Tuesday, March 3, 2009

หวั่นรับตรงกระทบที่นั่งแอดมิชชั่นส์

"ชัยวุฒิ"ไม่เห็นด้วยที่มหาวิทยาลัยจะเปิดรับตรงมากขึ้น หวั่นกระทบที่นั่งระบบแอดมิชชั่น จี้ทปอ.ศึกษาปัญหาแอดมิชชั่นส์หากพบจุดบกพร่องให้แก้ไข สกอ.เล็งถกทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกำหนดสัดส่วนรับตรงให้ชัดเจน

จากกรณีที่กลุ่มอาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ระบุปัญหานิสิตนักศึกษา ซึ่งผ่านแอดมิชชั่นส์กลางเข้าคณะวิทยาศาสตร์ วิศวะ แพทย์ แต่ความรู้พื้น ฐานด้านวิทยาศาสตร์ไม่แน่น ทำให้สอบตกจำนวนมาก ส่งผลให้ในปีการ ศึกษา 2553 มหาวิทยาลัยหลายแห่งกำหนดสัดส่วนรับตรงมากขึ้น เช่น คณะวิศวะฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะรับนิสิตผ่านแอดมิชชั่นส์ตามเกณฑ์เดิม 20% และรับตรงเป็นครั้งแรก 80% ของจำนวนรับทั้งหมดนั้น
นายชัยวุฒิ บร รณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) กล่าวว่า รู้สึก แปลกใจและสับสนกรณีนักศึกษาติดเอฟแล้วมาอ้างว่าเกิดจากระบบแอ ดมิชชั่นส์ เพราะระบบนี้มาจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) จึง ต้องไปศึกษาว่าเกิดความบกพร่องตรงจุดไหน ไม่เห็นด้วยที่มหาวิทยาลัยจะเปิดรับตรง เพราะเริ่มมีเสียงวิจารณ์มากขึ้นเรื่องจะรับตรง โควตาเด็กเก่ง หากให้รับตรงเพิ่มขึ้น หรือรับ 100 เปอร์เซ็นต์ เด็กที่ผ่านแอดมิชชั่นส์จะเหลือที่นั่งและคณะ สาขา ให้เลือกน้อยลง จะมีปัญหาตามมาอีก
" ทปอ. ควรศึกษาให้ลึกลงไปว่าระบบคัดเลือกเด็กมีจุดบกพร่องตรงไหนแล้วค่อยมา แก้ไข เพื่อให้ได้เด็กตรงตามสาขานั้นจริงๆ และควรหารือกันแต่ละมหาวิทยาลัย จะผลิตบัณฑิตสาขาไหน จำนวนเท่าไหร่ ดูตลาดแรงงานที่จะรองรับบัณฑิต ด้วย เพื่อลดปัญหาจบแล้วไม่มีงานทำ หรือทำงานไม่ตรงสาขาที่จบ ขอฝากให้ มหาวิทยาลัยเปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนมีส่วนร่วมทำหลักสูตรเพราะเป็นผู้กำหนด คุณสมบัติผู้เข้าทำงาน" รมช.ศธ. กล่าว
ดร.สุเมธ แย้ม นุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า ปีการ ศึกษา 2552 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) จะรับนิสิตผ่านแอ ดมิชชั่นส์เป็นปีสุดท้ายจะหารือผู้เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับสัดส่วนรับตรงของมหาวิทยาลัยรัฐให้ชัดเจน โดยกำหนดรับผ่านแอดมิชชั่นส์และรับตรงร้อยละเท่าไหร่เพราะหากปล่อยให้มหาวิทยาลัยรัฐเปิดรับตรงมากเกินไปจะทำให้เด็กต้องวิ่งรอกสอบหลายแห่ง ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยรัฐรับตรงโดยให้โควตาเด็กในพื้นที่ แต่ช่วงหลังเปิดรับตรงมากขึ้น ปัจจุบันมีเด็กเข้าเรียนผ่านแอดมิชชั่นส์ร้อยละ 30 และรับตรงร้อยละ70



รศ.ศิลปชัย บูรณพานิช ที่ปรึกษาสมาคมครูวิทยาศาสตร์แห่ง ประเทศไทย กล่าวว่า การแก้ปัญหาเด็กเรียนวิทย์อ่อนอยากให้คณะวิทยาศาสตร์ แต่ละมหาวิทยาลัย โรงเรียนทุกสังกัดจับมือกันเครือข่าย ช่วยกันพัฒนาการ เรียนการสอนวิทยาศาสตร์

No comments: