเขตศรีราชา 6,369.5000-5,131.0000 สาขาวิชาการจัดการ (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตศรีราชา 5,178.0000-4,594.0000 สาขาวิชาการตลาด (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตศรีราชา 5,404.0000-4,638.0000 สาขาวิชาการเงิน (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตศรีราชา 5,100.2500-4,667.5000 สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตศรีราชา 5,012.2500-4,575.2500 สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตศรีราชา 5,160.0000-4,551.7500 สาขาวิชาการบัญชีบริหาร (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตศรีราชา 5,272.7500-4,799.5000 สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตศรีราชา 5,476.7500-4,798.2500

คณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาเขตศรีราชา 5,356.6500-4,314.1000 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาเขตศรีราชา 5,419.6500-4,601.1000 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาเขตศรีราชา 5,351.3500-4,541.7500 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตศรีราชา 4,967.7500-4,041.4000 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตศรีราชา 4,950.4000-4,044.3500

คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า วิทยาเขตศรีราชา 5,447.5000-4,524.8000 สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ วิทยาเขตศรีราชา 5,506.2000-4,198.0000 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาเขตศรีราชา 5,652.3000-4,608.8000 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล วิทยาเขตศรีราชา 5,151.0000-4,448.0000 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการผลิต (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตศรีราชา 4,694.8000-4,192.5000 วิทยาลัยพาณิชยนาวีนานาชาติ สาขาวิชาวิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ วิทยาเขตศรีราชา 5,943.5000-4,463.8000 คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการผลิต วิทยาเขตฯ สกลนคร 5,042.5000-3,144.3000 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ วิทยาเขตฯ สกลนคร 5,082.7000-3,226.0000 สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม วิทยาเขตฯ สกลนคร 4,617.0000-3,382.8000 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาเขตฯ สกลนคร 4,657.6500-3,305.5000 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ ภาคพิเศษ วิทยาเขตฯ สกลนคร 0.0000-0.0000 สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม ภาคพิเศษ วิทยาเขตฯ สกลนคร 3,911.8000-3,391.2000 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาคพิเศษ วิทยาเขตฯ สกลนคร 4,325.4000-3,169.9000

คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร วิทยาเขตฯ สกลนคร 5,329.4000-4,280.0000 สาขาวิชาทรัพยากรเกษตร วิทยาเขตฯ สกลนคร 4,622.1000-2,934.7500 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการ วิทยาเขตฯ สกลนคร 4,984.7500-3,816.7500 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ สาขา วิชาบัญชี วิทยาเขตฯ สกลนคร 6,109.5000-4,199.5000 สาขาวิชาการตลาด วิทยาเขตฯ สกลนคร 4,666.0000-3,393.7500 สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว วิทยาเขตฯ สกลนคร 6,091.0000-4,410.7500 โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรี ประเภทวิชาการจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว ภาคพิเศษ 5,694.0000-4,705.7500

สทศ.ปรับข้อสอบ GAT-PAT ดัดหลัง นร.ทิ้งดิ่ง

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 21 พ.ค. ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมช.ศึกษาธิการ พร้อมด้วย ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และ ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ได้ร่วมกันแถลงข่าว สรุปผลการจัดสอบการทดสอบความถนัดทั่วไป หรือ GAT และการทดสอบความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ หรือ PAT ครั้งที่ 1 สอบเดือนมีนาคม โดยนายชัยวุฒิ กล่าวว่า จากการประเมินผลภาพรวมการดำเนินการจัดทดสอบ GAT และ PAT ที่ผ่านมาถือว่าประสบความสำเร็จพอสมควร ส่วนปัญหาที่พบและต้องไปปรับปรุงแก้ไขในการสอบครั้งที่ 2 เดือนกรกฎาคม เช่น เดิมการสมัครจะให้สมัครครั้งเดียวและต้องเลือกครั้งที่จะสอบทันที ซึ่งกำหนดให้สอบได้ 3 ครั้งนั้น ทำให้นักเรียนต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก เพราะบางคนสมัครเผื่อไว้ เรื่องนี้ ทปอ.ได้ตกลงแล้วว่าในการสอบครั้งต่อไปจะให้นักเรียนสมัครสอบครั้งต่อครั้ง โดย ทปอ. จะทำความเข้าใจให้กับนักเรียนว่า ไม่จำเป็นต้องสอบทั้ง 3 ครั้ง แต่ให้เลือกสอบเฉพาะในช่วงนักเรียนพร้อมจริง ๆ และขอย้ำว่าการเปิดให้สอบ 3 ครั้ง เพื่อเป็นการเปิดโอกาสและอำนวยความสะดวกให้นักเรียน ไม่ใช่สทศ.ต้องการเงินค่าสมัครอย่างที่หลายคนคิด เพราะเงินที่ได้นำมาเสียค่าดำเนินการจัดสอบก็หมดแล้ว ส่วนเรื่องของสนามสอบที่นักเรียนบ่นว่าไม่สะดวก เนื่องจากสทศ.เป็นผู้จัดให้นั้น ในการสอบครั้งที่ 2 สทศ.ได้เปิดให้นักเรียนเลือกสนามเองได้

นายชัยวุฒิ กล่าวต่อไปว่า ส่วนเรื่องผลการสอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 1 เดือนมีนาคม ที่พบว่านักเรียนส่วนใหญ่จะทำข้อสอบทุกวิชาได้ต่ำกว่าครึ่งของคะแนนเต็ม นั้น ต้องเข้าใจก่อนว่า เนื้อหาของข้อสอบ GAT และ PAT ที่ออกจะครอบคลุมหลักสูตรถึง ม.6 และไม่เกินหลักสูตร ขณะที่นักเรียนที่เข้าสอบ 90% เป็นนักเรียน ม.5 ซึ่งยังเรียนไม่จบหลักสูตร ทำให้ผลสอบออกมาเช่นนั้น แต่ถ้าดูผลสอบของนักเรียน ม.6 ที่เข้าสอบ 10% จะพบว่าทำคะแนนได้สูงกว่านักเรียน ม.5 มากพอสมควร

ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวว่า จากผลการสอบ GAT ครั้งที่ 1 พบว่า มีนักเรียนที่ทำคะแนนสอบได้เต็มจำนวน 1,276 คน แยกเป็น ม.5 จำนวน 1,050 คน และ ม.6 จำนวน 226 คน โดยเป็นนักเรียนจาก รร.เตรียมอุดมศึกษา รร.นครสวรรค์ และ รร.มหิดลวิทยานุสรณ์ แต่ก็ต้องถือว่านักเรียนที่สอบได้คะแนนเต็มเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบ กับจำนวนผู้สมัครที่มีถึง 2 แสนกว่าคน และการที่เด็ก ม.5 ทำคะแนนได้ต่ำกว่าครึ่ง ก็แสดงให้เห็นว่าการกวดวิชาไม่ได้ทำให้คะแนนดีขึ้นเลย นอกจากนี้ สทศ.ได้ประเมินข้อสอบแล้ว พบว่า มีนักเรียนทิ้งดิ่งค่อนข้างมาก คือ เลือกคำตอบเดียวกันทุกข้อ เพราะมีโอกาสที่จะตอบถูก ดังนั้น สทศ.จะทำการปรับรูปแบบของข้อสอบให้มีตัวเลือกที่ถูกต้องมากกว่า 1 คำตอบ เพื่อให้นักเรียนได้คิดและวิเคราะห์ข้อสอบจริง ๆ ทั้งนี้ สทศ.จะจัดส่งใบรายงานผลการทดสอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 1 ให้นักเรียนภายในเดือนมิถุนายนนี้

ด้าน ศ.นพ.ภิรมย์ กล่าวว่า ทาง ทปอ.ยืนยันว่าในการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลาง การรับนิสิตนักศึกษา หรือ แอดมิชชั่นปี 2553 จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ แต่ถ้าจะมีการปรับเปลี่ยนก็ต้องเป็นปี 2554 โดยการปรับนั้นจะเป็นเฉพาะสัดส่วนและค่าน้ำหนักขององค์ประกอบในการคัดเลือก เท่านั้น ที่สำคัญการจะปรับเปลี่ยนจะต้องยึดหลักว่า ต้องประกาศให้นักเรียนทราบล่วงหน้า 3 ปี เพราะฉะนั้นถ้าจะมีการปรับเปลี่ยนอะไรในปี 2554 จะต้องได้ข้อสรุปภายในวันที่ 22 ส.ค.นี้ เพื่อประกาศให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการสอบรับทราบและเตรียมตัวต่อไป.

สพฐ.สั่งขยายผลเรียนฟรีจริงๆเขตละ 1 โรง

คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวตอนหนึ่งในการประชุมมอบนโยบายแก่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษา (สพท.) 185 ทั่วประเทศว่า ถึงแม้การดำเนินนโยบายเรียนฟรี 15 ปีจะเป็นไปด้วยดี แต่ผอ.สพท.ยังคงต้องช่วยกันดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายที่โรงเรียนเรียกเก็บจาก นักเรียนและผู้ปกครองต่อไป เนื่องจากมีผู้ร้องเรียนมาที่สายด่วนการศึกษา 1579 ค่อนข้างมาก และจากการตรวจสอบพบว่ามีกว่า 70 โรงที่ถูกร้องเรียน จึงอยากให้ทุก สพท.ลงไปตรวจสอบด้วย โดยเฉพาะโรงเรียนที่เรียกเก็บเงินเพิ่มแบบไม่มีเหตุมีผล แม้ สพท.จะอนุมัติให้จัดเก็บ ก็ต้องมีการทบทวน เพราะหาก สพฐ.ไม่เอาจริงในเรื่องนี้ ปีต่อไป โรงเรียนอาจมีการเรียกเก็บเงินเพิ่มมากขึ้นแบบมโหฬารก็ได้

“ขณะนี้ สพฐ.ได้นำร่องโรงเรียนเรียนฟรีแล้ว 4 โรงในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ รร.ทวีวัฒนา รร.จันทร์หุ่นบำเพ็ญ รร.พุทธจักรวิทยา และ รร.สวนอนันต์ โดยจัดงบฯ ให้โรงละ 2 ล้านบาท เพื่อนำไปสนับสนุนด้านคอมพิวเตอร์ ค่าสาธารณูปโภค ค่าจ้างครู ซึ่งโรงเรียนเหล่านี้จะไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากนักเรียนเลย จึงอยากให้ สพท.ทั่วประเทศขยายผลนำร่องเขตพื้นที่ละ 1 โรงในปีการศึกษา 2553 เพื่อให้มีการเรียนฟรีอย่างแท้จริง โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดใหญ่ที่ยังมีการเก็บค่าใช้จ่ายอยู่ซึ่งมีประมาณ 300-400 โรง” เลขาธิการกพฐ. กล่าว

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่า สำหรับนโยบายการรับนักเรียนนั้น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ มีความเป็นห่วงเรื่องการเลื่อนชั้นของนักเรียน ม.4 เนื่องจากปีนี้มีปัญหามากกว่าทุกปี เพราะได้มีการกำหนดในระเบียบให้โรงเรียนพิจารณาตามศักยภาพ ทำให้หลายโรงเรียนกำหนดเกรดเฉลี่ยที่สูง โดยบางโรงกำหนดไว้ที่ 2.5 ขณะที่บางโรงกำหนดสูงถึง 3.5 เพราะโรงเรียนอาจจะกลัวว่าหากเก็บเด็กอ่อนไว้จะมีผลต่อการประเมินโรงเรียน หรือการให้เด็กเลื่อนชั้นอัตโนมัติอาจทำให้เด็กที่ไม่สนใจเรียนสร้างปัญหา ให้โรงเรียนก็ได้ เป็นต้น ดังนั้น สพฐ. จะมีการทบทวนนโยบายการรับนักเรียนในปีการศึกษา 2553 โดยจะตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณา แต่คงไม่กำหนดหลักเกณฑ์ที่เคร่งครัดจนเกินไป.

ศธ.เร่งทำร่างพ.ร.บ.เงินเดือนห่วงขรก.ครู5หมื่นคนเสียประโยชน์

"จุรินทร์" สั่ง ศธ.เร่งจัดทำร่าง พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ห่วงข้าราชการครูสังกัด สพฐ.ไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นคนเสียประโยชน์จากการปรับโครงสร้างเงินเดือนตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใหม่

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ได้ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เร่งยกร่าง พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีผลใช้บังคับโดยเร็ว ทั้งนี้ การยกร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เป็นผลจากการประกาศใช้ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ซึ่งกำหนดให้มีบัญชีเงินเดือนข้าราชการพลเรือนแบบใหม่กำหนดอัตราเงินเดือนของข้าราชการ 4 ประเภทเป็นขั้นต่ำขั้นสูง โดยแยกเป็น 4 บัญชีตามประเภทของข้าราชการต่างจากบัญชีเงินเดือนเดิมที่มีบัญชีเดียวและกำหนดอัตราเงินเดือนไว้เป็นขั้นบันได การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบัญชีเงินเดือนใหม่ดังกล่าว ทำให้ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้รับเงินเดือนเต็มขั้นจะได้เลื่อนเงินเดือนในวันที่ 1 เมษายน 2552 เนื่องจากบัญชีเงินเดือนใหม่ได้ขยายเพดานเงินเดือนสูงขึ้นจากบัญชีเงินเดือนเดิม

นายจุรินทร์กล่าวอีกว่า สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กำลังจัดทำหลักเกณฑ์การเลื่อนเงินเดือนระบบใหม่ (เลื่อนเป็นร้อยละของค่ากลาง) จึงให้ส่วนราชการเลื่อนเงินเดือนตามระบบเดิมไปก่อน (เลื่อนเป็นขั้น) โดยได้กำหนดตารางเลื่อนขั้นเงินเดือนชั่วคราวเพื่อใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2552 และวันที่ 1 ตุลาคม 2552 สำหรับการปรับโครงสร้างบัญชีเงินเดือนของข้าราชการครูให้ใช้บัญชีเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนโดยอนุโลม ทั้งนี้ ยกเว้นบุคลากรทางการศึกษาอื่น

รมว.ศึกษาธิการกล่าวต่อไปว่า ได้ให้ ก.ค.ศ.เร่งจัดทำร่าง พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยเทียบเคียงลักษณะงานของข้าราชการครูกับตำแหน่งประเภทวิชาการของข้าราชการ พลเรือน ซึ่งจะมีการขยายเงินเดือนสูง ขึ้นเช่นกัน หากพ.ร.บ.ดังกล่าวไม่มีผลย้อนหลังไปก่อนวันที่ 1 เมษายน 2552 จะทำให้ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นคนที่ได้รับเงินเดือนเต็มขั้น เสียประโยชน์จากการปรับโครงสร้างเงินเดือนคือ ไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนเหมือนข้าราชการพลเรือนสามัญและบุคลากรทางการศึกษาอื่น แต่จะได้รับเป็นค่าตอบแทนพิเศษ 2% หรือ 4% แทนเลื่อนขั้นเงินเดือน จึงขอให้ ก.ค.ศ.เร่งดำเนินการโดยด่วน เพื่อไม่ให้ข้าราชการครูเสียผลประโยชน์มาก

“บัตรนักเรียนอิเล็กทรอนิกส์”กันนักเรียนโดดเรียน

โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ทุ่มงบ 1 ล้านบาท จัดทำบัตรประจำตัวเด็กนักเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ลงเวลาเข้า-ออก แจกเด็ก 3,403 คน ได้ใช้ฟรี พร้อมส่งเอสเอ็มเอสเข้ามือถือผู้ปกครองอัตโนมัติหากเด็กโดดเรียน ผอ.เผย อยากให้เด็กเป็นคนรับผิดชอบ ตรงต่อเวลาและผู้ปกครองสามารถมีส่วนร่วมได้

ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ถ.แสงชูโต ต.บ้านเหนือ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี มั่นใจได้มากขึ้นว่า ลูกหลานของตัวเอกออกจากบ้านไปแล้วต้องถึงโรงเรียนอย่างแน่นอน เมื่อทางโรงเรียนจัดทำบัตรประจำตัวนักเรียนอิเล็กทรอนิดส์ใช้สำหรับลงเวลาเข้า-ออกโรงเรียน

เรื่องนี้เปิดเผยจาก นายจักรกฤษ แย้มสรวล ผู้อำนวยการโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ว่า โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์จัดเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 มีนักเรียนทั้งหมด 3,403 คน ซึ่งตลอดระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา มีการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษามาโดยตลอด มีการจัดสู่ระบบห้องเรียนไฮเทค 69 ห้อง และมีห้องเรียนพิเศษต่างๆ อีก 101 ห้อง ทุกห้องติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ซึ่งถือได้ว่าเป็นโรงเรียนแห่งเดียวในประเทศไทยที่บริหารจัดการในลักษณะนี้

นายจักรกฤษกล่าวว่า ในปีการศึกษา 2552 นี้ ทางโรงเรียนใช้งบประมาณของโรงเรียนเอง 1 ล้านบาท เพื่อจัดทำบัตรประจำตัวนักเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะมีข้อมูลของนักเรียนแต่ละคน เพื่อใช้ลงเวลาเข้า-ออกของนักเรียน ถือได้ว่าเป็นโรงเรียนเดียวและโรงเรียนแห่งแรกของ จ.กาญจนบุรี ที่นำระบบนี้มาใช้ เพื่อป้องกันนักเรียนขาดเรียน หรือโดดเรียน โดยนักเรียนทุกคนก่อนจะเข้ามาในโรงเรียนและก่อนที่จะออกจากโรงเรียน จะต้องใช้บัตรนักเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทางโรงเรียนแจกให้ฟรี มาวางทาบกับเครื่องสแกน จะทำให้ทราบได้ทันทีว่าเด็กนักเรียนแต่ละคนเข้า-ออกโรงเรียนเวลาไหน โดยโรงเรียนได้ ติดตั้งเครื่องสแกนบัตรไว้ที่ป้อมประตูทางเข้า-ออก ทั้ง 3 ประตู แต่ละประตูจะมีอาจารย์ประจำอยู่จุดละ 3 คน เพื่อป้องกันเด็กใช้บัตรแทนกัน

นายจักรกฤษกล่าวอีกว่า โรงเรียนกำหนดเวลาเข้าโรงเรียนไว้ที่เวลา 06.00-08.20 น. ถ้าเด็กนักเรียนคนไหนไม่นำบัตรไปทาบที่เครื่องสแกนบัตรหรือทาบหลังเวลาที่กำหนดไว้ ศูนย์ควบคุมคอมพิวเตอร์ ที่เก็บฐานข้อมูลของนักเรียนทุกคน จะส่งข้อความ หรือเอสเอ็มเอส แจ้งไปยังโทรศัพท์มือถือของผู้ปกครองเด็กคนนั้นโดยอัตโนมัติทันที และกำหนดเวลาทาบบัตรหลังเลิกเรียนในเวลา 15.45-17.30 น. เพื่อนำข้อมูลในตอนเช้ากับตอนเย็นมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งจะรู้ได้ทันทีว่าเด็กนักเรียนคนไหนอยู่ห้องอะไร ที่เข้ามาแล้วแอบหนีออกไประหว่างเวลาเรียน ส่วนผู้ปกครองของนักเรียนคนใดอยากรู้ข้อมูลของบุตรหลาน ก็สามารถตรวจสอบได้ โดยเข้าไปที่ www.kn.ac.th แล้วคลิกไปที่ “บัตรนักเรียนอิเล็กทรอนิกส์” ผู้ปกครองก็จะทราบข้อมูลของบุตรหลานทั้งหมด

"สิ่งที่ทางโรงเรียนคาดว่าจะได้รับจากการทำบัตรประจำตัวนักเรียนอิเล็กทรอนิกส์ คือ ทำให้นักเรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนสูงขึ้น เป็นผู้ตรงต่อเวลา ทำให้ผลการเรียนของนักเรียนดี ขึ้น นำมาซึ่งความเป็นคนที่มีศักยภาพในการอยู่ร่วมกับสังคมได้เป็นอย่างดี และผู้ปกครองสามารถมีส่วนร่วมในการดูแลบุตรหลานได้มากขึ้น" นายจักรกฤษ กล่าว

นางอวยพร จงสกุล อายุ 49 ปี หัวหน้าวิสัญญีพยาบาลวิชาชีพ รพ.พหลพลพยุหเสนา ผู้ปกครองของ น.ส.ชิดชนก ประกอบ นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ กล่าวว่า เป็นมาตรการที่ดี เป็นการป้องกันเด็กนักเรียนหนีเรียนโดยที่ผู้ปกครองไม่ทราบ และทำให้เด็กไม่สามารถทำพฤติกรรมแบบนั้นได้อีก เพราะผู้ปกครองสามารถรับทราบการขาดเรียนได้ทันที ข้อดีอีกอย่าง คือ หากระหว่างเดินทางไปโรงเรียนเกิดเหตุร้ายกับเด็กจนไม่สามารถไปถึงโรงเรียน ก็จะมีการแจ้งเตือนมาที่ผู้ปกครอง และนำไปสู่การติดต่อกลับไปยังโรงเรียน และนำไปสู่การร่วมมือกันระหว่างผู้ปกครองและโรงเรียนในการช่วยเหลือเด็กได้อย่างทันที

นายอดิศักดิ์ ม่วงพิน อายุ 46 ปี อาจารย์โรงเรียนเทศบาล 5 ผู้ปกครองของ ด.ญ.เมษิณี ม่วงพิณ นักเรียนชั้น ม.2/4 บอกว่า รู้สึกสบายใจ ที่โรงเรียนออกบัตรประจำตัวนักเรียนแบบใหม่ เพราะทำให้ทราบว่าลูกไปถึงโรงเรียนตามปกติและปลอดภัย

"อภิสิทธิ์" วอนทุกฝ่ายผนึกกำลังรักษาภาษาไทยไว้เป็นมรดกชาติ

นายกฯ มอบรางวัล "ราชบัณฑิตยสถานสรรเสริญ" ปี 2551 ให้ มนตรี-ป๊อก-ซี-บุ๋ม 4 นักแสดงผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ชี้เด็กรุ่นใหม่ใช้ภาษาไทยผิดเพี้ยน ต้นเหตุรับวัฒนธรรมต่างชาติโดยไม่กลั่นกรอง แนะทุกฝ่ายสนองพระราชดำริภาคภูมิใจในภาษาไทย ช่วยกันใช้ให้ถูกต้อง รักษาไว้เป็นมรดกของชาติ

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2552 เวลา 09.30 น. ที่ราชบัณฑิตยสถาน สนามเสือป่า กรุงเทพฯ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบรางวัล ”ราชบัณฑิตยสถานสรรเสริญ“ ประจำปี 2551 โดยในพิธีดังกล่าว นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ บิดานายกรัฐมนตรี ในฐานะราชบัณฑิต เข้าร่วมในพิธีด้วย

ทั้งนี้ปีนี้มีนักแสดง 4 คน ซึ่งราชบัณฑิตยสถานศึกษาคัดเลือกให้เป็นผู้ที่ใช้ภาษาไทยดี เด่น ได้แก่ น.ส.ปิยธิดา วรมุสิก หรือป๊อก นักแสดงนำหญิงที่ใช้ภาษาดีเด่นจากเรื่องนางทาส บริษัท ดาราวิดีโอ จำกัด เป็นผู้ส่งเข้ารับการคัดเลือก นายศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ หรือซี นักแสดงนำชายดีเด่นจากเรื่อง เรไรลูกสาวป่า สถานนีกองทัพบกช่อง 7 เป็นผู้ส่ง น.ส.ปนัดดา วงศ์ผู้ดี หรือบุ๋ม นักแสดงประกอบหญิงดีเด่นจากละครเรื่อง ดั่งดวงตะวัน บริษัทบรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น จำกัด เป็นผู้ส่ง และนายมนตรี เจนอักษร นักแสดงประกอบชายดีเด่น จากละครเรื่อง เทวดา...สาธุ บริษัทบรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น จำกัด เป็นผู้ส่ง

นายกฯ ยังได้มอบรางวัล ”ราชบัณฑิตยสถานสรรเสริญ“ พร้อมทุนการศึกษา 1 หมื่นบาท แก่ ด.ญ.ฐิตารีย์ ตันประเสริฐ ร.ร.อนุบาลสามเสน ซึ่งชนะการประกวดทักษะการใช้ภาษาไทยของ เยาวชน ด.ญ.ธันยพร บุญพันธ์ จากโรงเรียนอนุบาลสุธีธร ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 พร้อมทุนการศึกษา 8,000 บาท ด.ญ.ภิชญาดา จุ้ยเจริญ จากโรงเรียนอนุบาลสุธีธร ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 พร้อมทุนการศึกษา 6,000 บาท และรางวัลชมเชยอีก 9 รางวัลรางวัลละ 2,000 บาท

นายอภิสิทธิ์ กล่าวหลังจากมอบรางวัลว่า ขอตั้งข้อสังเกตว่านักเรียนที่ได้รับรางวัลครั้งนี้ไม่มีเด็กผู้ชายแม้แต่คน เดียว คณะกรรมการคงจะต้องแยกประเภท เพื่อให้เด็กผู้ชายมีโอกาสและมีกำลังใจในการใส่ใจกับการใช้ภาษา ภาษาไทยถือ เป็นวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ นอกจากจะใช้ติดต่อกันแล้ว ยังเป็นศูนย์กลางยึดเหนี่ยวที่สำคัญของคนในชาติ ดังที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า "ภาษาเป็นเครื่องผูกพันมนุษย์ และไม่มีสิ่งใดที่ทำให้คนรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน เท่ากับพูดภาษาเดียวกัน"

นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า คนไทยเป็นชาติที่มีภาษาและตัวอักษรเป็นของตัวเองตั้งแต่โบราณ แสดงว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมสูงส่งและยั่งยืนมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นคนไทยจึงควรภาคภูมิใจที่ชาติไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ และจะยั่งยืนต่อไปหากทุกคนตระหนักถึงความสำคัญในการใช้ภาษาไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ตระหนักถึงการใช้ภาษาไทย และมีพระราชดำริให้คนไทยช่วยกันรักษาภาษาไทย

"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงแสดงความห่วงใยการใช้ภาษาไทย เมื่อครั้งที่เสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานและทรงร่วมอภิปรายปัญหาการใช้ภาษาไทย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2505 ว่า มีการใช้คำฟุ่มเฟือยและไม่ตรงกับความหมายจริง ออกเสียงไม่ถูกต้องตามอักขระวิธี ถ้าปล่อยไว้อย่างนี้ภาษาไทยคงจะทรุดโทรม ภาษาไทยเป็นมรดกที่ตกทอดที่มีค่า จึงทรงขอให้บรรดานิสิตและทุกคนมีหน้าที่รักษาและส่งเสริมภาษาไทย" นายอภิสิทธิ์ กล่าว

นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้พบว่าเด็กจำนวนมากให้ความสำคัญต่อภาษาแม่ หรือการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องน้อยลง จนบางคนไม่สามารถอ่านหรือเขียนภาษาไทยที่ ถูกต้องได้ สาเหตุหนึ่งคือโลกเรามีการเชื่อมโยง ติดต่อสื่อสารมากขึ้น และรับวัฒนธรรมโดยไม่มีการกลั่นกรอง หากไม่เรียนรู้ความละเอียดอ่อนในความแตกต่างของวัฒนธรรม จะทำให้มีการใช้ภาษาต่างประเทศอื่นๆ มากขึ้นโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ และมาผสมกับภาษาไทย ทำให้การใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง

นอกจากนี้ ยังมีการสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การใช้ภาษาไทยได้ รับผลกระทบ ทำให้เกิดภาษาที่เปลี่ยนแปลงไป หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะราชบัณฑิตยสถาน จึงต้องเผชิญความท้าทายในการแก้ปัญหานี้ แต่ก็ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงหรือพลวัตทางภาษาเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลง ในเรื่องอื่น อย่างไรก็ตาม การสอนภาษาไทยถือเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญและให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพื่อให้คนในชาติติดต่อสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ภาษาไทยในการพัฒนาความรู้ ความสามารถของตนเอง และสามารถสืบทอดมรดกทางภาษาที่มีการใช้อย่างถูกต้อง
นาย อภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า จากประสบการณ์ของตัวเองที่ไปใช้ชีวิตในต่างประเทศกว่า 10 ปี และจำได้ว่าก่อนไปต่างประเทศ พ่อได้ย้ำตลอดว่าจะต้องไม่ลืมภาษาไทย และการเรียนรู้ภาษาไทย ที่สำคัญคือ การอ่าน ดังนั้นการสนับสนุนการอ่านและสนับสนุนสื่อที่มีคุณภาพให้เหมาะสมกับคนแต่ละ วัยจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในการรักษามรดกของชาติ รัฐบาลกำลังผลักดันให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ และมีโครงการที่จะสนับสนุนส่งเสริมตั้งแต่เด็กเล็ก โดยเป็นการทำงานร่วมกันของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ส่งเสริมการอ่านตั้งแต่เด็กเล็ก และจัดหาสื่อที่เหมาะสมกับทุกวัย เพื่อส่งเสริมการอ่าน
คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ ราชบัณฑิต ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงานคัดเลือกผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2551 กล่าวว่า ราชบัณฑิตยสถานได้ริเริ่มมอบรางวัลราชบัณฑิตยสถานสรรเสริญให้แก่นักแสดงที่ใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง เป็นตัวอย่างแก่เยาวชนและประชาชนมาตั้งแต่ปี 2550 โดยบริษัทผู้จัดละคร 10 บริษัท ได้ส่งนักแสดง 22 คน เข้าคัดเลือก
" คณะกรรมการได้คัดเลือกผู้ที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากการออกเสียงที่สะกดคำที่ถูกต้อง เช่นการออกเสียงตัว ร รวมทั้งการเปล่งเสียงได้เหมาะสมกับบทบาทที่ได้รับ สามารถดึงคนดูให้คล้อยตามไปกับบทบาทได้ เช่น "ป๊อก" ปิยธิดา รับบทคุณหญิงในเรื่องนางทาส การพูดจาต้องดูเป็นผู้ดี ก็สามารถเปล่งเสียงไปตามบทบาทได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้นายกฯ ฝากว่า นอกจากแจกรางวัลให้นักแสดงแล้ว ควรจะแจกรางวัลประเภทพิธีกรและนักร้องด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ราชบัณฑิตตั้งใจจะดำเนินการอยู่แล้ว แต่คงไม่พร้อมแจกในปีหน้า" คุณหญิงกุลทรัพย์ กล่าว
น.ส.ปิยธิดา กล่าวว่า อยากให้เยาวชนใช้ภาษาไทยให้ ถูกต้อง เรามีภาษาของตัวเอง ขณะที่หลายประเทศอยากมีภาษาของตัวเองแต่กลับไม่มี เพราะฉะนั้นต้องภาคภูมิใจและใช้ภาษาให้ถูกต้อง โดยส่วนตัวจะเข้มงวดกับการพูดให้ถูกต้องอย่างมาก เมื่อต้องแสดงจะทำการบ้านก่อนทุกครั้ง

Friday, May 22, 2009

5ส.เป็นเหตุเอกสารชาติหาย

จากการสัมมนา “อนุรักษ์ทันเวลา รักษ์คุณค่ามรดกไทย” เมื่อวันที่ 20 พ.ค. นายปรารพ เหล่าวานิช รองอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ปัจจุบันพบว่าข้อมูลเอกสารสำคัญต่าง ๆ ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติกำลังประสบปัญหาชำรุด ทั้งจากน้ำท่วมทำให้เกิดเชื้อรา และปลวกกินเอกสาร และยังพบว่าหน่วยงานราชการหลายแห่งส่งเอกสารสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับ ประวัติศาสตร์อย่างไม่ต่อเนื่อง ซึ่งจะต้องเร่งสร้างความเข้าใจให้ตระหนัก ถึงการรักษาเอกสารสำคัญของชาติ

นางสุรีย์รัตน์ วงศ์เสงี่ยม ผอ.สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กล่าวว่า โครงการ 5 ส. คือ สะสาง สะอาด สะดวก สุขนิสัย สุขลักษณะ ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การจัดเก็บเอกสารสำคัญขาดความสมบูรณ์ โดยหน่วยราชการถือโอกาสทิ้งข้อมูล รูปภาพ และเอกสารจนเกือบหมด โดยไม่ตรวจสอบว่ามีความสำคัญหรือไม่ แตกต่างจากสมัยรัชกาลที่ 5 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสั่งให้เก็บเอกสารราชการเป็นอย่างดี ทำให้ยุคดังกล่าวมีเอกสารจดหมายเหตุที่สมบูรณ์ที่สุด ทั้งนี้ตนจะนำปัญหาต่าง ๆ เสนอนายธีระ สลักเพชร รมว.วัฒนธรรม โดยตั้งความหวังไว้กับร่าง พ.ร.บ.จดหมายเหตุแห่งชาติ ฉบับใหม่ ที่มีข้อกำหนดบังคับให้ส่วนราชการทุกแห่งต้องส่งมอบเอกสารสำคัญที่เกี่ยว เนื่องกับประวัติศาสตร์ให้สำนักหอจดหมายเหตุฯ.

"จุรินทร์"จี้รร.ปลอดบุหรี่ชี้เป็นก้าวแรกยาเสพติด

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว. ศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวในการสัมมนาผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 20 พ.ค.ว่า ตนอยากฝาก นโยบายที่ต้องการให้สถานศึกษาทุกสังกัดเร่ง นำไปปฏิบัติคือ การจัดโครงการและกิจกรรมส่งเสริมใน 3 ด้าน คือ 1.ประชาธิปไตย 2.คุณธรรมจริยธรรม และ 3.แก้ไขปัญหายาเสพติด โดยสพท.ต้องช่วยกำกับดูแล ซึ่งหากโรงเรียนใดดำเนินโครงการอย่างมีประสิทธิภาพจะได้รับประทับตราเป็น “โรงเรียน 3 ดี (3D)”

นายจุรินทร์ กล่าวต่อไปว่า การต่อต้านยาเสพติดในสถานศึกษานั้น โรงเรียนจะต้องมีแผนดำเนินการทั้งด้านการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษา ซึ่งต้องขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่เข้ามาร่วมโครงการ ด้วย แต่สิ่งสำคัญคือ ผู้บริหารจะต้องยอมรับความจริง และไม่ปิดบังว่าโรงเรียนของตนมี นักเรียนเท่าใดที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด โดยไม่ต้องกลัวว่ามีจำนวนมากแล้วจะถือเป็นความผิดเหมือนในอดีต ตนจึงอยากให้ผู้บริหารโรงเรียนทุกแห่งเปิดเผยข้อมูลจริงออกมา เพื่อจะได้เริ่มนับหนึ่งในการแก้ปัญหา รวมทั้งจะได้กำหนดตัวชี้วัดด้วยว่าในปีต่อไปจะต้องมีนักเรียนที่เกี่ยวข้อง กับยาเสพติดลดลงอย่างไร เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ปัญหา ยาเสพติด ตนไม่อยากให้มองเพียงแค่กัญชา เฮโรอีน หรือยาบ้าเท่านั้น แต่อยากให้มองไปที่บุหรี่ซึ่งเป็นต้นตอที่จะนำไปสู่ยาเสพติดประเภทอื่นที่ รุนแรงมากขึ้นด้วย ดังนั้นจึงอยากให้ครู และผู้บริหารเคร่งครัดเป็นตัวอย่างที่ดีโดยทำให้ โรงเรียนเป็นเขตปลอดบุหรี่อย่างแท้จริง.

สกศ.ปฏิเสธมุบมิบแก้กฎหมายการศึกษา

รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยภายหลังเข้าพบ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อหารือเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ว่า ตนได้นำเสนอร่างการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ที่จัดทำโดยคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาเฉพาะกิจปฏิรูป การศึกษาในทศวรรษที่ 2 ที่มี ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นประธาน ต่อ รมว.ศธ. ซึ่ง รมว.ศธ.ได้พิจารณาและมอบหมายให้กลับไปปรับปรุงรายละเอียดบางประการ ก่อนจะนำข้อสรุปเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการสภาการศึกษา (กกศ.) ที่มี รมว.ศธ.เป็นประธาน เพื่อพิจารณาในวันที่ 4 มิ.ย.นี้

รศ.ธงทอง ยังได้กล่าวถึงกรณีที่สหภาพครูแห่งชาติ ไม่พอใจการแก้ไขกฎหมายหลักทางการศึกษา 3 ฉบับ คือ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ว่า การแก้ไขกฎหมายทั้ง 3 ฉบับเป็นไปตามมติของที่ประชุม กกศ. ซึ่งเป็นการแก้ไขเพียงเล็กน้อย ในมาตราที่เกี่ยวกับการแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาการมัธยมศึกษา เพื่อรองรับการบริหารจัดการของเขตพื้นที่ดังกล่าว ไม่ได้มุบมิบแก้ไขกฎหมายทั้งฉบับอย่างที่องค์กรครูวิตก อีกทั้งประเด็นที่มีการแก้ไขก็ผ่านการพิจารณาและรับความคิดเห็นจากผู้ที่ เกี่ยวข้องในหลายเวทีแล้ว ดังนั้นจึงขอให้องค์กรครูสบายใจได้ แต่หากองค์กรครูยังกังวลก็สามารถไปร่วมแสดงความคิดเห็นได้ในการประชุมสภาการ ศึกษาที่จังหวัดชลบุรี ในวันที่ 29-31 พ.ค.นี้ได้ เพื่อสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจะได้นำความเห็นที่ได้มาประมวลต่อไป

ด้าน นายจุรินทร์ กล่าวว่า ตนได้กำชับไปว่าในการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 จะต้องมุ่งเน้นในเรื่องคุณภาพการศึกษา ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญ หลังจากการปฏิรูปการศึกษารอบแรกที่ได้มุ่งเน้นในเรื่องโครงสร้าง ซึ่งก็ไม่ถือว่าผิด แต่ 10 ปีหลังจากนี้ควรต้องมุ่งเน้นเรื่องคุณภาพการศึกษาเป็นหลัก โดยจะต้องมีการจัดทำตัวชี้วัด เพื่อนำไปสู่เป้าหมายคุณภาพการศึกษาตามที่ตั้งไว้ โดยให้ครอบคลุมการศึกษาทั้งระบบและครบวงจร ทั้งในส่วนของการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ตามที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าในการประชุม กกศ.วันที่ 4 มิ.ย.นี้น่าจะได้ข้อสรุปทั้งหมด.

ชาวบ้านกลัวรัฐไม่ทำเรียนฟรี15ปีต่อ

"เสมา1"ยันเตรียมงบฯไว้รอไม่ล้มแน่นอนเผยข้อมูลสพฐ.1,527รร.เรียกเงินเพิ่ม

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมสัมมนาผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทั่วประเทศ ที่โรงแรมเรดิสัน กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 20 พ.ค. ตนได้ขอให้ ผอ.สพท. ทุกแห่ง ไปตรวจสอบการดำเนินนโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพว่า พื้นที่ใดที่ยังขาดตกบกพร่องอยู่ก็ขอให้เร่งดำเนินการให้ครบ 100% โดยเร็ว พร้อมทั้งขอให้ติดตามประเมินผลด้วยว่า โครงการเรียนฟรียังมีจุดอ่อนด้านใดบ้าง เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขนโยบายเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามจากการติดตามผลในภาพรวมถือว่าโครงการประสบความสำเร็จเป็นอย่าง ดี ได้รับการขานรับจากประชาชนทั่วประเทศในระดับสูงมากถึงร้อยละ 85-95 โดยสิ่งที่ประชาชนกังวลและร้องเรียนผ่านทางสายด่วน 1579 เป็นจำนวนมาก คือ ห่วงว่าโครงการนี้จะถูกยกเลิกและไม่มีการดำเนินการต่อในปีต่อไป

“ผมยืนยันว่าโครงการเรียนฟรีไม่ล้มเลิกแน่นอน และขณะนี้รัฐบาลได้เตรียมงบฯปี 2553 ไว้รองรับโครงการเรียนฟรี 15 ปีแล้วกว่า 3 หมื่นล้านบาท เพื่อให้โครงการมีความต่อเนื่อง นอกจากนี้ในปีงบฯ 2553 นอกจาก ศธ. จะได้รับอนุมัติงบฯประจำปีถึง 3.5 แสนล้านบาทแล้ว ยังจะมีงบฯเพื่อฟื้นฟูเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจอีกประมาณ 1.3 แสนล้านบาท รวมแล้วในปีงบฯหน้านี้ ศธ.จะได้รับงบฯมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เพราะรวมแล้วได้รับถึงกว่า 4 แสนล้านบาท ซึ่งจะทำให้ ศธ.มีงบฯมากเพียงพอที่จะดำเนินโครงการด้านการศึกษาได้มากขึ้น” รมว.ศธ.กล่าว

คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ในวันที่ 21 พ.ค.นี้ ตนได้นัดผู้บริหาร โรงเรียนชื่อดังประมาณ 50 โรงในกรุงเทพฯที่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากผู้ปกครองมาหารือ และชี้แจงถึงเหตุผลที่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มจากปีที่ผ่านมา ซึ่งหากโรงเรียนเรียกเก็บค่าใช้จ่ายสูงอย่างไม่สมเหตุสมผลอาจจะต้องขอให้คืน เงินแก่ผู้ปกครอง หรือให้เก็บน้อยลงในภาคเรียนต่อไป และหากการเก็บไม่เป็นไปตามระเบียบก็ถือว่ามีความผิดด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้สรุปผลรายงานการติดตามการรับนักเรียนสังกัด สพฐ. ปีการศึกษา 2552 ใน 185 เขตทั่วประเทศ พบว่า มีผู้ร้องเรียนโรงเรียนเข้ามาจำนวน 1,957 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นการร้องเรียนเรื่องการเรียกระดมทรัพยากรของโรงเรียน ซึ่งจากข้อมูลพบว่า มีโรงเรียนเรียกระดมทรัพยากร 1,527 โรง แบ่งเป็นเรียกระดมทรัพยากรไม่เกิน 500 บาทต่อคน 831 โรง, 501-1,000 บาท 191 โรง, 1,001- 2,000 บาท 162 โรง, 2,001-3,000 บาท 124 โรง, 3,001-4,000 บาท 40 โรง, 4,001-5,000 บาท 40 โรง และตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป 139 โรง.

สพฐ.คุมเข้มร.ร.เก็บเงินเพิ่มชงข้อมูลรายการงบไม่พอให้นายกฯ

สพฐ.กำชับ ร.ร.43 แห่งใน กทม.เก็บได้เฉพาะรายการที่อนุญาต ชงปัญหาและรายการที่ร.ร.ได้งบไม่พอให้นายกฯ ผู้บริหาร ร.ร.ยันไม่ได้เก็บเงินเพิ่ม รับปากเก็บลดลง

เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวภายหลังเรียก ผอ.โรงเรียน 43 แห่งใน กทม. ที่เรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากผู้ปกครองเพิ่มขึ้น ทั้งที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพจากรัฐบาลแล้วว่า หลังสอบถามผู้บริหารโรงเรียนแต่ละแห่งแล้วพบว่าไม่มีโรงเรียนใดเก็บเงินจาก ผู้ปกครองเพิ่มขึ้นจากภาคเรียนที่แล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้มีข้อมูลว่าโรงเรียน 8 แห่งใน กทม. เก็บเงินเพิ่มขึ้น และมีโรงเรียนบางส่วนยังไม่ได้เก็บเงินจากผู้ปกครอง

"ได้กำชับทุกโรงเรียนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)อนุญาตให้โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครองทุกคนได้มี 3 ประเภท ได้แก่ 1.ค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนาผู้เรียนเก็บจากเด็กทุกคนได้ไม่เกินภาคเรียนละ 1,000 บาท จ้างครูชาวต่างประเทศ ค่าตอบแทนวิทยากรภายนอก และค่าปรับพื้นฐานความรู้นักเรียน ทุกโรงเรียนรับปากจะไม่เก็บเกิน 1,000 บาท และพยายามเก็บลดลงจากภาคเรียนที่แล้ว" เลขาธิการ กพฐ.กล่าว

คุณหญิงกษมากล่าวอีกว่า ส่วน 2.ค่าใช้จ่ายที่โรงเรียนเรียกเก็บเพื่อจัดบริการทางการศึกษาพิเศษเพิ่มเติม จากหลักสูตร เช่น ห้องเรียนพิเศษ ซึ่งโรงเรียนจัดเก็บได้ตามความเหมาะสมจากผู้ปกครองที่สมัครใจ ทุกโรงเรียนรับปากว่าจะเรียกเก็บในอัตราเท่ากับปีที่แล้ว และจะไม่มีการบังคับผู้ปกครองและ 3.สพฐ.อนุญาตให้โรงเรียนเรียกเก็บได้ตามความเหมาะสม คือ ค่าประกันชีวิตและค่าตรวจสุขภาพ ให้จัดเก็บในอัตราต่ำที่สุด และขอให้เรียกเก็บใกล้เคียงกัน

"โรงเรียนหล่านี้ยังต้องเก็บเงินเพิ่มจากผู้ปกครอง เพราะขาดแคลนครูที่ชำนาญในวิชาต่างๆ โดยเฉพาะวิชาอังกฤษ ดนตรีไทย และนาฏศิลป์ รวมทั้งนักการภารโรงมีน้อย และยังต้องหาเงินค่าสาธารณูปโภคและไอซีทีซึ่งได้รับงบไม่พอ สพฐ.จะประมวลสภาพปัญหาทั้งหมดเพื่อจัดทำข้อมูลเสนอนายกรัฐมนตรี จะจัดทำข้อมูลให้รัฐบาลเห็นว่ารายการต่างๆ ที่โรงเรียนยังได้รับการสนับสนุนงบไม่เพียงพอ และต้องเรียกเก็บจากผู้ปกครองแทนมีอะไรบ้าง เพื่อให้รัฐบาลพิจารณาจะสนับสนุนเพิ่มเติมได้หรือไม่ เพื่อโรงเรียนจะไม่ไปเรียกเก็บจากผู้ปกครอง เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าจ้างครู และโรงเรียนแต่ละขนาดควรได้เงินอุดหนุนรายหัวเพิ่มเติมเท่าใด โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็ก ควรได้เงินค่าใช้จ่ายรายหัวมากกว่าโรงเรียนประเภทอื่นๆ“ เลขาธิการ กพฐ.กล่าว

ศธ.ของบ100ล.อุ้มนร.พิการ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวหลังประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ครั้งที่ 2/2552 ว่า ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้านโยบายที่ส่งผลในทางปฏิบัติ เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาของคนพิการโดยได้ลงนามในระเบียบจำแนกประเภทคน พิการ

เป็น 9 ประเภท ได้แก่ 1.บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น 2.บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 3.บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา 4.บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ 5.บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 6.บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา 7.บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ 8.บุคคลออทิสติก และ 9.บุคคลพิการซ้อน

รมว.ศึกษาธิการกล่าวอีกว่า ยังได้จัดตั้งกองทุนส่งเสริมพัฒนาการศึกษาคนพิการขึ้น โดยมีเงินสนับสนุน 57 ล้านบาท และในปี 2553 ได้ตั้งงบประมาณไว้อีก 100 ล้านบาท และอนุมัติประกาศหลักเกณฑ์ส่งเสริมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการ ซึ่งจะได้ออกเป็นระเบียบต่อไป เช่น ให้สถานศึกษาทุกแห่งมีหน้าที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย สนับสนุนในเรื่องเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ให้คนพิการตามความเหมาะสมห้ามสถานศึกษาปฏิเสธ ไม่รับคนพิการเข้าเรียน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนในสังกัดใดก็ตาม ส่วนเด็กพิการที่ มีปัญหาการเดินทางไปเรียน ก็ให้สถานศึกษาได้จัดบริการการเดินทางให้หรือให้สถานศึกษาขอรับเงินอุดหนุน จากต้นสังกัด หรือจากกองทุนข้างต้น

นายจุรินทร์กล่าวด้วยว่า ได้เห็นชอบประกาศหลักเกณฑ์การพัฒนาครูที่สอนเด็กพิการ โดยให้ครูกลุ่มนี้ได้อบรมพัฒนาทักษะอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และอบรมพัฒนาศักยภาพตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพอย่างน้อย 3 ครั้งต่อปี สนับสนุนให้ได้เรียนต่อสูงกว่าระดับปริญญาตรี ทั้งนี้ เชื่อว่าเด็กพิการซึ่งอยู่ในความดูแลของ สพฐ. 1.8 แสนคนน่าจะได้รับการดูแลมากขึ้น

ศธ.เล็งฟันครูกั๊กวิชาหากินกับนร.

นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวแถลงข่าวสรุปผลจัดสอบความถนนัดทั่วไป (จีเอที) และความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ (พีเอที) ครั้งที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2552 ว่า ถ้าดูจากคะแนนเฉลี่ยอาจตกใจที่คะแนนเฉลี่ยเด็ก ม.5 และ ม.6 ต่ำกว่าครึ่งแต่เพราะเรียนไม่ครบหลักสูตร ม.ปลาย ส่วนการสมัครที่วิจารณ์ว่า เปิดสอบ 3 ครั้งเป็นภาระนั้นทำเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กให้มากที่สุด

รมช.ศึกษาธิการกล่าวอีกว่า ปัญหาโรงเรียนกวดวิชาที่มีเพิ่มขึ้นนั้น สทศ.บอกเสมอว่า สอบจีเอที/พีเอที ไม่ต้องกวดวิชา ทั้งนี้ พบว่าครูไม่ตั้งใจสอนในคาบเรียน ตอนเช้าสอนน้ำ เย็นสอนเนื้อเพื่อเก็บเงินค่าเรียนพิเศษ ครูที่ ไม่ตั้งใจสอบและหวังจะเก็บเงินเรียนพิเศษจากเด็กนั้น ต้องถือว่าเป็นปัญหาของกระทรวงจะต้องหาทางแก้ไขเพราะถือว่าผิดจรรยาบรรณใน วิชาชีพครูอย่างร้ายแรง พ่อแม่ สถาบันติวไม่ต้องมาสอบเพราะหลังสอบเสร็จ สทศ.จะนำข้อสอบขึ้นเว็บไซต์

ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) กล่าวว่า หลัง สทศ.นำข้อสอบขึ้นเว็บไซต์มีติวเตอร์โทรมาต่อว่า ข้อสอบไม่เหมือนกับที่ใช้ติว ส่วนที่มีความเห็นค่าสมัครสอบแพงเกินไป คิดว่าไม่แพง และที่จัดสอบปีละ 3 ครั้งไม่ใช่เพื่อหารายได้แต่เพื่อเพิ่มโอกาสให้เด็กมากที่สุด

ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาฯ ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.) กล่าวว่า แอดมิชชั่นส์ปีการศึกษา 2553 จะไม่เปลี่ยนองค์ประกอบและค่าน้ำหนักหลักๆ อีก แต่แอดมิชชั่นส์ปี 2554 อาจปรับเล็กน้อย เช่น เพิ่มจำนวนพีเอที ซึ่งในวันที่ 25 พฤษภาคม ทปอ.จะประชุมร่วมคณะกรรมการแอดมิชชั่นส์ฟอรั่ม ปี 2553 และสภาวิชาการและวิชาชีพ เพื่อหารือสัดส่วนและองค์ประกอบค่าน้ำหนักที่แต่ละสาขาวิชาต้องการ และสภาวิชาการและวิชาชีพจะหาข้อสรุปภายใน 1 เดือน เพื่อเสนอประธานแอดมิชชั่นส์ฟอรั่ม และ ทปอ.วิชาการที่ ม.บูรพา

"หลังจากนั้น ทปอ.จะประชุมร่วมกับคณะกรรมการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาในวัน ที่ 22 สิงหาคม คาดว่าจะได้ข้อสรุป ขอยืนยันแอดมิชชั่นส์ปี 2554-2555 ปรับเล็กน้อย" ศ.นพ.ภิรมย์กล่าว

ศธ.โยกย้ายผอ.กศน.13ราย

กศน.โยกย้ายผอ.สำนักงานกศน.อำเภอ-จังหวัดทั่วประเทศ 13 ราย

เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2552 นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ได้ลงนามในคำสั่งสำนักงานปลัด ศธ.ที่ 543/2552 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2552 เรื่อง ย้ายและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ให้ดำรงตำแหน่ง 13 ราย

ดังนี้ 1.นายพิทักษ์ ธนะแพทย์ ผอ.สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดพะเยา (สำนักงาน กศน.จังหวัด) ไปเป็น ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2.นายบุญทรง จิโนเป็ง ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัดลำพูน ไปเป็น ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัดพะเยา 3.นายสุรพงษ์ ไชยวงศ์ ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัดพิจิตร ไปเป็น ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัดลำพูน 4.นายนิพนธ์ ป้อมสนาม ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัดสระบุรี ไปเป็น ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัดปราจีนบุรี 5.นายศิลป์ชัย ศรีธัญญา ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัดปราจีนบุรี ไปเป็น ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัดสระบุรี

6.นายธีระศักดิ์ ฤทธิ์เจริญ ผอ.ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี (ผอ.กศน.อำเภอ) ไปเป็น ผอ.กศน.อำเภอเมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี 7.นายสมบูรณ์ เหล่าวงศ์วัฒนา ผอ.กศน.อำเภอเมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี ไปเป็น ผอ.กศน.อำเภอศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี 8.นายธีระศักดิ์ ชัยวิศิษฐ์ ผอ.กศน.อำเภอเมืองลำพูน จ.ลำพูน ไปเป็น ผอ.กศน.อำเภอบ้านธิ จ.ลำพูน 9.นางอุบลรัตน์ ศรีตันดา ผอ.กศน.อำเภอบ้านธิ จ.ลำพูน ไปเป็น ผอ.กศน.อำเภอเมืองลำพูน จ.ลำพูน 10.นายศิริศักดิ์ กระแสรัตน์ ผอ.กศน.อำเภอโคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ไปเป็น ผอ.กศน.อำเภอกรงปินัง จ.ยะลา

11.นายนภดล พุฒสกุล ผอ.กศน.อำเภอหนองจิก จ.ปัตตานี ไปเป็น ผอ.กศน.อำเภอโคกโพธิ์ จ.ปัตตานี 12.นายอุดร สิทธิพาที ผอ.กศน.อำเภอปะนาเระ จ.ปัตตานี ไปเป็น ผอ.กศน. อำเภอหนองจิก จ.ปัตตานี และ 13.นายศิริพงศ์ บัวแดง ผอ.กศน.อำเภอกระแสสินธุ์ จ.สงขลา ไปเป็น ผอ.กศน.อำเภอเทพา จ.สงขลา ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่บัดนี้ ยกเว้นรายการที่ 4 และ 5 มีตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคมนี้

Thursday, May 21, 2009

'จุรินทร์'ลั่นไม่เปลี่ยนชื่อโครงการเรียนฟรี 15 ปี แจงรัฐให้ฟรีแค่ 5 รายการ-ไม่ห้าม รร.เก็บเงิน

เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 19 พ.ค. ที่โรงเรียนประชาอุปถัมภ์ จ.นนทบุรี นาย จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ และคณะ ได้เดินทางไปติดตามผลการดำเนินโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ ของรัฐบาล โดยนายจุรินทร์ กล่าวว่า หลังจากนี้โรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ต้องติดตามประเมินผลของโครงการฯ เพื่อนำไปปรับปรุงในปีต่อ ๆ ไป เพราะโครงการนี้เริ่มขึ้นในปีนี้เป็นปีแรก อย่างไรก็ตามผลตอบรับจากประชาชนต่อโครงการนี้อยู่ในระดับที่สูงมาก ซึ่งถือเป็นความสำเร็จร่วมกันของทุกคน

นายจุรินทร์ ยังกล่าวถึงกรณีที่ประชาชนโทรศัพท์ร้องเรียนผ่านสายด่วน 1579 ในสองวันแรกของการเปิดภาคเรียนที่ 1/2552 กว่า 3,000 ราย โดยต่อว่านโยบายเรียนฟรี 15 ปีฯ ว่าไม่ฟรีจริง ว่า ผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาส่วนใหญ่จะสอบถามหลักเกณฑ์ที่โรงเรียนเก็บค่าใช้จ่าย เพิ่มมากกว่า ซึ่ง ศธ.ก็ได้ชี้แจงว่าโรงเรียนไม่สามารถเก็บค่าใช้จ่ายใน 5 รายการที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลไปแล้ว ยกเว้นรายการที่นอกเหนือจากนั้น ซึ่งเก็บได้แต่ต้องผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมร่วมภาคี 4 ฝ่าย ได้แก่ ผู้ปกครอง นักเรียน ผู้นำชุมชน และสถานศึกษาก่อน และถึงแม้จะได้รับการอนุมัติแล้วก็ต้องไม่เก็บเกินกว่าอัตราที่ ศธ.กำหนด รวมถึงต้องไม่ลิดรอนสิทธิเด็กยากจนที่ไม่มีเงินจ่ายด้วย

“ได้มีการชี้แจงมาตลอดว่า โครงการนี้ฟรีเฉพาะ 5 รายการ ไม่ใช่ฟรีทั้งหมด ซึ่งสังคมก็เข้าใจดี ดังนั้นจะไม่มีการทบทวนเรื่องชื่อโครงการใหม่ เนื่องจากได้ประกาศเป็นนโยบายไปแล้ว และคงจะไม่ไปห้ามโรงเรียนเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มด้วย เพราะอาจเป็นดาบสองคมที่เป็นการสกัดกั้นการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาได้ แต่สำหรับเรื่องเรียกรับเงินแลกกับสิทธิที่นั่งเรียนนั้น เรื่องนี้ผิดทั้งวินัยและกฎหมายอาญา ถ้าพบเบาะแสขอให้ร้องเรียนมาได้ทันที ซึ่งผมพร้อมที่จะตรวจสอบและจะลงโทษขั้นเด็ดขาด” รมว. ศึกษาธิการ กล่าว.

เผยผลสอบ GAT-PAT ครั้งแรกเฉลี่ยตกเรียบ

เมื่อวันที่ 19 พ.ค.ที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผอ.สทศ.เปิด เผยว่า ตามที่สทศ.ได้จัดทดสอบความถนัดทั่วไป หรือ GAT และการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ หรือ PAT ครั้งที่ 1 เมื่อเดือนมีนาคม โดยประกาศผลเมื่อวันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งคะแนนดังกล่าวจะใช้สำหรับแอดมิชชั่นเข้ามหาวิทยาลัยในปี 2553 นั้น ขณะนี้ สทศ.ได้เปรียบเทียบคะแนนของผู้เข้าสอบที่เป็นนักเรียน ม.5 และม.6 พบว่า นักเรียน ม.5 ได้คะแนนเฉลี่ย ดังนี้ GAT เฉลี่ยที่ 77.02 คะแนน, PAT 1 ความถนัดทางด้านคณิตศาสตร์ 87.41, PAT 2 ความถนัดทางด้านวิทยาศาสตร์ 89.82, PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ 108.06, PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ 89.10, PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู 129.74, PAT 6 ความถนัดทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ 98.21, PAT 7.1 ความถนัดทางด้านภาษาฝรั่งเศส 81.25, PAT 7.2 ความถนัดทางด้านภาษาเยอรมัน 92.53, PAT 7.3 ความถนัดทางด้านภาษาญี่ปุ่น 88.93, PAT 7.4 ความถนัดทางด้านภาษาจีน 75.06, PAT 7.5 ความถนัดทางด้านภาษาอาหรับยังคำนวณไม่ได้ และ PAT 7.6 ความถนัดทางด้านภาษาบาลี 83.86

สำหรับนักเรียน ม.6 GAT เฉลี่ยที่ 137.75, PAT 1 เฉลี่ย 137.23, PAT 2 เฉลี่ย 120, PAT 3 เฉลี่ย 137.02, PAT 4 เฉลี่ย 116.17, PAT 5 เฉลี่ย 138.83, PAT 6 เฉลี่ย 105.54, PAT 7.1 เฉลี่ย 125.93, PAT 7.2 เฉลี่ย 134.57, PAT 7.3 เฉลี่ย 159.85, PAT 7.4 เฉลี่ย 93.72, PAT 7.5 ยังคำนวณไม่ได้ และ PAT 7.6 เฉลี่ย 168.60

“การสอบครั้งนี้ยังไม่สามารถวิเคราะห์อะไรได้ เพราะเด็กที่เข้าสอบ 90% อยู่ ม.5 ซึ่งยังเรียนไม่ครบหลักสูตรม.ปลาย คะแนนที่ออกมาไม่ถึงครึ่งของเต็ม 300 คะแนน จึงไม่ถือว่าผิดความคาดหมาย อีกทั้ง PAT แต่ละวิชาจะมีคะแนนสองส่วน คือส่วนที่เป็นความรู้ในระดับชั้น ม.6 กับส่วนที่เป็นความถนัดทางวิชาชีพ และแต่ละ PAT ก็มีสัดส่วนคะแนนที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นเด็กที่มาสอบจึงต้องมีความรู้ครบตามหลักสูตร หากมาสอบเพราะอยากลองข้อสอบก็จะได้คะแนนไม่ดี ทั้งนี้คาดว่าในการสอบเดือนกรกฎาคมและตุลาคมจะมีเด็กที่เรียนจบม.ปลาย ซึ่งน่าจะทำให้คะแนนเฉลี่ยดีขึ้น.

แจงสิทธิข้าราชการเบิกค่าเล่าเรียนลูกได้

นางผานิตย์ มีสุนทร ผอ.สำนักการคลังและทรัพย์สิน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังได้มีหนังสือที่ กค. 0422.3/ว 161 เรื่องประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการและค่าเล่า เรียนในสถานศึกษาของเอกชน ลงวันที่ 13 พ.ค. 2552 ไปยังส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อแจ้งเกี่ยวกับสิทธิในการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของ บุตรข้าราชการ ปีการศึกษา 2552 ตามประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียนที่กำหนดขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ดังนี้ สถานศึกษาของทางราชการ ระดับอนุบาลหรือเทียบเท่า เบิกได้ปีละไม่เกิน 4,650 บาท ระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 3,200 บาท ระดับม.ต้น, ม.ปลาย, หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือ เทียบเท่า ปีละไม่เกิน 3,900 บาท และระดับอนุปริญญา หรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 11,000 บาท

ทั้งนี้เงินบำรุงการศึกษาระดับอนุบาลถึง ม.ปลายที่ให้เบิกจ่ายได้ตามอัตราดังกล่าว จะประกอบด้วย 1.ค่าสอนคอม พิวเตอร์ กรณีโรงเรียนจัดสอนให้นักเรียนเกินกว่ามาตรฐานที่รัฐจัดให้ 2.ห้องเรียนพิเศษ EP (English Program) 3.ห้องเรียนพิเศษ MEP (Mini English Program) 4.ห้องเรียนพิเศษด้านภาษาต่างประเทศ ด้านวิชาการและด้านอื่น ๆ 5.ค่าจ้างครูชาวต่างประเทศ และ 6.ค่าจ้างครูที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะ ส่วนระดับอนุปริญญา เงินบำรุงการศึกษาที่ให้เบิกจ่ายได้ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยตรงที่สถานศึกษาได้รับอนุญาตจาก หน่วยงานเจ้าสังกัดให้เรียกเก็บ โดยไม่รวมค่าปรับพื้นฐาน ค่าปฐมนิเทศ เงินบริจาค และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริหารและดำเนินงานของสถานศึกษา

สำหรับสถานศึกษาของเอกชน จำแนกเป็น สถานศึกษาเอกชนประเภทสามัญศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน ระดับอนุบาลหรือเทียบเท่า เบิกได้ปีละไม่เกิน 10,856 บาท ระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 10,556 บาท ระดับ ม.ต้นหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 12,647 บาท ระดับ ม.ปลายหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 12,947 บาท สถานศึกษาเอกชนประเภทสามัญศึกษาที่รับเงินอุดหนุน ระดับอนุบาลหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 3,874 บาท ระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 3,404 บาท ระดับ ม.ต้นหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 2,635 บาท ระดับ ม.ปลายหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 2,605 บาท

สถานศึกษาเอกชนประเภทอาชีวศึกษา หลักสูตร ปวช. หรือ เทียบเท่า ในสถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน สาขาคหกรรม หรือคหกรรมศาสตร์ เบิกได้ปีละไม่เกิน 13,217 บาท พาณิชยกรรม หรือบริหารธุรกิจ ปีละไม่เกิน 15,877 บาท ศิลปหัตถกรรม หรือศิลปกรรม ปีละไม่เกิน 15,967 บาท เกษตรกรรมหรือเกษตรศาสตร์ ปีละไม่เกิน 16,887 บาท ช่างอุตสาหกรรม หรืออุตสาหกรรม ปีละไม่เกิน 19,487 บาท ประมง ปีละไม่เกิน 16,887 บาท อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ปีละไม่เกิน 15,877 บาท อุตสาหกรรมสิ่งทอ ปีละไม่เกิน 19,487 บาท สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน สาขาคหกรรมหรือคหกรรมศาสตร์ ปีละไม่เกิน 1,148 บาท พาณิชยกรรม หรือบริหารธุรกิจ ปีละไม่เกิน 4,142 บาท ศิลปหัตถกรรม หรือศิลปกรรม ปีละไม่เกิน 2,923 บาท เกษตรกรรม หรือเกษตรศาสตร์ ปีละไม่เกิน 4,051 บาท ช่างอุตสาหกรรม หรืออุตสาหกรรม ปีละไม่เกิน 5,791 บาท ประมง ปีละไม่เกิน 4,051 บาท อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ปีละไม่เกิน 4,142 บาท อุตสาหกรรมสิ่งทอ ปีละไม่เกิน 5,791 บาท

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือ เทียบเท่า และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรือ เทียบเท่า ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินค่าธรรมเนียมการศึกษาในประเภท หรือสายวิชา ดังนี้ ช่างอุตสาหกรรม หรือ อุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทัศนศาสตร์ ปีละไม่เกิน 30,000 บาท พาณิชยกรรม หรือ บริหารธุรกิจ ศิลปหัตถกรรม หรือ ศิลปกรรม เกษตรกรรม หรือ เกษตรศาสตร์ คหกรรม หรือ คหกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ปีละไม่เกิน 25,000 บาท

หลักสูตรระดับปริญญาตรี ให้เบิกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่สถานศึกษาเรียกเก็บ โดยค่าใช้จ่ายที่จะเรียกเก็บต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่สถานศึกษาได้รับอนุมัติ ให้เรียกเก็บตามระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศของสถานศึกษานั้น ๆ ทั้งนี้ไม่รวมค่าปฐมนิเทศ ค่าลงทะเบียนล่าช้า ค่าประกันอุบัติเหตุ ค่าประกันของเสียหาย ค่าหอพัก ค่าอาหาร ค่าซักรีด ค่าเทียบโอน ค่ารักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษาและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริหารและดำเนิน งานของสถานศึกษา.

ม.มหิดลชูงานวิชาการ-วิจัยก้าวสู่มหาวิทยาลัยระดับโลก

"ผมมีนโยบายพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดลให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก สร้างความเป็นเลิศทางด้านสุขภาพ วิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และนวัตกรรมบนพื้นฐานของคุณธรรม เพื่อสังคมไทย และประโยชน์สุขแก่มวลมนุษยชาติ จะมุ่งเน้นวิจัยใน 3 ด้าน ทั้งชีวะทางการแพทย์ ชีววิทยาศาสตร์และวิศวะด้านการแพทย์ เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ในการป้องกันโรคและพัฒนาสุขภาพของคนไทยและคนทั่วโลก"

ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) วัย 61 ปี บอกถึงนโยบายบริหารมหาวิทยาลัยมหิดลที่ ยึดมั่นมากว่า 1 ปีที่มานั่งเก้าอี้อธิการบดี หลังจากเรียนจบคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เมื่อปี 2514 เริ่มรับราชการที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในฐานะหมอผ่าตัดฝีมือดีเชี่ยวชาญด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ต่อมาปี 2543 เป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและนั่งในตำแหน่งนี้กว่า 7 ปี

หลังจากนั้นช่วงปลายปี 2550 "ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกล" มาเป็นอธิการบดีซึ่งช่วงนั้นเป็นระยะเปลี่ยนผ่านจากมหาวิทยาลัยรัฐไปสู่การ เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เขาก็มุ่งมั่นทำงานอย่างเต็มที่ ล่าสุดผลการจัดอันดับของ QS Asian Universities Ranking 2009 ปรากฏว่ามหาวิทยาลัยมหิดลเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยของประเทศไทย 4 แห่ง ที่ติดอันดับ 1 ใน 100 ของมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชีย โดยมหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย และเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอยู่ในอันดับ 30 ของเอเชีย

มหาวิทยาลัยมหิดลถือ กำเนิดจาก "โรงศิริราชพยาบาล" ณ วันนี้มีอายุ 123 ปี แต่หากนับจากวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2512 ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงโปรดเกล้าฯปรับปรุงมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยขึ้นใหม่เรียกว่า "มหาวิทยาลัยมหิดล" โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "มหิดล" อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นชื่อมหาวิทยาลัย แทนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เดิม ปีนี้มหาวิทยาลัยมหิดลจึงมีอายุ 40 ปี

อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลแจกแจง ว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแห่งนี้มี 34 คณะ เปิดสอนด้านการแพทย์ 3 คณะ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีและคณะเวชศาสตร์เขตร้อน และเปิดสอนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ รวมทั้งวิทยาลัยนานาชาติด้วย มีนักศึกษาทั้งหมด 2.7 หมื่นคน อาจารย์ 3,700 คน ซึ่งในจำนวนนี้ 60-70% จบปริญญาเอก มีโรงพยาบาลรัฐที่อยู่ในความดูแล 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลรามาธิบดี

"มหาวิทยาลัยมุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นคนมีคุณธรรมจริยธรรม มีความเป็นผู้นำ และมีความคิดสร้างสรรค์ ที่สำคัญปลูกฝังให้บัณฑิตทุกคนยึดถือและสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรม ราชชนกที่ทรงสอนให้พึงปฏิบัติต่อผู้อื่นเหมือนดังปฏิบัติต่อตนเอง" ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกล บอกถึงนโยบายผลิตบัณฑิต

อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลบอก ด้วยว่า การที่มหาวิทยาลัยเปลี่ยนไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐนั้น ปัญหาใหญ่ที่สุดคืองบประมาณเพราะมหาวิทยาลัยมีโรงพยาบาลต้องดูแลถึง 2 แห่งรวมกันแล้ว ดูแลคนไข้ปีละ 3-4 ล้านคน รวมทั้งงบเงินเดือนของพนักงานมหาวิทยาลัยและงบวิจัย จึงต้องใช้งบประมาณมหาศาล

"การพัฒนามหาวิทยาลัยต้องใช้งบประมาณมาก มหาวิทยาลัยพยายามพึ่งตัวเองให้มากที่สุด แต่งบก็ไม่พอ เวลานี้รัฐบาลมีงบประมาณจำกัดซึ่งเข้าใจดี การเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัยจึงต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป" ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกล บอกทิ้งท้าย

คปก.ตั้งเป้า15 ปีผลิตนักวิจัยป.เอก 5 พันคน

คปก.ตั้งเป้าผลิตนักวิจัยป.เอกเพิ่ม 15 ปี ต้องได้ 5,000 คน ชี้ 11 ปีที่ผ่านมา คปก.ผลิตบัณฑิต ได้ 1,250 คน เหตุงบมีจำกัด มหิดลแนะ คปก.ผลิตนักวิจัยปริญญาให้มากกว่าปีละ 250 คน

จากการสัมมนาทางวิชาการโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ดุษฎีบัณฑิต คปก.1,250 คน กับการสร้างความเข้มแข็งให้อุดมศึกษาและระบบวิจัยของประเทศ จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ศ.ดร.นักสิทธ์ คูวัฒนาชัย ผอ.คปก. รายงานผลการดำเนินงานว่า คปก.ปีที่ 11 มีอาจารย์ที่ปรึกษาไทยเข้าร่วมโครงการ 1,027 คน จากมหาวิทยาลัยต่างๆ 23 แห่ง มีนักศึกษา คปก. 2,600 คน จบปริญญาเอก 1,250 คน มีบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ 2,804 เรื่อง ได้รับการจดสิทธิบัตร 40 เรื่อง ปัจจุบันผลิตปริญญาเอกได้ปีละ 250 คน

ทั้งนี้ คปก.ตั้งเป้าจะผลิตนักวิจัยระดับปริญญาเอกในช่วง 15 ปีให้ได้ 5,000 คน แต่ไม่เป็นไปตามเป้าได้ เพราะงบประมาณจำกัด บัณฑิต คปก.ที่ผลิตได้ 1,250 คนนั้น 92% ทำวิจัยหลังจบการศึกษา และมีบทบาทสำคัญในการวิจัยเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบวิจัยของประเทศ เช่นเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน 700 คน หรือ 50% เป็นนักวิจัยและนักวิชาการภาครัฐ 230 คน หรือ 18% ภาคเอกชน 100 คน หรือ 8% ทำวิจัยเพิ่มเติมในต่างประเทศ 125 คน หรือ 10%

“คปก.ใช้เงินในการผลิตบัณฑิตปริญญาเอก คนละ 1.7 ล้านบาท ในขณะที่หากส่งไปเรียนต่อต่างประเทศต้องใช้เงิน 7 ล้านบาทต่อคน ในอนาคต คปก.จะต้องผลิตปริญญาเอกในสาขาขาดแคลน ได้แก่ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ วิศวะบางสาขา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ พลังงานและสิ่งแวดล้อม” ศ.ดร.นักสิทธิ์ กล่าว

ด้าน ศ.ดร.อมเรศ ภูมิรัตน อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงบทบาทของ คปก.ในการสร้างความเข้มแข็งให้ระบบวิจัยของประเทศว่า ถึงเวลาที่ คปก.ต้องเพิ่มการผลิตนักวิจัยปริญญาให้มากกว่าปีละ 250 คน เพื่อนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจให้มากขึ้น

จับครูกาฬสินธุ์เรียกรับเงินครูอ้างทำอาจารย์3ได้

รวบครูสาวสังกัด สพท.กาฬสินธุ์ เขต 3 เรียกรับเงิน 3 หมื่น จากครู คศ.2 สังกัด สพท.ขอนแก่น เขต 2 อ้างสามารถแก้ไขคะแนนขอเลื่อนวิทยฐานะเป็นครู คศ.3 ให้ได้ ครูสาวซัดทอด อจ.คณะศึกษาศาสตร์ ม.ขอนแก่น เป็นคนทำ ยอมรับได้รับส่วนแบ่ง 10% ตำรวจเชิญตัวอาจารย์ มข.สอบ แต่ยังให้การภาคเสธ ระบุมีครูยอมจ่ายไปแล้ว 8 ราย เผยเหตุยอมจ่าย ได้เงินเพิ่มค่าวิทยฐานะจากเดือนละ 3,500 บาท เป็น 11,200 บาท

เหตุการณ์ตำรวจจับครูสาวสังกัด สพท.กาฬสินธุ์ เขต 3 เรียกรับเงินจากครู อ้างว่าสามารถแก้คะแนนขอเลื่อนเป็นครูชำนาญ การพิเศษได้ เปิดเผยเมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ต.อ.สุจินต์ นิชพานิชย์ ผกก.สภ.เมืองขอนแก่น มอบหมายให้ตำรวจชุดสืบสวน สภ.เมืองขอนแก่น นำโดย ร.ต.อ.พันธ์เพชร เหล่ากำเนิดเพชร รองสารวัตรสืบสวน นำกำลังเข้าจับกุม น.ส.ทิพย์สุดา ชนุกาญจน์ หรือครูหมอก อายุ 42 ปี ครูโรงเรียนแห่งหนึ่ง สังกัด สพท.กาฬสินธุ์ เขต 3 ขณะนัดรับเงินจาก นายประยูร มานนท์ ครูชำนาญ การ โรงเรียนบ้านเขวา ต.กุดเค้า อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น สังกัด สพท.ขอนแก่น เขต 2 หลังจาก น.ส.ทิพย์สุดา ได้เรียกรับเงินจำนวน 3 หมื่นบาท โดยอ้างว่าสามารถแก้ไขคะแนนเพื่อให้นายประยูรได้เลื่อนเป็นครูชำนาญการพิเศษ

ภายหลังจับกุมตำรวจควบคุมตัว น.ส.ทิพย์สุดา มาสอบสวนที่ สภ.เมืองขอนแก่น ก่อนจะนำตัวส่งให้ พ.ต.ต.พีระพัฒน์ เทพบรรหาร พนักงานสอบสวน สภ.ย่อย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดำเนินคดีต่อไป

นายสมยงค์ แก้วสุพรรณ ประธาน อกคศ. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 2 กล่าวว่า การจับกุมครั้งนี้ สืบเนื่องจากเมื่อเวลา 09.00 น.วันเดียวกัน ได้รับการประสานทางโทรศัพท์จากนายประยูร ว่า ได้ส่งผลงานเพื่อขอเลื่อนเป็นครูชำนาญการพิเศษ (คศ.3) หรืออาจารย์ 3 มาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา แต่ผลงานไม่ผ่าน คณะกรรมการระบุให้ปรับปรุงผลงาน

จนกระทั่งวันที่ 18 พฤษภาคม ที่ผ่านมา นายประยูรได้รับโทรศัพท์จาก น.ส.ทิพย์สุดา บอกว่าจะแก้ไขคะแนนให้ โดยเรียกรับเงินค่าตอบแทนจำนวน 3 หมื่นบาท และมีการนัดพูดคุยกันในวันที่ 19 พฤษภาคม ที่บริเวณคอมเพล็กซ์ ชั้น 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น กระทั่งถึงเวลาได้มาตามนัด แต่เนื่องจากวันดังกล่าวไม่มีเงิน จึงนัดชำระเงินในช่วงเที่ยงวันที่ 20 พฤษภาคม

นายสมยงค์กล่าวว่า ได้บอกกับนายประยูรไปว่า ในการยื่นผลงานขอเลื่อนวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์ไม่มีการเรียกรับเงินแต่อย่างใด จึงประสานกับ พ.ต.อ.สุจินต์ กระทั่งได้ส่งตำรวจชุดสืบสวนเข้าจับกุมได้พร้อมธนบัตรของกลางฉบับละ 1,000 บาท จำนวน 30 ฉบับ รวมเป็นเงิน 3 หมื่นบาท และซองเอกสารที่ภายในบรรจุแบบสรุปผลการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติ หน้าที่เพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ซึ่งนายประยูรได้คะแนนเพียง 56 คะแนน แต่ในใบประเมินมีการแก้ไขเป็น 75 คะแนน

นายสมยงค์กล่าวต่อว่า ขณะตำรวจเข้าจับกุมตัว ตนได้สอบถาม น.ส.ทิพย์สุดา ก็ทราบว่าเป็นครูสอน ที่ จ.กาฬสินธุ์ บอกว่า ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ประสานงานเท่านั้น โดยได้รับคำสั่งมาจากอาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นรายหนึ่ง ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการพิจารณาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย น.ส.ทิพย์สุดาจะได้เงินส่วนแบ่ง 10% ของเงินที่เรียกเก็บทั้งหมด พร้อมกับระบุว่า เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ที่ผ่านมา มีครูสังกัด สพท.ขอนแก่น เขต 3 นำเงินมาจ่ายให้แล้ว 8 ราย รายละ 3 หมื่นบาท รวมเป็นเงินจำนวน 2.4 แสนบาท

"การขอเลื่อนวิทยฐานะนั้น ตามระเบียบไม่ต้องเสียเงิน ถ้าหากไม่ผ่านการประเมิน ทางคณะกรรมการก็มีเกณฑ์การเยียวยาอยู่แล้ว การเรียกเก็บเงินดังกล่าวถือเป็นเรื่องเสื่อมเสียของวงการครู ที่ผ่านมาผมมีการติดตามหากระบวนการดังกล่าวมาโดยตลอด แต่ก็ไม่สามารถจับได้ซึ่งๆ หน้าเหมือนในครั้งนี้ อีกทั้งเป็นการสมยอมระหว่างครูและคณะกรรมการบางรายที่มีการเรียกรับเงินเท่านั้น ทำให้การตรวจสอบเรื่องดังกล่าวเป็นไปได้ยาก สาเหตุที่ครูยอมจ่ายเงินจำนวน 3 หมื่นบาท เพื่อแลกกับเงินวิทยฐานะนั้น เพราะจากเดิมครู คศ.2 จะได้รับเงินวิทยฐานะเดือนละ 3,500 บาท แต่หากได้เลื่อนเป็นครูชำนาญการพิเศษจะได้รับเงินค่าวิทยฐานะเดือนละ 11,200 บาท จึงทำให้ครูเหล่านี้ยอมที่จะจ่ายเงิน" นายสมยงค์กล่าว

ประธาน อกคศ.สพท.ขอนแก่น เขต 2 กล่าวอีกว่า เรื่องดังกล่าวส่งผลกระเทือนต่อวงการการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพราะอาจารย์มหาวิทยาลัยขอนแก่นผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ ส่วนครูสาวจาก จ.กาฬสินธุ์ ก็ผิดต่อวิชาชีพครู มีความผิดทั้งอาญา วินัย และทางแพ่ง โทษสูงสุดถึงขั้นไล่ออก ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้คงต้องปล่อยเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และ สพท.กาฬสินธุ์ เขต 3 ต่อไป

ด้านนายประยูรกล่าวว่า การให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรียกรับเงินอาจารย์ในมหาวิทยาลัยขอนแก่นครั้งนี้ เพราะคิดว่าหากไม่ผ่านการพิจารณาในการเลื่อนวิทยฐานะก็คงต้องทำใจยอมรับสภาพ และถ้าหากว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยขอนแก่นเรียกรับเงินจริงก็คิดว่าตนคงจะไม่ ผ่านการพิจารณาแน่

"ทันทีที่มีการเรียกเงินจำนวน 3 หมื่นบาท ผมก็ได้ปรึกษากับนายสมยงค์ ว่าควรทำอย่างไร ซึ่งได้คำตอบว่าหากมีการจ่ายเงินดังกล่าวอาจจะทำให้วงการครูเสื่อมเสียชื่อเสียง เพราะเท่าที่ทราบ ครูสังกัด สพท.ขอนแก่น เขต 3 มีการจ่ายเงินไปแล้ว 8 ราย และคิดว่าก็คงจะมีรายอื่นๆ ตามมา ซึ่งครูบาง ส่วนอาจจะคิดว่าเงินจำนวนดังกล่าวน้อยนิดเมื่อเทียบกับเงินที่ได้รับเดือนละ หมื่นกว่าบาทก็ถือว่าคุ้มค่า แต่ผมไม่ชอบวิธีการเรียกรับเงินเหล่านี้" นายประยูรกล่าว

นายประยูร กล่าวอีกว่า หากไม่ผ่านการพิจารณาก็ยังมีสิทธิ์ที่จะยื่นขอปรับปรุงอีก 6 เดือน หากไม่ผ่านก็ปรับปรุงอีก 3 เดือน และยังมีขั้นตอนอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งอยากจะฝากไปถึงครูผู้ร่วมวิชาชีพว่า หากตั้งใจทำจริงเชื่อว่าคงจะผ่านการประเมินโดยไม่ต้องไปเสียเงินแต่อย่างใด

ด้าน ร.ต.อ.พันธ์เพชร กล่าวว่า ภายหลังสอบปากคำ น.ส.ทิพย์สุดา ซึ่งให้การซัดทอดไปถึงอาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้เชิญตัวอาจารย์จากคณะศึกษาศาสตร์มาสอบปากคำ เบื้องต้นเจ้าตัวยังให้การปฏิเสธ และอ้างว่าไม่ทราบรายละเอียดที่เกิดขึ้น ซึ่งตำรวจจะขยายผลสืบสวนต่อไป รวมทั้งส่งตัว น.ส.ทิพย์สุดา ให้ตำรวจ สภ.ย่อย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดำเนินการสอบสวนและแจ้งข้อหาดำเนินคดีต่อไป

"จุรินทร์"ผุดโครงการร.ร.3ดีส่งเสริมปชต.

“จุรินทร์ “ ผุดโครงการโรงเรียน 3D Democracy – Decency – Drug สั่งสถานศึกษาระดับขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษา ทั้งรัฐและเอกชน ทำโครงการส่งเสริมประชาธิปไตย ปลูกฝังคุณภาพสำนึกรักชาติ และป้องกันปัญหายาเสพติด ชี้ ร.ร.ต้องปลูกฝังให้นร.รังเกียจการซื้อเสียง เพื่อกำจัดมะเร็งร้ายทำลายระบอบประชาธิบไตย ส่วนการรณรงค์แก้ปัญหายาเสพติดนั้น ให้ตีเน้นรณรงค์เลิกสูบ ดึงครูผู้บริหาร เลิกสูบเป็นตัวอย่างให้นักเรียนด้วย

ร.ร.เรดิสัน - นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยระหว่างให้นโยบายแก่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่ว ประเทศ ว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะให้สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษาทุกแห่งทั้งรัฐและ เอกชน จัดกิจกรรม 3 D คือ กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย (Democracy ) กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ความภาคภูมิในความเป็นไทย(Decency) และกิจกรรมป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด (Drug )

นายจุรินทร์ ขยายความต่อว่า ทุกโรงเรียนโดยความช่วยเหลือของคณะกรรมการการเลือกตั้ง จะต้องคิดโครงการจัดกิจกรรมรณรงค์เรื่องประชาธิปไตยอย่างจริงจัง เพื่อให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย ที่สำคัญ ต้องปลูกฝังให้นักเรียนรังเกียจและต่อต้านการซื้อสิทธิขายเสียงซึ่งเปรียบ เทียบมะเร็งร้ายของระบอบประชาธิปไตย เป็นปัญหาใหญ่ซึ่งทำให้เกิดปัญหาทุกอย่างตามมา เมื่อมีการการซื้อเสียงก็ต้องมีการถนทุน การคอรัปชั่น นำมาซึ่งความล้มเหลวของระบบประชาธิปไตยในบ้านเรา เป็นปัญหาคาราคาซังมาจนทุกวันนี้ อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ไม่ได้ทำเพื่อนักการเมือง หรือพรรคการเมืองใด แต่ ศธ.ต้องการปลูกฝังจริยธรรมของระบอบประชาธิปไตยอันบริสุทธิ์

ส่วนกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนั้น ปัจจุบันสถานศึกษาจัดกิจกรรมดังกล่าวอยู่แล้ว แต่ต้องการให้เพิ่มความเข้มข้นขึ้น และให้รายงานผลการการดำเนินการมายังต้นสังกัดด้วย

รมว.ศธ. กล่าวต่อว่า สุดท้าย ร.ร.จะต้องมีแผนแก้ปัญหายาเสพติดอย่างครบวงจร ทั้งป้องกัน ปราบปรามและบำบัดรักษาผู้เสไม่พยายาเสพติดอย่างครบวงจร ที่สำคัญ การรณรงค์แก้ไขปัญหายาเสพติดของสถานศึกษานั้น จะให้เน้นหนักการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ด้วย ที่ผ่านมา สถานศึกษา ตีความยาเสพติดแค่ยาบ้า ยาไอซ์ เฮโรอีน แต่จริง ๆ แล้ว บุหรี่ก็เป็นยาเสพติดชนิดหนึ่งและมีงานวิจัยวา บุหรี่เป็นจุดเริ่มต้นเดินไปสู่การเสพยาเสพติดที่รุนแรงขึ้น เพราะฉะนั้น ต้องสกัดกั้นตั้งแต่ต้นทางจึงจะป้องกันเยาวชนจากยาเสพติดได้ผล

“จะต้องให้สถานศึกษาเป็นเขตปลอดบุหรี่ โดยครู ผู้บริหาร จะต้องไม่สูบบุหรี่เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เด็ก อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาเยาเสพติดในสถานศึกษานั้น จะต้องเริ่มจากการยอมรับความจริง ผู้บริหารสถานศึกษาต้องกล้าเปิดเผยตัวเองนักเรียนเสพยาที่แท้จริง และไม่ต้องกลัวว่า จะมีความผิด ผมจะไม่เอาโทษทางวินัยกับสถานศึกษาที่มีเด็กติดยาเสพติด เพราะต้องการให้สถานศึกษากล้าเปิดเผยความจริงออกเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา “ นายจุรินทร์ กล่าว

รมว.ศธ. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ จะให้ สพท.ติดตามการจัดกิจกรรม 3D ของทุกสถานศึกษาและรายงานผลต่อสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และเดียวกัน สพฐ.เองก็จะมีรูปแบบการจัดกิจกรรมสำเร็จรูป โครบการต้นแบบ เพื่อให้ร.ร.นำไปปรับใช้ได้ หรือร.ร.ใดจะคิดโครงการขึ้นมาเป็นนวตกรรมใหม่ ๆ ก็ได้ แต่ทุกร.ร.จะต้องมีกิจกรรม 3 อย่างนี้ ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งทั้งรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)กำลังดำเนินการอยู่ จึงต้องการให้สถานศึกษาจัดกิจกรรม 3 D ขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว

เด็กชาวเขาปลื้มเครื่องแบบนักเรียนใหม่

เด็กชาวเขาปลื้มเครื่องแบบนักเรียนใหม่ วอนทุกรัฐบาลอย่าทิ้งสานต่อนโยบายเรียนฟรี

วันที่ 20 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มนักเรียนชาวไทยภูเขาโรงเรียนแม่มอญวิทยา หมู่ 2 ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ต่างแสดงความดีใจ ที่รัฐบาลได้ดำเนินการนโยบายเรียนฟรี 15 ปี พร้อมกับได้มีการสนับสนุนเครื่องแบบนักเรียน เนื่องจากช่วยลดภาระผู้ปกครอง

นายจตุภูมิ แจ่มหม้อ ผู้อำนวยการโรงเรียนแม่มอญวิทยา เปิดเผยว่า โรงเรียนแม่มอญวิทยา เป็นโรงเรียนเล็กๆ แห่งหนึ่งที่มีเด็กนักเรียนชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่าและลีซอ จำนวน 220 คน เข้าทำการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา ซึ่งเด็กนักเรียนส่วนใหญ่ผู้ปกครองที่มีฐานะเศรษฐกิจครอบครัวที่ยากจน และขาดแคลน ดังนั้น การสนับสนุนทั้งเครื่องแบบนักเรียน หนังสือเรียน จึงเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองนักเรียนพึงพอใจมาก เพราะช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย

อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ปกครองอยากให้ทางรัฐบาลทุกชุดในอนาคตที่มาจากพรรคใดก็ตาม ได้มีการสานต่อนโยบายดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับอยากให้มีการเพิ่มจำนวนเครื่องแบบนักเรียน เนื่องจากนักเรียนบนภูเขาส่วนมาก จะไม่มีเครื่องแบบนักเรียน และเครื่องแบบที่ได้รับในครั้งนี้ จึงถือเป็นชุดหลักสำหรับใส่สลับกับชุดนักเรียนชุดเก่า หรือชุดพื้นเมืองประจำเผ่า

ด้าน ด.ช.จะนะ มาเยอะ อายุ 10 ปี กล่าวว่า นโยบายเรียนฟรีของ รัฐบาลทำให้เด็กๆ หลายคนได้มีโอกาสเรียนมากขึ้น เนื่องจากเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง และเด็กหลายคนรู้สึกดีใจที่ได้รับชุดนักเรียนใหม่ ซึ่งที่ผ่านมาเด็กชาวไทยภูเขาจะได้รับบริจาคเพียงแต่ หนังสือเรียน ดินสอ ปากกา ยางลบ ดินน้ำมัน ซึ่งอยากให้รัฐบาลสนับสนุนตลอดไป ซึ่งกลุ่มเด็กที่ได้รับโอกาสก็จะตั้งใจเรียน เพื่อมาช่วยพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ต่อไป

Monday, May 18, 2009

ม.มหิดลชูงานวิชาการ-วิจัยก้าวสู่มหาวิทยาลัยระดับโลก

คมชัดลึก : "ผมมีนโยบายพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดลให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก สร้างความเป็นเลิศทางด้านสุขภาพ วิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และนวัตกรรมบนพื้นฐานของคุณธรรม เพื่อสังคมไทย และประโยชน์สุขแก่มวลมนุษยชาติ จะมุ่งเน้นวิจัยใน 3 ด้าน ทั้งชีวะทางการแพทย์ ชีววิทยาศาสตร์และวิศวะด้านการแพทย์ เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ในการป้องกันโรคและพัฒนาสุขภาพของคนไทยและคนทั่วโลก"

ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) วัย 61 ปี บอกถึงนโยบายบริหารมหาวิทยาลัยมหิดลที่ ยึดมั่นมากว่า 1 ปีที่มานั่งเก้าอี้อธิการบดี หลังจากเรียนจบคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เมื่อปี 2514 เริ่มรับราชการที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในฐานะหมอผ่าตัดฝีมือดีเชี่ยวชาญด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ต่อมาปี 2543 เป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและนั่งในตำแหน่งนี้กว่า 7 ปี

หลังจากนั้นช่วงปลายปี 2550 "ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกล" มาเป็นอธิการบดีซึ่งช่วงนั้นเป็นระยะเปลี่ยนผ่านจากมหาวิทยาลัยรัฐไปสู่การ เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เขาก็มุ่งมั่นทำงานอย่างเต็มที่ ล่าสุดผลการจัดอันดับของ QS Asian Universities Ranking 2009 ปรากฏว่ามหาวิทยาลัยมหิดลเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยของประเทศไทย 4 แห่ง ที่ติดอันดับ 1 ใน 100 ของมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชีย โดยมหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย และเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอยู่ในอันดับ 30 ของเอเชีย

มหาวิทยาลัยมหิดลถือ กำเนิดจาก "โรงศิริราชพยาบาล" ณ วันนี้มีอายุ 123 ปี แต่หากนับจากวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2512 ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงโปรดเกล้าฯปรับปรุงมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยขึ้นใหม่เรียกว่า "มหาวิทยาลัยมหิดล" โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "มหิดล" อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นชื่อมหาวิทยาลัย แทนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เดิม ปีนี้มหาวิทยาลัยมหิดลจึงมีอายุ 40 ปี

อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลแจกแจง ว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแห่งนี้มี 34 คณะ เปิดสอนด้านการแพทย์ 3 คณะ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีและคณะเวชศาสตร์เขตร้อน และเปิดสอนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ รวมทั้งวิทยาลัยนานาชาติด้วย มีนักศึกษาทั้งหมด 2.7 หมื่นคน อาจารย์ 3,700 คน ซึ่งในจำนวนนี้ 60-70% จบปริญญาเอก มีโรงพยาบาลรัฐที่อยู่ในความดูแล 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลรามาธิบดี

"มหาวิทยาลัยมุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นคนมีคุณธรรมจริยธรรม มีความเป็นผู้นำ และมีความคิดสร้างสรรค์ ที่สำคัญปลูกฝังให้บัณฑิตทุกคนยึดถือและสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรม ราชชนกที่ทรงสอนให้พึงปฏิบัติต่อผู้อื่นเหมือนดังปฏิบัติต่อตนเอง" ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกล บอกถึงนโยบายผลิตบัณฑิต

อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลบอก ด้วยว่า การที่มหาวิทยาลัยเปลี่ยนไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐนั้น ปัญหาใหญ่ที่สุดคืองบประมาณเพราะมหาวิทยาลัยมีโรงพยาบาลต้องดูแลถึง 2 แห่งรวมกันแล้ว ดูแลคนไข้ปีละ 3-4 ล้านคน รวมทั้งงบเงินเดือนของพนักงานมหาวิทยาลัยและงบวิจัย จึงต้องใช้งบประมาณมหาศาล

"การพัฒนามหาวิทยาลัยต้องใช้งบประมาณมาก มหาวิทยาลัยพยายามพึ่งตัวเองให้มากที่สุด แต่งบก็ไม่พอ เวลานี้รัฐบาลมีงบประมาณจำกัดซึ่งเข้าใจดี การเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัยจึงต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป" ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกล บอกทิ้งท้าย

เรียนฟรี15ปีเชียงใหม่2สำเร็จ100%

คมชัดลึก : สพท.เชียงใหม่เขต 2 ปลื้มผลการดำเนินงาน เรียนฟรี 15 ปี ทั้ง 4 รายการ บรรลุเป้าหมาย 100% แนะทุกเขตพื้นที่การศึกษาเร่งสำรวจความพึงพอใจของพ่อแม่ ผู้ปกครองและนักเรียนด้วย

นางสุมิตรา กันธิยะ นักวิชาการศึกษา ชำนาญการพิเศษ กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ เปิดเผยว่า นายมนู มณีรัตน์ ผู้อำนวยการ สพท.เชียงใหม่ เขต 2 ได้เรียนย้ำ กำชับนโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ให้ผู้รับผิดชอบทุกฝ่าย ผู้บริหารสถานศึกษา รองผอ.โรงเรียน ครูฝ่ายวิชาการ ครูการเงิน และผู้รับผิดชอบงาน ไอซีที ให้ศึกษาแนวทางการดำเนินงาน ให้เข้าใจเป็นพิเศษ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติให้โดยเร่งด่วนให้ทันเปิดเทอม

"ในช่วงสัปดาห์ก่อนเปิดภาคเรียน ได้มอบหมายรอง ผอ.สพท.เชียงใหม่เขต 2 เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ทุกพื้นที่ 5 อำเภอ และในเรื่องภาพรวมของการดำเนินงาน เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2552 พบว่าผลสรุปในภาพรวมสำเร็จอย่างน่าพึงพอใจ แจกของฟรีทั้ง 4 รายการ" นางสุมิตรา กล่าว

นางสุมิตรา กล่าวต่อว่า หนังสือเรียนได้ดำเนินการรายงานตามข้อปฏิบัติของโรงเรียนผ่านทางเว็บไซต์ ทั้ง 190 โรงเรียน ซึ่งได้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการฝ่ายวิชาการ และคณะกรรมการภาคีสี่ฝ่ายผ่านความเห็นชอบ ร่วมตลาดนัดหนังสือเรียน เลือกหนังสือตามบัญชี และตรวจรับหนังสือภายในระยะเวลากำหนด เมื่อวันที่ 30 เมษายน สรุปได้ว่าดำเนินการครบคิดเป็น 100% เช่นเดียวกับการแจกค่าเครื่องแบบนักเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน กิจกรรมพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน

"การดำเนินงานแม้ได้ผล แต่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในทุกเขต น่าจะสำรวจความพึงพอใจทั้งฝ่ายโรงเรียน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และนักเรียน ในฐานะผู้รับบริการเรียนฟรี 15 ปี ว่ามีความพึงพอใจมากน้อยแค่ไหน สมควรที่จะเติมเต็มในส่วนใดบ้าง เป็นการบ้านฝากไว้สำหรับผู้บริหารระดับสูงจะได้พิจารณาต่อไป" นางสุมิตรา กล่าว

เวทีของ(ว่าที่)ดีไซเนอร์รุ่นใหม่

คมชัดลึก : "เปิดโลกอินเทรนด์" วันนี้ ยังคงมีเรื่องราวดีๆ แบบอิน(เทรนด์) มาฝากกันเช่นเคย ได้ไปเห็นความช่างคิด ช่างออกแบบของว่าที่ดีไซเนอร์รุ่นใหม่แล้ว บอกได้เลยว่า อดไม่ได้ที่จะเอามาฝากกัน เพราะเห็นจากเสื้อผ้าที่น้องเขาบรรจงใส่ไอเดียเข้าไปแล้ว โห...เชื่อว่าแจ้งเกิดได้สบาย

ในงานออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ มีนักศึกษาที่เข้าเรียนออกแบบ นำผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นมาจากความคิดของพวกเขา หลังจากจบแล้วก็เลยมีผลงานดีๆ มาโชว์กัน ที่กลางเมือง อย่าง สยามดิสคัฟเวอรี่ งานนี้ เรียกทุกสายตาที่เดินผ่านไปมาในห้างต้องมารุมมองกันแน่นขนัด เพราะนอกจากเสื้อผ้าที่ดีไซน์มาอย่างสวยงามแล้ว ยังมีนางแบบมืออาชีพมาสวมเดินบนแคทวอล์กให้ชมด้วย

"น้องอุ๋ย" นฤมล ธรรมเสถียร สาวน้อยเจ้าของผลงานที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในงานนี้ เสื้อผ้าที่เธอออกแบบมาเป็นสีขาวสวย คอนเซ็ปท์มาจากความคิดในเรื่อง ราคะ หรือ ความร้อนแรง แต่เธอคิดในมุมกลับกันว่า ความร้อนแรง หรือ ราคะ ในมุมมองของเธอนั้น เธออยากนำเสนอให้ออกมาเป็นสีขาว ซึ่งเป็นสีที่ตรงกันข้ามกับราคะ แต่ก็ยังมีแอบเพิ่มสีดำเข้าไปนิดหน่อย เนื่องจากว่าในชีวิตความเป็นจริงย่อมมีทั้งสีขาวและสีดำ

"สำหรับตัวเองแล้วถามว่ายากไหม คงไม่ยากมาก เพราะโดยส่วนตัวมีความชอบในเรื่องนี้อยู่แล้วก็เลยสนุก แต่ก็ยอมรับว่า กว่าจะผ่านงานนี้ออกมาต้องทำหลายครั้งมาก เพราะต้องปรึกษาอาจารย์ตลอด ถ้าไม่ผ่านก็ต้องทำใหม่ แล้วก็ต้องเลือกเองทุกอย่าง ตั้งแต่ออกแบบ เลือกผ้าที่จะใช้ ซึ่งไปหามาจนได้ตามที่อยากได้ แล้วก็ต้องเลือกช่างที่จะตัดเย็บ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากผ้าที่ใช้เป็นผ้าที่สั่งทำพิเศษ ดังนั้น ก็ต้องเลือกช่างให้ดีจะได้ไม่เสียหาย" น้องอุ๋ย บอกด้วยรอยยิ้ม

อีกสาวหนึ่ง ซึ่งมาในแนวที่ไม่ค่อยต่างกันเท่าไหร่ น้องกวาง หรือ ศศิธร แซ่เตียว เธอบอกว่า สำหรับเธอแล้วการที่ได้เห็นนางแบบสวมชุดซึ่งเป็นผลงานของเธอขึ้นเวทีแคท วอล์กเป็นเรื่องที่รู้สึกดีใจอย่างมาก

ไอเดียสำหรับชุดสวยของเธอนั้น มาจากแม่ชีก็แอบมีความเซ็กซี่เล็กๆ ได้ ไม่จำเป็นต้องเคร่งครัดเสมอไป เพราะจะว่าไปแล้วมนุษย์ย่อมมีความรู้สึกต่างๆ ซึ่งแม่ชีเองก็มีความรู้สึก ดังนั้น ชุดที่เธอออกแบบมา จึงเป็นเหมือนชุดที่แม่ชีสวมใส่ แต่แอบเปรี้ยวเป็นสีแดงและน้ำเงิน ซึ่งดูแล้วเก๋ไปอีกแบบหนึ่ง

"อยากสื่อออกมาให้รู้ว่า นางชีเองก็มีความรัก ความรู้สึกอยากสวย ดังนั้น ชุดที่ดีไซน์ออกมาก็เลยเหมือนเป็นชุดที่แอบซ่อนความรู้สึกที่นางชีมีอยู่ ข้างใน สื่อแบบเรียบๆ แต่เน้นที่การคัทติ้งแทน ว่าต้องเนี้ยบ เมื่อทำออกมาแล้วก็รู้สึกภูมิใจว่าเราทำได้ เพราะเราเลือกเองทุกอย่างในเรื่องของวัสดุอุปกรณ์ ทำให้เราเรียนรู้อะไรหลายอย่าง"

น้องกวางบอกอีกว่า หลังจากนี้ไปก็อยากทำเสื้อผ้าที่ตัวเองออกแบบออกมา อยากมีแบรนด์เป็นของตัวเอง แล้วเสื้อผ้าที่ออกแบบ คงเป็นแบบเรียบๆ ไม่มีอะไรเยอะแยะ แต่เน้นการตัดเย็บที่ต้องเนี้ยบ และเชื่อว่าเพื่อนๆ ที่มาเรียนที่นี่หลายคนก็มีความรักเรื่องการออกแบบเป็นทุนเดิม ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะเท่ากับว่าช่วยให้มีดีไซเนอร์หน้าใหม่ๆ ในเมืองไทยเพิ่มมากขึ้น

หลังจากพูดคุยกับน้องๆ ก็มานั่งดูเสื้อผ้าที่นักศึกษาทั้งหมดกว่า 30 คนต่างออกแบบ แล้วมีนางแบบมาเดินโชว์อยู่บนเวทีแคทวอล์ก แม้บางชุดดูแล้วอาจจะเป็นความคิดที่บรรเจิดจนยากจะสวมใส่ได้จริงบนท้องถนน แต่ในเรื่องของไอเดียแล้วต้องยอมรับว่า บรรเจิดมากๆ เพราะนี่เท่ากับว่าเป็นการเริ่มต้นของการปล่อยความคิด ได้ระเบิดไอเดียไปสู่ชิ้นงาน คือ เสื้อผ้า

เท่ากับว่า เป็นการต่อยอดให้เมืองไทยมีดีไซเนอร์หน้า ใหม่ แล้วก็จะมีแบรนด์ใหม่ๆ ที่คนไทยผลิตเอง ทำเอง อาจจะทั้งขายในไทย แล้วส่งขายเมืองนอกด้วยก็ได้ อันนี้ต้องขอปรบมือให้ว่า แค่มีไอเดีย แค่คิด ก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว...

Friday, May 15, 2009

ระวังพ่อ-แม่ ครู ทำสมองเรียนรู้เด็กชะงักพัฒนาจริยธรรมเด็กต้องปฐมวัย Bookmark and Share

อาจารย์สถาบันพฤติกรรมศาสตร์ มศว แนะพ่อ แม่ ครู ใช้สหวิทยาการพัฒนาจริยธรรมช่วงแรกเกิดถึง 7 ขวบ จัดการรียนรู้ที่พึงพอใจ แปลกใหม่และสนุกสนาน บนพื้นฐานของความรักความอบอุ่นและเน้นความแปลกใหม่และสนุกสนานเป็นหลัก

ผศ.ดร.ฉันทนา ภาคบงกช อาจารย์สถาบันพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า เด็กที่อยู่ในช่วงปฐมวัยซึ่งอยู่ในช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 7 ขวบเป็นช่วงที่เหมาะสมสำหรับการส่งเสริมการพัฒนาจริยธรรมในเด็กปฐมวัย ซึ่งการปลูกฝังในเรื่องจริยธรรมให้แก่เด็กกลุ่มนี้ต้องใช้ความรู้ที่หลากหลายหรือที่เรียกกันว่าสหวิทยาการ ถึงจะทำให้เด็กเกิดพัฒนาจริยธรรมขึ้นในตัวเองได้ เป็นต้นทุนของชีวิตที่กำลังเติบโตขึ้นเป็นผู้ให้ในอนาคต

ดังนั้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กๆ ที่อยู่ในช่วงปฐมวัยซึ่งได้แก่พ่อแม่และผู้ดูแลเลี้ยงดูเด็ก ตลอดถึงครูควรเริ่มต้นปูพื้นฐานจากการพัฒนาเชาวน์ปัญญาทางอารมณ์ (อีคิว) ต้องทำให้เด็กสามารถตระหนักรู้อารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่น มีสติรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกนึกคิด สามารถประเมินและแยกแยะอารมณ์ สอนให้ยอมรับและแสดงอารมณ์อย่างถูกต้องตามกาลเทศะและตรงตามความเป็นจริง สามารถควบคุมและจัดการกับอารมณ์ของตนเองและผู้อื่นได้โดยใช้ปัญญาในการดำรง ชีวิต เชาวน์ปัญญาทางอารมณ์นี้จะปรากฏในเด็กปฐมวัยชัดเจนในบางด้าน และบางด้านต้องอาศัยเวลาในการพัฒนา และหากไม่มีอุปสรรคปัญหาใดๆ มาขัดขวางเชาวน์ปัญญาทางอารมณ์จะพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง

“การจะทำให้เด็กในช่วงปฐมวัยได้รับการพัฒนาเชาวน์ปัญญาอย่างต่อเนื่อง นั้น พ่อแม่ผู้ปกครองและครู ต้องเรียนรู้การทำงานของสมองเพื่อการเรียนรู้ หรือที่เรียกว่า (Brain Based Learning) การเรียนรู้การทำงานของสมองจะทำให้เราเข้าใจเด็กมากขึ้น เด็กวัยนี้จะใช้สมองส่วนที่เรียกว่าระบบลิมบิกตลอดเวลา สมองส่วนนี้เกี่ยวข้องกับอารมณ์และจิตใจของเด็ก" ผศ.ดร.ฉันทนากล่าว

นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กที่อยู่ในช่วงปฐมวัยจะใช้สมองส่วนลิมบิกได้มากที่สุด และสมองส่วนนี้จะถูกพัฒนาในช่วงปฐมวัยมากที่สุด เป็นหน้าต่างการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เด็กจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อพบสิ่งที่พึงพอใจ แปลกใหม่และสนุกสนาน จะชะงักเมื่อเด็กพบกับความเครียด ดังนั้นพ่อแม่ ครูจึงควรจัดกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการเรียนหรือการเล่นในชีวิตประจำวันควรอยู่บนพื้น ฐานของความรักความอบอุ่นและเน้นความแปลกใหม่และสนุกสนานเป็นหลัก

ห้องสมุดเดลินิวส์เสร็จสมบูรณ์แล้ว ดีเดย์17พ.ค.นี้ทำพิธีส่งมอบให้กับรร.ตชด.

ห้องสมุดเดลินิวส์ โครงการ “เดลินิวส์ส่งต่อของขวัญ” เสร็จสมบูรณ์แล้ว “บก.ประภา” นำทีมชาวสีบานเย็น ทำพิธีส่งมอบให้กับทางโรงเรียนตำรวจชายแดนบ้านประตูด่าน พร้อมมอบอุปกรณ์การเรียน-กีฬา ในวันอาทิตย์ที่ 17 พ.ค.นี้ มีดารานักร้อง-นักแสดงร่วมสร้างความบันเทิงให้เด็กนักเรียนเต็มที่ เผย “นายกฯ อภิสิทธิ์” มอบหนังสือ “ความสุขของกะทิ” ส่งเป็นของขวัญแด่เด็ก ๆ ด้วย

หลังจากที่เดลินิวส์เปิดตัวโครงการ“เดลินิวส์ส่งต่อของขวัญ” ในโอกาสฉลองครบรอบ 45 ปีหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ที่ผ่านมา โดยรับบริจาคเงินและอุปกรณ์การเรียน-กีฬา เพื่อมอบให้กับโรงเรียนที่ขาดแคลน และทาง “เดลินิวส์” ได้คัดเลือก โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านประตูด่าน จ.กาญจนบุรี เข้าร่วมโครงการเป็นแห่งแรก โดยดำเนินการจัดสร้างห้องสมุดให้กับทางโรงเรียน

ปรากฏว่าโครงการเดลินิวส์ส่งต่อของขวัญได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและ เอกชนอย่างคับคั่ง โดยหลังจากปิดการรับบริจาคเมื่อวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา สรุปยอดรวมการบริจาคสิ่งของต่าง ๆ และเงินทุนรวมทั้งสิ้น 1.8 ล้าน บาท ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้มอบหนังสือ “ความสุขของกะทิ” พร้อมลายเซ็นเพื่อร่วมในโครงการด้วย

ดร.ประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ กล่าวว่า ต้องขอขอบพระคุณทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมบริจาค จนทำให้โครงการสำเร็จอย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้ ในส่วนของการก่อสร้างอาคารห้องสมุด ขณะนี้เสร็จสมบูรณ์แล้ว และจะทำพิธีส่งมอบในวันอาทิตย์ที่ 17 พ.ค.นี้ ที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านประตูด่าน ซึ่งเดลินิวส์หวังเป็นอย่างยิ่งว่าห้องสมุดแห่งนี้จะเป็นคลังปัญญาช่วยเสริม สร้างและต่อยอดความรู้ทางการศึกษาให้กับนักเรียน และเป็นประโยชน์กับชุมชนอย่างถาวรต่อไป

สำหรับกิจกรรมในวันที่ 17 พ.ค.นี้ นอกจากจะมีการส่งมอบอาคารห้องสมุดอย่างเป็นทางการแล้ว ยังมีกิจกรรมการแจกอุปกรณ์การเรียน-กีฬา และเลี้ยงอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียน โดยมีศิลปินดารา นักร้อง ไปร่วม เล่นเกมและสร้างความบันเทิงให้กับเด็กนักเรียนอีกด้วย.

"มาร์ค"ชี้ไม่เลิกขัดแย้งปฏิรุปการศึกษาล่ม

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวตอนหนึ่งในการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ทิศทางและนโยบายของรัฐบาลต่อการปฏิรูปการศึกษารอบสอง” เมื่อวันที่ 14 พ.ค. ที่สโมสรทหารบก ว่า ขณะนี้สังคมตั้งคำถามว่า การปฏิรูปการศึกษาในปี 2542 ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว และคงคิดว่าการปฏิรูปในรอบใหม่นี้ จะนำไปสู่ปัญหาความยุ่งยากหลายสิ่ง ซึ่งตนมองว่าการปฏิรูปการศึกษา เป็นปัญหาใหญ่พอ ๆ กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะถึงแม้จะ มีการปรับแก้แล้ว แต่ก็ยังจับไม่ถูกจุด ซึ่งการปฏิรูปการศึกษาเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา แม้จะมีความสำเร็จในหลายด้าน แต่ก็ยังไม่เป็นที่พอใจของสังคม และในบางด้านอาจจะยังหลงทาง หรือ เดินวนเวียนอยู่ อาทิ การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา เรื่องการเรียนฟรี ก็มีเสียงบ่นอยู่ว่า ยังไม่ฟรีจริง โดยเฉพาะเป้าหมายสำคัญ คือ คุณภาพการศึกษา ที่ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็กไทยในแต่ละช่วงชั้นยังคงเป็นที่น่าผิดหวัง ดังนั้นสิ่งที่ท้าทายในการปฏิรูปการศึกษารอบใหม่ คือ สำรวจว่าการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมามีจุดใดบ้างที่ยังล้มเหลว ไม่ก้าวหน้า เพื่อนำมาแก้ไขให้ตรงจุด และทำให้การปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนและแท้จริง

“ผมอยากให้ผู้เกี่ยวข้องนำบทเรียนจากการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมา เป็นแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหม่ โดยเฉพาะปัญหาที่เมื่อมีการเดินหน้าการปฏิรูปกันจริง ๆ กลับไปเสียเวลาถกเถียง และขัดแย้งกัน ในเรื่องที่ไม่ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพการศึกษา เช่น การปรับโครงสร้างหน่วยงาน เป็นต้น เพราะถึงแม้วันนี้โครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ จะเปลี่ยนไปจากเดิมมาก แต่เนื้อหาหรือระบบการบริหารกลับไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นในการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ ไม่ว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในด้านใด อาทิ การปรับโครงสร้าง หรือการตั้งหน่วยงานใหม่ แต่สิ่งจำเป็นที่สุดต้องมองถึงเป้าหมายสุดท้ายว่า ทั้งหมดคือเครื่องมือในการสร้างคุณภาพให้เกิดขึ้นในวงการศึกษา เพราะตราบใดที่ยังก้าวไม่ พ้นจุดนี้ ต่อให้ปฏิรูปกันกี่รอบก็เสียดายเวลาเปล่า” นายอภิสิทธิ์ กล่าวและว่า นอกจากนี้ผู้ที่อยู่ในสังคมการศึกษาจะต้องเอาชนะแรงเฉื่อย และกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงไม่ยึดติดกับค่านิยมเดิม ๆ

ด้าน ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน อดีต รมว. ศึกษาธิการ กล่าวว่า การปฏิรูปรอบสองควรเป็นการปรับแต่งในสิ่งที่เป็นปัญหาในการปฏิรูปรอบแรกให้ ดี และทันสมัยขึ้น รวมถึงเติมเต็มสิ่งที่ขาดอยู่ โดยมุ่งพัฒนาปัจจัยคุณภาพทุกด้าน และให้ประชาชนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ภายในระยะเวลา 8 ปี จากปัจจุบันการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยอยู่ที่ 8.2 ปี รวม ถึงพัฒนาตัวผู้เรียนให้มีความพร้อม ซึ่งควรดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และสิ่งสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนที่ถือว่าขาดไปมาก คือ เรื่องคุณธรรมที่ต้องเร่งปลูกฝังอย่างจริงจัง.

ม.ร.เก็บค่าหน่วยกิต25บาทช่วยแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง

รศ.คิม ไชยแสนสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ม.ร.) เปิดเผยถึงการรับสมัครนักศึกษาใหม่ ระดับปริญญาตรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ว่า ปีนี้ ม.ร.ได้ใช้ระบบ ซูเปอร์ เซอร์วิส (Super Service) ในการรับสมัครนักศึกษาทั้งที่ส่วนกลาง (หัวหมาก) และที่สาขาวิทยบริการฯ ส่วนภูมิภาค 21 จังหวัดทั่วประเทศ โดยเป็นการพัฒนามาจากระบบวันสต๊อป เซอร์วิส ซึ่งจะทำให้ทุกขั้นตอนของการรับสมัครมีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยขณะนี้กำลังเปิดรับสมัครและจะรับสมัครถึงวันที่ 17 พ.ค.นี้

อธิการบดี ม.ร.กล่าวต่อไปว่า สำหรับค่าหน่วยกิตในปีนี้ ม.ร.ยังคงเก็บในอัตราเดิมคือ หน่วยกิตละ 25 บาท เพราะเข้าใจถึงความเดือดร้อนของผู้ปกครองในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ดังนั้น ม.ร. จึงต้องการมีส่วนร่วมในการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง โดยการเรียนหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี ที่ ม.ร. จะเสียค่าหน่วยกิต เพียง 8,960 บาทเท่านั้น นอกจากนี้ ม.ร. ยังมีทุนการศึกษาประเภทต่าง ๆ ที่จะสนับสนุนนักศึกษาได้ด้วย ทั้งกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ทุนเรียนดี หรือทุนสนับสนุนจากมูลนิธิและองค์กรการกุศลที่มีผู้บริจาคเพื่อนักศึกษาที่ ขาดแคลนทุนทรัพย์ อีกเป็นจำนวนมาก.

จุฬาฯปรับองค์ประกอบรับตรงปี53แย้งผลจัดอันดับมหา'ลัยดีในเอเชีย

ผศ.ดร.ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า การรับนิสิตเข้าศึกษาในปีการศึกษา 2553 จุฬาฯจะแบ่งการคัดเลือกออกเป็น 3 ส่วน คือ โครงการรับตรงแบบพิเศษ โครงการรับตรงแบบปกติ และการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือ แอดมิชชั่นกลาง ซึ่งโครงการรับตรงแบบพิเศษ และโครงการรับตรงแบบปกตินั้น นักเรียนจะต้องเข้าสอบวิชาเฉพาะที่จุฬาฯเป็นผู้จัดสอบเอง โดย เปิดรับสมัครในเดือน พ.ค.นี้ สำหรับองค์ประกอบที่จะใช้ในการคัดเลือก ในส่วนของคะแนนทดสอบ ความถนัดทั่วไปหรือ GAT และคะแนนทดสอบความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ หรือ PAT ให้ใช้คะแนนที่ดีที่สุด โดยการรับตรงแบบพิเศษให้ใช้ผลคะแนน GAT และ PAT 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 เดือน มี.ค. 2552 และครั้งที่ 2 เดือน ก.ค. 2552 ส่วนรับตรงแบบปกติใช้ผลคะแนน GAT และ PAT 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1, 2 และครั้งที่ 3 เดือน ต.ค. 2552 จากเดิมที่การรับตรงจุฬาฯ จะไม่ให้ใช้คะแนน สอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 1 แต่เมื่อมาดูจำนวนผู้สมัครสอบ GAT และ PAT แล้วพบว่า การสอบครั้งที่ 1 มีผู้เข้าสอบถึง 2 แสนคน ดังนั้นจุฬาฯจึงเห็นว่าควรจะเพิ่มโอกาสให้นักเรียนมากที่สุด ส่วนการแอดมิชชั่นกลาง ให้ใช้คะแนน GAT และ PAT ได้ 4 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1, 2, 3 และครั้งที่ 4 เดือน มี.ค. 2553

ผศ.ดร.ม.ร.ว.กัลยา กล่าวด้วยว่า สำหรับผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ของ QS Asian Universities Ranking 2009 ที่ปรากฏว่ามีมหาวิทยาลัยรัฐของไทย 4 แห่ง ติดอันดับ 1 ใน 100 โดย ม.มหิดลอยู่อันดับที่ 30 ของเอเชีย, จุฬาลงกรณ์มหาวิท ยาลัย อันดับที่ 35, ม.เชียงใหม่ อันดับที่ 81 และ ม.ธรรมศาสตร์ อันดับที่ 85 นั้น ในการจัดอันดับคงต้องดูด้วยว่านำอะไรมาเป็นตัวดัชนีชี้วัด และ มีคุณภาพจริงตามที่วัดหรือไม่ เพราะถ้าวิเคราะห์ข้อมูลการจัดอันดับครั้งนี้ ซึ่งเป็นสาเหตุให้จุฬาฯอยู่ในอันดับรองจากม.มหิดล เช่น เรื่องอัตราส่วนนักศึกษาต่ออาจารย์ พบว่า ม.มหิดล มีนักศึกษาประมาณ 26,000 คน แต่จุฬาฯมี 34,000 คน ขณะที่จำนวนอาจารย์ไม่ต่างกัน

“อย่างไรก็ตามหากจะให้จุฬาฯไปสู้ เพื่อให้ผลการจัดอับดับสูงขึ้น โดยการลดจำนวนรับนิสิตต่ออาจารย์ลง และเพิ่มการรับนักศึกษาต่างชาติให้มากขึ้นนั้น จุฬาฯจะไม่ทำแน่นอน เพราะจุฬาฯมีนโยบายชัดเจนในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ที่จะให้โอกาสนิสิตเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยมากขึ้น และเป็นมหาวิทยาลัยของโลก อย่างเช่นในการประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกของนิตยสาร ไทม์ ซึ่งจุฬาฯ อยู่ในอันดับที่ 166 แต่เรื่องผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารต่อจำนวนอาจารย์นั้น จุฬาฯต้องเร่งทำ เพราะถือเป็นเรื่องสำคัญ” ผศ.ดร.ม.ร.ว.กัลยา กล่าว.

วธ.ปลูกต้นกล้าอาชีพศิลปวัฒนธรรม

นายธีระ สลักเพชร รมว.วัฒนธรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดโครงการต้นกล้าอาชีพศิลปวัฒนธรรม ณ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เมื่อวันที่ 14 พ.ค.ว่า โครงการนี้เป็นโครงการตาม นโยบายต้นกล้าอาชีพของรัฐบาล ที่ต้องการเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้ว่างงานจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ตกต่ำ รวมถึงช่วยเหลือผู้ที่สำเร็จการศึกษาใหม่กว่า 1 ล้านคน ซึ่งจากการเปิดรับสมัครผู้ว่างงานและบัณฑิตจบใหม่เข้ารับการอบรมงานอาชีพที่ เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ปรากฏว่ามีกระแสการตอบรับดี โดยมีผู้สนใจลงทะเบียนเข้ารับการอบรมแล้วกว่า 500 คน

ด้าน นายกมล สุวุฒิโฑ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กล่าวว่า สถาบันฯได้ของบประมาณดำเนินโครงการไว้ 100 ล้านบาท โดยจะเปิดอบรมในด้านนาฏศิลป์ ดนตรีคีตศิลป์ และช่างศิลป์ รวมทั้งสิ้น 28 หลักสูตร มีระยะเวลาอบรม 5 เดือน คือ ตั้งแต่ พ.ค.-ก.ย. 2552 ซึ่ง ผู้สมัครจะต้องเข้ารับการอบรมไม่ต่ำกว่า 20 วัน ต่อเดือน หรือไม่ต่ำกว่า 120 ชั่วโมงต่อเดือน โดยสถาบันฯจะจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงให้แก่ผู้เข้าอบรมคนละ 160 บาทต่อวัน ค่าเดินทาง 30 บาทต่อวัน และเหมาจ่ายค่าพาหนะที่เดินทางมาจากภูมิลำเนาคนละ 1,000 บาท และเมื่อผ่านการฝึกอบรมแล้วจะได้รับหนังสือรับรองจากสถาบันฯ รวมถึงค่าเดินทางกลับภูมิลำเนาอีกคนละ 1,000 บาท และหากผู้ผ่านการอบรมกลับไปเขียนแผนการทำงานที่จะทำต่อไปในอนาคตก็จะได้รับ เงินอุดหนุนเพื่อการประกอบอาชีพเดือนละ 4,800 บาท เป็นระยะเวลา ไม่เกิน 3 เดือน

นายกมล กล่าวต่อไปว่า สถาบันฯจะเริ่มนำร่องจัดอบรมที่ส่วนกลาง ในเดือนพ.ค.นี้ โดยเปิดอบรม 3 แห่ง ได้แก่ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ วิทยาลัยช่างศิลปลาดกระบัง และ วิทยาลัยนาฏศิลปศาลายา ในหลักสูตรเทคนิคแต่งหน้าผู้แสดง การขับร้องเพลงไทย เพลงสากล การรำนาฏศิลป์ไทย การออกแบบผลิตภัณฑ์ คอม พิวเตอร์กราฟฟิก และเครื่องเคลือบดินเผา จาก นั้นในเดือนมิ.ย.-ก.ย.2552 จะขยายการอบรมไป ที่วิทยาลัยในภูมิภาคทั้ง 11 แห่ง ซึ่งผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.tonkla-archeep.com

กศน.จัดมหกรรมสื่อเรียนรู้

นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เปิดเผยว่า จากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบถึงประชาชนในวงกว้าง สำนักงาน กศน.จึงมอบหมายให้ศูนย์เทคโน โลยีทางการศึกษา จัดมหกรรม “สื่อเรียนรู้ สู้ภัยเศรษฐกิจ” โดยนำสื่อการศึกษาจากสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา หรือ สถานี ETV และ สถานีวิทยุศึกษามาให้บริการฟรีอย่างหลากหลาย อาทิ การฝึก ทักษะภาษาต่างประเทศ จีน ญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ การสอนเทคนิคการถ่ายภาพด้วยกล้อง ดิจิทัล รายการเพื่อสุขภาพ แพทย์แผนไทย สมุนไพร ติวเข้มโอเน็ต เอเน็ต แนะแนว “GAT, PAT กับการเตรียมตัวสอบ” โดยอาจารย์ที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ รวมถึงการฝึกอาชีพต่าง ๆ เป็นต้น

นายอภิชาติ กล่าวว่า ประชาชนที่สนใจสามารถเลือกชมสื่อการเรียนรู้ และเรียนฟรีได้ในงานมหกรรม “สื่อเรียนรู้ สู้ภัยเศรษฐกิจ” ในวันเสาร์ที่ 23 และวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ค. 2552 เวลา 09.00-17.00 น. ณ อาคารศูนย์ เทคโนโลยีทางการศึกษา ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพฯ ใกล้สี่แยกพญาไท มีรถประจำทางที่ผ่าน คือ สาย 72, 92, 97, 201, ปอ.503, ปอ.538 หรือ รถไฟฟ้าบีทีเอส ลงสถานีพญาไท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-2354-5730-40 ต่อ 327-329, 414-415 หรือ www.cetet.org

กพ.ฟื้นเออร์ลี่ เริ่มที่อายุ 50ปี

ขอได้ทุกสังกัด รับเงิน8-15เท่า

ก. พ.ฟื้นเออร์ลี่รีไทร์ เปิด แจ้งขอลาออกจากต้นสังกัด 16-30 มิ.ย. เปิดกว้างทุกหน่วยงานทั้ง ขรก.พลเรือนสามัญ ข้าราชการในพระองค์ สถาบันอุดมศึกษา ตำรวจ ทหาร อัยการ มีเงื่อนไขต้อง 50 ปีขึ้นไป อายุราชการไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องเหลืออายุราชการมากกว่า 1 ปีขึ้นไป จะได้รับผลตอบแทน 8-15 เท่าของเงินเดือน และสิทธิพิเศษอีกเพียบ เพื่อให้ระบบราชการกะทัดรัด คุ้มค่า ประหยัด

เมื่อวันที่ 13 พ.ค.ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) นายปรีชา วัชราภัย เลขาธิการก.พ. กล่าวว่า ตามที่ครม.มีมติเห็นชอบหลักการให้ดำเนินมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วน ราชการ (โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด) ปีงบประมาณพ.ศ.2553 (วันที่ 1 ต.ค.2552) นั้น ขณะนี้คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) สำนักงานก.พ. ทำหนังสือแจ้งเวียน ที่ นร 1008.1/105 ไปยังส่วนราชการ ชี้แจงรายละเอียดมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2553 ตลอดจนกำหนดการและขั้นตอน โดยหากส่วนราชการพิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินมาตรการดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงานโดยรวมของส่วนราชการ และมีงบประมาณของส่วนราชการรองรับให้พิจารณาดำเนินการได้ โดยให้หน่วยงานจัดทำรายละเอียดข้อเสนอมาตรการเสนอต่อคปร. พิจารณาภายในวันที่ 15 พ.ค.นี้

นายปรีชากล่าวว่า สำหรับกลุ่มเป้าหมายของโครงการ คือต้องเป็นข้าราชการที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือมีเวลาราชการ 25 ปีขึ้นไป (ไม่รวมเวลาทวีคูณ) นับถึงวันก่อนออกจากราชการตามมาตรการฯ (วันที่ 30 ก.ย.) โดยครอบคลุมข้าราชการพลเรือนสามัญ และข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร และข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ

ขณะเดียวกันต้องมีคุณสมบัติคือ ผู้ออกจากราชการจะต้องมีเวลาราชการเหลือตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป นับตั้งแต่วันที่ออกจากราชการตามมาตรการฯ ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสอบสวนหรือสอบหาข้อเท็จจริงทางวินัย พิจารณาโทษทางวินัย รายงานการลงโทษทางวินัย หรือพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย หรือเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ในคดีอาญาซึ่งมิใช่ความผิดลหุโทษหรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท

เล ขาธิการก.พ.กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ต้องไม่เป็นผู้อยู่ในหลักเกณฑ์ ที่จะต้องออกจากราชการไม่ว่ากรณีใดๆตามกฎหมาย และหากเป็นผู้อยู่ระหว่างปฏิบัติราชการชดใช้ตามสัญญาที่ได้ทำไว้กับส่วน ราชการในการไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย จะต้องปฏิบัติราชการชดใช้มาแล้วไม่น้อยกว่าระยะเวลาศึกษาดังกล่าว และจะต้องยอมชดใช้เงินตามสัญญาผูกพันที่ได้ทำไว้กับราชการ สำหรับเวลาที่ยังปฏิบัติราชการชดใช้ไม่ครบ ทั้งนี้ผู้จะได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการตามมาตรการฯ จะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตั้งแต่วันที่ยื่นใบสมัครจนถึงวันที่ได้รับอนุญาต ให้ออกจากราชการ โดยสำนักงาน ก.พ.จะเปิดให้ผู้สมัครเข้าร่วมมาตรการฯ ยื่นหนังสือขอลาออกจากราชการตามมาตรการฯ ต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ระหว่างวันที่ 16-30 มิ.ย.2552

"ส่วนราชการที่จะจัดให้มีมาตรการฯนี้ จะต้องพิจารณาทบทวนบทบาท ภารกิจ วิเคราะห์ และสำรวจอัตรากำลังของส่วนราชการ พร้อมทั้งจัดทำแผนดำเนินมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังภาคราชการ โดยวัตถุประสงค์ของโครงการฯนี้ก็คือ เพื่อให้กำลังคนภาครัฐมีขนาดและคุณภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลภาครัฐแนวใหม่ และการใช้กำลังคนภาครัฐที่เป็นไปอย่างคุ้มค่า ประหยัด เต็มศักยภาพและได้ประโยชน์สูงสุด" นายปรีชากล่าว

นายปรีชากล่าวต่อ ว่า สำหรับสิทธิประโยชน์ของผู้เข้าร่วมโครงการฯนี้จะแยกเป็น 2 ส่วนคือสิทธิประโยชน์ที่เป็นเงินก้อน 8-15 เท่าของเงินเดือน รวมเงินประจำตำแหน่ง (ถ้ามี) ตามเวลาราชการที่เหลือ (ปี) และสิทธิประโยชน์อื่นๆ เช่น การยกเว้นภาษีเงินก้อนที่ได้รับตามมาตรการฯนี้ การยกเว้นภาษีในส่วนของเงินที่ได้รับจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ รวมถึงการยกเว้นไม่ต้องชดใช้ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติกับเงินกู้ ตามพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ.2535 โครงการสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ และโครงการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยธอส.-กบข.

ที่มา - ข่าวสดรายวัน