Thursday, October 28, 2010

อ่านอย่างไรให้ไว...(และได้เรื่อง)

อ่านอย่างไรให้ไว...(และได้เรื่อง)

ในชีวิตประจำวันเราต้องอ่านหนังสือทุกวัน ตามป้ายโฆษณา โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อ่านหนังสือสอบ หรือแม้ใครเจอปัญหากับการอ่านสอบไม่ทันตามกำหนด กลัวว่าจะอ่านไม่ทันก็เลยอยากแนะวิธีอ่านหนังสือให้เร็วและได้เรื่องแถมยังประหยัดเวลามาฝากกัน

รองศาสตราจารย์ ดร.พรชุลี อาชวอำรุง ผู้อำนวยการวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้คำแนะนำถึงวิธีการอ่านหนังสือรวดเร็วและได้ผลดี เพื่อเป็นการฝึกทักษะและสมรรถนะการเรียนของนิสิต นักศึกษาแต่ละคน โดยสอนให้อ่านเร็วอย่างรู้เรื่อง จับประเด็นเด่นชัดจด Lecture ได้ครบถ้วน ใช้ห้องสมุดเป็น ค้นคว้าเอกสารจัดทำรายงาน และนำเสนอต้อชั้นเรียนได้อย่างสมบูรณ์

“ก่อนเริ่มศึกษาฝึกฝนทักษะการอ่านเร็ว จำเป็นต้องกำหนดอัตราการอ่ารและความเข้าใจเสียก่อน ดังนั้นจึงขอแนะนำให้เลือกเอกสารประมาณ 2-3 หน้า จากหนังสือที่ต้องอ่านประจำ เช่น ตำราเรียนที่ใช้ในเทอมนี้ เป็นต้น ควรเลือกอย่างน้อย 3 ชุด และอ่านตามอัตราความเร็วปกติ ตั้งใจอ่านให้เกิดความเข้าใจ และจับประเด็นในรายละเอียดได้ด้วยควรใช้นาฬิกาจับเวลาและให้บันทึกเวลา

เริ่มเวลา : …................. นาที.....................วินาที
จบเวลา : …................. นาที ….................วินาที

วิธีการกำหนดอัตราความเร็วในการอ่าน มีขั้นตอนดังนี้

1.นับคำในเอกสารที่อ่านโดยนับเฉพาะคำหลัก คือ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา และคำขยาย(คุณศัพท์และคำวิเศษ) เท่านั้น ไม่นับคำเชื่อม ซึ่งได้แก่ บุรพบท และสันธาน และจดจำนวนที่นับได้เอาไว้ สมมติว่านับได้ 1,306 คำ

2.นำจำนวนวินาทีที่ใช้ในการอ่านในผลลัพธ์ จากข้อ 3 ไปหารจำนวนคำจากข้อ 4 ให้ใช้ทศนิยมจุดเดียว จะได้คำตอบ เช่น 2.7 หรือ 3.4 ซึ่งเป็นอัตราคำต่อวินาที

3.ท้ายที่สุด ให้นำอัตราความเร็วต่อวินาทีไปคูณด้วย 60 ก็ได้อัตราคำต่อวินาที และบันทึกไว้
การอ่านครั้งที่ 1 : อัตราความเร็วต่อวินาที =................WPM (WPM=Word Per Minute) อันที่จริงถ้าจะให้สมบูรณ์แบบ ควรตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและคิดคะแนน เพื่อให้ทราบว่า ความเข้าใจเกิดขึ้นในระดับกี่เปอร์เซ็นต์

รองศาสตราจารย์ ดร.พรชุลี บอกต่ออีกว่า ใครมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะพัฒนาอัตราความเร็วและความเข้าใจในการอ่าน จะประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน “เราทุกคนมีสามารถในการอ่าน ตามที่ธรรมชาติสร้างให้ไว้แล้วในระบบการทำงานของสมอง ผลการวิจัยทางจิตวิทยา พบว่า คนปกติใช้ศักยภาพของตนเพียง 10 % เท่านั้นเอง ลองคิดดูสิว่า ถ้าท่านใช้ศักยภาพการอ่านเพิ่มขึ้นสัก 40-50% และในปัจจุบันอ่านได้ 100 คำต่อวินาที จะได้ความรู้จากการอ่านหนังสือมากขึ้นเพียงใด ถ้าฝึกฝนการอ่านเร็วเป็นประจำเวลาที่ใช้จะเต็มประสิทธิภาพ มีความหมาย มีคุณค่า ได้ผลตามความประสงค์และเป็นประสบการณ์ที่สนุกสนานด้วย”

นอกจากนี้ Life on campus ยังมีเทคนิคการทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระจากหนังสือที่อ่านนั้นมาฝากด้วยเช่นกัน เริ่มต้นจากการจัดลำดับความสำคัญในเรื่องที่เราจะอ่านเสียก่อน โดยเฉพาเมื่อหนังสือเล่มโต ที่มีเนื้อหาหลายเรื่อง จะต้องแบ่งเป็นสำคัญมาก สำคัญปานกลางและสำนักน้อย จากนั้นให้อ่านอย่างมีสมาธิ ลดสิ่งรบกวนให้เหลือน้อยที่สุด แม้แต่เสียงเพลงก็ตาม ที่สำคัญต้องให้ความสำคัญกับในการอ่านรอบแรก

จากนั้นใช้วิธี สแกน หรือ Skim & Skip เพื่อหาใจความหลักของเรื่องที่จะอ่าน โดยวิธีง่ายๆ คือ ดูจากสารบรรณเนื้อหา และดูจากคำขึ้นต้นและลงท้ายประโยค ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจในภาพรวมขึ้นก่อน และที่สำคัญเราจะรู้ว่าส่วนไหนกันนะที่จำเป็นต้องอ่านรายละเอียดให้ตั้งคำถาม โดยเป็นการตั้งคำถามของเราเอง จากหัวเรื่อง หัวรองของเรื่อง หรือคำโปรย (คำขึ้นต้นประโยค) ของแต่ละเรื่อง แล้วสะแกนหาคำตอบจากคำหรือประโยคในเนื้อเรื่อง เพื่อให้ช่วยให้อ่านได้อึด และถนอมสายตา สมควรจะนั่งอ่าน และหาที่วางหนังสือเอียง 45 องศา
แสงไฟฟ้าเพียงพอและเป็นสีไฟฟ้าที่ถนอมสายตา เช่น สีเหลืองนวล ไม่ควรนอนอ่านเด็ดขาด ยกเว้นนิยาย การ์ตูน โน้ตย่อทันทีที่อ่านจบในส่วนสำคัญของเรื่อง เพราะจะช่วยให้ไม่เสียเวลามานั่งค้นหาอีกรอบหรือเวลาต้องทบทวน ยามใกล้สอบหรือจะต้องนำไปใช้ประโยชน์ ควรจัดหนังสือให้เป็นระเบียบ และเป็นแบ่งเป็นหมวดหมู่

เลิกการแต่งแต้มทาสี (Highlighting) ซะที ไม่ว่าจะเหลือง ส้ม หรือชมพู เพราะมันแสดงว่า เรากำลังฝืนทนทำภารกิจนี้ให้ผ่านไป เหมือนกับว่า รับปากไปก่อนแล้วจะมาอ่านทีหลัง ยังไงยังงั้นเลยเชียว ซึ่งในที่สุดก็จะได้หนังสือเลอะๆมาหนึ่งเล่มเพื่ออ่านใหม่รอบสอง และไม่ได้อะไรอยู่ดี

ทำ Pre-post test ด้วยตัวเองกับเนื้อหาทุกครั้ง หลังจากที่ตัดสินใจนั่งลงอ่าน เพื่อทดสอบความเข้าใจของเรา การตั้งคำถามและหาคำตอบด้วยตัวเอง เป็นอะไรที่วิเศษที่สุด ปิดท้ายด้วยการฝึกฝนวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพสมองด้วยเทคนิควิธีการตรวจวัดความเร็วในการอ่าน ถือว่าเป็นวิธีที่สำคัญ เพราะเป็นเพิ่มศักยภาพสมองที่ดีเยี่ยม แบบเดียวกับการอ่านเป็นภาพให้เป็น มิใช่อ่านทีละตัวอักษรไว้จะได้ขยายรายละเอียดในส่วนนี้ต่อไป

ที่มา http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9530000151754

No comments: