นายวิทยา วิสารัตน์ นายกสมาคมส่งเสริมการค้าหนังสือและเครื่องเขียนไทย เปิดเผยว่า หลังจากที่ผู้บริหารองค์การค้า ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการ ศึกษา (สกสค.) ได้ยืนยันว่าจะจัดพิมพ์แบบเรียนและจัดส่งให้ผู้ค้า เพื่อส่งต่อให้โรงเรียนก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1/2552 ในกลางเดือน พ.ค.นี้ นั้น ล่าสุดองค์การค้าฯ ยังไม่สามารถจัดส่งหนังสือเรียนในวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จำนวน 3 ล้านเล่มให้ผู้ค้าตามข้อตกลงที่ระบุว่าจะส่งให้ทั้งหมดในวันที่ 27 เม.ย.ที่ผ่านมาได้ โดยมีการทยอยจัดส่งให้เพียง 20% หรือประมาณ 6 แสนเล่มเท่านั้น ซึ่งขณะนี้มีผู้ค้าได้ผิดสัญญากับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แล้วประมาณ 1 หมื่นกว่าแห่งและจะต้องถูกปรับในความล่าช้าดังกล่าว ซึ่งตนอยากให้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ มาดูแลเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้การส่งหนังสือเรียนให้แก่โรงเรียนนั้น อาจจะไม่ทันในหลายโรงเรียน เนื่องจากโรงเรียนจะเริ่มทยอยเปิดเทอมตั้งแต่วันที่ 8 พ.ค. ไปจนถึงวันที่ 16 พ.ค.นี้
ด้าน ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดศธ. รักษาการผอ.องค์การค้า ของ สกสค.กล่าวว่า เมื่อวันที่ 28 เม.ย. องค์การค้าฯ ได้ทำหนังสือเวียนไปยังร้านค้าแล้วว่า จะทยอยส่งหนังสือเรียนให้ 3 งวด ซึ่งร้านค้า ก็สามารถนำหนังสือเวียนขององค์การค้าฯ ไปแจ้งให้ทางโรงเรียนทราบได้ เพื่อจะไม่ต้องถูกปรับ เพราะสาเหตุที่ทำให้ส่งหนังสือล่าช้าไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของร้านค้า แต่เป็นเหตุสุดวิสัยของสำนักพิมพ์ อย่างไรก็ตามยืนยันว่าองค์การค้าฯ จะสามารถส่งหนังสือให้ร้านค้าทันก่อนเปิดภาคเรียนแน่นอน.
Thursday, April 30, 2009
ลือหึ่งเด้งปลัด ศธ.เหตุทำงานไม่เข้าตาเสมา 1
ตามที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ในกลุ่มข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่าจะมีการโยกย้ายสลับตำแหน่งของผู้บริหารระดับ 11 ที่มีอยู่ 5 คนในศธ.นั้น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศธ. กล่าวว่า ขณะนี้ตนยังไม่ได้คิดเรื่องการโยกย้ายผู้บริหารระดับ 11 แต่อย่างใด
นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมช.ศธ. กล่าวว่า ที่ผ่านมานายจุรินทร์ ยังไม่เคยหารือหรือพูดถึงการโยกย้ายข้าราชการกับตนเลย และเท่าที่ทำงานมาก็พอจะเห็นแล้วว่าใครทำงานเป็นอย่างไร ซึ่งผู้บริหารที่ตนดูแลอยู่ก็ยังทำงานได้เหมาะสมที่จะอยู่ในตำแหน่งเดิมต่อ ไป ตนยังไม่มีความคิดที่จะโยก ย้ายหรือสลับตำแหน่ง จึงคิดว่าน่าจะเป็นแค่ข่าวลือ แต่อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ก็คงขึ้นอยู่กับ รมว.ศธ. แต่ทั้งนี้โดยหลักการไม่ว่าข้าราชการจะอยู่ในตำแหน่งใด ก็ต้องทำงานได้ไม่ควรยึดติดกับตำแหน่ง
น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รมช.ศธ. กล่าวว่า เชื่อว่าไม่น่าจะมีการโยกย้ายในขณะนี้ เพราะโดยหลักการ หาก รมว.ศธ.จะโยกย้ายผู้บริหารก็ควรหารือกับ รมช.ศธ.ด้วย แต่ที่ผ่านมายังไม่มีการหารือ อีกทั้งช่วงนี้ไม่ใช่ฤดูกาลโยกย้ายด้วย แต่ก็ยอมรับว่าได้ยินข่าวว่าจะมีการโยกย้าย ผู้บริหารบางคนเช่นกัน แต่คิดว่าน่าจะเป็นแค่ข่าวลือ ส่วนที่มีกระแสข่าวว่าจะมีการโยกย้ายนายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ เลขาธิการ กอศ. ไปเป็นปลัดศธ.ก็เชื่อว่าไม่น่าเป็นความจริงเพราะนายเฉลียวเพิ่งมาดำรง ตำแหน่งเลขาธิการ กอศ.ได้ไม่นาน และที่ผ่านมาก็ทำงานได้ดี อีกทั้งถ้าจะโยกย้ายนายเฉลียวไปแล้ว จะให้ใครขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทน เพราะรองเลขาธิการ กอศ.ที่มีอยู่ 3 คน ก็จะเกษียณอายุราชการในปีนี้ถึง 2 คน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกระแสข่าวดังกล่าวจะมีการโยกย้าย ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดศธ.ไปเป็นเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) แทนรศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษาที่จะถูกโยกกลับไปกระทรวงยุติธรรมหรือหน่วยงานอื่น และจะมีการโยกนายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ เลขาธิ การคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) มานั่งเก้าอี้ปลัด ศธ. และจะพิจารณารองเลขาธิการกอศ. ขึ้นมาเป็นเลขาธิการ กอศ.คนใหม่ ส่วนคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการ กพฐ.ยังอยู่ในตำแหน่งเดิม โดยเป็นที่คาดว่าจะมีการเสนอรายชื่อโยกย้ายผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง ศึกษาต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 6 พฤษภาคมนี้ ทั้งนี้สาเหตุสำคัญของการโยกย้ายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นเพราะนายจุริ นทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ค่อนข้างไม่พอใจผลการดำเนินงานในหลาย ๆ โครงการที่พบว่าไม่เป็นไปตามที่ความคาดหวังไว้.
นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมช.ศธ. กล่าวว่า ที่ผ่านมานายจุรินทร์ ยังไม่เคยหารือหรือพูดถึงการโยกย้ายข้าราชการกับตนเลย และเท่าที่ทำงานมาก็พอจะเห็นแล้วว่าใครทำงานเป็นอย่างไร ซึ่งผู้บริหารที่ตนดูแลอยู่ก็ยังทำงานได้เหมาะสมที่จะอยู่ในตำแหน่งเดิมต่อ ไป ตนยังไม่มีความคิดที่จะโยก ย้ายหรือสลับตำแหน่ง จึงคิดว่าน่าจะเป็นแค่ข่าวลือ แต่อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ก็คงขึ้นอยู่กับ รมว.ศธ. แต่ทั้งนี้โดยหลักการไม่ว่าข้าราชการจะอยู่ในตำแหน่งใด ก็ต้องทำงานได้ไม่ควรยึดติดกับตำแหน่ง
น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รมช.ศธ. กล่าวว่า เชื่อว่าไม่น่าจะมีการโยกย้ายในขณะนี้ เพราะโดยหลักการ หาก รมว.ศธ.จะโยกย้ายผู้บริหารก็ควรหารือกับ รมช.ศธ.ด้วย แต่ที่ผ่านมายังไม่มีการหารือ อีกทั้งช่วงนี้ไม่ใช่ฤดูกาลโยกย้ายด้วย แต่ก็ยอมรับว่าได้ยินข่าวว่าจะมีการโยกย้าย ผู้บริหารบางคนเช่นกัน แต่คิดว่าน่าจะเป็นแค่ข่าวลือ ส่วนที่มีกระแสข่าวว่าจะมีการโยกย้ายนายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ เลขาธิการ กอศ. ไปเป็นปลัดศธ.ก็เชื่อว่าไม่น่าเป็นความจริงเพราะนายเฉลียวเพิ่งมาดำรง ตำแหน่งเลขาธิการ กอศ.ได้ไม่นาน และที่ผ่านมาก็ทำงานได้ดี อีกทั้งถ้าจะโยกย้ายนายเฉลียวไปแล้ว จะให้ใครขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทน เพราะรองเลขาธิการ กอศ.ที่มีอยู่ 3 คน ก็จะเกษียณอายุราชการในปีนี้ถึง 2 คน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกระแสข่าวดังกล่าวจะมีการโยกย้าย ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดศธ.ไปเป็นเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) แทนรศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษาที่จะถูกโยกกลับไปกระทรวงยุติธรรมหรือหน่วยงานอื่น และจะมีการโยกนายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ เลขาธิ การคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) มานั่งเก้าอี้ปลัด ศธ. และจะพิจารณารองเลขาธิการกอศ. ขึ้นมาเป็นเลขาธิการ กอศ.คนใหม่ ส่วนคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการ กพฐ.ยังอยู่ในตำแหน่งเดิม โดยเป็นที่คาดว่าจะมีการเสนอรายชื่อโยกย้ายผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง ศึกษาต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 6 พฤษภาคมนี้ ทั้งนี้สาเหตุสำคัญของการโยกย้ายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นเพราะนายจุริ นทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ค่อนข้างไม่พอใจผลการดำเนินงานในหลาย ๆ โครงการที่พบว่าไม่เป็นไปตามที่ความคาดหวังไว้.
Wednesday, April 29, 2009
ครม.ทำไม้บรรทัดวัดม.นอกระบบ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษา ธิการ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 28 เม.ย. ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้มีการวางระบบการประเมินผลในการจัดสรรงบประมาณ สำหรับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือมหาวิทยาลัยนอกระบบ โดยกำหนดให้มีองค์กรทำหน้าที่พิจารณาประเมินผลมหาวิทยาลัยนอกระบบ ประกอบด้วย 4 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการ ศึกษา (สมศ.) สำนักงบประมาณ และคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) เพื่อจัดทำระเบียบการจัดสรรงบประมาณ และประเมินเรื่องการบริหารของมหาวิทยาลัยนอกระบบ โดยจะเน้นธรรมาภิบาลหรือการบริหารจัดการและผลสัมฤทธิ์
รมว.ศธ. กล่าวว่า ต่อไปจะต้องมีการทำฐานข้อมูลของแต่ละสาขาที่จัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะข้อมูลค่าใช้จ่ายต่อหัว เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการกำหนดงบประมาณที่รัฐจะจัดสรรให้ และมหาวิทยาลัยจะสามารถเก็บค่าหน่วยกิตจากนิสิตนักศึกษาได้เท่าใด ซึ่งในการจัดสรรงบประมาณต่อไปจะพิจารณาโดยดูการผลิตบัณฑิตของแต่ละสถาบันให้ สอดคล้องกับสาขาที่เป็นความต้องการของประเทศทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ดังนั้นในการจัดทำคำของบประมาณต่อไปจะต้องทำตามระเบียบของคณะกรรมการชุดดัง กล่าวด้วย
นายจุรินทร์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ครม.ยังมีมติยืนยันในหลักการข้อผูกพันเดิมเกี่ยวกับงบประมาณในส่วน ของเงินเดือนที่จะเพิ่มให้พนักงานมหาวิทยาลัยจำนวน 60% ด้วย ถึงแม้สำนักงบประมาณจะขอต่อรองให้ลดลงเหลือ 40% ก็ตาม.
รมว.ศธ. กล่าวว่า ต่อไปจะต้องมีการทำฐานข้อมูลของแต่ละสาขาที่จัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะข้อมูลค่าใช้จ่ายต่อหัว เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการกำหนดงบประมาณที่รัฐจะจัดสรรให้ และมหาวิทยาลัยจะสามารถเก็บค่าหน่วยกิตจากนิสิตนักศึกษาได้เท่าใด ซึ่งในการจัดสรรงบประมาณต่อไปจะพิจารณาโดยดูการผลิตบัณฑิตของแต่ละสถาบันให้ สอดคล้องกับสาขาที่เป็นความต้องการของประเทศทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ดังนั้นในการจัดทำคำของบประมาณต่อไปจะต้องทำตามระเบียบของคณะกรรมการชุดดัง กล่าวด้วย
นายจุรินทร์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ครม.ยังมีมติยืนยันในหลักการข้อผูกพันเดิมเกี่ยวกับงบประมาณในส่วน ของเงินเดือนที่จะเพิ่มให้พนักงานมหาวิทยาลัยจำนวน 60% ด้วย ถึงแม้สำนักงบประมาณจะขอต่อรองให้ลดลงเหลือ 40% ก็ตาม.
สพฐ.จี้โรงเรียนจ่ายเงินเรียนฟรี15ปี
พบ30โรงตุกติกให้คูปองแทนเงินสด
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ ว่า ขณะนี้โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จ่ายเงินสดให้แก่ผู้ปกครองเพื่อนำไปซื้อชุดนักเรียน และอุปกรณ์การเรียน แล้วประมาณ 85% แต่ยังมีโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) บางแห่ง จ่ายเงินให้แก่ผู้ปกครองในสัดส่วนค่อนข้างต่ำ ดังนั้นในเร็ว ๆ นี้สำหรับ สพฐ.จะจัดประชุมทางไกลสถานศึกษาทั่วประเทศ เพื่อติดตามการดำเนินงานในเรื่องนี้ สำหรับการจัดซื้อหนังสือเรียนนั้นโรงเรียนกว่า 80% ได้สั่งซื้อหนังสือเรียบร้อยแล้ว ซึ่งตนจะประสานไปยังทุกโรงเรียนอีกครั้ง เพื่อให้เร่งดำเนินการให้หนังสือถึงโรงเรียนก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีผู้ปกครองร้องเรียนมาเป็นจำนวนมาก ว่า มีโรงเรียนประมาณ 30 แห่ง ไม่จ่ายเงินสดให้แก่ผู้ปกครอง แต่ได้จ่ายเป็นคูปองแทน เพื่อให้นำไปซื้อชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียน ซึ่ง สพฐ.ได้แจ้งไปยังโรงเรียนแล้วว่าเป็นการดำเนินการที่ไม่ถูกต้อง และให้จ่ายเงินสดให้แก่ผู้ปกครอง ซึ่งก็ได้ดำเนินการแก้ไขแล้ว
ด้าน ดร.สมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า ขณะนี้มียอดนักเรียนสละสิทธิรับเงินซื้อชุดนักเรียน และอุปกรณ์การเรียน ประมาณ 7 หมื่นกว่าคน แต่ สพฐ.ก็ยัง คาดหวังว่าจะมียอดสละสิทธิ์ถึง 1 แสนคน.
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ ว่า ขณะนี้โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จ่ายเงินสดให้แก่ผู้ปกครองเพื่อนำไปซื้อชุดนักเรียน และอุปกรณ์การเรียน แล้วประมาณ 85% แต่ยังมีโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) บางแห่ง จ่ายเงินให้แก่ผู้ปกครองในสัดส่วนค่อนข้างต่ำ ดังนั้นในเร็ว ๆ นี้สำหรับ สพฐ.จะจัดประชุมทางไกลสถานศึกษาทั่วประเทศ เพื่อติดตามการดำเนินงานในเรื่องนี้ สำหรับการจัดซื้อหนังสือเรียนนั้นโรงเรียนกว่า 80% ได้สั่งซื้อหนังสือเรียบร้อยแล้ว ซึ่งตนจะประสานไปยังทุกโรงเรียนอีกครั้ง เพื่อให้เร่งดำเนินการให้หนังสือถึงโรงเรียนก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีผู้ปกครองร้องเรียนมาเป็นจำนวนมาก ว่า มีโรงเรียนประมาณ 30 แห่ง ไม่จ่ายเงินสดให้แก่ผู้ปกครอง แต่ได้จ่ายเป็นคูปองแทน เพื่อให้นำไปซื้อชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียน ซึ่ง สพฐ.ได้แจ้งไปยังโรงเรียนแล้วว่าเป็นการดำเนินการที่ไม่ถูกต้อง และให้จ่ายเงินสดให้แก่ผู้ปกครอง ซึ่งก็ได้ดำเนินการแก้ไขแล้ว
ด้าน ดร.สมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า ขณะนี้มียอดนักเรียนสละสิทธิรับเงินซื้อชุดนักเรียน และอุปกรณ์การเรียน ประมาณ 7 หมื่นกว่าคน แต่ สพฐ.ก็ยัง คาดหวังว่าจะมียอดสละสิทธิ์ถึง 1 แสนคน.
60 ปีคุณธรรม -ความดี ของมศว
28 เมษายน 2552 คือวันครบรอบ 60 ปี ของการก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงและวิทยาลัยวิชาการศึกษา แม้ว่าวันนี้จะเปลี่ยนชื่อมาเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ทว่าประชาคมมศว ยังคงยึดมั่นใน คุณธรรม ความดี อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด เพราะผู้บริหารสถาบันแห่งนี้ให้ความสำคัญกับคนทุกคนในมหาวิทยาลัย ตั้งแต่อาจารย์ บุคลากร นิสิต ตลอดถึง นักเรียนโรงเรียนสาธิตเสมอภาคเท่าเทียมกันนั่นเอง
ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(มศว) ได้ถือฤกษ์5 รอบการก่อตั้งนี้ ปฏิรูปวิธีการทำงาน ขอความร่วมมือให้บุคลากร ครูอาจารย์ทำงานบูรณาการ ร่วมกันอันนำไปสู่การปฏิรูประบบการเรียนการสอน ปฏิรูปหลักสูตร และปฏิรูปสื่อไปพร้อมๆ กันทั้งระบบ เพื่อให้ผลิตบัณพิตมศวที่ เพียบพร้อมไปด้วย ความรู้ทางวิชาการผสมผสานกับคุณธรรมกิจกรรม จิตสำนึกสาธารณะ ปลูกฝังความเป็นผู้นำ เด่นวิชาการ เพียบพร้อมไปด้วยคุณธรรมความดี มีวินัย ให้นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทั้งประถม และมัธยม สาธิตประสานมิตร หรือ ปทุมวัน รวมทั้ง สาธิตมศว องครักษ์ สร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันระหว่างบุคลาการสนับสนุนทางวิชาการ กับบุคลากรที่เป็นอาจารย์ ทำงานร่วมกันทั้งมหาวิทยาลัยโดยไม่มีขอบเขตสาขา สำนัก คณะ หลอมรวมให้มศว คิดและทำงานเพื่อองค์กร โดยไม่แบ่งแยกตัวเอง
"การคัดสรรบุคลากรใหม่ ต้องมีทักษะภาษาไทยที่ดีเยี่ยม ภาษาที่สองอื่นๆ ต้องไม่แพ้ทักษะภาษาแผ่นดินแม่ มีจิตสำนึกในการให้การบริการ จิตอุทิศสูง และมีความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการ ที่สำคัญมศว ให้ความสำคัญกับการทำเกณฑ์ภาระงาน ครูอาจารย์ไม่ใช่ทำงานด้านการสอนเพียงอย่างเดียวโดยลืมไปว่าหน้าที่ของ อาจารย์ต้องทำให้ครบ 4 ภารกิจคือสอนให้เข้มแข็ง วิจัยเข้มแข็ง บริการวิชากรเข้มแข็งและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเข้มแข็ง ไปพร้อมกัน" อธิการบดีมศวกล่าว
ขณะนี้เดียวกันคณะกรรมการบริหารงานบุคคลมศว ให้ความสำคัญกับอาจารย์เก่าอย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้อาจารย์ได้พัฒนาตัวเอง ศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้น ให้ทุนวิจัย ขอตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาศักยภาพ และเปิดรับอาจารย์ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกเพิ่มขึ้น คาดว่าภายใน 3 - 5 ปีข้างหน้านี้มศว จะมีความเข้มแข็งด้านการวิจัยมากยิ่งขึ้น เพราะการค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ๆ จะเป็นฐานคิดสำคัญที่จะขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่ความเข้มแข็ง
ที่เตรียมการไว้ทั้งหมดนี้เพราะศ.ดร.วิรุณวางเป้าหมายไว้ว่าภายใน2-3 ปีข้างหน้า มศว ต้องเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ จึงต้องพัฒนามหาวิทยาลัยให้รุกไปข้างหน้าให้เป็น Word class University หรือเป็นResearch University ต้องหารายได้ทางวิชาการที่มาจากความเข้มแข็งจากองค์ความรู้ใหม่และมาจากการ ค้นคว้าวิจัยมาเลี้ยงตัวเอง เป็นรายได้เชิงวิสาหกิจ พื้นที่ 50,000ตารางเมตรที่สร้างเป็นอาคารนวัตกรรมและบริการวิชาความรู้สู่ชุมชน บนถนนอโศกมนตรี จะเป็นแหล่งแสวงหารายได้เชิงวิชาการที่สำคัญในอนาคต
"การวางงานและรุกงานในมิติต่างๆ โดยเน้นภาพกว้าง ทุกจุด ทั้งรูปธรรมและนามธรรมนั้น เชื่อว่าจะเป็นเสาเข็มที่สำคัญของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้ตอกไว้เต็มพื้นที่กว้าง ถ้าผู้บริหารรุ่นหลังรู้จักใช้เสาเข็มนี้ให้เป็นประโยชน์และยืนบนนั้นให้ แข็งแรง เขาจะสร้างอาคารสักกี่ชั้น หรือจะขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยต่อไปได้อย่างไม่ยาก" ศ.ดร.วิรุณ กล่าวด้วยความมั่นใจ
ทั้งหมดนี้คือการปรับโฉมใหม่ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(มศว) ในทุกมิติเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนตัวเองอย่างเท่าทันกระแสโลกที่ เปลี่ยนแปลงไป ภายใต้การทำงานที่ตั้งใจจริง ปรานีตและเอาจริงเอาจังของผู้บริหารที่มีชื่อว่า ศ.ดร. วิรุณ ตั้งเจริญ นั่นเอง
ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(มศว) ได้ถือฤกษ์5 รอบการก่อตั้งนี้ ปฏิรูปวิธีการทำงาน ขอความร่วมมือให้บุคลากร ครูอาจารย์ทำงานบูรณาการ ร่วมกันอันนำไปสู่การปฏิรูประบบการเรียนการสอน ปฏิรูปหลักสูตร และปฏิรูปสื่อไปพร้อมๆ กันทั้งระบบ เพื่อให้ผลิตบัณพิตมศวที่ เพียบพร้อมไปด้วย ความรู้ทางวิชาการผสมผสานกับคุณธรรมกิจกรรม จิตสำนึกสาธารณะ ปลูกฝังความเป็นผู้นำ เด่นวิชาการ เพียบพร้อมไปด้วยคุณธรรมความดี มีวินัย ให้นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทั้งประถม และมัธยม สาธิตประสานมิตร หรือ ปทุมวัน รวมทั้ง สาธิตมศว องครักษ์ สร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันระหว่างบุคลาการสนับสนุนทางวิชาการ กับบุคลากรที่เป็นอาจารย์ ทำงานร่วมกันทั้งมหาวิทยาลัยโดยไม่มีขอบเขตสาขา สำนัก คณะ หลอมรวมให้มศว คิดและทำงานเพื่อองค์กร โดยไม่แบ่งแยกตัวเอง
"การคัดสรรบุคลากรใหม่ ต้องมีทักษะภาษาไทยที่ดีเยี่ยม ภาษาที่สองอื่นๆ ต้องไม่แพ้ทักษะภาษาแผ่นดินแม่ มีจิตสำนึกในการให้การบริการ จิตอุทิศสูง และมีความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการ ที่สำคัญมศว ให้ความสำคัญกับการทำเกณฑ์ภาระงาน ครูอาจารย์ไม่ใช่ทำงานด้านการสอนเพียงอย่างเดียวโดยลืมไปว่าหน้าที่ของ อาจารย์ต้องทำให้ครบ 4 ภารกิจคือสอนให้เข้มแข็ง วิจัยเข้มแข็ง บริการวิชากรเข้มแข็งและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเข้มแข็ง ไปพร้อมกัน" อธิการบดีมศวกล่าว
ขณะนี้เดียวกันคณะกรรมการบริหารงานบุคคลมศว ให้ความสำคัญกับอาจารย์เก่าอย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้อาจารย์ได้พัฒนาตัวเอง ศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้น ให้ทุนวิจัย ขอตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาศักยภาพ และเปิดรับอาจารย์ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกเพิ่มขึ้น คาดว่าภายใน 3 - 5 ปีข้างหน้านี้มศว จะมีความเข้มแข็งด้านการวิจัยมากยิ่งขึ้น เพราะการค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ๆ จะเป็นฐานคิดสำคัญที่จะขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่ความเข้มแข็ง
ที่เตรียมการไว้ทั้งหมดนี้เพราะศ.ดร.วิรุณวางเป้าหมายไว้ว่าภายใน2-3 ปีข้างหน้า มศว ต้องเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ จึงต้องพัฒนามหาวิทยาลัยให้รุกไปข้างหน้าให้เป็น Word class University หรือเป็นResearch University ต้องหารายได้ทางวิชาการที่มาจากความเข้มแข็งจากองค์ความรู้ใหม่และมาจากการ ค้นคว้าวิจัยมาเลี้ยงตัวเอง เป็นรายได้เชิงวิสาหกิจ พื้นที่ 50,000ตารางเมตรที่สร้างเป็นอาคารนวัตกรรมและบริการวิชาความรู้สู่ชุมชน บนถนนอโศกมนตรี จะเป็นแหล่งแสวงหารายได้เชิงวิชาการที่สำคัญในอนาคต
"การวางงานและรุกงานในมิติต่างๆ โดยเน้นภาพกว้าง ทุกจุด ทั้งรูปธรรมและนามธรรมนั้น เชื่อว่าจะเป็นเสาเข็มที่สำคัญของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้ตอกไว้เต็มพื้นที่กว้าง ถ้าผู้บริหารรุ่นหลังรู้จักใช้เสาเข็มนี้ให้เป็นประโยชน์และยืนบนนั้นให้ แข็งแรง เขาจะสร้างอาคารสักกี่ชั้น หรือจะขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยต่อไปได้อย่างไม่ยาก" ศ.ดร.วิรุณ กล่าวด้วยความมั่นใจ
ทั้งหมดนี้คือการปรับโฉมใหม่ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(มศว) ในทุกมิติเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนตัวเองอย่างเท่าทันกระแสโลกที่ เปลี่ยนแปลงไป ภายใต้การทำงานที่ตั้งใจจริง ปรานีตและเอาจริงเอาจังของผู้บริหารที่มีชื่อว่า ศ.ดร. วิรุณ ตั้งเจริญ นั่นเอง
ศรีวิชัยสร้างบัณฑิตรับท่องเที่ยวสอนฝึกปฏิบัตินำไปใช้ได้จริง
มทร.ศรีวิชัยส่งเสริมนักศึกษาการโรงแรมได้ฝึกปฏิบัติจริงมุ่งผลิต บัณฑิตสายวิชาชีพ เน้นคิดเป็น ทำเป็น นำไปใช้ได้จริง รองรับการท่องเที่ยวภาคใต้
รศ.ประชีพชูพันธ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.ศรีวิชัย) กล่าวว่า มทร.ศรีวิชัยเป็น สถานศึกษาเพียงแห่งเดียวในภาคใต้ที่มีธุรกิจโรงแรมอยู่ในความดูแลถึง 2 แห่ง คือ โรงแรมราชมังคลา พาวิลเลี่ยน บีช รีสอร์ท อยู่ติดหาดชลาทัศน์ จ.สงขลา ส่วนอีกแห่งหนึ่งกำลังดำเนินการก่อสร้าง จะเปิดให้บริการในเดือนมีนาคม 2553 ซึ่งอยู่ติดกับหาดราชมงคล (หาดไข่นุ้ย) จ.ตรัง ซึ่งจากอัตราการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องในอนาคต จะก่อสร้างตึกเพิ่มเติมที่ จ.สงขลา เพื่อเป็นการรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวจาก 3 จังหวัดภาคใต้ และที่ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช รองรับนักท่องเที่ยวที่ล้นจาก อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
"ที่วิทยาเขตตรังยังมีแหล่งการเรียนรู้และท่องเที่ยวอื่นๆ อีกเช่น เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทางทะเล ซึ่งในอนาคตจะเปิดเป็นสถานพยาบาลเพื่อปฐมพยาบาลสัตว์น้ำหายากที่ได้รับบาด เจ็บและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำหายากซึ่งปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวมา ชมประมาณ 1 แสนคนต่อปี และอนาคตจะทำเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาพะยูนเพื่อเป็นแหล่งศึกษา คาดว่าจะทำให้มีประชาชนมาชมไม่ต่ำกว่าปีละ 3 แสนคน" รศ.ประชีพกล่าว
รศ.ประชีพกล่าวว่ามทร.ศรีวิชัยเน้นให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติจริง จึงให้นักศึกษาในสาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยวคณะศิลปศาสตร์ ในพื้นที่ มทร.ศรีวิชัยสงขลา และวิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว ซึ่งอยู่ในพื้นที่วิทยาเขตตรัง เข้าฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการจริง เพื่อสร้างคนรองรับกับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวทาง ทะเล สร้างความมั่นใจให้แก่สถานประกอบการว่ารับบัณฑิตที่จบออกไปเป็นมีคุณภาพเป็น บัณฑิต นักปฏิบัติด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่คิดเป็น ทำเป็น ใช้เป็น ที่มีคุณธรรมจริยธรรมและสร้างรายได้คืนสู่สังคม
รศ.ประชีพชูพันธ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.ศรีวิชัย) กล่าวว่า มทร.ศรีวิชัยเป็น สถานศึกษาเพียงแห่งเดียวในภาคใต้ที่มีธุรกิจโรงแรมอยู่ในความดูแลถึง 2 แห่ง คือ โรงแรมราชมังคลา พาวิลเลี่ยน บีช รีสอร์ท อยู่ติดหาดชลาทัศน์ จ.สงขลา ส่วนอีกแห่งหนึ่งกำลังดำเนินการก่อสร้าง จะเปิดให้บริการในเดือนมีนาคม 2553 ซึ่งอยู่ติดกับหาดราชมงคล (หาดไข่นุ้ย) จ.ตรัง ซึ่งจากอัตราการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องในอนาคต จะก่อสร้างตึกเพิ่มเติมที่ จ.สงขลา เพื่อเป็นการรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวจาก 3 จังหวัดภาคใต้ และที่ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช รองรับนักท่องเที่ยวที่ล้นจาก อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
"ที่วิทยาเขตตรังยังมีแหล่งการเรียนรู้และท่องเที่ยวอื่นๆ อีกเช่น เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทางทะเล ซึ่งในอนาคตจะเปิดเป็นสถานพยาบาลเพื่อปฐมพยาบาลสัตว์น้ำหายากที่ได้รับบาด เจ็บและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำหายากซึ่งปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวมา ชมประมาณ 1 แสนคนต่อปี และอนาคตจะทำเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาพะยูนเพื่อเป็นแหล่งศึกษา คาดว่าจะทำให้มีประชาชนมาชมไม่ต่ำกว่าปีละ 3 แสนคน" รศ.ประชีพกล่าว
รศ.ประชีพกล่าวว่ามทร.ศรีวิชัยเน้นให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติจริง จึงให้นักศึกษาในสาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยวคณะศิลปศาสตร์ ในพื้นที่ มทร.ศรีวิชัยสงขลา และวิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว ซึ่งอยู่ในพื้นที่วิทยาเขตตรัง เข้าฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการจริง เพื่อสร้างคนรองรับกับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวทาง ทะเล สร้างความมั่นใจให้แก่สถานประกอบการว่ารับบัณฑิตที่จบออกไปเป็นมีคุณภาพเป็น บัณฑิต นักปฏิบัติด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่คิดเป็น ทำเป็น ใช้เป็น ที่มีคุณธรรมจริยธรรมและสร้างรายได้คืนสู่สังคม
เมอร์เซเดส-เบนซ์รับนศ.ทำงาน
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาร่วมกับบริษัทเมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) เปิดรับสมัครนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในระดับ ปวส. ทวิภาคี สาขาช่างยนต์ ปีการศึกษา 2551 จำนวน 30 คน ผู้สมัครต้องจบการศึกษาระดับ ปวช.ทุกสาขา หรือ ม.6
ชายต้องผ่านการเรียนนักศึกษาวิชาทหาร 3 ปี ผู้เรียนจะได้สิทธิประโยชน์ คือเบี้ยเลี้ยงในวันที่เรียนภาคปฏิบัติกับศูนย์ฝึกอบรมเมอร์เซเดส-เบนซ์ วันละ 200 บาท, เครื่องแบบ 3 ชุด, ประกันอุบัติเหตุขณะฝึกภาคปฏิบัติ จบการศึกษาแล้วได้ทำงานกับศูนย์บริการเมอร์เซเดส-เบนซ์ ทั่วประเทศ สมัครเรียนสอบถามโทร.0-2323-9009 บริษัทเมอร์เซเดส-เบนซ์ โทร.0-2762-7120 หรือร้านตัวแทนจำหน่ายเมอร์เซเดส-เบนซ์
โยคะ...พัฒนาสุขภาพกายและจิต
คณะการแพทย์แผนตะวันออกม.รังสิต ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมหลักสูตร โยคะ...เพื่อพัฒนาสุขภาพกายและจิต เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงสุขภาพจิต ดี ทำให้อายุยืนดูอ่อนเยาว์ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย เรียน 3 ครั้งครั้งละ 2 ชั่วโมงตั้งแต่เวลา 16.30-18.30 น. เริ่มเรียนครั้งที่1 วันที่28 เม.ย. ครั้งที่2 วันที่2 พ.ค.และครั้งที่ 3 วันที่9 พ.ค.ค่าใช้จ่ายสำหรับบุคลากรและนักศึกษาคนละ 800 บาทบุคคลภายนอกคนละ 1,000 บาทสอบถามที่โทร.0-2997-2222-30 ต่อ3470, 3521
รางวัลเรื่องสั้นหาได้ใช้เป็น
วันพุธที่30 เม.ย. เวลา13.30-16.00 น. ณโถงนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารตลาดหลักทรัพย์ฯตลาดหลักทรัพย์ฯ บมจ.อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งบมจ.เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป บมจ.มติชนและบริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด ประกาศผลและมอบรางวัลโครงการประกวดเรื่องสั้น หาได้ใช้เป็น แก่ผู้ได้รับรางวัลใน5 ระดับได้แก่ ม.ต้น ม.ปลาย และประกาศนียบัตรวิชาชีพ อุดมศึกษาและประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ครู อาจารย์ ศึกษานิเทศก์ และประชาชนทั่วไป รวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาทโดยมี ดร.มารวยผดุงสิทธิ์ เป็นประธานคณะทำงาน และ คำสิงห์ ศรีนอก (ลาวคำหอม-นามปากกา) ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ พ.ศ.2535 เป็นประธานคณะกรรมการตัดสิน
ชายต้องผ่านการเรียนนักศึกษาวิชาทหาร 3 ปี ผู้เรียนจะได้สิทธิประโยชน์ คือเบี้ยเลี้ยงในวันที่เรียนภาคปฏิบัติกับศูนย์ฝึกอบรมเมอร์เซเดส-เบนซ์ วันละ 200 บาท, เครื่องแบบ 3 ชุด, ประกันอุบัติเหตุขณะฝึกภาคปฏิบัติ จบการศึกษาแล้วได้ทำงานกับศูนย์บริการเมอร์เซเดส-เบนซ์ ทั่วประเทศ สมัครเรียนสอบถามโทร.0-2323-9009 บริษัทเมอร์เซเดส-เบนซ์ โทร.0-2762-7120 หรือร้านตัวแทนจำหน่ายเมอร์เซเดส-เบนซ์
โยคะ...พัฒนาสุขภาพกายและจิต
คณะการแพทย์แผนตะวันออกม.รังสิต ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมหลักสูตร โยคะ...เพื่อพัฒนาสุขภาพกายและจิต เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงสุขภาพจิต ดี ทำให้อายุยืนดูอ่อนเยาว์ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย เรียน 3 ครั้งครั้งละ 2 ชั่วโมงตั้งแต่เวลา 16.30-18.30 น. เริ่มเรียนครั้งที่1 วันที่28 เม.ย. ครั้งที่2 วันที่2 พ.ค.และครั้งที่ 3 วันที่9 พ.ค.ค่าใช้จ่ายสำหรับบุคลากรและนักศึกษาคนละ 800 บาทบุคคลภายนอกคนละ 1,000 บาทสอบถามที่โทร.0-2997-2222-30 ต่อ3470, 3521
รางวัลเรื่องสั้นหาได้ใช้เป็น
วันพุธที่30 เม.ย. เวลา13.30-16.00 น. ณโถงนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารตลาดหลักทรัพย์ฯตลาดหลักทรัพย์ฯ บมจ.อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งบมจ.เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป บมจ.มติชนและบริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด ประกาศผลและมอบรางวัลโครงการประกวดเรื่องสั้น หาได้ใช้เป็น แก่ผู้ได้รับรางวัลใน5 ระดับได้แก่ ม.ต้น ม.ปลาย และประกาศนียบัตรวิชาชีพ อุดมศึกษาและประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ครู อาจารย์ ศึกษานิเทศก์ และประชาชนทั่วไป รวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาทโดยมี ดร.มารวยผดุงสิทธิ์ เป็นประธานคณะทำงาน และ คำสิงห์ ศรีนอก (ลาวคำหอม-นามปากกา) ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ พ.ศ.2535 เป็นประธานคณะกรรมการตัดสิน
Monday, April 27, 2009
'เสมา 3' ไม่เถียงปวช.อ่อนวิชาการ
แต่ด้านวิชาชีพเข้มไม่เป็นรองใคร
น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รมช. ศึกษาธิการ กล่าวถึงกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งระบุว่า นักศึกษาที่จบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือ เด็กอาชีวะส่วนใหญ่จะมีความรู้พื้นฐานทางด้านวิชาการค่อนข้างต่ำทุกวิชา ว่า คงต้องยอมรับความจริง เพราะการเรียนสาย อาชีวศึกษาทั้งรัฐและเอกชนจะเน้นความรู้ทางสายอาชีพเป็นหลัก เมื่อเรียนจบจะสามารถประกอบอาชีพหรือเข้าสู่สายงานได้ทันที ดังนั้นการเรียนวิชาการอย่างเข้มข้นเหมือนสายสามัญจึงไม่มีความจำเป็นมากนัก หรือ หากจะต่อยอดระดับปริญญาตรีก็ต้องเป็นปริญญาตรีสายปฏิบัติ เพื่อให้เด็กได้ต่อยอดในวิชาชีพได้รับการปูพื้นฐานมาตั้งแต่ ปวช. จึงเป็นเหตุผลสนับสนุนให้สถาบันอาชีวศึกษาต้องเปิดสอนปริญญาตรีสายปฏิบัติ การของตัวเอง
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า สำหรับข้อท้วงติงของสถาบันอุดมศึกษานั้น ตนจะหารือกับ นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา (กอศ.) เพื่อร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ในการทำเรื่องมาตรฐานของการเรียนอาชีวศึกษา โดยยืนยันว่า เด็กที่มาเรียนสายอาชีวะจะต้องเรียนวิชาชีพอย่างเข้มข้นต่อไป ส่วนวิชาการก็ต้องเข้มข้นขึ้นโดยเป็นวิชาการที่เสริมวิชาชีพนั้น ๆ ไม่ใช่วิชาการเหมือนสายสามัญ เช่น ถ้าภาษาอังกฤษก็ต้องเป็นภาษาอังกฤษเพื่อการค้า หรือ การสนทนา เป็นต้น เพื่อให้มีความเป็นเลิศด้านวิชาชีพ เพราะสังคมอุตสาหกรรม และ เศรษฐกิจของประเทศกำลังต้องการกำลังคนที่จบออกไปแล้วสามารถทำงานได้ทันทีอีก เป็นจำนวนมาก
“อย่างไรก็ตามเรื่องนี้คงต้องมีการปลูกฝังแนวคิดให้เด็กว่า ถ้าตัดสินใจเดินมาทางสายอาชีพแล้วก็ควรมุ่งไปให้ถึงที่สุด โดยโรงเรียนต้องให้คำแนะนำหรือแนะแนวเด็กตั้งแต่เรียนระดับ ม.ต้น ไม่ใช่ยึดมั่นตามค่านิยมเดิม ๆ ว่า เรียน ม.ปลาย ไม่ได้ ก็มาเรียนอาชีวะไปก่อนแล้วค่อยกลับไปเรียน มหาวิทยาลัยทีหลังเพื่อให้ได้รับปริญญา” รมช. ศึกษาธิการกล่าว.
น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รมช. ศึกษาธิการ กล่าวถึงกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งระบุว่า นักศึกษาที่จบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือ เด็กอาชีวะส่วนใหญ่จะมีความรู้พื้นฐานทางด้านวิชาการค่อนข้างต่ำทุกวิชา ว่า คงต้องยอมรับความจริง เพราะการเรียนสาย อาชีวศึกษาทั้งรัฐและเอกชนจะเน้นความรู้ทางสายอาชีพเป็นหลัก เมื่อเรียนจบจะสามารถประกอบอาชีพหรือเข้าสู่สายงานได้ทันที ดังนั้นการเรียนวิชาการอย่างเข้มข้นเหมือนสายสามัญจึงไม่มีความจำเป็นมากนัก หรือ หากจะต่อยอดระดับปริญญาตรีก็ต้องเป็นปริญญาตรีสายปฏิบัติ เพื่อให้เด็กได้ต่อยอดในวิชาชีพได้รับการปูพื้นฐานมาตั้งแต่ ปวช. จึงเป็นเหตุผลสนับสนุนให้สถาบันอาชีวศึกษาต้องเปิดสอนปริญญาตรีสายปฏิบัติ การของตัวเอง
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า สำหรับข้อท้วงติงของสถาบันอุดมศึกษานั้น ตนจะหารือกับ นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา (กอศ.) เพื่อร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ในการทำเรื่องมาตรฐานของการเรียนอาชีวศึกษา โดยยืนยันว่า เด็กที่มาเรียนสายอาชีวะจะต้องเรียนวิชาชีพอย่างเข้มข้นต่อไป ส่วนวิชาการก็ต้องเข้มข้นขึ้นโดยเป็นวิชาการที่เสริมวิชาชีพนั้น ๆ ไม่ใช่วิชาการเหมือนสายสามัญ เช่น ถ้าภาษาอังกฤษก็ต้องเป็นภาษาอังกฤษเพื่อการค้า หรือ การสนทนา เป็นต้น เพื่อให้มีความเป็นเลิศด้านวิชาชีพ เพราะสังคมอุตสาหกรรม และ เศรษฐกิจของประเทศกำลังต้องการกำลังคนที่จบออกไปแล้วสามารถทำงานได้ทันทีอีก เป็นจำนวนมาก
“อย่างไรก็ตามเรื่องนี้คงต้องมีการปลูกฝังแนวคิดให้เด็กว่า ถ้าตัดสินใจเดินมาทางสายอาชีพแล้วก็ควรมุ่งไปให้ถึงที่สุด โดยโรงเรียนต้องให้คำแนะนำหรือแนะแนวเด็กตั้งแต่เรียนระดับ ม.ต้น ไม่ใช่ยึดมั่นตามค่านิยมเดิม ๆ ว่า เรียน ม.ปลาย ไม่ได้ ก็มาเรียนอาชีวะไปก่อนแล้วค่อยกลับไปเรียน มหาวิทยาลัยทีหลังเพื่อให้ได้รับปริญญา” รมช. ศึกษาธิการกล่าว.
ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมสามเณรแก้"พระกะเทย"
พระ อาจารย์ ว.วชิรเมธี ปิ๊งไอเดีย เปิดหลักสูตร “สมบัติผู้ดีของสามเณร” แก้ปัญหาพระตุ๊ด เณรแต๋วเชื่อพระภิกษุ สามเณร มีบุคลิกภาพทีไม่สงบ ไม่สง่างาม ก็จะสั่นคลอนความศรัทธา ทดลองนำร่องโรงเรียนเตรียมสามเณร วัดครึ่งใต้ จ.เชียงราย ระบุเห็นผลจะขยายไปยังโรงเรียนพระปริยัติธรรมทั่วประเทศ
เมื่อวันที่ 26 เม.ย. พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) ผอ.สถาบันวิมุตยาลัย เปิดเผยว่า จากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงเห็นว่าในประเทศ ไทยมีโรงเรียนเตรียมทุกประเภท เช่น เตรียม แพทย์ เตรียมครู เตรียมทหาร แต่ไม่มีโรงเรียน เตรียมสามเณร ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาสามเณรให้มีคุณภาพ มีความรู้ทางธรรม ทางโลก และสร้างศาสนทายาทในอนาคต สถาบันวิมุตยาลัย จึงได้จัดตั้งโรงเรียนเตรียมสามเณร (ต.ส.) ขึ้นที่วัดครึ่งใต้ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ซึ่งเป็นโรงเรียนเตรียมสามเณรแห่งแรกในประเทศไทย และขณะนี้ทางโรงเรียนได้พัฒนามาครบ 1 ปีแล้ว และในปีที่ 2 จะทำวิชาการให้เข้มข้น โดยจะเพิ่มหลักสูตรใหม่ และยังเป็นหลักสูตรแรกของวงการสาม เณรของประเทศ คือ หลักสูตรสมบัติผู้ดีของสาม เณร เพราะ ต.ส.เห็นว่าหากสามเณรน้อยมีจริยา ที่ไม่สง่างาม ก็จะสั่นคลอนความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อพระพุทธศาสนาและหลักสูตรนี้ จะช่วยแก้ปัญหาพระตุ๊ด เณรแต๋วด้วย
พระมหาวุฒิชัย กล่าวต่อว่า สำหรับหลักสูตรดังกล่าวจะเน้นเสขิยวัตร 75 คือ หลักธรรมที่ว่าด้วยกิริยามารยาทอันควรประพฤติของพระภิกษุสามเณรที่พระพุทธ องค์ตรัสไว้ และเป็นส่วนหนึ่งของศีล 227 ข้อ แต่เสขิยวัตร 75 ทาง ต.ส.ได้ทำการแยกส่วนออกมาเป็น หลักสูตรสมบัติผู้ดีของสามเณร จะมีลักษณะเฉพาะที่ว่าด้วยเรื่องกิริยามารยาท ซึ่งต้องไม่ลืมว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นมกุฎราชกุมาร ได้รับการอบรมกิริยามารยาทจากสำนักพระราชวัง จึงส่งผลให้มีพระจริยวัตรงดงาม สงบ เป็นที่เลื่อมใสของพุทธศาสนิกชน ต.ส.จึงจะหยิบตัวอย่าง และหลักการนี้มาปัดฝุ่นใหม่ นำมาจัดทำเป็นวิชาการให้สามเณรได้เรียนและฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เป็นผู้มีภูมิรู้ ภูมิธรรม ภูมิฐาน โดยสามเณรรุ่นใหม่จาก ต.ส.จะต้องมี 3 ภูมิดังกล่าว รวมทั้ง ต.ส.จะมีการวัดผลหลักสูตรสมบัติผู้ดีของสามเณร อย่าง เข้มข้นจากการศึกษา การสอบทั้งภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติ
“ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาเรามีปัญหาพระตุ๊ด เณรแต๋ว และอาตมายังมองไม่เห็นว่าจะมีหน่วยงานไหนออกมาแก้ปัญหานี้ได้อย่างจริงจัง อาตมาจึงต้องขยับก่อน เพราะอาตมาเชื่อว่าความ ศรัทธา จะนำมาซึ่งความเคารพนับถือของประชาชน หากพระภิกษุ สามเณร มีบุคลิกภาพที่ไม่สงบ ไม่สง่างาม ก็จะสั่นคลอนความศรัทธาได้ ขณะที่สังคมยกย่องให้พระภิกษุ สามเณร เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ ต้องนำเขาได้ทั้งทางสติปัญญา บุคลิก ภาพ ความน่าเคารพ เลื่อมใส พูดง่าย ๆ ว่า ปัญญาเป็นเลิศ บุคลิกภาพดีเยี่ยม ศีลาจริยวัตรงดงาม ชวนให้กราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ และเมื่อก้าวออกจากวัดไปก็เป็นพระธรรมทูตชั้นนำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำมาบรรจุไว้ในหลักสูตรสมบัติผู้ดีของสามเณร” พระมหาวุฒิชัย กล่าว
พระมหาวุฒิชัย กล่าวอีกว่า หลักสูตรนี้จะเริ่มนำร่องที่วัดครึ่งใต้ ในเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งสามเณรน้อยที่ได้เข้ามาเรียนจะต้องเรียนวิชา สมบัติผู้ดีของสามเณรทุกรูป และจะประเมินผลอย่างต่อเนื่องว่าสามารถสร้างบุคลิกภาพที่งดงามให้สามเณรได้ มากน้อยแค่ไหน หากประสบผลสำเร็จก็จะขยายหลักสูตรดังกล่าวไปยังโรงเรียน เตรียมสามเณร หรือโรงเรียนพระปริยัติธรรมทั่วประเทศ เพื่อช่วยพัฒนาสามเณรให้มีคุณภาพ สามารถเป็นศาสนทายาทที่ดีให้แก่พระพุทธศาสนา ในอนาคต ซึ่งเมื่อมีพระดีมีคุณภาพมากขึ้นจะสามารถช่วยลบภาพพระตุ๊ด เณรแต๋ว หรือภาพที่พระภิกษุ สามเณรมีบุคลิกภาพที่ไม่งดงามได้.
เมื่อวันที่ 26 เม.ย. พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) ผอ.สถาบันวิมุตยาลัย เปิดเผยว่า จากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงเห็นว่าในประเทศ ไทยมีโรงเรียนเตรียมทุกประเภท เช่น เตรียม แพทย์ เตรียมครู เตรียมทหาร แต่ไม่มีโรงเรียน เตรียมสามเณร ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาสามเณรให้มีคุณภาพ มีความรู้ทางธรรม ทางโลก และสร้างศาสนทายาทในอนาคต สถาบันวิมุตยาลัย จึงได้จัดตั้งโรงเรียนเตรียมสามเณร (ต.ส.) ขึ้นที่วัดครึ่งใต้ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ซึ่งเป็นโรงเรียนเตรียมสามเณรแห่งแรกในประเทศไทย และขณะนี้ทางโรงเรียนได้พัฒนามาครบ 1 ปีแล้ว และในปีที่ 2 จะทำวิชาการให้เข้มข้น โดยจะเพิ่มหลักสูตรใหม่ และยังเป็นหลักสูตรแรกของวงการสาม เณรของประเทศ คือ หลักสูตรสมบัติผู้ดีของสาม เณร เพราะ ต.ส.เห็นว่าหากสามเณรน้อยมีจริยา ที่ไม่สง่างาม ก็จะสั่นคลอนความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อพระพุทธศาสนาและหลักสูตรนี้ จะช่วยแก้ปัญหาพระตุ๊ด เณรแต๋วด้วย
พระมหาวุฒิชัย กล่าวต่อว่า สำหรับหลักสูตรดังกล่าวจะเน้นเสขิยวัตร 75 คือ หลักธรรมที่ว่าด้วยกิริยามารยาทอันควรประพฤติของพระภิกษุสามเณรที่พระพุทธ องค์ตรัสไว้ และเป็นส่วนหนึ่งของศีล 227 ข้อ แต่เสขิยวัตร 75 ทาง ต.ส.ได้ทำการแยกส่วนออกมาเป็น หลักสูตรสมบัติผู้ดีของสามเณร จะมีลักษณะเฉพาะที่ว่าด้วยเรื่องกิริยามารยาท ซึ่งต้องไม่ลืมว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นมกุฎราชกุมาร ได้รับการอบรมกิริยามารยาทจากสำนักพระราชวัง จึงส่งผลให้มีพระจริยวัตรงดงาม สงบ เป็นที่เลื่อมใสของพุทธศาสนิกชน ต.ส.จึงจะหยิบตัวอย่าง และหลักการนี้มาปัดฝุ่นใหม่ นำมาจัดทำเป็นวิชาการให้สามเณรได้เรียนและฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เป็นผู้มีภูมิรู้ ภูมิธรรม ภูมิฐาน โดยสามเณรรุ่นใหม่จาก ต.ส.จะต้องมี 3 ภูมิดังกล่าว รวมทั้ง ต.ส.จะมีการวัดผลหลักสูตรสมบัติผู้ดีของสามเณร อย่าง เข้มข้นจากการศึกษา การสอบทั้งภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติ
“ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาเรามีปัญหาพระตุ๊ด เณรแต๋ว และอาตมายังมองไม่เห็นว่าจะมีหน่วยงานไหนออกมาแก้ปัญหานี้ได้อย่างจริงจัง อาตมาจึงต้องขยับก่อน เพราะอาตมาเชื่อว่าความ ศรัทธา จะนำมาซึ่งความเคารพนับถือของประชาชน หากพระภิกษุ สามเณร มีบุคลิกภาพที่ไม่สงบ ไม่สง่างาม ก็จะสั่นคลอนความศรัทธาได้ ขณะที่สังคมยกย่องให้พระภิกษุ สามเณร เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ ต้องนำเขาได้ทั้งทางสติปัญญา บุคลิก ภาพ ความน่าเคารพ เลื่อมใส พูดง่าย ๆ ว่า ปัญญาเป็นเลิศ บุคลิกภาพดีเยี่ยม ศีลาจริยวัตรงดงาม ชวนให้กราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ และเมื่อก้าวออกจากวัดไปก็เป็นพระธรรมทูตชั้นนำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำมาบรรจุไว้ในหลักสูตรสมบัติผู้ดีของสามเณร” พระมหาวุฒิชัย กล่าว
พระมหาวุฒิชัย กล่าวอีกว่า หลักสูตรนี้จะเริ่มนำร่องที่วัดครึ่งใต้ ในเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งสามเณรน้อยที่ได้เข้ามาเรียนจะต้องเรียนวิชา สมบัติผู้ดีของสามเณรทุกรูป และจะประเมินผลอย่างต่อเนื่องว่าสามารถสร้างบุคลิกภาพที่งดงามให้สามเณรได้ มากน้อยแค่ไหน หากประสบผลสำเร็จก็จะขยายหลักสูตรดังกล่าวไปยังโรงเรียน เตรียมสามเณร หรือโรงเรียนพระปริยัติธรรมทั่วประเทศ เพื่อช่วยพัฒนาสามเณรให้มีคุณภาพ สามารถเป็นศาสนทายาทที่ดีให้แก่พระพุทธศาสนา ในอนาคต ซึ่งเมื่อมีพระดีมีคุณภาพมากขึ้นจะสามารถช่วยลบภาพพระตุ๊ด เณรแต๋ว หรือภาพที่พระภิกษุ สามเณรมีบุคลิกภาพที่ไม่งดงามได้.
ชื่นชมห้องสมุดเดลินิวส์ ทุกภาคส่วนร่วมก่อสร้างคืบหน้าเสร็จทันกำหนด
โครงการ “เดลินิวส์ส่งต่อของขวัญ” เดินหน้า “บก.ประภา” ปลื้มขอบคุณทุกภาคส่วนร่วมสนับสนุน ยอดเงินบริจาคสูงเกือบ 1.5 ล้าน ส่วนสิ่งของและอุปกรณ์การเรียนล้นหลาม เตรียมแบ่งปันให้กับโรงเรียนที่ขาดแคลนอื่น ๆ ส่วนการก่อสร้างห้องสมุดเดลินิวส์คืบหน้ากว่า 30% มั่นใจเสร็จทันกำหนด
เมื่อวันที่ 26 เม.ย. ดร.ประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ เปิดเผยว่า หลังจากที่หนังสือพิมพ์ได้ทำโครงการ “เดลินิวส์ส่งต่อของขวัญ” เพื่อ คืนกำไรให้กับสังคม โดยก่อสร้างอาคารห้องสมุดให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านประตูด่าน ต.บ้านเก่า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ซึ่งได้รับความสนใจจากองค์กร ห้างร้านและบริษัทต่าง ๆ มาร่วมบริจาคเงินและสิ่งของ ซึ่งประกอบด้วย อุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬา เป็นจำนวนมาก โดยยอดเงินทั้งหมดที่ได้รับบริจาค ณ วันที่ 22 เม.ย. เป็นจำนวนเงิน 1,467,078 บาท และจะ เปิดรับบริจาคไปจนถึงวันที่ 30 เม.ย.นี้
ดร.ประภา กล่าวต่อว่า เดลินิวส์มีความปลาบปลื้มและต้องขอขอบคุณทุกภาค ส่วนที่ให้ความสนใจมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการ ช่วยเหลือเด็กผู้ด้อยโอกาสในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านประตูด่านแห่ง นี้ นอกจากนี้ยังต้องขอบคุณบรรดานักแสดงที่มาร่วมประชาสัมพันธ์โครงการ จนทำให้ได้รับความร่วมมือมากมาย สำหรับขั้นตอนต่อไป พนักงานเดลินิวส์จะร่วมกันจัดระเบียบสิ่งของที่ได้รับบริจาคให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการนำไปมอบให้กับเด็กและโรงเรียนในวันอาทิตย์ที่ 17 พ.ค.นี้ แต่เนื่องจากอุปกรณ์ที่ได้รับบริจาคมีจำนวนมาก จึงจะนำส่วนหนึ่งมอบให้แก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านประตูด่าน ส่วนที่เหลือจะนำไปมอบให้กับโรงเรียนที่ขาดแคลนต่อไปในอนาคต
ขณะที่ผู้สื่อข่าวเดลินิวส์ประจำ จ.กาญจนบุรี รายงานความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารห้องสมุดเดลินิวส์ว่ามีความคืบหน้าไปมาก โดยนายมนตรี บ่อสิน ผอ.โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านประตูด่าน พร้อมด้วย อาจารย์ และนักเรียน ได้มีส่วนร่วมในการกำกับดูแลการก่อสร้างทุกขั้นตอน โดยการก่อสร้างดำเนินการมาได้กว่า 30 เปอร์เซ็นต์แล้ว สามารถ ขึ้นฐาน หล่อเสาทั้งหมด และอยู่ในขั้นตอนของ การถมดินภายในตัวอาคาร ก่ออิฐผนัง คาดว่าจะแล้วเสร็จทันเวลาที่กำหนดส่งมอบกลางเดือนพ.ค.นี้ นายมนตรี กล่าวว่า ชาวบ้านแถวนี้รู้สึกภาคภูมิใจมากที่ “หนังสือพิมพ์เดลินิวส์” ได้มาสร้างห้องสมุดมาตรฐานให้ และยังแนะนำโรงเรียนให้คนทั่วไปได้รู้จัก ทำให้ได้รับการติดต่อช่วยเหลือมาตลอด เด็กนักเรียนก็มาช่วยกันดูเหมือนรอวันฝันที่เป็นจริง ทราบว่าในวันส่งมอบอาคารจะมีกิจกรรมต่าง ๆ มีศิลปินนักแสดง- นักร้องมาด้วย ทุกคนรู้สึกตื่นเต้นและอยากมาร่วมกิจกรรม
ส่วนนายประสาน สงวนพันธ์ นายก อบต.บ้านเก่า กล่าวว่า รู้สึกดีใจแทนบุตรหลานชาวบ้านชายแดนไทย-พม่าแห่งนี้ ที่จะได้ห้องสมุดที่มีความพร้อม และสวยงาม ประการสำคัญ “เดลินิวส์” เป็นหนังสือพิมพ์ที่เข้าถึงชาวบ้าน และมีส่วนทำให้คนทั้งประเทศได้รู้จักพวกเรา ซึ่งชาวบ้านและนักเรียนยังเดือดร้อนกันอยู่มาก การเริ่มโครงการเดลินิวส์ส่งต่อของขวัญทำให้มีผู้โทรศัพท์มาสอบถามเป็นระยะ แม้กระทั่งผู้ที่มาเยือน อบต.บ้านเก่า เมื่อทราบข่าวยังชื่นชมและขอเข้ามาเยี่ยมชมการก่อสร้าง ต้องขอขอบคุณหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ที่ให้โอกาสทางการศึกษาแก่เด็กผู้ยากไร้.
เมื่อวันที่ 26 เม.ย. ดร.ประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ เปิดเผยว่า หลังจากที่หนังสือพิมพ์ได้ทำโครงการ “เดลินิวส์ส่งต่อของขวัญ” เพื่อ คืนกำไรให้กับสังคม โดยก่อสร้างอาคารห้องสมุดให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านประตูด่าน ต.บ้านเก่า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ซึ่งได้รับความสนใจจากองค์กร ห้างร้านและบริษัทต่าง ๆ มาร่วมบริจาคเงินและสิ่งของ ซึ่งประกอบด้วย อุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬา เป็นจำนวนมาก โดยยอดเงินทั้งหมดที่ได้รับบริจาค ณ วันที่ 22 เม.ย. เป็นจำนวนเงิน 1,467,078 บาท และจะ เปิดรับบริจาคไปจนถึงวันที่ 30 เม.ย.นี้
ดร.ประภา กล่าวต่อว่า เดลินิวส์มีความปลาบปลื้มและต้องขอขอบคุณทุกภาค ส่วนที่ให้ความสนใจมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการ ช่วยเหลือเด็กผู้ด้อยโอกาสในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านประตูด่านแห่ง นี้ นอกจากนี้ยังต้องขอบคุณบรรดานักแสดงที่มาร่วมประชาสัมพันธ์โครงการ จนทำให้ได้รับความร่วมมือมากมาย สำหรับขั้นตอนต่อไป พนักงานเดลินิวส์จะร่วมกันจัดระเบียบสิ่งของที่ได้รับบริจาคให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการนำไปมอบให้กับเด็กและโรงเรียนในวันอาทิตย์ที่ 17 พ.ค.นี้ แต่เนื่องจากอุปกรณ์ที่ได้รับบริจาคมีจำนวนมาก จึงจะนำส่วนหนึ่งมอบให้แก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านประตูด่าน ส่วนที่เหลือจะนำไปมอบให้กับโรงเรียนที่ขาดแคลนต่อไปในอนาคต
ขณะที่ผู้สื่อข่าวเดลินิวส์ประจำ จ.กาญจนบุรี รายงานความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารห้องสมุดเดลินิวส์ว่ามีความคืบหน้าไปมาก โดยนายมนตรี บ่อสิน ผอ.โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านประตูด่าน พร้อมด้วย อาจารย์ และนักเรียน ได้มีส่วนร่วมในการกำกับดูแลการก่อสร้างทุกขั้นตอน โดยการก่อสร้างดำเนินการมาได้กว่า 30 เปอร์เซ็นต์แล้ว สามารถ ขึ้นฐาน หล่อเสาทั้งหมด และอยู่ในขั้นตอนของ การถมดินภายในตัวอาคาร ก่ออิฐผนัง คาดว่าจะแล้วเสร็จทันเวลาที่กำหนดส่งมอบกลางเดือนพ.ค.นี้ นายมนตรี กล่าวว่า ชาวบ้านแถวนี้รู้สึกภาคภูมิใจมากที่ “หนังสือพิมพ์เดลินิวส์” ได้มาสร้างห้องสมุดมาตรฐานให้ และยังแนะนำโรงเรียนให้คนทั่วไปได้รู้จัก ทำให้ได้รับการติดต่อช่วยเหลือมาตลอด เด็กนักเรียนก็มาช่วยกันดูเหมือนรอวันฝันที่เป็นจริง ทราบว่าในวันส่งมอบอาคารจะมีกิจกรรมต่าง ๆ มีศิลปินนักแสดง- นักร้องมาด้วย ทุกคนรู้สึกตื่นเต้นและอยากมาร่วมกิจกรรม
ส่วนนายประสาน สงวนพันธ์ นายก อบต.บ้านเก่า กล่าวว่า รู้สึกดีใจแทนบุตรหลานชาวบ้านชายแดนไทย-พม่าแห่งนี้ ที่จะได้ห้องสมุดที่มีความพร้อม และสวยงาม ประการสำคัญ “เดลินิวส์” เป็นหนังสือพิมพ์ที่เข้าถึงชาวบ้าน และมีส่วนทำให้คนทั้งประเทศได้รู้จักพวกเรา ซึ่งชาวบ้านและนักเรียนยังเดือดร้อนกันอยู่มาก การเริ่มโครงการเดลินิวส์ส่งต่อของขวัญทำให้มีผู้โทรศัพท์มาสอบถามเป็นระยะ แม้กระทั่งผู้ที่มาเยือน อบต.บ้านเก่า เมื่อทราบข่าวยังชื่นชมและขอเข้ามาเยี่ยมชมการก่อสร้าง ต้องขอขอบคุณหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ที่ให้โอกาสทางการศึกษาแก่เด็กผู้ยากไร้.
แดงป่วนเมือง7ปท.ถอนแข่งโอลิมปิกเอเชียฯ
นายกฯ เปิดการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกเอเชียครั้งที่ 10 น้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวง ขณะที่สถานการณ์เสื้อแดงป่วนเมืองทำ 7 ประเทศถอนตัวจากการแข่งขัน
เมื่อเวลา 09.45 น. วันที่ 25 เมษายน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มาเป็นประธานพิธีเปิดการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปเอเชีย ครั้งที่ 10 ที่ห้องประชุมสุธรรม อารีกุล อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ซึ่งมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (มูลนิธิ สอวน.) ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสมาคมฟิสิกส์ไทย เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ระหว่างวันที่ 24 เมษายน-2 พฤษภาคม 2552 ซึ่งมี 15 ประเทศ จำนวน 119 คน เข้าร่วมการแข่งขัน ดังนี้ บรูไนดารุสซาลาม จีน ไต้หวัน อินเดีย อินโดนีเซีย อิสราเอล คาซัคสถาน มาเลเซีย มองโกเลีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน เวียดนาม และไทย โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ต้อนรับ
นายอภิสิทธิ์กล่าวในพิธีเปิดการแข่งขันว่า ประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ ครั้งแรกเมื่อ 20 ปีที่แล้ว โดยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์มูลนิธิโอลิมปิกวิชาการ พระองค์ทรงให้ความสนพระทัยอย่างมากกับการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ และใน พ.ศ.2541 ทรงก่อตั้งมูลนิธิ สอวน.ขึ้น เพื่อส่งเสริมการส่งตัวแทนเด็กไทยไปร่วมแข่งขันโอลิมปิกวิชาการและเพื่อกระตุ้นการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในประเทศ เพราะฉะนั้น การจัดการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปเอเชียครั้งที่ 10 นี้ เพื่อสำนึกและสานต่อพระปณิธานของพระองค์ ที่ทรงทุ่มเทอย่างมากกับการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ
นายจุรินทร์กล่าวว่า ทุกฝ่ายไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัยตลอดการแข่งขัน แม้ว่าจะมีโปรแกรมพาเด็กที่ร่วมแข่งขันไปทัศนศึกษาที่วัดพระแก้วและวัดโพธิ์ ในวันที่ 27 เมษายนนี้ แต่ยืนยันว่า สถานการณ์ในขณะนี้ไม่มีปัญหา ถึงแม้บางประเทศจะถอนตัวไป แต่เราก็ยืนยันว่า จะจัดการแข่งขันต่อไป เพื่อพิสูจน์ว่า ประเทศไทยสามารถเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันได้ 100%
รศ.วุฒิชัยกล่าวว่า เหตุการณ์ความไม่สงบทำให้ 7 ประเทศถอนตัวออกไป เหลือ 15 ประเทศ ร่วมการแข่งขันจากแผนเดิมจะมี 22 ประเทศเข้าร่วม ทั้งนี้ เนื่องจากการที่ประเทศไทยประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำให้หลายประเทศออกใบเหลืองเตือนพลเมืองของตัวเองที่จะเดินทางเข้ามาท่อง เที่ยวในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐบาลประกาศยกเลือก พ.ร.ก.ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 24 เมษายน ที่ผ่านมา ประเทศที่ถอนตัวออกไปได้ติดต่อขอกลับเข้าร่วมการแข่งขัน แต่ไม่สามารถดำเนินการให้ทัน
เมื่อเวลา 09.45 น. วันที่ 25 เมษายน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มาเป็นประธานพิธีเปิดการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปเอเชีย ครั้งที่ 10 ที่ห้องประชุมสุธรรม อารีกุล อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ซึ่งมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (มูลนิธิ สอวน.) ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสมาคมฟิสิกส์ไทย เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ระหว่างวันที่ 24 เมษายน-2 พฤษภาคม 2552 ซึ่งมี 15 ประเทศ จำนวน 119 คน เข้าร่วมการแข่งขัน ดังนี้ บรูไนดารุสซาลาม จีน ไต้หวัน อินเดีย อินโดนีเซีย อิสราเอล คาซัคสถาน มาเลเซีย มองโกเลีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน เวียดนาม และไทย โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ต้อนรับ
นายอภิสิทธิ์กล่าวในพิธีเปิดการแข่งขันว่า ประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ ครั้งแรกเมื่อ 20 ปีที่แล้ว โดยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์มูลนิธิโอลิมปิกวิชาการ พระองค์ทรงให้ความสนพระทัยอย่างมากกับการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ และใน พ.ศ.2541 ทรงก่อตั้งมูลนิธิ สอวน.ขึ้น เพื่อส่งเสริมการส่งตัวแทนเด็กไทยไปร่วมแข่งขันโอลิมปิกวิชาการและเพื่อกระตุ้นการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในประเทศ เพราะฉะนั้น การจัดการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปเอเชียครั้งที่ 10 นี้ เพื่อสำนึกและสานต่อพระปณิธานของพระองค์ ที่ทรงทุ่มเทอย่างมากกับการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ
นายจุรินทร์กล่าวว่า ทุกฝ่ายไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัยตลอดการแข่งขัน แม้ว่าจะมีโปรแกรมพาเด็กที่ร่วมแข่งขันไปทัศนศึกษาที่วัดพระแก้วและวัดโพธิ์ ในวันที่ 27 เมษายนนี้ แต่ยืนยันว่า สถานการณ์ในขณะนี้ไม่มีปัญหา ถึงแม้บางประเทศจะถอนตัวไป แต่เราก็ยืนยันว่า จะจัดการแข่งขันต่อไป เพื่อพิสูจน์ว่า ประเทศไทยสามารถเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันได้ 100%
รศ.วุฒิชัยกล่าวว่า เหตุการณ์ความไม่สงบทำให้ 7 ประเทศถอนตัวออกไป เหลือ 15 ประเทศ ร่วมการแข่งขันจากแผนเดิมจะมี 22 ประเทศเข้าร่วม ทั้งนี้ เนื่องจากการที่ประเทศไทยประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำให้หลายประเทศออกใบเหลืองเตือนพลเมืองของตัวเองที่จะเดินทางเข้ามาท่อง เที่ยวในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐบาลประกาศยกเลือก พ.ร.ก.ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 24 เมษายน ที่ผ่านมา ประเทศที่ถอนตัวออกไปได้ติดต่อขอกลับเข้าร่วมการแข่งขัน แต่ไม่สามารถดำเนินการให้ทัน
ศาลอาญาสั่ง59เว็บไซต์ ระงับแพร่นารุโตะลามก
น.ส.ลัดดา ตั้งสุภาชัย ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า ตามที่ศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรมได้รับการร้องเรียนจากเครือข่ายเฝ้าระวัง ทางวัฒนธรรม ให้มีการติดตามและตรวจสอบการเผยแพร่การ์ตูนลามก เรื่อง “นารุโตะ”
ที่มีประชาชนผู้ไม่หวังดีนำมาเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ จำนวนมาก เนื่องจากมีภาพ เสียง และเนื้อหาลามกอนาจาร และก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็กและเยาวชนนั้น ความคืบหน้าล่าสุด นางระวิวรรณ พงษ์พานิช นิติกรปฏิบัติการพนักงานเจ้าหน้าที่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ส่งเรื่องการเผยแพร่การ์ตูนลามกเรื่องนารุโตะฟ้อง ต่อศาลอาญาแล้ว เพื่อให้มีการไต่สวนคำร้องขอให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยส่งเอกสาร วัตถุพยาน และแผ่นซีดี ให้ศาลอาญาเป็นหลักฐานในการฟ้องร้องเว็บไซต์ที่เผยแพร่การ์ตูนดังกล่าวด้วย
น.ส.ลัดดากล่าวอีกว่า ศาลได้พิจารณาหลักฐานแล้วเห็นว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏในเว็บไซต์ แผ่นวีดิทัศน์มีลักษณะเป็นการนำข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีข้อมูลในลักษณะลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ จึงถือว่าการนำมาเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (4) มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ศาลจึงมีคำสั่งให้ระงับการเผยแพร่และทำให้แพร่หลายภาพการ์ตูนลามกดังกล่าว 59 เว็บไซต์ด้วย
“ศูนย์ เฝ้าระวังทางวัฒนธรรมได้ประสานกับกระทรวงไอซีที และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปราบปรามผู้กระทำความผิดอย่างเด็ดขาดและจริงจัง อีกทั้งได้ขยายเครือข่ายตรวจสอบเว็บไซต์ที่เป็นอันตรายต่อเยาวชนมากขึ้น เพื่อแจ้งเบาะแสของผู้กระทำผิด อนาคตอาจจะตั้งรางวัลสำหรับผู้แจ้งเบาะแส” น.ส.ลัดดากล่าว
ที่มีประชาชนผู้ไม่หวังดีนำมาเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ จำนวนมาก เนื่องจากมีภาพ เสียง และเนื้อหาลามกอนาจาร และก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็กและเยาวชนนั้น ความคืบหน้าล่าสุด นางระวิวรรณ พงษ์พานิช นิติกรปฏิบัติการพนักงานเจ้าหน้าที่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ส่งเรื่องการเผยแพร่การ์ตูนลามกเรื่องนารุโตะฟ้อง ต่อศาลอาญาแล้ว เพื่อให้มีการไต่สวนคำร้องขอให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยส่งเอกสาร วัตถุพยาน และแผ่นซีดี ให้ศาลอาญาเป็นหลักฐานในการฟ้องร้องเว็บไซต์ที่เผยแพร่การ์ตูนดังกล่าวด้วย
น.ส.ลัดดากล่าวอีกว่า ศาลได้พิจารณาหลักฐานแล้วเห็นว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏในเว็บไซต์ แผ่นวีดิทัศน์มีลักษณะเป็นการนำข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีข้อมูลในลักษณะลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ จึงถือว่าการนำมาเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (4) มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ศาลจึงมีคำสั่งให้ระงับการเผยแพร่และทำให้แพร่หลายภาพการ์ตูนลามกดังกล่าว 59 เว็บไซต์ด้วย
“ศูนย์ เฝ้าระวังทางวัฒนธรรมได้ประสานกับกระทรวงไอซีที และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปราบปรามผู้กระทำความผิดอย่างเด็ดขาดและจริงจัง อีกทั้งได้ขยายเครือข่ายตรวจสอบเว็บไซต์ที่เป็นอันตรายต่อเยาวชนมากขึ้น เพื่อแจ้งเบาะแสของผู้กระทำผิด อนาคตอาจจะตั้งรางวัลสำหรับผู้แจ้งเบาะแส” น.ส.ลัดดากล่าว
"อุทุมพร”ค้านสอบ PAT8ภาษาไทย-สังคมแนะศึกษาเหตุและผลให้ดีก่อนเสนอเพิ่ม
“อุทุมพร” ค้านเพิ่มสอบพีเอที 8 ภาษาไทย-สังคม ชี้ไม่ควรจะให้เด็กสอบเพิ่มอีก แต่ควรสอบให้น้อยลง แนะมหาวิทยาลัยศึกษาเหตุและผลของการสอบจีเอที-พีเอที ก่อนขอเพิ่ม ขณะราชบัณฑิตหนุนสอบไทย-สังคม แต่ขอให้สอบแยก หวั่นลดความสำคัญของเนื้อหา
ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.) กล่าวถึงข้อเสนอให้เพิ่มการสอบแบบทดสอบศักยภาพวิชาชีพ/วิชาการ หรือ พีเอที 8 ด้านภาษาไทยและสังคมศึกษา ว่าเป็นหน้าที่ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ต้องตัดสินใจร่วมกัน จากนั้นแจ้งมายัง สทศ.เป็นลายลักษณ์อักษร สทศ.จึงจะสามารถบอกได้ว่าจะออกข้อสอบได้ทันตามกำหนดหรือไม่
อย่างไร ก็ตาม โดยหลักการไม่ควรจะให้เด็กสอบเพิ่ม แต่ควรสอบให้น้อยลง เพราะข้อสอบพีเอทีเป็นข้อสอบที่เน้นความถนัดทางวิชาชีพเป็นหลัก หากเด็กตัดสินใจได้ว่าจะเรียนเพื่อออกมาทำอาชีพอะไรในอนาคตก็เลือกสอบในพรเอ ทีนั้น หากจะเพิ่มพีเอที 8 ต้องตอบคำถามให้ได้ว่า มีเป้าหมายเพื่อคัดเด็กด้านวิชาชีพหรือวิชาการ เพราะเนื้อของในวิชาสังคมและภาษาไทยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับวิชาการเป็นหลัก แต่การสอบพีเอทีต้องการคัดคนให้เหมาะสมกับวิชาชีพ ส่วนวิชาการจะไปรวมอยู่ในจีเอที หรือการสอบความถนัดทั่วไปอยู่แล้ว อยากให้แต่ละคณะทำความเข้าใจเรื่องความหมายของจีเอที และพีเอที ให้ดีก่อน และที่สำคัญ ทปอ.ต้องตอบคำถามสังคมให้ได้ด้วยว่า หากเพิ่มวิชาขึ้นมาอีก จะเพิ่มขึ้นเพื่ออะไร อยากให้ ทปอ.เร่งหาข้อสรุปในเรื่องดังกล่าวโดยเร็วและทำหนังสือจำนวนพีเอที หรือจีเอที ที่ต้องการให้ สทศ.จัดสอบเพิ่ม เพื่อ สทศ.จะได้วิเคราะห์ว่าสามารถจัดทำข้อสอบได้ทันตามกำหนดหรือไม่” ศ.ดร.อุทุมพร กล่าว
ด้าน ศ.กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ประเภทวรรณศิลป์ สาขาภาษาไทย ผู้เชี่ยวชาญภาษาและวรรณคดีไทย ในฐานะนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย และปูชนียาจารย์ด้านภาษาไทย กล่าวว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว เพราะทั้งสองวิชามีส่วนทำให้คนมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น แต่ไม่เห็นด้วยที่จะจัดให้สอบร่วมกัน เนื่องจากปรัชญาของทั้งสองวิชามีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะหากนำทั้งสองวิชามาจัดสอบรวมกันก็เท่ากับว่ามองไม่เห็นความสำคัญของ ทั้งสองวิชา
ด้าน ผศ.กิตติมา สังข์เกษม คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวว่า เห็นด้วยที่จะเพิ่มพีเอที 8 ทางด้านภาษาไทยและสังคมขึ้นมา เพราะทั้งสองวิชามีความสำคัญ น่าจะทำให้สามารถคัดเด็กที่เข้ามาเรียนในสายนี้ได้ตรงตามความสามารถมากขึ้น หากมองอีกแง่หนึ่งอยากให้เห็นใจเด็กที่จะต้องสอบเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งวิชา และจะเป็นการเพิ่มภาระให้เด็กจะต้องไปกวดวิชาเพิ่มขึ้นอีก
ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.) กล่าวถึงข้อเสนอให้เพิ่มการสอบแบบทดสอบศักยภาพวิชาชีพ/วิชาการ หรือ พีเอที 8 ด้านภาษาไทยและสังคมศึกษา ว่าเป็นหน้าที่ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ต้องตัดสินใจร่วมกัน จากนั้นแจ้งมายัง สทศ.เป็นลายลักษณ์อักษร สทศ.จึงจะสามารถบอกได้ว่าจะออกข้อสอบได้ทันตามกำหนดหรือไม่
อย่างไร ก็ตาม โดยหลักการไม่ควรจะให้เด็กสอบเพิ่ม แต่ควรสอบให้น้อยลง เพราะข้อสอบพีเอทีเป็นข้อสอบที่เน้นความถนัดทางวิชาชีพเป็นหลัก หากเด็กตัดสินใจได้ว่าจะเรียนเพื่อออกมาทำอาชีพอะไรในอนาคตก็เลือกสอบในพรเอ ทีนั้น หากจะเพิ่มพีเอที 8 ต้องตอบคำถามให้ได้ว่า มีเป้าหมายเพื่อคัดเด็กด้านวิชาชีพหรือวิชาการ เพราะเนื้อของในวิชาสังคมและภาษาไทยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับวิชาการเป็นหลัก แต่การสอบพีเอทีต้องการคัดคนให้เหมาะสมกับวิชาชีพ ส่วนวิชาการจะไปรวมอยู่ในจีเอที หรือการสอบความถนัดทั่วไปอยู่แล้ว อยากให้แต่ละคณะทำความเข้าใจเรื่องความหมายของจีเอที และพีเอที ให้ดีก่อน และที่สำคัญ ทปอ.ต้องตอบคำถามสังคมให้ได้ด้วยว่า หากเพิ่มวิชาขึ้นมาอีก จะเพิ่มขึ้นเพื่ออะไร อยากให้ ทปอ.เร่งหาข้อสรุปในเรื่องดังกล่าวโดยเร็วและทำหนังสือจำนวนพีเอที หรือจีเอที ที่ต้องการให้ สทศ.จัดสอบเพิ่ม เพื่อ สทศ.จะได้วิเคราะห์ว่าสามารถจัดทำข้อสอบได้ทันตามกำหนดหรือไม่” ศ.ดร.อุทุมพร กล่าว
ด้าน ศ.กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ประเภทวรรณศิลป์ สาขาภาษาไทย ผู้เชี่ยวชาญภาษาและวรรณคดีไทย ในฐานะนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย และปูชนียาจารย์ด้านภาษาไทย กล่าวว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว เพราะทั้งสองวิชามีส่วนทำให้คนมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น แต่ไม่เห็นด้วยที่จะจัดให้สอบร่วมกัน เนื่องจากปรัชญาของทั้งสองวิชามีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะหากนำทั้งสองวิชามาจัดสอบรวมกันก็เท่ากับว่ามองไม่เห็นความสำคัญของ ทั้งสองวิชา
ด้าน ผศ.กิตติมา สังข์เกษม คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวว่า เห็นด้วยที่จะเพิ่มพีเอที 8 ทางด้านภาษาไทยและสังคมขึ้นมา เพราะทั้งสองวิชามีความสำคัญ น่าจะทำให้สามารถคัดเด็กที่เข้ามาเรียนในสายนี้ได้ตรงตามความสามารถมากขึ้น หากมองอีกแง่หนึ่งอยากให้เห็นใจเด็กที่จะต้องสอบเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งวิชา และจะเป็นการเพิ่มภาระให้เด็กจะต้องไปกวดวิชาเพิ่มขึ้นอีก
จี้พัฒนา5วิชาหวังโอเน็ตขยับ2-5%
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่าได้กำหนดแผนยกระดับการจัดการเรียนการสอน 5 วิชาให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ตั้งเป้าไว้ว่า นักเรียนที่จบ ป.3 ต้องอ่านเป็น เขียนเป็นและคิดเป็น และคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศของการสอบโอเน็ตประจำปี 2552 ทั้ง 3 วิชา ต้องไม่ต่ำกว่าปี 2551 และคะแนนเฉลี่ยปี 2552 ต้องเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 2% เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของปี 2551 และ 2550 แล้ว พบว่า คะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาไทยขยับสูงขึ้นจาก 36.58 เป็น 42.02 วิทยาศาสตร์ เพิ่มจาก 49.57 เป็น 51.68
แต่คะแนนเฉลี่ยของวิชาคณิตศาสตร์กลับลดลงจาก 47.55 เป็น 43.67 ที่สำคัญ มี ร.ร.รัฐและเอกชนจำนวน 12,694 โรง และศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ 74 อำเภอ ใน 37 จังหวัด ที่มีคะแนนเฉลี่ยรายโรงต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ จึงต้องเน้นพัฒนากลุ่มสถานศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์เป็นพิเศษ
ส่วนวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งภาพรวมดีขึ้นมาก คะแนนโอเน็ตปี 2551 ดีขึ้นกว่าปี 2550 ทุกระดับขึ้น โดย ระดับ ป.6 เพิ่มจาก 36.67 เป็น 37.74 ม.3 เพิ่มจาก 28.68 เป็น 32.64 และ ม.6 เพิ่มจาก 30.93 เป็น 35.98 จึงตั้งเป้าไว้ว่า คะแนนโอเน็ตวิชาภาษาอังกฤษของปี 2552 จะต้องเพิ่มขึ้นจากปี 2551 ไม่น้อยกว่า 5%
ขณะ ที่ วิชาสังคม ศาสนา วัฒนธรรม อยู่ระหว่างการจัดทำเป้าหมาย ได้มอบให้คณะทำงานไปหาทางพัฒนาการเรียนการสอนวิชาสังคม โดยเฉพาะการเรียนการสอนศีลธรรม เพื่อปลูกฝังเด็กให้มีคุณธรรม จริยธรรม อย่างเป็นรูปธรรม ส่วนวิชาการยกระดับผู้เรียนให้เป็นคนดี มีความสุข มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยได้ให้คณะทำงานไปหาทางทำให้เด็กที่จบการศึกษา ทุกระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา จบออกมาแล้วเป็นคนดี มีความสุข ภาคภูมิใจในความเป็นไทย
แต่คะแนนเฉลี่ยของวิชาคณิตศาสตร์กลับลดลงจาก 47.55 เป็น 43.67 ที่สำคัญ มี ร.ร.รัฐและเอกชนจำนวน 12,694 โรง และศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ 74 อำเภอ ใน 37 จังหวัด ที่มีคะแนนเฉลี่ยรายโรงต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ จึงต้องเน้นพัฒนากลุ่มสถานศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์เป็นพิเศษ
ส่วนวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งภาพรวมดีขึ้นมาก คะแนนโอเน็ตปี 2551 ดีขึ้นกว่าปี 2550 ทุกระดับขึ้น โดย ระดับ ป.6 เพิ่มจาก 36.67 เป็น 37.74 ม.3 เพิ่มจาก 28.68 เป็น 32.64 และ ม.6 เพิ่มจาก 30.93 เป็น 35.98 จึงตั้งเป้าไว้ว่า คะแนนโอเน็ตวิชาภาษาอังกฤษของปี 2552 จะต้องเพิ่มขึ้นจากปี 2551 ไม่น้อยกว่า 5%
ขณะ ที่ วิชาสังคม ศาสนา วัฒนธรรม อยู่ระหว่างการจัดทำเป้าหมาย ได้มอบให้คณะทำงานไปหาทางพัฒนาการเรียนการสอนวิชาสังคม โดยเฉพาะการเรียนการสอนศีลธรรม เพื่อปลูกฝังเด็กให้มีคุณธรรม จริยธรรม อย่างเป็นรูปธรรม ส่วนวิชาการยกระดับผู้เรียนให้เป็นคนดี มีความสุข มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยได้ให้คณะทำงานไปหาทางทำให้เด็กที่จบการศึกษา ทุกระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา จบออกมาแล้วเป็นคนดี มีความสุข ภาคภูมิใจในความเป็นไทย
Thursday, April 23, 2009
มหกรรมเล่านิทานอ่านและเล่นกับลูก Bookmark and Share
พม.จับมือภาครัฐ เอกชน จัดมหกรรม “เล่านิทาน อ่าน และเล่นกันลูก” กระตุ้นครอบครัวไทยใส่ใจเล่านิทานแก่ลูกน้อย ชี้เป็นวิธีสร้างพัฒนาการ จินตนาการได้ดีที่สุด
เมื่อวันที่ 22 เม.ย. ที่เซ็นทรัลเวิลด์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ร่วมกับองค์กรเครือข่ายภาครัฐและเอกชน แถลงข่าว จัดงานมหกรรม เล่านิทาน อ่านและเล่นกับลูก โดยมีนายวัลลภ พลอยทับทิม ปลัดพม.กล่าวว่า การจัดมหกรรมในครั้งนี้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานพระราชานุญาตให้จัดตั้งและทรงรับโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวไว้ใน พระราชูปถัมภ์ โดยมีพระเจ้าวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ทรงเป็นประธาน เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัวไทยให้มีความรัก ความอบอุ่นจากสายใยรักของน้ำนม
“การเล่านิทาน อ่าน และเล่นกับลูก เป็นกิจกรรมที่ส่งผลต่อการกระตุ้นพัฒนาการของลูกได้อย่างครบถ้วน เพราะการเล่านิทานย เป็นการกระตั้นพัฒนาการทางด้านภาษา การเรียนรู้จของเด็กเป็นการเรียนผ่านตัวอักษร พร้อมมองเห็นภาพ ทำให้เกิดการพัฒนาการทั้งภาษาพูด และภาษาอ่าน ส่วนการเล่น เป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสังคม ดังนั้น มหกรรมในครั้งนี้ จึงเป็นการกระตุ้นพัฒนาการเด็กด้วยการเล่านิทาน และสร้างตระหนักให้แก่พ่อแม่ถึงความสำคัญของการกระตุ้นพัฒนาการเด็กด้วยการเล่านิทาน อ่าน และเล่นกับลูก”ปลัดพม.กล่าว
ทั้งนี้ มหกรรม”เล่านิทาน อ่าน และเล่นกับลูก” ระหว่างวันที่ 29 เม.ย.-1 พ.ค. ที่ฮอลล์ 9 อิมแพ็ค เมืองทองธานี มีกิจกรรมมากมายให้เหล่าพ่อแม่ และลูกน้อยได้เข้าร่วม อาทิศิลปะการเล่านิทานจากชุมนุมนักเล่านิทานทั่ว ประเทศ เพลงกล่อมเด็กตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การอบรมและแบ่งปันประสบการณ์เลี้ยงดูลูกอย่างถูกวิธีโดยคุณแม่มืออาชีพ สารพัดการละเล่นพื้นบ้านที่สร้างความสัมพันธ์อันดีภายในครอบครัว และร่วมกระทบไหล่ครอบครัวดารามากมาย สนใจเข้าร่วมงานโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
เมื่อวันที่ 22 เม.ย. ที่เซ็นทรัลเวิลด์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ร่วมกับองค์กรเครือข่ายภาครัฐและเอกชน แถลงข่าว จัดงานมหกรรม เล่านิทาน อ่านและเล่นกับลูก โดยมีนายวัลลภ พลอยทับทิม ปลัดพม.กล่าวว่า การจัดมหกรรมในครั้งนี้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานพระราชานุญาตให้จัดตั้งและทรงรับโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวไว้ใน พระราชูปถัมภ์ โดยมีพระเจ้าวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ทรงเป็นประธาน เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัวไทยให้มีความรัก ความอบอุ่นจากสายใยรักของน้ำนม
“การเล่านิทาน อ่าน และเล่นกับลูก เป็นกิจกรรมที่ส่งผลต่อการกระตุ้นพัฒนาการของลูกได้อย่างครบถ้วน เพราะการเล่านิทานย เป็นการกระตั้นพัฒนาการทางด้านภาษา การเรียนรู้จของเด็กเป็นการเรียนผ่านตัวอักษร พร้อมมองเห็นภาพ ทำให้เกิดการพัฒนาการทั้งภาษาพูด และภาษาอ่าน ส่วนการเล่น เป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสังคม ดังนั้น มหกรรมในครั้งนี้ จึงเป็นการกระตุ้นพัฒนาการเด็กด้วยการเล่านิทาน และสร้างตระหนักให้แก่พ่อแม่ถึงความสำคัญของการกระตุ้นพัฒนาการเด็กด้วยการเล่านิทาน อ่าน และเล่นกับลูก”ปลัดพม.กล่าว
ทั้งนี้ มหกรรม”เล่านิทาน อ่าน และเล่นกับลูก” ระหว่างวันที่ 29 เม.ย.-1 พ.ค. ที่ฮอลล์ 9 อิมแพ็ค เมืองทองธานี มีกิจกรรมมากมายให้เหล่าพ่อแม่ และลูกน้อยได้เข้าร่วม อาทิศิลปะการเล่านิทานจากชุมนุมนักเล่านิทานทั่ว ประเทศ เพลงกล่อมเด็กตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การอบรมและแบ่งปันประสบการณ์เลี้ยงดูลูกอย่างถูกวิธีโดยคุณแม่มืออาชีพ สารพัดการละเล่นพื้นบ้านที่สร้างความสัมพันธ์อันดีภายในครอบครัว และร่วมกระทบไหล่ครอบครัวดารามากมาย สนใจเข้าร่วมงานโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
พัฒนาคุณภาพโรงเรียนเอกชน
ครม.อนุมัติตั้งสช.จังหวัดและสช.อำเภอใน 5จังหวัดชายแดนภาคใต้หวังช่วยพัฒนาร.ร.เอกชน.พื้นที่ดันการศึกษาในภาคใต้ได้ดีขึ้น
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่าคณะรัฐมรตรี(ครม.)มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เสนอจัดตั้งสำนักงานการศึกษาเอกชน(สช.) จังหวัด เฉพาะใน 5 จังหวัดภาคใต้ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และจังหวัดสงขลา พร้อมตั้งสช.อำเภอใน37 อำเภอที่อยู่ใน5 จังหวัดดังกล่าวด้วยเพื่อดูและรับผิดชอบประสานส่งเสริมการศึกษาเอกชน เนื่องจากในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้นั้นมีร.ร.เอกชนอยู่เป็นจำนวนมากและเป็นร.ร.ส่วนใหญ่
พร้อมกันนี้ครม.ยังอนุมัติเพิ่มอัตรากำลังพนักงานราชการจำนวน840 คนเพื่อไปประจำในสช.จังหวัดและสช.อำเภอและอนุมัติพนักงานราชการที่ปฏิบัติ งานสอนวิชาสามัญและสายวิชาชีพในร.ร.เอกชนสอน ศาสนาอิสลามร.ร.ละ2 คนรวมจำนวน 184 คนและจัดให้มีครูเข้าไปช่วยสอนในร.ร. สอนศาสนาอิสลามร.ร.ละ1 คนจำนวน 63 คนและครูอาสาทำหน้าที่สอนวิชาสามัญในร.ร.ปอเนอะแห่งละ1 คนจำนวน 379 คนรวมทั้งหมดจำนวน 1,406 คนโดยจะใช้งบในการดำเนินงานจำนวน 350 ล้านบาทซึ่งในปีการศึกษา 2552 จะใช้งบของศูนย์องค์การบริหารสามจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอบต.) ไปก่อนและตั้งเป็นงบของศธ.ในปีถัดไป
การจัดตั้งสช.จังหวัดและสช.อำเภอมีความจำเป็นเพราะใน 5 จังหวัดชายแดนใต้นั้นร.ร.ส่วนใหญ่ถึง70% ของร.ร.ทั้งหมดในพื้นที่เป็นร.ร.เอกชนจึงจำเป็นต้องตั้งสช.ประจำจังหวัดขึ้นมาเพื่อช่วยส่งเสริมสนับสนุน กำกับ ติดตาม ร.ร.เอกชนเพื่อให้การเรียนการสอนของร.ร.เอกชนพัฒนา เป็นผลดีต่อการพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ ตนจะเดินทางไปเปิดสช.จังหวัดแห่งแรกที่จ.ปัตตานีในกลางเดือนพ.ค.นี้นายจุริ นทร์กล่าว
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่าคณะรัฐมรตรี(ครม.)มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เสนอจัดตั้งสำนักงานการศึกษาเอกชน(สช.) จังหวัด เฉพาะใน 5 จังหวัดภาคใต้ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และจังหวัดสงขลา พร้อมตั้งสช.อำเภอใน37 อำเภอที่อยู่ใน5 จังหวัดดังกล่าวด้วยเพื่อดูและรับผิดชอบประสานส่งเสริมการศึกษาเอกชน เนื่องจากในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้นั้นมีร.ร.เอกชนอยู่เป็นจำนวนมากและเป็นร.ร.ส่วนใหญ่
พร้อมกันนี้ครม.ยังอนุมัติเพิ่มอัตรากำลังพนักงานราชการจำนวน840 คนเพื่อไปประจำในสช.จังหวัดและสช.อำเภอและอนุมัติพนักงานราชการที่ปฏิบัติ งานสอนวิชาสามัญและสายวิชาชีพในร.ร.เอกชนสอน ศาสนาอิสลามร.ร.ละ2 คนรวมจำนวน 184 คนและจัดให้มีครูเข้าไปช่วยสอนในร.ร. สอนศาสนาอิสลามร.ร.ละ1 คนจำนวน 63 คนและครูอาสาทำหน้าที่สอนวิชาสามัญในร.ร.ปอเนอะแห่งละ1 คนจำนวน 379 คนรวมทั้งหมดจำนวน 1,406 คนโดยจะใช้งบในการดำเนินงานจำนวน 350 ล้านบาทซึ่งในปีการศึกษา 2552 จะใช้งบของศูนย์องค์การบริหารสามจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอบต.) ไปก่อนและตั้งเป็นงบของศธ.ในปีถัดไป
การจัดตั้งสช.จังหวัดและสช.อำเภอมีความจำเป็นเพราะใน 5 จังหวัดชายแดนใต้นั้นร.ร.ส่วนใหญ่ถึง70% ของร.ร.ทั้งหมดในพื้นที่เป็นร.ร.เอกชนจึงจำเป็นต้องตั้งสช.ประจำจังหวัดขึ้นมาเพื่อช่วยส่งเสริมสนับสนุน กำกับ ติดตาม ร.ร.เอกชนเพื่อให้การเรียนการสอนของร.ร.เอกชนพัฒนา เป็นผลดีต่อการพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ ตนจะเดินทางไปเปิดสช.จังหวัดแห่งแรกที่จ.ปัตตานีในกลางเดือนพ.ค.นี้นายจุริ นทร์กล่าว
จุฬาฯหนุนเพิ่มPAT8ภาษาไทย-สังคม
เผยประชุมแอดมิชชั่นส์ฟอรั่ม เสนอเพิ่ม PAT8 ภาษาไทยและสังคมศึกษา ด้านจุฬาฯหนุนเต็มที่ ชี้เด็กไทย-สังคม ได้ทุ่มเทการเรียน แสดงความสามารถด้านภาษาไทยและสังคม ฝากประกาศเลย ไม่ต้องรอถึง 3 ปีค่อนแจ้งนร. ส่วนประธานแอดมิชชั่นส์ฟอรั่ม เตรียมหารือเบื้องต้นในที่ประชุมคณะทำงานศึกษาแอดมิชชั่นส์ฟอรั่มฯ วันที่ 27 เม.ย.นี้ ขณะที่สกอ.เร่งนร.ชำระค่าสมัรครแอดมิชชั่นส์ ก่อนวันสุดท้าย 24 เม.ย.นี้
ผศ.ดร.ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ในการประชุมแอดมิชชั่นส์ฟอรั่ม ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีการเสนอให้มีการเพิ่มการสอบแบบทดสอบศักยภาพวิชาชีพ/วิชาการ หรือ PAT 8 ด้านภาษาไทยและสังคมศึกษา ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากคณะวิชาด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยหลายแห่ง อาทิ จุฬาฯ ,มหาวิทยาลัยมหิดล,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยต่างจังหวัดอีกหลายแห่ง
ทั้งนี้สาเหตุที่เสนอให้ PAT 8 เป็นการสอบทั้งวิชาภาษาไทยและสังคม โดยไม่แยกวิชาสังคมศึกษาเป็น PAT 9 เนื่องจากเป็นปัญหาด้านการบริหารจัดการสอบ เพราะสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ระบุว่า การจัดตารางสอบแบบทดสอบศักยภาพทั่วไป หรือ GAT และ PAT ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 7PAT รวมจัดสอบ 8 วิชา ใช้สอบในช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ซึ่งเป็นตารางที่แน่นแล้ว หากจะเพิ่มอีก คงเพิ่มได้เพียง 1 PAT เท่านั้น ดังนั้น หากมีการกำหนดเวลาการสอบวิชาภาษาไทยและสังคมศึกษาให้เพียงพอ และรวมอยู่ใน PAT เดียวกันวิชาละ 1 ชั่วโมง 30 นาที ก็จะทำให้สามารถวัดความสามารถของเด็กด้านภาษาไทยและสังคมได้ และมีการบริหารจัดการที่ลงตัว ก็มีแนวโน้มที่จะจัดการสอบPAT 8 ได้
“โดยส่วนตัวแล้วเห็นด้วยกับการเพิ่มPAT 8 มาก เพราะจะทำให้เด็กที่เรียนมาทางด้านสายสังคม ได้แสดงความสามารถด้านภาษาไทยและสังคม ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ก็ทุ่มเทการเรียนไม่แพ้เด็กที่เรียนสายวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีแนวโน้มว่า จะสามารถแยกสอบ PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ เป็น 4 วิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ทั่วไป สำหรับคณะที่ต้องการความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ทั่วไป เช่น จิตวิทยา เป็นต้น ,ฟิสิกส์ ,เคมี,ชีววิทยา สำหรับเด็กสายสังคมศาสตร์ ก็น่าจะมีโอกาสแสดงความสามารถของตนเองด้วย โดยคณะที่ต้องการคัดเลือกเด็กโดยใช้ PAT 8 ได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์ คณะบัญชี คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งหากเป็นไปได้ ก็อยากเสนอให้ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติให้จัดสอบได้ในปีการศึกษา 2554 พร้อมกับ การแยกสอบPAT 2” ผศ.ดร.ม.ร.ว.กัลยา กล่าว
อย่างไรก็ตามฝ่ายกฎหมายของ ทปอ. ได้ตั้งข้อสังเกตว่า หากจะมีการสอบ PAT 8 ต้องแจ้งล่วงหน้า 3 ปี แต่หากมองถึงโอกาสของเด็กสายสังคม ก็ควรให้โอกาสเด็กได้แสดงความสามารถให้คุณค่าในสิ่งที่เด็กได้ทุ่มเทเรียน และเป็นผลเพื่อนำไปสู่การสอบเข้ามหาวิทยาลัย ไม่เช่นนั้นเด็กกลุ่มนี้ก็จะกลายเป็นเด็กด้อยโอกาสไป
รศ.ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี ประธานคณะทำงานศึกษาแอดมิชชั่นส์ฟอรั่มปี 2553 กล่าวว่า ในการประชุมคณะทำงานศึกษาแอดมิชชั่นส์ฟอรั่มที่ผ่านมา ซึ่งมีการหารือถึงสัดส่วนองค์ประกอบแอดมิชชั่นส์ ปี 2554 นั้น จำได้ว่ามีผู้เสนอให้มีการแยกสอบ PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงเสนอแนะให้เพิ่มการสอบ PAT 8 ความถนัดทางสังคมศึกษา แต่จำไม่ได้ว่ามีการเสนอให้เพิ่มการสอบวิชาภาษาไทยด้วยหรือไม่ อย่างไรก็ตามข้อเสนอวันนั้นค่อนข้างหลากหลาย นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ซึ่งได้เข้าประชุมด้วย จึงได้มอบหมายให้ส่งแบบสอบถามไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อสอบถามถึงข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการกำหนดองค์ประกอบและค่าร้อยละใน ระบบแอดมิชชั่นส์กลาง ก่อนที่จะนำข้อเสนอเหล่านั้นมาหารือร่วมกันในที่ประชุมทปอ.ต่อไป ส่วนตัวพร้อมรับฟังข้อเสนอแนะทุกประการ ซึ่งคาดว่าน่าจะได้มีการหารือเบื้องต้นในที่ประชุมคณะทำงานศึกษาแอ ดมิสชั่นส์ฟอรั่มฯ ในวันที่ 27 เม.ย.นี้ แต่การตัดสินใจ คงเป็นของที่ประชุมทปอ.
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ.) กล่าวว่า จากการขยายวันเปิดรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบ กลางการรับนิสิตนักศึกษาหรือแอดมิชชั่นส์ ประจำปีการศึกษา 2552 ตั้งแต่วันที่ 11 - 22 เม.ย. นั้น ขณะนี้มีผู้สมัครแอดมิชชั่นส์ทั้งหมด 118,402 คน ส่วนผู้ยื่นสมัครแอดมิชชั่นส์และชำระค่าสมัครเรียบร้อยแล้วนั้น มีจำนวน 87,078 คน จึงอยากให้ผู้ยื่นสมัครแอดมิชชั่นส์ที่ยังไม่ชำระเงิน อีกประมาณ 30,000 กว่าคน รีบชำระเงินก่อนวันที่ 24 เม.ย.ซึ่งเป็นวันสุดท้าย เพื่อให้การสมัครเป็นการอย่างสมบูรณ์ และป้องกันความผิดพลาด อีกทั้งควรโทรเข้ามาสอบถามและตรวจสอบความถูกต้องที่สกอ.ด้วยอย่างไรก็ตาม แอดมิชชั่นส์ ปีการศึกษา 2552 มีที่นั่งประมาณ 120,000 ที่นั่งที่รองรับนักเรียน แต่เมื่อประกาศผลออกมาแล้ว อาจเหลือประมาณ 58,000 คน เมื่อปีที่ผ่านมา เนื่องจากนักเรียนได้เลือกที่นั่งซ้ำซ้อนกัน
ผศ.ดร.ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ในการประชุมแอดมิชชั่นส์ฟอรั่ม ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีการเสนอให้มีการเพิ่มการสอบแบบทดสอบศักยภาพวิชาชีพ/วิชาการ หรือ PAT 8 ด้านภาษาไทยและสังคมศึกษา ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากคณะวิชาด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยหลายแห่ง อาทิ จุฬาฯ ,มหาวิทยาลัยมหิดล,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยต่างจังหวัดอีกหลายแห่ง
ทั้งนี้สาเหตุที่เสนอให้ PAT 8 เป็นการสอบทั้งวิชาภาษาไทยและสังคม โดยไม่แยกวิชาสังคมศึกษาเป็น PAT 9 เนื่องจากเป็นปัญหาด้านการบริหารจัดการสอบ เพราะสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ระบุว่า การจัดตารางสอบแบบทดสอบศักยภาพทั่วไป หรือ GAT และ PAT ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 7PAT รวมจัดสอบ 8 วิชา ใช้สอบในช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ซึ่งเป็นตารางที่แน่นแล้ว หากจะเพิ่มอีก คงเพิ่มได้เพียง 1 PAT เท่านั้น ดังนั้น หากมีการกำหนดเวลาการสอบวิชาภาษาไทยและสังคมศึกษาให้เพียงพอ และรวมอยู่ใน PAT เดียวกันวิชาละ 1 ชั่วโมง 30 นาที ก็จะทำให้สามารถวัดความสามารถของเด็กด้านภาษาไทยและสังคมได้ และมีการบริหารจัดการที่ลงตัว ก็มีแนวโน้มที่จะจัดการสอบPAT 8 ได้
“โดยส่วนตัวแล้วเห็นด้วยกับการเพิ่มPAT 8 มาก เพราะจะทำให้เด็กที่เรียนมาทางด้านสายสังคม ได้แสดงความสามารถด้านภาษาไทยและสังคม ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ก็ทุ่มเทการเรียนไม่แพ้เด็กที่เรียนสายวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีแนวโน้มว่า จะสามารถแยกสอบ PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ เป็น 4 วิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ทั่วไป สำหรับคณะที่ต้องการความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ทั่วไป เช่น จิตวิทยา เป็นต้น ,ฟิสิกส์ ,เคมี,ชีววิทยา สำหรับเด็กสายสังคมศาสตร์ ก็น่าจะมีโอกาสแสดงความสามารถของตนเองด้วย โดยคณะที่ต้องการคัดเลือกเด็กโดยใช้ PAT 8 ได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์ คณะบัญชี คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งหากเป็นไปได้ ก็อยากเสนอให้ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติให้จัดสอบได้ในปีการศึกษา 2554 พร้อมกับ การแยกสอบPAT 2” ผศ.ดร.ม.ร.ว.กัลยา กล่าว
อย่างไรก็ตามฝ่ายกฎหมายของ ทปอ. ได้ตั้งข้อสังเกตว่า หากจะมีการสอบ PAT 8 ต้องแจ้งล่วงหน้า 3 ปี แต่หากมองถึงโอกาสของเด็กสายสังคม ก็ควรให้โอกาสเด็กได้แสดงความสามารถให้คุณค่าในสิ่งที่เด็กได้ทุ่มเทเรียน และเป็นผลเพื่อนำไปสู่การสอบเข้ามหาวิทยาลัย ไม่เช่นนั้นเด็กกลุ่มนี้ก็จะกลายเป็นเด็กด้อยโอกาสไป
รศ.ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี ประธานคณะทำงานศึกษาแอดมิชชั่นส์ฟอรั่มปี 2553 กล่าวว่า ในการประชุมคณะทำงานศึกษาแอดมิชชั่นส์ฟอรั่มที่ผ่านมา ซึ่งมีการหารือถึงสัดส่วนองค์ประกอบแอดมิชชั่นส์ ปี 2554 นั้น จำได้ว่ามีผู้เสนอให้มีการแยกสอบ PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงเสนอแนะให้เพิ่มการสอบ PAT 8 ความถนัดทางสังคมศึกษา แต่จำไม่ได้ว่ามีการเสนอให้เพิ่มการสอบวิชาภาษาไทยด้วยหรือไม่ อย่างไรก็ตามข้อเสนอวันนั้นค่อนข้างหลากหลาย นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ซึ่งได้เข้าประชุมด้วย จึงได้มอบหมายให้ส่งแบบสอบถามไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อสอบถามถึงข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการกำหนดองค์ประกอบและค่าร้อยละใน ระบบแอดมิชชั่นส์กลาง ก่อนที่จะนำข้อเสนอเหล่านั้นมาหารือร่วมกันในที่ประชุมทปอ.ต่อไป ส่วนตัวพร้อมรับฟังข้อเสนอแนะทุกประการ ซึ่งคาดว่าน่าจะได้มีการหารือเบื้องต้นในที่ประชุมคณะทำงานศึกษาแอ ดมิสชั่นส์ฟอรั่มฯ ในวันที่ 27 เม.ย.นี้ แต่การตัดสินใจ คงเป็นของที่ประชุมทปอ.
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ.) กล่าวว่า จากการขยายวันเปิดรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบ กลางการรับนิสิตนักศึกษาหรือแอดมิชชั่นส์ ประจำปีการศึกษา 2552 ตั้งแต่วันที่ 11 - 22 เม.ย. นั้น ขณะนี้มีผู้สมัครแอดมิชชั่นส์ทั้งหมด 118,402 คน ส่วนผู้ยื่นสมัครแอดมิชชั่นส์และชำระค่าสมัครเรียบร้อยแล้วนั้น มีจำนวน 87,078 คน จึงอยากให้ผู้ยื่นสมัครแอดมิชชั่นส์ที่ยังไม่ชำระเงิน อีกประมาณ 30,000 กว่าคน รีบชำระเงินก่อนวันที่ 24 เม.ย.ซึ่งเป็นวันสุดท้าย เพื่อให้การสมัครเป็นการอย่างสมบูรณ์ และป้องกันความผิดพลาด อีกทั้งควรโทรเข้ามาสอบถามและตรวจสอบความถูกต้องที่สกอ.ด้วยอย่างไรก็ตาม แอดมิชชั่นส์ ปีการศึกษา 2552 มีที่นั่งประมาณ 120,000 ที่นั่งที่รองรับนักเรียน แต่เมื่อประกาศผลออกมาแล้ว อาจเหลือประมาณ 58,000 คน เมื่อปีที่ผ่านมา เนื่องจากนักเรียนได้เลือกที่นั่งซ้ำซ้อนกัน
สั่งกยศ.ให้กู้.1หมื่นหวั่นออกกลางคัน
ศธ.ส่งทูตเจรจาบอร์ดกยศ.ช่วยเหลือนักศึกษา1.1 หมื่นคนที่ตกค้างกู้ กยศ.ประจำปีการศึกษา51 "จุรินทร์" ชี้หากไม่ยื่นมือเข้าช่วย เด็กมีสิทธิออกกลางคัน เพราะไม่มีเงินเรียน พร้อมจี้เปิดทางให้ ธ.อิสลามร่วมโครงการด้วย
นายจุรินทร์ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่าที่ประชุมมีมติให้ตัวแทน ศธ.ไปร่วมประชุมคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษา(กยศ.) ที่มีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานวันที่ 23 เมษายนพยายามเร่งรัดให้ กยศ.ปฏิบัติตามนโยบายของศธ. ที่เสนอให้บอร์ดกยศ.เปิดโอกาสธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยร่วมโครงการปล่อยกู้กยศ.ซึ่งปัจจุบันมีเด็กใน3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยื่นความจำนงขอกู้กยศ.ปี2552 จำนวนประมาณ1.1 หมื่นคน ควบคู่ไปกับธนาคารกรุงไทย
พร้อมขอให้กยศ.อุ้มนักศึกษาที่ตกค้างจากการกู้เงิน ประจำปีการศึกษา2551 จำนวน1.1 หมื่นราย เด็กกลุ่มนี้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไข และเคยได้รับการรับรองจากมหาวิทยาลัยต้นสังกัดว่าจะได้สิทธิกู้เงิน แต่ภายหลัง กยศ.ลดโควตาปล่อยกู้ราย ใหม่ทำให้เด็กกลุ่มนี้อยู่ในฐานะลำบาก มหาวิทยาลัยไม่ยอมออกเกรดปี 1 ให้เพราะไม่มีเงินไปจ่ายค่าเทอมหากปล่อยไว้โดยไม่เข้าไปช่วยเหลือ นักศึกษาจำนวนหนึ่งอาจตัดสินใจออกจากการเรียนกลางคันได้
กยศ.จะต้องช่วยเหลือนักศึกษาทั้ง1.1 หมื่นคนนี้ ให้เสร็จเรียบร้อยก่อนเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2552 ได้ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ประสานไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆเพื่อแจ้งให้ทราบว่า ศธ.กำลังผลักดันเรื่องนี้อยู่ขอให้ยืดหยุ่น ผ่อนผันให้นักศึกษาที่ยังค้างจ่ายค่าเทอมของปี 1 สามารถลงทะเบียนเรียนต่อปี2 ได้ รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
ดร.สุเมธแย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่าจะประสานกับ กยศ.ให้มีมติออกมาให้ชัดเจนไม่น่าจะมีปัญหาเพราะไม่ใช่ความผิดของเด็กแต่ผิด ที่ระบบ ควรจะได้รับความช่วยเหลือในเรื่องนี้ ซึ่งปัญหาขณะนี้ติดอยู่ที่การพิจารณาของอนุกรรมการด้านกฎหมายที่ยังไม่ได้มี การหารือเพื่อให้มีมติออกมา หากคณะอนุกรรมการชุดนี้ยังหารือกันไม่เสร็จ ก็อาจต้องเลื่อนประชุมบอร์ด กยศ.ออกไปอีก
นายจุรินทร์ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่าที่ประชุมมีมติให้ตัวแทน ศธ.ไปร่วมประชุมคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษา(กยศ.) ที่มีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานวันที่ 23 เมษายนพยายามเร่งรัดให้ กยศ.ปฏิบัติตามนโยบายของศธ. ที่เสนอให้บอร์ดกยศ.เปิดโอกาสธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยร่วมโครงการปล่อยกู้กยศ.ซึ่งปัจจุบันมีเด็กใน3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยื่นความจำนงขอกู้กยศ.ปี2552 จำนวนประมาณ1.1 หมื่นคน ควบคู่ไปกับธนาคารกรุงไทย
พร้อมขอให้กยศ.อุ้มนักศึกษาที่ตกค้างจากการกู้เงิน ประจำปีการศึกษา2551 จำนวน1.1 หมื่นราย เด็กกลุ่มนี้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไข และเคยได้รับการรับรองจากมหาวิทยาลัยต้นสังกัดว่าจะได้สิทธิกู้เงิน แต่ภายหลัง กยศ.ลดโควตาปล่อยกู้ราย ใหม่ทำให้เด็กกลุ่มนี้อยู่ในฐานะลำบาก มหาวิทยาลัยไม่ยอมออกเกรดปี 1 ให้เพราะไม่มีเงินไปจ่ายค่าเทอมหากปล่อยไว้โดยไม่เข้าไปช่วยเหลือ นักศึกษาจำนวนหนึ่งอาจตัดสินใจออกจากการเรียนกลางคันได้
กยศ.จะต้องช่วยเหลือนักศึกษาทั้ง1.1 หมื่นคนนี้ ให้เสร็จเรียบร้อยก่อนเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2552 ได้ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ประสานไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆเพื่อแจ้งให้ทราบว่า ศธ.กำลังผลักดันเรื่องนี้อยู่ขอให้ยืดหยุ่น ผ่อนผันให้นักศึกษาที่ยังค้างจ่ายค่าเทอมของปี 1 สามารถลงทะเบียนเรียนต่อปี2 ได้ รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
ดร.สุเมธแย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่าจะประสานกับ กยศ.ให้มีมติออกมาให้ชัดเจนไม่น่าจะมีปัญหาเพราะไม่ใช่ความผิดของเด็กแต่ผิด ที่ระบบ ควรจะได้รับความช่วยเหลือในเรื่องนี้ ซึ่งปัญหาขณะนี้ติดอยู่ที่การพิจารณาของอนุกรรมการด้านกฎหมายที่ยังไม่ได้มี การหารือเพื่อให้มีมติออกมา หากคณะอนุกรรมการชุดนี้ยังหารือกันไม่เสร็จ ก็อาจต้องเลื่อนประชุมบอร์ด กยศ.ออกไปอีก
'สุเมธ'แจงเกรดมีผลกู้กยศ.ต่อ
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่บางมหาวิทยาลัยไม่อนุญาตให้นักศึกษากู้ยืมกองทุนเงิน ให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เรียนต่อ หากมีผลการเรียนต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนด ว่า กยศ.มีหลักเกณฑ์การกู้ กยศ.ไว้ชัดเจนว่า ผู้กู้ต้องมีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี และเมื่อเข้าเรียนแล้วต้องดูความประพฤติ และผลการเรียนประกอบการพิจารณาว่าจะให้กู้ กยศ.ต่อหรือไม่ด้วย เพราะหากผู้กู้ตั้งใจเรียน ผลการเรียนดี มีความประพฤติดี จะทำให้มีโอกาสได้ทำงานสูง ส่วนผลการเรียนจะต้องไม่ต่ำกว่าเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง จะเป็นผู้กำหนด และต้องประกาศให้นักศึกษาทราบด้วย
“กรณีที่มหาวิทยาลัยบางแห่งไม่ให้นักศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำกู้ กยศ.ต่อนั้น ผมคิดว่าผลการเรียนคงจะต่ำมากจริง ๆ มหาวิทยาลัยจึงพิจารณาไม่ให้กู้ต่อ เพราะเกรงว่าถ้าให้กู้ต่อจะเป็นภาระกับนักศึกษา และนักศึกษาอาจจะเรียนไม่จบ ขณะที่ กยศ.มีงบประมาณจำกัด ดังนั้นมหาวิทยาลัยต้องพิจารณาให้นักศึกษาที่ยากจน อยากศึกษาต่อ และที่สำคัญเมื่อเรียนแล้วมีโอกาสที่จะจบสูงได้กู้” เลขาธิการ กกอ.กล่าวและว่า ในเร็ว ๆ นี้ คณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่ 2 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะพิจารณาเรื่องผู้กู้ กยศ.ที่เรียนครบหลักสูตรแล้ว แต่ยังไม่จบการศึกษา และต้องการจะขอกู้ กยศ.ต่อ โดยในการพิจารณาจะดูผลการเรียนที่ต้องได้เกรดไม่ต่ำกว่า 1.75 และเรียนไม่เกิน 36 หน่วยกิต รวมถึงต้องมีความประพฤติดีด้วย.
“กรณีที่มหาวิทยาลัยบางแห่งไม่ให้นักศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำกู้ กยศ.ต่อนั้น ผมคิดว่าผลการเรียนคงจะต่ำมากจริง ๆ มหาวิทยาลัยจึงพิจารณาไม่ให้กู้ต่อ เพราะเกรงว่าถ้าให้กู้ต่อจะเป็นภาระกับนักศึกษา และนักศึกษาอาจจะเรียนไม่จบ ขณะที่ กยศ.มีงบประมาณจำกัด ดังนั้นมหาวิทยาลัยต้องพิจารณาให้นักศึกษาที่ยากจน อยากศึกษาต่อ และที่สำคัญเมื่อเรียนแล้วมีโอกาสที่จะจบสูงได้กู้” เลขาธิการ กกอ.กล่าวและว่า ในเร็ว ๆ นี้ คณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่ 2 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะพิจารณาเรื่องผู้กู้ กยศ.ที่เรียนครบหลักสูตรแล้ว แต่ยังไม่จบการศึกษา และต้องการจะขอกู้ กยศ.ต่อ โดยในการพิจารณาจะดูผลการเรียนที่ต้องได้เกรดไม่ต่ำกว่า 1.75 และเรียนไม่เกิน 36 หน่วยกิต รวมถึงต้องมีความประพฤติดีด้วย.
Wednesday, April 22, 2009
วชช.ออกโรงตีกันไม่ขอรวมแท่งกับ กศน.
ชี้ปรัชญาและกลุ่มเป้าหมายต่างกันประกาศเดินหน้าต่อต้านให้ถึงที่สุด
ศ.วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวบรรยายพิเศษ “เรื่องบทบาทของวิทยาลัยชุมชนในระบบอุดมศึกษา” ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องธรรมาภิบาลในวิทยาลัยชุมชน เมื่อวันที่ 21 เม.ย.ที่ โรงแรมริชมอนด์ ว่า วิทยาลัยชุมชน (วชช.) ถือเป็นภูเขาลูกใหญ่ที่สุดของสถาบันอุดมศึกษา ที่ต้องรับผิดชอบจัดการศึกษาให้แก่ผู้ขาดโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษา รวมถึงจัดหลักสูตรระยะสั้นตามความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะคนที่อยู่นอกระบบการศึกษา และขณะนี้คุณค่าของ วชช.อยู่ที่การให้บริการทางการศึกษาได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ตรงอาชีพ มีค่าใช้จ่ายต่ำ สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตรได้ง่าย และเป็นที่พึ่งให้แก่ชุมชนได้ ที่สำคัญแม้สภาพของ วชช.จะดูต้อยต่ำ แต่เรื่องคุณภาพใช้ได้ ทั้งนี้ตนอยากฝากไว้ว่าการประเมินคุณภาพของ วชช.นั้น ไม่ควรยึดมาตรฐานเดียวกับมหาวิทยาลัยเพราะมีหลักการที่แตกต่างกัน
ภายหลังการบรรยาย ศ.วิจารณ์ กล่าวถึงกรณีมีกระแสข่าวว่าจะมีการตั้งสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เป็นองค์กรหลักในกระทรวงศึกษาธิการ โดยจะดึง วชช.ไปรวมอยู่ด้วย ว่า โดยส่วนตัวเห็นว่าในอนาคตหาก วชช.มีความเข้มแข็ง คิดว่า วชช.ควรจะไปอยู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากกว่า
ผศ.ดร.ปราโมทช์ เบญจกาญจน์ ประธานสภาวชช.บุรีรัมย์ กล่าวว่า หากจะให้ วชช.ไปรวมกับ กศน. วชช.อาจต้องไปเริ่มต้นใหม่ และอาจถูกกลืนได้ เนื่องจาก กศน.มีพลังหรืออำนาจในการต่อรองกับทางการเมืองสูงกว่า ขณะที่ วชช.มีบทบาทและหน้าที่ต่างจาก กศน. จึงไม่ควรนำมารวมกัน แต่หากฝ่ายการเมืองต้องการให้รวมกันตนก็ขอฝากให้คิดถึงประโยชน์ของส่วนรวม เป็นหลัก
นายวรชาติ ธะวิชัย กรรมการสภา วชช.แพร่ กล่าวว่า ที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานที่คิดว่า วชช.จะเข้ามาแย่งลูกค้า หรือทำงานซ้ำซ้อนกับ กศน. ทั้งที่ความจริงแล้วไม่ใช่ เพราะกลุ่มเป้าหมายของ วชช. คือคนในชุมชน และการจัดหลักสูตรต่าง ๆ ต้องเป็นความต้องการของชุมชน ซึ่ง วชช. สามารถจัดให้ได้ทันที เพราะแต่ละแห่งสามารถขออนุมัติจัดหลักสูตรจากสภา วชช. ของตนเองได้ โดยไม่ต้องมารอขออนุมัติหรือต้องทำตามส่วนกลางกำหนดเหมือนหน่วยงานอื่น ๆ
ด้าน นายมณัส ศุภชีวะกุล กรรมการสภา วชช.ยะลา กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าประเทศไทยยังไม่เข้าใจถึงเนื้อแท้ของการทำงานและปรัชญาของวชช. ทั้งที่ วชช. มีบทบาท และ สนองความต้องการของชุมชมจริง ๆ หากใครจะมาเปลี่ยนแปลงหรือยุบรวม วชช. ตนจะขอต่อต้านถึงที่สุด.
ศ.วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวบรรยายพิเศษ “เรื่องบทบาทของวิทยาลัยชุมชนในระบบอุดมศึกษา” ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องธรรมาภิบาลในวิทยาลัยชุมชน เมื่อวันที่ 21 เม.ย.ที่ โรงแรมริชมอนด์ ว่า วิทยาลัยชุมชน (วชช.) ถือเป็นภูเขาลูกใหญ่ที่สุดของสถาบันอุดมศึกษา ที่ต้องรับผิดชอบจัดการศึกษาให้แก่ผู้ขาดโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษา รวมถึงจัดหลักสูตรระยะสั้นตามความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะคนที่อยู่นอกระบบการศึกษา และขณะนี้คุณค่าของ วชช.อยู่ที่การให้บริการทางการศึกษาได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ตรงอาชีพ มีค่าใช้จ่ายต่ำ สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตรได้ง่าย และเป็นที่พึ่งให้แก่ชุมชนได้ ที่สำคัญแม้สภาพของ วชช.จะดูต้อยต่ำ แต่เรื่องคุณภาพใช้ได้ ทั้งนี้ตนอยากฝากไว้ว่าการประเมินคุณภาพของ วชช.นั้น ไม่ควรยึดมาตรฐานเดียวกับมหาวิทยาลัยเพราะมีหลักการที่แตกต่างกัน
ภายหลังการบรรยาย ศ.วิจารณ์ กล่าวถึงกรณีมีกระแสข่าวว่าจะมีการตั้งสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เป็นองค์กรหลักในกระทรวงศึกษาธิการ โดยจะดึง วชช.ไปรวมอยู่ด้วย ว่า โดยส่วนตัวเห็นว่าในอนาคตหาก วชช.มีความเข้มแข็ง คิดว่า วชช.ควรจะไปอยู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากกว่า
ผศ.ดร.ปราโมทช์ เบญจกาญจน์ ประธานสภาวชช.บุรีรัมย์ กล่าวว่า หากจะให้ วชช.ไปรวมกับ กศน. วชช.อาจต้องไปเริ่มต้นใหม่ และอาจถูกกลืนได้ เนื่องจาก กศน.มีพลังหรืออำนาจในการต่อรองกับทางการเมืองสูงกว่า ขณะที่ วชช.มีบทบาทและหน้าที่ต่างจาก กศน. จึงไม่ควรนำมารวมกัน แต่หากฝ่ายการเมืองต้องการให้รวมกันตนก็ขอฝากให้คิดถึงประโยชน์ของส่วนรวม เป็นหลัก
นายวรชาติ ธะวิชัย กรรมการสภา วชช.แพร่ กล่าวว่า ที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานที่คิดว่า วชช.จะเข้ามาแย่งลูกค้า หรือทำงานซ้ำซ้อนกับ กศน. ทั้งที่ความจริงแล้วไม่ใช่ เพราะกลุ่มเป้าหมายของ วชช. คือคนในชุมชน และการจัดหลักสูตรต่าง ๆ ต้องเป็นความต้องการของชุมชน ซึ่ง วชช. สามารถจัดให้ได้ทันที เพราะแต่ละแห่งสามารถขออนุมัติจัดหลักสูตรจากสภา วชช. ของตนเองได้ โดยไม่ต้องมารอขออนุมัติหรือต้องทำตามส่วนกลางกำหนดเหมือนหน่วยงานอื่น ๆ
ด้าน นายมณัส ศุภชีวะกุล กรรมการสภา วชช.ยะลา กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าประเทศไทยยังไม่เข้าใจถึงเนื้อแท้ของการทำงานและปรัชญาของวชช. ทั้งที่ วชช. มีบทบาท และ สนองความต้องการของชุมชมจริง ๆ หากใครจะมาเปลี่ยนแปลงหรือยุบรวม วชช. ตนจะขอต่อต้านถึงที่สุด.
Tuesday, April 21, 2009
ไทยพร้อมจัดฟิสิกส์โอลิมปิก
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 20 เม.ย.ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ได้มีการแถลงข่าวความพร้อมในการจัดแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปเอเชีย ครั้งที่ 10 ณ มก.บางเขน ระหว่างวันที่ 24 เม.ย.-2 พ.ค. 2552 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดย ศ.ศักดา ศิริพันธุ์ เลขาธิการมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาใน พระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) กล่าวว่า ในการแข่งขันครั้งนี้จะมีนักเรียน 161 คน จาก 22 ประเทศ เข้าร่วมแข่งขัน ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา จีน ไต้หวัน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย อิสราเอล คาซัคสถาน ลาว มาเก๊า มาเลเซีย มองโกเลีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ศรีลังกา ทาจิกิสถาน คีร์กีซสถาน เติร์กเมนิสถาน เวียดนาม และไทย โดยแต่ละประเทศจะส่งนักเรียนเข้าแข่งขัน 2 ทีมๆละไม่เกิน 8 คน
รศ.สุวรรณ คูสำราญ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ในฐานะเลขานุการจัดการแข่งขันฯ กล่าวว่า ประเทศต่าง ๆ ที่จะเข้าร่วมการแข่งขันได้สอบถามถึงความปลอดภัยที่จะมาแข่งขันในไทย เนื่องจากสถานการณ์ความวุ่นวาย อีกทั้งขณะนี้ไทยยังมีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในเขตกท.และปริมณฑล ซึ่งทางผู้จัดงานได้ชี้แจงและยืนยันถึงความปลอดภัย ทำให้ผู้แข่งขันจากทุกประเทศยืนยันจะมาร่วมการแข่งขันฯ.
รศ.สุวรรณ คูสำราญ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ในฐานะเลขานุการจัดการแข่งขันฯ กล่าวว่า ประเทศต่าง ๆ ที่จะเข้าร่วมการแข่งขันได้สอบถามถึงความปลอดภัยที่จะมาแข่งขันในไทย เนื่องจากสถานการณ์ความวุ่นวาย อีกทั้งขณะนี้ไทยยังมีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในเขตกท.และปริมณฑล ซึ่งทางผู้จัดงานได้ชี้แจงและยืนยันถึงความปลอดภัย ทำให้ผู้แข่งขันจากทุกประเทศยืนยันจะมาร่วมการแข่งขันฯ.
"จุรินทร์"จี้บอร์ดกยศ.เร่งจับมือแบงก์อิสลาม
อุ้มนักศึกษามุสลิม1.1หมื่นคนกู้เรียนงงเกณฑ์ใหม่ผลการเรียนตํ่าอดกู้ต่อ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตนได้มอบหมายให้ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ซึ่งมีปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ในวันที่ 23 เม.ย.นี้ นำนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการไปเร่งรัด บอร์ด กยศ.เพื่อดำเนินการให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เปิดให้นักศึกษามุสลิมกู้ยืมเงิน กยศ.ได้ทันเปิดภาคเรียนที่ 1/2552 เนื่องจากมีเด็กมุสลิมยื่นความจำนงขอกู้เข้ามาแล้วกว่า 11,000 คน นอกจากนี้ให้เร่งช่วยเหลือนิสิต นักศึกษา ตกค้างที่มหาวิทยาลัยประกาศว่า มีสิทธิกู้แต่ไม่ได้กู้ในปีการศึกษา 2551 ที่ผ่านมา จำนวน 11,283 คน ให้ได้รับสิทธิกู้ในส่วนของค่าเล่าเรียน เพราะที่ผ่านมาพบว่าเมื่อเด็กไม่ได้ชำระค่าเล่าเรียน ทำให้บางมหาวิทยาลัยไม่ออกเกรดให้เด็ก ซึ่งตนได้มอบนโยบายให้ไปดูแลช่วยเหลือตั้งแต่ 3 เดือนที่ผ่านมา แต่ขณะนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้า ซึ่งตนเป็นห่วงว่าอาจะทำให้มีเด็กออกกลางคันอีก จึงมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ประสานงานดูแลอย่างใกล้ชิด สำหรับการกู้ในปีการศึกษา 2552 ซึ่ง สกอ.ยืนยันว่าเด็กกลุ่มนี้จะได้รับการกู้ยืมแน่นอน
“ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เคยรับทราบเรื่องขอให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยปล่อยกู้ กยศ.แก่นักศึกษามุสลิมได้ทันเปิดภาคเรียนที่ 1/2552 เรื่องนี้จึงถือเป็นนโยบายรัฐบาล แต่จนขณะนี้ก็ยัง ไม่สามารถปล่อยกู้ได้ ทั้งที่ผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยก็ยืนยันถึงความพร้อมกับผมแล้ว จึงอยากให้ กยศ.เร่งประสานงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายโดยเร็ว” นายจุรินทร์ กล่าว
น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวถึงกรณีที่บางมหาวิทยาลัยไม่อนุญาตให้นักศึกษากู้ยืมเรียนต่อหากมีผล การเรียนต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ว่า ตนเพิ่งได้ยินว่ามีกรณีอย่างนี้ เพราะกระทรวงศึกษาธิการ ไม่เคยมีนโยบายนี้ และ กยศ.ก็ไม่น่ามีเช่นกัน เนื่องจาก กยศ.จะยึดหลักเกณฑ์รายได้ของผู้ปกครองเป็นหลัก ไม่ทราบว่าเรื่องหลักเกณฑ์ผลการเรียนเป็นหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยตั้งขึ้น เองหรือไม่ แต่คิดว่าโดยหลักการไม่น่าจะทำได้ อย่างไรก็ตามขอให้นักศึกษาไปยื่นความจำนงขอกู้ก่อน ถ้าคุณสมบัติครบถูกต้องแต่ไม่ได้กู้เพราะผลการเรียนต่ำ ก็ขอให้ร้องเรียนอย่างเป็นทางการเข้ามา ตนจะได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนต่อไป แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถทำอะไรได้เพราะยังไม่มีการร้องเรียนอย่างเป็นทางการ เลย.
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตนได้มอบหมายให้ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ซึ่งมีปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ในวันที่ 23 เม.ย.นี้ นำนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการไปเร่งรัด บอร์ด กยศ.เพื่อดำเนินการให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เปิดให้นักศึกษามุสลิมกู้ยืมเงิน กยศ.ได้ทันเปิดภาคเรียนที่ 1/2552 เนื่องจากมีเด็กมุสลิมยื่นความจำนงขอกู้เข้ามาแล้วกว่า 11,000 คน นอกจากนี้ให้เร่งช่วยเหลือนิสิต นักศึกษา ตกค้างที่มหาวิทยาลัยประกาศว่า มีสิทธิกู้แต่ไม่ได้กู้ในปีการศึกษา 2551 ที่ผ่านมา จำนวน 11,283 คน ให้ได้รับสิทธิกู้ในส่วนของค่าเล่าเรียน เพราะที่ผ่านมาพบว่าเมื่อเด็กไม่ได้ชำระค่าเล่าเรียน ทำให้บางมหาวิทยาลัยไม่ออกเกรดให้เด็ก ซึ่งตนได้มอบนโยบายให้ไปดูแลช่วยเหลือตั้งแต่ 3 เดือนที่ผ่านมา แต่ขณะนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้า ซึ่งตนเป็นห่วงว่าอาจะทำให้มีเด็กออกกลางคันอีก จึงมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ประสานงานดูแลอย่างใกล้ชิด สำหรับการกู้ในปีการศึกษา 2552 ซึ่ง สกอ.ยืนยันว่าเด็กกลุ่มนี้จะได้รับการกู้ยืมแน่นอน
“ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เคยรับทราบเรื่องขอให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยปล่อยกู้ กยศ.แก่นักศึกษามุสลิมได้ทันเปิดภาคเรียนที่ 1/2552 เรื่องนี้จึงถือเป็นนโยบายรัฐบาล แต่จนขณะนี้ก็ยัง ไม่สามารถปล่อยกู้ได้ ทั้งที่ผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยก็ยืนยันถึงความพร้อมกับผมแล้ว จึงอยากให้ กยศ.เร่งประสานงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายโดยเร็ว” นายจุรินทร์ กล่าว
น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวถึงกรณีที่บางมหาวิทยาลัยไม่อนุญาตให้นักศึกษากู้ยืมเรียนต่อหากมีผล การเรียนต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ว่า ตนเพิ่งได้ยินว่ามีกรณีอย่างนี้ เพราะกระทรวงศึกษาธิการ ไม่เคยมีนโยบายนี้ และ กยศ.ก็ไม่น่ามีเช่นกัน เนื่องจาก กยศ.จะยึดหลักเกณฑ์รายได้ของผู้ปกครองเป็นหลัก ไม่ทราบว่าเรื่องหลักเกณฑ์ผลการเรียนเป็นหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยตั้งขึ้น เองหรือไม่ แต่คิดว่าโดยหลักการไม่น่าจะทำได้ อย่างไรก็ตามขอให้นักศึกษาไปยื่นความจำนงขอกู้ก่อน ถ้าคุณสมบัติครบถูกต้องแต่ไม่ได้กู้เพราะผลการเรียนต่ำ ก็ขอให้ร้องเรียนอย่างเป็นทางการเข้ามา ตนจะได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนต่อไป แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถทำอะไรได้เพราะยังไม่มีการร้องเรียนอย่างเป็นทางการ เลย.
"ลาดกระบัง" ติวเข้ม นร.แก้ปมฟิสิกส์อ่อน
รศ.ดร.กอบชัย เดชหาญ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมาคณะวิศวกรรมศาสตร์รับนักศึกษาเข้าเรียนประมาณ 1,700 คน โดยผ่านการรับใน 3 รูปแบบ คือ 1. การสอบตรงจากโรงเรียนที่ทำความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 2. โครงการช้างเผือก 3. การสอบแอดมิชชั่น กลาง ซึ่งในจำนวนนี้เมื่อเข้ามาเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์แล้ว มีส่วนหนึ่งที่ไม่ผ่านเกณฑ์วิชาฟิสิกส์ ประมาณ 300 คน ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากในการสอบโดยวิธีแอดมิชชันเข้ามานั้น เด็กที่ผ่านเกณฑ์เข้ามาเรียนได้อาจจะมีคะแนนสอบทางวิชาสังคมหรือภาษาไทยสูง ขณะที่วิชาด้านสายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์คะแนนต่ำ? แต่เมื่อรวมคะแนนแล้วผ่านเกณฑ์การคัดเลือกก็สามารถเข้ามาเรียนได้? อย่างไร ก็ตาม เมื่อเข้ามาเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ซึ่งต้องใช้ความรู้ในวิชาสายวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์เป็นส่วนใหญ่แล้ว ดังนั้น เมื่อผลการเรียนออกมาจึงไม่ผ่านเกณฑ์วิชาเหล่านี้ และจะลาออกไปประมาณ 10% จากจำนวนนักศึกษาที่รับเข้ามาทั้งหมด
รศ. ดร.กอบชัยกล่าวด้วยว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้หาทางแก้ปัญหา โดยลงนามความร่วมมือกับโรงเรียนในเครือข่าย เพื่อให้ ความรู้กับนักเรียนพร้อมทั้งสอนเสริมในวิชาสายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อเสริมความรู้ให้กับนักเรียนที่มีความต้องการเข้ามาเรียนในคณะ วิศวกรรมศาสตร์มีความพร้อมในการเรียน โดยดำเนินการกับโรงเรียนในเครือข่ายมาแล้ว 2-3 ปี โดยสอนเสริมในรายวิชาที่ต้องใช้ในการเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ทั้งชี้แนะให้เด็กที่จะเข้ามาเรียนในคณะนี้ได้รู้ว่า หากมีความต้องการจะเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์แล้ว จะต้องปรับความรู้ในวิชาใดให้เข้มข้นขึ้นมาบ้าง
รศ. ดร.กอบชัยกล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้กำลังหาแนวทางที่เหมาะสมในการรับนักศึกษาให้ได้นักศึกษา ที่มีความพร้อมในการเรียนมากขึ้น นอกจากนี้ เมื่อนักศึกษาเข้ามาเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์แล้ว หากวิชาพื้นฐานวิชาใดยังอ่อนอยู่ ทางคณะได้จัดสอนเสริมในรายวิชาพื้นฐานนั้นๆ ให้กับนักศึกษาก่อนสอบอีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมในการสอบ.
สอศ.จี้คุมเข้มตำรา หวั่นถูกย้อมแมวขาย
นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ทำหนังสือแจ้งไปยังผู้อำนวยการวิทยาลัยในสังกัดทั่วประเทศ? ให้ทราบว่าตามที่ สอศ.ได้ตั้งคณะ กรรมการตรวจสอบคุณภาพหนังสือเรียนแบบเรียนสำหรับการเลือกใช้ในสถานศึกษาตาม หลักสูตรของ สอศ.ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ.2545 ปรับปรุง พ.ศ.2546 และสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพได้จัดทำเป็นบัญชีรายชื่อหนังสือแบบ เรียนที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกเพื่อเสนอให้วิทยาลัยในสังกัดคัดเลือกและจัด ซื้อนั้น? ขณะนี้ สอศ.รับแจ้งว่าบางสำนักพิมพ์ได้ขึ้นราคาหนังสือเก่าโดยพิมพ์สติกเกอร์ติดทับ ราคาเดิม ถือเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม
เลขาธิการ กอศ.กล่าวอีกว่า สอศ.จึงขอให้วิทยาลัยทุกแห่งพิจารณาจัดซื้อหนังสือแบบเรียนอย่างรอบคอบ? หากพบว่าบางสำนักพิมพ์ขึ้นราคาหนังสือเก่า ดูแล้วไม่มีคุณภาพ? ราคาไม่เหมาะสมก็มีสิทธิ์ไม่ซื้อได้? อย่างไรก็ตาม? ขณะนี้วิทยาลัย ในสังกัดกว่า 90%? ได้จัดซื้อหนังสือแบบเรียนแล้ว คิดว่าก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1/2552 วันที่ 17 พ.ค.นี้ จะจัดซื้อ ได้ทันใช้ในการเรียนการสอน นอกจากนี้ ยังได้รับการร้องเรียนถึงปัญหาการแจกเงินเพื่อจัดซื้อชุด นักเรียน เนื่องจากบางวิทยาลัยไม่ยอมแจกเงินสดให้ผู้ปกครองนำไปซื้อ? ได้สั่งให้ตรวจสอบแล้ว? หากพบ เป็นจริงต้องคาดโทษผู้บริหารวิทยาลัยดังกล่าว.
เลขาธิการ กอศ.กล่าวอีกว่า สอศ.จึงขอให้วิทยาลัยทุกแห่งพิจารณาจัดซื้อหนังสือแบบเรียนอย่างรอบคอบ? หากพบว่าบางสำนักพิมพ์ขึ้นราคาหนังสือเก่า ดูแล้วไม่มีคุณภาพ? ราคาไม่เหมาะสมก็มีสิทธิ์ไม่ซื้อได้? อย่างไรก็ตาม? ขณะนี้วิทยาลัย ในสังกัดกว่า 90%? ได้จัดซื้อหนังสือแบบเรียนแล้ว คิดว่าก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1/2552 วันที่ 17 พ.ค.นี้ จะจัดซื้อ ได้ทันใช้ในการเรียนการสอน นอกจากนี้ ยังได้รับการร้องเรียนถึงปัญหาการแจกเงินเพื่อจัดซื้อชุด นักเรียน เนื่องจากบางวิทยาลัยไม่ยอมแจกเงินสดให้ผู้ปกครองนำไปซื้อ? ได้สั่งให้ตรวจสอบแล้ว? หากพบ เป็นจริงต้องคาดโทษผู้บริหารวิทยาลัยดังกล่าว.
ลุ้น คึกฤทธิ์ บุคคลสำคัญของโลก
นายธีระ สลักเพชร รมว.วัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยความคืบหน้าการเสนอชื่อ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีและศิลปินแห่งชาติ ต่อยูเนสโก ที่จะประกาศยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลกครบรอบ 100 ปี ในปี 2554 ว่า สำนักฝ่ายสัมพันธ์ต่างประเทศแจ้งให้ ทราบว่าคณะกรรมการยูเนสโกฝ่ายพิจารณาบุคคลสำคัญและเหตุการณ์สำคัญทาง ประวัติศาสตร์ ได้เห็นชอบการเสนอชื่อ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ และผลงานผ่านการพิจารณาเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ จากการเสนอชื่อบุคคลสำคัญของโลกในปีนี้ มีประเทศสมาชิกส่งรายชื่อ 90 รายการ แต่ผ่านการพิจารณาเบื้องต้นเพียง 51 รายการ โดยชื่อ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ อยู่ในลำดับที่ 46 เรียงลำดับอักษรของประเทศ ทั้งนี้ ยูเนสโกจะมีวาระการประชุม คณะกรรมการบริหารเต็มคณะ ครั้งที่ 181 ที่สำนักงานใหญ่กรุงปารีส ระหว่างวันที่ 23-28 เม.ย. เรื่องโครงการเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติ-ศาสตร์ของยู เนสโก ประจำปี 2553-2554 และจะประกาศรายชื่ออย่างเป็นทางการเดือน ต.ค.นี้.
แห่สมัครอาชีวะเพิ่ม
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ เผยหลังประชุมผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการว่า ได้รับทราบความคืบหน้าการรับนักเรียนปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่าขณะนี้ได้จัดสรรที่เรียนให้นักเรียนเกือบ 100% แล้ว เหลือไม่ถึง 100 คน ซึ่งได้มอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดสรรที่เรียนให้แล้ว ส่วนการรับนักศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) พบว่ามีผู้มาสมัครเพิ่มขึ้นมากกว่าทุกปี
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ขยายวันรับสมัครแอดมิชชั่นเป็นตั้งแต่วันที่ 11-22 เม.ย.นั้น ขณะนี้มีผู้ยื่นสมัครแล้ว 122,489 ราย ในจำนวนนี้ชำระเงินแล้ว 49,302 ราย คาดว่าก่อนถึงวันที่ 24 เม.ย.วันชำระเงินวันสุดท้ายน่าจะมีผู้ชำระเงินเกิน 50,000 คน ส่วนการประกาศผลยังคงตามเดิมคือวันที่ 9 พ.ค.นี้
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ขยายวันรับสมัครแอดมิชชั่นเป็นตั้งแต่วันที่ 11-22 เม.ย.นั้น ขณะนี้มีผู้ยื่นสมัครแล้ว 122,489 ราย ในจำนวนนี้ชำระเงินแล้ว 49,302 ราย คาดว่าก่อนถึงวันที่ 24 เม.ย.วันชำระเงินวันสุดท้ายน่าจะมีผู้ชำระเงินเกิน 50,000 คน ส่วนการประกาศผลยังคงตามเดิมคือวันที่ 9 พ.ค.นี้
Monday, April 20, 2009
สพฐ.ขยายวันรับสมัครธุรการ
รองรับการคืนครูสู่ห้องเรียน
นายเสน่ห์ ขาวโต รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้มอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทุกเขต เปิดรับสมัครผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในทุกสาขาวิชา เพื่อคัดเลือกให้ไป ปฏิบัติงานธุรการในโรงเรียนสังกัด สพฐ. ตามนโยบายคืนครูสู่ห้องเรียนของรัฐบาล จำนวน 14,532 อัตราทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 10-20 เม.ย. 52 นั้น พบว่า หลาย สพท. ที่มีผู้สมัครมากกว่าจำนวนที่ได้รับจัดสรร ขณะที่บาง สพท. ก็มีผู้สมัครไม่ครบจำนวน ดังนั้น สพฐ. จึงแจ้งให้ทุก สพท. ขยายวันรับสมัครไปจนถึงวันที่ 24 เม.ย. 52 ไม่เว้นวันหยุดราชการ
นายเสน่ห์ กล่าวต่อไปว่า สพท. ต้องเปิดรับสมัครถึงวันที่ 24 เม.ย. ถึงแม้จะมีคนสมัครเกินแล้ว เพื่อให้สามารถคัดเลือกคนที่เหมาะสมโดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขต พื้นที่และพักอาศัยใกล้โรงเรียนที่จะต้องไปปฏิบัติงาน ทั้งนี้การคัดเลือกจะต้องแล้วเสร็จและประกาศผลโดยเร็ว เพราะประมาณวันที่ 1 พ.ค. จะต้องให้ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อ พัฒนาทักษะ และประสบการณ์ให้ สามารถปฏิบัติงานได้ตามที่โรงเรียนต้องการ.
นายเสน่ห์ ขาวโต รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้มอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทุกเขต เปิดรับสมัครผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในทุกสาขาวิชา เพื่อคัดเลือกให้ไป ปฏิบัติงานธุรการในโรงเรียนสังกัด สพฐ. ตามนโยบายคืนครูสู่ห้องเรียนของรัฐบาล จำนวน 14,532 อัตราทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 10-20 เม.ย. 52 นั้น พบว่า หลาย สพท. ที่มีผู้สมัครมากกว่าจำนวนที่ได้รับจัดสรร ขณะที่บาง สพท. ก็มีผู้สมัครไม่ครบจำนวน ดังนั้น สพฐ. จึงแจ้งให้ทุก สพท. ขยายวันรับสมัครไปจนถึงวันที่ 24 เม.ย. 52 ไม่เว้นวันหยุดราชการ
นายเสน่ห์ กล่าวต่อไปว่า สพท. ต้องเปิดรับสมัครถึงวันที่ 24 เม.ย. ถึงแม้จะมีคนสมัครเกินแล้ว เพื่อให้สามารถคัดเลือกคนที่เหมาะสมโดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขต พื้นที่และพักอาศัยใกล้โรงเรียนที่จะต้องไปปฏิบัติงาน ทั้งนี้การคัดเลือกจะต้องแล้วเสร็จและประกาศผลโดยเร็ว เพราะประมาณวันที่ 1 พ.ค. จะต้องให้ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อ พัฒนาทักษะ และประสบการณ์ให้ สามารถปฏิบัติงานได้ตามที่โรงเรียนต้องการ.
ตามไปดูเด็กกระบี่ทำอะไรในวันปิดเทอม
ช่วงปิดเทอม บรรดาพ่อแม่ผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยจะออกอาการเป็นห่วงลูกหลานมากเป็นพิเศษ เพราะหลาย ๆ ครอบครัว พ่อแม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านจึงมีเวลาดูแลลูกไม่มากนัก ซึ่งหลาย ๆ หน่วยงานก็ตระหนักถึงปัญหานี้ มีการจัดกิจกรรมภาคฤดูร้อน เพื่อให้เด็กเยาวชนเข้ามาทำกิจกรรม เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ได้อย่างดี
จังหวัดกระบี่ก็เป็นหนึ่งในนั้นที่มีการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน ด้วยโครงการ “ร้อนนี้มีกิจกรรมกับ อบจ.และสถาบันการ พลศึกษา” (ครั้งที่ 9) โดยเป็นความร่วมมือ ของหน่วยงานในจังหวัดกระบี่ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ และสถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตกระบี่ ที่ร่วมกันจัดโครงการนี้ขึ้นมาเพื่ออบรมกิจกรรมกีฬาและวิชาการในช่วงปิดภาค เรียนให้แก่เยาวชนในจังหวัดกระบี่ และจังหวัดใกล้เคียงโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
สมศักดิ์ กิตติธรกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ ผู้เป็นกำลังหลักในการสนับสนุนงบประมาณให้แก่โครงการนี้ บอกเพียงสั้น ๆ แต่สื่อได้ถึงความตั้งใจที่จะต้องทำเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นลูกหลานชาวกระบี่ ว่า สิ่งใดก็ตามที่เป็นประโยชน์ต่อเด็ก ๆ ก็เป็นหน้าที่ของคนที่เป็นผู้ใหญ่ที่จะต้องยื่นให้ถ้าเรา มีโอกาส ซึ่งจังหวัดกระบี่ทำโครงการนี้มาหลายปี ฝึกอบรมลูก ๆ หลาน ๆ มาหลายรุ่นแล้ว และยืนยันว่าจะต้องทำโครงการนี้ต่อไปเรื่อย ๆ
ขณะที่ อาจารย์วิมล นับทอง ผู้ช่วยอธิการบดีกิจการพิเศษ สถาบันการพลศึกษา ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า ช่วงปีแรก ๆ มีเด็กมาสมัครไม่มากนัก แต่หลังจากที่ทำแล้วผู้ปกครองเห็นการปลูกฝังสิ่งดี ๆ หลายอย่างให้แก่เด็ก ทั้งเรื่องระเบียบวินัย สุขนิสัยที่ดี ช่วยส่งเสริมให้เยาวชนได้พัฒนาทักษะการเล่นกีฬาไปสู่การเป็นตัวแทนของ จังหวัด และก้าวไปสู่ความเป็นมืออาชีพในระดับชาติ และยิ่งช่วงปีหลัง ๆ มีการเพิ่มการอบรมวิชาการเข้าไปด้วย ผู้ปกครองจึงให้ความสนใจส่งลูกหลานมาสมัครเพิ่มขึ้นทุกปี
เนื่องจากเป็นโครงการที่จัดให้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย จึงเป็นธรรมดาที่ผู้ปกครองต้องให้ความสนใจ แต่สิ่งที่เด็ก ๆ ที่เข้าโครงการได้มากกว่าคำว่า “ฟรี” คือ บุคลิกภาพที่ดี ระเบียบวินัย ร่างกายที่แข็งแรง และทักษะด้านกีฬา ซึ่งที่ผ่านมา มีเด็กหลายคนสามารถพัฒนาตนเองจนได้เป็นนักกีฬา เป็นตัวแทนจังหวัดไปหลายคน โดยเฉพาะเด็กที่เข้าอบรมว่ายน้ำและลีลาศ โดยบางคนไปได้ ไกลเป็นถึงนักกีฬาระดับชาติ หรือหากจะเรียกว่า นักกีฬาระดับชาติบางคนเติบโตมาจากโครงการนี้ก็ คงจะไม่ผิด
สำหรับปีนี้กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 3 เมษายน-1 พฤษภาคม 2552 โดยเปิดสอน 5 ชนิดกีฬา ได้แก่ ฟุตบอล ว่ายน้ำ ลีลาศ เทควันโด และเทนนิส นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมวิชาการอีก 3 กิจกรรม ได้แก่ ภาษาอังกฤษ สำหรับเด็ก คอมพิวเตอร์เพื่อสันทนาการ และ ภาษาจีนขั้นพื้นฐาน โดยปีนี้มีเยาวชนให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการถึง 535 คน
คราวนี้ลองมาลัดเลาะเกาะขอบสระดู ซิว่า เด็ก ๆ รู้สึกอย่างไรเมื่อได้ร่วมโครงการเริ่มกันที่ “น้องแพ็ทต์” ด.ญ.กรกนก ฟุ้งเฟื่องวัย 11 ขวบ กำลังเรียนอยู่ชั้น ป.5 โรงเรียนอนุบาลลำทับ จังหวัดกระบี่ บอกว่า เหตุผลที่เลือกเรียนว่ายน้ำ เพราะอยากให้ร่างกายแข็งแรง มีเพื่อนเยอะ และใช้เวลาว่างช่วงปิดเทอมให้เป็นประโยชน์แต่ที่สำคัญอยากเป็นตำรวจเหมือน คุณพ่อที่ตอนนี้เป็นตำรวจตระเวนชายแดนอยู่ จึงต้องว่ายน้ำให้เป็น ซึ่งตอนที่คุณพ่อมาบอกว่า มีสอนว่ายน้ำฟรี หนูก็ไม่ได้คิดมากเลย ตัดสินใจสมัครเรียนทันที
ลีลาศ...ลีลาศสร้างคน คนสร้างชาติ เฮ้ ! ! นี่ก็เป็นเสียงที่เด็ก ๆ จะต้องพูดทุกครั้งหลังเลิกเรียนของทุกวัน จึงเป็นอะไรที่คุ้นเคย และเป็นที่รู้กันของผู้ปกครองว่า วันนี้ลูกเรียนเสร็จแล้ว ด.ช.นคริน เพชรวงศ์ หรือ น้องลูกหว้า อายุ 7 ขวบ จากโรงเรียนอนุบาลกระบี่ เล่าให้ฟังว่า พอทราบข่าวว่าปีนี้ทางโครงการเปิดสอนลีลาศอีก ก็ดีใจและรีบมาสมัครเรียนด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นปีที่ 2 ที่เข้าร่วมโครงการ เพราะที่เรียนไปเมื่อปีที่แล้วรู้สึกสนุก ครูก็เก่ง และยิ่งเห็นรุ่นพี่ ๆ ประสบความสำเร็จ ได้เป็นนักกีฬาทีมชาติไปหลายคน ก็เลยมีความฝันอยากเป็นเหมือนรุ่นพี่บ้าง
เห็นแล้วก็รู้สึกอิจฉาน้องขึ้นมานิด ๆ เพราะครูผู้สอน มีดีกรีเป็นถึงโค้ชดีเด่นระดับชาติหลายรายการ นั่นคือ อาจารย์สมจิตต์ พร้อมมูล (ครูจิตต์) ผู้ช่วยอธิการบดีสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกระบี่ และอาจารย์กาญจนา กาญจนประดิษฐ์ (ครูเป็ด) อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ โดยเฉพาะครูเป็ดเพิ่งได้รับรางวัลผู้ฝึกสอนกีฬาลีลาศดีเด่น กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 25 “กาญจนบุรีเกมส์” ที่ผ่านมาอีกหนึ่งรายการ
สำหรับด้านวิชาการก็ไม่น้อยหน้า มีเยาวชนให้ความสนใจมากไม่แพ้กัน โดยสองพี่น้องจากโรงเรียนบ้านนานอก ด.ญ.พัชราภา เพชรคง “น้องพิม” อายุ 11 ขวบ และ ด.ช. ภูมินทร์ เพชรคง “น้องภูมิ” อายุ 9 ขวบ เปิดใจว่า นี่เป็นครั้งที่ 2 แล้วที่มาร่วมกิจกรรม โดยรู้ ข่าวจากเพื่อนบ้านที่เรียนฟุตบอลในโครงการนี้ แต่เราสองคนเลือกเรียนคอมพิวเตอร์ เพราะหลังจากผ่านการอบรมครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว สามารถ นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในห้องเรียนที่โรงเรียนได้เยอะ มาก ปีนี้ก็หวังว่าจะได้ความรู้เพิ่มเติมที่จะเอาไปใช้ประโยชน์ได้อีก
นี่คือบางส่วนของกิจกรรม ที่ผู้ใหญ่ใจดีมอบให้แก่ลูกหลาน ได้รู้จักใช้เวลาว่างช่วงปิดเทอมให้เป็นประโยชน์ ได้รับการหล่อหลอมให้เป็นคนดีของสังคม และประเทศชาติ ถ้าเป็นไปได้ก็ขอเชียร์ให้โครงการนี้อยู่คู่กับเยาวชนคนกระบี่สืบต่อไปนาน ๆ.
จังหวัดกระบี่ก็เป็นหนึ่งในนั้นที่มีการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน ด้วยโครงการ “ร้อนนี้มีกิจกรรมกับ อบจ.และสถาบันการ พลศึกษา” (ครั้งที่ 9) โดยเป็นความร่วมมือ ของหน่วยงานในจังหวัดกระบี่ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ และสถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตกระบี่ ที่ร่วมกันจัดโครงการนี้ขึ้นมาเพื่ออบรมกิจกรรมกีฬาและวิชาการในช่วงปิดภาค เรียนให้แก่เยาวชนในจังหวัดกระบี่ และจังหวัดใกล้เคียงโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
สมศักดิ์ กิตติธรกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ ผู้เป็นกำลังหลักในการสนับสนุนงบประมาณให้แก่โครงการนี้ บอกเพียงสั้น ๆ แต่สื่อได้ถึงความตั้งใจที่จะต้องทำเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นลูกหลานชาวกระบี่ ว่า สิ่งใดก็ตามที่เป็นประโยชน์ต่อเด็ก ๆ ก็เป็นหน้าที่ของคนที่เป็นผู้ใหญ่ที่จะต้องยื่นให้ถ้าเรา มีโอกาส ซึ่งจังหวัดกระบี่ทำโครงการนี้มาหลายปี ฝึกอบรมลูก ๆ หลาน ๆ มาหลายรุ่นแล้ว และยืนยันว่าจะต้องทำโครงการนี้ต่อไปเรื่อย ๆ
ขณะที่ อาจารย์วิมล นับทอง ผู้ช่วยอธิการบดีกิจการพิเศษ สถาบันการพลศึกษา ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า ช่วงปีแรก ๆ มีเด็กมาสมัครไม่มากนัก แต่หลังจากที่ทำแล้วผู้ปกครองเห็นการปลูกฝังสิ่งดี ๆ หลายอย่างให้แก่เด็ก ทั้งเรื่องระเบียบวินัย สุขนิสัยที่ดี ช่วยส่งเสริมให้เยาวชนได้พัฒนาทักษะการเล่นกีฬาไปสู่การเป็นตัวแทนของ จังหวัด และก้าวไปสู่ความเป็นมืออาชีพในระดับชาติ และยิ่งช่วงปีหลัง ๆ มีการเพิ่มการอบรมวิชาการเข้าไปด้วย ผู้ปกครองจึงให้ความสนใจส่งลูกหลานมาสมัครเพิ่มขึ้นทุกปี
เนื่องจากเป็นโครงการที่จัดให้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย จึงเป็นธรรมดาที่ผู้ปกครองต้องให้ความสนใจ แต่สิ่งที่เด็ก ๆ ที่เข้าโครงการได้มากกว่าคำว่า “ฟรี” คือ บุคลิกภาพที่ดี ระเบียบวินัย ร่างกายที่แข็งแรง และทักษะด้านกีฬา ซึ่งที่ผ่านมา มีเด็กหลายคนสามารถพัฒนาตนเองจนได้เป็นนักกีฬา เป็นตัวแทนจังหวัดไปหลายคน โดยเฉพาะเด็กที่เข้าอบรมว่ายน้ำและลีลาศ โดยบางคนไปได้ ไกลเป็นถึงนักกีฬาระดับชาติ หรือหากจะเรียกว่า นักกีฬาระดับชาติบางคนเติบโตมาจากโครงการนี้ก็ คงจะไม่ผิด
สำหรับปีนี้กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 3 เมษายน-1 พฤษภาคม 2552 โดยเปิดสอน 5 ชนิดกีฬา ได้แก่ ฟุตบอล ว่ายน้ำ ลีลาศ เทควันโด และเทนนิส นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมวิชาการอีก 3 กิจกรรม ได้แก่ ภาษาอังกฤษ สำหรับเด็ก คอมพิวเตอร์เพื่อสันทนาการ และ ภาษาจีนขั้นพื้นฐาน โดยปีนี้มีเยาวชนให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการถึง 535 คน
คราวนี้ลองมาลัดเลาะเกาะขอบสระดู ซิว่า เด็ก ๆ รู้สึกอย่างไรเมื่อได้ร่วมโครงการเริ่มกันที่ “น้องแพ็ทต์” ด.ญ.กรกนก ฟุ้งเฟื่องวัย 11 ขวบ กำลังเรียนอยู่ชั้น ป.5 โรงเรียนอนุบาลลำทับ จังหวัดกระบี่ บอกว่า เหตุผลที่เลือกเรียนว่ายน้ำ เพราะอยากให้ร่างกายแข็งแรง มีเพื่อนเยอะ และใช้เวลาว่างช่วงปิดเทอมให้เป็นประโยชน์แต่ที่สำคัญอยากเป็นตำรวจเหมือน คุณพ่อที่ตอนนี้เป็นตำรวจตระเวนชายแดนอยู่ จึงต้องว่ายน้ำให้เป็น ซึ่งตอนที่คุณพ่อมาบอกว่า มีสอนว่ายน้ำฟรี หนูก็ไม่ได้คิดมากเลย ตัดสินใจสมัครเรียนทันที
ลีลาศ...ลีลาศสร้างคน คนสร้างชาติ เฮ้ ! ! นี่ก็เป็นเสียงที่เด็ก ๆ จะต้องพูดทุกครั้งหลังเลิกเรียนของทุกวัน จึงเป็นอะไรที่คุ้นเคย และเป็นที่รู้กันของผู้ปกครองว่า วันนี้ลูกเรียนเสร็จแล้ว ด.ช.นคริน เพชรวงศ์ หรือ น้องลูกหว้า อายุ 7 ขวบ จากโรงเรียนอนุบาลกระบี่ เล่าให้ฟังว่า พอทราบข่าวว่าปีนี้ทางโครงการเปิดสอนลีลาศอีก ก็ดีใจและรีบมาสมัครเรียนด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นปีที่ 2 ที่เข้าร่วมโครงการ เพราะที่เรียนไปเมื่อปีที่แล้วรู้สึกสนุก ครูก็เก่ง และยิ่งเห็นรุ่นพี่ ๆ ประสบความสำเร็จ ได้เป็นนักกีฬาทีมชาติไปหลายคน ก็เลยมีความฝันอยากเป็นเหมือนรุ่นพี่บ้าง
เห็นแล้วก็รู้สึกอิจฉาน้องขึ้นมานิด ๆ เพราะครูผู้สอน มีดีกรีเป็นถึงโค้ชดีเด่นระดับชาติหลายรายการ นั่นคือ อาจารย์สมจิตต์ พร้อมมูล (ครูจิตต์) ผู้ช่วยอธิการบดีสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกระบี่ และอาจารย์กาญจนา กาญจนประดิษฐ์ (ครูเป็ด) อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ โดยเฉพาะครูเป็ดเพิ่งได้รับรางวัลผู้ฝึกสอนกีฬาลีลาศดีเด่น กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 25 “กาญจนบุรีเกมส์” ที่ผ่านมาอีกหนึ่งรายการ
สำหรับด้านวิชาการก็ไม่น้อยหน้า มีเยาวชนให้ความสนใจมากไม่แพ้กัน โดยสองพี่น้องจากโรงเรียนบ้านนานอก ด.ญ.พัชราภา เพชรคง “น้องพิม” อายุ 11 ขวบ และ ด.ช. ภูมินทร์ เพชรคง “น้องภูมิ” อายุ 9 ขวบ เปิดใจว่า นี่เป็นครั้งที่ 2 แล้วที่มาร่วมกิจกรรม โดยรู้ ข่าวจากเพื่อนบ้านที่เรียนฟุตบอลในโครงการนี้ แต่เราสองคนเลือกเรียนคอมพิวเตอร์ เพราะหลังจากผ่านการอบรมครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว สามารถ นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในห้องเรียนที่โรงเรียนได้เยอะ มาก ปีนี้ก็หวังว่าจะได้ความรู้เพิ่มเติมที่จะเอาไปใช้ประโยชน์ได้อีก
นี่คือบางส่วนของกิจกรรม ที่ผู้ใหญ่ใจดีมอบให้แก่ลูกหลาน ได้รู้จักใช้เวลาว่างช่วงปิดเทอมให้เป็นประโยชน์ ได้รับการหล่อหลอมให้เป็นคนดีของสังคม และประเทศชาติ ถ้าเป็นไปได้ก็ขอเชียร์ให้โครงการนี้อยู่คู่กับเยาวชนคนกระบี่สืบต่อไปนาน ๆ.
แนะน้อง ม.ไหนดี ปี 52ทางลัด "คอซอง" เดินตามฝัน
ปิดฉากไปแล้ว สำหรับงาน "แนะน้อง ม.ไหนดี ปี 52" ที่เครือเนชั่นร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน หน่วยงานรัฐและเอกชน
จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-11 เมษายน 2552 ที่ห้องบางกอก คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โรงแรมเซ็นทารา ชั้น 22 ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ทว่ารอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ความประทับใจที่ประทับตราตรึงอยู่ในหัวใจของพ่อแม่ผู้ปกครองและน้อง ม.ปลาย "ยากที่จะลืม"
ที่กล้าพูดอย่างนั้นก็เพราะภาพที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน พื้นที่ 2,625 ตารางเมตร เต็มไปด้วยบรรดาพ่อแม่ ผู้ปกครอง และน้องๆ "คอซอง" พากันไปเยี่ยมชมบูธแฟร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ อย่างล้นหลาม บางคนมาถึงหน้างานตั้งแต่หกโมงเช้าเลยทีเดียว เข้าแถวยาวเหยียดรอลงทะเบียน แทบทุกครอบครัวต่างมีคู่มือ "แนะน้อง ม.ไหนดี" และ "แอดมิชชั่นส์ อนาคตเลือกได้ด้วยมือเรา" เป็นทางลัดช่วยให้เดินตามความฝัน เลือกคณะเรียนในมหาวิทยาลัยได้อย่างมีความสุข และไม่พลาดเป้าหมายที่วางไว้
เพราะทุกคนที่เข้าร่วมงานจะได้เรียนรู้วิธีคำนวณคะแนนโอเน็ต เอเน็ต จีพีเอ จีพีเอเอ็กซ์ ผ่านคอมพิวเตอร์ประมาณ 30 เครื่อง แถมยังได้รับคำแนะนำจากพี่ๆ จากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ทั้งรัฐ-เอกชน มาแนะนำคณะดีเด่น ผ่านเกมสนุกๆ หากไม่เข้าใจสามารถไปซักถามอาจารย์ "อ.ปทุมมาศ ฟูทรัพย์นิรันดร์" ครูแนะแนวผู้คร่ำหวอดในวงการกว่า 30 ปี จาก ร.ร.สามเสนวิทยาลัย อ.กฤษณา พลอยสังวาลย์ จาก ร.ร.เทพศิรินทร์ อ.ทองแท้ ศิลาขาว จาก ร.ร.สายปัญญารังสิตและ ร.ร.โยธินบูรณะ เกี่ยวกับการเลือกคณะ คิดคะแนน ที่มาให้คำแนะนำที่บูธชนิดตัวต่อตัว ที่เรียกความสนใจจากน้องๆ คอซองอย่างล้นหลาม เพราะมันคือทางลัด หรือคู่มือที่ช่วยพวกเขาและเธอเดินตามฝันได้แบบไม่หลงทาง
..ตอนนี้อาจารย์ไม่ว่างค่ะ คิวเต็ม ... คือป้ายที่เขียนไว้ หน้าบูธ อาจารย์ปทุมมาศ แต่ก็ยังมีน้องๆ คอซอง พ่อแม่ ผู้ปกครองอีกหลายคนรอขอคำแนะนำการเลือกคณะเพื่อเรียนต่อในมหาวิทยาลัย การคิดคะแนน ในจำนวนนี้ยัง มี ธนะชัย สันติชัยกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเนชั่นฯ และลูกสาว ที่แว่วว่าลุ้นยื่นแอดมิชชั่นส์คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และแล้วก็ถึงเวลาสิบโมงเช้าฤกษ์ดีที่ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ฝ่าจราจรมาเป็นประธานเปิดงาน ควงคู่ บุณย์ธีร์ พานิชประไพ เลขานุการ รมว.ศธ. เพราะมองว่า แนะน้อง ม.ไหนดีปี 52 เป็นเสมือนเปิดบ้านให้น้องๆ พ่อแม่ได้เรียนรู้ว่า "แอดมิชชั่นส์" คืออนาคตที่เลือกได้ด้วยมือเรานั่นเอง โดยมี ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด พร้อมด้วยผู้บริหารเครือเนชั่นมารอรับตั้งแต่ยังไม่เปิดงาน
ในอนาคต รัฐมนตรีจุรินทร์ บอกว่า อาจจะต้องจัดเวทีสัญจรไปยังต่างจังหวัดด้วย เพื่อให้น้องๆ ในต่างจังหวัดมีโอกาสได้เข้าถึงข้อมูล พร้อมทั้งฝากข้อคิดการเลือกคณะไว้ 3 ข้อ คือ 1.ต้องค้นหาตัวเองให้ได้ก่อนว่าถนัดอะไร 2.ดูว่าตัวเองชอบอะไร และ 3.ดูว่าได้คะแนนแค่ไหน จากนั้นค่อยลงมือเลือกอนาคตของตัวเอง
สำหรับใครที่ยังไม่รู้วิธีการยื่นคะแนน งานนี้ อ.ศศิธร อหิงสโก ผอ.กลุ่มรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา สกอ. มาไขปัญหาด้วยตัวเอง อย่างถึงพริกถึงขิง พร้อมย้ำว่า สมัครแอดมิชชั่นส์ถึงวันที่ 22 เมษายนผ่านเว็บไซต์ www.cuas.or.th ชำระเงินภายในวันที่ 24 เมษายน ซึ่งส กอ.มีเจ้าหน้าที่ให้บริการ 24 ชั่วโมง และไม่มีปัญหาเว็บไซต์ล่ม แน่นอนประกาศผลแอดมิชชั่นส์วันที่ 9 พฤษภาคม
นอกจากนี้ ยังมีไขข้อ “อนาคตของเด็กไทยใครกำหนด” กับ มหาวิทยาลัยเอเชียน ต่อด้วย "ค้นหาคณะเรียนให้เหมาะกับบุคลิกภาพ" โดยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และ "เลือกคณะตามที่ใจรัก กับเลือกคณะตามคะแนนที่ได้ อย่างไหนเรียนแล้วมีความสุขกว่ากัน" จากหน่วยงานรัฐ เอกชนและโรงเรียนกวดวิชา และพี่ๆ จากมหาวิทยาลัยดังชี้แนะ สาขาอาชีพที่น่าสนใจในอีก 4 ปีข้างหน้า และคุณลักษณะ คนรุ่นใหม่ที่ตลาดแรงงานต้องการ
11 เมษายน เป็นครั้งแรกที่น้องๆ พ่อแม่ ผู้ปกครองมีโอกาสได้สัมผัสกับนักเรียนรุ่นพี่ที่เคยผ่านวิกฤติพิชิตแอ ดมิชชั่นส์มาให้ความรู้ แนวทางในการเลือกคณะ และเสวนา “ปฏิรูประบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย” ที่กลุ่มเครือข่ายพ่อแม่ผู้ปกครอง นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ ม.ปลาย รุ่นพี่ มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสูตรสำเร็จองค์ประกอบแอดมิชชั่นส์ ว่ากันว่าเวทีนี้พ่อแม่ ผู้ปกครองที่เข้าร่วมงานช่วยกันลงประชามติฟันธงเห็นตรงกันว่าเด็กส่วนใหญ่ ต้องการเอนทรานซ์แทนแอดมิชชั่นส์
ไม่จบเพียงแค่นั้น อาจารย์จากเนชั่น แอดมิชชั่น ยัง แนะแนวเนื้อหาการสอบจีเอที/พีเอที" เพื่อไม่ใช้ขาดตอน และหน่วยงานสอบตรงจากมหาวิทยาลัยต่างๆ มาแนะนำการ "เตรียมตัวสอบตรง 53 : คณะสอบตรงยอดฮิตจากมหาวิทยาลัยต่างๆ" ปิดท้ายด้วย อ.ปทุมมาศ ฟูทรัพย์นิรันดร์ แนะแนว “ค้นหาตัวตนและแนวโน้มความนิยมคณะต่างๆ"
เรียกว่าน้องๆ ที่มาในงาน แนะน้อง ม.ไหนดี ปี 52 ยังได้รับการแนะแนว ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยสมาคมครูแนะแนวแห่งประเทศไทย แนะแนวให้คำปรึกษาสอบตรง โดยอาจารย์และรุ่นพี่ที่ผ่านประสบการณ์สอบตรงจาก The BTS บูธแนะนำสถาบัน ทั้งมหาวิทยาลัยรัฐ มหาวิทยาลัยเอกชน โรงเรียนสอนภาษา และสถาบันศึกษาต่อต่างประเทศ แนะแนวศึกษาต่อต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่ดูแลด้านศึกษาต่อต่างประเทศ และ ทุนเรียนฟรีมีทั่วโลก โดยตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
งานนี้ ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ได้อรรถาธิบายวิธีการ "รับมือแอดมิชชั่นส์ 53" องค์ประกอบ แอดมิชชั่นส์ 53 และ แนวทางข้อสอบ จีเอที/พีเอที พร้อมกับย้ำว่าจีเอทีเป็นเรื่องที่ไม่สามารถติวหรือกวดวิชาได้ภายในเวลา สั้นๆ แต่เป็นการสั่งสมความสามารถในการคิด วิเคราะห์ ใช้เหตุผล เป็นหน้าที่ที่โรงเรียนจะต้องเป็นผู้สอน เด็กจะสอบจีเอทีได้ หรือโรงเรียนกวดวิชาจะช่วยสอนการคิดวิเคราะห์ได้เช่นกัน
ส่วน พีเอที เป็นการวัดความรู้ทางวิชาการ นักเรียนที่เรียนอยู่ ม.4-ม.5 ไม่จำเป็นต้องสอบ ควรรอให้เรียนอยู่ชั้น ม.6 ก่อน สำหรับการสอบจีเอทีและพีเอทีจะประกาศผลเร็วๆ นี้ จากนั้นก็จะนำข้อสอบ จีเอทีและพีเอทีขึ้นเว็บ สทศ.เพื่อเผยแพร่ ส่วนเฉลยคำตอบ ผอ.โรงเรียนที่ต้องการทำหนังสือขอเฉลยได้ที่ สทศ.
จัดครั้งแรกยังได้ทั้งความรู้ เต็มอิ่มทั้งประสบการณ์ตรงอย่างนี้อยากรู้ว่า แนะน้อง ม.ไหนดีปีหน้าเป็นอย่างไรต้องติดตาม
จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-11 เมษายน 2552 ที่ห้องบางกอก คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โรงแรมเซ็นทารา ชั้น 22 ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ทว่ารอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ความประทับใจที่ประทับตราตรึงอยู่ในหัวใจของพ่อแม่ผู้ปกครองและน้อง ม.ปลาย "ยากที่จะลืม"
ที่กล้าพูดอย่างนั้นก็เพราะภาพที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน พื้นที่ 2,625 ตารางเมตร เต็มไปด้วยบรรดาพ่อแม่ ผู้ปกครอง และน้องๆ "คอซอง" พากันไปเยี่ยมชมบูธแฟร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ อย่างล้นหลาม บางคนมาถึงหน้างานตั้งแต่หกโมงเช้าเลยทีเดียว เข้าแถวยาวเหยียดรอลงทะเบียน แทบทุกครอบครัวต่างมีคู่มือ "แนะน้อง ม.ไหนดี" และ "แอดมิชชั่นส์ อนาคตเลือกได้ด้วยมือเรา" เป็นทางลัดช่วยให้เดินตามความฝัน เลือกคณะเรียนในมหาวิทยาลัยได้อย่างมีความสุข และไม่พลาดเป้าหมายที่วางไว้
เพราะทุกคนที่เข้าร่วมงานจะได้เรียนรู้วิธีคำนวณคะแนนโอเน็ต เอเน็ต จีพีเอ จีพีเอเอ็กซ์ ผ่านคอมพิวเตอร์ประมาณ 30 เครื่อง แถมยังได้รับคำแนะนำจากพี่ๆ จากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ทั้งรัฐ-เอกชน มาแนะนำคณะดีเด่น ผ่านเกมสนุกๆ หากไม่เข้าใจสามารถไปซักถามอาจารย์ "อ.ปทุมมาศ ฟูทรัพย์นิรันดร์" ครูแนะแนวผู้คร่ำหวอดในวงการกว่า 30 ปี จาก ร.ร.สามเสนวิทยาลัย อ.กฤษณา พลอยสังวาลย์ จาก ร.ร.เทพศิรินทร์ อ.ทองแท้ ศิลาขาว จาก ร.ร.สายปัญญารังสิตและ ร.ร.โยธินบูรณะ เกี่ยวกับการเลือกคณะ คิดคะแนน ที่มาให้คำแนะนำที่บูธชนิดตัวต่อตัว ที่เรียกความสนใจจากน้องๆ คอซองอย่างล้นหลาม เพราะมันคือทางลัด หรือคู่มือที่ช่วยพวกเขาและเธอเดินตามฝันได้แบบไม่หลงทาง
..ตอนนี้อาจารย์ไม่ว่างค่ะ คิวเต็ม ... คือป้ายที่เขียนไว้ หน้าบูธ อาจารย์ปทุมมาศ แต่ก็ยังมีน้องๆ คอซอง พ่อแม่ ผู้ปกครองอีกหลายคนรอขอคำแนะนำการเลือกคณะเพื่อเรียนต่อในมหาวิทยาลัย การคิดคะแนน ในจำนวนนี้ยัง มี ธนะชัย สันติชัยกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเนชั่นฯ และลูกสาว ที่แว่วว่าลุ้นยื่นแอดมิชชั่นส์คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และแล้วก็ถึงเวลาสิบโมงเช้าฤกษ์ดีที่ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ฝ่าจราจรมาเป็นประธานเปิดงาน ควงคู่ บุณย์ธีร์ พานิชประไพ เลขานุการ รมว.ศธ. เพราะมองว่า แนะน้อง ม.ไหนดีปี 52 เป็นเสมือนเปิดบ้านให้น้องๆ พ่อแม่ได้เรียนรู้ว่า "แอดมิชชั่นส์" คืออนาคตที่เลือกได้ด้วยมือเรานั่นเอง โดยมี ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด พร้อมด้วยผู้บริหารเครือเนชั่นมารอรับตั้งแต่ยังไม่เปิดงาน
ในอนาคต รัฐมนตรีจุรินทร์ บอกว่า อาจจะต้องจัดเวทีสัญจรไปยังต่างจังหวัดด้วย เพื่อให้น้องๆ ในต่างจังหวัดมีโอกาสได้เข้าถึงข้อมูล พร้อมทั้งฝากข้อคิดการเลือกคณะไว้ 3 ข้อ คือ 1.ต้องค้นหาตัวเองให้ได้ก่อนว่าถนัดอะไร 2.ดูว่าตัวเองชอบอะไร และ 3.ดูว่าได้คะแนนแค่ไหน จากนั้นค่อยลงมือเลือกอนาคตของตัวเอง
สำหรับใครที่ยังไม่รู้วิธีการยื่นคะแนน งานนี้ อ.ศศิธร อหิงสโก ผอ.กลุ่มรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา สกอ. มาไขปัญหาด้วยตัวเอง อย่างถึงพริกถึงขิง พร้อมย้ำว่า สมัครแอดมิชชั่นส์ถึงวันที่ 22 เมษายนผ่านเว็บไซต์ www.cuas.or.th ชำระเงินภายในวันที่ 24 เมษายน ซึ่งส กอ.มีเจ้าหน้าที่ให้บริการ 24 ชั่วโมง และไม่มีปัญหาเว็บไซต์ล่ม แน่นอนประกาศผลแอดมิชชั่นส์วันที่ 9 พฤษภาคม
นอกจากนี้ ยังมีไขข้อ “อนาคตของเด็กไทยใครกำหนด” กับ มหาวิทยาลัยเอเชียน ต่อด้วย "ค้นหาคณะเรียนให้เหมาะกับบุคลิกภาพ" โดยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และ "เลือกคณะตามที่ใจรัก กับเลือกคณะตามคะแนนที่ได้ อย่างไหนเรียนแล้วมีความสุขกว่ากัน" จากหน่วยงานรัฐ เอกชนและโรงเรียนกวดวิชา และพี่ๆ จากมหาวิทยาลัยดังชี้แนะ สาขาอาชีพที่น่าสนใจในอีก 4 ปีข้างหน้า และคุณลักษณะ คนรุ่นใหม่ที่ตลาดแรงงานต้องการ
11 เมษายน เป็นครั้งแรกที่น้องๆ พ่อแม่ ผู้ปกครองมีโอกาสได้สัมผัสกับนักเรียนรุ่นพี่ที่เคยผ่านวิกฤติพิชิตแอ ดมิชชั่นส์มาให้ความรู้ แนวทางในการเลือกคณะ และเสวนา “ปฏิรูประบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย” ที่กลุ่มเครือข่ายพ่อแม่ผู้ปกครอง นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ ม.ปลาย รุ่นพี่ มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสูตรสำเร็จองค์ประกอบแอดมิชชั่นส์ ว่ากันว่าเวทีนี้พ่อแม่ ผู้ปกครองที่เข้าร่วมงานช่วยกันลงประชามติฟันธงเห็นตรงกันว่าเด็กส่วนใหญ่ ต้องการเอนทรานซ์แทนแอดมิชชั่นส์
ไม่จบเพียงแค่นั้น อาจารย์จากเนชั่น แอดมิชชั่น ยัง แนะแนวเนื้อหาการสอบจีเอที/พีเอที" เพื่อไม่ใช้ขาดตอน และหน่วยงานสอบตรงจากมหาวิทยาลัยต่างๆ มาแนะนำการ "เตรียมตัวสอบตรง 53 : คณะสอบตรงยอดฮิตจากมหาวิทยาลัยต่างๆ" ปิดท้ายด้วย อ.ปทุมมาศ ฟูทรัพย์นิรันดร์ แนะแนว “ค้นหาตัวตนและแนวโน้มความนิยมคณะต่างๆ"
เรียกว่าน้องๆ ที่มาในงาน แนะน้อง ม.ไหนดี ปี 52 ยังได้รับการแนะแนว ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยสมาคมครูแนะแนวแห่งประเทศไทย แนะแนวให้คำปรึกษาสอบตรง โดยอาจารย์และรุ่นพี่ที่ผ่านประสบการณ์สอบตรงจาก The BTS บูธแนะนำสถาบัน ทั้งมหาวิทยาลัยรัฐ มหาวิทยาลัยเอกชน โรงเรียนสอนภาษา และสถาบันศึกษาต่อต่างประเทศ แนะแนวศึกษาต่อต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่ดูแลด้านศึกษาต่อต่างประเทศ และ ทุนเรียนฟรีมีทั่วโลก โดยตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
งานนี้ ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ได้อรรถาธิบายวิธีการ "รับมือแอดมิชชั่นส์ 53" องค์ประกอบ แอดมิชชั่นส์ 53 และ แนวทางข้อสอบ จีเอที/พีเอที พร้อมกับย้ำว่าจีเอทีเป็นเรื่องที่ไม่สามารถติวหรือกวดวิชาได้ภายในเวลา สั้นๆ แต่เป็นการสั่งสมความสามารถในการคิด วิเคราะห์ ใช้เหตุผล เป็นหน้าที่ที่โรงเรียนจะต้องเป็นผู้สอน เด็กจะสอบจีเอทีได้ หรือโรงเรียนกวดวิชาจะช่วยสอนการคิดวิเคราะห์ได้เช่นกัน
ส่วน พีเอที เป็นการวัดความรู้ทางวิชาการ นักเรียนที่เรียนอยู่ ม.4-ม.5 ไม่จำเป็นต้องสอบ ควรรอให้เรียนอยู่ชั้น ม.6 ก่อน สำหรับการสอบจีเอทีและพีเอทีจะประกาศผลเร็วๆ นี้ จากนั้นก็จะนำข้อสอบ จีเอทีและพีเอทีขึ้นเว็บ สทศ.เพื่อเผยแพร่ ส่วนเฉลยคำตอบ ผอ.โรงเรียนที่ต้องการทำหนังสือขอเฉลยได้ที่ สทศ.
จัดครั้งแรกยังได้ทั้งความรู้ เต็มอิ่มทั้งประสบการณ์ตรงอย่างนี้อยากรู้ว่า แนะน้อง ม.ไหนดีปีหน้าเป็นอย่างไรต้องติดตาม
แฉเด็กพื้นฐาน-ปวช.คุณภาพตกต่ำ
รองอธิการบดีฝ่ายกิจการ มทร.อีสาน ชี้ปัญหาคุณภาพการศึกษาตกต่ำทุกคณะ ทุกมหาวิทยาลัย ทั้งจบ ม.ปลายและ ปวช. แนะตั้งคณะกรรมการวิจัยมาตรฐานคุณภาพเด็ก วอนทุกฝ่ายยอมรับความจริงช่วยกันแก้ปัญหา
รศ.ชูชัย ต.ศิริวัฒนา รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) อีสาน กล่าวว่า จริงๆ แล้วเด็กระดับ ม.ปลาย และอาชีวะที่เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ไม่ใช่เฉพาะคณะด้านวิทยาศาสตร์เท่านั้นที่มีปัญหาได้เด็กคุณภาพต่ำเข้าเรียน แต่ในทุกสาขาทุกคณะต่างได้เด็กคุณภาพต่ำเหมือนกันหมด จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่นักศึกษาปีที่ 1 คณะวิทย์ คณะวิศวะ หรือคณะเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยเกือบทุกแห่ง จะมีเด็กติดเอฟ ดร็อป กว่าครึ่ง
"มทร.อีสาน นักศึกษาที่เรียนในสายวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ มีจำนวนมากที่ติดเอฟ หรือดร็อปเรียนไว้ก่อน ปัญหาคุณภาพการศึกษาของนักศึกษาตอนนี้ถือเป็นปัญหาระดับชาติ ที่ทุกหน่วยงานต้องยอมรับความจริง และร่วมกันแก้ไข โดยอาจจัดตั้งองค์กรกลางทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของ เด็กไทยว่าอยู่ระดับไหน เพื่อการพัฒนาที่ถูกจุด ไม่ใช่ต่างฝ่ายโยนภาระให้เป็นหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งดูแล" รศ.ชูชัย กล่าว
รองอธิการบดีฝ่ายกิจการ มทร.อีสาน กล่าวต่อว่า ในส่วนของ มทร.อีสาน ได้ติดตามและแก้ไขปัญหาเรื่องนี้มาตลอด โดยมหาวิทยาลัยได้ปรับพื้นฐานและ ปรับวิธีการสอนของครูให้เข้าถึงเด็กมากขึ้น เพราะการศึกษาระดับปริญญาตรีตอนนี้เปิดกว้างมาก การแก้ปัญหาจึงต้องย้อนกลับไปดูระบบการศึกษาว่าตอนนี้เป็นอย่างไร และควรดำเนินการแก้ไขอย่างไร เพราะในส่วนของมหาวิทยาลัยคงทำได้เพียงรับนักศึกษาและมาพัฒนาองค์ความรู้ให้ เพียงพอเท่านั้น
รศ.ชูชัย ต.ศิริวัฒนา รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) อีสาน กล่าวว่า จริงๆ แล้วเด็กระดับ ม.ปลาย และอาชีวะที่เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ไม่ใช่เฉพาะคณะด้านวิทยาศาสตร์เท่านั้นที่มีปัญหาได้เด็กคุณภาพต่ำเข้าเรียน แต่ในทุกสาขาทุกคณะต่างได้เด็กคุณภาพต่ำเหมือนกันหมด จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่นักศึกษาปีที่ 1 คณะวิทย์ คณะวิศวะ หรือคณะเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยเกือบทุกแห่ง จะมีเด็กติดเอฟ ดร็อป กว่าครึ่ง
"มทร.อีสาน นักศึกษาที่เรียนในสายวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ มีจำนวนมากที่ติดเอฟ หรือดร็อปเรียนไว้ก่อน ปัญหาคุณภาพการศึกษาของนักศึกษาตอนนี้ถือเป็นปัญหาระดับชาติ ที่ทุกหน่วยงานต้องยอมรับความจริง และร่วมกันแก้ไข โดยอาจจัดตั้งองค์กรกลางทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของ เด็กไทยว่าอยู่ระดับไหน เพื่อการพัฒนาที่ถูกจุด ไม่ใช่ต่างฝ่ายโยนภาระให้เป็นหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งดูแล" รศ.ชูชัย กล่าว
รองอธิการบดีฝ่ายกิจการ มทร.อีสาน กล่าวต่อว่า ในส่วนของ มทร.อีสาน ได้ติดตามและแก้ไขปัญหาเรื่องนี้มาตลอด โดยมหาวิทยาลัยได้ปรับพื้นฐานและ ปรับวิธีการสอนของครูให้เข้าถึงเด็กมากขึ้น เพราะการศึกษาระดับปริญญาตรีตอนนี้เปิดกว้างมาก การแก้ปัญหาจึงต้องย้อนกลับไปดูระบบการศึกษาว่าตอนนี้เป็นอย่างไร และควรดำเนินการแก้ไขอย่างไร เพราะในส่วนของมหาวิทยาลัยคงทำได้เพียงรับนักศึกษาและมาพัฒนาองค์ความรู้ให้ เพียงพอเท่านั้น
Friday, April 17, 2009
สพฐ.เชื่อ3รร.นำร่องเรียนฟรีจะเทียบชั้นโรงเรียนยอดนิยม
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยความคืบหน้าการนำร่องโรงเรียนเรียนฟรี 100% ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ว่า ขณะนี้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) กรุงเทพมหานครทั้ง 3 เขต ได้มีการเสนอชื่อโรงเรียนนำร่องมาแล้ว ดังนี้ สพท.กทม. เขต 1 เสนอ รร.พุทธจักรวิทยา สพท.กทม. เขต 2 เสนอ รร.จันทร์หุ่นบำเพ็ญ และ สพท.กทม. เขต 3 เสนอ รร.สวนอนันต์ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้พิจารณาดูค่าใช้จ่ายของทั้ง 3 โรงเรียน แล้วคาดว่าจะช่วยเหลือได้ใน 3 รายการ คือ 1.การสนับสนุนคอมพิวเตอร์ ที่เพียงพอกับความต้องการ โดยมีเงื่อนไขว่าโรงเรียนต้องไม่เรียกเก็บเงินอีก ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ลดลงได้อย่างน้อย 500 บาท 2.การจ้างครูตามจำนวนที่ขาดแคลนจริง และ 3.ค่าสาธารณูปโภค
“สพฐ.จะสนับสนุนโรงเรียนนำร่องใน 3 เรื่องนี้ ส่วนค่าประกันอุบัติเหตุ ค่าจ้างครูต่างประเทศ และรายการที่อยู่นอกเหนือจากที่ได้รับการสนับสนุน ยังคงเป็นภาระของผู้ปกครองอยู่ อย่างไรก็ตามทั้ง 3 โรงเรียนนี้ถือเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพแต่ที่ผ่านมายังไม่เป็นที่รู้จัก กว้างขวางนัก ดังนั้นเชื่อว่าหากการนำร่องได้ผลดีจะเป็นโรงเรียนที่สามารถรองรับเด็กจาก โรงเรียนยอดนิยมได้” คุณหญิงกษมา กล่าว.
“สพฐ.จะสนับสนุนโรงเรียนนำร่องใน 3 เรื่องนี้ ส่วนค่าประกันอุบัติเหตุ ค่าจ้างครูต่างประเทศ และรายการที่อยู่นอกเหนือจากที่ได้รับการสนับสนุน ยังคงเป็นภาระของผู้ปกครองอยู่ อย่างไรก็ตามทั้ง 3 โรงเรียนนี้ถือเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพแต่ที่ผ่านมายังไม่เป็นที่รู้จัก กว้างขวางนัก ดังนั้นเชื่อว่าหากการนำร่องได้ผลดีจะเป็นโรงเรียนที่สามารถรองรับเด็กจาก โรงเรียนยอดนิยมได้” คุณหญิงกษมา กล่าว.
ชุดนร.ไม่ขึ้นราคาพ่อแม่เฮเปิดเทอม
ผู้ปกครองเฮ กระทรวงพาณิชย์ ประกาศไม่ขึ้นราคาชุดนักเรียนรับเปิดเทอมนี้ พร้อมร่วมมือผู้ผลิตลดราคาลง 5-10% ขอความร่วมือ “บิ๊กซี-คาร์ฟูร์” จัดแคมเปญใหญ่ “ธงฟ้าราคายุติธรรม ลดกระหน่ำรับเปิดเทอม” ขายเสื้อนักเรียนเริ่มต้นตัวละ 59 บาท แถมจัดแพ็คเกจเสื้อ กางเกง กระโปรง ถุงเท้า รองเท้า ราคาประหยัด พร้อมเดินหน้าคุมสินค้าอุปโภคบริโภคต่อ 3 เดือน หวังดูแลเงินเฟ้อ
เมื่อวันที่ 16 เม.ย. นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ช่วงเปิดเทอมนี้ กรมฯไม่อนุญาตให้ผู้ผลิตเครื่องแบบนักเรียน เสื้อ กางเกง รองเท้า ถุงเท้า ตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถม ถึงมัธยมปรับขึ้นราคา และยังขอความร่วมมือให้จัดโปรโมชั่นลดราคาถูกลงกว่า 30% เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค-ลดรายจ่ายให้กับผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอม สวนกระแสต้นทุนการผลิตชุดนักเรียนที่ขณะนี้ปรับขึ้น 30-40% นอกจากนี้ภาพรวมราคาชุดนักเรียนยังถูกกว่าปีก่อน 5-10% โดยราคาที่กรมการค้าภายในสำรวจมีราคาเฉลี่ยเสื้อเชิ้ตนักเรียนชายตัวละ 142 บาท กางเกงขาสั้น 193 บาท เสื้อเชิ้ตนักเรียนหญิง 139 บาท และกระโปรง 180 บาท
“ปีนี้ผู้ประกอบการเครื่องแบบนักเรียนให้ความร่วมมือกับรัฐบาลเป็นอย่างดี แม้ต้นทุนค่าผ้า ค่าด้ายจะเพิ่ม 44% แรงงานตัดเย็บเพิ่ม 38% และค่าไฟฟ้าอีก 3% แต่ด้วยปัญหาเศรษฐกิจไม่ดี และกำลังซื้อที่ลดลงทำให้ปีนี้ ไม่ปรับราคาขึ้น ซึ่งถึงขณะนี้ยังไม่มีผู้ผลิตราย ใดขอแจ้งขึ้นราคา โดยชุดนักเรียนถือเป็นสินค้าควบคุม จะต้องแจ้งล่วงหน้า 15 วัน ถึงจะขึ้นราคาได้ ขอให้ประชาชนสบายใจได้ว่าเครื่องแบบนักเรียนปีนี้จะไม่แพงขึ้น”
อธิบดีกรมการค้าฯ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้กรมฯได้ร่วมมือกับห้างค้าปลีก บิ๊กซี และคาร์ฟูร์ 101 สาขาทั่วประเทศ จัดกิจกรรม “ธงฟ้าราคายุติธรรม ลดกระหน่ำรับเปิดเทอม” นำเครื่องแบบชุดนักเรียน และอุปกรณ์การเรียน กระเป๋า ปากกา ดินสอ ไม้บรรทัด สมุด ยางลบ มาลดราคา 30-40% จนถึง 31 พ.ค.นี้ พร้อมทั้งจัดโปรโมชั่นชุดนักเรียนพิเศษตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพของรัฐบาล ให้ผู้ปกครองที่ซื้อสินค้าสามารถนำใบกำกับภาษีไปเบิกเงินคืนตามโครงการได้ ด้วย พร้อมยังจัดแพ็กเกจชุดนักเรียนราคาพิเศษประกอบด้วย เสื้อ กางเกงหรือกระโปรง ถุงเท้า และรองเท้า สำหรับระดับอนุบาล 300 บาท ประถม 360 บาท มัธยมต้น 450 บาท และมัธยมปลาย 500 บาท รวมถึงมีสินค้าธงฟ้าราคาประหยัดอีก 2,000 รายการเข้าร่วมรายการ
นายยรรยง กล่าวอีกว่า สำหรับแผน การดูแลราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค ที่จำเป็นในชีวิตประจำวันอย่างอื่น เช่น อาหาร เครื่องดื่ม ยารักษาโรค จะควบคุมให้ราคาทรงตัวต่อไปอีกอย่างน้อย 3 เดือนไม่ให้ขึ้นราคาอีก แม้ขณะนี้ราคาน้ำมันจะเริ่มปรับขึ้นมาอีกครั้ง ทั้งนี้เพื่อช่วยดูแลค่าครองชีพแก่ประชาชน โดยขณะนี้สินค้าสำคัญ เช่น ข้าวถุง ลดราคาแล้วถุงละ 5-10 บาท แต่กรมฯจะไม่กดดันให้ผู้ผลิตลดราคาลงมาก เพราะอาจกระทบต่อปัญหาเงินเฟ้อ และเงินฝืดได้ ขณะนี้เงินเฟ้อติดลบทางเทคนิคแล้ว 3 เดือน หากทำให้ราคาสินค้าลดลงอีก อาจทำให้เกิดปัญหาเงินฝืดตามมาได้
ด้าน น.ส.จริยา จิราธิวัฒน์ รองประธานฝ่ายการตลาด และสื่อสาร บริษัทบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารห้างค้าปลีกบิ๊กซี เปิดเผยว่า บริษัทร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ จัดโครงการ “ธงฟ้าราคาประหยัด บิ๊กซี แบ็คทูสคูล” นำชุดนักเรียน-อุปกรณ์การเรียนมาลดราคาสินค้าถูกกว่าท้องตลาด 5-30% และมีราคาชุดนักเรียนราคาถูกเริ่มต้นที่ 59 บาท ถูก กว่าปีก่อนที่มีราคาเริ่มต้น 69 บาท เพราะต้องการช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์เศรษฐกิจชะลอตัว โดยจะเริ่มจัดโปรโมชั่นแล้วตั้งแต่ 16 เม.ย.-14 พ.ค.นี้
ขณะที่ น.ส.ประภาพรรณ พลอยแสงงาม ผอ.ฝ่ายการตลาด บริษัท เซ็นคาร์ จำกัด ผู้บริหารห้างค้าปลีก คาร์ฟูร์ กล่าวว่า คาร์ฟูร์นำสินค้าชุดนักเรียนและอุปกรณ์นักเรียนรวม 2,000 รายการ มาลดราคาพิเศษ 10% ในราคาถูกเริ่มต้น 59 บาท เพื่อช่วยเหลือประชาชนในสถาน การณ์เศรษฐกิจชะลอตัว พร้อมกับเข้าร่วมชุดนักเรียนธงฟ้า 100 รายการ เริ่มจัดโปรโมชั่นแล้ว ตั้งแต่วันที่ 17 เม.ย.-31 พ.ค.นี้.
เมื่อวันที่ 16 เม.ย. นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ช่วงเปิดเทอมนี้ กรมฯไม่อนุญาตให้ผู้ผลิตเครื่องแบบนักเรียน เสื้อ กางเกง รองเท้า ถุงเท้า ตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถม ถึงมัธยมปรับขึ้นราคา และยังขอความร่วมมือให้จัดโปรโมชั่นลดราคาถูกลงกว่า 30% เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค-ลดรายจ่ายให้กับผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอม สวนกระแสต้นทุนการผลิตชุดนักเรียนที่ขณะนี้ปรับขึ้น 30-40% นอกจากนี้ภาพรวมราคาชุดนักเรียนยังถูกกว่าปีก่อน 5-10% โดยราคาที่กรมการค้าภายในสำรวจมีราคาเฉลี่ยเสื้อเชิ้ตนักเรียนชายตัวละ 142 บาท กางเกงขาสั้น 193 บาท เสื้อเชิ้ตนักเรียนหญิง 139 บาท และกระโปรง 180 บาท
“ปีนี้ผู้ประกอบการเครื่องแบบนักเรียนให้ความร่วมมือกับรัฐบาลเป็นอย่างดี แม้ต้นทุนค่าผ้า ค่าด้ายจะเพิ่ม 44% แรงงานตัดเย็บเพิ่ม 38% และค่าไฟฟ้าอีก 3% แต่ด้วยปัญหาเศรษฐกิจไม่ดี และกำลังซื้อที่ลดลงทำให้ปีนี้ ไม่ปรับราคาขึ้น ซึ่งถึงขณะนี้ยังไม่มีผู้ผลิตราย ใดขอแจ้งขึ้นราคา โดยชุดนักเรียนถือเป็นสินค้าควบคุม จะต้องแจ้งล่วงหน้า 15 วัน ถึงจะขึ้นราคาได้ ขอให้ประชาชนสบายใจได้ว่าเครื่องแบบนักเรียนปีนี้จะไม่แพงขึ้น”
อธิบดีกรมการค้าฯ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้กรมฯได้ร่วมมือกับห้างค้าปลีก บิ๊กซี และคาร์ฟูร์ 101 สาขาทั่วประเทศ จัดกิจกรรม “ธงฟ้าราคายุติธรรม ลดกระหน่ำรับเปิดเทอม” นำเครื่องแบบชุดนักเรียน และอุปกรณ์การเรียน กระเป๋า ปากกา ดินสอ ไม้บรรทัด สมุด ยางลบ มาลดราคา 30-40% จนถึง 31 พ.ค.นี้ พร้อมทั้งจัดโปรโมชั่นชุดนักเรียนพิเศษตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพของรัฐบาล ให้ผู้ปกครองที่ซื้อสินค้าสามารถนำใบกำกับภาษีไปเบิกเงินคืนตามโครงการได้ ด้วย พร้อมยังจัดแพ็กเกจชุดนักเรียนราคาพิเศษประกอบด้วย เสื้อ กางเกงหรือกระโปรง ถุงเท้า และรองเท้า สำหรับระดับอนุบาล 300 บาท ประถม 360 บาท มัธยมต้น 450 บาท และมัธยมปลาย 500 บาท รวมถึงมีสินค้าธงฟ้าราคาประหยัดอีก 2,000 รายการเข้าร่วมรายการ
นายยรรยง กล่าวอีกว่า สำหรับแผน การดูแลราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค ที่จำเป็นในชีวิตประจำวันอย่างอื่น เช่น อาหาร เครื่องดื่ม ยารักษาโรค จะควบคุมให้ราคาทรงตัวต่อไปอีกอย่างน้อย 3 เดือนไม่ให้ขึ้นราคาอีก แม้ขณะนี้ราคาน้ำมันจะเริ่มปรับขึ้นมาอีกครั้ง ทั้งนี้เพื่อช่วยดูแลค่าครองชีพแก่ประชาชน โดยขณะนี้สินค้าสำคัญ เช่น ข้าวถุง ลดราคาแล้วถุงละ 5-10 บาท แต่กรมฯจะไม่กดดันให้ผู้ผลิตลดราคาลงมาก เพราะอาจกระทบต่อปัญหาเงินเฟ้อ และเงินฝืดได้ ขณะนี้เงินเฟ้อติดลบทางเทคนิคแล้ว 3 เดือน หากทำให้ราคาสินค้าลดลงอีก อาจทำให้เกิดปัญหาเงินฝืดตามมาได้
ด้าน น.ส.จริยา จิราธิวัฒน์ รองประธานฝ่ายการตลาด และสื่อสาร บริษัทบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารห้างค้าปลีกบิ๊กซี เปิดเผยว่า บริษัทร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ จัดโครงการ “ธงฟ้าราคาประหยัด บิ๊กซี แบ็คทูสคูล” นำชุดนักเรียน-อุปกรณ์การเรียนมาลดราคาสินค้าถูกกว่าท้องตลาด 5-30% และมีราคาชุดนักเรียนราคาถูกเริ่มต้นที่ 59 บาท ถูก กว่าปีก่อนที่มีราคาเริ่มต้น 69 บาท เพราะต้องการช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์เศรษฐกิจชะลอตัว โดยจะเริ่มจัดโปรโมชั่นแล้วตั้งแต่ 16 เม.ย.-14 พ.ค.นี้
ขณะที่ น.ส.ประภาพรรณ พลอยแสงงาม ผอ.ฝ่ายการตลาด บริษัท เซ็นคาร์ จำกัด ผู้บริหารห้างค้าปลีก คาร์ฟูร์ กล่าวว่า คาร์ฟูร์นำสินค้าชุดนักเรียนและอุปกรณ์นักเรียนรวม 2,000 รายการ มาลดราคาพิเศษ 10% ในราคาถูกเริ่มต้น 59 บาท เพื่อช่วยเหลือประชาชนในสถาน การณ์เศรษฐกิจชะลอตัว พร้อมกับเข้าร่วมชุดนักเรียนธงฟ้า 100 รายการ เริ่มจัดโปรโมชั่นแล้ว ตั้งแต่วันที่ 17 เม.ย.-31 พ.ค.นี้.
แฉครอบครัวไทยแตกแยกเพิ่มทุกปี
น. ส.นราทิพย์ พุ่มทรัพย์ ผอ.ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม) เปิดเผยว่า จากการประชุมสมัชชาคุณธรรม ที่ประชุมเห็นว่า ปัญหาครอบครัวกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นจากสถิติปี 2551 พบว่า ครอบครัวไทยเกิดปัญหาความแตกแยกจำนวนมาก ถึงร้อยละ 30 และมีแนวโน้มครอบครัวแตกแยกเพิ่มขึ้นทุกปี ที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ การที่เด็กเลียนแบบพฤติกรรมความรุนแรงจากการทะเลาะของพ่อแม่ จนทำให้เด็กเป็นคนเก็บกด ขาดความรัก ชอบใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้ศูนย์คุณธรรมเร่งหาวิธีการสร้างครอบครัวอบอุ่นให้มี มากขึ้นในประเทศ โดยในปี 2552 ศูนย์คุณธรรมได้จัดโครงการครอบครัวอบอุ่นขึ้น โดยได้เชิญผู้บริหารสถานศึกษา กรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชน ครู จำนวน 17 โรงเรียน ใน 4 ภูมิภาค แบ่งเป็น ระดับประถมศึกษา 12 แห่ง ระดับมัธยมศึกษา 5 แห่ง ที่จะเข้าร่วมโครงการมาประชุมวางแผนดำเนินงาน เพื่อส่งเสริมให้เด็ก ครอบครัว ครู ชุมชน ร่วมทำกิจกรรมในการเสริมสร้างความอบอุ่น พร้อมทั้งศึกษากระบวนการสร้างความอบอุ่น และเรียนรู้คุณธรรม จริยธรรมร่วมกัน และจะเริ่มโครงการในช่วงเปิดภาคเรียน เดือนพฤษภาคม โดยให้สถานศึกษาเป็นแม่งานในการสร้างกิจกรรมให้แก่เด็กและครอบครัว เพื่อให้ครอบครัวมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น
น. ส.นราทิพย์กล่าวต่อไปว่า กระบวนการสร้างครอบครัวอบอุ่น จะต้องให้เด็ก พ่อ แม่ ครู และชุมชน ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน โดยมีผู้ปกครองคอยชี้แนะแนวทางต่างๆ ซึ่งจะทำให้เด็ก พ่อ แม่ ได้พูดคุย และได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นมากขึ้น จะทำให้เด็กได้ฝึกการรับผิดชอบ ได้เรียนรู้หลักคุณธรรม จริยธรรม ความกตัญญูต่อพ่อ แม่ ด้วยกระบวนการปฏิบัติจริง เป็นต้น จากนั้นก็จะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลของกระบวนการสร้างครอบครัวอบอุ่น ผลของกิจกรรม เพื่อเป็นต้นแบบให้สถานศึกษา และชุมชนต่างๆทั่วประเทศได้ใช้เป็นแนวทางสร้างครอบครัวอบอุ่นให้ขยายวงกว้าง ต่อไป ขณะที่ชุมชน โรงเรียน ต้องผนึกกำลังร่วมกันส่งเสริมครอบครัวให้เข้มแข็งด้วย.
น. ส.นราทิพย์กล่าวต่อไปว่า กระบวนการสร้างครอบครัวอบอุ่น จะต้องให้เด็ก พ่อ แม่ ครู และชุมชน ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน โดยมีผู้ปกครองคอยชี้แนะแนวทางต่างๆ ซึ่งจะทำให้เด็ก พ่อ แม่ ได้พูดคุย และได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นมากขึ้น จะทำให้เด็กได้ฝึกการรับผิดชอบ ได้เรียนรู้หลักคุณธรรม จริยธรรม ความกตัญญูต่อพ่อ แม่ ด้วยกระบวนการปฏิบัติจริง เป็นต้น จากนั้นก็จะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลของกระบวนการสร้างครอบครัวอบอุ่น ผลของกิจกรรม เพื่อเป็นต้นแบบให้สถานศึกษา และชุมชนต่างๆทั่วประเทศได้ใช้เป็นแนวทางสร้างครอบครัวอบอุ่นให้ขยายวงกว้าง ต่อไป ขณะที่ชุมชน โรงเรียน ต้องผนึกกำลังร่วมกันส่งเสริมครอบครัวให้เข้มแข็งด้วย.
สกอ.ขยายรับสมัคร-ชำระเงินแอดมิชชั่นอีก 2 วัน
ดร. สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เปิดรับสมัครแอดมิชชั่น ประจำปีการศึกษา 2552 ตั้งแต่วันที่ 11-20 เม.ย. และชำระเงินถึงวันที่ 22 เม.ย.นั้น จากการเปิดรับสมัครมาแล้ว 6 วัน ทางเว็บไซต์ของ สกอ.คือ www.cuas.or.th พบ ว่า มีจำนวน 45,098 คน และจากปัญหาความวุ่นวายในบ้านเมืองส่งผลกระทบให้ ธนาคารต้องปิดทำการ ดังนั้น สกอ.จะขยายการรับสมัครและชำระเงินแอดมิชชั่นออกไปอีก 2 วัน โดยจะรับสมัครถึงวันที่ 22 เม.ย. และชำระเงินจนถึงวันที่ 24 เม.ย.นี้ ทางธนาคารพาณิชย์ต่างๆ อาทิ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย และที่ทำการไปรษณีย์ทุกสาขา เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สมัครมากที่สุด และขอให้นักเรียนทุกคนรีบสมัครและชำระเงินตามวันและเวลาที่กำหนด และเมื่อสมัครแล้วจะต้องชำระเงินถึงจะถือว่าการสมัครนั้นสมบูรณ์ โดยควรสมัครและชำระเงินด้วยตนเอง เพื่อป้องกันความผิดพลาด
ด้าน นางศศิธร อหิงสโก ผอ.กลุ่มรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของ สกอ. กล่าวว่า การดูกระดาษคำตอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นสูงหรือเอเน็ตนั้น มีผู้มายื่นคำร้องขอดูกระดาษคำตอบจำนวน 827 คน มาดูจำนวน 500 กว่าคน และเท่าที่ดูยังไม่มีการตรวจผิด.
ด้าน นางศศิธร อหิงสโก ผอ.กลุ่มรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของ สกอ. กล่าวว่า การดูกระดาษคำตอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นสูงหรือเอเน็ตนั้น มีผู้มายื่นคำร้องขอดูกระดาษคำตอบจำนวน 827 คน มาดูจำนวน 500 กว่าคน และเท่าที่ดูยังไม่มีการตรวจผิด.
ผลวิจัยชี้เด็ก กทม.เสี่ยง “อ้วน” เกือบครึ่ง
น. ส.นริสรา พึ่งโพธิ์สภ นิสิตปริญญาเอกแห่งวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักศึกษาโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) รุ่นที่ 7 เปิดเผยถึงผลวิจัย “ภาวะโภชนาการเกิน หรือ ภาวะอ้วน” ว่า ภาวะดังกล่าวเป็นภัยเงียบที่แอบแฝงในความจ้ำม่ำของเด็กเกือบทุกสังคมทั่วโลก โดย งานวิจัยนี้ได้ศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อภาวะโภชนาการเกิน และแสวงหาแนวทางควบคุมภาวะโภชนาการเกินของเด็กวัยเรียนอายุ 9-12 ปี ในกรุงเทพมหานคร พบว่าเกือบครึ่งหนึ่ง คือ ร้อยละ 49.3 มีภาวะโภชนาการเกิน และ พบปัจจัยเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะโภชนาการเกิน อาทิ เพศ ระยะเวลาทำกิจกรรมที่ใช้แรงน้อย ระยะเวลาทำกิจกรรมที่ใช้แรงปานกลาง รายได้ของครอบครัว อาชีพของผู้ปกครอง แบบอย่างที่ดีในการดูแลโภชนา การและสุขภาพของผู้ปกครอง กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่โรงเรียน การเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา
น. ส.นริสรากล่าวอีกว่า เด็กที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโภชนาการเกิน ได้แก่ เด็กวัยเรียน ผู้ชาย ผู้เป็นลูกคนเดียวและลูกคนสุดท้อง เนื่องจากครอบครัวไทยส่วนใหญ่จะทุ่มเทให้ความรัก ตามใจลูกคนสุดท้อง หากเป็นลูกคนเดียวมักจะได้รับการดูแลเอาใจใส่มากกว่าลูกในลำดับอื่นๆ เด็กมักถูกตามใจให้กินดีอยู่ดี จนอาจทำให้ได้รับสารอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย นอกจากนี้ เด็กที่มีพี่น้องหลายคน เด็กที่มักทำกิจกรรมที่ใช้แรงน้อยถึงปานกลาง เด็กที่ได้ดื่มนมแม่ไม่นาน เด็กในครอบครัวที่มีฐานะดี เด็กที่อยู่ในโรงเรียนที่จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพน้อย มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโภชนาการเกินมากกว่าเด็กวัยเรียนกลุ่มอื่นๆ สำหรับแนวทางควบคุมภาวะโภชนาการเกินของเด็กวัยเรียน คือ 1.มาตรการทางการบังคับกฎ โดยการออกข้อบังคับให้ผู้ประกอบการค้าเครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์ขนมเด็ก ต้องปรับปรุงคุณภาพอาหารให้มีคุณค่าทางโภชนาการ ตามปริมาณและสัดส่วนที่เด็กควรได้รับ 2.มาตรการทางวิศวกรรม ได้แก่ การออกแบบและพัฒนาเครื่องออกกำลังกายแบบครบวงจรสำหรับเด็กวัยเรียน การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายสำเร็จรูป โดยเชื่อมต่อกับเกมคอมพิวเตอร์ และ 3.มาตรการทางสุขศึกษา ได้แก่การให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่ครู อาสาสมัครชุมชน ผู้ปกครอง และนักเรียน.
น. ส.นริสรากล่าวอีกว่า เด็กที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโภชนาการเกิน ได้แก่ เด็กวัยเรียน ผู้ชาย ผู้เป็นลูกคนเดียวและลูกคนสุดท้อง เนื่องจากครอบครัวไทยส่วนใหญ่จะทุ่มเทให้ความรัก ตามใจลูกคนสุดท้อง หากเป็นลูกคนเดียวมักจะได้รับการดูแลเอาใจใส่มากกว่าลูกในลำดับอื่นๆ เด็กมักถูกตามใจให้กินดีอยู่ดี จนอาจทำให้ได้รับสารอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย นอกจากนี้ เด็กที่มีพี่น้องหลายคน เด็กที่มักทำกิจกรรมที่ใช้แรงน้อยถึงปานกลาง เด็กที่ได้ดื่มนมแม่ไม่นาน เด็กในครอบครัวที่มีฐานะดี เด็กที่อยู่ในโรงเรียนที่จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพน้อย มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโภชนาการเกินมากกว่าเด็กวัยเรียนกลุ่มอื่นๆ สำหรับแนวทางควบคุมภาวะโภชนาการเกินของเด็กวัยเรียน คือ 1.มาตรการทางการบังคับกฎ โดยการออกข้อบังคับให้ผู้ประกอบการค้าเครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์ขนมเด็ก ต้องปรับปรุงคุณภาพอาหารให้มีคุณค่าทางโภชนาการ ตามปริมาณและสัดส่วนที่เด็กควรได้รับ 2.มาตรการทางวิศวกรรม ได้แก่ การออกแบบและพัฒนาเครื่องออกกำลังกายแบบครบวงจรสำหรับเด็กวัยเรียน การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายสำเร็จรูป โดยเชื่อมต่อกับเกมคอมพิวเตอร์ และ 3.มาตรการทางสุขศึกษา ได้แก่การให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่ครู อาสาสมัครชุมชน ผู้ปกครอง และนักเรียน.
วิศวะปี1สจล.ตกฟิสิกส์ 300คนเล็งจัดห้องติวปรับพื้นฐานก่อนสอบ Bookmark and Share
คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์สจล.เผยเด็กปี 1 วิศวะตกฟิสิกส์ กว่า 300 คนเหตุแอดมิชชั่นส์เข้ามาได้ จากคะแนนสังคม หรือ ภาษาไทยสูง แต่วิทย์และคณิตต่ำ ทำให้เรียนไม่ผ่านเกณฑ์ เผยมีลาออก 10% จากที่รับมาทั้งหมด1,700 คน เล็งแก้ปัญหาตั้งแต่มัธยม โดยเข้าไปสอนเสริมให้ ม.6 ในโครงการที่ลงนามร่วมกัน และจัดห้องติวก่อนสอบให้ นศ.ปี 1
รศ.ดร.กอบชัยเดชหาญ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมาคณะวิศวกรรมศาสตร์รับนักศึกษาเข้าเรียนประมาณ 1,700 คนโดยผ่านการรับใน 3 รูปแบบคือ การสอบตรง รับจากโรงเรียนที่ทำสัญญาร่วมกับสถาบัน (เอ็มโอยู) และจากการโครงการช้างเผือกและระบบสอบแอดมิชชั่นส์ ในจำนวนนี้เมื่อเข้ามาเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์แล้ว มีส่วนหนึ่งที่ไม่ผ่านเกณฑ์วิชาฟิสิกส์ประมาณ 300 คน
ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากในการสอบโดยวิธีแอดมิชชั่นส์เข้ามานั้น เด็กที่ผ่านเกณฑ์เข้ามาเรียนได้อาจจะมีคะแนนสอบวิชาสังคม หรือ ภาษาไทยสูง ขณะที่วิชาด้านสายวิทย์และคณิตศาสตร์คะแนนต่ำ เมื่อรวมคะแนนแล้วผ่านเกณฑ์การคัดเลือกก็สามารถเข้ามาเรียนได้ แต่เมื่อเข้ามาเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งต้องใช้ความรู้ในวิชาสายวิทย์และคณิตศาสตร์เป็นส่วนใหญ่แล้ว ผลการเรียนออกมาจึงไม่ผ่านเกณฑ์วิชาเหล่านี้ และจะลาออกไปประมาณ 10% จากจำนวนนักศึกษาที่รับเข้ามาทั้งหมด
รศ.ดร.กอบชัยกล่าวด้วยว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์จึงแก้ปัญหา โดยลงนามความร่วมมือกับโรงเรียนในเครือข่าย ส่งอาจารย์เข้าไปสอนเสริมในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อเสริมความรู้ให้แก่นักเรียนที่มีความต้องการเข้ามาเรียนในคณะ วิศวกรรมศาสตร์มีความพร้อมในการเรียน ซึ่งดำเนินการมาแล้ว 2-3 ปีรวมทั้งจัดสอนเสริมในรายวิชาพื้นฐานดังกล่าวให้แก่นักศึกษาปี 1 ก่อนสอบอีกด้วย เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมในการสอบ โดยห้องเรียนสามารถบรรจุนักศึกษาได้ประมาณ 400 คนและอาจจะปรับเกณฑ์ในการรับให้เข้มข้นมากขึ้น โดยเน้นที่วิชาด้านคณิตและวิทย์มากขึ้น
รศ.ดร.กอบชัยเดชหาญ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมาคณะวิศวกรรมศาสตร์รับนักศึกษาเข้าเรียนประมาณ 1,700 คนโดยผ่านการรับใน 3 รูปแบบคือ การสอบตรง รับจากโรงเรียนที่ทำสัญญาร่วมกับสถาบัน (เอ็มโอยู) และจากการโครงการช้างเผือกและระบบสอบแอดมิชชั่นส์ ในจำนวนนี้เมื่อเข้ามาเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์แล้ว มีส่วนหนึ่งที่ไม่ผ่านเกณฑ์วิชาฟิสิกส์ประมาณ 300 คน
ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากในการสอบโดยวิธีแอดมิชชั่นส์เข้ามานั้น เด็กที่ผ่านเกณฑ์เข้ามาเรียนได้อาจจะมีคะแนนสอบวิชาสังคม หรือ ภาษาไทยสูง ขณะที่วิชาด้านสายวิทย์และคณิตศาสตร์คะแนนต่ำ เมื่อรวมคะแนนแล้วผ่านเกณฑ์การคัดเลือกก็สามารถเข้ามาเรียนได้ แต่เมื่อเข้ามาเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งต้องใช้ความรู้ในวิชาสายวิทย์และคณิตศาสตร์เป็นส่วนใหญ่แล้ว ผลการเรียนออกมาจึงไม่ผ่านเกณฑ์วิชาเหล่านี้ และจะลาออกไปประมาณ 10% จากจำนวนนักศึกษาที่รับเข้ามาทั้งหมด
รศ.ดร.กอบชัยกล่าวด้วยว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์จึงแก้ปัญหา โดยลงนามความร่วมมือกับโรงเรียนในเครือข่าย ส่งอาจารย์เข้าไปสอนเสริมในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อเสริมความรู้ให้แก่นักเรียนที่มีความต้องการเข้ามาเรียนในคณะ วิศวกรรมศาสตร์มีความพร้อมในการเรียน ซึ่งดำเนินการมาแล้ว 2-3 ปีรวมทั้งจัดสอนเสริมในรายวิชาพื้นฐานดังกล่าวให้แก่นักศึกษาปี 1 ก่อนสอบอีกด้วย เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมในการสอบ โดยห้องเรียนสามารถบรรจุนักศึกษาได้ประมาณ 400 คนและอาจจะปรับเกณฑ์ในการรับให้เข้มข้นมากขึ้น โดยเน้นที่วิชาด้านคณิตและวิทย์มากขึ้น
ชูโครงการพระราชดำริในหลวงสร้างความปรองดองคนในประเทศ
ชูโครงการราชดำริในหลวงให้ป.ป.ช.ปฏิบัติหวังสร้างความปรองดองคนใน ประเทศ เลขาธิการ กวช.เผยอยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลพร้อมเปิดเวทีผ่านโครงการวัฒนธรรมไทยสายใย ชุมชน เริ่ม พ.ค.นี้ทั่วประเทศ
นางฉวีรัตน์เกษตรสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ(สวช.) กล่าวถึงนโยบายเร่งด่วนหลังจากเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการกวช.ว่าจากการที่ตน ได้เรียกทุกหน่วยงานในสังกัดเพื่อรับฟังแนวทางการดำเนินงานเป็นอันดับแรก พบว่าสิ่งที่ต้องทำเร่งด่วนคือการนำมิติวิถีชีวิตและภูมิปัญญามาช่วยแก้ ปัญหาความแตกแยกของประชาชนในชุมชนเดียวกัน เพราะขณะนี้ปัญหาดังกล่าวลุกลามในระดับชุมชน หมู่บ้าน ตำบล ประชาชนมีความคิดเห็นแตกเป็นสองฝ่าย ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่ทำงานกับท้องถิ่น จึงจะช่วยหาแนวทางแก้ปัญหา นำความสงบสุขกลับมาในชุมชนเหมือนเดิม ซึ่งตนมีแนวคิดว่าจะศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาให้แก่ประชาชนในชุมชนทำงานร่วมกันผ่านโครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนที่ สวช.ดูแลอยู่ทั่วประเทศ
เลขาธิการกวช.กล่าวต่อว่าเหตุผลที่เลือกเดินตามรอยเบื้องยุคลบาทตามโครงการพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากคนไทยมีความจงรักภักดีกับสถาบันพระมหากษัตริย์มาก ไม่ว่าความคิดเห็นทางการเมืองจะแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายแต่เชื่อว่าหากมีงานบุญ หรืองานเพื่อประโยชน์ของชุมชนชาวบ้านจะมาร่วมมือกันทำ อีกทั้งสังคมไทยเป็นสังคมระบบเครือญาติ ทุกคนในชุมชนจะเป็นเครือญาติกัน พร้อมจะให้ความร่วมมืออยู่แล้ว เบื้องต้นจะขอศึกษาโครงการพระราชดำริ หรือพระราชกรณียกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติไว้เป็นแบบอย่าง จากนั้นจะมอบเป็นนโยบายให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศนำไปปฏิบัติ เป็นโครงการเร่งด่วน โดยจะเลือกชุมชนต้นแบบ 4 ภาคภาคละ 1 แห่งเพื่อนำร่องการทำงานเพื่อสร้างความสมัครสมานสามัคคีแก่ประชาชนในชุมชน โดยเร็วที่สุด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นต้นแบบที่ดีในการทำงานเพื่อประเทศชาติ และประชาชนคนไทยทุกคนควรเดินตามเบื้องยุคลบาท ยุติความแตกแยก หันมาจับมือสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยเร็วๆ นี้ดิฉันจะไปขอหารือกับหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริของ พระองค์ อาทิ มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด ดร.สุเมธชุมสาย ณ อยุธยา ศิลปินแห่งชาติ ศ.นพ.ประเวศวะสี ราษฎรอาวุโส ศ.นพ.เกษมวัฒนธรรม องคมนตรี เพื่อขอแนวทางการทำงาน ส่วนเรื่องบประมาณนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้ตั้งไว้ เพราะโครงการดังกล่าวเป็นโครงการเร่งด่วน อย่างไรก็ตาม จะพยายามของบประมาณมาดำเนินต่อไป คาดภายในเดือนพฤษภาคมนี้จะพร้อมลงมือปฏิบัติจริงให้เห็นเป็นรูปธรรมพร้อมกัน ทั่วประเทศ เลขาธิการ กวช.กล่าว
นางฉวีรัตน์เกษตรสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ(สวช.) กล่าวถึงนโยบายเร่งด่วนหลังจากเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการกวช.ว่าจากการที่ตน ได้เรียกทุกหน่วยงานในสังกัดเพื่อรับฟังแนวทางการดำเนินงานเป็นอันดับแรก พบว่าสิ่งที่ต้องทำเร่งด่วนคือการนำมิติวิถีชีวิตและภูมิปัญญามาช่วยแก้ ปัญหาความแตกแยกของประชาชนในชุมชนเดียวกัน เพราะขณะนี้ปัญหาดังกล่าวลุกลามในระดับชุมชน หมู่บ้าน ตำบล ประชาชนมีความคิดเห็นแตกเป็นสองฝ่าย ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่ทำงานกับท้องถิ่น จึงจะช่วยหาแนวทางแก้ปัญหา นำความสงบสุขกลับมาในชุมชนเหมือนเดิม ซึ่งตนมีแนวคิดว่าจะศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาให้แก่ประชาชนในชุมชนทำงานร่วมกันผ่านโครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนที่ สวช.ดูแลอยู่ทั่วประเทศ
เลขาธิการกวช.กล่าวต่อว่าเหตุผลที่เลือกเดินตามรอยเบื้องยุคลบาทตามโครงการพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากคนไทยมีความจงรักภักดีกับสถาบันพระมหากษัตริย์มาก ไม่ว่าความคิดเห็นทางการเมืองจะแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายแต่เชื่อว่าหากมีงานบุญ หรืองานเพื่อประโยชน์ของชุมชนชาวบ้านจะมาร่วมมือกันทำ อีกทั้งสังคมไทยเป็นสังคมระบบเครือญาติ ทุกคนในชุมชนจะเป็นเครือญาติกัน พร้อมจะให้ความร่วมมืออยู่แล้ว เบื้องต้นจะขอศึกษาโครงการพระราชดำริ หรือพระราชกรณียกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติไว้เป็นแบบอย่าง จากนั้นจะมอบเป็นนโยบายให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศนำไปปฏิบัติ เป็นโครงการเร่งด่วน โดยจะเลือกชุมชนต้นแบบ 4 ภาคภาคละ 1 แห่งเพื่อนำร่องการทำงานเพื่อสร้างความสมัครสมานสามัคคีแก่ประชาชนในชุมชน โดยเร็วที่สุด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นต้นแบบที่ดีในการทำงานเพื่อประเทศชาติ และประชาชนคนไทยทุกคนควรเดินตามเบื้องยุคลบาท ยุติความแตกแยก หันมาจับมือสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยเร็วๆ นี้ดิฉันจะไปขอหารือกับหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริของ พระองค์ อาทิ มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด ดร.สุเมธชุมสาย ณ อยุธยา ศิลปินแห่งชาติ ศ.นพ.ประเวศวะสี ราษฎรอาวุโส ศ.นพ.เกษมวัฒนธรรม องคมนตรี เพื่อขอแนวทางการทำงาน ส่วนเรื่องบประมาณนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้ตั้งไว้ เพราะโครงการดังกล่าวเป็นโครงการเร่งด่วน อย่างไรก็ตาม จะพยายามของบประมาณมาดำเนินต่อไป คาดภายในเดือนพฤษภาคมนี้จะพร้อมลงมือปฏิบัติจริงให้เห็นเป็นรูปธรรมพร้อมกัน ทั่วประเทศ เลขาธิการ กวช.กล่าว
Thursday, April 16, 2009
วิทย์จุฬาฯขอเพิ่มค่าน้ำหนักแอดมิชชั่น 54 อื้อ
ตาม ที่มหาวิทยาลัยของรัฐได้หารือร่วมกันเพื่อปรับปรุงสัดส่วน ค่าน้ำหนัก องค์ประกอบแอดมิชชั่น ในการแก้ปัญหามหาวิทยาลัยหนีการรับแอดมิชชั่นไปใช้ระบบรับตรงมากขึ้น เพราะขาดความมั่นใจในระบบแอดมิชชั่น และนำข้อสรุปเข้าหารือในที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ในเดือน ก.ค.นี้ เพื่อปรับปรุงองค์ประกอบแอดมิชชั่นปี 2554 ต่อไป นั้น
นาย ชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ทปอ.ได้ส่งแบบสอบถามให้คณะวิชาของมหาวิทยาลัยต่างๆ พิจารณาว่าต้องการสัดส่วน น้ำหนัก องค์ ประกอบแอดมิชชั่นเท่าไร ซึ่งคาดว่าปลายเดือน เม.ย.นี้ น่าจะได้รับคำตอบครบทุกมหาวิทยาลัย สาเหตุที่ต้องเร่งรัดขอคำตอบจากมหาวิทยาลัย เพื่อให้ได้แอดมิชชั่นปี 2554 ได้ข้อสรุปโดยเร็ว จะได้แจ้งให้นักเรียนได้ทราบเพื่อเตรียมตัวต่อไป ทั้งนี้ ตนยังยืนยันที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยรับเด็กในระบบรับตรง และระบบแอดมิชชั่นกลาง ในสัดส่วน 50 : 50 เพื่อที่เด็กจะได้ไม่ต้องวิ่งรอกสอบ
ด้าน ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการประชุมร่วมกันของคณะวิชาของจุฬาฯ เกี่ยวกับสัดส่วน น้ำหนัก องค์ประกอบแอดมิชชั่นปี 2554 เพื่อเสนอต่อ ทปอ.นั้น ในส่วนของคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้สรุปที่จะเสนอขอเพิ่มค่าน้ำหนัก ในส่วนของแบบทดสอบความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์ หรือ PAT 2 จากเดิม กำหนดค่าน้ำหนัก 30% ขอเพิ่มเป็น 80-90% เพื่อให้ สามารถวัดเด็กที่มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์เข้าเรียน หาก ทปอ.เห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าว คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ก็ยินดีกลับเข้าไปใช้ระบบแอดมิชชั่นกลางในการคัดเลือกบุคคลเข้าเรียนต่อ หากไม่ได้รับความเห็นชอบ ก็จะใช้ระบบรับตรง
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวต่อว่า ส่วนข้อเสนอในการแยกข้อสอบ PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ ออกเป็น 3 วิชา ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา โดยสอบวิชาละ 100 ข้อนั้น ตนคิดว่าไม่ใช่แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง เพราะแม้ว่าจะมีการแยกข้อสอบ แต่ หากยังกำหนดค่าน้ำหนักเท่าเดิม ก็ไม่ได้ทำให้เราได้คนที่มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์เข้าเรียนเช่นเดิม
ผู้สื่อข่าวรายงาน จากข้อมูลการรับบุคคลเข้า ศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ในระบบรับตรงปี 2553 พบว่า มีมหาวิทยาลัยที่รับตรงมากขึ้น อาทิ คณะวิทยาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมหาวิทยาลัยที่ไม่ใช้การสอบ แบบทดสอบความถนัดทั่วไปหรือ GAT และแบบ ทดสอบความถนัดวิชาชีพ/วิชาการ หรือ PAT เป็นองค์ประกอบในระบบรับตรง ได้แก่ ม.มหิดล, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ม.เทคโนโลยีสุรนารี, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ส่วน ม.สงขลานครินทร์ ใช้เฉพาะ GAT.
นาย ชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ทปอ.ได้ส่งแบบสอบถามให้คณะวิชาของมหาวิทยาลัยต่างๆ พิจารณาว่าต้องการสัดส่วน น้ำหนัก องค์ ประกอบแอดมิชชั่นเท่าไร ซึ่งคาดว่าปลายเดือน เม.ย.นี้ น่าจะได้รับคำตอบครบทุกมหาวิทยาลัย สาเหตุที่ต้องเร่งรัดขอคำตอบจากมหาวิทยาลัย เพื่อให้ได้แอดมิชชั่นปี 2554 ได้ข้อสรุปโดยเร็ว จะได้แจ้งให้นักเรียนได้ทราบเพื่อเตรียมตัวต่อไป ทั้งนี้ ตนยังยืนยันที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยรับเด็กในระบบรับตรง และระบบแอดมิชชั่นกลาง ในสัดส่วน 50 : 50 เพื่อที่เด็กจะได้ไม่ต้องวิ่งรอกสอบ
ด้าน ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการประชุมร่วมกันของคณะวิชาของจุฬาฯ เกี่ยวกับสัดส่วน น้ำหนัก องค์ประกอบแอดมิชชั่นปี 2554 เพื่อเสนอต่อ ทปอ.นั้น ในส่วนของคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้สรุปที่จะเสนอขอเพิ่มค่าน้ำหนัก ในส่วนของแบบทดสอบความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์ หรือ PAT 2 จากเดิม กำหนดค่าน้ำหนัก 30% ขอเพิ่มเป็น 80-90% เพื่อให้ สามารถวัดเด็กที่มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์เข้าเรียน หาก ทปอ.เห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าว คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ก็ยินดีกลับเข้าไปใช้ระบบแอดมิชชั่นกลางในการคัดเลือกบุคคลเข้าเรียนต่อ หากไม่ได้รับความเห็นชอบ ก็จะใช้ระบบรับตรง
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวต่อว่า ส่วนข้อเสนอในการแยกข้อสอบ PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ ออกเป็น 3 วิชา ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา โดยสอบวิชาละ 100 ข้อนั้น ตนคิดว่าไม่ใช่แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง เพราะแม้ว่าจะมีการแยกข้อสอบ แต่ หากยังกำหนดค่าน้ำหนักเท่าเดิม ก็ไม่ได้ทำให้เราได้คนที่มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์เข้าเรียนเช่นเดิม
ผู้สื่อข่าวรายงาน จากข้อมูลการรับบุคคลเข้า ศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ในระบบรับตรงปี 2553 พบว่า มีมหาวิทยาลัยที่รับตรงมากขึ้น อาทิ คณะวิทยาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมหาวิทยาลัยที่ไม่ใช้การสอบ แบบทดสอบความถนัดทั่วไปหรือ GAT และแบบ ทดสอบความถนัดวิชาชีพ/วิชาการ หรือ PAT เป็นองค์ประกอบในระบบรับตรง ได้แก่ ม.มหิดล, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ม.เทคโนโลยีสุรนารี, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ส่วน ม.สงขลานครินทร์ ใช้เฉพาะ GAT.
สพฐ.คืนครูให้นร.-อุ้มบัณฑิตตกงานทำงานธุรการ-สมัครถึงเม.ย.นี้
สพฐ.เดินหน้าโครงการคืนครูให้นักเรียนสนองนโยบาย"ต้นกล้าอาชีพ" จ้างบัณฑิตตกงาน 14,532 อัตราเป็นเจ้าหน้าที่ธุรการชั่วคราว 5 เดือนตั้งแต่ 1 พ.ค.-30 ก.ย.ได้รับเงินเดือนตามวุฒิพร้อมค่าตอบแทนอีกเดือนละ 4,800 บาท สั่งเขตพื้นที่รับสมัครถึง 20 เม.ย.นี้
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้ลงนามในหนังสือด่วนที่สุดที่ศธ 04009/2171 เมื่อวันที่9 เมษายน2552 ถึง ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.สพท.) ทุกเขต/ผอ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ(สศศ.) ใจความว่าด้วยรัฐบาลได้ดำเนินโครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานหรือโครงการต้น กล้าอาชีพ ตามแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน ขณะเดียวกันสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เสนอโครงการคืนครูให้นักเรียนโดยมีการจ้างบุคคลเพื่อมาทำงานธุรการแทนครู ในจำนวน 14,532 อัตรา
ทั้งนี้ขอเรียนว่าสำนักงานโครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงาน ได้ขอความร่วมมือจาก สพฐ. ขอให้สพท.ช่วยรับเป็นจุดลงทะเบียนแก่ผู้จบการศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรีที่ ประสงค์จะทำงานในโรงเรียนในเขตพื้นที่นั้นๆพร้อมทั้งขอให้ สพท.เป็นผู้ประสานจัดส่งผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมไปยังโรงเรียนต่างๆในเขตพื้น ที่นั้นๆ เพื่อให้รับการฝึกงานเป็นเวลา 5 เดือนโดยคาดว่าจะเริ่มฝึกอบรมตั้งแต่วันที่ 1-16 พฤษภาคมเพื่อให้สามารถช่วยงานธุรการที่โรงเรียนได้ ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคมเป็นต้นไป
หนังสือดังกล่าวระบุด้วยว่าเพื่อให้โครงการคืนครูให้ นักเรียน ได้บรรจุผลตามนโยบาย ขอให้สพท./สศศ. และสถานศึกษาในสังกัดสศศ. ดำเนินการดังนี้1.ให้สพท./สศศ. รับสมัครผู้ที่จบปริญญาตรีทุกสาขาวิชาที่ประสงค์จะทำงานในโรงเรียนในเขตพื้น ที่นั้นๆระหว่างวันที่ 10-20 เมษายนตามจำนวนตำแหน่งที่ สพฐ.จัดสรร ให้หากมีผู้สมัครเกินจำนวนตำแหน่งที่รับจัดสรร ให้สพท./สศศ.ตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบคัดเลือกให้ได้เท่าจำนวนที่ได้รับจัดสรร 2.ขอให้สพท.เขต1 ของแต่ละจังหวัดเป็นแกนนำในการอบรมให้แก่ผู้ได้รับการคัดเลือก วันที่ 1-16 พฤษภาคม
3.ระยะเวลาการฝึกงานจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคมเป็นต้นไป 4.ให้สพท.และศูนย์การศึกษาพิเศษ/สถานศึกษาในสังกัดสศศ. ทำสัญญาจ้างผู้ได้รับการคัดเลือกและผ่านการอบรมแล้วเป็นลูกจ้างชั่วคราวด้วย เงินงบประมาณ 5.เนื่องจากอัตราจ้างที่รัฐจัดสรรให้ครั้งนี้มีจำนวนจำกัด จึงขอให้ทุกสพท./สศศ. วางแผนการใช้บุคลากรร่วมกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสพฐ.ได้ จัดสรรอัตราให้แก่สพท.ตามโครงการคืนครูให้นักเรียนจำนวน 14,532 อัตราโดย สพท.ที่ได้รับอัตรามากที่สุด5 อันดับได้แก่ สุรินทร์เขต 1 จำนวน 171 อัตราร้อยเอ็ดเขต 2 จำนวน 158 อัตรา สุรินทร์ เขต 3 จำนวน 135 อัตราอุบลราชธานี จำนวน 135 อัตราอุดรธานีเขต 1 จำนวน 130 อัตรา นครพนม เขต 1 จำนวน 130 อัตราจำแนกเป็นรายเขตพื้นที่ดังนี้ กทม.เขต1 58 ร.ร. 78 อัตราเขต2 43 ร.ร. 71 อัตราเขต3 54 ร.ร. 70 อัตรากระบี่ 242 ร.ร. 115 อัตรากาญจนบุรี เขต 1 160 ร.ร. 75 อัตราเขต2 111 ร.ร. 52 อัตราเขต3 85 ร.ร.45 อัตราเขต4 98 ร.ร. 46 อัตรากาฬสินธุ์เขต 1 201 ร.ร. 89 อัตราเขต2 189 ร.ร. 80 อัตราเขต3 216 ร.ร. 98 อัตรากำแพงเพชรเขต 1 226 ร.ร. 105 อัตรา
เขต2 198 ร.ร. 85 อัตราขอนแก่นเขต 1 188 ร.ร. 89 อัตราเขต2 224 ร.ร. 93 อัตราเขต3 211 ร.ร. 79 อัตราเขต4 196 ร.ร. 84 อัตราเขต5 282 ร.ร. 122 อัตราจันทบุรีเขต 1 98 ร.ร.51 อัตรา เขต 2 122 ร.ร. 59 อัตราฉะเชิงเทราเขต 1 167 ร.ร. 84 อัตราเขต2 172 ร.ร. 79 อัตราชลบุรีเขต 1 97 ร.ร. 60 อัตราเขต2 125 ร.ร.60 อัตราเขต3 94 ร.ร. 66 อัตราชัยนาท198 ร.ร. 81 อัตรา นราธิวาส เขต 1 157 ร.ร. 81 อัตรา เขต 2 124 ร.ร. 66 อัตราเขต3 78 ร.ร. 45 อัตราปัตตานีเขต 1 144 ร.ร. 78 อัตราเขต2 119 ร.ร. 57 อัตราเขต3 71 ร.ร. 32 อัตรา
ยะลาเขต 1 115 ร.ร. 58 อัตราเขต2 71 ร.ร. 39 อัตราเขต3 36 ร.ร. 18 อัตราสงขลาเขต 1 160 ร.ร. 78 อัตราเขต2 148 ร.ร. 78 อัตราเขต3 208 ร.ร. 104 อัตราสตูล 175 ร.ร. 85 อัตราชัยภูมิเขต 1 276 ร.ร. 118 อัตราเขต2 275 ร.ร.113 อัตราเขต3 197 ร.ร. 82 อัตราชุมพรเขต 1 138 ร.ร. 68 อัตราเขต2 138 ร.ร. 61 อัตราเชียงรายเขต 1 122 ร.ร. 58 อัตราเขต2 204 ร.ร. 83 อัตราเขต3 159 ร.ร. 80 อัตราเขต4 158 ร.ร. 70 อัตราเชียงใหม่เขต 1 125 ร.ร. 57 อัตราเขต2 147 ร.ร. 69 อัตราเขต3 160 ร.ร. 83 อัตราเขต4 122 ร.ร. 49 อัตราเขต5 102 ร.ร. 44 อัตราเขต6 91 ร.ร. 39 อัตรา
ตรังเขต 1 156 ร.ร. 76 อัตราเขต2 158 ร.ร. 76 อัตราตราด 127 ร.ร. 60 อัตราตากเขต 1 121 ร.ร. 53 อัตรา เขต 2 124 ร.ร. 75 อัตรานครนายก149 ร.ร. 65 อัตรานครปฐมเขต1 142 ร.ร. 83 อัตราเขต2 140 ร.ร. 76 อัตรานครพนมเขต 1 291 ร.ร. 130 อัตราเขต2 208 ร.ร. 95 อัตรานครราชสีมาเขต 1 158 ร.ร. 91 อัตราเขต2 182 ร.ร. 84 อัตราเขต3 191 ร.ร. 83 อัตราเขต4 189 ร.ร. 82 อัตราเขต5 229 ร.ร. 95 อัตราเขต6 190 ร.ร. 76 อัตราเขต7 237 ร.ร. 106 อัตรา
นครศรีธรรมราชเขต 1 144 ร.ร. 69 อัตราเขต2 227 ร.ร. 102 อัตราเขต3 281 ร.ร. 114 อัตราเขต4 158 ร.ร. 75 อัตรานครสวรรค์เขต 1 194 ร.ร. 80 อัตราเขต2 155 ร.ร. 66 อัตราเขต3 229 ร.ร. 86 อัตรานนทบุรีเขต1 57 ร.ร. 46 อัตราเขต2 93 ร.ร. 62 น่านเขต 1 224 ร.ร. 85 อัตราเขต2 166 ร.ร. 66 อัตราบุรีรัมย์เขต 1 219 ร.ร. 109 อัตราเขต2 244 ร.ร. 126 อัตราเขต3 237 ร.ร. 122 อัตราเขต4 208 ร.ร. 99 อัตรา
ปทุมธานีเขต 1 118 ร.ร. 80 อัตราเขต2 76 ร.ร. 54 อัตราประจวบคีรีขันธ์เขต 1 131 ร.ร. 61 อัตราเขต2 104 ร.ร. 47 อัตราปราจีนบุรีเขต 1 147 ร.ร. 62 อัตราเขต2 121 ร.ร. 51 อัตราพระนครศรีอยุธยาเขต 1 214 ร.ร. 102 อัตราเขต2 187 ร.ร. 84 อัตราพะเยาเขต 1 125 ร.ร. 51 อัตราเขต2 149 ร.ร. 61 อัตรา
พังงา176 ร.ร. 73 อัตราพัทลุงเขต1 144 ร.ร. 68 อัตราเขต2 131 ร.ร. 65 อัตราพิจิตรเขต 1 191 ร.ร. 74 อัตราเขต2 175 ร.ร. 69 อัตราพิษณุโลกเขต 1 148 ร.ร. 71 อัตราเขต2 150 ร.ร. 63 อัตราเขต3 182 ร.ร. 75 อัตราเพชรบุรีเขต 1 119 ร.ร. 50 อัตราเขต2 138 ร.ร. 54 อัตราเพชรบูรณ์เขต 1 174 ร.ร. 72 อัตราเขต2 169 ร.ร. 69 อัตราเขต3 218 ร.ร. 94 อัตราแพร่เขต 1 142 ร.ร. 57 อัตราเขต2 135 ร.ร. 49 อัตราภูเก็ต 57 ร.ร. 38 อัตรา
มหาสารคาม เขต 1 219 ร.ร. 94 อัตราเขต2 232 ร.ร. 99 อัตราเขต3 158 ร.ร. 64 อัตรามุกดาหาร273 ร.ร. 117 อัตราแม่ฮ่องสอนเขต 1 138 ร.ร. 54 อัตราเขต2 174 ร.ร. 60 อัตรายโสธรเขต 1 204 ร.ร. 85 อัตราเขต2 204 ร.ร. 82 อัตราร้อยเอ็ดเขต 1 256 ร.ร. 107 อัตราเขต2 365 ร.ร. 158 อัตราเขต3 213 ร.ร. 101 อัตราระนอง 94 ร.ร. 46 อัตราระยองเขต 1 130 ร.ร. 86 อัตราเขต2 97 ร.ร. 49 อัตราราชบุรีเขต 1 194 ร.ร. 89 อัตราเขต2 169 ร.ร. 82 อัตรา
ลพบุรีเขต 1 205 ร.ร. 88 อัตราเขต2 173 ร.ร. 73 อัตราลำปางเขต 1 157 ร.ร. 64 อัตราเขต2 168 ร.ร. 64 อัตราเขต3 102 ร.ร. 36 อัตราลำพูนเขต 1 156 ร.ร. 59 อัตราเขต2 113 ร.ร. 42 อัตราเลยเขต 1 185 ร.ร. 76 อัตราเขต 2 178 ร.ร. 76 อัตราเขต3 132 ร.ร. 45 อัตราศรีสะเกษเขต 1 280 ร.ร. 123 อัตราเขต2 199 ร.ร. 86 อัตราเขต3 215 ร.ร. 101 อัตราเขต4 216 ร.ร. 105 อัตราสกลนครเขต 1 172 ร.ร. 91 อัตราเขต2 264 ร.ร. 121 อัตราเขต3 220 ร.ร. 105 อัตราสมุทรปราการเขต 1 87 ร.ร. 75 อัตราเขต2 81 ร.ร. 56 อัตราสมุทรสงคราม 85 ร.ร. 38 อัตราสมุทรสาคร 116 ร.ร. 76 อัตรา
สระแก้วเขต 1 153 ร.ร. 75 อัตราเขต2 139 ร.ร. 65 อัตราสระบุรีเขต 1 139 ร.ร. 64 อัตราเขต2 155 ร.ร. 73 อัตราสิงห์บุรี136 ร.ร. 56 อัตราสุโขทัยเขต 1 153 ร.ร. 66 อัตราเขต2 200 ร.ร. 80 อัตราสุพรรณบุรีเขต 1 159 ร.ร. 72 อัตราเขต2 149 ร.ร. 68 อัตราเขต3 140 ร.ร. 58 อัตราสุราษฎร์ธานีเขต 1 148 ร.ร. 76 อัตราเขต2 222 ร.ร. 94 อัตราเขต3 179 ร.ร. 80 อัตราสุรินทร์เขต 1 337 ร.ร. 171 อัตรา เขต 2 246 ร.ร. 112 อัตราเขต3 256 ร.ร. 135 อัตราหนองคายเขต 1 176 ร.ร. 84 อัตราเขต2 173 ร.ร. 84 อัตราเขต3 176 ร.ร. 89 อัตราหนองบัวลำภูเขต 1 220 ร.ร. 94 อัตราเขต2 111 ร.ร. 55 อัตรา
อ่างทอง 168 ร.ร. 69 อัตราอำนาจเจริญ282 ร.ร. 120 อัตราอุดรธานีเขต 1 261 ร.ร. 130 อัตรา เขต 2 216 ร.ร. 93 อัตราเขต3 228 ร.ร. 105 อัตราเขต4 166 ร.ร. 75 อัตราอุตรดิตถ์เขต 1 195 ร.ร. 80 อัตราเขต2 107 ร.ร. 39 อัตราอุทัยธานีเขต 1 102 ร.ร. 38 อัตราเขต2 143 ร.ร. 61 อัตราอุบลราชธานีเขต 1 275 ร.ร. 117 อัตราเขต2 228 ร.ร. 95 อัตราเขต3 216 ร.ร. 98 อัตราเขต4 155 ร.ร. 69 อัตราเขต5 271 ร.ร. 135 อัตราสศศ.(76 ศูนย์/92ร.ร.) 168 ร.ร. 168 อัตรา
นายพิษณุ ตุลสุข ผอ.สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า โครงการนี้จะมีการฝึกอบรมและปฏิบัติจริงโดยใช้เวลา 5 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม-30 กันยายนนี้ ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่อบรมและการปฏิบัติงานจริงทุกคนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับค่า ตอบแทนคนละ 4,800 บาทต่อเดือนหลังจากนั้นจะมีการคัดกรองโดยผู้ที่ผ่านการคัดกรองจะได้รับการทำ สัญญาเป็นลูกจ้างชั่วคราวในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรการโดยได้รับเงินเดือนตาม วุฒิการศึกษา
"หากทุกคนผ่านการคัดกรองก็จะได้ทำสัญญาทั้ง 14,532 คน เพื่อให้ครูที่ทำหน้าที่ธุรการในปัจจุบันจะได้กลับไปสอนหนังสือ ขอย้ำเขตพื้นที่ทุกเขตช่วงหยุดสงกรานต์ ก็ขอให้เปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการซึ่งเป็นบัณฑิตปริญญาตรี แต่ยังไม่มีงานทำตั้งแต่วันที่ 10- 20 เมษายนนี้" นายพิษณุกล่าว
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้ลงนามในหนังสือด่วนที่สุดที่ศธ 04009/2171 เมื่อวันที่9 เมษายน2552 ถึง ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.สพท.) ทุกเขต/ผอ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ(สศศ.) ใจความว่าด้วยรัฐบาลได้ดำเนินโครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานหรือโครงการต้น กล้าอาชีพ ตามแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน ขณะเดียวกันสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เสนอโครงการคืนครูให้นักเรียนโดยมีการจ้างบุคคลเพื่อมาทำงานธุรการแทนครู ในจำนวน 14,532 อัตรา
ทั้งนี้ขอเรียนว่าสำนักงานโครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงาน ได้ขอความร่วมมือจาก สพฐ. ขอให้สพท.ช่วยรับเป็นจุดลงทะเบียนแก่ผู้จบการศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรีที่ ประสงค์จะทำงานในโรงเรียนในเขตพื้นที่นั้นๆพร้อมทั้งขอให้ สพท.เป็นผู้ประสานจัดส่งผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมไปยังโรงเรียนต่างๆในเขตพื้น ที่นั้นๆ เพื่อให้รับการฝึกงานเป็นเวลา 5 เดือนโดยคาดว่าจะเริ่มฝึกอบรมตั้งแต่วันที่ 1-16 พฤษภาคมเพื่อให้สามารถช่วยงานธุรการที่โรงเรียนได้ ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคมเป็นต้นไป
หนังสือดังกล่าวระบุด้วยว่าเพื่อให้โครงการคืนครูให้ นักเรียน ได้บรรจุผลตามนโยบาย ขอให้สพท./สศศ. และสถานศึกษาในสังกัดสศศ. ดำเนินการดังนี้1.ให้สพท./สศศ. รับสมัครผู้ที่จบปริญญาตรีทุกสาขาวิชาที่ประสงค์จะทำงานในโรงเรียนในเขตพื้น ที่นั้นๆระหว่างวันที่ 10-20 เมษายนตามจำนวนตำแหน่งที่ สพฐ.จัดสรร ให้หากมีผู้สมัครเกินจำนวนตำแหน่งที่รับจัดสรร ให้สพท./สศศ.ตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบคัดเลือกให้ได้เท่าจำนวนที่ได้รับจัดสรร 2.ขอให้สพท.เขต1 ของแต่ละจังหวัดเป็นแกนนำในการอบรมให้แก่ผู้ได้รับการคัดเลือก วันที่ 1-16 พฤษภาคม
3.ระยะเวลาการฝึกงานจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคมเป็นต้นไป 4.ให้สพท.และศูนย์การศึกษาพิเศษ/สถานศึกษาในสังกัดสศศ. ทำสัญญาจ้างผู้ได้รับการคัดเลือกและผ่านการอบรมแล้วเป็นลูกจ้างชั่วคราวด้วย เงินงบประมาณ 5.เนื่องจากอัตราจ้างที่รัฐจัดสรรให้ครั้งนี้มีจำนวนจำกัด จึงขอให้ทุกสพท./สศศ. วางแผนการใช้บุคลากรร่วมกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสพฐ.ได้ จัดสรรอัตราให้แก่สพท.ตามโครงการคืนครูให้นักเรียนจำนวน 14,532 อัตราโดย สพท.ที่ได้รับอัตรามากที่สุด5 อันดับได้แก่ สุรินทร์เขต 1 จำนวน 171 อัตราร้อยเอ็ดเขต 2 จำนวน 158 อัตรา สุรินทร์ เขต 3 จำนวน 135 อัตราอุบลราชธานี จำนวน 135 อัตราอุดรธานีเขต 1 จำนวน 130 อัตรา นครพนม เขต 1 จำนวน 130 อัตราจำแนกเป็นรายเขตพื้นที่ดังนี้ กทม.เขต1 58 ร.ร. 78 อัตราเขต2 43 ร.ร. 71 อัตราเขต3 54 ร.ร. 70 อัตรากระบี่ 242 ร.ร. 115 อัตรากาญจนบุรี เขต 1 160 ร.ร. 75 อัตราเขต2 111 ร.ร. 52 อัตราเขต3 85 ร.ร.45 อัตราเขต4 98 ร.ร. 46 อัตรากาฬสินธุ์เขต 1 201 ร.ร. 89 อัตราเขต2 189 ร.ร. 80 อัตราเขต3 216 ร.ร. 98 อัตรากำแพงเพชรเขต 1 226 ร.ร. 105 อัตรา
เขต2 198 ร.ร. 85 อัตราขอนแก่นเขต 1 188 ร.ร. 89 อัตราเขต2 224 ร.ร. 93 อัตราเขต3 211 ร.ร. 79 อัตราเขต4 196 ร.ร. 84 อัตราเขต5 282 ร.ร. 122 อัตราจันทบุรีเขต 1 98 ร.ร.51 อัตรา เขต 2 122 ร.ร. 59 อัตราฉะเชิงเทราเขต 1 167 ร.ร. 84 อัตราเขต2 172 ร.ร. 79 อัตราชลบุรีเขต 1 97 ร.ร. 60 อัตราเขต2 125 ร.ร.60 อัตราเขต3 94 ร.ร. 66 อัตราชัยนาท198 ร.ร. 81 อัตรา นราธิวาส เขต 1 157 ร.ร. 81 อัตรา เขต 2 124 ร.ร. 66 อัตราเขต3 78 ร.ร. 45 อัตราปัตตานีเขต 1 144 ร.ร. 78 อัตราเขต2 119 ร.ร. 57 อัตราเขต3 71 ร.ร. 32 อัตรา
ยะลาเขต 1 115 ร.ร. 58 อัตราเขต2 71 ร.ร. 39 อัตราเขต3 36 ร.ร. 18 อัตราสงขลาเขต 1 160 ร.ร. 78 อัตราเขต2 148 ร.ร. 78 อัตราเขต3 208 ร.ร. 104 อัตราสตูล 175 ร.ร. 85 อัตราชัยภูมิเขต 1 276 ร.ร. 118 อัตราเขต2 275 ร.ร.113 อัตราเขต3 197 ร.ร. 82 อัตราชุมพรเขต 1 138 ร.ร. 68 อัตราเขต2 138 ร.ร. 61 อัตราเชียงรายเขต 1 122 ร.ร. 58 อัตราเขต2 204 ร.ร. 83 อัตราเขต3 159 ร.ร. 80 อัตราเขต4 158 ร.ร. 70 อัตราเชียงใหม่เขต 1 125 ร.ร. 57 อัตราเขต2 147 ร.ร. 69 อัตราเขต3 160 ร.ร. 83 อัตราเขต4 122 ร.ร. 49 อัตราเขต5 102 ร.ร. 44 อัตราเขต6 91 ร.ร. 39 อัตรา
ตรังเขต 1 156 ร.ร. 76 อัตราเขต2 158 ร.ร. 76 อัตราตราด 127 ร.ร. 60 อัตราตากเขต 1 121 ร.ร. 53 อัตรา เขต 2 124 ร.ร. 75 อัตรานครนายก149 ร.ร. 65 อัตรานครปฐมเขต1 142 ร.ร. 83 อัตราเขต2 140 ร.ร. 76 อัตรานครพนมเขต 1 291 ร.ร. 130 อัตราเขต2 208 ร.ร. 95 อัตรานครราชสีมาเขต 1 158 ร.ร. 91 อัตราเขต2 182 ร.ร. 84 อัตราเขต3 191 ร.ร. 83 อัตราเขต4 189 ร.ร. 82 อัตราเขต5 229 ร.ร. 95 อัตราเขต6 190 ร.ร. 76 อัตราเขต7 237 ร.ร. 106 อัตรา
นครศรีธรรมราชเขต 1 144 ร.ร. 69 อัตราเขต2 227 ร.ร. 102 อัตราเขต3 281 ร.ร. 114 อัตราเขต4 158 ร.ร. 75 อัตรานครสวรรค์เขต 1 194 ร.ร. 80 อัตราเขต2 155 ร.ร. 66 อัตราเขต3 229 ร.ร. 86 อัตรานนทบุรีเขต1 57 ร.ร. 46 อัตราเขต2 93 ร.ร. 62 น่านเขต 1 224 ร.ร. 85 อัตราเขต2 166 ร.ร. 66 อัตราบุรีรัมย์เขต 1 219 ร.ร. 109 อัตราเขต2 244 ร.ร. 126 อัตราเขต3 237 ร.ร. 122 อัตราเขต4 208 ร.ร. 99 อัตรา
ปทุมธานีเขต 1 118 ร.ร. 80 อัตราเขต2 76 ร.ร. 54 อัตราประจวบคีรีขันธ์เขต 1 131 ร.ร. 61 อัตราเขต2 104 ร.ร. 47 อัตราปราจีนบุรีเขต 1 147 ร.ร. 62 อัตราเขต2 121 ร.ร. 51 อัตราพระนครศรีอยุธยาเขต 1 214 ร.ร. 102 อัตราเขต2 187 ร.ร. 84 อัตราพะเยาเขต 1 125 ร.ร. 51 อัตราเขต2 149 ร.ร. 61 อัตรา
พังงา176 ร.ร. 73 อัตราพัทลุงเขต1 144 ร.ร. 68 อัตราเขต2 131 ร.ร. 65 อัตราพิจิตรเขต 1 191 ร.ร. 74 อัตราเขต2 175 ร.ร. 69 อัตราพิษณุโลกเขต 1 148 ร.ร. 71 อัตราเขต2 150 ร.ร. 63 อัตราเขต3 182 ร.ร. 75 อัตราเพชรบุรีเขต 1 119 ร.ร. 50 อัตราเขต2 138 ร.ร. 54 อัตราเพชรบูรณ์เขต 1 174 ร.ร. 72 อัตราเขต2 169 ร.ร. 69 อัตราเขต3 218 ร.ร. 94 อัตราแพร่เขต 1 142 ร.ร. 57 อัตราเขต2 135 ร.ร. 49 อัตราภูเก็ต 57 ร.ร. 38 อัตรา
มหาสารคาม เขต 1 219 ร.ร. 94 อัตราเขต2 232 ร.ร. 99 อัตราเขต3 158 ร.ร. 64 อัตรามุกดาหาร273 ร.ร. 117 อัตราแม่ฮ่องสอนเขต 1 138 ร.ร. 54 อัตราเขต2 174 ร.ร. 60 อัตรายโสธรเขต 1 204 ร.ร. 85 อัตราเขต2 204 ร.ร. 82 อัตราร้อยเอ็ดเขต 1 256 ร.ร. 107 อัตราเขต2 365 ร.ร. 158 อัตราเขต3 213 ร.ร. 101 อัตราระนอง 94 ร.ร. 46 อัตราระยองเขต 1 130 ร.ร. 86 อัตราเขต2 97 ร.ร. 49 อัตราราชบุรีเขต 1 194 ร.ร. 89 อัตราเขต2 169 ร.ร. 82 อัตรา
ลพบุรีเขต 1 205 ร.ร. 88 อัตราเขต2 173 ร.ร. 73 อัตราลำปางเขต 1 157 ร.ร. 64 อัตราเขต2 168 ร.ร. 64 อัตราเขต3 102 ร.ร. 36 อัตราลำพูนเขต 1 156 ร.ร. 59 อัตราเขต2 113 ร.ร. 42 อัตราเลยเขต 1 185 ร.ร. 76 อัตราเขต 2 178 ร.ร. 76 อัตราเขต3 132 ร.ร. 45 อัตราศรีสะเกษเขต 1 280 ร.ร. 123 อัตราเขต2 199 ร.ร. 86 อัตราเขต3 215 ร.ร. 101 อัตราเขต4 216 ร.ร. 105 อัตราสกลนครเขต 1 172 ร.ร. 91 อัตราเขต2 264 ร.ร. 121 อัตราเขต3 220 ร.ร. 105 อัตราสมุทรปราการเขต 1 87 ร.ร. 75 อัตราเขต2 81 ร.ร. 56 อัตราสมุทรสงคราม 85 ร.ร. 38 อัตราสมุทรสาคร 116 ร.ร. 76 อัตรา
สระแก้วเขต 1 153 ร.ร. 75 อัตราเขต2 139 ร.ร. 65 อัตราสระบุรีเขต 1 139 ร.ร. 64 อัตราเขต2 155 ร.ร. 73 อัตราสิงห์บุรี136 ร.ร. 56 อัตราสุโขทัยเขต 1 153 ร.ร. 66 อัตราเขต2 200 ร.ร. 80 อัตราสุพรรณบุรีเขต 1 159 ร.ร. 72 อัตราเขต2 149 ร.ร. 68 อัตราเขต3 140 ร.ร. 58 อัตราสุราษฎร์ธานีเขต 1 148 ร.ร. 76 อัตราเขต2 222 ร.ร. 94 อัตราเขต3 179 ร.ร. 80 อัตราสุรินทร์เขต 1 337 ร.ร. 171 อัตรา เขต 2 246 ร.ร. 112 อัตราเขต3 256 ร.ร. 135 อัตราหนองคายเขต 1 176 ร.ร. 84 อัตราเขต2 173 ร.ร. 84 อัตราเขต3 176 ร.ร. 89 อัตราหนองบัวลำภูเขต 1 220 ร.ร. 94 อัตราเขต2 111 ร.ร. 55 อัตรา
อ่างทอง 168 ร.ร. 69 อัตราอำนาจเจริญ282 ร.ร. 120 อัตราอุดรธานีเขต 1 261 ร.ร. 130 อัตรา เขต 2 216 ร.ร. 93 อัตราเขต3 228 ร.ร. 105 อัตราเขต4 166 ร.ร. 75 อัตราอุตรดิตถ์เขต 1 195 ร.ร. 80 อัตราเขต2 107 ร.ร. 39 อัตราอุทัยธานีเขต 1 102 ร.ร. 38 อัตราเขต2 143 ร.ร. 61 อัตราอุบลราชธานีเขต 1 275 ร.ร. 117 อัตราเขต2 228 ร.ร. 95 อัตราเขต3 216 ร.ร. 98 อัตราเขต4 155 ร.ร. 69 อัตราเขต5 271 ร.ร. 135 อัตราสศศ.(76 ศูนย์/92ร.ร.) 168 ร.ร. 168 อัตรา
นายพิษณุ ตุลสุข ผอ.สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า โครงการนี้จะมีการฝึกอบรมและปฏิบัติจริงโดยใช้เวลา 5 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม-30 กันยายนนี้ ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่อบรมและการปฏิบัติงานจริงทุกคนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับค่า ตอบแทนคนละ 4,800 บาทต่อเดือนหลังจากนั้นจะมีการคัดกรองโดยผู้ที่ผ่านการคัดกรองจะได้รับการทำ สัญญาเป็นลูกจ้างชั่วคราวในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรการโดยได้รับเงินเดือนตาม วุฒิการศึกษา
"หากทุกคนผ่านการคัดกรองก็จะได้ทำสัญญาทั้ง 14,532 คน เพื่อให้ครูที่ทำหน้าที่ธุรการในปัจจุบันจะได้กลับไปสอนหนังสือ ขอย้ำเขตพื้นที่ทุกเขตช่วงหยุดสงกรานต์ ก็ขอให้เปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการซึ่งเป็นบัณฑิตปริญญาตรี แต่ยังไม่มีงานทำตั้งแต่วันที่ 10- 20 เมษายนนี้" นายพิษณุกล่าว
Friday, April 10, 2009
โพลล์ชี้ร.ร.งงแจกตำราเก่า-ใหม่95%ปชช.พอใจเรียนฟรี15 ปี-แนะปฏิรูปรอบเน้นวิชาการ
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลเผยคนกรุงอยากเห็นปฏิรูปรอบ 2 เน้นพัฒนาคุณภาพวิชาการโวยการเรียนการสอนในโรงเรียนไม่พอ แต่ 95% หนุนเรียนฟรี 15 ปีทุกรัฐบาลควรสานต่อ ขณะที่ ร.ร.งงแจกตำราเก่า-ใหม่มั่ว แถมยังต้องหาเงินค่าถ่ายเอกสาร
เมื่อวันที่8 เมษายนที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) ธุรกิจบัณฑิตย์โพลศูนย์วิจัย มธบ. แถลงผลการวิจัยปฏิรูปการศึกษาโพล โดยศ.ดร.ไพฑูรย์สินลารัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย เปิดเผยว่า จากผลวิจัยโพลล์ปฏิรูปการศึกษาของธุรกิจบัณฑิตย์โพล สำรวจชาวกรุงเทพมหานครจำนวน 1,358 คน พบว่า 46.38% อยากให้รัฐบาลปฏิรูปการศึกษารอบ 2 เน้นที่คุณภาพทางวิชาการของนักเรียนมากที่สุด ตามด้วยพัฒนาคุณภาพครู แต่มองว่าการกวดวิชาจำเป็น เพราะเรียนในโรงเรียนไม่เพียงพอ
ส่วนเรื่องของนโยบายเรียนฟรี15 ปีอย่างมีคุณภาพนั้น พบว่า 95.92% อยากให้รัฐบาลทุกชุดใช้นโยบายเรียนฟรี15 ปีตลอดไป 18.12% อยากเห็นคุณภาพครูดีขึ้น12.44% การจ่ายค่าแป๊ะเจี๊ยะลดลง 8.10% ลดการกวดวิชา
รศ.ดร.สรชัยพิศาลบุตร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย มธบ. กล่าวว่าผลการสำรวจความคิดเห็นของครูผู้สอนในโรงเรียนนำร่องหลักสูตรใหม่ 2551 จำนวน245 คนจาก 65 โรงเรียนทั่วประเทศนั้นพบว่าครูในโรงเรียนเอกชน และโรงเรียนรัฐบาลรับทราบเรื่องการบังคับใช้หนังสือเรียนหลักสูตรเก่าในปี การศึกษา 2552 ถึง 88% และ77% ตามลำดับขณะที่ครูโรงเรียนสาธิตทราบทุกคน โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยทราบมากที่สุด 88.24% ส่วนครูกลุ่มการงานอาชีพฯทราบน้อยที่สุด
"ปัญหาที่ครูกังวลมากที่สุด คือ เรื่องวิธีการแจกหนังสือเรียน โดยเฉพาะในกลุ่มภาษาอังกฤษ เนื่องจากกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษในหลักสูตรใหม่ แตกต่างจากตำราเรียนหลักสูตรเก่า ทำให้ครูไม่รู้ว่าจะแจกหนังสือเรียนเด็กได้อย่างไร ทั้งนี้ 84% ต้องการให้โรงเรียนมีอิสระในการเลือกใช้หลักสูตรและ 83% เห็นควรให้โรงเรียนที่ยังคงเปิดสอนหลักสูตรเก่ามีอิสระในการเลือกใช้หนังสือ เรียนได้เช่น วิชาที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรมากควรใช้ตำราเรียนหลักสูตรใหม่ ส่วนวิชาที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยควรใช้ตำราเรียนเก่า" รศ.ดร.สรชัย กล่าว
รศ.ดร.สรชัยกล่าวต่อว่า การแก้ปัญหาของรัฐบาล ที่จะให้โรงเรียนที่ใช้ตำราเรียนเก่านั้น ถ่ายเอกสารตามเนื้อหาตำราเรียนใหม่ หรือเอาเนื้อหาขึ้นเว็บไซต์ ไม่สามารถแก้ปัญหาเพิ่มองค์ความรู้ตามหลักสูตรใหม่ของเด็กได้อย่างทั่วถึง เพราะนอกจากจะทำให้เด็กกลุ่มที่ใช้ตำราเรียนเก่าไม่สามารถคิดวิเคราะห์ มีคุณธรรมจริยธรรม ตามตำราเรียนใหม่ได้แล้ว ยังสร้างภาระให้แก่ครูผู้สอนมากมาย ดังนั้นรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรรีบตรวจตำราเรียนหลักสูตรใหม่ และกระจายให้แก่ทุกโรงเรียนได้ใช้ตำราเรียนใหม่เหมือนกันหมด
เมื่อวันที่8 เมษายนที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) ธุรกิจบัณฑิตย์โพลศูนย์วิจัย มธบ. แถลงผลการวิจัยปฏิรูปการศึกษาโพล โดยศ.ดร.ไพฑูรย์สินลารัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย เปิดเผยว่า จากผลวิจัยโพลล์ปฏิรูปการศึกษาของธุรกิจบัณฑิตย์โพล สำรวจชาวกรุงเทพมหานครจำนวน 1,358 คน พบว่า 46.38% อยากให้รัฐบาลปฏิรูปการศึกษารอบ 2 เน้นที่คุณภาพทางวิชาการของนักเรียนมากที่สุด ตามด้วยพัฒนาคุณภาพครู แต่มองว่าการกวดวิชาจำเป็น เพราะเรียนในโรงเรียนไม่เพียงพอ
ส่วนเรื่องของนโยบายเรียนฟรี15 ปีอย่างมีคุณภาพนั้น พบว่า 95.92% อยากให้รัฐบาลทุกชุดใช้นโยบายเรียนฟรี15 ปีตลอดไป 18.12% อยากเห็นคุณภาพครูดีขึ้น12.44% การจ่ายค่าแป๊ะเจี๊ยะลดลง 8.10% ลดการกวดวิชา
รศ.ดร.สรชัยพิศาลบุตร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย มธบ. กล่าวว่าผลการสำรวจความคิดเห็นของครูผู้สอนในโรงเรียนนำร่องหลักสูตรใหม่ 2551 จำนวน245 คนจาก 65 โรงเรียนทั่วประเทศนั้นพบว่าครูในโรงเรียนเอกชน และโรงเรียนรัฐบาลรับทราบเรื่องการบังคับใช้หนังสือเรียนหลักสูตรเก่าในปี การศึกษา 2552 ถึง 88% และ77% ตามลำดับขณะที่ครูโรงเรียนสาธิตทราบทุกคน โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยทราบมากที่สุด 88.24% ส่วนครูกลุ่มการงานอาชีพฯทราบน้อยที่สุด
"ปัญหาที่ครูกังวลมากที่สุด คือ เรื่องวิธีการแจกหนังสือเรียน โดยเฉพาะในกลุ่มภาษาอังกฤษ เนื่องจากกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษในหลักสูตรใหม่ แตกต่างจากตำราเรียนหลักสูตรเก่า ทำให้ครูไม่รู้ว่าจะแจกหนังสือเรียนเด็กได้อย่างไร ทั้งนี้ 84% ต้องการให้โรงเรียนมีอิสระในการเลือกใช้หลักสูตรและ 83% เห็นควรให้โรงเรียนที่ยังคงเปิดสอนหลักสูตรเก่ามีอิสระในการเลือกใช้หนังสือ เรียนได้เช่น วิชาที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรมากควรใช้ตำราเรียนหลักสูตรใหม่ ส่วนวิชาที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยควรใช้ตำราเรียนเก่า" รศ.ดร.สรชัย กล่าว
รศ.ดร.สรชัยกล่าวต่อว่า การแก้ปัญหาของรัฐบาล ที่จะให้โรงเรียนที่ใช้ตำราเรียนเก่านั้น ถ่ายเอกสารตามเนื้อหาตำราเรียนใหม่ หรือเอาเนื้อหาขึ้นเว็บไซต์ ไม่สามารถแก้ปัญหาเพิ่มองค์ความรู้ตามหลักสูตรใหม่ของเด็กได้อย่างทั่วถึง เพราะนอกจากจะทำให้เด็กกลุ่มที่ใช้ตำราเรียนเก่าไม่สามารถคิดวิเคราะห์ มีคุณธรรมจริยธรรม ตามตำราเรียนใหม่ได้แล้ว ยังสร้างภาระให้แก่ครูผู้สอนมากมาย ดังนั้นรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรรีบตรวจตำราเรียนหลักสูตรใหม่ และกระจายให้แก่ทุกโรงเรียนได้ใช้ตำราเรียนใหม่เหมือนกันหมด
ยัน สพฐ.ไม่ได้นิ่งเฉยทุจริตย้ายครู
ตาม ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ระบุว่า ได้แจ้งเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการโยกย้ายครูและผู้บริหารสถานศึกษาไม่เป็น ธรรม ในบางเขตพื้นที่การศึกษามายังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แต่กลับนิ่งเฉยนั้น คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ตั้งแต่เริ่มตั้ง สพฐ. จนถึงปัจจุบันมีเรื่องที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินแจ้งมายัง สพฐ.78 เรื่อง แต่เป็นเรื่องที่ สพฐ.มีอำนาจดำเนินการได้เพียง 21 เรื่อง คือ เป็นเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และรอง ผอ.สพท.เท่านั้น หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ ผอ.โรงเรียนและครู สพฐ.จะแจ้งให้สพท.นั้นๆไปดำเนินการ ส่วนการสอบวินัยร้ายแรงใน 4 เขตพื้นที่ฯ เกี่ยวกับการบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย รวมทั้งเรื่องวิทยฐานะนั้น เป็นเรื่องที่ทาง สพฐ. ได้รับร้องเรียนมาและลงไปตรวจสอบเอง ทั้งนี้ ทุกครั้งที่ สพฐ. ได้รับเรื่องร้องเรียน หากพบว่ามีมูลก็จะส่งทีมงานลงไปตรวจสอบทันที ยืนยันว่าไม่ได้นิ่งเฉย แต่ไม่ต้องการให้เป็นข่าว ทั้งนี้ ยอมรับว่าการดำเนินงานของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ยังคงมีปัญหาอยู่ แต่เป็นเฉพาะบางเขตพื้นที่ฯ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ฯที่ยังไม่มี ผอ.สพท.ตัวจริงทำให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ฯแทรกแซงการทำงานในเขตพื้นที่ฯได้
“หลาย เรื่องที่มีผู้ร้องเรียนเกิดจากความไม่ เข้าใจว่า อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ตัดสินใจอะไร เพราะอะไร บางครั้งก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง ซึ่ง สพฐ. ก็ได้มีการจัดคณะทำงานลงไปชี้แจงยังพื้นที่ต่างๆ 19 จุดทั่วประเทศ เพื่อสร้างความเข้าใจในการทำหน้าที่ของ อ. ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯแล้ว นอกจากนี้ สพฐ.ยังมี คณะที่ปรึกษาที่แต่งตั้งมาจากอดีต ผอ.โรงเรียน เพื่อคอยลงพื้นที่ไปไกล่เกลี่ยหากเกิดความขัดแย้งกันในระดับโรงเรียนด้วย” คุณหญิงกษมากล่าว.
“หลาย เรื่องที่มีผู้ร้องเรียนเกิดจากความไม่ เข้าใจว่า อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ตัดสินใจอะไร เพราะอะไร บางครั้งก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง ซึ่ง สพฐ. ก็ได้มีการจัดคณะทำงานลงไปชี้แจงยังพื้นที่ต่างๆ 19 จุดทั่วประเทศ เพื่อสร้างความเข้าใจในการทำหน้าที่ของ อ. ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯแล้ว นอกจากนี้ สพฐ.ยังมี คณะที่ปรึกษาที่แต่งตั้งมาจากอดีต ผอ.โรงเรียน เพื่อคอยลงพื้นที่ไปไกล่เกลี่ยหากเกิดความขัดแย้งกันในระดับโรงเรียนด้วย” คุณหญิงกษมากล่าว.
สทศ.ประกาศวันสมัครสอบ GAT-PAT
ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยว่า จากการที่ สทศ.จัดการสอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 2 เดือน ก.ค. 2552 สทศ.เปิดโอกาสให้ผู้ที่สมัครสอบแล้วและจะสมัครใหม่ เลือกสนามสอบได้ด้วยตนเองในวันที่ 20 เม.ย.ถึงวันที่ 10 พ.ค.นี้ แบ่งผู้สมัครออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก สมัครสอบแล้วและไม่ประสงค์จะสมัครเพิ่มวิชา ให้เลือกสนามสอบวันที่ 20 เม.ย.ถึง 12 พ.ค. กลุ่มที่ 2 เคยสมัครแล้วและต้องการเพิ่มวิชาสอบ สมัครได้วันที่ 20 เม.ย.ถึง 2 พ.ค. เลือกสนามสอบวันที่ 20 เม.ย.ถึง 12 พ.ค. โดยกลุ่มที่ 1 และ 2 จะแบ่งวันเลือกสนามสอบตามพื้นที่ ดังนี้ กรุงเทพฯ เลือกสนามสอบวันที่ 20-21 เม.ย. ภาคกลาง ได้แก่ จ.พระนครศรีอยุธยา, อ่างทอง, ลพบุรี, สิงห์บุรี, ชัยนาท, นครนายก, สระบุรี, นครสวรรค์, อุทัยธานี, กำแพงเพชร, สุโขทัย, พิษณุโลก, พิจิตร, เพชรบูรณ์, สุพรรณบุรี, นครปฐม, สมุทรสาคร, สมุทรสงคราม เลือก สนามสอบวันที่ 22-23 เม.ย. ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก ได้แก่ จ.ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด, ฉะเชิงเทรา, ปราจีนบุรี, สระแก้ว, ตาก, ราชบุรี, กาญจนบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์ เลือกสนามสอบวันที่ 24-25 เม.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เลือกสนามสอบวันที่ 26-27 เม.ย. ภาคใต้ เลือกสนามสอบวันที่ 28-29 เม.ย. ภาคเหนือ เลือกสนามสอบ วันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค. หากผู้สมัครกลุ่มที่ 1 และ 2 เลือกสนามสอบไม่ทันตามที่กำหนด สามารถเข้าเว็บไซต์ สทศ. เพื่อเลือกสนามสอบได้อีกครั้งในวันที่ 3-12 พ.ค. ส่วนกลุ่มที่ 3 เป็นนักเรียน ม.5 ขึ้นไปที่ยังไม่เคยสมัครสอบและประสงค์จะสมัครสอบ รับสมัครตั้งแต่วันที่ 3-10 พ.ค. เลือกสนามสอบ วันที่ 3-12 พ.ค.นี้
“สทศ. เปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกสนามสอบได้เอง เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักเรียนได้สอบในสนามสอบที่ต้องการ โดย สทศ.เตรียมที่นั่งสอบและสนามสอบไว้เพียงพอผู้เข้าสอบ หากเลยกำหนดการเลือกสนามสอบ สทศ.จะเป็นผู้จัดสนามสอบให้ ดังนั้นขอให้ผู้สมัครสอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 2 เข้าเว็บไซต์ สทศ. www.niets.or.th เลือกสนามสอบตามกำหนด ส่วนการสอบครั้งที่ 3 จะเลือกอีกครั้ง” ศ.ดร.อุทุมพรกล่าว.
“สทศ. เปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกสนามสอบได้เอง เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักเรียนได้สอบในสนามสอบที่ต้องการ โดย สทศ.เตรียมที่นั่งสอบและสนามสอบไว้เพียงพอผู้เข้าสอบ หากเลยกำหนดการเลือกสนามสอบ สทศ.จะเป็นผู้จัดสนามสอบให้ ดังนั้นขอให้ผู้สมัครสอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 2 เข้าเว็บไซต์ สทศ. www.niets.or.th เลือกสนามสอบตามกำหนด ส่วนการสอบครั้งที่ 3 จะเลือกอีกครั้ง” ศ.ดร.อุทุมพรกล่าว.
สพท.กทม.จัดที่เรียน ม. 1 ลงตัว
นายปรีชา จิตรสิงห์ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร (สพท.) กทม. เขต 2 เปิดเผยถึงการรับนักเรียนชั้น ม. 1 ปีการศึกษา 2552 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่า ในส่วนของ สพท.กทม.เขต 2 นั้น หลังจากที่ให้นักเรียนซึ่งไม่มีที่เรียนมายื่นความจำนงจัดหาที่เรียนให้ตั้งแต่วันที่ 5-6 เม.ย.ที่ผ่านมา ขณะนี้ได้เกลี่ยและหาที่เรียนให้นักเรียนในเขตพื้นที่ 6,772 คน ให้มีที่เรียนทั้งหมดแล้ว ยังมีประมาณ 100 คน ที่ไม่ยอมไปเรียนตามที่เกลี่ยให้ ยังยืนยันที่จะเรียนโรงเรียนดัง ซึ่งได้แจ้งไปว่าต้องทำใจที่จะไม่ได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่ต้องการ
นายเติบ ใยเจริญ ผอ.สพท.กทม. เขต 1 กล่าวว่า สพท.กทม. เขต 1 ได้จัดสรรที่เรียนให้กับนักเรียนที่ได้ยื่นความจำนงให้จัดหาที่เรียนให้ในรอบที่ 2 มาทางเขตพื้นที่ฯ และศูนย์ประสานงาน 11 แห่ง ซึ่งมีประมาณ 1,000 กว่าคนเสร็จสิ้นแล้ว แต่ยังคงมีผู้ปกครองบางส่วนที่ไม่พอใจโรงเรียนในสหวิทยาเขตเดียวกันที่ทาง เขตพื้นที่ฯจัดให้ จึงพาบุตรหลานไปสมัครเรียนต่อที่โรงเรียน ขณะที่นายสุรศักดิ์ ศรีสว่างรัตน์ ผอ.สพท.กทม.เขต 3 กล่าวว่า ได้เกลี่ยนักเรียนที่มายื่นความจำนงจัดหาที่เรียนจำนวน 2,369 คน ไปยังโรงเรียนที่มีที่ว่าง และโรงเรียนสหวิทยาเขตต่างๆครบหมดแล้ว.
นายเติบ ใยเจริญ ผอ.สพท.กทม. เขต 1 กล่าวว่า สพท.กทม. เขต 1 ได้จัดสรรที่เรียนให้กับนักเรียนที่ได้ยื่นความจำนงให้จัดหาที่เรียนให้ในรอบที่ 2 มาทางเขตพื้นที่ฯ และศูนย์ประสานงาน 11 แห่ง ซึ่งมีประมาณ 1,000 กว่าคนเสร็จสิ้นแล้ว แต่ยังคงมีผู้ปกครองบางส่วนที่ไม่พอใจโรงเรียนในสหวิทยาเขตเดียวกันที่ทาง เขตพื้นที่ฯจัดให้ จึงพาบุตรหลานไปสมัครเรียนต่อที่โรงเรียน ขณะที่นายสุรศักดิ์ ศรีสว่างรัตน์ ผอ.สพท.กทม.เขต 3 กล่าวว่า ได้เกลี่ยนักเรียนที่มายื่นความจำนงจัดหาที่เรียนจำนวน 2,369 คน ไปยังโรงเรียนที่มีที่ว่าง และโรงเรียนสหวิทยาเขตต่างๆครบหมดแล้ว.
Tuesday, April 7, 2009
ศธ.สรุป9เมกะโปรเจกท์สิ้น เม.ย.
รมว.ศธ.เผยสรุปรายละเอียด9 โครงการเมกะโปรเจกท์ภายในสิ้นเดือนเม.ย.นี้ก่อนเสนอ สคช. แล้วชงเข้า ครม.เศรษฐกิจ
นายจุรินทร์ลัก ษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวถึงความคืบหน้า โครงการเมกะโปรเจกท์ของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ขณะนี้สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) ที่รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการจัดทำรายละเอียดอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียด ทั้ง 9 โครงการเพื่อนำกลับมาพิจารณาในที่ประชุมอีกครั้ง คาดว่าภายในสิ้นเดือนเมษายนนี้ จะสามารถสรุปรายละเอียดที่ชัดเจนได้ทั้งหมด เพื่อนำเสนอต่อสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จากนั้นจะนำเข้าสู่คณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจเพื่อขอความเห็นชอบ
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่าโครงการเมกะโปรเจกท์มี 6 โครงการสำคัญที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ ในปี 2553-2555 ในส่วน ศธ.นั้นโครงการที่จะดำเนินการ 10 โครงการได้แก่ 1.โครงการพัฒนาครูทั้งระบบ2.โครงการปัจจัยสนับสนุนด้านการศึกษาเป็นเรื่อง การใช้เทคโนโลยี ในเรื่องการสื่อสาร การพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์สื่อการเรียนการสอน โดยจะกำหนดสัดส่วนในการใช้คอมพิวเตอร์ ให้เป็น คอมพิวเตอร์ 1 เครื่องต่อนักเรียน20 คนจากเดิมคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องต่อนักเรียน40 คนเพื่อให้นักเรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างทั่วถึง 3.โครงการพัฒนาการศึกษาด้านอาชีวศึกษาสู่ความทันสมัย 4.โครงการการเป็นศูนย์กลางการศึกษาของภูมิภาคของประเทศ
5.โครงการการลงทุนด้านการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์6.โครงการ เพิ่มประสิทธิภาพสถานศึกษาที่ต่ำกว่าเกณฑ์สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพ(สมศ.) 7.โครงการสร้างสำนึกคุณธรรมจริยธรรม และความเป็นไทย 8.โครงการพัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐาน9. โครงการสร้างมหาวิทยาลัยวิจัยเนื่องจากเป็นนโยบายของรัฐบาล ในการที่จะพัฒนาด้านการวิจัย รวมทั้งต้องการให้มหาวิทยาลัยเป็นฐานในการวิจัยที่ภาคอุตสาหกรรมมีความ ต้องการ เพื่อเป็นการตอบสนองเศรษฐกิจ และ 10.โครงการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา
นายจุรินทร์ลัก ษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวถึงความคืบหน้า โครงการเมกะโปรเจกท์ของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ขณะนี้สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) ที่รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการจัดทำรายละเอียดอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียด ทั้ง 9 โครงการเพื่อนำกลับมาพิจารณาในที่ประชุมอีกครั้ง คาดว่าภายในสิ้นเดือนเมษายนนี้ จะสามารถสรุปรายละเอียดที่ชัดเจนได้ทั้งหมด เพื่อนำเสนอต่อสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จากนั้นจะนำเข้าสู่คณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจเพื่อขอความเห็นชอบ
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่าโครงการเมกะโปรเจกท์มี 6 โครงการสำคัญที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ ในปี 2553-2555 ในส่วน ศธ.นั้นโครงการที่จะดำเนินการ 10 โครงการได้แก่ 1.โครงการพัฒนาครูทั้งระบบ2.โครงการปัจจัยสนับสนุนด้านการศึกษาเป็นเรื่อง การใช้เทคโนโลยี ในเรื่องการสื่อสาร การพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์สื่อการเรียนการสอน โดยจะกำหนดสัดส่วนในการใช้คอมพิวเตอร์ ให้เป็น คอมพิวเตอร์ 1 เครื่องต่อนักเรียน20 คนจากเดิมคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องต่อนักเรียน40 คนเพื่อให้นักเรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างทั่วถึง 3.โครงการพัฒนาการศึกษาด้านอาชีวศึกษาสู่ความทันสมัย 4.โครงการการเป็นศูนย์กลางการศึกษาของภูมิภาคของประเทศ
5.โครงการการลงทุนด้านการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์6.โครงการ เพิ่มประสิทธิภาพสถานศึกษาที่ต่ำกว่าเกณฑ์สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพ(สมศ.) 7.โครงการสร้างสำนึกคุณธรรมจริยธรรม และความเป็นไทย 8.โครงการพัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐาน9. โครงการสร้างมหาวิทยาลัยวิจัยเนื่องจากเป็นนโยบายของรัฐบาล ในการที่จะพัฒนาด้านการวิจัย รวมทั้งต้องการให้มหาวิทยาลัยเป็นฐานในการวิจัยที่ภาคอุตสาหกรรมมีความ ต้องการ เพื่อเป็นการตอบสนองเศรษฐกิจ และ 10.โครงการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา
เล็งปรับงานกำจัดซื้อ-ขายตำแหน่ง
เมื่อวันที่ 3 เม.ย. ที่ รร.รอยัลริเวอร์ สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดเสวนา “องค์กรครู : องค์กรเพื่อการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาของชาติจริงหรือ” โดย รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา บรรยายพิเศษ เรื่อง เป้าหมายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองว่า การพัฒนาคุณภาพการศึกษาจะสัมฤทธิ์ผลหรือไม่ ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ครูและการบริหารงานบุคคล ที่มี ประสิทธิภาพและเที่ยงธรรม จะช่วยสร้างขวัญและกำลังใจให้กับครู เดิมการเลื่อน ลด ปลด ย้ายบุคลากร มักกระทำโดยผู้บังคับบัญชา ต่อมาได้กำหนด และดำเนินการในรูปคณะบุคคล โดยคณะบุคคลนั้นมีทั้งผู้ที่เข้ามาโดยตำแหน่ง คือ ผู้บริหาร 5 องค์กรหลัก และอีกส่วนมาจากการเลือกตั้งผู้แทนครู ซึ่งมีการกล่าวกันว่าการแต่งตั้งโยกย้ายมีการซื้อขายได้ เนื่องจากคณะบุคคลส่วนหนึ่งมาจากการเลือกตั้ง หากมีการจ่ายเงินก็ต้องถอนทุนคืน ซึ่งปัญหาดังกล่าวจึงเป็นโจทย์ที่ สกศ. จะต้องเข้ามาปรับปรุงระบบการบริหารงานบุคคลของครู เพื่อให้เกิดขวัญและกำลังใจแก่ครูที่แท้จริง
จากนั้นเป็นการเสวนาเรื่อง “องค์กรครู : องค์กรเพื่อการพัฒนาการศึกษาของชาติจริงหรือ” โดย ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า จะต้องจัดระบบการพัฒนาครูให้นักการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องน้อยที่สุด นอกจากนี้ การดำเนินการตามเกณฑ์การพิจารณาให้ใบประกอบวิชาชีพครูต้องไม่ลดหย่อนด้วย.
จากนั้นเป็นการเสวนาเรื่อง “องค์กรครู : องค์กรเพื่อการพัฒนาการศึกษาของชาติจริงหรือ” โดย ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า จะต้องจัดระบบการพัฒนาครูให้นักการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องน้อยที่สุด นอกจากนี้ การดำเนินการตามเกณฑ์การพิจารณาให้ใบประกอบวิชาชีพครูต้องไม่ลดหย่อนด้วย.
วธ.รับลูก “ท่านมุ้ย” เร่งปราบปรามเทปผีซีดีเถื่อน
นาย ธีระ สลักเพชร รมว.วัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ แห่งชาติ เมื่อเร็วๆนี้ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล ผู้กำกับภาพยนตร์ และหนึ่งในคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้หารือกับตน ในฐานะ รมว.วัฒนธรรม ที่ดูแล พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 เกี่ยวกับปัญหาซีดีหนังเถื่อน เนื่องจากขณะนี้ ภาพยนตร์เรื่อง ก้านกล้วย 2 และภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ทั้งไทยและต่างประเทศ ถูกทำเป็นซีดีผีออกมาจำหน่ายจำนวนมาก ส่ง ผลกระทบต่อผู้สร้างและโรงภาพยนตร์ ดังนั้น จึงอยากให้ วธ.หาแนวทางแก้ไขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงพาณิชย์ สำนักภาพยนตร์และวีดิทัศน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้เข้ามาดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง ซึ่งหากปล่อยไว้จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั้งระบบได้
นาย ธีระกล่าวต่อว่า ปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน ส่วนหนึ่งมาจากคนไทยที่นิยมซื้อซีดีเถื่อน จึงอยากขอร้องว่า ไม่ควรไปสนับสนุนหนังแผ่นละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะทำให้กลุ่มคนละเมิดลิขสิทธิ์ได้ประโยชน์ แต่กลุ่มคนที่สร้างสรรค์ผลงานกลับไม่ได้รับประโยชน์จากส่วนนั้น และหากเป็นอยู่เช่นนี้ ผู้สร้างสรรค์ผลงานดีๆก็คงขาดกำลังใจผลิตผลงานที่มีคุณภาพ มาให้ประชาชนได้ชมในอนาคต ทั้งนี้ ตนขอเชิญชวนให้ประชาชนเข้าชมภาพยนตร์ ในโรงภาพยนตร์ เพราะจะทำให้รายได้ไปถึงผู้สร้างโดยตรง ไม่ไปตกกับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ตาม ตนจะเร่งสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ควบคู่กับการแก้ปัญหาซีดีเถื่อนโดยเร็วที่สุด.
นาย ธีระกล่าวต่อว่า ปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน ส่วนหนึ่งมาจากคนไทยที่นิยมซื้อซีดีเถื่อน จึงอยากขอร้องว่า ไม่ควรไปสนับสนุนหนังแผ่นละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะทำให้กลุ่มคนละเมิดลิขสิทธิ์ได้ประโยชน์ แต่กลุ่มคนที่สร้างสรรค์ผลงานกลับไม่ได้รับประโยชน์จากส่วนนั้น และหากเป็นอยู่เช่นนี้ ผู้สร้างสรรค์ผลงานดีๆก็คงขาดกำลังใจผลิตผลงานที่มีคุณภาพ มาให้ประชาชนได้ชมในอนาคต ทั้งนี้ ตนขอเชิญชวนให้ประชาชนเข้าชมภาพยนตร์ ในโรงภาพยนตร์ เพราะจะทำให้รายได้ไปถึงผู้สร้างโดยตรง ไม่ไปตกกับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ตาม ตนจะเร่งสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ควบคู่กับการแก้ปัญหาซีดีเถื่อนโดยเร็วที่สุด.
กอศ.อนุมัติตั้งสถาบันการอาชีวะ 19 แห่ง กอศ.อนุมัติตั้งสถาบันการอาชีวะ 19 แห่ง
นายธีรวุฒิ บุณยโสภณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า จากการประชุม กอศ. ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ อนุมัติให้จัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาจำนวน 19 แห่ง และมอบหมายให้คณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับ ไปร่างกฎหมายการจัดตั้งและให้นำมาเสนอต่อ กอศ. ก่อนที่จะเสนอนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ ลงนามต่อไป สำหรับการตั้งสถาบันเกษตร 4 แห่งนั้น ที่ประชุมเห็นว่ายังไม่มีความพร้อมที่จะจัดตั้ง และถ้าตั้งไปแล้วจะไม่ คุ้มทุน จึงขอให้คณะอนุกรรมการประเมินไปศึกษาข้อดีและข้อเสีย ตลอดจนปัญหาอุปสรรคต่างๆ นำเสนอต่อ กอศ. อีกครั้ง ซึ่งเท่าที่ดูหากจะมีการจัดตั้งก็คงจะ เป็นการนำร่องไปก่อน ส่วนการตั้งสถาบันประมงนั้น ที่ประชุมเห็นว่ายังไม่มีความพร้อมเช่นกัน แต่หากจะตั้งก็มีความเป็นไปได้ว่าจะออกมาในรูปของสถาบันเฉพาะทางที่เปิดสอน ปริญญาตรี ทั้งนี้ ที่ประชุมยังมีข้อเสนอแนะถึงการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาทั้ง 19 แห่งว่า จะต้องเน้นให้สามารถช่วยเหลือตัวเองให้ได้
นายธีรวุฒิกล่าวอีกว่า สำหรับสถาบันการอาชีวศึกษา ทั้ง 19 สถาบัน ได้แก่ สถาบันอาชีวศึกษา ภาคกลาง 1 ประกอบด้วย สถานศึกษาอาชีวศึกษาใน จ.นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา และสระบุรี ภาคกลาง 2 ประกอบด้วย จ.ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง ภาคกลาง 3 ประกอบด้วย จ.ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก และสมุทรปราการ ภาคกลาง 4 ประกอบด้วย จ.กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี และสุพรรณบุรี ภาคกลาง 5 ประกอบด้วย จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 1 ประกอบด้วย จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง ภาคใต้ 2 ประกอบด้วย จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง ภาคใต้ 3 ประกอบด้วย จ.สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออก ประกอบด้วย จ.จันทบุรี ชลบุรี ระยอง และตราด
สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคเหนือ 1 ประกอบด้วย จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน ภาคเหนือ 2 ประกอบด้วย จ.น่าน พะเยา เชียงราย และแพร่ ภาคเหนือ 3 ประกอบด้วย จ.ตาก พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ และอุตรดิตถ์ ภาคเหนือ 4 ประกอบด้วย จ.กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ และอุทัยธานี สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 ประกอบด้วย จ.หนองคาย เลย อุดรธานี และหนองบัวลำภู ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ประกอบด้วย จ.นครพนม มุกดาหาร สกลนคร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 ประกอบด้วย จ.ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 ประกอบด้วย จ.อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร และอุบลราชธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 ประกอบ ด้วย จ.สุรินทร์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และชัยภูมิ และสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยสถานศึกษาอาชีวศึกษาในกรุงเทพฯทั้งหมด.
นายธีรวุฒิกล่าวอีกว่า สำหรับสถาบันการอาชีวศึกษา ทั้ง 19 สถาบัน ได้แก่ สถาบันอาชีวศึกษา ภาคกลาง 1 ประกอบด้วย สถานศึกษาอาชีวศึกษาใน จ.นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา และสระบุรี ภาคกลาง 2 ประกอบด้วย จ.ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง ภาคกลาง 3 ประกอบด้วย จ.ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก และสมุทรปราการ ภาคกลาง 4 ประกอบด้วย จ.กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี และสุพรรณบุรี ภาคกลาง 5 ประกอบด้วย จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 1 ประกอบด้วย จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง ภาคใต้ 2 ประกอบด้วย จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง ภาคใต้ 3 ประกอบด้วย จ.สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออก ประกอบด้วย จ.จันทบุรี ชลบุรี ระยอง และตราด
สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคเหนือ 1 ประกอบด้วย จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน ภาคเหนือ 2 ประกอบด้วย จ.น่าน พะเยา เชียงราย และแพร่ ภาคเหนือ 3 ประกอบด้วย จ.ตาก พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ และอุตรดิตถ์ ภาคเหนือ 4 ประกอบด้วย จ.กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ และอุทัยธานี สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 ประกอบด้วย จ.หนองคาย เลย อุดรธานี และหนองบัวลำภู ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ประกอบด้วย จ.นครพนม มุกดาหาร สกลนคร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 ประกอบด้วย จ.ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 ประกอบด้วย จ.อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร และอุบลราชธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 ประกอบ ด้วย จ.สุรินทร์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และชัยภูมิ และสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยสถานศึกษาอาชีวศึกษาในกรุงเทพฯทั้งหมด.
Subscribe to:
Posts (Atom)