“สมพงษ์” ติง นโยบายเรียนฟรี 15 ปี ชี้ฉายฉวย เป็นวีการที่มักง่าย แนะควรเน้นเรื่องคุรภาพการศึกษา ใช้วิกฤตให้เป็นโอกาสในการพัฒนาร.ร.ขนาดเล็ก และควรเข้าไปดูแลถึง อปท.
รศ. ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงนโยบายเรียนฟรี 15 ปีของรัฐบาลว่า นโยบายการเรียนฟรีเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการศึกษา แต่การจัดการเป็นไปในลักษณะฉาบฉวย ให้ฟรีแบบราชการ โดยนำจำนวนนักเรียนหารด้วยเม็ดเงินในแต่ละหมวด ซึ่งเป็นวิธีการที่มักง่าย และรัฐบาลก็ไม่ฟังเสียงท้วงติงจากนักวิชาการ พ่อแม่ผู้ปกครอง รวมถึงผู้ปฏิบัติงานจริงในสถานศึกษา โดยเฉพาะการชูนโยบายเรียนฟรี 15 ปี โดยทุ่มเม็ดเงินจำนวนมากนั้น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ จะต้องเน้นเรื่องคุณภาพให้มากกว่านี้ และควรใช้วิกฤตินี้เป็นโอกาสในการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก
โดยให้เงินอุดหนุนมากกว่า 100% ให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนต่ำกว่ามาตรฐานตามเกณฑ์ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา (สมศ.)รวมไปถึงศูนย์เด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งพ่อแม่ของเด็กเหล่านี้คือ แรงงานที่ถูกเลิกจ้างมากที่สุด ดังนั้นการเข้าไปดูแลถึง อปท. จะช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้กับชาวบ้านได้ตรงจุด
อาจารย์คณะครุศาสตร์ กล่าวต่อว่า กรณีที่นายจุรินทร์ ให้ผู้ที่มีฐานะไม่ขอรับสิทธิจากนโยบายเรียนฟรี 15 ปีนั้น ควรดำเนินการให้เป็นรูปธรรม ไม่ใช่พูดลอยๆ เพราะเชื่อว่ามีผู้ไม่ต้องการรับสิทธิจากรัฐบาลจำนวนมาก ดังนั้นหากคนเหล่านี้ต้องการสละสิทธิก็ควรมีความชัดเจนว่า เมื่อสละสิทธิแล้ว เงินที่เหลือจะนำไปช่วยเหลือคนยากจนจริงๆ ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการ จึงควรมีระบบข้อมูลที่ชัดเจน มีแบบฟอร์ม และการกำหนดว่าจะนำเงินที่ได้ไปช่วยเหลือเด็กยากจนที่โรงเรียนใด
นอกจาก นี้การแจกชุดนักเรียนฟรี ก็ควรให้กลุ่มแม่บ้านใน อปท.ตัดเย็บ เพื่อช่วยกระจายรายได้ หรือแม้แต่ตำราเรียนฟรี ก็ควรพิจารณาของสำนักพิมพ์เอกชน ซึ่งบางวิชาก็มีคุณภาพและน่าอ่าน ราคาถูกกว่าที่องค์การค้าจัดพิมพ์ ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐที่ประกาศว่าจะดึงภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม แต่ในทางปฏิบัติกลับสวนทางกับนโยบาย ซึ่งรมว.ศึกษาธิการควรฟังความเห็นของคนนอกกระทรวงบ้าง
Friday, January 16, 2009
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
1 comment:
ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล
Post a Comment