Thursday, March 19, 2009

ไฟเขียวลูกจ้างร.ร.เอกชนเข้าประกันสังคม

นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)

เสนอขอแก้ไข พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 ให้กิจการโรงเรียนเอกชนอยู่ภายใต้กฎหมายแรงงาน ให้ลูกจ้างโรงเรียนเอกชนอยู่ภายใต้กฎหมายประกันสังคม สามารถส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมตามกฎหมายและให้สิทธิผู้ที่เคยส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมสามารถส่งต่อเนื่องได้

อย่างไรก็ตาม กระทรวงแรงงานแรงงานได้มีข้อท้วงติง ในมาตรา 86/1 ที่กำหนดให้สิทธิผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนนานาชาติ มีสิทธิที่จะเลือกไม่ส่งเงินเข้ากองทุนสงเคราะห์ตาม พ.ร.บ.ร.ร.เอกชน พ.ศ. 2550 หรือจะอยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยประกันสังคมก็ได้ เป็นการเลือกปฏิบัติทำให้การบังคับใช้กฎหมายมีปัญหา และเห็นว่าหากผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนนานาชาติ จะอยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ก็ควรได้รับการคุ้มครองเฉพาะในฐานะเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 39 หรือมาตรา 40 ของพ.ร.บ.ประกันสังคม แต่ไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน นอกจากนั้นกระทรวงแรงงาน ยังเสนอให้บุคลากรของโรงเรียนเอกชนที่เคยเป็นผู้ประกันตนตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2551 ได้รับสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมด้วย

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม เวลา 08.30 น. ตัวแทนครูโรงเรียนเอกชนทั่วประเทศประมาณ 1,000 คน นำโดยนายยืนยง จิรัฏฐิติกาล ประธานผู้แทนครูโรงเรียนเอกชนในคณะกรรมการคุรุสภา เข้ายื่นหนังสือต่อ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แต่ รมว.ศึกษาธิการ ติดภารกิจงานกดปุ่มโอนเงินเรียนฟรี 15 ปีเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จึงลงไปรับเรื่องแทน ก่อนผู้ชุมนุมจะสลายตัวไป

ทั้งนี้ หนังสือดังกล่าวเรียกร้องให้ครูโรงเรียนเอกชนมีเงินประจำวิทยฐานะเช่นเดียว กับครูโรงเรียนรัฐ โดยขอให้ใช้เกณฑ์การประเมินเช่นเดียวกับครูภาครัฐ และเรียกร้องให้รัฐจัดเงินช่วยเหลือค่าครองชีพแก่ครูโรงเรียนเอกชนที่มีราย ได้ไม่เกินเดือนละ 11,700 บาท จำนวน 89,816 คน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2551-กันยายน 2552

รวมทั้งขอให้ปรับแก้ระเบียบว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ครูใหญ่และครู โรงเรียนเอกชน ให้สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลของสามี ภรรยา บุตร บิดา มารดา จากปัจจุบันที่ให้เบิกเฉพาะค่ารักษาพยาบาลของเจ้าตัวไม่เกิน 1 แสนบาทต่อปี

No comments: