สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เสนอ เลื่อนอายุขั้นต่ำของผู้สูงอายุ เป็น 65 ปี ขึ้นไป เนื่องจาก พบว่า คนอายุ 60 ปี ส่วนใหญ่ยังมีสุขภาพดี และมีชีวิตที่เหลือยาวนานกว่าเดิม...
รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล รอง ผอ.สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า คนไทยมีอายุยืนมากขึ้น เมื่อเทียบกับ 50 ปีก่อนที่มีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดไม่ถึง 50 ปี ปัจจุบันอายุคาดเฉลี่ยสูงขึ้นถึง 73 ปี สถานการณ์ที่คนไทยมีชีวิตยืนยาวขึ้นเช่นนี้การนิยามผู้สูงอายุโดยดูจากอายุหรือชีวิตที่ยังเหลืออยู่น่าจะเหมาะสมกว่าการนิยามด้วยจำนวนปีปฏิทินที่คนมีชีวิตอยู่มาแล้ว เพราะสมัยนี้คนอายุ 60 ปีส่วนใหญ่ยังมีสุขภาพดีและจะมีชีวิตที่เหลืออยู่เฉลี่ยอีกนานกว่า 20 ปี สถาบันจึงมีข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับสังคมไทยว่า ประเทศไทยควรจะเลื่อนอายุขั้นต่ำของผู้สูงอายุจาก 60 ปีเป็น 65 ปีขึ้นไป
นอกจากนี้ การวิจัยนำร่อง "การสำรวจทัศนคติต่อผู้สูงอายุจากมุมมองคนสองวัย" พบว่าคนวัยทำงานและเด็กวัยรุ่นมีทัศนคติที่ดีต่อผู้สูงอายุวัยต้น (60-69 ปี) มากกว่าผู้สูงอายุวัยปลาย (80 ปีขึ้นไป) และไม่เห็นว่าผู้สูงอายุน่าเบื่อหรือเป็นภาระ ไม่เห็นด้วยว่าผู้สูงอายุควรไปอยู่บ้านพักคนชรา ทั้งนี้ สถาบันจะจัดประชุมวิชาการหัวข้อ "คุณค่าผู้สูงอายุในสายตาสังคมไทย" วันที่ 1 ก.ค. ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์.
Wednesday, June 30, 2010
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment