เมื่อวันที่ 12 ก.พ. คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานครั้งที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีการหารือ ถึงนโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ โดย กพฐ. ได้เน้นย้ำขอให้รัฐบาลทำความชัดเจนว่าการจัดเรียนฟรีนั้นฟรีแค่ไหน เพราะจะเป็นปัญหาในทางปฏิบัติกับ โรงเรียน เนื่องจากโรงเรียนจะไม่สามารถเก็บค่าใช้จ่าย เพิ่มเติมได้ และนอกจากเรียนฟรีแล้วจะต้องเน้นเรื่องของคุณภาพการศึกษาให้มากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามในส่วนของโครงการเรียนฟรี 15 ปีนั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รวบรวมความคิดเห็นจากการประชาพิจารณ์ทั้ง 2 ครั้ง พร้อมจัดทำ แนวปฏิบัติเสนอต่อ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว. ศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยแนวปฏิบัติที่มีการเสนอ คือ ให้เน้นจัดทำในรูปของคูปอง แต่ได้มีการยืดหยุ่นว่าหากโรงเรียนใดมีปัญหาในทางปฏิบัติสามารถเสนอแนวทาง อื่นเพื่อขอความเห็นชอบจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ได้ แต่ทั้งนี้ก็ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก 4 ภาคีเครือข่ายก่อน ซึ่งได้แก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาที่จะร่วมกันพิจารณาด้วย
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ กพฐ.ยังเห็นชอบรายงานผลการวิจัยเรื่องการศึกษาแนวทางการ พัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีนักเรียนน้อยกว่า 120 คนลงมา ซึ่งได้รับเงินอุดหนุนรายหัวเพิ่มเติมในระดับก่อนประถมและประถมศึกษา 500 บาทต่อคน/ปี และระดับ ม.ต้นและ ม.ปลาย 1,000 บาทต่อคน/ปี เพื่อนำเสนอ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่างบประมาณที่ได้รับเพิ่มสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนขนาดเล็กในทางบวกอย่างเห็นได้ชัด อาทิ ทำให้โรงเรียนมีสื่อการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น โรงเรียนสามารถจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่มีความหลากหลายเพิ่ม ขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเสนอของบกลาง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในปีการศึกษา 2552 ส่วนจะเป็นการอนุมัติปีต่อปีหรืออนุมัติเพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวเป็นการต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ครม.
Sunday, February 15, 2009
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
1 comment:
ขอบคุณมากครับ สำหรับบทความดีๆ
Post a Comment