Tuesday, June 29, 2010

แฉพบปัญหาร้านเกมละเมิดลิขสิทธิ์อื้อ

โดยอัตราการละเมิดในไทยสูงถึง 75% ยอมรับ ตร.ไม่อาจตามจับได้ครอบคลุมทุกร้าน ระบุ ร้านเน็ตต้องรับภาระดูแลเด็ก ด้าน กรมทรัพย์สินฯ ย้ำไม่เคยส่ง จนท.ไปจับร้านค้าละเมิดลิขสิทธิ์เอง...

พ.ต.อ.ศรายุทธ พูลธัญญะ รองผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าววานนี้ (28 มิ.ย.) ในการสัมมนาเรื่อง ประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ให้ปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้อย่างไรว่า จากการติดตามสถานการณ์ร้านเกมในปัจจุบัน พบว่า ยังละเลยการดูแลเด็กและเยาวชนตามข้อบังคับในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กและเยาวชน พ.ศ.2546 และพ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 โดยเฉพาะการปล่อยให้เด็กและเยาวชนเข้าเล่นเกมเกินเวลาที่กำหนด

รองผู้บังคับการกองบังคับการปราบปราม กล่าวต่อว่า นอกนากนี้ ยังมีปัญหาการปล่อยปละละเลยให้มีการเล่นพนันออนไลน์ภายในร้าน โดยทั้งหมดถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ ที่จะต้องมีธรรมาภิบาลในการดำเนินกิจการ รวมถึงต้องใส่ใจดูแลเด็กที่เข้าใช้บริการอย่างทั่วถึง ไม่เช่นนั้นจะถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย ขณะเดียวกันตนยอมรับว่าเจ้าหน้าตำรวจที่ไม่สามารถติดตามจับกุมร้านที่กระทำ ความผิดได้อย่างทั่วถึง จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ประกอบการด้วยกันเองเป็นหลักด้วย

พ.ต.อ.ศรายุทธ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ในการประกอบกิจการร้านเกม ร้านอินเทอร์เน็ต และร้านคาราโอเกะ มักพบปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมต่างๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ของร้านที่ทำการสุ่มตรวจ โดยปัจจุบันลำดับการจัดการปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ของประเทศไทยสูงถึงร้อยละ 75 นับว่าน่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะตัวเลขดักล่าวถือว่าสูงมาก และถือเป็นความน่าอับอายของประทศ ซึ่งมีสถิติการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นเช่นนี้

ด้าน นายสมบูรณ์ เฉยเจริญ ผู้แทนกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า ในร้านเกม ร้านอินเทอร์เน็ต มักพบปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ 2 ประเภท ได้แก่ โปรแกรมพื้นฐาน และโปรแกรมเพลง ท่ำคัญที่ผ่านมา มักมีผู้แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาออกไปเรียกเก็บ ส่วย ตามร้านต่างๆ ซึ่งเรื่องนี้ ขอยืนยันว่ากรมทรัพย์สินทางปัญญาไม่เคยส่งเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจจับร้านเกม ที่ละเมิดลิขสิทธิ เพราะเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ อย่างไรก็ตาม ทั้งนี้ ข้อแนะนำสำหรับผู้ประกอบการที่ติดขัดปัญหาการลงทุนด้านลิขสิทธิ์สามารถ ติดต่อไปยังซิป้าได้ และหากพบการแอบอ้างขอให้แจ้งไปที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา หมายเลขโทรศัพท์ 0 – 2547 – 4703

No comments: