จากการสัมมนาเรื่อง “การศึกษาไทย ปัญหาอยู่ที่ไหน” ที่มหาวิทยาลัยธรรม�ศาสตร์ ท่าพระจันทร์ รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีต รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า สำหรับปัญหาการศึกษาของประเทศไทย อยู่ที่สังคมและครอบครัว ไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปการศึกษา อีกทั้งการศึกษาก็ไม่ได้เป็นวาระแห่งชาติ มีการปรับเปลี่ยนผู้ที่มาดำรงตำแหน่ง รมว.ศึกษาธิการมากถึง 10 คน ในรอบ 7 ปี และเมื่อแต่ละคนเข้ามาก็จะดำเนินการตามนโยบายของตนเอง ส่งผลให้ขาดความต่อเนื่อง การจัดสรรงบประมาณไม่มีคุณภาพ และการศึกษาเป็นเครื่องมือทางการเมือง สำหรับแนวทางการแก้ไขนั้น รัฐบาลจะต้องมีความมุ่งมั่นและเดินหน้าไปในทิศทางเดียวกันทุกรัฐบาล ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงตามนโยบายพรรค ต้องมีการสร้างจิตวิญญาณความเป็นครูให้เกิดขึ้น เพื่อเอื้อให้คนอยากมาเป็นครู รวมทั้งควรมีการสร้างหลักสูตรที่พัฒนาคุณภาพเด็ก
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากระบบการศึกษาที่ไม่ยืดหยุ่น ส่งผลให้การศึกษาไทยเกิดปัญหา การจัดการขาดประสิทธิภาพ มีการตีกรอบกระบวนการเรียนรู้ ทำให้เด็กคิดเหมือนๆ กันหมด ไม่สามารถคิดตามจินตนาการของตนเองได้ ทำให้เด็กเบื่อโรงเรียน ในขณะที่การปฏิรูปครูก็ไม่ได้มีการทำอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนที่จะเข้าสู่ วิชาชีพครูได้คนที่ไม่มีคุณภาพ การปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาจึงไม่สามารถพัฒนาการศึกษาให้ดีขึ้นได้ มีแต่ถอยหลังไปเรื่อยๆ ที่สำคัญการศึกษาระดับอนุบาลซึ่งเป็นรากฐานของการศึกษาในระดับอื่นๆ ก็ถูกละเลยมาโดยตลอด จึงอยากฝากไปถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายรัฐมนตรี และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ ควรหันมาให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเรื่องคุณภาพการศึกษาของประเทศเป็น อันดับแรก ก่อนที่จะทำนโยบายประชานิยม.
Monday, February 2, 2009
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment