สาธิตเกษตรฯเจ๋ง! โชว์ศักยภาพ แบบคัดกรอง นร.ออทิซึมชี้ใช้คัดเด็กออทิซึม-สมาธิสั้น-บกพร่องทางการเรียนรู้ได้ดี เยี่ยม เผยเตรียมพัฒนาระยะต่อไป หวังช่วยนักเรียนที่มีปัญหานี้ ระบุในสถานศึกษาพบเด็กภาวะบกพร่อง 1 ต่อ160 คน
รศ.ดร.ดารณีอุทัยรัตนกิจ อาจารย์ใหญ่ ร.ร.สาธิตแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ในฐานะหัวหน้านักวิจัยศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาและคณะ กล่าว ว่า การศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีภาวะออทิซึมสมาธิสั้น และบกพร่องทางการเรียนรู้ : ระยะที่ 1 การสร้างกระบวนการและเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานสำหรับการคัดกรองนักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้นบกพร่อง ทางการเรียนรู้ และออทิซึม เพื่อให้ครูบุคลากรทางการศึกษา และทางการแพทย์ ที่ใช้แบบคัดกรองที่เป็นมาตรฐานสำหรับนักเรียน ซึ่งใช้เวลา 1 ปีในการจัดทำ ขึ้นมา เนื่องจากในสถานศึกษาพบเด็กมีภาวะบกพร่องทั้ง 3 อาการ เฉลี่ย1 ต่อ160 คน
"แบบคัดกรองนักเรียนเป็นเครื่องมือทางจิตวิทยาที่เป็นมาตรฐานมีเกณฑ์ ปกติ สำหรับการแปรผลคะแนนที่ได้ออกแบบสำหรับครู บุคลากรทางการศึกษาและ บุคลากรทางแพทย์ เพื่อใช้ในการบ่งชี้ และคัดกรองบุคคลที่มีภาวะสมาธิสั้น บกพร่อง ทางการเรียนรู้ และออทิซึม แบบคัดกรองฉบับนี้ได้รับการพัฒนาด้วยกระบวนการ ทางเทคนิคทั้งเชิงประจักษ์ และตรรกศาสตร์ และสร้างเกณฑ์ปกติระดับ ประเทศ ด้วยกลุ่มตัวอย่าง โดยแบบคัดกรองดังกล่าวมีข้อความที่บ่งบอกพฤติกรรม ภาวะสมาธิสั้น ภาวะ บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณด้านละ และภาวะ ออทิซึม ออกแบบสำหรับนักเรียนชั้น ป.1-ป.6 อายุ6-13 ปี11 เดือน
เมื่อ2 ปีกระทรวงศึกษาฯ ได้จัดสรรงบ100 ล้านบาทค้นหานักเรียนที่บกพร่อง ทางการเรียนรู้ เพื่อให้การช่วยเหลืออย่างจริงจัง แต่เมื่อคณะได้จัดทำวิจัย แบบคัดกรอง ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้นำไปใช้ใน โรงเรียนแล้ว3.5 แสนชุด สามารถวัดภาวะของเด็กบกพร่องได้ทั้ง 3 อาการสะดวก ต่อครู แพทย์ในการวินิจฉัยอาการ ทางคณะยังได้จัดอบรมครูทั่วประเทศด้วย รศ. ดร.ดารณีกล่าว
แบบคัดกรองที่สร้างขึ้นในบริบทประเทศไทยนี้สามารถคัดกรองนักเรียนได้ ตั้งแต่วัยประถมศึกษา นับเป็นการบำบัดนักเรียนกลุ่มนี้ได้เร็วขึ้น ดังนั้น ทางคณะทำการทดลองระยะที่ 2 นำแบบคัดกรองไปใช้ทั่วประเทศและประเมินกลุ่ม ตัวอย่าง 500 กว่าคนส่วนระยะที่ 3 รายงานผลวิจัยไปสร้างรูปแบบการใช้การช่วย เหลือ ส่งเสริมทางวิชาการในพื้นที่โรงเรียนชนบท และระยะที่ 4 จะลงไปติดตาม ขยายผลการใช้ในโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อพัฒนานักเรียนกลุ่มนี้
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment