นักวิทยาศาสตร์การเกษตรของสหรัฐฯ กล่าวแจ้งว่า มนุษยชาติจวนจะย่างเข้าใกล้ "ความสำเร็จทางเกษตรครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด ในรอบระยะ 10,000 ปี" เนื่องด้วยนักวิจัยจวนจะปลูก "พืชผลทางเกษตรยืนต้นได้ทั้งปี"
ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา พืชผลทางเกษตรต่างๆ จะต้องลงมือเพาะปลูกใหม่แต่ละปี หรือแต่ละหน้า ซึ่งการเพาะปลูกรายปีแบบนี้ ต้องใช้ทุน รอนและแรงงานตามท้องไร่ท้องนาจำนวนมาก
นักวิทยาศาสตร์เรื่องดิน ศาสตราจารย์ จอห์น รีแกนโนลด์ กล่าวว่า "คนพูดถึงความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งเป็นเพียงครึ่งเดียวของเรื่อง เราควรจะต้องพูดถึงเรื่องทั้งความมั่นคงทางอาหาร และความมั่นคงของระบบนิเวศด้วย"
เขากับคณะได้ยกความสำคัญของ พืชผลทางเกษตรยืนต้นขึ้นมาพูด กล่าวให้เห็นว่าพืชผลแบบนั้นจะไม่จำเป็นต้องเพาะปลูกกันใหม่ทุกฤดู ช่วยประหยัดการใช้เครื่องมือทางการเกษตรไถหว่านไปบนไร่นาแปลงเดียวอยู่ครั้งแล้วครั้งเล่า พืชพันธุ์ ก็จะหย่อนรากลงไปได้ลึก มีระบบรากที่แข็งแรงกว่าพืชพันธุ์ที่ต้องปลูกกันทุกปี และยังจะประหยัดน้ำ ซึ่งน้ำเป็นปัญหาใหญ่ของการเกษตร รวมทั้งยังส่งผลให้กับสิ่งแวดล้อมด้วย
อาจารย์จอห์นบอกต่อไปว่า แม้ ปัจจุบันพืชผลทางเกษตรยืนต้นยังไม่มี แต่ก็อาจจะเพาะขึ้นได้หากพยายามเพียงพอ มันอยู่ที่ทุนรอนที่จะทุ่มลงไปในการวิจัยเท่านั้น ซึ่งเชื่อว่าหากมีงบพัฒนาอย่างพอเพียง พืชพันธุ์เกษตรยืนต้นจะปรากฏขึ้นในเวลาไม่เกิน 20 ปี ในความเห็นของเขา ถือว่าเป็นความก้าวหน้าครั้งใหญ่ในการผลิตอาหาร ไม่ แพ้กับที่เผ่าพันธุ์มนุษย์ได้เปลี่ยนจากสังคมเที่ยวเก็บหาและล่าสัตว์ มาเป็นสังคมทำไร่ไถนา.
Thursday, July 1, 2010
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment