น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รมช. ศึกษาธิการ กล่าวตอนหนึ่งในการมอบนโยบายแก่ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เมื่อวันที่ 14 ม.ค.ว่า เรื่องเร่งด่วนที่ สอศ. ต้องดำเนินการ คือ การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา ที่เปิดสอนระดับปริญญาตรี ตามที่ พ.ร.บ.การอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 โดยในปี 2552 จะจัดตั้ง 20 แห่งทั่วประเทศ นอกจากนี้ต้องปฏิรูปครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา โดยฝึกอบรมเพิ่มเติม เพื่อรองรับจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี พร้อมทั้งปรับปรุงหลักสูตร อุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ล้าสมัย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการสอนมากขึ้น โดยจะต้องให้มีมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ทั้งนี้ สอศ.ไม่ควรเน้นสอนอาชีพเพียงอย่างเดียว จะต้องเสริมความรู้ด้านการเงิน และการลงทุนให้แก่เด็กด้วย
ด้าน นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ เลขาธิ การคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า สอศ.ประสบปัญหาการขาดแคลนอัตรากำลังครูเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันก็มีจุดอ่อนที่ไม่สามารถรักษาลูกจ้างและพนักงานราชการไว้ได้ เพราะมักจะถูกมหาวิทยาลัยดึงตัวไปหมด จึงอยากขออัตราครูเพิ่ม 7,000-10,000 อัตรา ซึ่งจะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัญหากรณีครูอาชีวะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ตามข้อบังคับของคุรุสภา ในขณะที่ สอศ. ต้องการมือโปรวิชาชีพทางช่าง อาทิ วิศวกร นักบัญชี นักเทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งคนเหล่านี้ไม่มีใครไปเรียนเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ดังนั้นตนจะเสนอแนวทางที่จะปรับตำแหน่งอัตราครูอาชีวศึกษาใหม่ โดยระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ต้องมีใบประกอบวิชาชีพครู ส่วนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ขึ้นไปไม่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพครู เพื่อจะได้บรรจุผู้ที่จบปริญญาโทด้านต่าง ๆ มาเป็นครูอาชีวะได้.
Thursday, January 15, 2009
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment