นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ตนได้จัดทำร่างหนังสือชี้แจงสังคมกรณีเกี่ยวกับปัญหาเงินแป๊ะเจี๊ยะ การรับเงินบริจาคของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เสร็จแล้ว และเสนอให้คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการ กพฐ. พิจารณาเห็นชอบ ซึ่งเนื้อหาหลักจะระบุว่าปัจจุบันโรงเรียนส่วนใหญ่ดำเนินการตามกรอบหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายอยู่แล้ว โดยมีโรงเรียนถึงร้อยละ 93 ที่ไม่เก็บค่าใช้จ่ายจากผู้เรียน ส่วนกรณีที่เป็นปัญหาอยู่จะเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ มีชื่อเสียง ต้องการยกระดับมาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้อยู่ระดับที่แข่งขันกับนานาชาติตาม ความต้องการของผู้เรียน และผู้ปกครอง ดังนั้น จึงจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบเพิ่มเติมจากมาตรฐานทั่วไป เช่น จ้างครูสอนภาษาต่างประเทศ จัดการเรียนการสอนเป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษ มีชั่วโมงสอนเพิ่มขึ้น มีการฝึกปฏิบัติของนักเรียนรายบุคคล มีการเรียนการสอนตามแหล่งเรียนรู้ต่างๆ สอนเสริมนอกเวลาเรียนในวันหยุด จ้างบุคลากรผู้ทรงคุณวุฒิมาสอน รวมถึงค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของโรงเรียนบางแห่งที่ต้องติดตั้งเครื่องปรับ อากาศในห้องปฏิบัติการทางภาษา วิทยาศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ หรือห้องเรียนที่ติดถนนที่มีเสียงรบกวนมาก
นายสมเกียรติกล่าวอีกว่า สพฐ.ยังกำหนดกรอบและแนวทางของการจัดการศึกษาในส่วนที่อยู่นอกเหนือจาก หลักสูตรขั้นพื้นฐานซึ่งเปิดโอกาสให้สถานศึกษาสามารถเก็บค่าใช้จ่ายได้ 6 รายการ อาทิ ค่าใช้จ่ายสำหรับห้องเรียนพิเศษซึ่งผู้ปกครองและนักเรียนสมัครใจเข้าร่วม โครงการโดยสนับสนุนค่าใช้จ่าย เช่น หลักสูตรภาษาต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียน ซึ่งผู้ปกครองและนักเรียนสมัครใจ โดยสนับสนุนค่าใช้จ่าย เช่น โครงการพัฒนาทักษะตามความถนัดของนักเรียนนอกเวลาเรียน เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องทำความเข้าใจว่าระบบของเงินที่เป็นค่าใช้จ่าย ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษามีหลายลักษณะ ได้แก่ เงินบริจาค เงินจากการระดมทรัพยากร เงินที่เก็บจากผู้เรียนในหลักสูตรที่นอกเหนือจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้น ฐาน ส่วนเงินแป๊ะเจี๊ยะนั้นเป็นส่วนที่นอกเหนือจากประเภทของเงินทั้ง 3 ประเภทนี้.
ข้อมูลจาก ไทยรัฐ
Tuesday, December 16, 2008
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
1 comment:
ขอบคุณมากครับ สำหรับบทความดีๆ
Post a Comment