จำนวน 10 วงศ์ 25 ชนิด โดยทั้งหมดถูกนำไปจัดเก็บรักษาอยู่ที่หอพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ ขณะที่ นักวิชาการ ระบุ พบพืชถูกคุกคามใน 4 อุทยานดัง...
เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. ดร.ก่องกานดา ชยามฤต ผู้อำนวยการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ (อ.ส.พ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยถึงการค้นพบพรรณไม้ใหม่ของโลก ว่า ตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา การดำเนินงานขององค์การสวนพฤกษศาสตร์ ได้รับการยอมรับให้เป็นศูนย์กลางเครือข่ายของสวนพฤกษศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ นักวิชาการของ อ.ส.พ. ได้สำรวจพบพืชพรรณใหม่ของโลกที่มีอยู่ในประเทศไทยและได้รับการตีพิมพ์ใน วารสาร ระหว่างปี 2544 -2552 จำนวน 10 วงศ์ 25 ชนิด ได้แก่
พืชที่พบจัดอยู่ในวงศ์กูดหางค่าง ประกอบด้วย ก้านดำทองแถม ประทัดสุเทพ วงศ์เทียน ประกอบด้วย เหยื่อกุรัมใบเล็ก เทียนพระบารมี เทียนดารณี ม่วงกาญจนา หญ้าเทียนดอกขาว เทียนผ้าห่มปก เทียนเพ็งคล้าย เทียนยูงทอง ชมพูสิริน เทียนแพงพวย เทียนเสือน้อย เทียนไตรบุญ วงศ์ดอกหรีด ประกอบด้วย หญ้าดอกลายเชียงดาว วงศ์คำป่า ประกอบด้วย นางออน ลาเกลนชา วงศ์กล้วยไม้ ประกอบเวย อั้วละอองจันทร์ เอื้องศรีประจิม เอื้องศรีเชียงดาว วงศ์ขิง-ข่า ประกอบด้วย เปราะภูแม่ฮ่องสอน เปราะภูลาร์เสน กระเจียวราศี วงศ์ชิงชี่ ประกอบด้วย ชิงชี่ภูคา และกะพ้อปิฏฐะ
ผู้อำนวยการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ฯ กล่าวต่อว่า สำหรับพรรณไม้ใหม่ของโลก ถูกนำไปจัดเก็บรักษาอยู่ที่หอพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ เพื่อเก็บตัวอย่างรักษาตัวอย่างพันธุ์ไม้ ตามหลักสากลและสนับสนุนการศึกษา ทางด้านพฤกษศาสตร์ในสาขาต่างๆ โดยเฉพาะด้านอนุกรมวิธาน และบริการการศึกษาและเผยแพร่ข้อมูลทางด้านพฤกษศาสตร์
นอกจากนี้ อ.ส.พ.ได้ทำการศึกษาวิจัยในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงโดยเฉพาะใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ ะ ปุย จ.เชียงใหม่ อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย อ.นาแห้ว จ.เลย อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่นและอุทยานแห่งชาติเขาหินปะการัง อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ พบตัวอย่างพืชที่น่าสนใจอยู่ในอุทยานแห่งชาติภูสวนทราย เช่น กระโถนฤาษี ระฆังทอง ดาวลดา สะเม็กและกล้วยไม้ดง
พืชทั้ง 5 ชนิด อยู่ในบัญชีพืชที่ถูกคุกคามของประเทศไทย เช่นเดียวกับที่อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน พบ แคสันติสุข มะยมหิน โมกเหลือง จันแดง และปรงเขาและที่อุทยานแห่งชาติเขาหินปะการัง พบ มะกักหรือมะกอกป่าและหนามเกี่ยวไก่ เอื้องชมพูไพร ปอเจี๋ยน หัวใจทศกัณฑ์ ที่เป็นพืชเฉพาะถิ่นของประเทศไทย ทั้งนี้ ได้เก็บตัวอย่างเพื่อนำมาขยายพันธุ์ไม่ให้สูญพันธุ์ต่อไป และในปี 2554 จะสำรวจความหลากหลายอีก 3 พื้นที่ คือ อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิ๋น จ.น่าน วนอุทยานถ้ำหลวง -ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงรายและเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล จ.พิษณุโลก.
Tuesday, June 22, 2010
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment