แต่ด้านวิชาชีพเข้มไม่เป็นรองใคร
น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รมช. ศึกษาธิการ กล่าวถึงกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งระบุว่า นักศึกษาที่จบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือ เด็กอาชีวะส่วนใหญ่จะมีความรู้พื้นฐานทางด้านวิชาการค่อนข้างต่ำทุกวิชา ว่า คงต้องยอมรับความจริง เพราะการเรียนสาย อาชีวศึกษาทั้งรัฐและเอกชนจะเน้นความรู้ทางสายอาชีพเป็นหลัก เมื่อเรียนจบจะสามารถประกอบอาชีพหรือเข้าสู่สายงานได้ทันที ดังนั้นการเรียนวิชาการอย่างเข้มข้นเหมือนสายสามัญจึงไม่มีความจำเป็นมากนัก หรือ หากจะต่อยอดระดับปริญญาตรีก็ต้องเป็นปริญญาตรีสายปฏิบัติ เพื่อให้เด็กได้ต่อยอดในวิชาชีพได้รับการปูพื้นฐานมาตั้งแต่ ปวช. จึงเป็นเหตุผลสนับสนุนให้สถาบันอาชีวศึกษาต้องเปิดสอนปริญญาตรีสายปฏิบัติ การของตัวเอง
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า สำหรับข้อท้วงติงของสถาบันอุดมศึกษานั้น ตนจะหารือกับ นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา (กอศ.) เพื่อร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ในการทำเรื่องมาตรฐานของการเรียนอาชีวศึกษา โดยยืนยันว่า เด็กที่มาเรียนสายอาชีวะจะต้องเรียนวิชาชีพอย่างเข้มข้นต่อไป ส่วนวิชาการก็ต้องเข้มข้นขึ้นโดยเป็นวิชาการที่เสริมวิชาชีพนั้น ๆ ไม่ใช่วิชาการเหมือนสายสามัญ เช่น ถ้าภาษาอังกฤษก็ต้องเป็นภาษาอังกฤษเพื่อการค้า หรือ การสนทนา เป็นต้น เพื่อให้มีความเป็นเลิศด้านวิชาชีพ เพราะสังคมอุตสาหกรรม และ เศรษฐกิจของประเทศกำลังต้องการกำลังคนที่จบออกไปแล้วสามารถทำงานได้ทันทีอีก เป็นจำนวนมาก
“อย่างไรก็ตามเรื่องนี้คงต้องมีการปลูกฝังแนวคิดให้เด็กว่า ถ้าตัดสินใจเดินมาทางสายอาชีพแล้วก็ควรมุ่งไปให้ถึงที่สุด โดยโรงเรียนต้องให้คำแนะนำหรือแนะแนวเด็กตั้งแต่เรียนระดับ ม.ต้น ไม่ใช่ยึดมั่นตามค่านิยมเดิม ๆ ว่า เรียน ม.ปลาย ไม่ได้ ก็มาเรียนอาชีวะไปก่อนแล้วค่อยกลับไปเรียน มหาวิทยาลัยทีหลังเพื่อให้ได้รับปริญญา” รมช. ศึกษาธิการกล่าว.
Monday, April 27, 2009
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment