เมื่อวันที่ 18 มี.ค. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) แถลงข่าวเรื่อง “นักวิจัย วช.พบวิธีป้องกันและแก้ปัญหาเด็กติดเกม” โดย ผศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ปัญหาเด็กติดเกมยังพบมากในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพกายและจิตของเด็กโดยตรง จากการศึกษาระหว่างปี 2550-2551 เกี่ยวกับพฤติกรรมการติดเกมในเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 9-15 ปี 2,452 คน ใน 4 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร ราชบุรี สุรินทร์ และสุราษฎร์ธานี พบว่าร้อยละ 13.3 จัดอยู่ในกลุ่มที่กำลังติดเกม โดยมีอายุเฉลี่ย 11 ปี มีภาวะติดเกมมาก เกมที่นิยมเล่นมากที่สุดคือ เกมเกี่ยวกับบู๊ล้างผลาญ เกมเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ นุ่งน้อยห่มน้อย โดยเฉพาะเกม SF หรือ Special force
ผศ. นพ.ชาญวิทย์กล่าวต่อว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการติดเกม ประกอบด้วย ปัจจัยเกี่ยวกับตัวเด็กเอง ปัจจัยเกี่ยวกับครอบครัวและการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและเพื่อน โดยเฉพาะปัจจัย เกี่ยวกับตัวเองจะพบว่า เด็กผู้ชายมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเกมสูงกว่าเด็กผู้หญิง 1.6 เท่า ความเครียดและการขาดทักษะในการจัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม เป็น สาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กติดเกม โดยเด็กที่ติดเกมใช้การเล่นเกม เพื่อคลายเครียดสูงเป็น 6 เท่าของเด็กที่ไม่ติดเกม เด็กที่ติดเกมมักเป็นเด็กที่เบื่อการเรียน และรู้สึกไม่มีความสุขในชีวิต
ผศ. นพ.ชาญวิทย์กล่าวอีกว่า ปัญหาการติดเกมเป็นเรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องจัดทำแนวทางแก้ไขให้เป็นวาระ แห่งชาติ เพื่อหาแนวทางร่วมกันระหว่างเจ้าของร้านเกม ตัวแทนภ
Thursday, March 19, 2009
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment