Monday, June 1, 2009

ถวายหนังสือสามเณรคนรับมีความรู้-คนให้ก็อิ่มบุญ

คมชัดลึก :ห้องสมุดที่เป็นมาตรฐานมีระบบ มีหนังสือที่มีคุณภาพในโรงเรียนพระปริยัติธรรมยังไม่มี มีเพียงมุมหนังสือเล็กๆเท่านั้น เนื่องจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีงบประมาณไม่เพียงพอที่จะสร้างห้องสมุดให้ครบ 400 กว่าแห่งทั่วประเทศหากวัดไหนมีงบประมาณมากและเป็นวัดใหญ่ ก็จะมีห้องสมุดที่ค่อนข้างคุณภาพ

ดร.อำนาจบัวศิริ ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม เปิดใจเกี่ยวกับสภาพห้องสมุดในโรงเรียนพระปริยัติธรรม กับสื่อมวลชน ภายหลังพิธีรับมอบหนังสือ ตามโครงการถวายหนังสือสำหรับพระภิกษุสงฆ์ สามเณร โรงเรียนพระปริยัติธรรม 82 แห่งเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 82 พรรษาณ ห้องสมุดสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ สำนังานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ซึ่งปีนี้ถือเป็นปีที่3 แล้วมีโรงเรียนได้รับทั้งหมด 82 แห่ง

โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างพศ. ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก เพื่อถวายหนังสือที่ดีหลากหลายตรงกับความต้องการของสามเณร ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงเคยมีรับสั่งเมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมโรงเรียนพระปริยัติธรรมว่า การนำหนังสือมาให้พระภิกษู สามเณร ไม่ควรนำหนังสือที่เป็นแบบเรียน แต่ควรนำหนังสือส่งเสริมความรู้มาให้สามเณรได้อ่าน นายทรงยศสามกษัตริย์ รองผู้จัดการศูนย์หนังสือจุฬาฯเสริม

สามเณรสายชลโสประดิษฐ์ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดธรรมจักร จ.พิษณุโลกหนึ่งในโรงเรียนที่เข้าในโครงการเมื่อปีที่ผ่านมาเล่าถึงความรู้สึกที่ได้อ่านหนังสือใหม่ๆว่า เมื่อผมรู้ว่ามีคนจะเอาหนังสือมาให้ผมก็รู้สึกดีใจและคิดส่าผมจะได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับการประดิษฐ์ เพราะว่าผมชอบมาก พอได้อ่านผมก็คิดว่าจะลองกลับไปทำดู

ไม่ต่างกับสามเณรบุญหนึ่งอ่อนปัสสา เพื่อนสามเณรร่วมชั้นเรียน รู้สึกดีใจที่พี่ๆเอาหนังสือมาถวายห้องสมุด ทำให้พวกเราได้อ่านหนังสือกัน และมีความรู้สึกที่ดีในการอ่าน มีความสนุกสนานมาก และทำให้เรารู้ว่าหนังสือนี้มันดียังไง และมันเกี่ยวกับอะไรมันมีความสำคัญอย่างไร ทำให้เรามีความรู้มากขึ้น เราขยันอ่านมากขึ้น

ขณะที่พระครูสุนทรพิมลศีล ประธานศูนย์ประสานงานกลางโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ยอมรับว่า การถวายหนังสือให้สามเณร ทำให้สามเณรมีความรู้ ผู้บริจาคก็ได้บุญด้วย เพราะสามเณรที่เข้ามาเรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรมส่วนใหญ่ จะเป็นเด็กที่เก็บตกจากระบบการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) และโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จึงส่งผลให้เด็กที่เข้ามาเรียนมีความหลากหลาย มีคุณภาพน้อย

ยกตัวอย่างเช่นสามเณรที่โรงเรียนพระปริยัติธรรมแม่แตงวิทยา จ.เชียงใหม่อ่านภาษาไทยได้น้อย ส่วนใหญ่เป็นชาวเขา ต้องสอนเสริมภาษาไทยมากขึ้น ในขณะเดียวกัน หนังสือดีๆที่จะให้เด็กอ่านก็มีน้อย ห้องสมุด บางโรงเรียนมี บางโรงเรียนก็ไม่มี จึงอยากฝากถึงรัฐบาลให้สนุนสนุนงบประมาณในการส่งเสริมการสร้างห้องสมุดตามโรงเรียนพระปริยัติธรรมให้มีมากขึ้น เพื่อเติมความรู้ให้พระภิกษุ สามเณร ในฐานะศาสนทายาทพระพุทธศาสนา พระครูสุนทรพิมลศีลกล่าว

No comments: