รศ.ดร.กัลยา วานิชย์บัญชา ผอ.ศูนย์ให้คำปรึกษาและวิจัยทางสถิติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานโครงการศึกษาความคิดเห็นและปัจจัยที่ส่งผลต่อการ เปลี่ยน/ไม่เปลี่ยนสถานภาพของข้าราชการสายวิชาการ และ นักวิจัยสายช่วยวิชาการ เปิดเผยว่า ในวันที่ 6 ก.พ.นี้ จะครบ 1 ปีที่ จุฬาฯเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือออกนอกระบบ นั้น จากการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยน/ไม่เปลี่ยน สถานภาพของบุคลากร พบว่า 1.ระบบสวัสดิการยังไม่ชัดเจน เช่น สิทธิรักษาพยาบาล 2.ค่าตอบแทนบุคลากร ที่ยังไม่ได้รับตามที่ต้องการ โดยได้รับเพียง 1.3 เท่า จึงขอดูสถานการณ์ก่อนที่จะตัดสินใจออกนอกระบบ และ 3. ระบบประเมินผลการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งบุคลากรให้ความสำคัญมาก และ มหาวิทยาลัยก็ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อปรับปรุงระบบการประเมินดังกล่าว โดยเน้นการประเมินที่เป็นระบบ มีความชัดเจน เป็นธรรมโปร่งใส และสะท้อนการทำงานของบุคลากรได้จริง
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า อยากให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ นายจุรินทร์ ลักษณ วิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ ประกาศท่าทีที่ชัดเจนว่า จะเอาอย่างไรกับการออกนอกระบบ เพื่อมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จะได้กำหนดทิศทางการทำงานได้ถูกต้อง.
Wednesday, February 4, 2009
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment