น้ำตาของเพศผู้ก็ทำให้เพศเมียใจอ่อนได้ ดังจะเห็นตัวอย่างได้อย่างชัดเจนในฝูงหนู
วารสาร "ภูมิศาสตร์แห่งชาติ" ของสหรัฐฯ รายงานเหตุผลเรื่องนี้ให้ทราบว่าในน้ำตาของหนูตัวผู้มีสารฟีโรโมน อันเป็นสารเคมีสัญญาณที่สัตว์บางชนิดปล่อยออกมาเพื่อติดต่อกับตัวอื่น เพื่อให้ตัวเมียตอบสนองเมื่อถึงหน้าผสมพันธุ์
นักวิจัยคาชิเกะ ตูอารา มหาวิทยาลัยโตเกียว ผู้เรียบเรียงรายงานผลการศึกษา กล่าวว่า หนูตัวผู้หลั่งน้ำตาเพื่อป้องกันตาแห้ง แต่ขณะที่มันเลียขนแต่งตัวมันนั้นน้ำตาซึ่งมีสารฟีโรโมน ก็จะเปื้อนกระจายไปทั่วตัวและรังของมันด้วย เมื่อตัวเมียมาถูกตัวผู้หรือรังของมันเข้า มันก็จะได้สารฟีโรโมนเข้าไปด้วย โดยมันจะมีโปรตีนซึ่งจะเป็นตัวรับสัญญาณสารเคมีนี้โดยเฉพาะอยู่
"เมื่อตัวเมียโดนถูกสารนั้นเข้า เพราะมันไม่ใช่สารระเหยเหมือนอย่างกลิ่นหอม สารจะออกฤทธิ์แล่นไปถึงสมองตัวเมียส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผสมพันธุ์ ซึ่งมันจะยอมให้ตัวผู้ผสม"
เขาอธิบาย ความรู้เรื่องนี้อาจจะนำไปใช้ในโลกของความเป็นจริงในการควบคุมจำนวนประชากรหนูได้.
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment