Wednesday, December 3, 2008

อนุ กก.เสนอ 3 รูปแบบตั้งเขตพื้นที่มัธยม

ดร. สุวัฒน์ เงินฉ่ำ กรรมการสภาการศึกษาในฐานะประธานอนุกรรมการพิจารณาตั้งเขตพื้นที่การ มัธยมศึกษาที่แต่งตั้งโดยสภาการศึกษา กล่าวว่า จากการประชุมอนุกรรมการฯได้พิจารณาการจัดตั้งเขตพื้นที่การมัธยมศึกษาจนได้ ข้อสรุปที่จะเสนอรูปแบบต่อที่ประชุมสภาการศึกษาตัดสินในวันที่ 4 ธ.ค.นี้ 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 จัดตั้งเขตพื้นที่การมัธยมศึกษาทุกจังหวัด หรือ 76 เขต จะมีขนาดเล็กใหญ่ตามปริมาณงานและขนาดพื้นที่ของจังหวัด รูปแบบที่ 2 มีเขตพื้นที่การมัธยมศึกษาทุกจังหวัด แต่จะมีการตั้งเครือข่ายงานวิชาการระหว่างเขตพื้นที่การมัธยมศึกษาช่วยดูแล งานวิชาการให้มีความเข้มแข็ง และรูปแบบที่ 3 จัดตั้งเขตพื้นที่การมัธยมศึกษา 46 เขต โดยจะมีการยุบรวมจังหวัดที่พื้นที่ใกล้เคียงกันมาอยู่ในเขตเดียวกัน


ดร. สุวัฒน์กล่าวอีกว่า สำหรับโครงสร้างบุคลากรจะจัดกรอบตามขนาดและปริมาณงานของเขตพื้นที่การ มัธยมศึกษาแต่ละแห่ง ซึ่งเขตใหญ่ก็จะมีบุคลากรมากกว่าเขตที่ขนาดเล็กกว่า โดยจะมีการโอนบุคลากรในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในสังกัด สพฐ.มาสังกัดกับเขตพื้นที่ฯ และโรงเรียนมัธยมศึกษาจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลและบริหารของเขตพื้นที่การ มัธยมศึกษาด้วย ส่วนโรงเรียนระดับประถมศึกษาก็ให้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ตามเดิม อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อยุติว่าโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาควรจะให้สังกัด สพท. หรือเขตพื้นที่การมัธยมศึกษา จึงต้องเสนอที่ประชุมสภาการศึกษาพิจารณา


ดร. สุวัฒน์กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ จะต้องเสนอให้ที่ประชุมสภาการศึกษาตัดสินด้วยว่าจะต้องมีการแก้ไข พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ, พ. ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการให้สอดรับกับการจัดตั้งเขตพื้นที่ การมัธยมศึกษาหรือไม่ หากเรื่องนี้ผ่านการเห็นชอบของที่ประชุมสภาการศึกษาแล้ว ในขั้นตอนต่อไปจะต้องเสนอเรื่องให้ รมว.ศึกษาธิการพิจารณาตัดสินเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี ซึ่งอาจจะไม่ต้องเสนอปรับแก้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องก็ได้ แต่รัฐมนตรีอาจใช้อำนาจประกาศตั้งเขตพื้นที่การมัธยมศึกษาก็ได้โดยทั้งหมด นี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ รมว.ศึกษาธิการ.

ข้อมูลจาก ไทยรัฐ

No comments: