ยกเครื่องโรงพยาบาล สาธารณสุขยุคใหม่ กว่า 10,000 แห่ง เปิดตัวบริการพร้อมกันทั่วไทย12 ส.ค.นี้ จัดทีมต้อนรับสวมยูนิฟอร์มแบบเดียวกัน พร้อมมอบรอยยิ้มหวานผู้ใช้บริการตลอดเวลา...
เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข พร้อมด้วย ดร.พรรณสิริกุลนาถศิริ รมช.สาธารณสุข นพ.ไพจิตร์ วราชิตปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประชุมชี้แจง "โครงการพลิกโฉมโรงพยาบาลยุคใหม่" แก่นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลและเจ้าหน้าที่ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจากทั่วประเทศจำนวน 1,000 คน โดย รมว.สาธารณสุข กล่าวว่าโครงการนี้ต้องการพัฒนาปรับปรุงโรงพยาบาลในสังกัดจำนวนกว่า 10,000แห่งทั่วประเทศใน 3 ด้าน ได้แก่ บรรยากาศ การบริการและการบริหารจัดการซึ่งจะเปิดให้บริการประชาชนพร้อมกันทั่วประเทศ ในวันที่ 12 ส.ค.นี้ ตั้งแต่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลจังหวัด รวมถึงศูนย์ความเป็นเลิศฯ เช่น สถาบันโรคผิวหนัง สถาบันมะเร็ง สถาบันโรคทรวงอกโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ และกรมสุขภาพจิต โดยการปรับปรุงบรรยากาศ เช่น ปรับปรุงแผนกผู้ป่วยนอกให้ทันสมัย ผู้รับบริการได้รับความสะดวก ปรับปรุงห้องน้ำห้องส้วมเพื่อเป็นต้นแบบห้องน้ำสะอาดถูกสุขลักษณะ ใช้งบประมาณ 260 ล้านบาท
นอกจากนี้ ได้มีการกำหนดชุดยูนิฟอร์มสำหรับพนักงานต้อนรับ ที่เหมือนกันทุกแห่งทั่วประเทศ ซึ่งพนักงานต้อนรับจะทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำการบริการรับฟัง-แก้ไขปัญหาการ บริการ โดยให้บริการทั้งผู้ป่วยและญาติเพื่อให้เกิดความประทับใจที่สุด ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ว่า ต่อไปนี้โรงพยาบาลทุกแห่งในสังกัดต้องเป็น "โรงพยาบาลสาธารณสุขยุคใหม่ เพื่อคนไทยสุขภาพดี มีรอยยิ้ม" โดยจะมีการประเมินผลภายใน 3 เดือนหลังจากเริ่มให้บริการในวันที่ 12 ส.ค.นี้
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ในการพัฒนาโรงพยาบาลสาธารณสุขยุคใหม่ฯ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มได้แก่ 1.กลุ่มโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลเฉพาะทางและศูนย์ความเป็นเลิศฯ 2. กลุ่มโรงพยาบาลขนาด 60 เตียงขึ้นไป 3.กลุ่มโรงพยาบาลต่ำกว่า 60 เตียงลงมา และ4.กลุ่มโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลซึ่งแต่ละระดับจะมีหลักเกณฑ์แตกต่าง กันไปตามขนาดโรงพยาบาล หลังจากนั้นก็จะจัดประกวดโรงพยาบาลแต่ละระดับที่ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาและ เป็นที่พอใจของประชาชน เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและเชิดชูเกียรติ ส่วนการที่โรงพยาบาลจะเปิดคลินิกบริการนอกเวลา เช่น คลินิกรุ่งอรุณคลินิกเที่ยงวัน ถือเป็นทางเลือกของโรงพยาบาลไม่ได้เป็นภาคบังคับแต่ถ้าทำได้ก็ควรจะทำ เพื่อบริการประชาชนได้มากขึ้น
นายจุรินทร์ กล่าวอีกว่า หลังจากที่ได้ปรับบรรยากาศการปรับคุณภาพบริการทั้งบริการทางการแพทย์และ บริการทั่วไปของโรงพยาบาลแล้วจะช่วยให้ศักยภาพการดูแลรักษาประชาชนดีขึ้น เชื่อว่าปัญหาการกระทบกระทั่งระหว่างผู้ให้บริการ กับผู้รับบริการจะน้อยลงและเป็นที่พึงพอใจมากขึ้น อนุมานได้ว่าปัญหาการฟ้องร้องจะลดลง โดยจะมีการติดตามประเมินผลโรงพยาบาลต่างๆเป็นระยะๆ เชื่อว่าทุกแห่งทำได้จริง เพราะมีการประชุมมาก่อนหน้านี้แล้ว ไม่ใช้เป็นการสั่งจากฝ่ายนโยบายฝ่ายเดียว ที่ผ่านมามีหลายแห่งพัฒนาได้เกือบจะครบถ้วนตามเกณฑ์แล้ว
ด้านนพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าโรงพยาบาลสาธารณสุขยุคใหม่เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาระบบบริการ ซึ่งจากนี้ไปจะทำให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั่วประเทศ เป้าหมายหลักคือการลดความแออัดผู้ใช้บริการและสร้างความพึงพอใจประชาชน โดยเจ้าหน้าที่หรือพนักงานต้อนรับที่แผนกผู้ป่วยนอกจะสวมเครื่องแบบที่เป็น เอกลักษณ์เดียวกัน คือ เสื้อพื้นสีเขียวอ่อน และมีรูปหน้าการ์ตูนยิ้ม 3 สี ซึ่งเป็นสื่อสากล มี 3 สี คือ สีเขียว สีฟ้าและสีส้ม ซึ่งล้วนมีความหมายดังนี้ 1.สีเขียว หมายถึงสดชื่นแจ่มใส 2.สีฟ้าหมายถึงให้บริการเป็นมิตร และ3.สีส้มหมายถึงความทันสมัย ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะจัดฝึกอบรมพนักงานต้อนรับ โดยเชิญวิทยากรระดับปรมาจารย์มาอบมรมเชิงปฏิบัติการ ทั้ง 4 ภาค เป็นระยะเวลา 3 วัน เริ่มที่ภาคกลาง ในวันที่ 28 มิถุนายน 2553 ที่ กทม. ภาคใต้ เริ่มวันที่ 7 กรกฎาคม 2553 ที่ อ.หาดใหญ่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มวันที่ 13 กรกฎาคม จัดที่ จ.อุบลราชธานี ภาคเหนือ วันที่ 21 กรกฎาคม 2553 ที่ จ.เชียงใหม่ ส่วนในเรื่องการพัฒนาระบบบริหาร โรงพยาบาล โรงพยาบาลทุกระดับจะต้องมีคณะกรรมการ 2 ชุดคือกรรมการบริหารโรงพยาบาลและกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลซึ่งเป็นเวทีของการมี ส่วนร่วมของทุกภาคส่วนระดมความคิดเห็นระดมทรัพยากรมาพัฒนาระบบริหารให้ ประชาชนในพื้นที่พึงพอใจและโรงพยาบาลทุกแห่งต้องมีระบบประกันคุณภาพบริการ ที่ทำอยู่แล้วมาบูรณาการกับนโยบายใหม่เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปตามมาตรฐานของ โรงพยาบาลยุคใหม่.
Tuesday, June 22, 2010
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment