ร.ร.สาธิตทั่วประเทศขานรับนโยบายเรียนฟรี 4 ข้อ แต่ขอยกเว้นค่ากิจกรรม เหตุค่าใช้จ่ายสูง ขอเรียกเก็บผู้ปกครองเอง ด้าน ร.ร.สาธิต มศว เร่งสำรวจผู้ปกครองที่จะสละสิทธิ์และขอรับสิทธิ์
นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวถึงนโยบายเรียนฟรี 15 ปีของรัฐบาลว่า ได้มอบหมายให้โรงเรียนสาธิตในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาทั้ง 55 แห่ง ไปสำรวจความคิดเห็นของผู้ปกครองว่าจะมีผู้สละสิทธิ์หรือไม่ ใน 3 รายการ ได้แก่ ชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียน และตำราเรียน จากนั้นให้รายงานกลับมายังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ภายในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ แต่ทั้ง 3 รายการเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่นักเรียนทุกคนมีสิทธิ์ได้รับตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นถ้ามีการสละสิทธิ์จะเป็นรายบุคคล ไม่ใช่สละสิทธิ์ทั้งสถานศึกษา
ผศ. พวงทอง อ่อนจำรัส ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวถึงนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ซึ่งรัฐบาลจะให้การอุดหนุนโรงเรียนต่างๆ ใน 5 รายการ ว่า เมื่อเร็วๆ นี้โรงเรียนสาธิตทั่วประเทศได้ประชุมร่วมกันที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า ที่ประชุมมีมติจะขอรับการสนับสนุนเพียง 4 รายการ คือ ค่าเล่าเรียน ค่าหนังสือ ค่าอุปกรณ์การเรียน และค่าเครื่องแบบนักเรียน แต่ไม่ขอรับค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจากรัฐบาล โดยจะขอเก็บจากผู้ปกครองเอง เนื่องจากแต่ละปีมีการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมศักยภาพนักเรียนหลายโครงการ เพื่อให้นักเรียนในสังกัดมีศักยภาพที่สูงกว่าเด็กทั่วไป ส่วนอุปกรณ์การเรียนการสอนนั้นโรงเรียนจะจัดหาวัสดุที่มีคุณภาพและในกรอบที่ รัฐบาลกำหนด แต่หากมีค่าใช้จ่ายส่วนเกินออกมา ผู้ปกครองก็ต้องดูแลในส่วนนี้ รวมทั้งชุดนักเรียนของโรงเรียนสาธิตจะไม่เหมือนชุดนักเรียนของโรงเรียน ทั่วไป อาจจะสูงกว่าที่อื่นๆ โรงเรียนจะเรียกผู้ปกครองมาหารือกันในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ และให้ผู้ปกครองยื่นความจำนงว่าจะขอรับการสนับสนุนหรือไม่ คาดว่าจะได้รายชื่อนักเรียนผู้ที่ขอรับการสนับสนุนทั้งหมด จากนั้นจะส่งรายชื่อต่อไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ภายในวันที่ 2 มีนาคม
ผศ. นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า โรงเรียนสาธิตในสังกัด 3 แห่ง คือ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน จะประชุมผู้ปกครองเพื่อชี้แจงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ เกี่ยวกับการขอรับการอุดหนุน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแบบนักเรียน แบบเรียน สื่อการเรียน ค่าใช้จ่ายรายหัว รวมทั้งกรณีที่จะต้องจ่ายเงินส่วนต่างเอง
Friday, February 20, 2009
คาดโทษดึงเด็กผีใช้สิทธิ์เรียนฟรี 227 ร.ร.เอกชนเปิดลอยตัว
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ได้หารือแนวปฏิบัติตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่าง มีคุณภาพในส่วนของ สพฐ. โดยเรื่องชุดนักเรียนและอุปกรณ์จะหารือกับสำนักงบประมาณ ว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะไม่ล็อกรายการ ในส่วนชุดนักเรียนสามารถซื้อส่วนประกอบอื่นของชุดนักเรียนได้ อาทิ ถุงเท้า รองเท้า ชุดพละ ชุดลูกเสือเนตรนารี ส่วนแนวปฏิบัติการจัดซื้อหนังสือเรียนให้แต่ละโรงเรียนมีคณะกรรมการดำเนิน การ โดยเลือกซื้อจากบัญชีรายชื่อหนังสือที่ผ่านการตรวจจากกระทรวงศึกษาธิการ เท่านั้น ซึ่งมี 1,123 รายการ จาก 12 สำนักพิมพ์ โดย สพฐ.จะนำแนวปฏิบัติขึ้นเว็บไซต์ สพฐ. วันที่ 20 ก.พ. ส่วนข้อห่วงใยเรื่องค่าคอมมิชชั่นนั้น ได้เจรจากับทางสำนักพิมพ์ให้มีส่วนลด 20% และกำหนดว่าเงินส่วนนี้ต้องนำไปซื้อหนังสือให้กับโรงเรียนเท่านั้น สำหรับปัญหาของเด็กผีนั้น การจัดสรรเงิน สพฐ.จะใช้ตัวเลข 13 หลักที่ไม่ซ้ำกัน หากพื้นที่ใดมีเลข 13 หลักซ้ำกันเขตพื้นที่การศึกษาต้องรับผิดชอบ ขณะนี้ สพฐ.ได้สั่งให้ชะลอการเก็บเงินบำรุงการศึกษาไว้ก่อน คาดว่าสัปดาห์หน้าจะสามารถออกประกาศได้ว่าจะสามารถเก็บรายการใดได้บ้าง
ด้านนายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร ผอ.สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กล่าวว่า จากการสำรวจข้อมูลพบว่า มีโรงเรียนเอกชนที่ไม่ขอรับเงินอุดหนุน และขอเปิดเพดานการเก็บค่าเล่าเรียนลอยตัว 227 โรง ดังนั้น โรงเรียนกลุ่มนี้จะไม่ได้รับสิทธิ์ตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปีทั้ง 5 รายการ และเชื่อว่าจะไม่มีผู้ปกครองรายใดฟ้องร้องเพื่อขอใช้สิทธิ์ภายหลัง เพราะก่อนที่ทางโรงเรียนจะรับเด็กเข้าเรียนมีการประชาสัมพันธ์แจ้งผู้ปกครอง ทราบแล้วว่า เป็นโรงเรียนที่ไม่รับเงินอุดหนุน และเก็บค่าเล่าเรียนลอยตัว ซึ่ง สช.จะไม่เข้าไปควบคุมการเก็บค่าเล่าเรียน แต่จะดูแลในเรื่องของคุณภาพเท่านั้น แต่คิดว่าในปีการศึกษา 2552 อาจจะมีโรงเรียนอนุบาลบางแห่งที่ไม่ขอรับเงินอุดหนุน กลับมาขอรับเงินอุดหนุน เพราะในปีการศึกษา 2552 เป็นปีแรกที่รัฐให้การอุดหนุนอนุบาล 3 ขวบ หรืออนุบาล 1 ทั้งนี้ ผู้ปกครองสามารถดูรายชื่อโรงเรียนที่ไม่ขอรับเงินอุดหนุนได้ที่ www.opec.go.th
ด้านนายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร ผอ.สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กล่าวว่า จากการสำรวจข้อมูลพบว่า มีโรงเรียนเอกชนที่ไม่ขอรับเงินอุดหนุน และขอเปิดเพดานการเก็บค่าเล่าเรียนลอยตัว 227 โรง ดังนั้น โรงเรียนกลุ่มนี้จะไม่ได้รับสิทธิ์ตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปีทั้ง 5 รายการ และเชื่อว่าจะไม่มีผู้ปกครองรายใดฟ้องร้องเพื่อขอใช้สิทธิ์ภายหลัง เพราะก่อนที่ทางโรงเรียนจะรับเด็กเข้าเรียนมีการประชาสัมพันธ์แจ้งผู้ปกครอง ทราบแล้วว่า เป็นโรงเรียนที่ไม่รับเงินอุดหนุน และเก็บค่าเล่าเรียนลอยตัว ซึ่ง สช.จะไม่เข้าไปควบคุมการเก็บค่าเล่าเรียน แต่จะดูแลในเรื่องของคุณภาพเท่านั้น แต่คิดว่าในปีการศึกษา 2552 อาจจะมีโรงเรียนอนุบาลบางแห่งที่ไม่ขอรับเงินอุดหนุน กลับมาขอรับเงินอุดหนุน เพราะในปีการศึกษา 2552 เป็นปีแรกที่รัฐให้การอุดหนุนอนุบาล 3 ขวบ หรืออนุบาล 1 ทั้งนี้ ผู้ปกครองสามารถดูรายชื่อโรงเรียนที่ไม่ขอรับเงินอุดหนุนได้ที่ www.opec.go.th
ยันครูเอกชนต้องได้เงินค่าครองชีพ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวถึงกรณีครูและบุคลากรของโรงเรียนเอกชนที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท ต่อเดือน แต่ไม่สามารถรับเงินช่วยเหลือค่าครองชีพ 2,000 บาท ได้ เพราะไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายประกันสังคม ว่า รับทราบปัญหาดังกล่าวแล้ว และได้ทำหนังสือหารือไปที่สำนักงบประมาณ ถึงแนวทางการช่วยเหลือกรณีครูและบุคลากรของโรงเรียนเอกชน ที่ไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการช่วยเหลือ เนื่องจาก พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 86 กำหนดให้กิจการของโรงเรียนเอกชนไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการ คุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ทำให้ครูและบุคลากรของโรงเรียนเอกชนที่มีรายได้ ตามเกณฑ์ จะไม่ได้รับการช่วยเหลือค่าครองชีพ จำนวน 132,604 คน ทั้งนี้ สำนักงบฯแจ้งมาแล้วว่า รัฐบาลสามารถนำเงินงบประมาณฯกลางมาช่วยเหลือค่าครองชีพของครูและบุคลากร โรงเรียนเอกชนได้ โดยจะใช้งบฯกลาง 265,208,000 บาท ตนจึงลงนามในร่างแก้ไข พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 ซึ่งอยู่ระหว่างการบรรจุเข้าสู่วาระของที่ประชุม ครม. ซึ่งจะทำให้ครูและบุคลากรโรงเรียนเอกชนได้กลับมารับสิทธิในกองทุนประกัน สังคมเหมือนที่ผ่านมาได้ และจะทำให้ได้สิทธิรับเงินช่วยเหลือค่าครองชีพ 2,000 บาท
“เมื่อเป็นนโยบายรัฐบาลที่จะช่วยเหลือประชาชนที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน และครูเอกชนที่เข้าข่ายเกณฑ์ดังกล่าวก็จะต้องได้รับเงินช่วยเหลือด้วย ส่วนจะได้รับเงินพร้อมข้าราชการและผู้ประกันตนที่รัฐจะเริ่มทยอยจ่ายให้ ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค.-8 เม.ย.นี้ หรือไม่ คงต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ครม. และแม้ว่าการแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน ไม่ทันในระยะเวลาที่จะมีการจ่ายเงินดังกล่าว ก็ยืนยันว่าจะไม่เป็นอุปสรรค” รมว.ศึกษาธิการกล่าว.
“เมื่อเป็นนโยบายรัฐบาลที่จะช่วยเหลือประชาชนที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน และครูเอกชนที่เข้าข่ายเกณฑ์ดังกล่าวก็จะต้องได้รับเงินช่วยเหลือด้วย ส่วนจะได้รับเงินพร้อมข้าราชการและผู้ประกันตนที่รัฐจะเริ่มทยอยจ่ายให้ ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค.-8 เม.ย.นี้ หรือไม่ คงต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ครม. และแม้ว่าการแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน ไม่ทันในระยะเวลาที่จะมีการจ่ายเงินดังกล่าว ก็ยืนยันว่าจะไม่เป็นอุปสรรค” รมว.ศึกษาธิการกล่าว.
กมธ.ศึกษาเรียกตัวบิ๊กเสมาแจงเรียนฟรี คาดโทษยัดเด็กผี
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ที่อาคารรัฐสภา 3 มีการประชุมคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ในประเด็นนโยบายเรียนฟรี 15 อย่างมีคุณภาพ โดยมีผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการเข้าชี้แจง นายอภิชาติ การิกาญจน์ ประธาน กมธ.การศึกษา กล่าวว่า จากการรับฟังการชี้แจงพบว่ามีความลงตัว มากขึ้น ในขณะที่นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะที่ปรึกษา กมธ.การศึกษา กล่าวว่า ที่ประชุมได้แสดงความห่วงใยเกี่ยวกับปัญหาเด็กผี จึงให้กระทรวงศึกษาธิการกำชับเรื่องนี้ไปยังโรงเรียนทุกแห่ง เพื่อคาดโทษไว้ก่อน และควรจะต้องกำหนดบทลงโทษที่ชัดเจนด้วย เพราะถือเป็นการปล้นทรัพยากรชาติ
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวถึงการสละสิทธิ์ในโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพว่า ได้ให้โรงเรียนสาธิตในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ทั้ง 55 แห่ง ไปสำรวจความคิดเห็นของผู้ปกครองว่าจะมีผู้สละสิทธิ์ใน 3 รายการได้แก่ ชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียน และตำราเรียนหรือไม่ จากนั้นให้รายงานกลับมายัง สกอ.ภายในวันที่ 27 ก.พ. อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นได้คุยกับโรงเรียนสาธิตแล้วว่าการสละสิทธิ์ดังกล่าวเป็นการสละ สิทธิ์เป็นรายบุคคล ไม่ใช่ทั้งสถานศึกษา เพราะได้มีการตกลงกันแล้วว่าทั้ง 3 รายการเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่นักเรียนทุกคนมีสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ สำหรับในรายการของกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนนั้น ได้ตกลงว่าโรงเรียนสาธิตทั้งหมดจะไม่รับเงินในส่วนนี้ เพื่อเปิดช่องในการระดมทรัพยากรจากผู้ปกครอง
ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน กล่าวว่า ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะเปิดให้สละสิทธิ์ใน 2 รายการคือชุดนักเรียนและอุปกรณ์ ซึ่งเป็นการจัดสรรเงินให้ไปเลือกซื้อเอง ส่วนรายการของตำราเรียนและกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน จะเป็นการดำเนินการโดยโรงเรียน ซึ่งจะจัดให้กับนักเรียนทุกคน ทั้งนี้ สพฐ.ได้มอบหมายให้โรงเรียนในสังกัดไปประชุมและทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง เกี่ยวกับนโยบายเรียนฟรี รวมทั้งการสละสิทธิ์ ในวันที่ 27 ก.พ. และให้รายงานกลับมายัง สพฐ.ภายในวันที่ 6 มี.ค.นี้ ทั้งนี้ การสละสิทธิ์ดังกล่าวจะเป็นปีต่อปี.
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวถึงการสละสิทธิ์ในโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพว่า ได้ให้โรงเรียนสาธิตในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ทั้ง 55 แห่ง ไปสำรวจความคิดเห็นของผู้ปกครองว่าจะมีผู้สละสิทธิ์ใน 3 รายการได้แก่ ชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียน และตำราเรียนหรือไม่ จากนั้นให้รายงานกลับมายัง สกอ.ภายในวันที่ 27 ก.พ. อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นได้คุยกับโรงเรียนสาธิตแล้วว่าการสละสิทธิ์ดังกล่าวเป็นการสละ สิทธิ์เป็นรายบุคคล ไม่ใช่ทั้งสถานศึกษา เพราะได้มีการตกลงกันแล้วว่าทั้ง 3 รายการเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่นักเรียนทุกคนมีสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ สำหรับในรายการของกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนนั้น ได้ตกลงว่าโรงเรียนสาธิตทั้งหมดจะไม่รับเงินในส่วนนี้ เพื่อเปิดช่องในการระดมทรัพยากรจากผู้ปกครอง
ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน กล่าวว่า ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะเปิดให้สละสิทธิ์ใน 2 รายการคือชุดนักเรียนและอุปกรณ์ ซึ่งเป็นการจัดสรรเงินให้ไปเลือกซื้อเอง ส่วนรายการของตำราเรียนและกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน จะเป็นการดำเนินการโดยโรงเรียน ซึ่งจะจัดให้กับนักเรียนทุกคน ทั้งนี้ สพฐ.ได้มอบหมายให้โรงเรียนในสังกัดไปประชุมและทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง เกี่ยวกับนโยบายเรียนฟรี รวมทั้งการสละสิทธิ์ ในวันที่ 27 ก.พ. และให้รายงานกลับมายัง สพฐ.ภายในวันที่ 6 มี.ค.นี้ ทั้งนี้ การสละสิทธิ์ดังกล่าวจะเป็นปีต่อปี.
จี้รร.เร่งสำรวจคนสละสิทธิ์เรียนฟรี
โรงเรียนสาธิตฯขอเก็บค่ากิจกรรมผู้เรียนเอง อ้างรับจากรัฐบาลเป็นข้อจำกัดพัฒนาศักยภาพเด็ก
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า ตนได้มอบหมายให้โรงเรียนสาธิตในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ทั้ง 55 แห่ง ไปสำรวจความคิดเห็นของผู้ปกครองว่าจะมีผู้สละสิทธิ์ ใน 3 รายการ ได้แก่ ชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียน และตำราเรียน ตามโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ หรือไม่แล้ว โดยให้รายงานกลับมายัง สกอ. โดยการสละสิทธิ์จะเป็นการสละสิทธิ์รายบุคคล ไม่ใช่การสละสิทธิ์ทั้งสถานศึกษา
ผศ.พวงทอง อ่อนจำรัส ผอ.โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า จากการประชุมผู้บริหารโรงเรียนสาธิตทั่วประเทศ 2 ครั้ง ที่ประชุมมีมติว่า โรงเรียนสาธิตฯจะขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาลเพียง 4 รายการ คือ ค่าเล่าเรียน ค่าหนังสือ ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียน ส่วนค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนนั้นไม่ขอรับการสนับสนุน แต่จะขอเก็บจากผู้ปกครองเอง เนื่องจากแต่ละปีโรงเรียนสาธิตจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมศักยภาพนักเรียน หลายโครงการ หากรับการสนับสนุนจากรัฐบาลอาจจะเป็นข้อจำกัดในการพัฒนาศักยภาพนักเรียนใน ส่วนนี้ได้
ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวว่า ขณะนี้โรงเรียนสาธิต มศว กำลังสำรวจผู้ปกครองว่าใครจะขอรับสิทธิหรือสละสิทธิ์บ้าง ซึ่งหากมีผู้สละสิทธิ์โรงเรียนจะนำเงินส่วนนั้นไปช่วยเหลือครอบครัวเด็กที่ มีความจำเป็น โดยจะมีการประชุมผู้ปกครองเพื่อชี้แจงและให้ผู้ปกครองได้ตัดสินใจในวันที่ 28 ก.พ.นี้
ด้าน ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า สพฐ.ได้มอบหมายให้โรงเรียนในสังกัดไปประชุมและทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง เกี่ยวกับนโยบายเรียนฟรี รวมทั้งการสละสิทธิ์ ในวันที่ 27 ก.พ.และให้รายงานกลับมายัง สพฐ.ภายในวันที่ 6 มี.ค.โดยโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพในส่วนของ สพฐ. ที่จะจัดสรรเงินให้นักเรียนและผู้ปกครองไปเลือกซื้อเอง มี 2 รายการ คือ ชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียน หากใครสละสิทธิ์จะเป็นการสละสิทธิ์ปีต่อปีไม่ผูกพันในปีต่อ ๆ ไป ส่วนตำราเรียนและ กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนจะจัดให้แก่นักเรียนทุกคน.
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า ตนได้มอบหมายให้โรงเรียนสาธิตในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ทั้ง 55 แห่ง ไปสำรวจความคิดเห็นของผู้ปกครองว่าจะมีผู้สละสิทธิ์ ใน 3 รายการ ได้แก่ ชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียน และตำราเรียน ตามโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ หรือไม่แล้ว โดยให้รายงานกลับมายัง สกอ. โดยการสละสิทธิ์จะเป็นการสละสิทธิ์รายบุคคล ไม่ใช่การสละสิทธิ์ทั้งสถานศึกษา
ผศ.พวงทอง อ่อนจำรัส ผอ.โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า จากการประชุมผู้บริหารโรงเรียนสาธิตทั่วประเทศ 2 ครั้ง ที่ประชุมมีมติว่า โรงเรียนสาธิตฯจะขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาลเพียง 4 รายการ คือ ค่าเล่าเรียน ค่าหนังสือ ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียน ส่วนค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนนั้นไม่ขอรับการสนับสนุน แต่จะขอเก็บจากผู้ปกครองเอง เนื่องจากแต่ละปีโรงเรียนสาธิตจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมศักยภาพนักเรียน หลายโครงการ หากรับการสนับสนุนจากรัฐบาลอาจจะเป็นข้อจำกัดในการพัฒนาศักยภาพนักเรียนใน ส่วนนี้ได้
ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวว่า ขณะนี้โรงเรียนสาธิต มศว กำลังสำรวจผู้ปกครองว่าใครจะขอรับสิทธิหรือสละสิทธิ์บ้าง ซึ่งหากมีผู้สละสิทธิ์โรงเรียนจะนำเงินส่วนนั้นไปช่วยเหลือครอบครัวเด็กที่ มีความจำเป็น โดยจะมีการประชุมผู้ปกครองเพื่อชี้แจงและให้ผู้ปกครองได้ตัดสินใจในวันที่ 28 ก.พ.นี้
ด้าน ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า สพฐ.ได้มอบหมายให้โรงเรียนในสังกัดไปประชุมและทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง เกี่ยวกับนโยบายเรียนฟรี รวมทั้งการสละสิทธิ์ ในวันที่ 27 ก.พ.และให้รายงานกลับมายัง สพฐ.ภายในวันที่ 6 มี.ค.โดยโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพในส่วนของ สพฐ. ที่จะจัดสรรเงินให้นักเรียนและผู้ปกครองไปเลือกซื้อเอง มี 2 รายการ คือ ชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียน หากใครสละสิทธิ์จะเป็นการสละสิทธิ์ปีต่อปีไม่ผูกพันในปีต่อ ๆ ไป ส่วนตำราเรียนและ กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนจะจัดให้แก่นักเรียนทุกคน.
"จุรินทร์"ชงของบฯกลาง
จ่ายค่าครองชีพครูเอกชน
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการช่วยเหลือครูและบุคลากรของโรงเรียนเอกชนที่มีราย ได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน แต่ไม่สามารถรับเงินช่วยเหลือค่าครองชีพ 2,000 บาท ได้เนื่องจากไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายประกันสังคม ว่า จากการที่ตนทำหนังสือหารือไปยังสำนักงบประมาณ ถึงแนวทางการช่วยเหลือครูและบุคลากรของโรงเรียนเอกชน ที่มีรายได้ตามเกณฑ์จะได้รับการช่วยเหลือค่าครองชีพ จำนวน 132,604 คน โดยเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ส่งเงินเข้ากองทุนสงเคราะห์ จำนวน 91,852 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่อยู่นอกกองทุนสงเคราะห์ จำนวน 25,420 คน และบุคลากรอื่นที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนเอกชน จำนวน 15,332 คน นั้น ทางสำนักงบประมาณได้แจ้งมาแล้วว่า รัฐบาลสามารถนำงบประมาณกลางมาช่วยเหลือค่าครองชีพบุคลากรเหล่านี้ได้ ดังนั้นตนจึงได้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติงบ ประมาณกลาง จำนวน 265,208,000 บาท มาช่วยเหลือค่าครองชีพ จำนวน 2,000 บาท ให้แก่ครูและบุคลากรในโรงเรียนเอกชนแล้ว
“เมื่อเป็นนโยบายรัฐบาลที่จะช่วยเหลือประชาชนที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน ครูเอกชนที่เข้าข่ายดังกล่าวก็ต้องได้รับเงินช่วยเหลือในมาตรฐานเดียวกัน ส่วนจะได้รับเงินพร้อมข้าราชการ และผู้ประกันตนที่รัฐจะเริ่มทยอยจ่ายให้ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค.-8 เม.ย.นี้หรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
นายจุรินทร์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ตนยังได้ลงนามในร่างแก้ไข พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 เข้าสู่วาระการประชุม ครม. แล้วเช่นกัน โดยการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวก็เพื่อให้ครูและบุคลากรโรงเรียนเอกชนได้กลับมา รับสิทธิในกองทุนประกันสังคมเหมือนที่ผ่านมาได้ อย่างไรก็ตามถึงแม้การแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ. โรงเรียนเอกชน อาจจะแล้วเสร็จไม่ทันช่วงเวลาที่จะมีการจ่ายเงินช่วยเหลือ 2,000 บาท ให้แก่ข้าราชการและผู้ประกันตน แต่ก็ขอยืนยันว่าจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการพิจารณาช่วยเหลือค่าครองชีพของแก่ ครูและบุคลากรในโรงเรียนเอกชนแน่นอน.
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการช่วยเหลือครูและบุคลากรของโรงเรียนเอกชนที่มีราย ได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน แต่ไม่สามารถรับเงินช่วยเหลือค่าครองชีพ 2,000 บาท ได้เนื่องจากไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายประกันสังคม ว่า จากการที่ตนทำหนังสือหารือไปยังสำนักงบประมาณ ถึงแนวทางการช่วยเหลือครูและบุคลากรของโรงเรียนเอกชน ที่มีรายได้ตามเกณฑ์จะได้รับการช่วยเหลือค่าครองชีพ จำนวน 132,604 คน โดยเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ส่งเงินเข้ากองทุนสงเคราะห์ จำนวน 91,852 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่อยู่นอกกองทุนสงเคราะห์ จำนวน 25,420 คน และบุคลากรอื่นที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนเอกชน จำนวน 15,332 คน นั้น ทางสำนักงบประมาณได้แจ้งมาแล้วว่า รัฐบาลสามารถนำงบประมาณกลางมาช่วยเหลือค่าครองชีพบุคลากรเหล่านี้ได้ ดังนั้นตนจึงได้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติงบ ประมาณกลาง จำนวน 265,208,000 บาท มาช่วยเหลือค่าครองชีพ จำนวน 2,000 บาท ให้แก่ครูและบุคลากรในโรงเรียนเอกชนแล้ว
“เมื่อเป็นนโยบายรัฐบาลที่จะช่วยเหลือประชาชนที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน ครูเอกชนที่เข้าข่ายดังกล่าวก็ต้องได้รับเงินช่วยเหลือในมาตรฐานเดียวกัน ส่วนจะได้รับเงินพร้อมข้าราชการ และผู้ประกันตนที่รัฐจะเริ่มทยอยจ่ายให้ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค.-8 เม.ย.นี้หรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
นายจุรินทร์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ตนยังได้ลงนามในร่างแก้ไข พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 เข้าสู่วาระการประชุม ครม. แล้วเช่นกัน โดยการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวก็เพื่อให้ครูและบุคลากรโรงเรียนเอกชนได้กลับมา รับสิทธิในกองทุนประกันสังคมเหมือนที่ผ่านมาได้ อย่างไรก็ตามถึงแม้การแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ. โรงเรียนเอกชน อาจจะแล้วเสร็จไม่ทันช่วงเวลาที่จะมีการจ่ายเงินช่วยเหลือ 2,000 บาท ให้แก่ข้าราชการและผู้ประกันตน แต่ก็ขอยืนยันว่าจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการพิจารณาช่วยเหลือค่าครองชีพของแก่ ครูและบุคลากรในโรงเรียนเอกชนแน่นอน.
Sunday, February 15, 2009
สพฐ.ชงแนวปฏิบัติเรียนฟรี 15 ปีเสมา 1
เมื่อวันที่ 12 ก.พ. คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานครั้งที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีการหารือ ถึงนโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ โดย กพฐ. ได้เน้นย้ำขอให้รัฐบาลทำความชัดเจนว่าการจัดเรียนฟรีนั้นฟรีแค่ไหน เพราะจะเป็นปัญหาในทางปฏิบัติกับ โรงเรียน เนื่องจากโรงเรียนจะไม่สามารถเก็บค่าใช้จ่าย เพิ่มเติมได้ และนอกจากเรียนฟรีแล้วจะต้องเน้นเรื่องของคุณภาพการศึกษาให้มากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามในส่วนของโครงการเรียนฟรี 15 ปีนั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รวบรวมความคิดเห็นจากการประชาพิจารณ์ทั้ง 2 ครั้ง พร้อมจัดทำ แนวปฏิบัติเสนอต่อ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว. ศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยแนวปฏิบัติที่มีการเสนอ คือ ให้เน้นจัดทำในรูปของคูปอง แต่ได้มีการยืดหยุ่นว่าหากโรงเรียนใดมีปัญหาในทางปฏิบัติสามารถเสนอแนวทาง อื่นเพื่อขอความเห็นชอบจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ได้ แต่ทั้งนี้ก็ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก 4 ภาคีเครือข่ายก่อน ซึ่งได้แก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาที่จะร่วมกันพิจารณาด้วย
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ กพฐ.ยังเห็นชอบรายงานผลการวิจัยเรื่องการศึกษาแนวทางการ พัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีนักเรียนน้อยกว่า 120 คนลงมา ซึ่งได้รับเงินอุดหนุนรายหัวเพิ่มเติมในระดับก่อนประถมและประถมศึกษา 500 บาทต่อคน/ปี และระดับ ม.ต้นและ ม.ปลาย 1,000 บาทต่อคน/ปี เพื่อนำเสนอ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่างบประมาณที่ได้รับเพิ่มสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนขนาดเล็กในทางบวกอย่างเห็นได้ชัด อาทิ ทำให้โรงเรียนมีสื่อการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น โรงเรียนสามารถจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่มีความหลากหลายเพิ่ม ขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเสนอของบกลาง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในปีการศึกษา 2552 ส่วนจะเป็นการอนุมัติปีต่อปีหรืออนุมัติเพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวเป็นการต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ครม.
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ กพฐ.ยังเห็นชอบรายงานผลการวิจัยเรื่องการศึกษาแนวทางการ พัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีนักเรียนน้อยกว่า 120 คนลงมา ซึ่งได้รับเงินอุดหนุนรายหัวเพิ่มเติมในระดับก่อนประถมและประถมศึกษา 500 บาทต่อคน/ปี และระดับ ม.ต้นและ ม.ปลาย 1,000 บาทต่อคน/ปี เพื่อนำเสนอ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่างบประมาณที่ได้รับเพิ่มสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนขนาดเล็กในทางบวกอย่างเห็นได้ชัด อาทิ ทำให้โรงเรียนมีสื่อการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น โรงเรียนสามารถจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่มีความหลากหลายเพิ่ม ขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเสนอของบกลาง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในปีการศึกษา 2552 ส่วนจะเป็นการอนุมัติปีต่อปีหรืออนุมัติเพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวเป็นการต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ครม.
ศธ.นัดถก 5 องค์กรหลัก 16 ก.พ.ฟันธงเรียนฟรี
นาย จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าว กรณีมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อเนื่องถึงความเหมาะสมหรือไม่ที่จะอนุญาตให้ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดซื้อหนังสือเรียนหลักสูตรเก่า พ.ศ.2544 รวมมูลค่ากว่า 4 พันล้านบาท แจกฟรีแก่เด็กนักเรียนทั่วประเทศตั้งแต่ชั้นอนุบาล-ม.6 ตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพของรัฐบาล ว่า ได้มอบหมายให้ สพฐ.ตรวจสอบเนื้อหาหนังสือเรียนว่าสอดคล้องกับหลักสูตร 2553 หรือไม่ เมื่อผลตรวจสอบออกมาเช่นไรก็จะทราบว่าหนังสือของสำนักพิมพ์ไหน เล่มไหนสอดคล้องกับหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ อย่างไรก็ตาม วันที่ 16 ก.พ.นี้ ได้นัดประชุมผู้บริหาร 5 องค์กรหลักเพื่อหารือโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะได้ข้อสรุปในแนวปฏิบัติทั้งหมด รวมทั้งการเปิดโอกาสให้นักเรียนสละสิทธิ์หรือไม่ใช้สิทธิ์ในโครงการเรียนดัง กล่าว ด้วยว่าจะมีแนวปฏิบัติเช่นไร เมื่อได้ข้อสรุปจะทราบว่าต้องดำเนินการอะไรเพิ่มเติม ส่วนการจัดซื้อหนังสือเรียนและอุปกรณ์การเรียนและชุดนักเรียน มีแนวทางว่าให้ โรงเรียนจัดซื้อหรือให้ผู้ปกครองซื้อเอง.
สภาครุศาสตร์ชงตั้งสถาบันฝึกหัดครูชาติ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยหลังประชุมร่วมกับคณบดีคณะศึกษาศาสตร์และคณะครุศาสตร์จาก 71 สถาบันทั่วประเทศ ว่า ได้หารือถึงการผลิตและการพัฒนาคุณภาพครู ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ ของการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 เพราะหากได้ครูดีเด็กที่ จบการศึกษาก็จะมีคุณภาพ ทั้งนี้ จะมีการจัดตั้งสถาบันกำหนดมาตรฐานการผลิตครูและการพัฒนาครูขึ้น โดยออก พ.ร.บ.รองรับ ซึ่งขณะนี้ได้มอบให้สำนักงานเลขาธิ การสภาการศึกษาดำเนินการอยู่ ซึ่งจะได้เร่งรัดให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ระหว่างรอการจัดตั้งสถาบัน ตนได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุด เพื่อกำหนดทิศทางการผลิตและพัฒนาครูทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ โดยให้จัดทำแผนให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน
“คณะ กรรมการชุดนี้จะทำหน้าที่วางแผนการผลิต ครูว่า สาขาใดบ้างที่ยังขาดแคลนและควรผลิตจำนวนเท่าไร เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศในอนาคต รวมทั้งช่วยวางแผนการพัฒนาครูในสาขาวิชาที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อ่อน ได้แก่วิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา และภาษาไทย เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กในวิชาเหล่านี้ดีขึ้น ที่สำคัญให้ช่วยเสนอแนวทางว่าจะ ชักจูงให้คนเก่ง คนดีมาเรียนครูอย่างไร เพราะเป้าหมายคือต้องการสร้างครูพันธุ์ใหม่ให้เกิดขึ้น โดยได้ฝากคณบดีทั้ง 71 สถาบันว่า นอกจากมุ่งเน้นผลิตครูไปสอนให้เก่งแล้ว ขอให้มุ่งเน้นในเรื่องการปลุกฝังคุณธรรม จริยธรรม และจิตสาธารณะให้กับผู้ที่เรียนครูด้วย” รมว. ศึกษาธิการกล่าว
ด้าน รศ.ดร.สมบัติ นพรัก ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ แห่งประเทศไทย ได้ยื่นสภาพปัญหาและข้อเสนอแนะของสภาคณบดีฯ ให้ รมว.ศึกษาธิการ 4 ข้อ ซึ่งเป็นปัญหาด้านการส่งเสริมคนดี คนเก่ง เรียนครู การขาดแคลนอัตรากำลังและงบประมาณของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เนื่องจากการสุ่มวิจัยจาก 26 คณะใน 26 สถาบัน พบว่าใน 10 ปีข้างหน้าจะมีอาจารย์เกษียณอายุถึง 54% และอาจารย์ในปัจจุบันก็เหลือน้อย ทั้งนี้ ได้เสนอให้จัดตั้งสถาบันฝึกหัดครูแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพประสานข้อมูลและวางแผนการผลิตครู.
“คณะ กรรมการชุดนี้จะทำหน้าที่วางแผนการผลิต ครูว่า สาขาใดบ้างที่ยังขาดแคลนและควรผลิตจำนวนเท่าไร เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศในอนาคต รวมทั้งช่วยวางแผนการพัฒนาครูในสาขาวิชาที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อ่อน ได้แก่วิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา และภาษาไทย เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กในวิชาเหล่านี้ดีขึ้น ที่สำคัญให้ช่วยเสนอแนวทางว่าจะ ชักจูงให้คนเก่ง คนดีมาเรียนครูอย่างไร เพราะเป้าหมายคือต้องการสร้างครูพันธุ์ใหม่ให้เกิดขึ้น โดยได้ฝากคณบดีทั้ง 71 สถาบันว่า นอกจากมุ่งเน้นผลิตครูไปสอนให้เก่งแล้ว ขอให้มุ่งเน้นในเรื่องการปลุกฝังคุณธรรม จริยธรรม และจิตสาธารณะให้กับผู้ที่เรียนครูด้วย” รมว. ศึกษาธิการกล่าว
ด้าน รศ.ดร.สมบัติ นพรัก ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ แห่งประเทศไทย ได้ยื่นสภาพปัญหาและข้อเสนอแนะของสภาคณบดีฯ ให้ รมว.ศึกษาธิการ 4 ข้อ ซึ่งเป็นปัญหาด้านการส่งเสริมคนดี คนเก่ง เรียนครู การขาดแคลนอัตรากำลังและงบประมาณของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เนื่องจากการสุ่มวิจัยจาก 26 คณะใน 26 สถาบัน พบว่าใน 10 ปีข้างหน้าจะมีอาจารย์เกษียณอายุถึง 54% และอาจารย์ในปัจจุบันก็เหลือน้อย ทั้งนี้ ได้เสนอให้จัดตั้งสถาบันฝึกหัดครูแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพประสานข้อมูลและวางแผนการผลิตครู.
แย้ม4รายการรร.เก็บเงินไม่ได้
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ยกร่างแก้ไขประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เรื่องเงินบำรุงการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัด ศธ.ในส่วนของหลักเกณฑ์ว่าด้วยการเก็บเงินบำรุงการศึกษาในสถานศึกษาสังกัด สพฐ.เสร็จแล้ว และนำเสนอ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ เพื่อพิจารณาแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลักเกณฑ์ที่ สพฐ. เสนอนั้น ได้ปรับในส่วนของโครงการพัฒนาทักษะตามความถนัดของนักเรียนนอกเวลาเรียนเดิม กำหนดให้โรงเรียนเก็บได้ 9 รายการ รวมกันไม่เกิน 2,000 บาทต่อภาคเรียน ลดลงเหลือ 5 รายการรวมกันไม่เกิน 1,000 บาทต่อภาคเรียน ซึ่งรายการที่ไม่ให้จัดเก็บ 4 รายการ ได้แก่ ค่าบริการอินเทอร์เน็ตนอกเวลาเรียน ค่าตอบแทนการสอนนอกเวลา
ค่ากิจกรรมวิชาการ ค่ากิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี รวมทั้งกำหนดไว้ด้วยว่าโรงเรียนจะต้องแจ้งรายการที่จะจัดเก็บเพิ่มเติมให้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) พิจารณาเห็นชอบก่อน ซึ่งสาเหตุที่ปรับหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้ เพราะในปีการศึกษา 2551 สพฐ.ได้ให้อิสระแก่โรงเรียนในการพิจารณาโดยให้แจ้งข้อมูลให้สพท.ทราบ แต่โรงเรียนก็ไม่ได้ปฏิบัติตามที่กำหนด ทำให้สพท.ไม่ทราบข้อมูลของแต่ละโรงเรียนเลย ขณะเดียวกันก็ต้องการให้มีการกลั่นกรองรายการ เพื่อแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองให้มากที่สุดในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำ
สำหรับในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ก็กำลังปรับหลักเกณฑ์ฯเช่นกัน โดยไม่จัดเก็บใน 4 รายการ ได้แก่ องค์การวิชาชีพ ทัศนศึกษาและกิจกรรมวิชาชีพ กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี และค่าบริการคอมพิวเตอร์ 40 ชั่วโมง ส่วนเพดานการเรียกเก็บนั้น ขณะนี้กำลังพิจารณาปรับลด โดยยึดตามรายการที่กรมบัญชีกลางกำหนด ซึ่งปัจจุบันกรมบัญชีกลางได้ กำหนดเพดานไว้ที่ 3,900 บาทต่อภาคเรียน.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลักเกณฑ์ที่ สพฐ. เสนอนั้น ได้ปรับในส่วนของโครงการพัฒนาทักษะตามความถนัดของนักเรียนนอกเวลาเรียนเดิม กำหนดให้โรงเรียนเก็บได้ 9 รายการ รวมกันไม่เกิน 2,000 บาทต่อภาคเรียน ลดลงเหลือ 5 รายการรวมกันไม่เกิน 1,000 บาทต่อภาคเรียน ซึ่งรายการที่ไม่ให้จัดเก็บ 4 รายการ ได้แก่ ค่าบริการอินเทอร์เน็ตนอกเวลาเรียน ค่าตอบแทนการสอนนอกเวลา
ค่ากิจกรรมวิชาการ ค่ากิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี รวมทั้งกำหนดไว้ด้วยว่าโรงเรียนจะต้องแจ้งรายการที่จะจัดเก็บเพิ่มเติมให้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) พิจารณาเห็นชอบก่อน ซึ่งสาเหตุที่ปรับหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้ เพราะในปีการศึกษา 2551 สพฐ.ได้ให้อิสระแก่โรงเรียนในการพิจารณาโดยให้แจ้งข้อมูลให้สพท.ทราบ แต่โรงเรียนก็ไม่ได้ปฏิบัติตามที่กำหนด ทำให้สพท.ไม่ทราบข้อมูลของแต่ละโรงเรียนเลย ขณะเดียวกันก็ต้องการให้มีการกลั่นกรองรายการ เพื่อแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองให้มากที่สุดในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำ
สำหรับในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ก็กำลังปรับหลักเกณฑ์ฯเช่นกัน โดยไม่จัดเก็บใน 4 รายการ ได้แก่ องค์การวิชาชีพ ทัศนศึกษาและกิจกรรมวิชาชีพ กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี และค่าบริการคอมพิวเตอร์ 40 ชั่วโมง ส่วนเพดานการเรียกเก็บนั้น ขณะนี้กำลังพิจารณาปรับลด โดยยึดตามรายการที่กรมบัญชีกลางกำหนด ซึ่งปัจจุบันกรมบัญชีกลางได้ กำหนดเพดานไว้ที่ 3,900 บาทต่อภาคเรียน.
ชงจัดคูปองเรียนฟรีแต่เปิดทางใช้วิธีอื่นได้
คุณ หญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้หารือถึงนโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ โดย กพฐ.ได้เน้นย้ำว่า ขอให้รัฐบาลทำความชัดเจนว่าเรียนฟรีนั้น ฟรีแค่ไหน เพราะจะเป็นปัญหาในทางปฏิบัติกับโรงเรียน เนื่องจากโรงเรียนจะไม่สามารถเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้ และนอกจากเรียนฟรีแล้ว จะต้องเน้นเรื่องของคุณภาพการศึกษาให้มากขึ้น อย่างไรก็ตามในส่วนของโครงการเรียนฟรี 15 ปีนั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รวบรวมความคิดเห็นจากการประชาพิจารณ์ทั้ง 2 ครั้ง พร้อมจัดทำแนวปฏิบัติเสนอต่อ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการเรียบร้อยแล้ว โดยแนวปฏิบัติที่เสนอ คือ ให้เน้นจัดทำในรูปของคูปอง แต่ได้มีการยืดหยุ่นว่าหากโรงเรียนใดมีปัญหาในทางปฏิบัติสามารถเสนอแนวทาง อื่นเพื่อขอความเห็นชอบจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.)ได้ แต่ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจาก 4 ภาคีเครือข่าย ได้แก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาก่อน
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ กพฐ.ยังเห็นชอบรายงานผลการวิจัยเรื่อง การศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีนักเรียนน้อยกว่า 120 คนลงมา ซึ่งได้รับเงินอุดหนุนรายหัวเพิ่มเติมในระดับก่อนประถมและประถมศึกษา 500 บาทต่อคนต่อปี และระดับม.ต้น และ ม.ปลาย 1,000 บาทต่อคนต่อปี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่างบประมาณที่ได้รับเพิ่มสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนขนาดเล็กในทางบวกอย่างเห็นได้ชัด อาทิ ทำให้โรงเรียนมีสื่อการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น โรงเรียนสามารถจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่มีความหลากหลายเพิ่ม ขึ้น เป็นต้น
“กพฐ.ให้เสนอรายงายผลการวิจัยดัง กล่าวต่อ ครม.เพื่อยืนยันว่าจะต้องเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวเพิ่มเติมในระดับก่อนประถม และประถมศึกษา 500 บาทต่อคนต่อปี และระดับ ม.ต้น และม.ปลาย 1,000 บาทต่อคนต่อปี ให้แก่โรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนน้อยกว่า 120 คนลงมาต่อไป โดยให้เสนอของบประมาณกลางเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในปีการศึกษา 2552 ส่วนจะเป็นการอนุมัติปีต่อปี หรือ อนุมัติเพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวเป็นการต่อเนื่องนั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ครม.” คุณหญิงกษมา กล่าว.
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ กพฐ.ยังเห็นชอบรายงานผลการวิจัยเรื่อง การศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีนักเรียนน้อยกว่า 120 คนลงมา ซึ่งได้รับเงินอุดหนุนรายหัวเพิ่มเติมในระดับก่อนประถมและประถมศึกษา 500 บาทต่อคนต่อปี และระดับม.ต้น และ ม.ปลาย 1,000 บาทต่อคนต่อปี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่างบประมาณที่ได้รับเพิ่มสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนขนาดเล็กในทางบวกอย่างเห็นได้ชัด อาทิ ทำให้โรงเรียนมีสื่อการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น โรงเรียนสามารถจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่มีความหลากหลายเพิ่ม ขึ้น เป็นต้น
“กพฐ.ให้เสนอรายงายผลการวิจัยดัง กล่าวต่อ ครม.เพื่อยืนยันว่าจะต้องเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวเพิ่มเติมในระดับก่อนประถม และประถมศึกษา 500 บาทต่อคนต่อปี และระดับ ม.ต้น และม.ปลาย 1,000 บาทต่อคนต่อปี ให้แก่โรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนน้อยกว่า 120 คนลงมาต่อไป โดยให้เสนอของบประมาณกลางเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในปีการศึกษา 2552 ส่วนจะเป็นการอนุมัติปีต่อปี หรือ อนุมัติเพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวเป็นการต่อเนื่องนั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ครม.” คุณหญิงกษมา กล่าว.
Thursday, February 5, 2009
เปิดทางจ้างแม่บ้านตัดชุด นร.ไม่ยึด มอก
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า โครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ จะเริ่มเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ในเดือน พ.ค.นี้ จึงอยากเห็น 4 ส่วนประสานประกอบด้วย ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง สภานักเรียนและ ตัวแทนชุมชนมีส่วนร่วมตัดสินใจกับสถานศึกษา ในเรื่องการเรียนฟรี 15 ปี อาทิ เข้าร่วมกับโรงเรียนพิจารณาและเสนอเรื่องการจัดซื้อตำราเรียนฟรี รวมทั้งชุดนักเรียน และอุปกรณ์การเรียน สมมติว่ามีการจัดคูปองให้ผู้ปกครองนำไปซื้อชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียนทั้ง 4 ส่วนประสานสามารถตัดสินใจร่วมกันได้ โดยอาจนำคูปอง มารวมกันแล้วจ้างกลุ่มแม่บ้านตัดเย็บชุดนักเรียนหรือต่างคนต่างไปซื้อก็ได้ ต่อข้อถามว่า จะยกเลิกมาตรฐาน มอก.ชุดนักเรียนเพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดย่อม (เอสเอ็มแอล) ตัดชุดนักเรียนขายให้กับโรงเรียนได้ นายจุรินทร์กล่าวว่า ได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน (สพฐ.) ไปพิจารณารายละเอียด ซึ่งแม้จะมีการ กำหนดมาตรฐาน มอก.กลุ่มแม่บ้านก็สามารถนำชุดนักเรียนมาจำหน่ายได้ตามมติ ครม.ที่ได้อนุญาตไว้ แต่ต้องรอผลประชาพิจารณ์ที่ จ.ชลบุรีก่อน
ด้านคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า มอก.มีการกำหนดเป็นราคากลางเพื่อให้ได้สินค้าที่มี คุณภาพ แต่เมื่อมีการแจกคูปองให้ผู้ปกครองก็สามารถ เลือกซื้อตามความพอใจได้ โดยไม่ต้องยึด มอก. ส่วนกลุ่มแม่บ้านจะตัดเย็บชุดนักเรียนมาจำหน่ายนั้นสามารถ ทำได้แม้จะไม่มี มอก. เนื่องจากมีมติ ครม. ปี 2546 รองรับ โครงการเรียนฟรีจะแจกฟรีในรายการของชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียน ส่วนกิจกรรมพัฒนาผู้ เรียนเป็นหน้าที่ของโรงเรียนที่จะดูแล สำหรับหนังสือเรียนจะเป็นการจัดซื้อให้ยืมเรียน โดยให้ใช้หนังสือเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2544 ซึ่งขณะนี้ สพฐ.กำลังตรวจสอบเนื้อหา ส่วนปีการศึกษา 2553 แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมาใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2551 แต่ก็ยังอนุโลมให้ใช้หนังสือเดิมได้ ยกเว้น ป.1 และ ป.4 ในรายวิชาที่ใช้มา 7 ปี อาจเปลี่ยนแปลง แต่ต้องรอผลประชาพิจารณ์.
ด้านคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า มอก.มีการกำหนดเป็นราคากลางเพื่อให้ได้สินค้าที่มี คุณภาพ แต่เมื่อมีการแจกคูปองให้ผู้ปกครองก็สามารถ เลือกซื้อตามความพอใจได้ โดยไม่ต้องยึด มอก. ส่วนกลุ่มแม่บ้านจะตัดเย็บชุดนักเรียนมาจำหน่ายนั้นสามารถ ทำได้แม้จะไม่มี มอก. เนื่องจากมีมติ ครม. ปี 2546 รองรับ โครงการเรียนฟรีจะแจกฟรีในรายการของชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียน ส่วนกิจกรรมพัฒนาผู้ เรียนเป็นหน้าที่ของโรงเรียนที่จะดูแล สำหรับหนังสือเรียนจะเป็นการจัดซื้อให้ยืมเรียน โดยให้ใช้หนังสือเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2544 ซึ่งขณะนี้ สพฐ.กำลังตรวจสอบเนื้อหา ส่วนปีการศึกษา 2553 แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมาใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2551 แต่ก็ยังอนุโลมให้ใช้หนังสือเดิมได้ ยกเว้น ป.1 และ ป.4 ในรายวิชาที่ใช้มา 7 ปี อาจเปลี่ยนแปลง แต่ต้องรอผลประชาพิจารณ์.
ศธ.แค่ยึด มอก.กำหนดราคา
ไม่ห้ามกลุ่มแม่บ้านตัดชุม นร.
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย จ.นครปฐม วันที่ 4 ก.พ. ว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังทำโครงการเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ซึ่งตนอยากเห็น 4 ส่วนประสานที่ประกอบด้วย ครูอาจารย์ ผู้ปกครอง สภานักเรียน และตัวแทนชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เช่น การจัดซื้อตำราเรียน อุปกรณ์การเรียน และชุดนักเรียน ว่า โรงเรียนควรพิจารณาซื้อกับใคร หรือ อาจจะจ้างกลุ่มแม่บ้านตัดเย็บชุดนักเรียน เป็นต้น
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า ส่วนกรณีที่มีการเสนอให้ยกเลิกมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) ชุดนักเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มแอล สามารถตัดชุดนักเรียนมาขายให้โรงเรียนได้นั้น เรื่องนี้ตนได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปพิจารณารายละเอียดแล้ว ส่วนที่โรงเรียนเกรงว่าอาจจะเกิดความล่าช้าในการจัดสรรงบประมาณไปยังสถาน ศึกษานั้น ตนคิดว่า โดยปกติการจัดสรรงบประมาณไม่น่าจะล่าช้า แต่หากล่าช้าก็สามารถประสานไปยังสำนักงบประมาณได้ อย่างไรก็ตามข้อสรุปของการแจกทุกรายการจะต้องรอผลการประชาพิจารณ์ที่จังหวัด ชลบุรีด้วย ซึ่ง ศธ.จะเร่งดำเนินการให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว
ด้าน คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า เรื่องของ มอก.นั้น เป็นการนำมาใช้ในการกำหนดราคากลางเพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ แต่หากมีการแจกคูปองให้ผู้ปกครองแล้ว ผู้ปกครองสามารถที่จะเลือกซื้อได้ตามความพอใจ โดยไม่ต้องยึดชุดนักเรียนที่มี มอก.ก็ได้ ส่วนกรณีของกลุ่มแม่บ้านที่จะตัดเย็บชุดนักเรียนมาจำหน่ายนั้น สามารถทำได้แม้จะไม่มี มอก. เนื่องจากมีมติ ครม. ปี 2546 รองรับอยู่แล้ว.
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย จ.นครปฐม วันที่ 4 ก.พ. ว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังทำโครงการเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ซึ่งตนอยากเห็น 4 ส่วนประสานที่ประกอบด้วย ครูอาจารย์ ผู้ปกครอง สภานักเรียน และตัวแทนชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เช่น การจัดซื้อตำราเรียน อุปกรณ์การเรียน และชุดนักเรียน ว่า โรงเรียนควรพิจารณาซื้อกับใคร หรือ อาจจะจ้างกลุ่มแม่บ้านตัดเย็บชุดนักเรียน เป็นต้น
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า ส่วนกรณีที่มีการเสนอให้ยกเลิกมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) ชุดนักเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มแอล สามารถตัดชุดนักเรียนมาขายให้โรงเรียนได้นั้น เรื่องนี้ตนได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปพิจารณารายละเอียดแล้ว ส่วนที่โรงเรียนเกรงว่าอาจจะเกิดความล่าช้าในการจัดสรรงบประมาณไปยังสถาน ศึกษานั้น ตนคิดว่า โดยปกติการจัดสรรงบประมาณไม่น่าจะล่าช้า แต่หากล่าช้าก็สามารถประสานไปยังสำนักงบประมาณได้ อย่างไรก็ตามข้อสรุปของการแจกทุกรายการจะต้องรอผลการประชาพิจารณ์ที่จังหวัด ชลบุรีด้วย ซึ่ง ศธ.จะเร่งดำเนินการให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว
ด้าน คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า เรื่องของ มอก.นั้น เป็นการนำมาใช้ในการกำหนดราคากลางเพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ แต่หากมีการแจกคูปองให้ผู้ปกครองแล้ว ผู้ปกครองสามารถที่จะเลือกซื้อได้ตามความพอใจ โดยไม่ต้องยึดชุดนักเรียนที่มี มอก.ก็ได้ ส่วนกรณีของกลุ่มแม่บ้านที่จะตัดเย็บชุดนักเรียนมาจำหน่ายนั้น สามารถทำได้แม้จะไม่มี มอก. เนื่องจากมีมติ ครม. ปี 2546 รองรับอยู่แล้ว.
Wednesday, February 4, 2009
นร.-นศ.ตื่นสอบGATและPAT แห่ชมงานตลาดนักหลักสูตรล้น
มข.ปลื้มการจัดนิทรรศการตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษาครั้งที่ 13 นักเรียน-นักศึกษา กว่า 40,000 คน ให้ความสนใจเข้าร่วม ถือเป็นสร้างความตื่นตัวให้กับนักเรียน-นักศึกษา ต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก อีกทั้งการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยแบบใหม่ทั้ง GAT และ PAT ทำให้นักเรียนนักศึกษาสนใจถามข้อมูล
รศ. ดร.พีระศักดิ์ ศรีฤาชา ผอ.สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ ม.ขอนแก่น กล่าวว่า หลังจากที่ ม.ขอนแก่น ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาจากทั่วประเทศจัดนิทรรศการตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษาครั้ง ที่ 13 ที่ ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก ม.ขอนแก่น เมื่อวันที่ 29-30 มกราคมที่ผ่านมา โดยมีนักเรียน นักศึกษา และบุคลากรทางการศึกษากว่า 40,000 คน ให้ความสนใจเข้าชมงาน ซึ่งแต่ละคนให้ความสนใจสอบถามข้อมูลอย่างละเอียดกับหลักสูตรต่างๆที่ ม.ขอนแก่น และสถาบันอุดมศึกษาร่วมด้วยนำมาเสนอและแนะนำ
เนื่องจากใน ปีการศึกษา 2553 นี้ สำนักงานอุดมศึกษา (สกอ.)จะมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี จากเดิมในรูปแบบของ Admission เป็นรูปแบบ GAT และ PAT ซึ่งมีความแตกต่างจากระบบการสอบที่ผ่านมา ดังนั้นการจัดนิทรรศการตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษา จึงทำให้ผู้เข้าร่วมให้ความสนใจเป็นพิเศษในการรับทราบข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับ การศึกษาในระบบใหม่
อีกทั้งการศึกษาในระบบใหม่ในหลักสูตรต่างๆที่ หลายสถาบันนำมาประชาสัมพันธ์นั้น นักเรียน ที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด เนื่องจากการศึกษาในระบบใหม่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการตัดสินใจของ นักเรียนในการตัดสินใจเลือกอนาคตทางการศึกษาของตนเองได้ ซึ่งการจัดนิทรรศการตลาดนัดหลักสูตรในปีนี้ก็สังเกตเห็นว่า นักเรียน-นักศึกษา ให้ความตื่นตัวต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก
รศ.ดร.พีระศักดิ์ กล่าวอีกว่า ความตื่นตัวของนักเรียน-นักศึกษา ที่เข้าร่วม จำนวนมาก ถือว่าเป็นความสำเร็จในการดำเนินงาน ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นว่า ทุกวันนี้เยาวชนไทยให้ความสำคัญในการศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศมาก ขึ้น เนื่องจากการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับหลักสูตรสาขาวิชาต่างๆ ที่นำมาจัดแสดงในงาน เป็นเครื่องกระตุ้นให้สถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนมีการพัฒนาและการ เรียนการสอนให้มีคุณภาพมาตรฐาน ทันสมัย และเป็นสากล
นอกจากนี้ การที่สถาบันอุดมศึกษามีการพัฒนาและการเรียนการสอนให้เป็นสากล เป็นการแสดงให้เป็นว่าสถาบันต่างๆเหล่านั้น มีหลักสูตร/สาขาวิชาที่หลากหลายให้ผู้เข้าศึกษาได้เลือก และเป็นการปรับตัวของสถาบันอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับสภาวการณ์เปลี่ยนแปลงทาง สังคมปัจจุบัน
รศ. ดร.พีระศักดิ์ ศรีฤาชา ผอ.สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ ม.ขอนแก่น กล่าวว่า หลังจากที่ ม.ขอนแก่น ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาจากทั่วประเทศจัดนิทรรศการตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษาครั้ง ที่ 13 ที่ ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก ม.ขอนแก่น เมื่อวันที่ 29-30 มกราคมที่ผ่านมา โดยมีนักเรียน นักศึกษา และบุคลากรทางการศึกษากว่า 40,000 คน ให้ความสนใจเข้าชมงาน ซึ่งแต่ละคนให้ความสนใจสอบถามข้อมูลอย่างละเอียดกับหลักสูตรต่างๆที่ ม.ขอนแก่น และสถาบันอุดมศึกษาร่วมด้วยนำมาเสนอและแนะนำ
เนื่องจากใน ปีการศึกษา 2553 นี้ สำนักงานอุดมศึกษา (สกอ.)จะมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี จากเดิมในรูปแบบของ Admission เป็นรูปแบบ GAT และ PAT ซึ่งมีความแตกต่างจากระบบการสอบที่ผ่านมา ดังนั้นการจัดนิทรรศการตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษา จึงทำให้ผู้เข้าร่วมให้ความสนใจเป็นพิเศษในการรับทราบข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับ การศึกษาในระบบใหม่
อีกทั้งการศึกษาในระบบใหม่ในหลักสูตรต่างๆที่ หลายสถาบันนำมาประชาสัมพันธ์นั้น นักเรียน ที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด เนื่องจากการศึกษาในระบบใหม่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการตัดสินใจของ นักเรียนในการตัดสินใจเลือกอนาคตทางการศึกษาของตนเองได้ ซึ่งการจัดนิทรรศการตลาดนัดหลักสูตรในปีนี้ก็สังเกตเห็นว่า นักเรียน-นักศึกษา ให้ความตื่นตัวต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก
รศ.ดร.พีระศักดิ์ กล่าวอีกว่า ความตื่นตัวของนักเรียน-นักศึกษา ที่เข้าร่วม จำนวนมาก ถือว่าเป็นความสำเร็จในการดำเนินงาน ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นว่า ทุกวันนี้เยาวชนไทยให้ความสำคัญในการศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศมาก ขึ้น เนื่องจากการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับหลักสูตรสาขาวิชาต่างๆ ที่นำมาจัดแสดงในงาน เป็นเครื่องกระตุ้นให้สถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนมีการพัฒนาและการ เรียนการสอนให้มีคุณภาพมาตรฐาน ทันสมัย และเป็นสากล
นอกจากนี้ การที่สถาบันอุดมศึกษามีการพัฒนาและการเรียนการสอนให้เป็นสากล เป็นการแสดงให้เป็นว่าสถาบันต่างๆเหล่านั้น มีหลักสูตร/สาขาวิชาที่หลากหลายให้ผู้เข้าศึกษาได้เลือก และเป็นการปรับตัวของสถาบันอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับสภาวการณ์เปลี่ยนแปลงทาง สังคมปัจจุบัน
สรุปแจกชุดนักเรียนอุปกรณ์การเรียนผ่านคูปอง
สพฐ. สรุปแจกชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียนตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปีผ่านระบบคูปอง เตรียมรับฟังความคิดอีกครั้งก่อนสรุปผล มอบ ฝ่ายบุคคลเตรียมมาตรการทางวินัยไว้จัดการร.ร.ที่จัดซื้อตำราเรียนไม่เหมาะสม
คุณ หญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดแนวทางจัดซื้อและจัดสรรตำราเรียนฟรี ชุดนักเรียนฟรี และอุปกรณ์การเรียนฟรีให้นักเรียน เสร็จเรียบร้อยแล้วโดยรับเอาความความคิดเห็นจากการประชุมเมื่อวันที่ 30 ม.ค.52 มาปรับปรุงแผนเดิมที่ สพฐ.คิดไว้ และจะนำแนวทางดังกล่าวไปจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น คำวิจารณ์จาก ครู ผู้ปกครอง นักเรียน ฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกครั้งในวันที่ 6 ก.พ.นี้ ที่จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามความต้องการของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ( รมว.ศธ. ) ที่ต้องการให้ สพฐ.นำแนวทางจัดสรรจตำราเรียน ชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนที่ปรับปรุงแล้วมารับฟังความคิดเห็นอีกครั้ง หรือสองครั้งก่อนฟันธงว่า จะใช้วิธีใดสำหรับจัดสรรของฟรี 3 อย่างให้ถึงมือนักเรียน
คุณหญิงกษมา กล่าวต่อว่า สำหรับวิธีการจัดสรรตำราเรียน อุปกรณ์และชุดนร.นั้น เบื้องต้น สพฐ.กำหนดจะจัดเป็นงบประมาณให้แต่ละ ร.ร.ไปดำเนินการจัดสรรเองให้สอดคล้องตามหลักสูตรและเนื้อหาของแต่ละ ร.ร. อย่างไรก็ตาม ร.ร.มีสิทธิพิจารณาเลือกซื้อหนังสือของสำนักพิมพ์ก็ได้โดยเสรีภายใต้งบ ประมาณที่ได้รับ แต่ต้องได้หนังสือที่มีคุณภาพและต้องเป็นหนังสือที่อยู่ในบัญชีที่สพฐ.ตรวจ ต้นฉบับและให้การรับรองไว้
ส่วนการจัดซื้อชุดนักเรียนนั้น กำหนดไว้ 2 ทางเลือก คือ จัดสรรเป็นคูปองให้ผู้ปกครองไปแลกชุดนักเรียนจากร้านค้าที่เข้าโครงการ หรือจัดสรรเป็นเงินให้ผู้ปกครองไปจัดซื้อเอง รวมทั้งการจัดสรรอุปกรณ์การเรียน ก็จะจัดสรรเป็นระบบคูปองให้ผู้ปกครองไปแลกของจากร้านค้าหรือจากร.ร. หรืออาจจัดสรรเป็นเงินให้ร.ร.ไปจัดซื้อแจก แต่มีแนวโน้มเป็นไปได้มากที่สพฐ.จะเลือกจัดสรรผ่านระบบคูปอง เพราะฉะนั้น สพฐ.จึงเตรียมคิดวิธีจัดสรรผ่านระบบคูปองที่รัดกุม โดยเชิญสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มาให้ข้อเสนอแนะ
“ สพฐ.ได้วางระบบติดตามผลการจัดสรรผ่านระบบคูปองและติดตามการดำเนินการจัดซื้อ ตำราเรียนของร.ร.ด้วย พร้อมทั้งให้ฝ่ายบริหารงานบุคคลเตรียมมาตรการทางวินัยไว้ดำเนินการกับผู้ บริหารสถานศึกษาที่ไม่จัดซื้อตำราเรียนที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับหลักสูตารและเหมาะสมกับงบประมาณที่ได้รับ “ คุณหญิงกษมา กล่าว
คุณ หญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดแนวทางจัดซื้อและจัดสรรตำราเรียนฟรี ชุดนักเรียนฟรี และอุปกรณ์การเรียนฟรีให้นักเรียน เสร็จเรียบร้อยแล้วโดยรับเอาความความคิดเห็นจากการประชุมเมื่อวันที่ 30 ม.ค.52 มาปรับปรุงแผนเดิมที่ สพฐ.คิดไว้ และจะนำแนวทางดังกล่าวไปจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น คำวิจารณ์จาก ครู ผู้ปกครอง นักเรียน ฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกครั้งในวันที่ 6 ก.พ.นี้ ที่จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามความต้องการของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ( รมว.ศธ. ) ที่ต้องการให้ สพฐ.นำแนวทางจัดสรรจตำราเรียน ชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนที่ปรับปรุงแล้วมารับฟังความคิดเห็นอีกครั้ง หรือสองครั้งก่อนฟันธงว่า จะใช้วิธีใดสำหรับจัดสรรของฟรี 3 อย่างให้ถึงมือนักเรียน
คุณหญิงกษมา กล่าวต่อว่า สำหรับวิธีการจัดสรรตำราเรียน อุปกรณ์และชุดนร.นั้น เบื้องต้น สพฐ.กำหนดจะจัดเป็นงบประมาณให้แต่ละ ร.ร.ไปดำเนินการจัดสรรเองให้สอดคล้องตามหลักสูตรและเนื้อหาของแต่ละ ร.ร. อย่างไรก็ตาม ร.ร.มีสิทธิพิจารณาเลือกซื้อหนังสือของสำนักพิมพ์ก็ได้โดยเสรีภายใต้งบ ประมาณที่ได้รับ แต่ต้องได้หนังสือที่มีคุณภาพและต้องเป็นหนังสือที่อยู่ในบัญชีที่สพฐ.ตรวจ ต้นฉบับและให้การรับรองไว้
ส่วนการจัดซื้อชุดนักเรียนนั้น กำหนดไว้ 2 ทางเลือก คือ จัดสรรเป็นคูปองให้ผู้ปกครองไปแลกชุดนักเรียนจากร้านค้าที่เข้าโครงการ หรือจัดสรรเป็นเงินให้ผู้ปกครองไปจัดซื้อเอง รวมทั้งการจัดสรรอุปกรณ์การเรียน ก็จะจัดสรรเป็นระบบคูปองให้ผู้ปกครองไปแลกของจากร้านค้าหรือจากร.ร. หรืออาจจัดสรรเป็นเงินให้ร.ร.ไปจัดซื้อแจก แต่มีแนวโน้มเป็นไปได้มากที่สพฐ.จะเลือกจัดสรรผ่านระบบคูปอง เพราะฉะนั้น สพฐ.จึงเตรียมคิดวิธีจัดสรรผ่านระบบคูปองที่รัดกุม โดยเชิญสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มาให้ข้อเสนอแนะ
“ สพฐ.ได้วางระบบติดตามผลการจัดสรรผ่านระบบคูปองและติดตามการดำเนินการจัดซื้อ ตำราเรียนของร.ร.ด้วย พร้อมทั้งให้ฝ่ายบริหารงานบุคคลเตรียมมาตรการทางวินัยไว้ดำเนินการกับผู้ บริหารสถานศึกษาที่ไม่จัดซื้อตำราเรียนที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับหลักสูตารและเหมาะสมกับงบประมาณที่ได้รับ “ คุณหญิงกษมา กล่าว
ศธ.ออกประกาศล้อมคอกเด็กตีกัน
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนได้ลงนามในประกาศ กระทรวงศึกษาธิการ เรื่องนโยบายและมาตรการป้องกันนักเรียน นักศึกษา ก่อเหตุทะเลาะวิวาทและทำร้ายกัน เพื่อให้สถาบัน สถานศึกษาและองค์กรที่เกี่ยวข้องถือเป็น แนวปฏิบัติ ดังนี้ 1. สถาบัน สถานศึกษา หน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้องต้องบังคับ ใช้กฎหมาย ระเบียบ ประกาศและข้อบังคับอย่างเข้มงวด กรณีนักเรียน นักศึกษา บุคลากร อาจารย์ที่กระทำผิดร้ายแรงให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2. สถาบัน สถานศึกษา หน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ต้องกำหนดแผนและวิธีการป้องกันการก่อเหตุ ตลอดจนช่วยเหลือ นักเรียน นักศึกษาที่ประสบเหตุ 3. ให้สถาบัน สถานศึกษา สร้างเครือข่ายความร่วมมือ กับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ศิษย์เก่า ผู้ปกครอง และศิษย์ปัจจุบัน เพื่อปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม ความเชื่อ ค่านิยม ในเชิงสร้างสรรค์ 4. สถาบัน สถานศึกษา ให้ความร่วมมือพนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าไปนิเทศ ตรวจเยี่ยม และตรวจสอบ ตรวจค้นอาวุธและบุคคลน่าสงสัยได้
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า 5. ให้สถาบัน สถานศึกษา ตรวจสอบบุคคล และรถทุกชนิดที่เข้า ออก 6. สำรวจ พื้นที่ที่มักเกิดปัญหา จัดหน่วยเคลื่อนที่เร็ว เพื่อระงับเหตุ 7. จัดกิจกรรมด้วยกระบวนการเชิงสร้างสรรค์ จิตอาสา สร้าง ความสมานฉันท์ และความสามัคคี 8. ให้สถาบัน สถานศึกษา สำรวจ เฝ้าระวัง และติดตามนักเรียน นักศึกษา ที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด เพื่อจัดกิจกรรมในการพัฒนาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็น ระบบอย่างต่อเนื่อง 9. องค์กรหลักของ ศธ. สถาบัน สถานศึกษา จัดให้มีระบบการติดตาม มีศูนย์รายงาน และแก้ไขเหตุการณ์โดยเร่งด่วน 10. ให้ผู้บริหารสถาบัน สถานศึกษา หน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบในการดำเนินการตามนโยบายและมาตรการข้างต้น.
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า 5. ให้สถาบัน สถานศึกษา ตรวจสอบบุคคล และรถทุกชนิดที่เข้า ออก 6. สำรวจ พื้นที่ที่มักเกิดปัญหา จัดหน่วยเคลื่อนที่เร็ว เพื่อระงับเหตุ 7. จัดกิจกรรมด้วยกระบวนการเชิงสร้างสรรค์ จิตอาสา สร้าง ความสมานฉันท์ และความสามัคคี 8. ให้สถาบัน สถานศึกษา สำรวจ เฝ้าระวัง และติดตามนักเรียน นักศึกษา ที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด เพื่อจัดกิจกรรมในการพัฒนาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็น ระบบอย่างต่อเนื่อง 9. องค์กรหลักของ ศธ. สถาบัน สถานศึกษา จัดให้มีระบบการติดตาม มีศูนย์รายงาน และแก้ไขเหตุการณ์โดยเร่งด่วน 10. ให้ผู้บริหารสถาบัน สถานศึกษา หน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบในการดำเนินการตามนโยบายและมาตรการข้างต้น.
จุฬาฯขอความชัดเจนม.นอกระบบ
รศ.ดร.กัลยา วานิชย์บัญชา ผอ.ศูนย์ให้คำปรึกษาและวิจัยทางสถิติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานโครงการศึกษาความคิดเห็นและปัจจัยที่ส่งผลต่อการ เปลี่ยน/ไม่เปลี่ยนสถานภาพของข้าราชการสายวิชาการ และ นักวิจัยสายช่วยวิชาการ เปิดเผยว่า ในวันที่ 6 ก.พ.นี้ จะครบ 1 ปีที่ จุฬาฯเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือออกนอกระบบ นั้น จากการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยน/ไม่เปลี่ยน สถานภาพของบุคลากร พบว่า 1.ระบบสวัสดิการยังไม่ชัดเจน เช่น สิทธิรักษาพยาบาล 2.ค่าตอบแทนบุคลากร ที่ยังไม่ได้รับตามที่ต้องการ โดยได้รับเพียง 1.3 เท่า จึงขอดูสถานการณ์ก่อนที่จะตัดสินใจออกนอกระบบ และ 3. ระบบประเมินผลการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งบุคลากรให้ความสำคัญมาก และ มหาวิทยาลัยก็ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อปรับปรุงระบบการประเมินดังกล่าว โดยเน้นการประเมินที่เป็นระบบ มีความชัดเจน เป็นธรรมโปร่งใส และสะท้อนการทำงานของบุคลากรได้จริง
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า อยากให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ นายจุรินทร์ ลักษณ วิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ ประกาศท่าทีที่ชัดเจนว่า จะเอาอย่างไรกับการออกนอกระบบ เพื่อมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จะได้กำหนดทิศทางการทำงานได้ถูกต้อง.
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า อยากให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ นายจุรินทร์ ลักษณ วิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ ประกาศท่าทีที่ชัดเจนว่า จะเอาอย่างไรกับการออกนอกระบบ เพื่อมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จะได้กำหนดทิศทางการทำงานได้ถูกต้อง.
ยํ้าหนังสือแจกต้องเลือกในบัญชี
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมหารือถึงการเตรียมความพร้อมจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นแนวทางการ ดำเนินงานตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ ในวันที่ 6 ก.พ. ที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งจะมีการพูดถึงรายละเอียดการดำเนินงานและชี้แจงแนวปฏิบัติแต่ละเรื่องว่า ทำอย่างไรทั้งเครื่องแบบนักเรียน อุปกรณ์การเรียน หนังสือแบบเรียน กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า ส่วนที่หลายฝ่ายเป็นห่วงเรื่องเนื้อหาของหนังสือเรียนจะไม่สอดคล้องกับ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 และเกรงว่าจะมีการนำหนังสือเก่ามาเปลี่ยนปกใหม่ ว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีกระบวนการตรวจสอบหนังสืออยู่แล้ว ซึ่งหนังสือที่ผ่านการตรวจสอบเนื้อหาแล้วจะมีคำประกาศอนุญาตที่หน้าปก หนังสือ และ ศธ.ก็จะมีการประกาศบัญชีรายชื่อหนังสือที่ผ่านการตรวจสอบแล้วให้แก่โรงเรียน ซึ่งในการเลือกหนังสือนั้นขอให้โรงเรียนเลือกใช้หนังสือจากบัญชีรายชื่อที่ ศธ.ประกาศเท่านั้น และเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นการตัดสินใจของคนใดคนหนึ่ง โรงเรียนจะต้องมีการหารือกับครูผู้สอนและเสนอคณะกรรมการสถานศึกษาพิจารณาให้ ความเห็นชอบด้วย
คุณหญิงกษมา กล่าวต่อไปว่า สำหรับแนวทางในการจัดสรรเครื่องแบบนักเรียนนั้น ขณะนี้มี 2 ทางเลือกแล้ว คือ 1.แจกคูปองให้ผู้ปกครองไปเลือกแลก และ 2.ให้เงิน ซึ่งแนวโน้มเสียงส่วนใหญ่เห็นว่าควรใช้คูปอง เพียงแต่จะทำอย่างไรให้ปลอดภัย และขณะนี้กำลังจะขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ด้วย ส่วนการจัดสรรอุปกรณ์การเรียน เวลานี้มีข้อเสนอ 3 ทางเลือก คือ 1. ให้คูปองแก่ผู้ปกครองเพื่อไปเลือกรับสินค้าจากโรงเรียนหรือจากร้านค้าทั่วไป 2.โรงเรียนจัดซื้อ และ 3.ให้เงิน สำหรับกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนนั้น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศธ. ยืนยันว่าในวงเงินที่จัดสรรให้โรงเรียนต้องจัดกิจกรรมวิชาการ, กิจกรรมประเภทคุณธรรมหรือลูกเสือ เนตรนารี, กิจกรรมทัศนศึกษา อย่างละ 1 ครั้งต่อปี และคอมพิวเตอร์ปีละ 40 ชั่วโมง แต่หากโรงเรียนใดไม่มีคอมพิวเตอร์ก็ให้ใช้หน่วยโมบายเคลื่อนที่เข้าไปช่วย แต่อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้ จะต้องฟังความเห็นจากการประชาพิจารณ์ในวันที่ 6 ก.พ.นี้อีกครั้ง.
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า ส่วนที่หลายฝ่ายเป็นห่วงเรื่องเนื้อหาของหนังสือเรียนจะไม่สอดคล้องกับ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 และเกรงว่าจะมีการนำหนังสือเก่ามาเปลี่ยนปกใหม่ ว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีกระบวนการตรวจสอบหนังสืออยู่แล้ว ซึ่งหนังสือที่ผ่านการตรวจสอบเนื้อหาแล้วจะมีคำประกาศอนุญาตที่หน้าปก หนังสือ และ ศธ.ก็จะมีการประกาศบัญชีรายชื่อหนังสือที่ผ่านการตรวจสอบแล้วให้แก่โรงเรียน ซึ่งในการเลือกหนังสือนั้นขอให้โรงเรียนเลือกใช้หนังสือจากบัญชีรายชื่อที่ ศธ.ประกาศเท่านั้น และเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นการตัดสินใจของคนใดคนหนึ่ง โรงเรียนจะต้องมีการหารือกับครูผู้สอนและเสนอคณะกรรมการสถานศึกษาพิจารณาให้ ความเห็นชอบด้วย
คุณหญิงกษมา กล่าวต่อไปว่า สำหรับแนวทางในการจัดสรรเครื่องแบบนักเรียนนั้น ขณะนี้มี 2 ทางเลือกแล้ว คือ 1.แจกคูปองให้ผู้ปกครองไปเลือกแลก และ 2.ให้เงิน ซึ่งแนวโน้มเสียงส่วนใหญ่เห็นว่าควรใช้คูปอง เพียงแต่จะทำอย่างไรให้ปลอดภัย และขณะนี้กำลังจะขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ด้วย ส่วนการจัดสรรอุปกรณ์การเรียน เวลานี้มีข้อเสนอ 3 ทางเลือก คือ 1. ให้คูปองแก่ผู้ปกครองเพื่อไปเลือกรับสินค้าจากโรงเรียนหรือจากร้านค้าทั่วไป 2.โรงเรียนจัดซื้อ และ 3.ให้เงิน สำหรับกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนนั้น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศธ. ยืนยันว่าในวงเงินที่จัดสรรให้โรงเรียนต้องจัดกิจกรรมวิชาการ, กิจกรรมประเภทคุณธรรมหรือลูกเสือ เนตรนารี, กิจกรรมทัศนศึกษา อย่างละ 1 ครั้งต่อปี และคอมพิวเตอร์ปีละ 40 ชั่วโมง แต่หากโรงเรียนใดไม่มีคอมพิวเตอร์ก็ให้ใช้หน่วยโมบายเคลื่อนที่เข้าไปช่วย แต่อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้ จะต้องฟังความเห็นจากการประชาพิจารณ์ในวันที่ 6 ก.พ.นี้อีกครั้ง.
Monday, February 2, 2009
เรียนฟรี15ปีผ่าน"คูปอง" เสียงประชามติ-เตือนระวังอุ้มคนรวย
ประชาพิจารย์เรียนฟรี 15 ปี แนะใช้ผ่าน "คูปอง" แจกพ่อแม่ ผู้ปกครอง ไม่ควรแจกฟรี 4 อย่างทุกคน หวั่นรัฐใช้เงินหมื่นล้าน "อุ้มคนรวย" จี้ ศธ.ปลุกจิตสาธารณะ เสียสละให้ผู้ด้อยกว่า เสียงเด็กร้องขอรับแจก "รองเท้า" ขณะที่นักวิชาการเห็นต่าง แจกคูปองระวังตกเขียว ทำนโยบายเรียนฟรีพัง!
เมื่อ วันที่ 30 มกราคม ที่ ร.ร.สตรีวิทยา กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดย คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการ กพฐ. ได้จัดการประชุมระดมความเห็นคิดเกี่ยวกับนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ที่จะมีการแจกของฟรี 4 อย่าง คือ ตำราเรียน อุปกรณ์การเรียน ชุดเรียน และค่ากิจกรรมพิเศษ ซึ่งรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้ 1.8 หมื่นล้านบาท โดยมีภาครัฐ-เอกชนเข้าร่วมประมาณ 300 คน ทั้งนี้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวในการเปิดประชุมว่า นโยบายเรียนฟรี 15 ปี เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษา และของฟรี 4 อย่างต้องถึงมือนักเรียนทั่วถึง รวดเร็ว เกิดความสะดวกแก่ผู้ปกครอง นักเรียนมากที่สุด แต่กระทรวงจะไม่เป็นผู้จัดซื้อเอง จะเป็นวิธีไหนก็ขอความเห็นจากที่ประชุม
รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีต รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า นโยบายเรียนฟรี โดยแจกให้เด็กทุกคนอย่างเท่าเทียมกันนั้น ป็นหลักการที่ไม่ถูกต้อง เพราะโรงเรียนมีความแตกต่างกันมาก ระวังจะกลายเป็นว่ารัฐบาลทุ่มเทงบให้โรงเรียนที่ผู้ปกครองมีฐานะร่ำรวยอยู่ แล้ว ควรระวังหากจัดอุดหนุนผ่านระบบคูปองแล้วตลาดคูปองมืดจะต้องเกิดขึ้นแน่ หากเป็นเช่นนั้นก็ถือว่านโยบายนี้ล้มเหลว
รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กล่าวว่า นโยบายแจกของฟรี 4 อย่างนี้ จะล้มเหลวทันที ถ้ากระทรวงไม่สามารถทำให้ผู้ปกครอง นักเรียนเกิดสำนึกเสียสละ ช่วยเหลือคนที่ด้อยกว่าได้ แต่ทุกคนพากันยึดถือว่าสิทธิทุกคนต้องได้ ดังนั้นกระทรวงต้องรณรงค์สร้างจิตสำนึกในเรื่องนี้ให้แก่ผู้ปกครอง นักเรียน
นาง จีระพันธ์ พิมพ์พันธ์ นายกสภาการศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในส่วนของโรงเรียนเอกชนต้องการให้นำระบบคูปองมาใช้ เพราะโรงเรียนไม่ต้องการสัมผัสเงิน กลัวเกิดปัญหา แต่อยากให้เพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวให้ โรงเรียนเอกชน 20%
ด.ญ.นิตยา งามขำ ร.ร.ชุมชนบ้านแซร์ออ จ.สระแก้ว บอกว่า นอกจากให้ชุดนักเรียน 2 ชุดแล้ว ขอให้เพิ่มรองเท้าด้วย เพราะเด็กต่างจังหวัดจำนวนมากไม่มีเงินซื้อรองเท้าคู่ละ 200 กว่าบาท ต้องเดินเท้าเปล่าไปโรงเรียน ทั้งที่บ้านก็อยู่ไกลหรือบางคนก็ใส่รองเท้าเตะไปโรงเรียน
นายนายจุริ นทร์กล่าวปิดท้ายว่า นโยบายเรียนฟรี 15 ปี ต้องโปร่งใส ประหยัด และเกิดปัญหาน้อยที่สุดในทางปฏิบัติ และอยากฟังความคิดเห็นในระดับภูมิภาคอีก 1-2 ครั้ง จากนั้นถึงสรุปเพื่อประชุมชี้แจงกับผู้เกี่ยวข้องอีกครั้ง
เมื่อ วันที่ 30 มกราคม ที่ ร.ร.สตรีวิทยา กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดย คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการ กพฐ. ได้จัดการประชุมระดมความเห็นคิดเกี่ยวกับนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ที่จะมีการแจกของฟรี 4 อย่าง คือ ตำราเรียน อุปกรณ์การเรียน ชุดเรียน และค่ากิจกรรมพิเศษ ซึ่งรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้ 1.8 หมื่นล้านบาท โดยมีภาครัฐ-เอกชนเข้าร่วมประมาณ 300 คน ทั้งนี้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวในการเปิดประชุมว่า นโยบายเรียนฟรี 15 ปี เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษา และของฟรี 4 อย่างต้องถึงมือนักเรียนทั่วถึง รวดเร็ว เกิดความสะดวกแก่ผู้ปกครอง นักเรียนมากที่สุด แต่กระทรวงจะไม่เป็นผู้จัดซื้อเอง จะเป็นวิธีไหนก็ขอความเห็นจากที่ประชุม
รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีต รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า นโยบายเรียนฟรี โดยแจกให้เด็กทุกคนอย่างเท่าเทียมกันนั้น ป็นหลักการที่ไม่ถูกต้อง เพราะโรงเรียนมีความแตกต่างกันมาก ระวังจะกลายเป็นว่ารัฐบาลทุ่มเทงบให้โรงเรียนที่ผู้ปกครองมีฐานะร่ำรวยอยู่ แล้ว ควรระวังหากจัดอุดหนุนผ่านระบบคูปองแล้วตลาดคูปองมืดจะต้องเกิดขึ้นแน่ หากเป็นเช่นนั้นก็ถือว่านโยบายนี้ล้มเหลว
รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กล่าวว่า นโยบายแจกของฟรี 4 อย่างนี้ จะล้มเหลวทันที ถ้ากระทรวงไม่สามารถทำให้ผู้ปกครอง นักเรียนเกิดสำนึกเสียสละ ช่วยเหลือคนที่ด้อยกว่าได้ แต่ทุกคนพากันยึดถือว่าสิทธิทุกคนต้องได้ ดังนั้นกระทรวงต้องรณรงค์สร้างจิตสำนึกในเรื่องนี้ให้แก่ผู้ปกครอง นักเรียน
นาง จีระพันธ์ พิมพ์พันธ์ นายกสภาการศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในส่วนของโรงเรียนเอกชนต้องการให้นำระบบคูปองมาใช้ เพราะโรงเรียนไม่ต้องการสัมผัสเงิน กลัวเกิดปัญหา แต่อยากให้เพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวให้ โรงเรียนเอกชน 20%
ด.ญ.นิตยา งามขำ ร.ร.ชุมชนบ้านแซร์ออ จ.สระแก้ว บอกว่า นอกจากให้ชุดนักเรียน 2 ชุดแล้ว ขอให้เพิ่มรองเท้าด้วย เพราะเด็กต่างจังหวัดจำนวนมากไม่มีเงินซื้อรองเท้าคู่ละ 200 กว่าบาท ต้องเดินเท้าเปล่าไปโรงเรียน ทั้งที่บ้านก็อยู่ไกลหรือบางคนก็ใส่รองเท้าเตะไปโรงเรียน
นายนายจุริ นทร์กล่าวปิดท้ายว่า นโยบายเรียนฟรี 15 ปี ต้องโปร่งใส ประหยัด และเกิดปัญหาน้อยที่สุดในทางปฏิบัติ และอยากฟังความคิดเห็นในระดับภูมิภาคอีก 1-2 ครั้ง จากนั้นถึงสรุปเพื่อประชุมชี้แจงกับผู้เกี่ยวข้องอีกครั้ง
คุรุสภาขอรายชื่อบัณฑิตครูป้องกันใช้วุฒิปลอมขอตั๋วครู
นายองค์กร อมรสิรินันท์ เลขาธิการคุรุสภา เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบการยื่นขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า มีผู้ใช้วุฒิการศึกษาปลอมมายื่น ซึ่งทางสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาได้แจ้งไปยังมหาวิทยาลัยที่ถูกปลอมวุฒิการ ศึกษาเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งเป็นคดีอาญาไปแล้ว อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นอีก สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาได้ประสานไปยังสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตครูทุกสถาบัน ให้จัดส่งรายชื่อบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในแต่ละปีการศึกษามายังสำนักงาน เลขาธิการคุรุสภา เพื่อให้ขั้นตอนการออกใบอนุญาตฯ รวดเร็วยิ่งขึ้น หากผู้มายื่นขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ มีชื่อตรงกับที่สถาบันอุดมศึกษาส่งมาก็ถือว่าผ่าน ซึ่งสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาจะสามารถออกใบรับรองสิทธิให้ผู้ขอได้เลย จากนั้นจึงจะส่งชื่อไปยังคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (กมว.) เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติอีกครั้ง ก่อนเสนอคณะกรรมการคุรุสภาเพื่อออกใบอนุญาตฯ ตัวจริงต่อไป
“แต่ละปีจะเจอปัญหาลักษณะนี้ค่อนข้างมาก แต่หากมีรายชื่อของบัณฑิตที่ทางสถาบันอุดมศึกษาส่งมาให้ก็จะช่วยแก้ปัญหานี้ ได้มาก ทั้งนี้ขอเตือนไปถึงผู้ที่คิดจะปลอมแปลงวุฒิการศึกษาเพื่อมาขอใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพว่า ให้ยกเลิกความคิดนั้นเสียเพราะเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง และที่ผ่านมาได้ส่งเรื่องไปให้มหาวิทยาลัยดำเนินคดีอาญาไปแล้ว 2 ราย เนื่องจากเป็นการปลอมวุฒิการศึกษาไม่ใช่เป็นการปลอมใบอนุญาตฯ จึงเป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยต้องดำเนินการ” นายองค์กรกล่าวและว่า เชื่อว่าหลังจากนี้คงไม่ต้องกลัวเรื่องการปลอมวุฒิฯอีกแล้ว เพราะผู้ที่มาขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯรุ่นใหม่จะเป็นผู้ที่เรามีชื่ออยู่ใน ระบบซึ่งสามารถตรวจสอบได้อยู่แล้ว และจะทำให้การออกใบอนุญาตฯ สะดวก รวดเร็วขึ้น.
“แต่ละปีจะเจอปัญหาลักษณะนี้ค่อนข้างมาก แต่หากมีรายชื่อของบัณฑิตที่ทางสถาบันอุดมศึกษาส่งมาให้ก็จะช่วยแก้ปัญหานี้ ได้มาก ทั้งนี้ขอเตือนไปถึงผู้ที่คิดจะปลอมแปลงวุฒิการศึกษาเพื่อมาขอใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพว่า ให้ยกเลิกความคิดนั้นเสียเพราะเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง และที่ผ่านมาได้ส่งเรื่องไปให้มหาวิทยาลัยดำเนินคดีอาญาไปแล้ว 2 ราย เนื่องจากเป็นการปลอมวุฒิการศึกษาไม่ใช่เป็นการปลอมใบอนุญาตฯ จึงเป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยต้องดำเนินการ” นายองค์กรกล่าวและว่า เชื่อว่าหลังจากนี้คงไม่ต้องกลัวเรื่องการปลอมวุฒิฯอีกแล้ว เพราะผู้ที่มาขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯรุ่นใหม่จะเป็นผู้ที่เรามีชื่ออยู่ใน ระบบซึ่งสามารถตรวจสอบได้อยู่แล้ว และจะทำให้การออกใบอนุญาตฯ สะดวก รวดเร็วขึ้น.
เชื่อเรียนฟรีเพิ่มปริมาณเด็กอาชีวะได้
นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ตนได้เชิญประธานอาชีวศึกษาจังหวัดทั่วประเทศมาร่วมประชุมถึงการรับนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2552 โดยในเบื้องต้นสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มีเป้าหมายในการรับนักศึกษา 3 ระดับ คือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ตั้งเป้าไว้ที่ 203,000 คน จากปีที่ผ่านมาที่รับได้ 190,000 คน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ตั้งเป้าไว้ที่ 120,000 คน ส่วนระดับปริญญาตรีสายวิชาชีพ ซึ่งปีที่ผ่านมาเป็นการเปิดร่วมกับหลายมหาวิทยาลัยโดยรับไว้ประมาณ 500 คน สำหรับปีนี้น่าจะรับได้อีกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่ขณะนี้ยังไม่ได้ตั้งเป้าหมาย ที่ชัดเจน
เลขาธิการ กอศ.กล่าวต่อไปว่า สำหรับสาขาวิชาที่จะเปิดสอนในปีการศึกษา 2552 นั้น ตนได้มอบหมายให้สถาบันอาชีวศึกษาทุกจังหวัดไปประชุมเพื่อรับฟังความเห็นและ ข้อเสนอแนะจากผู้ว่าราชการจังหวัด พาณิชย์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด แรงงานจังหวัด สภาหอการค้า นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล รวมถึงสถานประกอบการ ว่า ใน 5-10 ปีข้างหน้ามีสาขาวิชาใดที่ควรจะเปิดสอนเพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนหรือ อุตสาหกรรมในเขตนั้น ๆ เพื่อให้เด็กจบออกมาแล้วมีงานทำ
“หากเราสามารถวางแผนการผลิตกำลังคนที่สามารถตอบสนองตลาดแรงงานได้ จบออกมาแล้วมีงานทำ ผมมั่นใจว่าต่อไปจะมีเด็กเรียนอาชีวศึกษามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐบาลมีนโยบายเรียนฟรีอย่างมีคุณภาพ หรือ เรียนฟรี 15 ปี เพราะเด็กจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายพื้นฐาน ทั้งอุปกรณ์การเรียน ชุดนักศึกษา และชุดฝึกปฏิบัติ และค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนหลายรายการ ซึ่งที่ผ่านมาเด็กอาชีวะไม่เคยได้รับเลยในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการเรียน อาชีวศึกษาก็ค่อนข้างสูง ดังนั้นการที่รัฐบาลมีนโยบายเรียนฟรีทำให้ค่าใช้จ่ายในการเรียนอาชีวะลดลงจะ เป็นแรงจูงใจเด็กได้” นายเฉลียวกล่าวและว่า ขณะนี้ สอศ.กำลังพิจารณาอยู่ว่า อาจจะต้องมีการประกาศให้ชัดเจนว่าต่อไปรายการใดที่สถานศึกษาสามารถเก็บได้ หรือไม่ได้บ้าง แต่คิดว่าส่วนใหญ่ไม่น่าจะมีการเก็บเพิ่ม ทั้งนี้ต้องขอศึกษารายละเอียดก่อน.
เลขาธิการ กอศ.กล่าวต่อไปว่า สำหรับสาขาวิชาที่จะเปิดสอนในปีการศึกษา 2552 นั้น ตนได้มอบหมายให้สถาบันอาชีวศึกษาทุกจังหวัดไปประชุมเพื่อรับฟังความเห็นและ ข้อเสนอแนะจากผู้ว่าราชการจังหวัด พาณิชย์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด แรงงานจังหวัด สภาหอการค้า นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล รวมถึงสถานประกอบการ ว่า ใน 5-10 ปีข้างหน้ามีสาขาวิชาใดที่ควรจะเปิดสอนเพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนหรือ อุตสาหกรรมในเขตนั้น ๆ เพื่อให้เด็กจบออกมาแล้วมีงานทำ
“หากเราสามารถวางแผนการผลิตกำลังคนที่สามารถตอบสนองตลาดแรงงานได้ จบออกมาแล้วมีงานทำ ผมมั่นใจว่าต่อไปจะมีเด็กเรียนอาชีวศึกษามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐบาลมีนโยบายเรียนฟรีอย่างมีคุณภาพ หรือ เรียนฟรี 15 ปี เพราะเด็กจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายพื้นฐาน ทั้งอุปกรณ์การเรียน ชุดนักศึกษา และชุดฝึกปฏิบัติ และค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนหลายรายการ ซึ่งที่ผ่านมาเด็กอาชีวะไม่เคยได้รับเลยในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการเรียน อาชีวศึกษาก็ค่อนข้างสูง ดังนั้นการที่รัฐบาลมีนโยบายเรียนฟรีทำให้ค่าใช้จ่ายในการเรียนอาชีวะลดลงจะ เป็นแรงจูงใจเด็กได้” นายเฉลียวกล่าวและว่า ขณะนี้ สอศ.กำลังพิจารณาอยู่ว่า อาจจะต้องมีการประกาศให้ชัดเจนว่าต่อไปรายการใดที่สถานศึกษาสามารถเก็บได้ หรือไม่ได้บ้าง แต่คิดว่าส่วนใหญ่ไม่น่าจะมีการเก็บเพิ่ม ทั้งนี้ต้องขอศึกษารายละเอียดก่อน.
นายกฯ ติงคนไทยคิดไม่เป็นวิทยาศาสตร์
เมื่อวันที่ 29 ม.ค. ที่กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “118 ปี ศาลาแยกธาตุ-กรมวิทยาศาสตร์บริการ” ระหว่างวันที่ 29-31 ม.ค.นี้ว่า ตนได้หารือกับคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมว.วท. เกี่ยวกับบทบาทของวิทยาศาสตร์ฯ ที่มีส่วนช่วยพัฒนาประเทศชาติ ซึ่งพบว่ามี 4 ประการ ที่รัฐบาลจะต้องเร่งผลักดันโดยด่วน
นายอภิสิทธิ์กล่าวต่อว่า ประการแรก คือ สนับสนุนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตั้งแต่กระบวนการการศึกษา ทั้งในโรงเรียน การอบรมสั่งสอนเด็กและเยาวชนใน ครอบครัว ผ่านสื่อสารมวลชนต่างๆ เพื่อให้คนในชาติมีฐานความคิดที่เป็นเหตุและผล เนื่องจากต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาแม้จะมีการพัฒนาวิทยาศาสตร์มาโดยตลอด แต่ฐานความคิดของสังคมยังขาดการอ้างอิงหลักการใช้วิทยาศาสตร์ อยู่มาก ประการที่ 2 ต้องมีการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ เพราะที่ผ่านมาจะเน้นการผลักดันการศึกษาที่มุ่งไปในเรื่องการขยายโอกาส ขณะที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการขับเคลื่อนเรื่องนวัตกรรม การคิดค้น จำเป็นต้องมีการส่งเสริมกลุ่มคนที่มีความสามารถเป็นพิเศษ ซึ่งหมายถึงการสร้างโอกาสที่เป็นโอกาสเฉพาะสำหรับเด็กและเยาวชนที่มีขีดความ สามารถด้านนี้โดยตรง
“เคยมีโอกาสได้ผลักดันเรื่องโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ซึ่งเป็นการเสาะแสวงหาคนเก่งตั้งแต่วัยเยาว์และให้โอกาสพิเศษ ในการพัฒนาศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่สิ่งนี้ต้องได้รับการสานต่อด้วยการสร้างแรงจูงใจให้กับสังคมว่าบุคลากร ที่มีความสามารถเหล่านี้จะตัดสินใจใช้ชีวิตทุ่มเทในเรื่องของการวิจัย และพัฒนาวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง ซึ่งต้องยอมรับว่าโครงสร้างหลายอย่างในปัจจุบัน ยังไม่เอื้อให้คนที่เก่งที่สุดกล้าที่จะตัดสินใจประกอบวิชาชีพด้าน วิทยาศาสตร์เท่าไรนัก” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายอภิสิทธิ์กล่าวอีกว่า ประการที่ 3 คือต้องมีการเชื่อมโยงระหว่างนักวิจัย สถาบันการศึกษา สถาบัน วิจัยต่างๆ และภาคเอกชน ให้มีการนำงานวิจัยไปใช้ได้ จริง และประการสุดท้ายคือ ต้องมีระบบทรัพย์สินทางปัญญาที่ครอบคลุมและเป็นธรรม
ด้านคุณหญิงกัลยากล่าวว่า สำหรับแนวทางทั้ง 4 ข้อของนายกรัฐมนตรี วท.จะเร่งปฏิรูประบบการเชื่อมโยงระหว่างนักวิจัย สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน ในการพัฒนาผลงานวิจัยที่สามารถตอบโจทย์ของสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม คาดว่าจะดำเนินการภายใน 1-2 เดือนนี้.
นายอภิสิทธิ์กล่าวต่อว่า ประการแรก คือ สนับสนุนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตั้งแต่กระบวนการการศึกษา ทั้งในโรงเรียน การอบรมสั่งสอนเด็กและเยาวชนใน ครอบครัว ผ่านสื่อสารมวลชนต่างๆ เพื่อให้คนในชาติมีฐานความคิดที่เป็นเหตุและผล เนื่องจากต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาแม้จะมีการพัฒนาวิทยาศาสตร์มาโดยตลอด แต่ฐานความคิดของสังคมยังขาดการอ้างอิงหลักการใช้วิทยาศาสตร์ อยู่มาก ประการที่ 2 ต้องมีการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ เพราะที่ผ่านมาจะเน้นการผลักดันการศึกษาที่มุ่งไปในเรื่องการขยายโอกาส ขณะที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการขับเคลื่อนเรื่องนวัตกรรม การคิดค้น จำเป็นต้องมีการส่งเสริมกลุ่มคนที่มีความสามารถเป็นพิเศษ ซึ่งหมายถึงการสร้างโอกาสที่เป็นโอกาสเฉพาะสำหรับเด็กและเยาวชนที่มีขีดความ สามารถด้านนี้โดยตรง
“เคยมีโอกาสได้ผลักดันเรื่องโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ซึ่งเป็นการเสาะแสวงหาคนเก่งตั้งแต่วัยเยาว์และให้โอกาสพิเศษ ในการพัฒนาศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่สิ่งนี้ต้องได้รับการสานต่อด้วยการสร้างแรงจูงใจให้กับสังคมว่าบุคลากร ที่มีความสามารถเหล่านี้จะตัดสินใจใช้ชีวิตทุ่มเทในเรื่องของการวิจัย และพัฒนาวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง ซึ่งต้องยอมรับว่าโครงสร้างหลายอย่างในปัจจุบัน ยังไม่เอื้อให้คนที่เก่งที่สุดกล้าที่จะตัดสินใจประกอบวิชาชีพด้าน วิทยาศาสตร์เท่าไรนัก” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายอภิสิทธิ์กล่าวอีกว่า ประการที่ 3 คือต้องมีการเชื่อมโยงระหว่างนักวิจัย สถาบันการศึกษา สถาบัน วิจัยต่างๆ และภาคเอกชน ให้มีการนำงานวิจัยไปใช้ได้ จริง และประการสุดท้ายคือ ต้องมีระบบทรัพย์สินทางปัญญาที่ครอบคลุมและเป็นธรรม
ด้านคุณหญิงกัลยากล่าวว่า สำหรับแนวทางทั้ง 4 ข้อของนายกรัฐมนตรี วท.จะเร่งปฏิรูประบบการเชื่อมโยงระหว่างนักวิจัย สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน ในการพัฒนาผลงานวิจัยที่สามารถตอบโจทย์ของสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม คาดว่าจะดำเนินการภายใน 1-2 เดือนนี้.
จี้นายกฯ-เสมา 1 ดันคุณภาพศึกษา
จากการสัมมนาเรื่อง “การศึกษาไทย ปัญหาอยู่ที่ไหน” ที่มหาวิทยาลัยธรรม�ศาสตร์ ท่าพระจันทร์ รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีต รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า สำหรับปัญหาการศึกษาของประเทศไทย อยู่ที่สังคมและครอบครัว ไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปการศึกษา อีกทั้งการศึกษาก็ไม่ได้เป็นวาระแห่งชาติ มีการปรับเปลี่ยนผู้ที่มาดำรงตำแหน่ง รมว.ศึกษาธิการมากถึง 10 คน ในรอบ 7 ปี และเมื่อแต่ละคนเข้ามาก็จะดำเนินการตามนโยบายของตนเอง ส่งผลให้ขาดความต่อเนื่อง การจัดสรรงบประมาณไม่มีคุณภาพ และการศึกษาเป็นเครื่องมือทางการเมือง สำหรับแนวทางการแก้ไขนั้น รัฐบาลจะต้องมีความมุ่งมั่นและเดินหน้าไปในทิศทางเดียวกันทุกรัฐบาล ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงตามนโยบายพรรค ต้องมีการสร้างจิตวิญญาณความเป็นครูให้เกิดขึ้น เพื่อเอื้อให้คนอยากมาเป็นครู รวมทั้งควรมีการสร้างหลักสูตรที่พัฒนาคุณภาพเด็ก
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากระบบการศึกษาที่ไม่ยืดหยุ่น ส่งผลให้การศึกษาไทยเกิดปัญหา การจัดการขาดประสิทธิภาพ มีการตีกรอบกระบวนการเรียนรู้ ทำให้เด็กคิดเหมือนๆ กันหมด ไม่สามารถคิดตามจินตนาการของตนเองได้ ทำให้เด็กเบื่อโรงเรียน ในขณะที่การปฏิรูปครูก็ไม่ได้มีการทำอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนที่จะเข้าสู่ วิชาชีพครูได้คนที่ไม่มีคุณภาพ การปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาจึงไม่สามารถพัฒนาการศึกษาให้ดีขึ้นได้ มีแต่ถอยหลังไปเรื่อยๆ ที่สำคัญการศึกษาระดับอนุบาลซึ่งเป็นรากฐานของการศึกษาในระดับอื่นๆ ก็ถูกละเลยมาโดยตลอด จึงอยากฝากไปถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายรัฐมนตรี และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ ควรหันมาให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเรื่องคุณภาพการศึกษาของประเทศเป็น อันดับแรก ก่อนที่จะทำนโยบายประชานิยม.
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากระบบการศึกษาที่ไม่ยืดหยุ่น ส่งผลให้การศึกษาไทยเกิดปัญหา การจัดการขาดประสิทธิภาพ มีการตีกรอบกระบวนการเรียนรู้ ทำให้เด็กคิดเหมือนๆ กันหมด ไม่สามารถคิดตามจินตนาการของตนเองได้ ทำให้เด็กเบื่อโรงเรียน ในขณะที่การปฏิรูปครูก็ไม่ได้มีการทำอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนที่จะเข้าสู่ วิชาชีพครูได้คนที่ไม่มีคุณภาพ การปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาจึงไม่สามารถพัฒนาการศึกษาให้ดีขึ้นได้ มีแต่ถอยหลังไปเรื่อยๆ ที่สำคัญการศึกษาระดับอนุบาลซึ่งเป็นรากฐานของการศึกษาในระดับอื่นๆ ก็ถูกละเลยมาโดยตลอด จึงอยากฝากไปถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายรัฐมนตรี และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ ควรหันมาให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเรื่องคุณภาพการศึกษาของประเทศเป็น อันดับแรก ก่อนที่จะทำนโยบายประชานิยม.
ประชาพิจารณ์การศึกษาฟรี 15 ปีคึกคัก
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 30 ม.ค. ที่โรงเรียนสตรีวิทยา นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการรับฟังความคิดเห็นแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปีของรัฐบาล โดยมีผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ผู้บริหารและตัวแทนหน่วยงานกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ผู้ปกครองนักเรียน นักเรียน ครู อาจารย์ นักวิชาการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ประมาณ 300 คนเข้าร่วม โดยนายจุรินทร์กล่าวเปิดงานตอนหนึ่งว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2552 เพื่อใช้จ่ายเป็นเงินอุดหนุนรายหัว ตามโครงการสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี ตั้งแต่อนุบาล-ม.ปลาย ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ จำนวน 18,257,975,200 บาท โดยจะให้ฟรีใน 5 หมวด คือ ค่าเล่าเรียน หนังสือเรียน อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ ซึ่ง ศธ.จะไม่เป็นผู้จัดซื้อเอง แต่จะใช้วิธีการใดต้องมีการประชาพิจารณ์ถามความคิดเห็น เพื่อไปสู่เป้าหมายการประหยัดงบฯ และโปร่งใสให้มากที่สุด และมีปัญหาในทางปฏิบัติตามมาให้น้อยที่สุด เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมาเป็นที่แน่นอนว่าจะทำอะไรต้องมีปัญหาตามมา ดังนั้น เราต้องหาวิธีที่ดีที่สุด เพราะถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัด ศธ. กล่าวว่า ในการดำเนินโครงการนั้น จะมีการสนับสนุนโดยอุดหนุนรายหัวให้นักเรียนอนุบาล 3 ขวบ และปรับเพิ่มอุดหนุนรายหัวอีกร้อยละ 10 ในโรงเรียนเอกชน เพื่อลดภาระการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนจากผู้ปกครองของนักเรียน จัดหาหนังสือให้นักเรียนยืมเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดหาอุปกรณ์การเรียน อาทิ สมุด ดินสอ ปากกา ไม้บรรทัด ให้นักเรียนมีใช้อย่างเพียงพอตลอดภาคเรียน จัดหาเครื่องแบบนักเรียนคนละ 2 ชุดต่อปี และสนับสนุนให้มีกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน รวมทั้งจะเปิดให้ผู้ปกครองที่มีฐานะดี สละสิทธิ์การขอรับบริการได้ โดยอาจจะประกาศชื่อแสดงความขอบคุณนักเรียน หรือโรงเรียนที่สละสิทธิ์การรับบริการ เพื่อที่จะนำส่วนที่เหลือไปสนับสนุนเพิ่มเติมให้แก่ผู้ด้อยโอกาสต่อไป
ด้านนายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตนเห็นว่าควรแจกคูปองการศึกษาให้นักเรียน ผู้ปกครองใช้สิทธิ์ซื้อชุดนักเรียน หนังสือเรียน อุปกรณ์การเรียน ค่ากิจกรรมพิเศษ จะดีกว่าการจัดสรรงบประมาณให้โรงเรียน ซึ่งในส่วนของหนังสือเรียนที่ ศธ.จะแจกครบทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้นั้น ตนไม่เห็นด้วย เพราะบางสาระวิชาไม่ได้ จัดการเรียนการสอนในห้องเรียน เช่น ศิลปวัฒนธรรม และดนตรี เพราะจะกลายเป็นการดึงเด็กไว้ในห้องเรียนมากขึ้น ส่วนเรื่องชุดนักเรียนควรยึดมาตรฐาน มอก. เป็นหลัก และขยายรายได้ไปสู่กลุ่มแม่บ้าน และกลุ่มเอสเอ็มแอล
ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีต รมช.ศธ. กล่าวว่า การจัด 5 รายการฟรีให้กับนักเรียน ไม่ควรจะฟรีเท่ากัน อย่างพ่อแม่ที่มีฐานะคงไม่จำเป็นต้องแจกชุดนักเรียน สำหรับแนวคิดการแจกคูปองนั้น ห่วงว่าจะมีคูปองมืด
นายจุรินทร์กล่าวหลังรับฟังความเห็นว่า ที่ประชุมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง จึงมอบให้ สพฐ. รวบรวมความคิดเห็นเสนอที่ประชุมผู้บริหาร ศธ. ยืนยันจะดำเนินการทันเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 แน่นอน.
ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัด ศธ. กล่าวว่า ในการดำเนินโครงการนั้น จะมีการสนับสนุนโดยอุดหนุนรายหัวให้นักเรียนอนุบาล 3 ขวบ และปรับเพิ่มอุดหนุนรายหัวอีกร้อยละ 10 ในโรงเรียนเอกชน เพื่อลดภาระการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนจากผู้ปกครองของนักเรียน จัดหาหนังสือให้นักเรียนยืมเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดหาอุปกรณ์การเรียน อาทิ สมุด ดินสอ ปากกา ไม้บรรทัด ให้นักเรียนมีใช้อย่างเพียงพอตลอดภาคเรียน จัดหาเครื่องแบบนักเรียนคนละ 2 ชุดต่อปี และสนับสนุนให้มีกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน รวมทั้งจะเปิดให้ผู้ปกครองที่มีฐานะดี สละสิทธิ์การขอรับบริการได้ โดยอาจจะประกาศชื่อแสดงความขอบคุณนักเรียน หรือโรงเรียนที่สละสิทธิ์การรับบริการ เพื่อที่จะนำส่วนที่เหลือไปสนับสนุนเพิ่มเติมให้แก่ผู้ด้อยโอกาสต่อไป
ด้านนายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตนเห็นว่าควรแจกคูปองการศึกษาให้นักเรียน ผู้ปกครองใช้สิทธิ์ซื้อชุดนักเรียน หนังสือเรียน อุปกรณ์การเรียน ค่ากิจกรรมพิเศษ จะดีกว่าการจัดสรรงบประมาณให้โรงเรียน ซึ่งในส่วนของหนังสือเรียนที่ ศธ.จะแจกครบทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้นั้น ตนไม่เห็นด้วย เพราะบางสาระวิชาไม่ได้ จัดการเรียนการสอนในห้องเรียน เช่น ศิลปวัฒนธรรม และดนตรี เพราะจะกลายเป็นการดึงเด็กไว้ในห้องเรียนมากขึ้น ส่วนเรื่องชุดนักเรียนควรยึดมาตรฐาน มอก. เป็นหลัก และขยายรายได้ไปสู่กลุ่มแม่บ้าน และกลุ่มเอสเอ็มแอล
ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีต รมช.ศธ. กล่าวว่า การจัด 5 รายการฟรีให้กับนักเรียน ไม่ควรจะฟรีเท่ากัน อย่างพ่อแม่ที่มีฐานะคงไม่จำเป็นต้องแจกชุดนักเรียน สำหรับแนวคิดการแจกคูปองนั้น ห่วงว่าจะมีคูปองมืด
นายจุรินทร์กล่าวหลังรับฟังความเห็นว่า ที่ประชุมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง จึงมอบให้ สพฐ. รวบรวมความคิดเห็นเสนอที่ประชุมผู้บริหาร ศธ. ยืนยันจะดำเนินการทันเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 แน่นอน.
Subscribe to:
Posts (Atom)